ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

หนี้ยุโรป ทรงตัว ดีขึ้นหรือเคยชิน !!

 

สวัสดีครับปิดท้ายสัปดาห์ไม่ค่อยสวยเท่าไรนะครับสำหรับราคาทองคำ โดย Gold Spot ปิดที่ระดับ US$1,662.44 ลดลงจากวันพฤหัสบดี US$12.20 หรือกว่า 0.73% มีการเล่นประเด็นเรื่องอัตราเงินเฟ้อจีนที่สูงสุดรอบ 7 เดือนรวมถึงประเด็นอื่น ๆ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่าปรับตัวดีอย่างผิดหูผิดตาคือค่าเงินยูโรเพียง 2 วันหลังประชุม ECB เงินยูโรแข็งค่าขึ้นกว่า 2% มุมมองของนักลงทุนที่มีต่อตลาดยุโรปปรับตัวดีขึ้นตามลำดับหลังจากที่ กรีซสามารถที่จะชำระหนี้ระยะสั้นได้ และสเปนเองก็สามารถผ่านช่วงเวลาเลวร้ายจากความอ่อนแอในภาคธนาคารจนสามารถระดมทุนผ่านตลาดได้ในต้นทุนที่ดีขึ้น การคงนโยบายของ ECB ยิ่งเป็นการสร้างความเชื่อว่ายุโรป “กำลังจะไปได้” ซึ่งก็มีคำถามตัวโต ๆ ว่าปัญหาหนี้ที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไขหรือยัง และยูโรโซนจะไปได้จริงหรือไม่ วันนี้มาพูดคุยกันครับ

ปัญหาหนี้ยุโรปที่จริงแล้วสะสมมายาวนานผ่านการใช้จ่ายภาครัฐที่เกินดุลการคลังผ่านนโยบายประชานิยม แต่ช่วงที่เราได้เห็นปัญหาขึ้นมาเหนือพรมก็ช่วงประมาณปี 2010 หรือเมื่อกว่า 4 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มต้นจากกรีซต่อเนื่องด้วยไอร์แลนด์ โปรตุเกส และทำให้เกิดกลไกที่เข้ามาช่วยเหลือด้วยการให้เงินในการ Refinance แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการตัดลดรายจ่าย และจัดเก็บภาษีเพิ่มเพื่อให้มั่นใจว่าในอนาคตประเทศที่ขอรับเงินไปจะมีกำลังพอที่จะใช้คืน รวมถึงจะไม่ก่อหนี้สินเพิ่มเติม ถ้ากลับมามองในวันนี้วิธีการนี้ถือว่าเป็นการ “เอาตัวรอด” และ “ซื้อเวลา” ไปก่อนเท่านั้น เพราะท้ายสุดแล้วปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข ในการดำเนินการดังกล่าวทั้งผู้ช่วยและผู้ถูกช่วยต่างคาดหวังว่าเมื่อทำเช่นนี้จะทำให้ความเชื่อมั่นกลับมาและทำให้ประเทศที่มีปัญหาหนี้สามารถ Refinance ได้เองด้วยต้นทุนที่รับได้ รอให้เศรษฐกิจฟื้นตัว รักษาวินัยการคลังจนทำให้กลับมาอยู่ในสภาวะที่มีเสถียรภาพ แต่แนวทางดังกล่าวต้องใช้เวลายาวนาน ในช่วงเวลาดังกล่าวผลข้างเคียงเกิดขึ้นกับนโยบายการรัดเข็มขัดตั้งแต่การต่อต้านของประชาชน นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองกลายเป็นว่าปัญหาหนี้ไม่ใช่เพียงปัญหาด้านเศรษฐกิจแต่พัฒนากลายมาเป็นปัญหาด้านการเมือง ไม่พอยังลุกลามเข้าสู่ประเทศอื่น ๆ และนำไปสู่ความต้องการเงินทุนช่วยเหลือที่มากขึ้น การทำหน้าที่ของผู้ที่ช่วยพยาบาลจึงต้องเพิ่มขึ้น ท่ามกลางคำถามว่า “เราพร้อมหรือไม่ที่จะเข้าไปช่วยเหลือ” และกลายเป็นข้อโต้เถียงในการประชุมสุดยอดผู้นำในหลาย ๆ ครั้ง จนท้ายที่สุดก็จำเป็นต้องยอมให้มีกลไกเข้ามาช่วยเหลือเพื่อให้ยูโรโซนยังเดินหน้าต่อไปได้

กลับมาที่คำถามที่ผมจั่วหัวไว้คือหนี้ยุโรปปรับตัวดีขึ้นหรือยัง ในมุมมองของผมนั้นมองว่าปัญหายังไม่ได้แก้ ระดับหนี้ยังคงสูงการระดมเงินผ่านตลาดพันธบัตรยังมีต้นทุนที่สูง ขณะที่มีปัญหาอื่นเข้ามาสมทบอย่างเรื่องการชะลอตัวทางเศรษฐกิจซึ่งเชื่อว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องในปีนี้จากอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับที่สูงมาก (กลุ่มยูโรโซนมีอัตราการว่างงานมากกว่า 10%) เศรษฐกิจของกลุ่มเติบโตในระดับใกล้ศูนย์ ซึ่งเป็นไปได้ว่าในปี 2013 นี้อาจจะเป็นตัวเลขติดลบ เพราะฉะนั้นถ้ามองมุมนี้ปัญหายังไม่ได้ดีขึ้นครับ คำถามที่สองคือระดับของปัญหาเริ่มทรงตัวหรือไม่ ตรงนี้ต้องเรียนว่าอาจจะพอบอกได้เช่นนั้น เนื่องจากปัญหาที่เรากังวลกันมากว่าจะเกิดการผิดนัดชำระหนี้หรือการแตกกลุ่มของยูโรโซนนั้นในระยะสั้นคงยังไม่เกิดขึ้น แม้จะมีแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากประชาชนที่กำลังประสบปัญหาปากท้องอยู่บ้าง

ถ้าเช่นนั้นเมื่อปัญหายังไม่ได้ถูกแก้ วิกฤติยังเป็นวิกฤติเหตุใดตลาดจึงตอบรับต่อยูโรโซนในเชิงบวก ผมมองว่าตลาด “ชินชา” กับปัญหาหนี้ยุโรปครับการไม่เลวร้ายไปกว่าเดิมก็อาจจะเพียงพอให้นักลงทุนรู้สึกในเชิงบวก แต่ในระยะยาวคงต้องดูกันครับว่ายูโรโซนนั้นจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ครั้งนี้ไปได้หรือไม่ วันนี้ลากันไปก่อนครับ

 

โดย กมลธัญ พรไพศาลวิจิต

ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์

บริษัท จีที เวลธ์ แมเนจเมนท์ จำกัด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้ view ไม่เปลี่ยนนะครับ วิ่งอยู่ในกรอบ -*-

 

goldday.jpg

กราฟรายวันยังไม่เปลี่ยนแปลงนะครับ ยังไม่สามารถผ่านแนวต้านสำคัญได้ จึงทำให้ยังวิ่งในกรอบ รอผ่านทางใดทางหนึ่ง ว่าจะ US$1,655 หรือ US$1,675 แต่ถ้าค่อยยืนเหนือ US$1,660 ได้กุนซือว่าสวย แต่ต้องอย่าลืมนะครับว่ายังอยู่ใน Trend ขาลง วันนี้ไม่มีอะไร update ^^,

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองกระดึ๊บขึ้น แต่เงินบาทกระโดดลง ผลจึงออกมาเป็นเช่นราคาทองวันนี้ T^T

goldday.jpg

ราคาทองคำสามารถผ่าน Trend ขาลงระยะสั้นขึ้นมาได้ และขึ้นทดสอบแนวเส้นค่าเฉลี่ย EMA 200 วันบริเวณ US$1,685 นอกจากนี้ยังมีด่าน EMA 100 วันใกล้ US$1,687 รออยู่อีกชั้น ทำให้กรอบนี้ยังค่อนข้างลำบาก แต่ถ้าขึ้นไปยืนได้ US$1,709 คงไม่ไกลเกินรอ แต่กราฟรายสี่ชั่วโมงเกิดสัญญาณ Overbought ทำให้ระหว่างวันต้องพักสัญญาณก่อน แนวรับ US$1,675 และ US$1,660

 

 

6baht.jpg

เงินบาทเริ่มมีสัญญาณ Oversold ทำให้ระยะสั้นน่าจะมีการทำ Technical Rebound เป้าหมายบริเวณ 30.10-30.15 แต่ Trend ยังเป็นขาลง (แข็งค่า) เพราะงั้นต้องทำใจ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แดนปลาดิบกับการพลิกตำราเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ

 

สวัสดีครับสัปดาห์นี้ประเด็นที่น่าจะร้อนแรงที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องของความผัวผวนของระบบสกุลเงินโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา อย่างไทยเองเงินบาทก็แข็งค่าหลุด 30 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ ไปเป็นที่เรียบร้อย จึงเกิดคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบสกุลเงินโลก ความผันผวนที่เกิดขึ้นนั้นมาจากสาเหตุปกติหรือเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง ในประเด็นนี้ผมเคยเขียนไว้เมื่อหลายเดือนก่อนว่า ระบบสกุลเงินโลกจะเสียสมดุลไปหลังจากที่สหรัฐฯ ออก QE3 เพราะแต่ละประเทศจะเริ่มรักษาประโยชน์ตัวเองด้วยการดูแลค่าเงิน แต่ประเทศที่ชัดเจนและใช้เครื่องมือทางการเงินที่เข้มข้นที่สุดคงหนีไม่พ้นแดนปลาดิบ การกลับมารับตำแหน่งผู้นำญี่ปุ่นของนายชินโซะ อาเบะยิ่งทำให้นโยบายที่ใช้ในการดูแลเศรษฐกิจยิ่งหนักมือยิ่งขึ้น ทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงอย่างมาก โดยกว่า 2 เดือนที่ผ่านมาเงินเยนอ่อนค่าเทียบดอลล่าร์สหรัฐฯ กว่า 12.65% นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวทางในการฟื้นเศรษฐกิจ และอาจจะเป็นเพียงจุดเริ่มของการฟื้นเศรษฐกิจญี่ปุ่น สิ่งที่น่าสนใจคือเรื่องของผลกระทบทั้งในมุมมองเศรษฐกิจ ความสมดุลของระบบสกุลเงินและเงินทุนเคลื่อนย้าย

ญี่ปุ่นเพิ่งจะผ่านแผนในการฟื้นเศรษฐกิจด้วยการรองรับงบประมาณกว่า 13.1 ล้านล้านเยน โดยใช้เม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจมากถึง 10.3 ล้านล้านเยนวัตถุประสงค์เพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่อยู่ในภาวะซบเซา ซึ่งจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจนี้จะทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นมียอดใช้จ่ายประจำปี 2556 ถึงกว่า 100 ล้านล้านเยน ทำให้ต้องมีการออกพันธบัตรเพิ่มเติมอีก 5.2 ล้านล้านเยน สู่ระดับ 49.5 ล้านล้ายเยน ซึ่งปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีระดับหนี้ต่อ GDP สูงกว่า 211% การเพิ่มขึ้นของรายจ่ายยิ่งจะทำให้ระดับหนี้เพิ่มสูงขึ้น แต่นอนว่าจะถูกชดเชยจากรายได้ภาษีที่กลับมาจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอีกต่อ ซึ่งในมุมนี้ก็ต้องพิจารณากันยาว ๆ ในเรื่องหนี้นั้นจะส่งปัญหาในอนาคตหรือไม่ นอกเหนือจากการใช้จ่ายทางการคลังแล้วเรื่องนโยบายการเงินญี่ปุ่นก็เดินหน้าแบบเต็มตัวทั้งเรื่องการเพิ่มการเข้าซื้อพันธบัตร การกดดันให้ BOJ เพิ่มกรอบเงินเฟ้อ ในประเด็นนี้ผลที่ตามมาคือสภาพคล่องที่สูงขึ้นในตลาด ซึ่งถ้ารวมกับนโยบายด้านการเงินของประเทศพัฒนาแล้วอื่นก็จะทำให้สภาพคล่องในตลาดสูงขึ้นอย่างมาก เงินที่เพิ่มขึ้นจะพยายามหาแหล่งที่ไปซึ่งตลาดเอเชียเริ่มได้รับผลกระทบจากเงินทุนไหลเข้าให้เห็นบ้างแล้ว และเชื่อว่าสถานการณ์แบบนี้จะดำเนินต่อไปอีกระยะ การรักษาผลประโยชน์ของชาติตัวเองเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จุดหนึ่งที่ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจคือการเข้าซื้อพันธบัตรของกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพทางการเงินยุโรป (ESM) ของรัฐบาลญี่ปุ่น ในประเด็นนี้หลายคนมองว่าได้ประโยชน์ถึง 2 ต่อ ต่อแรกคือการช่วยเหลือวิกฤติหนี้ยุโรปที่อนาคตต้องพึงพา ESM ในการเป็นตัวช่วยสำคัญ ต่อที่สองคือการเข้าซื้อพันธบัตรของ ESM จะทำให้เงินเยนอ่อนค่าลงเทียบสกุลเงินยูโร

สำหรับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระยะยาว แม้เป้าหมายของรัฐบาลญี่ปุ่นจะมุ่งเน้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกยังไม่สามารถฟื้นตัว กำลังซื้อก็จะยังไม่กลับมา และภายใต้บรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ จุดนี้ก็อาจจะทำให้การเติบโตที่ชี้วัดจาก GDP เป็นตามเป้าได้ลำบาก อย่างไรก็ดีในมุมของเศรษฐกิจญี่ปุ่นเองก็น่าที่จะดีขึ้นหลังใช้เม็ดเงินก้อนใหญ่ แต่เสถียรภาพในระยะยาวอย่างเรื่องของฐานะความน่าเชื่อถือที่ถูกจัดชั้นโดยสถาบันจัดอันดับเครดิตขนาดใหญ่ตรงนี้ต้องตั้งคำถามว่าจะมีปัญหาหรือไม่ และการเข้าดูแลค่าเงินอย่างชัดเจนเช่นนี้จะกระทบต่อนโยบายในการดูแลค่าเงินของประเทศอื่น ๆ หรือไม่ และถ้ามีผลที่ตามมาเราคงได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสกุลเงินต่าง ๆ อย่างมาก วันนี้ลากันไปก่อนครับ

 

โดย กมลธัญ พรไพศาลวิจิต

ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์

บริษัท จีที เวลธ์ แมเนจเมนท์ จำกัด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีคร๊าบบบ หายหน้าหายตาไป 2 วันเต็ม เนื่องจากติดภารกิจต้องไปบรรยายนอกสถานที่ วันนี้กลับมาประจำตำแหน่งเช่นเคยครับ

goldday.jpg

วันศุกร์ราคาปรับตัวขึ้นทดสอบระดับเจ้าปัญหา หลังจากผ่าน 1695 ไม่ได้สักที อย่างที่เรียนว่าระดับนี้ค่อนข้างแข็งแรง อย่างนี้คงต้องถอยไปตั้งหลักกันก่อน หลังจากลงมาย้ำ 1680 และทรงตัว ทำให้ตัวกราฟยังไม่แย่นัก แต่ RSI รายวันเริ่มเข้าเขต Overbought แต่จุดนี้กุนซือมองว่ายังไม่น่าจะพักตัวแรง ๆ รับแรง 1680, 1673 และ 1660 เป็นรับที่เชื่อว่ายังรับอยู่ ดังนั้นท่านไหนยังไม่มีของ ลองเก็บดูตามแนวรับครับ ส่วนระดับวัดใจยังเป็นระดับเดิม 1695-1700

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...