ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

หัวใจทองคำกับรอยหยักของสมอง

โพสต์แนะนำ

icon1.gif 3 things that you must know!

 

 

1. ราคาหุ้นจะขึ้นลงในลักษณะเป็นคลื่นไม่ใช่เส้นตรง

Trend.png

จากรูปจะเห็นว่าราคานั้นจะเป็นคลื่นที่เคลื่อนไหวเป็น Trend ขาขึ้น(สีเขียว) หรือขาลง (สีแดง) ดังนั้นสิ่งที่เราๆ ทำได้คือตาม Trend เมื่อขาขึ้นก็ซื้อขาลงก็ขายทำกำไร

คนส่วนมากไม่เข้าใจว่าราคานั้นจะเป็นคลื่นเข้าใจว่าเป็นเส้นตรง ถ้าขาขึ้นซื้อหุ้นแล้วต้องได้กำไรไปเรื่อยๆ แต่ในความจริงอาจจะมีบางช่วงบางตอนที่ขาดทุน แต่ไม่ต้องซีเรียสครับถ้าเราตาม Trend ได้ถูก ช่วงที่ขาดทุนก็เป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ดังนั้นไม่ต้องรู้สึกวิตกว่าทำไมหุ้นตัวที่เราซื้อนั้นไม่วิ่งหรือขาดทุนในระยะแรกๆ ครับ ทนถือต่อไปครับ ^ ^

 

2. เราไม่มีทางซื้อที่ราคาถูกสุดและขายที่ราคาสูงสุดได้

Gap.png

จากรูปจะเห็นจุดที่วงกลมไว้จุดนั้นคือราคาต่ำสุดและราคาสูงสุดของรอบนั้นๆ คนส่วนใหญ่ต้องการที่จะซื้อและขายที่จุดนี้ซึ่งเป็นไปได้น้อยมาก คนที่ทำได้ก็อาจจะมีครับแต่อาศัยดวงนะครับ :P

บางคนอาจสงสัยว่าทำไมไม่สามารถทำได้ยังไงลองถามคำถามตัวเองสองข้อนี้ก่อนครับ 1) ทำไมเราถึงรู้ว่าจุดนั้นเป็นจุดต่ำสุด? 2) ทำไมเราถึงรู้ว่าจุดนั้นเป็นจุดสูงสุด? คำตอบก็คือ 1) เพราะว่าราคาได้เลยจุดต่ำสุดมาแล้วจนเปลี่ยนเป็นขาขึ้นอีกรอบ 2) เพราะว่าราคาได้เลยจุดสองสุดมาแล้วจนเปลี่ยนเป็นขาลงอีกรอบ

นั่นคือเหตุผลที่เราไม่สามารถซื้อที่จุดต่ำสุดและขายที่จุดสูงสุดได้ครับ สิ่งที่เราทำได้คือซื้อขายในช่วงกรอบสีน้ำเงินในรูปครับ ซึ่งแน่นอนว่าบางคนอาจคิดเสียดายตรงจุดสูงสุดว่าเราน่าจะขายจะได้กำไรสูงสุดก็อย่างว่าครับไม่สามารถทำได้ดังนั้นอย่าไปเสียดายเลยครับกำไรน้อยยังไงก็ยังกำไรนี่ครับ ^ ^

 

3. Let profit run and cut lost to protect capital

ย้ำอีกครั้งนะครับว่า Let profit run and cut lost ไม่ใช่ Let lost run and cut profit นะครับ คนส่วนใหญ่เป็นอย่างนี้จริงๆ ครับ เวลาได้กำไรนิดๆ หน่อยๆ แล้วชอบรีบขายกลัวว่าจะขาดทุนแต่พอขาดทุนก็ถือต่อแล้วคิดว่าเดี๋ยวมันก็กลับมาเท่าทุน (ทั้งที่จริงๆ อาจจะเสียหายหนักกว่าเดิมก็ได้ครับ) ฉะนั้นวินัยสำคัญที่สุดครับ การ cut lost ก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละคนครับ อาจจะกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็ได้ครับอย่างเช่น 10% ถ้าขาดทุนเท่านี้แล้วไม่ว่าจะเป็นยังไงต้องขายก่อนครับเพื่อรักษาเงินทุนไว้ อีกครั้งนะครับอยากได้กำไรในระยะยาวต้องรักษาวินัยครับ

1

hikizume

8th-July-12 15:48

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

481328_282131705216522_682250927_n.jpg

สติ

ทำให้ความสามารถในการแยกแยะ ถูก-ผิดชัดเจนขึ้น

ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรียนลัดElliott Wave Written by Administrator Article Index เรียนลัดElliott Wave Page 2 All Pages

Page 1 of 2

Briefly Elliott Wave Method

 

Thank http://99problems.org for nice picture.

wave.jpg

ชื่อโีปรเจ็ค

Briefly Elliott Wave Method

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

1.) เพื่อให้ผู้ที่สนใจแนวคิดทฤษฎี Elliott Wave แต่ไม่ต้องการศึกษาทฤษฎีซึ่งมีความสลับซับซ้อนทั้งหมด

ได้ใช้งานและเห็นภาพ Concept ของ Elliott Wave ได้ง่ายขึ้น

2.) เพื่อให้ผู้ที่เริ่มต้นศึกษา Elliott Wave ได้มองเห็นภาพของตัวทฤษฎีได้ชัดเจนขึ้นเพื่อให้ง่ายแก่การศึกษาในอนาคต

3.) เพื่อให้ผู้ที่มีความรู้ในตัวทฤษฎีดีอยู่แล้วแต่ยังไม่สามารถใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไอเดียร์ในการใช้งานจริง

4.) เพื่ออธิบายข้อถกเถียงในหลายๆกรณีเช่น อีเลียตเวฟใช้งานจริงไม่ได้ อีเลียตเวฟตรวจสอบไม่ได้ แต่ละคนนับไม่เหมือนกัน เป็นต้น โดยแนวคิดหรือ Concept ของ Briefly Elliott Wave Method

นี้จะเป็นเครื่องมืออธิบายข้อถกเถียงเหล่านั้นได้ง่ายและกระชับที่สุด

 

วิธีการนี้เป็นวิธีการหา สภาวะตลาด รวมถึงการตั้งสมมติฐานในทฤษฎี Elliott Wave ด้วย แต่วิธีการของ Elliott Wave นั้นค่อนข้างที่จะมีรายละเอียดและขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่านี้มาก เพราะต้องหารูปแบบที่จบไปแล้วเพื่อที่จะคำนวณหา Effect ของมัน นอกจากนั้นยังต้องหารูปแบบการปรับตัว (Correction) เพื่อคำนวณหา Effect

และตรวจสอบการจบ ตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบเพื่อคำนวณหาจุดเข้าออก

วิธีการ Briefly Elliott Wave Method นี้ผมตัดขั้นตอนต่างๆออกโดยยังคงกลิ่นอายของความเป็น Elliott Wave เอาใว้ด้วยขั้นตอนการหาระดับของ Degree แบบง่ายๆแต่ทว่ามีประสิทธิภาพ ตามแนวคิดการทำกำไรของ Elliott Wave คือเราจะทำกำไรในช่วงที่แนวโน้มอยู่ในสภาวะแข็งแกร่งคือในช่วงของคลื่น 3 หรือคลื่น C ถ้าใครที่ศึกษา Elliott Wave จะไม่ค่อยมีปัญหาในการยืนยันคลื่น 3 หรือคลื่น C แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ศึกษามาทางนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะยืนยันคลื่นต่างๆได้อย่างถูกต้อง ผมจึงทำแนวทางในการศึกษาแบบง่ายๆให้ลองศึกษากันดูเพื่อเป็นไอเดีย แต่ก่อนจะไปที่หลักการดังว่าให้ศึกษาเรื่อง สภาวะตลาด และ Fibonacci Relationships แบบ Internal Relationships และอย่าลืม Elliott Wave เบื้องต้น ก่อนครับ

 

- ทฤษฎี Briefly Elliott Wave Method นี้มีแบบแผนมาจากทฤษฎี Elliott Wave ก็จริงแต่ก็ยังไม่ใช่ Elliott Wave โดยแท้ เพื่อไม่ให้เป็นการสับสนผมจึงไม่ใช้สัญลักษณ์ที่ใช้ใน Elliott Wave มาอธิบาย

- ทฤษฎีนี้ใช้ใด้กับทุก Time Frame

ขึ้นอยู่กับว่ารูปแบบเกิดขึ้นที่ Time Frame ไหนเป็นสำคัญ

- ผมอธิบายเฉพาะขาขึ้นเท่านั้น ขาลงก็ให้ใช้วิธีส่องกระจกเอาครับ (mirror)

- Briefly Elliott Wave Method ถือเป็นทรัพย์สินของ www.advance-elliottwave.com จะดีมากๆหากการนำไปเผยแพร่ต่อนั้นให้เครดิตกับ www.advance-elliottwave.com จักขอบพระคุณมากครับ

briefly%20elliott.jpg

ขั้นตอน

1. Important High-Low นั้นมีวิธีการดูหลายแบบเช่น ที่จุดสูงเก่า-ต่ำเก่า, ตัวเลข Fibo 38.2% 61.8% หรือเครื่องมือต่างๆที่สามารถบอกแนวรับ-แนวต้านได้

 

2. Step 1 ขั้นตอนนี้คุณต้องมองการปรับฐานให้ออก การปรับฐานนั้นมีทั้งการปรับฐานใหญ่และปรับฐานย่อยต้องมองให้ออกก่อน วิธีการก็คือให้ดูที่ขนาดของมันทั้งในแง่ของเวลาและราคาแล้วจับมันเอาใว้เป็นกลุ่มๆ ใหญ่อยู่กลุ่มใหญ่ เล็กอยู่กลุ่มเล็ก ดังรูปปรับฐานย่อยคือเส้นประสีแดง ปรับฐานใหญ่คือในกรอบสีเขียว เมื่อราคาวิ่งลงมาถึงจุดต่ำสุดที่มีนัยสำคัญและเงยหัวขึ้นมากลายเป็น Segment X ให้รอก่อนเพราะคุณจะไม่มีทางรู้ได้ว่าแนวโน้มจะเปลี่ยนเป็นขึ้นจริงหรือไม่ อาจเป็นแค่การปรับฐานของขาลงแล้ววิ่งลงต่อก็ได้ จากนั้นปล่อยให้ราคาปรับตัวตามรูปคือ Retracement B พอราคาจะวิ่งขึ้นไป Break Out ยอด Segment X ให้คุณเปรียบเทียบขนาดของ Retacement B ว่าขนาดของมันใกล้เคียงกับขนาดของ Retacement A หรือไม่ (ทั้งในแง่ของราคาและเวลา) คือดูว่ามันเป็นการปรับฐานเล็กๆหรือปรับฐานใหญ่นั่นเอง หากขนาดของมันมีขนาดเล็กมากๆเมื่อเทียบกับ Retacement A มันจะเป็นแค่การปรับฐานย่อยๆหรือที่เรียกกันว่าคลื่นย่อยนั่นแหร่ะครับเราก็ปล่อยมันและรอต่อไป

แต่หากรูปแบบ Retacement B มีขนาดโตกว่าการปรับฐานย่อยอย่างเห็นได้ชัดเจน (เส้นประสีแดง) และใกล้เคียงกับ Retacement A ก็ไป Step ที่ 2 ต่อ

 

(2.1) สาเหตุที่ต้องเปรียบเทียบขนาดของการปรับฐาน (เวลาและราคา)

ของ Retracement A และ Retracement B ให้มีขนาดที่ใกล้เคียงกันก็เพื่อเป็นการยืนยันความยาวของส่วนที่มีแนวโน้มใน Time Frame นั้นๆ (Segment Z) อธิบายเพิ่มเติมหากเราใช้การ Break Out ของปรับฐานย่อย (เส้นประสีแดง)

ราคาจะไม่สามารถวิ่งยาวได้ถึงตัวเลข 100, 138.2 และ 161.8 ของ Segment X ได้ ฉะนั้นเราต้องเล่นในคลื่นที่มีระดับชั้นเดียวกัน (Degree)

จึงจะหาเป้าหมายใน Time Frame นั้นๆได้

 

3. Step 2 รอให้การปรับตัว Retacement B จบและราคาวิ่งขึ้นไป Break Out ยอด Segment X ขั้นตอนนี้ให้ระวังเท่านั้นอย่าเพิ่งเข้าซื้อ-ขาย เพราะราคามีโอกาสร่วงกลับไปอีกได้ รอการยืนยันจากการปรับฐานย่อยหรือคลื่นย่อยก่อนครับ

 

4. Step 3 ปล่อยให้ราคาวิ่งจนเกิดการปรับฐานย่อย โดยเปรียบเทียบขนาดจากคลื่นย่อยเส้นประสีแดงในรูป เมื่อราคา Break Out การปรับฐานย่อย ให้ Buy ที่หลัง Break Out ย้ำว่าหลัง Break Out เผื่อแค่ไหนให้กะระยะตามความเหมาะสมในแต่ละ Time Frame จะดีมากๆหากสามารถตั้ง Buy Stop - Sell Stop ใด้

 

(4.1) การปรับฐานย่อยนั้นบางครั้งอาจต้องลงไปดูใน Time Frame ที่ต่ำกว่าเช่นเราวิเคราะห์ที่ Time Frame 4 ชม. อาจต้องลงไปดูการปรับฐานย่อยที่ Time Frame 1 ชม. เพื่อให้เห็นการปรับตัวชัดเจนเป็นต้น

 

5. Step 4 ตั้ง TP ใว้ที่ก่อนระดับ 100%, 138.2% และ161.8% ย้ำว่าก่อนระดับ 100%, 138.2%, 161.8% โดยเปรียบเทียบสัดส่วนแบบ Internal Relationships ระหว่าง Segment X กับ Segment Z อ่าน Internal Relationships อธิบายคือหากราคาทะลุ 100% ไปได้ ให้มองที่ 138.2% และหากทะลุ 138.2% ไปได้อีกเป้าหมายสุดท้ายมองที่ 161.8% ตามลำดับครับ

 

6. การเล่นหลังระดับ 161.8% ขึ้นไปค่อนข้างที่จะต้องใช้ความรู้ด้าน Elliott Wave เต็มรูปแบบ เพราะเป็นสภาวะที่ตลาดเข้าสู่สภาวะแสดงความอ่อนแอ ซึ่งจากระยะนี้เป็นต้นไปราคาสามารถเป็นไปได้หลากหลาย อาจเปลี่ยนทาง

หรือปรับตัวครั้งใหญ่แล้ววิ่งไปตามแนวโน้มเดิมก็ได้

 

7. Stop Loss ให้ขีดเส้น Trendline ดังรูปโดยเราจะเรียกเส้นนี้ว่า Trendline 0-Y เส้นนี้จะเป็นเส้นที่เราใช้ Stoploss คือหากราคาลงมาแตะหรือตัดเส้น 0-Y นี้เราจะปิดสถานะทันทีไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุนก็ตาม

 

8. สิ่งสำคัญอีกประการคือการตรวจสอบสภาวะตลาดว่าอยู่ในช่วงใด คุณต้องรู้ตำแหน่งของตัวเองหากเข้าไปอยู่ในตลาดแล้ว สำคัญกว่าคือคุณต้องรู้และอ่านสภาพตลาดให้ขาดก่อนเข้าทำการซื้อ-ขาย โดยศึกษา สภาวะตลาด ให้เข้าใจก่อนในอันดับแรก ในทฤษฎี Briefly Elliott Wave Method นี้จะบอกสภาวะของการเริ่มสร้างแนวโน้มและสภาวะแนวโน้มแข็งแกร่งให้กับคุณ ให้คุณอนุมานเอาว่าหลังระยะ 161.8% เป็นสภาวะที่ 3 คือการแสดงท่าทีหมดแนวโน้ม (บางทีคุณอาจตรวจสอบสัณญาณ Divergence จาก Indicator ที่ตำแหน่งนี้ร่วมด้วยก็เป็นวิธีการที่ดี) บางครั้งคุณอาจพบว่าตำแหน่งปัจจุบันนี้คือเหนือระดับ 138.2% ซึ่งยังอยู่ในสภาวะที่ 2 (แนวโน้มแข็งแกร่ง) ตำแหน่งนี้สามารถเข้าทำการซื้อขายได้แต่เป็นตำแหน่งที่ใกล้จะสิ้นสุดแนวโน้มแล้ว คุณอาจกำหนดกลยุทธ์แบบวาง Lot Size น้อยๆเก็บระยะสั้นๆโดยลงไปดูใน Time Frame ที่ต่ำกว่าอย่างนี้เป็นต้น หากคุณพบว่าสภาวะอยู่ในตำแหน่งของการเริ่มต้นแนวโน้มสิ่งที่ต้องทำคือรอการปรับตัวใน Retracement B ให้จบก่อนเท่านั้น

 

9. ในการหาเป้าหมายนั้นให้ระวังแนวรับ-แนวต้านที่เป็นสูงเก่า-ต่ำเก่า (High-Low) และตัวเลขเปอร์เซ็น Retracement 38.2%, 61.8% หากคลื่นปัจจุบันที่คุณเล่นอยู่นี้เป็นคลื่นปรับฐานของคลื่นก่อนหน้า

สรุป คุณต้องทราบตำแหน่งของสถานะในปัจจุบันเพื่อที่จะมี Action กับตลาดได้อย่างเหมาะสม หากคุณรู้สึกมึนงงกับสภาพตลาดที่เป็นอยู่ก็แสดงว่านี่ไม่ใช่โอกาสของคุณอย่าฝืนลงไปคลุกฝุ่นกับผู้คนในตลาดให้คุณพักสินทรัพย์ตัวนี้เอาใว้ก่อน แล้วไปสังเกตการณ์สินทรัพย์ตัวอื่นๆแทน ตลาดที่ทำกำไรได้คือตลาดที่คุณมองออก มองอย่างเป็นระเบียบและเห็นเป็นระบบ ตลาดที่ยุ่งเหยิงคือตลาดที่ไม่สามารถกำหนดทิศทางได้ผู้คนส่วนใหญ่ในตลาดเองก็ยังไม่ทราบว่าจะไปกันทางไหนดีวิ่งชนกันไปมา เหล่านี้จะต้องสะท้อนออกมาทางรูปแบบกราฟราคาทั้งสิ้น..

สิ่งที่ต้องทำคือ "รอ" อย่าลงไปเล่นในเกมที่คุณไม่รู้จักมัน...

 

"เข้าใจสภาวะ มีปฏิกริยาอย่างเหมาะสม" ...

 

หน้า 2 จะเป็นส่วนเสริมที่ช่วยวิเคราะห์ความยาวของคลื่น Z

http://www.advance-elliottwave.com/index.php/othertechnical/briefly-elliottwave.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรียนลัดElliott Wave - Page 2

Written by Administrator Article Index เรียนลัดElliott Wave Page 2 All Pages

Page 2 of 2

 

 

ส่วนเสริม 1 ใช้ดูว่าคลื่น Z จบได้หรือยัง

 

วิธีการคือให้ขีดเส้นเทรนไลน์ 0-Y เส้นนี้จะเป็น Base Line ต่อมาให้ขีดเส้นผ่านจุด X โดยให้ขนานกับเส้น 0-Y ดังรูป และพิจารณาดังนี้

 

1. รูปแบบที่สามารถจบได้

can_be_complete.jpg

รูปบนแสดงถึงคลื่น Z ที่สามารถจบได้คือคลื่น Z ต้องยืนอยู่เหนือหรือต่ำกว่าเส้นขนาน X แบบอย่างนี้ราคาสามารถจบรูปแบบได้เมื่อมันถึงเป้าหมาย (ตัวเลข Fibonacci Relationship)

 

2. รูปแบบที่ไม่สามารถจบได้

cannot_be_complete01.jpg

รูปบนหากคลื่น Z ลงมาหยุดอยู่ที่เส้นขนาน X แล้วปรับตัวขึ้นไปอย่าเพิ่งเปิดสถานะ Buy Position นะครับเพราะว่า Price Action อย่างนี้แสดงถึงรูปแบบที่ยังไม่สามารถจบได้มันจะต้องสร้างรูปแบบเพื่อลงต่อตามทิศทางเดิม สรุปคือหากคลื่น Z มาหยุดอยู่ที่เส้นขนาน X มันจะไม่สามารถจบรูปแบบได้ครับ

 

cannot_be_complete02.jpg

รูปบนแสดงการไปต่อของคลื่น Z หลังจากวิ่งมาชนเส้นขนาน X แล้วปรับตัวขึ้น จากนั้นก็วิ่งต่อตามทิศทางเดิม

 

 

cannot_be_complete03.jpg

รูปบน หากราคาลงมาชนเส้นขนาน X มันจะปรับตัวเต็มที่ไม่เกิน 61.8% ของรูปแบบทั้งหมดแล้ววิ่งลงต่อตามทิศทางเดิม

 

*หลักการนี้ก็เป็นวิธีการตรวจสอบการจบของรูปแบบที่ใช้ในทฤษฎี Elliott Wave ซึ่งใช้ได้ทั้งรูปแบบปรับตัว (Correction) และ Impulsion ครับ

 

 

ส่วนเสริม 2 ใช้ดูว่าคลื่น Z ควรมีความยาวเท่าไร

 

- วิธีการคือดูรูปแบบของคลื่น Y ว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งในทฤษฎี Elliott Wave นั้นค่อนข้างที่จะละเอียดและซับซ้อนเป็นอย่างมากสำหรับเนื้อหาในส่วนนี้อ่านเพิ่มเติมได้ในบทเรียน Elliott Wave เรื่อง Correction

- คลื่น Y นั้นภาษา Elliot Wave เราเรียกว่า Correction หรือคลื่นปรับตัว มีอยู่ 3 รูปแบบใหญ่ๆด้วยกันคือ Flat หน้าตามันจะแบนๆ, Zigzag หน้าตาโดยรวมมันจะเป็นมุมแหลมๆ และสุดท้ายคือ Triangle หรือสามเหลี่ยมซึ่งต้องมี 5 คลื่นไม่มากไม่น้อยไปกว่านี้

- ผมจะแยกผลลัพธ์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ หนึ่งแบบที่คลื่น Z ยาวเต็มที่ 100% ของ X และแบบที่สองคือคลื่น Z มีโอกาสยาวได้ถึง 161.8% ของคลื่น X

 

z100max.jpg

รูปบนแสดงคลื่น Z ยาวเต็มที่ 100% ของ X วิธีวิเคราะห์ให้ดูที่คลื่น Y ต้องเป็นรูปแบบ Zigzag หรือเป็นมุมแหลมๆดังรูปซ้ายสุด และอีกแบบคือเป็นรูปแบบ Triangle ดังสองรูปที่เหลือซึ่ง Triangle นี้ต้องดูให้แน่ใจว่ามันมี 5 คลื่นต้อง 5 คลื่นเท่านั้นไม่ใช่ 3 คลื่น หากเราพบว่าคลื่น Y เป็นรูปแบบดังภาพประกอบให้เราตั้ง Take Profit ไม่เกิน 100%

*หากคลื่น Y เป็นรูปแบบ Triangle และ Zigzag ไม่ได้หมายความว่ามันจะยาวเกิน 100% ไม่ได้ แต่ตามสถิติในทฤษฎี Elliott Wave แล้วมันมีโอกาสยาวเท่ากับคลื่น X หรือ 100% ของคลื่น X เท่านั้น

 

 

ต่อมาเป็นรูปแบบที่บ่งบอกว่าคลื่น Z ยาวถึง 161.8% ของคลื่น X แน่นอน

zcan161.8of_x.jpg

รูปบน หากคลื่น Y เป็นรูปแบบแบนๆหรือ Flat หรือมองแล้วเป็นไซเวย์ที่ขนานกันดังภาพประกอบ รูปแบบนี้คือ Flat เป็นรูปแบบที่บ่งบอกว่านักลงทุนมีความเชื่อมั่นในแนวโน้มที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่นี้สูงมาก ฉะนั้นคลื่น Z มีโอกาสยาวถึง 161.8% ของคลื่น X แน่นอน

*ไม่บ่อยครั้งนักที่คลื่น Y เป็นรูปแบบ Flat แล้วคลื่น Z จะยาวไม่ถึง 161.8% ของคลื่น X แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้น แต่ก็เ็ป็นเปอร์เซ็นที่น้อยมาก 80-90% โดยประมาณคลื่น Z ต้องยาวถึง 161.8% ของคลื่น X

 

 

ให้ลองฝึกฝนดูครับ เมื่อคล่องแคล่วดีแล้วอาจใช้ร่วมกับ Indicator หรือเทคนิคอื่นๆก็ได้แล้วแต่เราจะพัฒนา ขอให้โชคดีในการเทรดทุกท่านครับ

 

Briefly Elliott Wave Method ถือเป็นทรัพย์สินของ www.advance-elliottwave.com

http://www.advance-elliottwave.com/index.php/othertechnical/briefly-elliottwave.html?start=1

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

543867_378181248945498_1723142971_n.jpg

พี่น้องลองดูเองนะฮะ

--------- -------

 

SUNDAY, DECEMBER 16, 2012

 

YOYO's Value Investing 2006-2010

]

สำหรับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่สอบถามเข้ามา...

อยากลงทุน และอยากประสบความสำเร็จในการลงทุน..

ทำอย่างไร..อ่านอะไรดี...

 

 

ผมทำมาให้แล้วน่ะ!! แจกฟรี eBook ความรู้ในการลงทุน โดย Wizard Kid ครับ

โดยเจตนาที่ทำขึ้นมาแจกฟรีๆเพราะ...

 

"เรามีความตั้งใจจะรวบรวม ความรู้ดีๆ ที่ใช้ได้จริง มาแจกฟรีเรื่อยๆ

เพื่อไม่ให้นักลงทุนต้องจ่ายเงินแพงๆเรียนอะไรที่หาเรียนฟรีได้

จะได้เก็บเงินไว้ไปเรียนอะไรที่ควรจ่าย และเหลือเงินไว้ลงทุน"

 

เนื้อหาทั้งหมดนำมาจาก www.yoyoway.com ของคุณ "โยโย่" สันติ สิงหวังชา

นักลงทุนผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการลงทุนในตลาดหุ้นเมืองไทย..

 

ebook นี้จัดทำขึ้นโดยทางผู้รวบรวมต้องการจะสานต่อเจตนาของคุณสันติ สิงหวังชา

ที่มีจุดประสงค์เพื่อที่จะแบ่งปันความรู้ในการเล่นหุ้น

(ขอใช้คำว่าเล่นหุ้นนะครับ ดูแล้วสนุกกว่าคำว่าลงทุนเยอะเลย)

โดยเนื้อหานั้นอาจจะเขียนแนะวิธีการเล่นหุ้น บางบทความอาจจะหาบทความดีๆมาลง

บางบทความก็นั่งวิเคราะห์หุ้น บางทีอาจนั่งเขียนระบาย

หรือบางทีอาจจะเอาอะไรที่ไม่เกี่ยวเลยมาใส่ก็ได้ .

.หวังว่าคงเป็น ebook การลงทุนที่มีประโยชน์อย่างยวดยิ่ง

 

สามารถโหลดได้ที่

 

http://www.ebooks.in..._Way_2006-2010/

 

โหลดมาเก็บอ่านในคอมพิวเตอร์ก็ดี อ่านในไอแพดก็ดี...อ่านให้ครบ 400 หน้า....

แล้วชีวิตคุณจะเปลี่ยนไป...!

 

แชร์กันเยอะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

Posted by Wizard Kid @ S2M at 1:25 AM

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Fibonacci Relationships pdf_button.png printButton.png emailButton.png Written by Administrator

สิ่งแรกที่ต้องทราบก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา Elliott Wave ก็คือเรื่องของความสัมพันธ์ของคลื่นหรือ Relationships เราจะใช้ตัวเลขสัดส่วนทองคำ Fibonacci เข้ามาช่วยกำหนดสัดส่วนเราเรียกรวมกันว่า Fibonacci Relationships ซึ่งก่อนที่จะใช้เครื่องมือชนิดนี้ได้ จำเป็นที่จะต้องฝึกมองและรู้จัก สูงสุด-ต่ำสุด (High-Low) อย่างดีเสียก่อนครับ

(Fibonacci คืออะไรค้นได้จากอินเตอร์เน็ต เพื่อไม่ให้เนื้อหาเยิ่นเย้อมากเกินความจำเป็นผมไม่ขออธิบายส่วนนี้)

มาเริ่มกันเลยครับ

ตัวเลขสัดส่วน Fibonacci ที่นิยมและมีความแม่นยำแบ่งเป็น

1. พบบ่อย 38.2, 50, 61.8, 100, 161.8 และ 261.8

2. พบบ้างบางครั้งคราว 80, 123.6, 138.2, 150, 200 และ 238.2

 

 

retracement.jpg

ตัวแรกคือการปรับฐานหรือ Retacement, Retract ดังรูปด้านบนเราจะใช้คลื่นแรก(x) เป็นตัวตั้ง (100%) โดยเมื่อจบคลื่นแรกจะเกิดการเปลี่ยนทิศทางดังรูปคือเปลี่ยนจากขึ้นเป็นลง การเปลี่ยนทางเมื่อราคาวิ่งถึงจุดๆหนึ่งอย่างนี้เราเรียกว่า "ปรับฐาน" หรือ Retracement รูปบนเรียกว่าคลื่น X ปรับฐานหรือคลื่น y ปรับฐานคลื่น x อย่างนี้ก็ได้

ความยาวของคลื่น y จะเป็นสัดส่วนกับคลื่น x เสมอๆตามตัวเลข 38.2, 50 และ 61.8% ก่อนที่จะวิ่งตามทิศทางของแนวโน้มเดิมต่อไป (ในที่นี้คือแนวโน้มตามคลื่น x)

 

 

internal01.jpg

Internal Relationships คือการเปรียบเทียบสัดส่วนคลื่นที่ไปในทิศทางเดียวกัน (แตกต่างกับการปรับฐานซึ่งเปรียบเทียบคลื่นที่เป็นทิศทางตรงข้ามกัน) คือหลังจากที่คลื่น x ปรับฐานเป็นคลื่น y และเมื่อคลื่น y จบลงราคาได้วิ่งไปตามทิศทางเดิมคือวิ่งขึ้นกลายเป็นคลื่น z ซึ่งคลื่น z นี้จะมีทิศทางเดียวกับคลื่น x ดังรูป และ x กับ z ก็จะมีความสัมพันธ์หรือเป็นสัดส่วนกันตามตัวเลข Fibonacci ที่มักพบได้บ่อยที่สุดคือ 61.8, 100, 161.8 และ 261.8%

* รูปบนเป็นการเปรียบเทียบแบบ Internal Relationships โดยใช้คลื่นแรกหรือคลื่น x เป็นตัวตั้ง (100%) คลื่น z ก็เป็นสัดส่วนกับคลื่น x (นิยมใช้มากที่สุด แม้ไม่ใช้ทฤษฎีอีเลียตเวฟก็ตาม)

 

 

internal02.jpg

รูปบนนี้แสดง Internal Relationships แต่ให้คลื่นถัดมาเป็นตัวตั้งคือให้ z เป็นตัวตั้ง (100%) ให้ x เป็นสัดส่วนกับ z (นิยมใช้ในอีเลียตเวฟเท่านั้น)

 

 

external01.jpg

External Relationships แนวคิดการเปรียบเทียบสัดส่วนเดียวกับ Internal Relationships ต่างกันที่จุดเริ่มต้นของคลื่นที่สองเท่านั้น ดังรูปด้านบนระยะของคลื่น z จะไม่ใช้จาก y ถึง z เหมือนกับการวัดแบบ Internal Relationships แต่จะใช้จุดสิ้นสุดของ x เป็นจุดเริ่มต้นของ z ดังรูปด้านบน

*รูปด้านบนเป็นการเปรียบเทียบโดยให้คลื่น x เป็นตัวตั้ง (100%) คลื่น z เป็นสัดส่วนกับคลื่น x ตามตัวเลขของ Fibanacci

 

 

external02.jpg

 

รูปบนคือ External Relationships ที่ให้คลื่น z เป็นตัวตั้งและคลื่น x ก็จะเป็นสัดส่วนกับคลื่น z

 

**

- Internal Relationships นิยมใช้ทั่วไป หากเป็นทฤษฎี Elliott Wave ก็จะใช้กับรูปแบบ Standard

- External Relationships จะใช้กับทฤษฎี Elliott Wave ที่เป็นรูปแบบ Non-standard ซึ่งวิธีการใช้งานค่อนข้างที่จะซับซ้อนกว่าแบบ Internal ผู้ใช้งานจำเป็นที่จะต้องมีความรู้เรื่อง Elliott Wave เป็นอย่างดีการใช้งานการเปรียบเทียบลักษณะนี้จึงจะมีประสิทธิภาพ

สนใจเข้ารับการอบรม Elliott Wave ชั้นสูงกดที่เมนู Contact us หรือติดต่อ i_woottichai@hotmail.com

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทำไมต้อง Elliott Wave pdf_button.png printButton.png emailButton.png Written by Administrator Article Index

ทำไมต้อง Elliott Wave Page2

 

Page 1 of 2

ทำไมต้อง Elliott wave

 

 

course001.jpg

 

Thank

www.bestknowledgecentre.com for nice picture.

 

การเก็งกำไรนั้นมี "คน" ใด้ก็ต้องมี "คน" เสีย (Zero Sum Game) เงินของคนเสียจะใหลไปให้กับคนที่ใด้ ฉะนั้นการเก็งกำไรไม่ใช่เป็นการสู้กับตัวเองอย่างที่หลายคนเชื่อ แต่มันเป็นการสู้กับคนทั้งตลาด!!!! ใครเก่งกว่าใครมีกลยุทธิ์ที่เหนือชั้นกว่าจะเป็นผู้ชนะมีเงินของผู้อ่อนแอเป็นรางวัล!!!! คุณเข้าใจไหมครับคุณไม่ใด้แพ้ตัวเองแต่คุณแพ้ให้กับคนที่เก่งกว่าในตลาด คนๆนั้นอาจนั่งอยู่ข้างๆคุณหรืออยู่อีกซีกโลกหนึ่งก็ใด้ ถ้าคุณต้องการที่จะชนะในเกมนี้คุณก็ต้องมีอะไรที่เหนือกว่าคนอื่น มีในสิ่งที่คนส่วนใหญ่ทำไม่ใด้นั่นแหร่ะคุณถึงจะชนะ คนเก่งที่สุดในโลกก็จะใด้เงินมากที่สุดในโลกเพราะชนะคนทั้งโลก คนเก่งน้อยก็จะใด้เงินน้อยลดหลั่นกันลงมาแต่ไม่ขาดทุน ส่วนคนที่เสียตลอดมันแปลว่าสู้ใครเขาไม่ใด้ไม่มีวิธีการที่เหนือกว่าคนอื่น จึงต้องแพ้โดนปรับเป็นเงินในพอร์ท ลองทบทวนดูอาวุธที่คุณมีอยู่ในมือตอนนี้มันเหนือกว่าคนอื่นหรือเปล่ามันจะ ชนะคนอื่นใด้หรือเปล่าคำตอบหาไม่ยาก เงินในพอร์ทนั่นแหร่ะครับคือคำตอบ ถ้าคุณอยากชนะคุณต้องหนีคำว่าพื้นฐานหรือ Basic คำพวกนี้ฟังดูดีแต่คิดในเชิงตรรกะแล้วมันเป็นไปไม่ใด้ที่จะชนะคนที่มีความ สามารถสูงๆด้วยคำว่า Basic.

1.Market Rhythm:

 

 

Rhythm ในแง่ของเศรษฐศาสตร์และการวิเคราะห์ราคาหลักทรัพย์แปลว่า แนวโน้ม คลื่นของราคา คลื่นอารมณ์ของมหาชน แต่ผมขอเสริมเข้าไปอีกนิดว่า คือจังหวะ ,จังหวะของการเข้า-ออก และจังหวะที่ควรรอ

 

-แนวโน้ม: สิ่งแรกเลยคือ อีเลียตเวฟจะบอกให้เราทราบถึงแนวโน้มของสินทรัพย์ตัวนั้นๆ การเห็นแนวโน้มคือการเห็น

 

ภาพรวมของตลาดเหมือนกับคุณใด้นั่งเครื่องบินสำรวจภูมิประเทศก่อนลงทุน ในขณะที่คนอื่นๆทำใด้เพียงนั่งรถยนต์หรือเดินเพื่อดูภูมิประเทศ ฉะนั้นเป็นการยากมากที่คุณจะแพ้คนอื่นในสมรภูมิการเก็งกำไร (แนวโน้มมีความสำคัญอย่างไรพวกเราคงทราบกันดีว่าการลงทุนตามแนวโน้มจะช่วยจำกัดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสของความสำเร็จ)

 

-ภาวะของแนวโน้ม: ต่อมาอีเลียตเวฟจะบอกเราใด้ว่าแนวโน้มนั้นๆมีความแข็งแกร่งเพียงใด และเมื่อใดที่แนวโน้มเริ่มอ่อนแอ และเกิดการกลับตัวเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม (Reversal) การลงทุนตามแนวโน้มนั้นเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้องตามหลักการที่สุด แต่การลงทุนตามแนวโน้มนั้นความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นสูงจนเกินยอมรับได้ในช่วง ที่กราฟกำลังเปลี่ยนแนวโน้มและเปลี่ยนแนวโน้มในที่สุด ช่วงที่ก่อนจะเปลี่ยนแนวโน้มนั้นกราฟจะเกิดรูปแบบต่างๆที่เป็นไปในลักษณะออก ด้านข้าง (Side Way, Corrective) หรือเปลี่ยนไปโดยแบบฉับพลัน (V-Shape) แต่ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปในแบบไหนการลงทุนแบบตามแนวโน้ม (Trend Follow) ก็เสี่ยงและอันตรายด้วยกันทั้งสิ้น ยิ่งหากเกิดรูปแบบที่ออกด้านข้าง (Side Way)ลักษณะนี้จะทำให้เกิดการขาดทุนสะสมซ้อน (Draw Down) เพราะเรายังคงเชื่ออยู่ว่าแนวโน้มยังมีอยู่ต่อเนื่องจึงลงทุนในทิศทางเดิม เมื่อราคาลงมาตัด SL เราก็จะเข้าตามทิศทางเดิมเพราะยังคงมีความเชื่อ เป็นอย่างนี้ซ้ำไปซ้ำมาจนเกิดการ Draw Down และการเปลี่ยนทิศทางโดยฉับพลันก็เช่นกันลักษณะนี้จะทำให้นักลงทุน Trend Follow ที่ไม่นิยมตั้ง Stop Loss (เพราะการเล่นแบบ Trend Follow ถ้าติดลบไม่ช้าราคาก็จะกลับมาที่เดิม) เสียหายได้มหาศาลอาจถึงขั้น Margin Call เพราะเรายังคงเชื่อว่าแนวโน้มยังไม่สิ้นสุดในไม่ช้าราคาจะกลับมาที่เดิม

 

ฉะนั้นการเข้าใจว่าแนวโน้มอ่อนแอใกล้ถึงเวลาสิ้นสุดจึงมีประโยชน์มากมายมหาศาล คุณอาจตอบสนองโดยการหยุดดูอยู่นอกสนามหรือเปิด Lot เล็กๆ หรือเก็บ Pips สั้นๆโดยรวมคือคุณจะพร้อมรับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลานั่นเอง ยกตัวอย่างวิกฤติการณ์เศรษฐกิจที่เกิดกับ Greece อีเลียตเวฟมีสัญญาณเตือนเราล่วงหน้าถึงครึ่งปี ดูการวิเคราะห์ Greece Case Study

 

-Rhythm: เข้า-ออก-รอ: เรื่องของจังหวะเข้า-ออก หลายท่านทราบดีแต่ก็ยังมีหลายท่านที่ไม่ค่อยคุ้นกับคำว่าจังหวะของการ "รอ" ทั้งที่การรอคอยนั้นมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาจังหวะทั้ง 3 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลงทุน ธุรกิจหรือการเก็งกำไร การหยุดรอดูทิศทางและแรงลมถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด การยืนดูอยู่นอกสนามรบเพื่อรอฉกฉวยโอกาสนั้นเป็นสิ่งที่นักล่าในตลาดเก็งกำไรทำได้ดีที่สุด ไม่ใช่หลายคนไม่รู้จักรอ ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่าเราไม่รู้ว่าเมื่อไรควรรอเมื่อไรควรเข้าทำกำไรต่างหาก นี่ต่างหากคือต้นตอของปัญหาการอ่านสถานการณ์ไม่ขาดเป็นจุดอ่อนของนักรบเก็งกำไรส่วนมาก ความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งของนักลงทุนที่เห็นใด้ชัดหลังจากที่ใด้ศึกษาอีเลียตเวฟชั้นสูงก็คือ นักลงทุนรู้จักจังหวะของการรอมากขึ้น เขาใช้เวลาในการรอมากกว่าเวลาในการถือออเดอร์หลายเท่าตัว ยกตัวอย่างในตลาดที่มีความรุนแรงของการแข่งขันสูงที่สุดอย่าง Forex นั้นบางครั้งนักลงทุนอีเลียตเวฟใช้เวลาในการรอโอกาส 1เดือนเต็มๆเพื่อที่จะเข้าถือออเดอร์เปิด Position เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแค่นี้ก็ถือว่าคุ้มเกินคุ้ม 1ออเดอร์กับผลกำไร 20-30% คุ้มซะยิ่งกว่าคุ้ม

 

สรุป ก็คืออีเลียตเวฟจะทำให้คุณมีความสามารถในการอ่านเกมว่าเมื่อไรควรออกมายืนอยู่นอกตลาดดูผู้คนห้ำหั่นผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ นี่คือคุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของนักลงทุนอีเลียตเวฟ

________________

 

 

 

ทำไมต้อง Elliott Wave - หน้า 2

pdf_button.png printButton.png emailButton.png

 

2.Market Emotion:

 

Market Emotion คืออารมณ์ของตลาดหรือพูดให้ตรงๆตัวก็คืออารมณ์ของคนที่เข้ามาร่วมซื้อขายนั่นเอง ในส่วนของอารมณ์ตลาดนี้จำเป็นต้องเลือกตลาดที่มีขนาดใหญ่มีผู้ร่วมเล่นจำนวนมากๆจนเกิดคลื่นอารมณ์ของมหาชนจำนวนมหาศาล ในตลาดหรือหุ้นตัวเล็กๆจะไม่สามารถวิเคราะห์ Market Emotion ได้เพราะมีผู้ร่วมเล่นไม่กี่คนที่กำหนดทิศทางของตลาด อาจเรียกอีกอย่างว่าราคาเคลื่อนใหวอย่างไม่สมเหตุสมผลหรือมีเจ้ามือ หรือปั่นตลาดด้วยเงินของคนๆเดียวหรือกลุ่มเดียวนั่นเอง เทคนิคอีเลียตเวฟก็หนีไม่พ้นข้อจำกัดนี้เช่นกัน เราจึงนิยมใช้อีเลียตเวฟวิเคราะห์ในตลาดหุ้นใหญ่ๆของโลก ทองคำ น้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน Commodity วิเคราะห์เศรษฐกิจ วิเคราะห์ราคาสินค้า ยิ่งถ้ามีคำว่าตลาดโลกตามท้ายด้วยก็จะยิ่งดี อีเลียตเวฟสามารถวิเคราะห์อารมณ์ของตลาดพวกนี้ใด้อย่างแม่นยำจนต้องใช้คำว่า มหรรศจรรย์พ่วงท้ายด้วย

 

-อารมณ์ตลาด: อีเลียตเวฟจะทำให้เรามองเห็นอารมณ์ของตลาด โดยตีความรู้สึกของมหาชนออกมาเป็นตัวเลขผ่านทางรูปแบบต่างๆของกราฟทั้งใน Impulse phase และโดยเฉพาะ Correction Phase ที่มีรูปแบบที่สามารถบ่งบอกว่าหลังจากนี้ไปอะไรจะเกิดขึ้น คนในตลาดเริ่มอัดอั้นตันใจพร้อมทีจะระเบิดความรู้สึกหรือยัง หรือว่าคนเริ่มกลัวตลาดเพราะขาดทุน หรือพอใจกับผลกำไรจนอยากจะหยุดแล้ว หรือว่าคนในตลาดเริ่มหวาดหวั่นกับปัจจัยทางด้านพื้นฐานบ้างแล้ว อารมณ์เหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งหากคุณอ่านข่าวเพียงอย่างเดียวคงต้อง อ่านกันตาลายกว่าจะวิเคราะห์ใด้เป็นฉากๆอย่างอีเลียตเวฟ

 

-ภาวะความเสี่ยง โอกาส: มีกฏอยู่ข้อหนึ่งที่พวกเรามักท่องจำแต่ไม่เคยทำใด้คือ "ต้องมีจิตใจอยู่เหนือตลาด อย่าให้อารมณ์ตลาดควบคุมคุณ" ถ้าคุณไม่สามารถวิเคราะห์ภาวะความเสี่ยงและโอกาสได้คุณจะไม่สามารถตีโจทย์ ข้อนี้แตก นอกจากคนตาถั่วและบอดแล้วไม่มีคนตาดีที่ไหนเดินตกเหว เพราะว่าเราไม่รู้สัดส่วนระหว่างโอกาสและความเสี่ยงเราจึงต้องใช้ความรู้สึก และเพราะว่าเราไม่รู้ว่าตัวเองใช้ความรู้สึกเราจึงต้องใช้ความรู้สึกต่อไป ฉะนั้นถ้าเรารู้สัดส่วนของความเสี่ยงและโอกาสแล้วไม่มีวันที่เราจะใช้ความรู้สึก บรรดานักล่าในตลาดเก็งกำไรล้วนอ่านความรู้สึกของมหาชนแล้วก็ดูดเงินจากคนพวกนั้นมาเข้ากระเป๋าของตัวเอง แต่ถ้าคุณยืนอยู่เหนืออารมณ์ตลาด (Market Emotion) คุณก็ไม่ต้องกลัวนักล่าพวกนี้ แทนที่จะกลัวมาขอแบ่งเค้กจากคนพวกนี้ดีกว่ามั๊ยครับ

 

หนึ่งในคุณสมบัติของอีเลียตเวฟคือการตีค่าความเสี่ยงและโอกาสออกมาเป็นตัวเลขผ่านทางรูปแบบและกฏ (Pattern and Rules) เมื่อคุณฝึกใช้จนชำนาญแค่มองปราดเดียวคุณก็จะเห็นตัวเลขพวกนี้อยู่ในหัว มันดีใช่มั๊ยครับที่เราสามารถควบคุมตัวเองผ่านตัวเลขของความเสี่ยงและโอกาส "อย่าให้ใครอ่านความรู้สึกของคุณ แต่คุณต้องอ่านความรู้สึกของคนอื่นแทน" นี่คือคาถาที่ดีที่สุดของนักรบเก็งกำไร

 

Price Objectives:

Price Objectives (เป้าหมายราคา) ความหมายของคำนี้ยิ่งใหญ่จริงๆครับ หลายคนรู้ซึ้งถึงคุณค่าของคำนี้ดี เป้าหมายราคา/แนวรับแนวต้าน พอจะคุ้นไหมครับ สูงสุด ต่ำสุด สูงก่อน ต่ำก่อน เส้นแนวโน้ม เส้นขนาน ฟีโบ้ เหล่านี้คือการหาแนวรับแนวต้าน อาจบอกว่าเป็นเป้าหมายราคาก็ใด้ แต่แนวรับแนวต้านจากพวกนี้มีมากมายเหลือเกินจะรู้ใด้อย่างไรไงว่าควรใช้จุดไหนตัวไหน? อีเลียตเวฟบอกคุณได้ไม่ต้องกังวล แน่นอนว่าอยู่ดีๆแล้วจะรู้ได้ยังไง มันต้องผ่านกระบวนการทางความคิดอีเลียตเวฟเสียก่อนคุณจึงจะเห็นมัน

 

-TP, SL, Cutloss: เหล่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก การวิเคราะห์หาแนวรับ-แนวต้านมีความสำคัญกับ TP, SL, Cutloss ในบางครั้งคุณ SL, Cutloss ไปแล้วราคากลับวิ่งกลับทางเก่าความรู้สึกอย่างนี้ยากเกินจะบรรยายครับ หรือบางครั้งราคาวิ่งเลย TP ของคุณออกไปหลายร้อยจุด คุณห้ามความรู้สึกเสียดายไม่ใด้หรอกครับและความรู้สึกเสียดายนี่เองที่จะนำความหายนะมาสู่คุณในภายภาคหน้า อีเลียตเวฟสามารถวิเคราะห์หาแนวรับ-แนวต้านที่มีนัยสำคัญในการวาง TP, SL, Cutloss และในภาวะคับขันอีเลียตเวฟยังหาทางออกให้คุณเสียหายน้อยที่สุดด้วย

 

-กำไรเท่านี้พอแล้วหรือว่ายังสามารถทำกำไรใด้มากกว่านี้อีก: อีเลียตเวฟจะบอกเราว่าเมื่อไรควรหยุดทำกำไรจากภาวะความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น หรือยังสามารถทำกำไรต่อไปใด้เรื่อยๆ คุณคงเคยเจอเหตุการณ์กลัวบวกมาบ้างใช่มั๊ยครับ มันคือการที่คุณกลัวว่าผลกำไรที่ใด้เพียงเล็กน้อยอยู่นี้จะหายไปจึงต้องตัดทำกำไรแต่เพียงเท่านี้ เขาเรียกกันว่าขายหมู ถ้าไม่อยากขายหมูก็เริ่มต้นศึกษาอีเลียตเวฟชั้นสูงซะนี่คือคำแนะนำที่ดีที่สุดจากผม

 

-ข้อสุดท้าย จุดเข้าซื้อ-ขายที่ Safety Strong ที่สุด: กระบวนการตั้งแต่ Market Rhythm, Market Emotion, Price Objectives จะทำให้คุณยากที่จะแพ้นักล่าในเกมเก็งกำไร มีแต่จะขอแบ่งเค้กหรือกินกำไรจากคนพวกนั้น.

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Dragon Pattern pdf_button.png printButton.png emailButton.png

Written by Administrator

Article Index Dragon Pattern Page 2 Page 3 All Pages

 

 

 

Dragon Pattern

 

 

dragon_pattern.jpg...Dragon Pattern นี้เป็นทฤษฎีของศาสตราจารย์ Suri Duddella ติดตามงานวิจัยของท่านได้ที่นี่ครับwww.surinotes.com

...และขอขอบคุณคุณ Phoomjai แห่งบอร์ด คนรักอีเลียตเวฟ ที่แนะนำทฤษฎีต่างๆให้เราได้ลองศึกษากันครับ

...ศาสตราจารย์ Suri ท่านบอกว่า แม้่ว่าระดับเป้าหมายของราคาอาจจะไม่ตรงกันทุกครั้งแต่รูปแบบนี้ก็มักจะเกิดขึ้นซ้ำๆกันเสมอๆ รูปแบบมังกรนี้ก็จะเป็นหลักการที่จะคล้ายๆกับ M-Pattern หรือ Double Top และ W-Pattern หรือ Double Bottom จะแตกต่างในเรื่องของการหาระยะเป้าหมายเล็กน้อย

...โดยส่วนตัวแล้วผมเองชอบการวิเคราะห์แนวนี้เพราะมันดูมีชั้นเชิงและเป็นการบริหารสมองทั้งสองซีกซ้ายและขวาไปพร้อมๆกัน มันจะทำให้เราจดจำสิ่งต่างๆไปพร้อมๆกับการวิเคราะห์ทางตรรกะได้รวดเร็วและมีประสิทธภาพมากกว่าการใช้สมองซีกซ้ายซึ่งทำหน้าที่คิดคำนวณเชิงตรรกะเพียงด้านเดียว

 

 

 

 

คำแนะนำก่อนเรียนรู้

 

1. รูปแบบมังกร (Dragon Pattern) ถ้ามองในมุมของ Elliott Wave มันก็คือขาปรับตัวของคลื่นสุดท้ายใน Pattern นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น Stadard Impulsion และ Non-standard Impulsion อย่าง Terminal, 5th Wave Failure หรือว่าใช้ในคลื่นปรับตัวของ Correction บางตัวเช่น Weak-b Wave Flat, Truncated Zigzag

2. ท่องใว้อย่าลืมว่าเทคนิคทางด้าน Chart Pattern นั้นมีอยู่ 2 มุมคือ มุมหนึ่งใช้วิเคราะห์หาสภาวะตลาดโดยรวมและอีกมุมคือใช้หาจุดเข้า-ออก การที่จะใช้เทคนิคให้ประสบผลสำเร็จคือคุณต้องหาสภาวะตลาดที่เอื้อต่อการทำกำไรจากนั้นจึงลงไปหาจุดเข้า (อาจเป็น Time Frame เดียวกันหรือ Time Frame ที่ต่ำกว่าก็ได้) หากสภาวะตลาดโดยรวมไม่เอื้อต่อการซื้อ-ขาย จุดเข้า-ออก ก็จะเป็นเหมือนกับดักของนายพรานหรือแสงไฟที่ล่อแมงเม่า หรือว่าโดนมังกรสับขาหลอกนั่นเอง

 

Over Views

 

dragonframework.jpg

 

ลองมาจินตนาการให้เห็นเป็นรูปมังกรกันก่อนครับ (ในรูปบนผมทำให้ดูเฉพาะขาขึ้น ในขาลงก็ใช้วิธีส่องกระจกกลับด้านเอาครับ) มังกรก็จะประกอบไปด้วย

- หัวมังกร ก็คือสูงเก่านั่นเอง

- ขาหน้า ก็คือจากสูงร่วงลงมาทำต่ำใหม่

- คอ ก็คือระยะจากหัวถึงขาหน้า

- หลัง ก็คือระยะปรับฐานนั่นเองต้องอยู่ระหว่าง 38.2-50% ของคอมังกร

- ขาหลัง ระยะของขาหลังคือ 61.8-127% ของคอมังกร แปลว่าขาหลังอาจยาวหรือสั้นกว่าก็คอมังกรก็ได้ แต่ผมแนะนำตามทฤษฎี Elliott Wave ว่าถ้าขาหลังสั้นกว่าขาหน้าสัญญาณ Up Trend (การเปลี่ยนแนวโน้ม) จะแรงมาก

- สุดท้ายคือหางมังกร ตรงหางนี่เองที่เราใช้ทำกำไร หรือถ้าเกิด หัวมังกร, ขาหน้า, หลังมังกร, ขาหลัง พร้อมสรรพแล้วหางมังกรก็เกิดแน่ๆส่วนจะยาวเท่าไรนั้นก็ดูที่ตัวทฤษฎีในหน้าถัดไปครับ

 

 

 

Hump and Leg ขนาดของหลังและขามังกร

 

ระยะแรกที่ถือเป็นส่วนสำคัญของรูปแบบก็คือขนาดของหลังและขามังกร พยายามเทียบสัดส่วนให้ตรงกับทฤษฎีมากที่สุดครับ

 

hump.jpg

รูปบนแสดงขนาดของหลังและขามังกรที่ถูกต้องตามทฤษฎี

- ขนาดของหลัง (Hump) จะต้องอยู่ระหว่าง 38.2-50% ของคอมังกรหรือระยะ AB นั่นเอง หรือพูดอีกอย่างหลังมังกรก็คือ Retracement 38.2-50% ของแนวโน้มก่อนหน้านั่นเองครับ

- ขนาดของขามังกร พอราคาขึ้นมาทำหลังมังกรเราก็จะได้ขาหน้า จากหลังมังกรราคาวิ่งกลับลงมากลายเป็นขาหลัง ตามทฤษฎีกำหนดใว้ว่าขาหลังจะต้องอยู่ระหว่าง 61.8-127% ของคอมังกร(AB) แสดงว่าขาหลังสามารถยาวกว่าคอมังกรได้ แต่ผมแนะนำว่าขาหลังควรจะสั้นกว่าคอหรือถ้าขาหลังสั้นกว่าขาหน้าได้จะยิ่งดีครับเพราะรูปแบบจะไปคล้ายกับ 5 Wave Failure จะยิ่งทำให้ระยะหางของมังกรพุ่งไปไกลและรวดเร็วยิ่งขึ้นครับ

 

จุดเข้าและจุดตัดขาดทุน

 

สำหรับจุดเข้าซื้อขายเพื่อทำกำไรนั้นให้เราขีดเส้นจากหัวมังผ่านไปที่หลังมังกรก็จะได้เส้น AC ดังรูปก่อนหน้าแล้วรอให้ราคา Break เส้น AC นี้ครับ

 

trade%20up.jpg

รูปบนเมื่อราคา Breakout เส้น AC ก็เปิดสถานะ Buy จุดตัดขาดทุนตำราบอกว่าที่ Low ของขาหลังแต่ผมแนะนำว่าขาหน้าหรือขาหลังก็ได้เพราะสองตำแหน่งนี้ถือเป็นแนวรับที่ใกล้เคียงกันครับ

 

trade%20down.jpg

รูปบนเป็นการเล่นในขาลงบ้างเมื่อราคา Break Down เส้น AC ก็เปิดสถานะ Sell จุดตัดขาดทุนก็คือที่ยอดของขาทั้งสองครับ

 

 

 

Take Profit Situation

 

เรื่องของจุดทำกำไรนั้นคุณต้องไม่ลืมว่าต้องเผื่อค่าเบี่ยงเบนให้มันด้วยโดยปิดทำกำไรก่อนถึงระดับ Take Profit จริงๆเล็กน้อยเป็นการเผื่อขาดเผลื่อเหลือครับ... จุดปิดทำกำไรจะมี 3 จุดหลักๆด้วยกันดังนี้ครับ

1. 127% ของ CD

 

tp1.jpg

รูปบน

- e คือจุดเข้า

- F คือจุดทำกำไรแรกคือระยะ 127% ของขาหลัง (CD)

 

2. 90-100% ของ AB

 

tp2.jpg

รูปบน ระยะนี้ก็คือหัวมังกรนั่นเองหรือสูงเก่า-ต่ำเก่าที่จะเป็นแนวรับแนวต้านนั่นเองครับ

- TP ที่สองคือตำแหน่ง G

 

3. ระยะ TP สุดท้ายก็คือ 127-138.2 ของ AB (คอมังกร)

 

tp3.jpg

รูปบนคือระยะสุดท้ายที่ราคาจะเป็นไปได้คือระดับ 127-138.2% ของ AB

- ตำแหน่ง H คือตำแหน่ง TP สุดท้าย

 

 

รูปแบบมังกรก็มีรายละเอียดของทฤษฎีตามที่ได้เล่ามาทั้งหมดครับอย่าลืมฝึกฝนให้ชำนาญครับ...

 

สนใจเข้ารับการอบรม Elliott Wave ชั้นสูงกดที่เมนู Contact us หรือติดต่อ i_woottichai@hotmail.com

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ชุดที่ 1 ตอน 1/1

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...