ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

หัวใจทองคำกับรอยหยักของสมอง

โพสต์แนะนำ

คลิปสอน Technical Analysis ชุดที่ 2 เล่นหุ้นอย่างไร ทุนไม่หาย กำไรไม่หด

 

August 6, 2012 | หมวดหมู่ Technical Analysis, VDO การลงทุน

คลิปวีดีโอสอนการเทรดหุ้นด้วยวิธีการวิเคราะห์ Technical Analysis โดยคุณณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์ แห่ง CIMB สอน Technical Analysis ในรายการหุ้นโค้งสุดท้าย ช่อง Money Channel วีดีโอชุดที่ 2 นี้ชื่อว่า ”เล่นหุ้นอย่างไร ทุนไม่หาย กำไรไม่หด” มีทั้งหมด 12 ตอนค่ะ

 

 

 

สรุปความณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์ ชุดที่ 2 ตอน 1/12

เล่นหุ้นอย่างไร ทุนไม่หาย กำไรไม่หด

การเล่นหุ้นในตลาดมีวิธีการเล่น 3 วิธี

1. Contrarian Investing เล่นตรงข้ามกับคนในตลาดคิด ใช้กับหุ้นกลุ่ม A ถ้าตลดลงแรงๆ ให้ซื้อ และขายเมื่อ rebound กลับ

2. เล่นเป็นรอบๆ ตามรอบของธุรกิจ หรือระยะยาวก็ได้ Value Investing ต้องรู้จักบริษัทเป็นอย่างดี ผลประกอบการ กำไร การขยายกิจการ ปันผล เป็นต้น ต้องตามเป็นชุดๆ ของอุตสาหกรรม

3. Momentum investing ตลาดเล่นตัวไหน เราเล่นตัวนั้น ต้องใช้กราฟมาช่วย เล่นแบบเก็งกำไร ไม่เกินเดือน

วิธีแรกจะได้ผลตอบแทนมากที่สุด เช่น ช่วงที่อเมกาโดนแฮมเบอร์เกอร์ วันที่ญี่ปุ่นโดนซินามิ ช่วงวิกฤตหนักๆ ต้องกล้า และใช้เวลายาวนาน

วิธีที่ 2 เล่นเป็นรอบๆ ของ ต้องใช้การวิเคราะห์พื้นฐานช่วยมาก ต้องจัดรอบของตัวหุ้น โดยใช้พื้นฐานเป็นหลัก เช่นรอบตามการประกาศงบการเงิน รอบตามอุตสาหกรรม รอบตามการซื้อขายของต่างประเทศ ระยะเวลาขึ้นอยู่กับแต่ละตัว

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

สรุปความณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์ ชุดที่ 2 ตอน 2/12

ต้องตัดสินใจแล้วว่าจะเป็นนักเก็งกำไรหรือนักลงทุน ควรเลือกเพียงอย่างเดียว

ให้ดูว่ามีความอดทนในการถือหุ้นนานแค่ไหน อึดอัดเมื่อถือหุ้นนานเกิน 3-5 วัน ถือเมื่อหุ้นจะขึ้น ขายเมื่อหุ้นจะลง และตัดขาดทุนและจะกลับมารับที่ราคาต่ำกว่า เป็นต้น แบบนี้จะเป็นนักเก็งกำไร จะได้กำไรไม่มาก เป็นกอบเป็นกำ

การเก็งกำไรที่ดี ไม่ควรถือหุ้นในพอร์ตไม่เกิน 3 ตัว อ่านจุดที่มีการสะสมหุ้นให้เป็น follow buy หลังการสะสมหุ้นจบลง stop loss เมื่อซื้อแล้วไม่ขึ้น และ let profit run เมื่อเป็นไปตามคาด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

สรุปความณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์ ชุดที่ 2 ตอน 3/12

stop profit ไม่จำเป็นต้องทำทั้งก้อน แบ่งได้ตามจุดสำคัญคือ

จุดแนวต้านทางเทคนิค จุด panic buy จุดสิ้นสุดการเก็งกำไร

เริ่มด้วยการดูกราฟ (นาทีที่ 1.20) ตัวอย่างหุ้น SYMC เป็นตัวอย่างการสะสมหุ้นที่ชัดเจนมาก

หุ้นตัวนี้มีกำไร และมีปันผล คือพื้นฐานดี เครื่องมือวนการวิเคราะห์กราฟ : candle stick

อธิบายแรงซื้อแรงขายได้ดี แท่งแดง คือ แรงขายชะ แท่งเขียว แรงขายชนะ

การเก็งกำไรจะไม่เล่นในตลาดที่แรงขายเป็นผู้ชนะ หรือก้ำกึ่งระหว่างแรงซื้อแรงขาย

จะเล่นในจังหวะที่แรงซื้อชนะเป็นส่วนใหญ่ เพราะเก็งกำไรเราจะถือหุ้นไม่นานมากแล้วได้เงิน

ใช้เส้นแนวโน้ม trendline แบบแนวนอน เพื่อหา high เดิมให้หาไว้ 2-3 แนว ถ้าราคาทะลุ high เดิมให้ follow buy ในช่วงที่ราคาอยู่ระว่างนี้จะเป็นการสะสมหุ้น การสะสมหุ้นที่ดีไม่ควรมี new low

การอ่านการสะสมหุ้น

หุ้นจะแกว่งตัวในกรอบแคบๆ ไม่ควรมี new low และใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือนขึ้นไป

เมื่อสะสมห้นเสร็จแล้วจะดันราคาขึ้น ผ่านจุดแนวต้านสำคัญ คือ high เดิม สามารถ follow buy แต่ราคาต้องไม่หลุดแนวต้านนั้นลงมา ถ้าหลุดจะเป็นการหลอกต้องขายทิ้ง stop loss ออกไป เมื่อ follow buy แล้ว หุ้นจะต้องทำ new high ทุกวัน ถ้าวันไหนมีแรงขายออกมาแรงๆ ให้รู้ว่าจบรอบการขึ้นรอบแรก ให้ stop profit เมื่อมีการ rebound กลับ

การ follow buy จะทำได้ตอนจบการสะสมหุ้นเท่านั้นหากไปเข้าซื้อที่ราคาสูงกว่านั้นจะต้องระวังมาก

เล่นสั้นมาก

ในการ follow buy มีโอกาสถูก 3-4 ครั้งเท่านั้น แต่ผิด 6-7 ครั้ง และต้อง stop loss ทัน จะเสียเงินไม่เกิน 10% แต่กำไรจะไม่จำกัด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

สรุปความณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์ ชุดที่ 2 ตอน 4/12

จะสร้าง trend line อย่างไร

ตย PHOL วิธีการตีเส้น

ในช่วง sideway จะมีจุด high แต่ละช่วง ให้หาจุด high ให้ลากเส้นแนวนอน จากจุด high ไปทางขวาสุด ตรงๆ ไป มีหลายเส้น ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการเล่น

วิธีการเล่น : ให้ follow buy เมื่อราคาผ่านแนว trend line ที่ลากไว้ เมื่อผ่านแล้วราคาต้องขึ้น ถ้าไม่ขึ้นให้ขายทิ้งทันทีและ stop profit ทยอยขายเมื่อถึงจุดแนวรับสำคัญ ซึ่งจะตั้งที่ high ที่ผ่านมา

มีหุ้นไหนมั้ยที่เป็น pattern แบบนี้แต่ไม่วิ่งตาม เช่น NCH คือ ลาก trend line ได้ 2 เส้น เส้นแรก follow buy แต่ไม่ผ่านเส้นที่ 2 ต้องขายทิ้ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

สรุปความณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์ ชุดที่ 2 ตอน 5/12

วิธีการเลือกหุ้นว่าจะเล่นตัวไหนดี

- ไม่มีข้อกำหนดตายตัว ดูจากการวิเคราะห์กราฟเทคนิคเป็นหลัก แต่เทคนิคก็ถูกทำลายได้ โดยมีแรงซื้อ/ขายเข้ามามากจนแนวต้าน/แนวรับถูกทำลายไป (ปริมาณเงินต้องมาก) วิธีแก้คือต้องแบ่งเป็น 2-3 ไม้

สถาบันตปท เค้าเล่นเก้งกำไรในหุ้น 9 ตัวในกลุ่ม A ตย KBANK เป็นหุ้นชั้นดี การทุบ kbank จะทุบลงมาจนชนแนวรับสำคัญลงมาแล้วปล่อย rebound แล้วทุบลงต่อ โดยปกติจะต้อง cut loss แต่นักลงทุนตปทจะไม่ cut เค้าจะได้หุ้นในราคาถูก แล้วดันขึ้นทะลุแนวต้านไปเลย(แนวต้านกลายเป็นแนวรับไปในทันที) แล้วทุบให้หลุดแนวรับอีกรอบ แต่เป็นหลอก วิธีการเล่นคือ เราควรรอให้ทุบจนเสร็จก่อน ไม่ควรใส่ order ใดๆ จากนั้นจึงมาดูทิศทางถ้ากลับเป็นขาขึ้นใหม่คือ ต่างประเทศกลับมาซื้อใหม่ค่อยซื้อตาม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

http://youtu.be/srHY1BjysNA

 

 

 

สรุปความณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์ ชุดที่ 2 ตอน 6/12

ตย TRUE เป็นกรณีศึกษาที่กองทุนเข้ามาเล่น

เริ่มจากการสะสมหุ้นในช่วง 2 บาท แล้วดันผ่านแนวต้าน โดยปกติจะดันขึ้น 2 ครั้ง ครั้งที่ 3 จะไม่ค่อยเกิด (อาจเกิดได้ ต้อระวัง) ครั้งที่ 3 มักเป็นการดันขึ้นมาปล่อยของ ต้องรีบ stop loss ในเวลา 3 วัน (ของการดันครั้งที่ 3 )

หากมีข่าวลูกหุ้นเข้า(เพิ่มทุน) จะต้องดันก่อนที่ลูกหุ้นจะเข้า ดังนั้นจะเป็นช่วง cut loss อีกครั้ง

มือใหม่ให้เก็งกำไรให้เก็งกำไรเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ เพราะหากพลาดมาจะได้มีเงินปันผลและพื้นฐานรองรับ หรือให้เล่นตาม fun flow หรือช่วงที่มีปริมาณเงินเข้ามามากๆ เช่น ช่วงเงินบาทแข็ง เป็นต้น และต้องเตรียมใจสำหรับการขาดทุนด้วย

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

สรุปความณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์ ชุดที่ 2 ตอน 7/12

สัญญาณเตือนภัยเมื่อการเก็งกำไรสิ้นสุด (1)

การวิเคราะห์เชิงเทคนิคเบื้องต้น จะเอาไว้ดูตัวตนที่แท้จริงของราคาหุ้น ศึกษาความเคลื่อนไหวของรายใหญ่หรือผู้มีอิทธิพลในตลาด (สะสมหุ้น-ไล่หุ้น-ระบายหุ้น-เลิกสนใจหุ้น) ใช้ canle stick, trend line และ price pattern ดู พวก indicator ต่างๆ เอาไว้ confirm สิ่งที่เราคิด ว่าถูกหรือผิด

สัญญาณที่จะบอกว่าควรเลิกเก็งกำไร

กลุ่ม 1 หุ้นใหญ่ๆ 9 ตัว กลุ่ม A เล่นเก็งกำไรตามต่างชาติ

กลุ่ม 2 หุ้นกลางๆ หรือหุ้นชั้นดี เก็งกำไรตามรายใหญ่ในประเทศหรือกองทุน

กลุ่ม 3 หุ้นเล็กเท่านั้น เก็งกำไรตามคนอื่น (รวมตัวกันของรายย่อย)

ดูตย กราฟของหุ้นกลุ่ม 1 หาช่วงจังหวะการสะสม การดันหุ้น การปล่อยหุ้น บางตัวจะไม่พบช่วงสะสมหุ้น ให้ดูแนวรับแนวต้าน กลุ่มนี้จะมีเวลาในการเก็บของ และออกของตาม ช่วงออกจะสังเกตได้ว่างไม่มีการทำ higher high ให้เห็น (สามเหลี่ยม) การออกของจะต้องค่อยๆ ออก ออกทีละส่วนแบ่งเป็น 2-3 ไม้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

สรุปความณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์ ชุดที่ 2 ตอน 8/12

สัญญาณเตือนภัยเมื่อการเก็งกำไรสิ้นสุด (2)

ตย PTTCH มีการสะสมหุ้นเป็นช่วงๆ อาจเปลี่ยนมือหลายกุล่ม มีการไมม่ทำ higher high แล้วจบ เดิมเป็นหุ้นที่ไม่ค่อยจะมีสภาพคล่อง พอปูนใหญ่ขายหุ้นเข้ามาในตลาด ราคาก็เริ่มขยับ

เกิด pattern head and shoulder หลังจบรอบ

รูปแบบ pattern head and shoulder หมายถึง แนวโน้มระยะสั้นหรือ side way กำลังจะเปลี่ยน ดูจาก PTTCH เมื่อเกิดpattern head and shoulderก็ขึ้นอีกรอบ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

สรุปความณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์ ชุดที่ 2 ตอน 9/12

การเล่นเก็งกำไรในกรอบแนวรับแนวต้าน

ให้วางแนวรับแนวต้านเป็นชั้นๆ และเก็งกำไรเพียง 50% ของพอร์ต

ตย SCB มักจะมีช่องว่างตามกรอบช่องละ 5 บาท ให้ตีเส้นวางกรอบแนวละ 5 บาท และเก้งกำไรตามกรอบทีะ 50% (คห ส่วนตัว คล้ายการตี fibonacci จะตี Fibonacci แทนก็ได้)

ตย PTTEP ถ้าราคาน้ำมันขึ้น ตัวนี้จะขึ้นแรงกว่า ลงแรงกว่า ต้องรอให้หุ้นนิ่งก่อน จึงจะเข้าซื้อหรือขาย จุดซื้อคือ ไม่ทำ low 3-5 วันก็ซื้อได้ แล้วปล่อย run (เล่นเหมือนกลุ่ม A)

การ follow buy ห้ามทำด้านบน

สัญญาณการปิดการเก็งกำไรหุ้นประเภทนี้ คือแท่งแดงยาว คือมีแรงขายมาก (ใช้ได้ทั้งกลุ่ม A และ B)

การเล่นเก็งกำไรในหุ้นผันผวนสูง เช่น PTTEP (มักเป็น lead ของกลุ่ม รายใหญ่จะเข้ามาเล่นเยอะ)

- จะขึ้นลงตามราคาน้ำมัน

- จุดซื้อ ไม่ทำ new low 3-5 วัน

- จุดขาย กำไรพอใจ หรือเกิดแนวต้านทางเทคนิค เพราะเมื่อเกิดสัญญาณปิดแล้วจะไม่สามารถขายทัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

สรุปความณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์ ชุดที่ 2 ตอน 10/12

สัญญาณการหิดการเก้งกำไรของหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก

ตย PTL มีจุดเปลี่ยน trend ใช้การลากเส้น price pattern เพื่อหาจุดเปลี่ยน trend โดยลากจากจุด low ไปหาจุด low และจุด high ไปหาจุด high พอเบรคทางไหนก็จะเปลี่ยนทิศไปทางนั้น

สัญญาณสิ้นสุดการเก็งกำไร

- มีการดันราคาสูง แล้วมีแรงขายทุบลงมาแรง คือเกิดแท่งแดงยาวๆ

- จากนั้นมีแรงขายต่อเนื่องไม่เกิน 5 วัน

- เมื่อ rebound ต้องหาจังหวะขาย

- stop loss ก่อนถึงจุดเปลี่ยนเทรน (แนวเทรนเส้นล่าง)

หลังจากขายหมด ราคานอนอยู่ล่างๆ ถ้า cut loss ไม่ทัน ให้รอจนราคานิ่งๆ ข้างล่าง แล้วลาก trend line ใหม่ แล้วเก็งกำไรใหม่ คือรอดูรอบต่อไป

ตย THAI สัญญาณปิดจะเหมือนหุ้นขนาดใหญ่ คือมีแรงขายแท่งแดงยาวๆ มา ให้ขายทิ้ง ถ้าไม่ทันให้ลาน trend line จาก low มา low แล้วดูแนวอีกครั้งให้รีบหาจังหวะขาย

พอลงมาแล้วให้รอจนราคานิ่ง แล้วเริ่มรอบใหม่ หลังจากหุ้นลงมา (จบรอบแรก) จะลงไม่แรงมากแล้ว สามารถเข้าซื้อได้อย่างปลอดภัย

จังหวะของการเลิกเก็งกำไร

หุ้นขนาดใหญ่ มีเวลา 2-3 เดือน

หุ้นขนาดกลาง มีเวลา 5-10 วัน

หุ้นขนาดเล็ก มีเวลาภายใน 3 วัน

สังเกตได้จากกราฟไม่สามารถทำ high ใหม่ได้ อาจจะเป็นสามเหลี่ยม ควรรีบขาย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สรุปความณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์ ชุดที่ 2 ตอน 11/12

เส้นค่าเฉลี่ย และ Fibonacci มีไว้หาแนวรับแนวต้าน โดย fibo มีแนวที่ 0, 38, 50, 68, 100% เป็นแนวรับแนวต้าน

ส่วนเส้นค่าเฉลี่ย ถ้าหุ้นเป็นขาขึ้น เส้นค่าเฉลี่ยจะอยู่ใต้ราคา

เส้นค่าเฉลี่ยตัดกัน ถ้าตัดขึ้นเช่น เส้น 5 วันตัด 10 วันขึ้น เรียก golden cross ถ้าตัดลง เรียก dead cross

ใช้เส้นค่าเฉลี่ยต่างๆ เป็นแนวรับแนวต้าน โดยมากจะใช้เส้น 5, 10, 25, 75

วิธีการเลือกเส้นค่าเฉลี่ยว่าจะเอากี่วัน ให้ดูราคาที่ขึ้นครั้งแรกแล้วพักตัวลงมาให้ใช้เส้น 50 วันเป็นแนวรับ ว่าจะเปลี่ยนเป็นขาขึ้นจริง เมื่อขึ้นไประยะหนึ่งให้ใช้เส้น 25 วันเป็ฯแนวรับ จากนั้นให้ใช้เส้น 10 วันเป็นแนวรับ และ 5 วัน เพื่อให้ตัวสินใจขายให้เร็วขึ้น

เครื่องมือที่ใช้มากสุดคือ candle stick, price pattern, EMA, RSI

RSI เอาไว้วัดว่าตลาด ซื้อมากเกินไปหรือขายมากเกินไปหรือยังตลาด sideway RSI จะแกว่งในกรอบ 30-70 ถ้าตัด 70 ขึ้นไปให้เข้าซื้อได้ เป็นขาขึ้น พอ RSI ไปถึง 90 ให้เริ่มขาย

MACD จะมีเส้น 0 ถ้า MACD มากกว่า 0 จะหมายถึงหุ้นเป็นขาขึ้น ถ้าเก็งกำไร ควรดูที่ MACD ตำกว่า 0 แล้วเริ่มขึ้น

การเก็งกำรควรเล่นในช่วงที่ RSI > 70 จะมีแรงซื้อขายมาก ได้กำไรเร็วที่สุด แต่ก็ต้องระวัง

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

สรุปความณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์ ชุดที่ 2 ตอน 12/12

Fibonacci เป็นการหาแนวรับแนวต้าน ลากจากจุด low ไป high จะได้ 5 เส้น คือ 0, 38,50, 68, 100 % มาเป็นแนวรับแนวต้าน

สัญญาณระยะสั้น กลาง ยาว ดูจากอะไร

สั้นดูจาก candle stick

กลางดู price pattern

ยาวดู trend line

gap หมายถึงกำลังซื้อ/ขายที่เข้ามาผิดปกติ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้นักลงทุนเปลียนใจทันที จะหิดหรือไม่ปิดก็ได้ แต่ถ้าเปิดโดดขึ้น จะมีโอกาสเป็นขาขึ้นยาวๆ ถ้าเปิดโดดลง จะมีโอกาสเป็น side way หรือเป็นขาลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ความเชื่อที่อันตรายของ VI : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

 

 

ความเชื่อที่อันตรายของ VI

 

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

 

 

nivett.jpg

VI จำนวนไม่น้อยที่ผมได้พบเห็น โดยเฉพาะตามเว็บไซต์ต่างๆ มักมีศรัทธา หรือความเชื่อที่ยึดมั่นใน "แนวทาง VI" อย่างมั่นคง

 

จนผมรู้สึกว่า "มากเกินไป" ส่วนหนึ่งของความเชื่อนี้ อาจเป็นเพราะ "ความสำเร็จของ VI" ทั้งในระดับโลกอย่าง วอร์เร็น บัฟเฟตต์ และปีเตอร์ ลินช์ และ "เซียน VI ไทย" จำนวนมากในช่วงเร็วๆ นี้ ที่เสนอแนวทางแบบ VI อย่างกว้างขวางและภาคภูมิ จนทำให้แนวทางอื่นในเรื่องการลงทุนกลายเป็นเรื่องที่อาจไร้สาระ หรือตลกในสายตาของ VI ที่ติดตามศึกษาทฤษฎี VI อย่างเข้มข้น และมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมาก

 

แน่นอน ความเชื่อเหล่านี้ เป็นสิ่งดีที่จะยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้เราไขว้เขวไปจากแนวทางที่ถูกต้อง แต่ถ้ายึดมั่นเกินไป บางครั้งอาจเป็นอันตรายเหมือนกัน เพราะจะไม่ยืดหยุ่น และถ้าเกิดความผิดพลาด ความเสียหายจะมากกว่าปกติ ลองดูว่าความเชื่อ หรือศรัทธาเรื่องไหนที่ผมเห็นว่าเราต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

 

เรื่องแรกคือ เชื่อว่าเราสามารถคำนวณ Intrinsic Value หรือมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นได้แม่นยำ และผิดพลาดมากในระดับทศนิยม และถ้าราคาหุ้นต่ำกว่านั้นมาก ทำให้เรามี Margin Of Safety (MOS) มากพอ เราก็จะซื้อหรือถือหุ้นไว้ไม่ว่าสถานการณ์ตลาดจะเป็นอย่างไร หลายคนพร้อม "ตีแตก" ถ้า MOS สูงลิ่ว

 

ประเด็นคือ มูลค่าที่แท้จริง ถ้าจะคำนวณจริงๆ ต้องมีสมมุติฐานสำคัญคือ ต้องรู้ว่ากำไรของบริษัทในอนาคตระยะยาวมากเป็นอย่างไร เงินสดหรือปันผลที่เราจะได้เท่าไร และจะโตอย่างไร นอกจากนั้น ต้องรู้ถึงต้นทุนของเงินทุนในตลาดด้วย ทั้งหมดนั้น ถ้าเปลี่ยนแปลงผิดจากที่คาดไว้ แม้เพียงเล็กน้อย มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปมากมาย

 

หลายคนอาจใช้สูตรง่ายๆ แบบหยาบๆ เช่น ใช้ค่า PE ว่า กิจการควรมีค่า PE 15 เท่า ถ้ารู้ว่ากำไรปีนี้จะเป็นเท่าไร ก็หามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นได้ แต่นี่ไม่ใช่มูลค่าที่แท้จริงแน่ๆ ยกเว้นว่า กำไรของบริษัทปีต่อๆ ไปอีกยาวนาน ในอนาคตไม่ลดลง และค่า PE ยังเป็น 15 เท่า ไม่ใช่ 7 เท่า

 

ในความคิดของผม มูลค่าที่แท้จริงที่เราคิดไว้ จะเป็นช่วงที่กว้างไม่ใช่เลขตัวเดียว ที่จริงผมสนใจเฉพาะหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าหุ้นที่ต่ำที่สุดที่ผมคำนวณได้ ส่วนมูลค่าหุ้นที่สูงที่สุด ผมแทบไม่สนใจที่จะคำนวณ เหนือสิ่งอื่นใด มูลค่าหุ้นเติบโตและลดลงได้ตามเวลาที่ผ่านไป

 

เรื่องที่สองคือ VI จำนวนมากไม่เชื่อเรื่อง Efficient Market หรือตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพ พวกเขาคิดว่า "นายตลาด" ผิดพลาดเสมอ นายตลาดเป็นคนที่ "คุ้มดีคุ้มร้าย" ตามที่เบน เกรแฮม บอกไว้ เขาให้ราคาหุ้นที่ไม่มีเหตุผล บางครั้งก็สูงเกินพื้นฐานมาก บางครั้งก็ต่ำกว่าพื้นฐาน เราสามารถฉกฉวยประโยชน์โดยซื้อหุ้นที่มีราคา "ถูมากๆ" หรือขายหุ้นที่มีราคา "แพงมากๆ" ได้

 

ผมก็เชื่อว่าหุ้นบางตัว และตลาดหุ้นบางสถานการณ์ มีหุ้นที่มีราคาแตกต่างจากมูลค่าพื้นฐานจริงๆ โดยเฉพาะบริษัทที่ถูกละเลยไม่มีคนสนใจ และเป็นหุ้นขนาดเล็ก แต่หุ้นที่มีขนาดใหญ่ หรือหุ้นที่มีคนซื้อขายและติดตามมากๆ หรือเป็นหุ้น "ยอดนิยม" ราคาหุ้นอาจจะสะท้อนพื้นฐานได้ใกล้เคียง

 

พูดง่ายๆ ราคาหุ้นโดยเฉลี่ยเหมาะสม จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำกำไรได้สูงมากๆ แบบง่ายๆ ได้ ดังนั้น "นายตลาด" ก็คือคนทุกคนที่มาเล่นหุ้นตัวที่เรากำลังเล่นอยู่ บางครั้งอาจจะเห็นว่าคนอื่น รู้น้อยกว่าเรา จำนวนมากเล่นหุ้นโดยไม่เคยวิเคราะห์ด้วยซ้ำไป

 

แต่อย่าลืมว่า มีคนอื่นอีกหลายคน ที่อาจรู้มากกว่าเรา ที่สำคัญ พวกเขามี "น้ำหนัก" หรือเม็ดเงินสูงมาก ถ้าคำนวณแล้ว อาจมีฝีมือ หรือความรู้ในตัวหุ้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว ผลคือ ที่คิดว่าเรา "แน่" นั้น ที่จริงเราเป็น "หมู" อย่าลืมว่าแม้แต่ เบน เกรแฮม ก่อนตายยังยอมรับว่า ตลาดหุ้นอเมริกาได้พัฒนาจน "มีประสิทธิภาพ" ไม่เหมือนสมัยที่เขาเสนอแนวการลงทุนแบบ VI ย้อนหลังไปหลายสิบปี

 

เรื่องที่สามคือ ความเชื่อที่ว่า ถ้าต้องการทำผลตอบแทนการลงทุนที่สูงต่อเนื่องยาวนานได้ ต้องซื้อหุ้นที่ Undervalue หรือหุ้นถูก และขายหุ้นที่ Overvalue หรือ Fair Value หรือหุ้นที่แพง หรือเต็มมูลค่า ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้ได้ผลตอบแทนปีละ 30-40% หรืออาจมากกว่านั้นได้ในระยะยาวอาจเป็นสิบๆ ปี ด้วยวิธีนี้ เราอาจถือหุ้นแต่ละตัวโดยเฉลี่ยไม่เกินหนึ่งปี

 

การที่ได้ผลตอบแทนสูงแบบนี้ได้ เพราะหุ้นแต่ละตัว เมื่อมีราคาถูก เป็นหุ้น VI จะมีโอกาสมี Rerate หรือการปรับราคาใหม่ คือมีช่วงที่หุ้นวิ่งขึ้นไปเร็วๆ บางทีเป็นเท่าตัว หรือหลายเท่าตัว เมื่อมีคนมาพบและ "แห่" เข้ามาซื้อ ทำให้ราคาขึ้นไปแรงมาก ทำให้หุ้นอาจไม่ Undervalue ต่อไป จึงต้องขายทำกำไรไปหาหุ้นตัวอื่น พวกเขาคิดว่า การซื้อแล้วถือไว้ยาวนาน จะไม่มีทางทำกำไรได้มาก เพราะระยะยาว แม้แต่หุ้นระดับ "ซุปเปอร์สต็อก" มักมีกำไรเติบโตไม่เกิน15-20% ต่อปี ซึ่งราคาหุ้นจะวิ่งไปตามผลกำไร คือปีละประมาณไม่เกิน 15-20%

 

เหตุที่ผมคิดว่า ความเชื่อนี้อันตรายอยู่ที่ว่า ทำให้เรามีแนวโน้มเป็น Trader หรือนักเก็งกำไรแทนจะเป็นนักลงทุน ในระยะสั้นๆ ช่วงตลาดหุ้นบูม การเทรดหุ้นอาจทำกำไรได้ดีปีละหลายสิบเปอร์เซ็นต์ติดต่อกันบางที 3-4 ปี แต่ระยะยาว ถ้าช่วงตลาดไม่ได้เอื้อ การทำกำไรแบบนั้นเป็นเรื่องยาก การที่ถือหุ้นที่เป็นบริษัทยอดเยี่ยมและทำกำไรปีละ 15-20% ต่อเนื่องยาวนานจะปลอดภัยกว่า และผมเชื่อว่าโดยรวมจะให้ผลตอบแทนดีกว่า

 

สุดท้ายที่ผมอยากจะพูดถึงคือ ความเชื่อที่ว่า หุ้นที่มีค่า PE และ PB ต่ำมาก คือหุ้นที่มีราคาถูกและเป็นหุ้น VI แน่นอนโดยไม่ได้พิจารณาลึกซึ้งถึงพื้นฐานของกิจการ อันตรายของความเชื่อคือ ประการแรก ค่า B หรือมูลค่าทางบัญชีของบริษัท เป็นมูลค่าอดีตที่บริษัทลงทุนไปในรูปการซื้อทรัพย์สินเช่น โรงงาน อุปกรณ์ แต่มูลค่าที่แท้จริง หรือราคาตลาดของทรัพย์สิน อาจน้อยกว่ามาก

 

ตัวอย่างคือมูลค่าโรงงานและเครื่องจักรสิ่งทอของบริษัทเบิร์กไชร์ของบัฟเฟตต์ ตอนที่ต้องปิดกิจการ ราคาขายเท่ากับเศษเหล็ก ดังนั้น PB ที่ต่ำต่อเนื่องจึงอาจไม่มีความหมาย ต่อมาเมื่อค่า PE ลดลงต่ำมากเช่นกัน แต่นี่อาจเป็นเพราะกำไรในปีนั้นดีขึ้นมาก เพราะภาวะอุตสาหกรรม เช่น ราคาสินค้า หรือวัตถุดิบที่เป็นโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้น หรือลงชั่วคราวที่ทำให้กำไรของบริษัทกระโดดขึ้นเพียงปีหรือสองปี

 

หลังจากนั้นค่า PE อาจกลับมาสูงอย่างเดิม ดังนั้น ค่า PE ที่เห็นว่าต่ำ ก็ไม่มีความหมายเช่นเดียวกัน สรุปแล้ว แม้หุ้นจะมีทั้งค่า PE และ PB ที่ต่ำมาก ก็ไม่ได้เป็นหุ้นถูก ถ้าเราเข้าไปลงทุน และคิดว่าเรากำลังเจอหุ้นที่เป็นสุดยอด VI เราอาจขาดทุนได้มากอย่างไม่น่าเชื่อได้

 

*****************************

 

ความเชื่อที่อันตรายของ VI

 

โลกในมุมมองของ Value Investor

 

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

 

วันที่ 25 กันยายน 2555

 

ที่มา : http://bit.ly/VwzICf

 

ขอบคุณแหล่งข้อมูลครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เม่าปีกเหล็ก ตอน12 คุณกวี จากกสิกรฯ

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...