ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

หัวใจทองคำกับรอยหยักของสมอง

โพสต์แนะนำ

Thanong Fanclub

พวกรัฐท้องถิ่นโดนWal Streetต้อมเรื่องอนุพันธ์จนเปื่อย เจ้งกันถ้วนหน้า

 

อนุพันธ์ derivativesแล้วแต่จะอิงกัน ส่วนมากจะอิงดอกเบี้ย เพื่อประกันความเสี่ยง แต่จริงๆเป็นการพนัน เช่นกู้เงินมาใช้เยอะๆ แล้วเล่นอนุพันธ์ประกันความเสี่ยงดอกเบี้ยขึ้นกับแบงค์ ถ้าดอกขึ้นได้เงิน ถ้าดอกลง เสียเงิน

 

ทีนี้พวกแบงค์ในเครือรู้ดีว่าเฟดจะกดดอกเบี้ย0% พูดง่ายๆรู้ล่วงหน้า มีอินไซด์ก็ไปทำอนุพันธ์ประกันความเสี่ยงดอกเบี้ยกับ counterparties เช่นบอกบริษัทใหญ่ๆ รัฐบาลท้องถิ่น รัฐต่างๆ

 

แล้วพวกWall Streetก็กินรวบ เพราะเฟดกดดอกลง

 

พวกcounterpartiesเจ้งหมด โดยเฉพาะพวกรัฐบาลท้องถิ่นที่ออก municipal bonds

 

ข่าวจากWall Street Journalบอกชัดว่า พวกรัฐท้องถิ่นเจ้งอย่างไร กับการไปเล่นอนุพันธ์กับWall Street

 

ดอกยิ่งลง ยิ่งเจ้ง จะเลิกก็เลิกไม่ได้

 

เวรกรรม

 

Interest-Rate Deals Sting Cities, States

 

Buyer's remorse has hit some cities and states that did deals with Wall Street in different times.

 

Hundreds of U.S. municipalities are losing money on interest-rate bets they made during the bull market in hopes of protecting themselves from higher rates. The deals backfired when rates fell, shriveling the sums paid to municipalities. Now some are criticizing Wall Street and trying to exit the contracts.

 

ปล้นเนียนๆ

 

http://online.wsj.com/article/SB10001424052748703775504575135930211329798.html

 

 

-PAXP-deijE.gif

Municipalities Want Out of Losing Interest-Rate Bets With Wall Streetonline.wsj.com

Some cities and states that made derivative bets with Wall Street called interest-rate swaps are trying to escape the losing deals now.

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปั้นข้าวเหนียว

ขอบคุณทุกความ " จน "

ที่สอนให้คน " สู้ชีวิต "

ขอบคุณทุก " ความคิด "

ที่บอกว่าชีวิต " ยังต้องสู้ "

 

 

 

996823_601160689905910_1827474321_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

60 views

 

คู่หูนักลงทุน : เทป 25 ออกอากาศวันที่ 13 ก.ค.2556

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรคเขาร้ายแต่ไม่เท่าโรคเรา

blank.gif โดย ไสว บุญมา 14 กรกฎาคม 2556 15:57 น. blank.gif เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แถลงว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลกจะต่ำกว่าอัตราที่เคยคาดไว้อย่างมีนัยสำคัญ มันเป็นการตอกย้ำซ้ำอีกครั้งว่าเศรษฐกิจโลกจะตกอยู่ในภาวะซบเซาต่อไป

 

ความซบเซาเป็นอาการต่อเนื่องของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เริ่มขึ้นในโลกตะวันตกซึ่งนักเศรษฐศาสตร์เรียกกันว่า The Great Recession วิกฤตครั้งนี้เริ่มเมื่อปี 2551 หลังฟองสบู่ด้านอสังหาริมทรัพย์ในอเมริกาแตก วิกฤตลุกลามไปอย่างรวดเร็วและร้ายแรงมากจนนักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่ามันร้ายแรงรองลงมาจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่หลวงที่สุดในประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดหลังตลาดหลักทรัพย์ในอเมริกาล่มเมื่อปี 2472 วิกฤตครั้งนั้นเป็นที่รู้ทั่วกันในนามของ The Great Depression

 

อย่างไรก็ตาม ความยืดเยื้อของวิกฤตครั้งหลังนี้ทำให้เริ่มมีนักเศรษฐศาสตร์บางคนสรุปว่า มันร้ายแรงไม่ต่ำกว่าครั้งก่อน ตัวอย่างและเหตุผลของข้อสรุปนี้มีอยู่ในวารสาร Foreign Affairs ฉบับประจำเดือนกรกฎาคม/สิงหาคม 2556 เรื่อง “The Second Great Depression: Why the Economic Crisis Is Worse than You Think” เขียนโดยศาสตราจารย์ เจ. แบรดฟอร์ด เดอลอง ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กเลย์ ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ที่แพร่ออกมาล่าสุดสนับสนุนข้อสรุปนั้น เช่น ในอเมริกาอัตราการว่างงานยังสูงถึง 7.6% และเด็กกว่า 25% ยังขาดแคลนอาหารจนต้องไปรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลและองค์กรการกุศล

 

ส่วนในยุโรป อัตราการว่างงานโดยทั่วไปยังเพิ่มขึ้นแบบไม่หยุดยั้ง ใน 17 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรอัตราการว่างงานเฉลี่ยถึง 12.1% ค่าเฉลี่ยนั้นแฝงความร้ายแรงที่ยากจะประเมินได้ในหลายประเทศ เช่น ในสเปน อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นไปถึง 26.9% โดยเยาวชนอายุ 16-24 ปีไม่มีงานทำถึง 56.5% และกรีซซึ่งเพิ่งล้มละลายและไปขอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟเมื่อไม่นานนี้ยังมีอัตราการว่างงานสูงถึง 26.8% โดยเยาวชนอายุ 16-24 ปีไม่มีงานทำถึง 59.2% อัตราการว่างงานในระดับนี้มีแต่เสียกัยเสียและจะนำไปสู่ความร้าวฉานร้ายแรงยิ่งขึ้นต่อไปในสังคม

556000009038501.JPEG blank.gif ความร้ายแรงยืดเยื้อของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ทำให้มีคำถามตามมาว่า เพราะอะไรรัฐบาลของประเทศก้าวหน้าทางศาสตร์ต่างๆ ทั้งหลายจึงแก้ไม่ได้ในเมื่อมีนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำระดับรางวัลโนเบลเป็นโหล?

 

คำตอบง่ายๆ ได้แก่ ปัญหามีที่มาจาก 3 ระดับซึ่งทับซ้อนกันอยู่

 

ระดับแรกเป็นเรื่องเศรษฐกิจซึ่งตอนนี้มีการยอมรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่ผู้เชี่ยวชาญแล้วว่า นโยบายซึ่งได้มาจากตำรับตำราที่เรียนกันมาแบบแทบล้มตายนั้นใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว

 

จะเห็นว่าประเทศก้าวหน้าทางศาสตร์ต่างๆ ทั้งในอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นต่างรวมหัวกันทำทุกอย่างตามแนวคิดเศรษฐกิจกระแสหลัก แต่เป็นที่ประจักษ์แล้วว่ามันไม่ทำให้เกิดผลตามต้องการ เหตุการณ์ตอนนี้ชี้ชัดว่า เศรษฐกิจเหล่านั้นยังพอถูไถไปได้โดยไม่เลวร้ายต่อไปมากนักเนื่องจากรัฐบาลอัดฉีดเงินจำนวนมหาศาลเข้าไปในระบบอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ พอมีข่าวออกมาเมื่อเดือนที่แล้วว่า ธนาคารกลางอเมริกันอาจจะหยุดการอัดฉีดเงินดังกล่าวเข้าไปในระบบ ความปั่นป่วนในวงการเงินจึงเกิดขึ้นทันที เศรษฐกิจเหล่านั้นมีสภาพเสมือนคนติดยาเสพติดแทบไม่ผิดเพี้ยน

 

หากมองต่อไปในระดับการเมืองซึ่งควบคุมเรื่องนโยบายหลากหลายอย่างของทางเศรษฐกิจจะเห็นว่า รัฐบาลทำอะไรแทบไม่ได้เพราะนักการเมืองส่วนใหญ่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของคนมีเงินซึ่งควบคุมกระบวนการเมืองไว้ได้แบบแทบเบ็ดเสร็จ

 

ตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดได้แก่เรื่องการควบคุมการทำงานของสถาบันการเงิน ทั้งที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในหมู่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจแล้วว่า การเล่นแร่แปรธาตุของสถาบันการเงินเป็นต้นตอสำคัญของปัญหา ทว่ารัฐบาลไม่ยอมออกมาตรการควบคุมสถาบันเหล่านั้นให้รัดกุมยิ่งขึ้นตามข้อเสนอของฝ่ายเศรษฐศาสตร์ สถาบันการเงินสามารถใช้เงินได้แบบไม่อั้นที่จะจ้างนักวิ่งเต้นที่มีเครือข่ายและเข้าถึงนักการเมืองคนสำคัญๆ ให้โน้มน้าวพวกเขาให้เข้าข้างตน (เรื่องการจ้างนักวิ่งเต้น หรือมือปืนรับจ้างดังกล่าวใครมีเงินก็ทำได้ นักโทษหนีอาญาแผ่นดินไทยจึงทำมาเป็นเวลานานแล้ว)

 

ในบางกรณีแม้จะมีการตรากฎหมายออกมา แต่การบังคับใช้กลับเป็นไปอย่างล่าช้าเนื่องจากสถาบันการเงินสามารถหน่วงเหนี่ยวเวลาได้ด้วยการใช้วิชามารต่างๆ รวมทั้งการฟ้องร้องในศาลยุติธรรมด้วยข้อหาสารพัด พวกเขาทำได้เพราะมีเงินมากพอที่จะใช้ในกระบวนการเตะถ่วงนั้น ศาสตราจารย์เดอลองอ้างถึงเรื่องปัญหาทางการเมืองไว้ในบทความของเขาสั้นๆ ผู้ที่มีเวลาอาจหาอ่านได้ในหนังสือจำนวนมากรวมทั้งของนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำ เช่น The Price of Civilization ของ เจฟฟรี่ แซคส์ The Great Unraveling ของ พอล ครุกแมน และ Freefall ของ โจเซฟ สติกลิตซ์

556000009038502.JPEG blank.gif ความสลับซับซ้อนของปัญหาที่มาจากการทับซ้อนกันของด้านเศรษฐกิจและการเมืองยิ่งสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นเมื่อมองต่อไปถึงในระดับสังคมซึ่งกำลังมีปัญหาหนักหนาสาหัสเพราะความฉ้อฉลของคนในหลายภาคส่วน

 

ผู้ที่ติดตามความเป็นไปในสังคมก้าวหน้าซึ่งประสบปัญหาเรื่องฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ย่อมทราบแล้วว่าที่มาสำคัญได้แก่ความฉ้อฉลของบุคคลในวงการเงิน อย่างไรก็ตาม ความฉ้อฉลมิได้จำกัดอยู่เพียงในวงการเงินเท่านั้น หากแพร่ขยายต่อไปถึงในส่วนต่างๆ ของสังคมรวมทั้งในวงการเมืองซึ่งเป็นฝ่ายคุมนโยบายในด้านต่างๆ ด้วย เพราะเหตุนี้ โจเซฟ สติกลิตซ์ ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชั้นรางวัลโนเบลจึงสรุปไว้ในหนังสือเล่มดังกล่าวว่า ต้นตอของปัญหามาจาก “การขาดดุลทางศีลธรรมจรรยา” (Moral Deficit) ของชาวอเมริกัน

 

ที่เล่ามานั้นเป็นการวิเคราะห์วิจารณ์โรคร้ายในบ้านเขา หากหันมาดูบ้านเราทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมด้วยสายตาที่ไม่พร่ามัวเพราะเข้าข้างตัวเองน่าจะเห็นว่า ปัญหาของเราเลวร้ายไม่ต่ำกว่าของเขาแม้แต่น้อย

 

ในด้านเศรษฐกิจ จริงอยู่การขยายตัวยังเกิดขึ้นหลังจากฟื้นขึ้นมาจากความล้มละลายและหายนะเมื่อปี 2540 แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปจริงๆ น่าจะเห็นว่าการขยายตัวส่วนสำคัญมาจากการใช้จ่ายในโครงการประชานิยมซึ่งไม่ต่างกับการทุ่มเงินเข้าไปในระบบของประเทศก้าวหน้าทั้งหลาย มันกลายเป็นยาเสพติดทั้งคู่ เรื่องปัญหาของประชานิยม ผมพูดมาตั้งแต่ครั้งยังไม่มีใครสนใจเมื่อนักการเมืองจอมฉ้อฉลเริ่มนำเข้ามาใช้ในเมืองไทยเมื่อปี 2544 (รายละเอียดยังหาอ่านได้ในหนังสือเรื่อง ประชานิยม: ทางสู่ความหายนะ)

 

ส่วนเรื่องความตีบตันของแนวคิดเศรษฐกิจกระแสหลักนั้นผมเห็นมาตั้งแต่ครั้งยังทำงานอยู่ในธนาคารโลก แต่ผมมองไม่เห็นทางออกจนกระทั่งมาได้ยินในหลวงตรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซ้ำอีกครั้งสั้นๆ เมื่อคืนวันที่ 4 ธันวาคม 2541 หลังจากศึกษาจนเข้าใจความหมาย ผมได้เขียนหนังสือเล่มเล็กๆ ออกมาชื่อ เศรษฐกิจพอเพียง : ภูมิปัญญาชาติไทย (พิมพ์พฤษภาคม 2543) ผมยังแน่ใจเต็มร้อยว่า แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงคือทางออกของโลกปัจจุบันและได้ขยายเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นมา 2 ครั้งแล้ว ผู้สนใจในรายละเอียดอาจไปอ่านหนังสือเรื่อง สู่ความเป็นอยู่แบบยั่งยืน ซึ่งดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา (www.bannareader.org) หรือของสโมสรหนอนหนังสือ (www.bookishclub.com)

 

สำหรับทางด้านการเมือง ผมไม่มีความสันทัดจึงเคยเสนอไว้เพียงว่า เราควรจะหยุดพักระบบเลือกตั้งปัจจุบันกันสัก 5 ปีเพื่อวางรากฐานกันใหม่โดยเฉพาะในด้านจะทำอย่างไรจึงจะป้องกันมิให้นักการเมืองระยำเข้ามาทำความเสียหายให้แก่ประเทศชาติดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน ล่าสุดผมได้พูดทางโทรศัพท์หลายครั้งกับผู้เดินทางไกลฯ ที่ชุมนุมกันอยู่ ณ ท้องสนามหลวงเริ่มเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สำหรับเวลา 5 ปีนั้นเป็นเพียงตุ๊กตาที่ตั้งขึ้นมาเพื่ออ้างอิง การปูฐานทางการเมืองจริงๆ อาจใช้เวลาน้อยหรือมากกว่านั้นก็ได้ การจะปฏิรูปการเมืองอย่างไรอาจรวมไว้ในงานของ “คณะกรรมการร่างยุทธศาสตร์แห่งชาติ” ซึ่งผมเสนอไว้ครั้งแรกในหนังสือเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง: ภูมิปัญญาชาติไทย

 

ส่วนในด้านสังคม ผมเคยอธิบายไว้หลายครั้งหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ว่ามันเป็นอาการหนึ่งของวิกฤตทางศีลธรรมจรรยาของสังคมไทย รวมทั้งในการบรรยายให้ผู้บริหารการศึกษาฟังเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2542 ณ สถาบันพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา วัดไร่ขิง ในวันนั้น ปลัดกระทรวงศึกษาธิการนั่งฟังอยู่ด้วยและได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อหลังการบรรยายว่า เรื่องวิกฤตทางศีลธรรมจรรยาเป็นประเด็นหลัก หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งนำไปรายงานในวันรุ่งขึ้น แต่เรื่องวิกฤตทางศีลธรรมจรรยาดูจะหายไปกับสายลมทั้งที่ผมมองว่ามันร้ายแรงยิ่งขึ้นในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา เรื่องนี้ไม่ค่อยมีใครสนใจที่จะทำอะไรอย่างจริงจังแม้คนดังเช่นโจเซฟ สติกลิตซ์ จะได้พิมพ์หนังสือเรื่องดังกล่าวออกมาเมื่อปี 2553 และผมนำมาเสนอไว้ในสื่อต่างๆ หลังจากนั้นไม่นานแล้วก็ตาม

 

ในเมื่อความป่วยไข้ในสามระดับอันสลับซับซ้อนของสังคมก้าวหน้าร้ายแรงน้อยกว่าของเราแล้วเขายังแก้ไม่ได้ เราจะแก้ไขของเราอย่างไรผมไม่มีความสามารถพอที่จะบอกนอกจากข้อเดียวคือ ต้องปฏิวัติแบบขุดรากถอนโคนทั้งสามด้าน เหตุการณ์ที่ผ่านมาบ่งชี้ว่าเราไม่น่าทำได้ ฉะนั้น สังคมไทยจึงจะอยู่แบบถูไถกันไปวันๆ และโอกาสที่จะดีไปกว่านั้นอย่างมีนัยสำคัญในเร็ววันมีเพียงน้อยนิด หากไม่เชื่อก็แล้วไป ถ้าเชื่อแล้วจะทำอะไรให้เกิดการปฏิวัติดังกล่าวก็รีบทำ หรือจะเตรียมตัวรับสภาพความเป็นอยู่แบบถูไถไว้บ้างก็เป็นทางเลือกเช่นกัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

1000700_486962128060186_387550135_n.jpg

พรุ่งนี้ กับ หัวใจที่ปล่อยวาง

 

Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง ... มิตรแท้ตลอดเส้นทางลงทุน

 

15 กรกฎาคม 2556

 

General News

----------------

 

• S&P ปรับเพิ่มมุมมองอันดับความน่าเชื่อถือของไอร์แลนด์จาก มีเสถียรภาพ เป็น เชิงบวก และคงอันดับความน่าเชื่อถือไว้ที่ BBB+ สะท้อนถึงการฟื้นตัวของฐานะการคลังและการลดขาดดุลงบประมาณที่อาจเร็วกว่าที่คาด รวมถึงแนวโน้มหนี้สาธารณะที่อาจลดลงจาก 122% ของ GDP ในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 112% ของ GDP ในปี 2016

 

• เจพี มอร์แกน (ธ.รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐ) และ เวลส์ ฟาร์โก (ผู้ปล่อยสินเชื่อบ้านรายใหญ่อันดับ 1 ของประเทศ) รายงานผลกำไรไตรมาส 2 ที่เพิ่มขึ้นดีต่อเนื่อง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการกันสำรองหนี้เสีย

 

ทั้งนี้ เจพี มอร์แกน รายงานผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 31% มาอยู่ที่ 6,500 ล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่วอลล์สตรีทคาดการณ์ไว้ และเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกันที่ธนาคารมีกำไรเพิ่มขึ้นด้วยตัวเลข 2 หลัก ขณะที่ผลกำไรของเวลส์ ฟาร์โก ก็เพิ่มขึ้น 20% มาอยู่ที่กว่า 5,250 ล้านดอลลาร์ สะท้อนถึงเศรษฐกิจสหรัฐที่พัฒนาขึ้น

 

• เล่า จื่อเว่ย รมว.คลังจีน ระบุว่า หากเศรษฐกิจจีนขยายตัวในอัตรา 6.5% จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาที่ต้องกังวลแต่อย่างใด เป็นการส่งสัญญาณว่า รัฐบาลอาจประสงค์ให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงมากกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ จีนตั้งเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ไว้ที่ 7.5% ขณะที่ขยายตัวต่ำกว่าระดับ 7.7% ในครึ่งปีแรก

 

• จีนวางแผนจำกัดจำนวนการซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้นในเมืองสำคัญๆอีก 8 เมืองเพื่อแก้ปัญหามลภาวะและการจราจร ทั้งนี้ ยอดขายรถยนต์ในจีนในปีที่ผ่านมาสูงกว่า 13 ล้านคัน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุใหญ่ที่ทำให้การจราจรติดขัดอย่างหนัก และเกิดปัญหามลภาวะทางอากาศในเมืองใหญ่ๆ

 

• ธ.เพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ระบุว่า ประเทศเอเชียส่วนใหญ่ล้มเหลวในการใช้จ่ายเงินในโครงการช่วยเหลือคนจน โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะแม้ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่รัฐบาลกลับไม่ได้ทุ่มเทการลงทุนมากพอในโครงการป้องกันทางสังคมเพื่อช่วยเหลือคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งการประกันสุขภาพ การให้เงินช่วยเหลือและฝึกอบรมทักษะ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายมาตรการป้องกันทางสังคมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเพียง 2.6% ของ GDP ขณะที่เอเชียตะวันออกใช้จ่ายด้านนี้ 6% ของ GDP

 

• กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนครีและ รมต.คลัง ระบุว่า มีแนวโน้มจะลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4.5-5.5% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัว โดย IMF ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจเหลือร้อยละ 3.1 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 3.2

 

• รัฐบาลได้กำหนด 6 แนวทางในการดูแลการบริโภคของประชาชน ดังนี้

 

1. ดูแลต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะข้าวโพด ถั่วเหลือง ปุ๋ยเคมี เพื่อคุมต้นทุนการผลิตและทำให้ราคาปลายทางปรับลดลง

 

2. จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าตามแหล่งการผลิตและกระจายไปยังตลาดบริโภค เพื่อบริหารจัดการขนส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพ

 

3. จัดโซนนิ่งพื้นที่เพาะปลูกสินค้าเกษตรให้เหมาะสมกับแต่ละจังหวัด

 

4. ป้องกันการผูกขาดสินค้าสำหรับวัตถุดิบหลักและป้องกันปัญหากำหนดราคาสูง เนื่องจากมีผู้จำหน่ายน้อยราย

 

5. ลดผลกระทบจากการเพิ่มราคา LPG ด้วยการช่วยเหลือผู้ที่ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 90 หน่วย/เดือน และส่งเสริมให้ประชาชนใช้ก๊าซ NGV โดยขยายสถานีบริการน้ำมันให้มีจำนวนมากขึ้น

 

6. มอบหมายให้หน่วยงานรัฐติดตามเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง ดูแลการบริโภคไม่ให้ชะลอตัว

 

• ธปท. ชี้ว่า พื้นฐานเศรษฐกิจไทยและอินโดนีเซียต่างกัน จึงยังไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเหมือนอินโดนีเซียที่ขึ้นไป 0.50% เป็น 6.50% เพราะกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่อาจจะเพิ่มขึ้น จากแผนลดการอุดหนุนราคาพลังงานลง กับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมากที่ทำให้เงินทุนไหลออก

 

• ธปท. รายงานว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐมาอยู่ที่ 1,688 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก ธปท.ต้องเพิ่มสภาพคล่องเงินดอลลาร์ในตลาดเงินจากที่ก่อนหน้านี้ที่เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกเร็วเพราะ FED ส่งสัญญาณเลิกทำ QE จึงทำให้เงินทุนต่างชาติไหลออก ตลาดการเงินไทยจึงมีสภาพคล่องเงินเหรียญสหรัฐลดลง

 

• สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย คาดว่า ตลาดรถยนต์ครึ่งปีหลังจะชะลอลงจากครึ่งปีแรกมาก เพราะแรงกระตุ้นจากการส่งมอบรถยนต์คันแรกเสร็จสิ้นแล้ว และเศรษฐกิจไทยโดยรวมมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ประกอบกับภาระหนี้สินในภาคครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้นจนมีผลต่ออำนาจใช้จ่ายและทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ จนอาจส่งผลต่อความเสี่ยงเรื่องการชำระหนี้กับคุณภาพของลูกหนี้ในอนาคตเพิ่มมากขึ้น

 

• สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า เมียนมาร์เป็นหนึ่งในประเทศที่น่าสนใจลงทุนหลังจากเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นแหล่งทรัพยากร มีประชากรมากกว่า 60 ล้านคน มีแรงงานจำนวนไม่น้อยที่เคยมาทำงานในไทยซึ่งได้นำความรู้และประสบการณ์กลับไปประกอบกิจการเพื่อพัฒนาประเทศ และรัฐบาลยังมีมาตรการส่งเสริมกับดึงดูดนักลงทุนต่างชาติโดยกำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษและให้สิทธิประโยชน์ในพื้นที่ต่างๆ ทำให้นักลงทุนไทยและต่างชาติเข้าไปลงทุนในเมียนมาร์เพิ่มขึ้น

 

สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อการลงทุนในเมียนมาร์ที่มีศักยภาพและมีการสร้างกลุ่มเครือข่ายเชื่อมโยงต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ได้แก่ เกษตร เกษตรแปรรูป สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและเครื่องหนัง เป็นต้น

 

Equity Market

----------------

 

• SET Index ปิดที่ 1,453.71 จุด เพิ่มขึ้น 6.67 จุด หรือ +0.46% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 45,005 ล้านบาท

 

ดัชนีในวันศุกร์แกว่งตัวผันผวนสลับทั้งแดนบวกและลบหลัง FED ระบุว่าจะชะลอการผ่อนคลาย QE ออกไป ทำให้นักลงทุนคลายความกังวลและมีเงินบางส่วนกลับเข้ามาในตลาดหุ้น

 

สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคือการประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไทยงวดไตรมาส 2 โดยเฉพาะกลุ่มภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) และการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของจีน

 

สรุปยอดสุทธิการซื้อขายของแต่ละกลุ่ม (ล้านบาท)

-----------------------------------------------------

 

นักลงทุนสถาบัน +16.53

บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ +374.25

นักลงทุนต่างชาติ +2,236.52

นักลงทุนทั่วไป -2,627.30

 

Fixed Income Market

------------------------

 

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในช่วงระหว่าง -0.01% ถึง 0.01% สำหรับวันนี้ไม่มีการประมูล

 

Guru Corner

--------------

 

• George Soros

------------------

 

“ผู้ลงทุนมีเงินทุนกับความชาญฉลาดที่จำกัด พวกเขาจึงไม่ต้องไปรู้มันทุกเรื่อง เพราะตราบใดที่เขารู้บางอย่างดีกว่าคนอื่นๆ เขาก็มีข้อได้เปรียบที่แหลมคมพอแล้ว”

 

Bualuang Fund Corner

-------------------------

 

• 4 R ที่ผู้ลงทุนจะต้องมี

 

- Right attitude (บางทีตลาดหุ้นสร้างความสับสนหรือแตกตื่นจนเรา panic buy / sell ได้ หากเราไม่เข้าใจจะทำให้เราไม่มั่นใจและล้มเหลวในการลงทุน)

 

- Right tool (ต้องมีเครื่องมือกับแนวทางที่เหมาะสมในการควบคุมความเสี่ยง -- risk control)

 

- Right stock (ดู quality, sustainable earnings growth + reasonable dividend yield)

 

- Right balance (well diversified port)

 

• ในการลงทุนให้ประสบผลสำเร็จ เราต้องรู้จักตัวเรา ประเมินความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ มีเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจน เข้าใจธรรมชาติของตลาด และมั่นใจกับการลงทุนระยะยาวในกิจการที่เราเลือก อย่าไปหวั่นไหวกับตลาด เพราะราคาหุ้นบนกระดานในระยะสั้นมันเป็นหนังคนละม้วนกับกำไรที่แท้จริงของกิจการ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วรวรรณ ธาราภูมิ

กองทุนบัวหลวง มองสหรัฐอเมริกา

-----------------------------------

 

การส่งสัญญาณลดปริมาณเงินซื้อพันธบัตร (Tapering) ของ FED ทำให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินของกลุ่มประเทศ EM จากทิศทางการเคลื่อนย้ายของเงินทุน (เกิด Risk off sentiment) ทั้งตลาดค่าเงิน บอนด์ และตลาดหุ้น ซึ่งเคยเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์มากในช่วงที่สภาพคล่องล้นระบบ

 

สิ่งที่ต้องจับตามองในอนาคตคือ แผนการเริ่มดูดเงินกลับของ FED และสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

 

นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และการค้นพบ Shale gas ที่ทำให้สหรัฐลดการนำเข้าน้ำมันได้ ได้ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหากับประเทศกลุ่ม EM ที่กู้ยืมเงินในสกุลดอลลาร์หรือที่ขาดดุลการค้าระดับสูงได้ เช่น อินโดนีเซีย และ อินเดีย

 

........ ทีมจัดการกองทุน บลจ.บัวหลวง 14 กค 56

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กองทุนบัวหลวง มองจีน

-------------------------

 

จีนกำลังปรับตัว จากก่อนหน้าที่รัฐบาลเร่งให้เกิดการลงทุนจนเป็น Over investment เกิดปัญหาฟองสบู่ภาคอสังหาริมทรัพย์ รัฐบาลจีนจึงหันมาเน้น Domestic demand และการเติบโตแบบยั่งยืน

 

ทำให้จากนี้ไป คาดว่าจะไม่ค่อยมี Stimulus packages แล้ว รวมถึงไม่มีโครงการเร่งการลงทุนจากภาครัฐซึ่งเป็นปัจจัยหลักต่อการเติบโตของเศรษฐกิจตลอดช่วงที่ผ่านมา

 

ซึ่งการชะลอตัวของจีนจ...ะกระทบการส่งออกของไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากจีนเป็นคู่ค้าสำคัญที่สุดของไทย (สัดส่วน 10-12% ของการส่งออก) และยังเป็นคู่ค้าสำคัญของประเทศในกลุ่ม ASEAN (ไทยส่งออกไป ASEAN 9 ในสัดส่วน 20-25% ของการส่งออก) อีกด้วย

 

นอกจากนี้ การที่จีนเป็นผู้นำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์จำนวนมากนั้น เมื่อจีนใช้วัตถุดิบดังกล่าวลดลง ก็จะเป็นปัจจัยกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้

 

ในอนาคต ความเสี่ยงของจีนยังคงเป็นแนวทางการแก้ปัญหา Shadow Banking ที่ขึ้นอยู่กับทางการจีนว่าจะมีมาตรการที่เข้มข้นมากน้อยเพียงใด และจะควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในวงจำกัดได้หรือไม่

 

........ ทีมจัดการกองทุน บลจ.บัวหลวง 14 กค 56

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กองทุนบัวหลวง มองญี่ปุ่น

---------------------------

 

ญี่ปุ่น ใช้นโยบายภาครัฐและนโยบายการเงินของธนาคารกลางมากระตุ้นเศรษฐกิจ โดยกล้าที่จะเพิ่มปริมาณเงินในระบบเป็น 2 เท่าภายใน 2 ปี และรัฐบาลยังตั้งงบใช้จ่ายตรงนี้ไว้อีกประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ญี่ปุ่นมี GDP ประมาณ 5 ล้านล้าน) เพื่อให้เงินเหล่านี้ไม่ถูกเก็บไว้ในระบบธนาคาร รวมถึงต้องการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัทญี่ปุ่นในเวทีโลก และเสริมศักยภาพให้กับญี่ปุ่นในด้านต่างๆ เช่น การปฏิรูปตลาดแรงงาน การหาฐานการผลิตใหม่ เป็นต้น

 

ผลจากนโยบาย Abenomics เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้เงินเยนมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้สภาพคล่องในเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนและผู้บริโภค และทำให้มีเงิน FDI จากญี่ปุ่นกระจายการลงทุนออกนอกประเทศมายังแถบเอเชียสูงขึ้น

 

ไทยจะได้ประโยชน์โดยตรงในแง่การเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ของอาเซียน เนื่องจากในประเทศญี่ปุ่นเองยังมีปัญหาด้านโครงสร้างสาธารณูปโภค โดยเฉพาะด้านพลังงานที่ไม่เพียงพอ (หลังจากเกิดปัญหาพลังงานนิวเคลียร์) ขณะที่ไทยมีวงจร supply chain ที่ครบครันแล้ว

 

........ ทีมจัดการกองทุน บลจ.บัวหลวง 14 กค 56

 

กองทุนบัวหลวง มองยุโรป

---------------------------

 

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะยังคงดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินต่อเนื่องเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในกลุ่ม โดย ECB กำลังพิจารณาทั้งมาตรการพื้นฐานเช่น อัตราดอกเบี้ย และมาตรการพิเศษอื่นๆ ด้วย

 

การดำเนินมาตรการต่างๆ จะส่งผลให้มีสภาพคล่องเพิ่มมากขึ้นในตลาดการเงินและอาจเข้ามาลงทุนในตลาดที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าอย่างไทยได้

 

อย่างไรก็ดี เสถียรภาพทางการเมืองของกลุ่มประเทศยูโรโซน อาจส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินเนื่องจากนักลงทุนกังวลถึงการสานต่อนโยบายและการปฏิรูปเศรษฐกิจ

 

........ ทีมจัดการกองทุน บลจ.บัวหลวง 14 กค 56

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าวที่ต้องจับตามองต่อไปในระยะสั้นคือ ....

 

เล่า จื่อเว่ย รมว.คลังจีน ระบุว่า หากเศรษฐกิจจีนขยายตัวในอัตรา 6.5% จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาที่ต้องกังวลแต่อย่างใด

เป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาลอาจประสงค์ให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงมากกว่าที่เป็นอยู่

 

44535_681641928516431_726316800_n.jpg

music in your heart

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Thanong Fanclub

จับตาตลาดShanghai Gold Exchange และ Shanghai Futures Exchange ของจีนขึ้นมาทาบรัศมีลอนดอน

 

ราคาทองคำแท่งที่ตลาดเทรดทองที่เซี่ยงไฮ้มีพรีเมี่ยมมากกว่าที่ตลาดลอนดอน$30 ซับไพล์มีน้อย

 

จีนตุนทองอาจถึง4,000-8,000ตัน (ดูโพสท์ก่อนหน้านี้) และต้องการเลิกการผูกขาดการเทรดทองโดยลอนดอน

 

จีนกำลังผลักดันให้ให้เซียงไฮ้เป็นศุนย์กลางเทรดทองคำแท่งและกระดาษฟิวเจอร์

 

http://www.reuters.com/article/2013/07/12/china-gold-futures-idUSL4N0FI23420130712

 

 

 

http://www.reuters.com/article/2013/07/12/china-goldpremiums-idUSL4N0FI2FF20130712

 

 

-PAXP-deijE.gif

Asia Gold-Shanghai gold premiums remain high, supply tightwww.reuters.com

* Shanghai gold trading at $30 over London spot* Supplies tight, gold bars scarce in China* Demand not at April levels, but still above average -tradersBy A. AnanthalakshmiSINGAPORE, July 12 (Reuters)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"วันจันทร์ อันแสนยาว มาอีกแล้ว ...... มีข่าวเล็กๆ ว่าจะมีการรื้อฟื้นเรื่องกองทุนความมั่งคั่งของประเทศ (Sovereign Wealth Fun) ขึ้นมาเพื่อพิจารณาจัดตั้งอีก เนื่องจากมีคนเห็นว่า ทุนสำรองเงินตรา ตปท.ของเรามีเหลือเฟือ

 

คราวที่แล้ว ธปท. ค้านว่าเรามีไม่เหลือมากอย่างที่คิด ถ้าต้องสำรองเผื่อ portfolio investors ทั้งหุ้น ทั้ง Bond ผมไม่รู้ว่าข่าวมีมูลแค่ไหน เพราะไม่มีคลิปเสียงมากำกับ

 

แต่เพื่อไม่ให้สายเกินการ "หางกระดิกหมา" จึงขอคัดค้านไว้เลยว่า โดยคุณสมบัติไทย ไม่ควรมีการจัดตั้งกองทุนประเภทนี้ ไม่ว่าเราจะร่ำรวยขนาดไหน จนกว่าเราจะมีคอร์รัปชั่น index สูงเกิน 7 ซึ่งคงอีกนานจนพระเจ้าร้องไห้ แหละครับ

 

……. บรรยง พงษ์พานิช

 

--------------------------------------------------------------------------------------

บทความตอนที่ 24: กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ

-------------------------------------------------

 

15 กรกฎาคม 2556 “หางกระดิกหมา”

 

เริ่มมีข่าวแว่วๆ มาอีกแล้ว สำหรับความพยายามจะรื้อฟื้นจัดตั้ง "กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ" หรือ Sovereign Wealth Fund (SWF) เพื่อเปิดผนึกให้รัฐเอาเงินสำรองของประเทศไปลงทุนได้

 

นับว่าไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะรัฐไทยก็เหมือนคนทั่วไป พอมีเงินเก็บมากๆ เข้า ก็จะไม่อยากทิ้งเงินไว้กินในธนาคารเฉยๆ เสียแล้ว เป็นต้องเริ่มฮึกเหิมอยากลงทุนที่มันได้ผลตอบแทนมากๆ เพื่อจะรวยให้ไวขึ้น โดยถ้าเป็นคนธรรมดาก็อาจจะถอนเงินฝากไปซื้อหุ้น แต่ในเมื่อเป็นรัฐก็เลยต้องทำโดยการกันเอาเงินสำรองมาตั้งเป็น "กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ" นี่เอง

 

ทั้งนี้ เมื่อตั้งเป็นกองทุนความมั่งคั่งฯ แล้ว รัฐย่อมจะสามารถใช้เงินนั้นลงทุนต่อไปได้อย่างอิสระแบบเดียวกับกองทุนเอกชน คือจะลงทุนในหรือนอกประเทศก็ได้ และจะลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินประเภทอะไรก็ได้อีก ตั้งแต่ของเย็นๆ อย่างพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ ไปจนถึงของร้อนลวกมือ อย่างเช่นทอง หุ้น อสังหาริมทรัพย์หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินซึ่งให้ดอกเบี้ยสูงปรี๊ดอื่นๆ ก็ยังได้

 

ตามทฤษฎีบอกว่าการเอาเงินสำรองมาลงทุนนี้ไม่เพียงเปิดโอกาสให้รัฐทำกำไรได้มากกว่าการปล่อยให้แบงค์ชาติกอดเงินเอาไว้เฉยๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยระบายไม่ให้เงินสำรองสะสมจนล้นคลังและสร้างปัญหาบาทแข็งเกินไปอีกด้วย ยิ่งกว่านั้น การที่รัฐลงทุนในสินทรัพย์ในหลายประเภท และหลายประเทศ ย่อมเป็นการกระจายรายได้ให้มาจากหลายๆ แหล่ง ซึ่งจะเป็นการลดความเสี่ยงและเพิ่มผลกำไรให้กับรัฐได้มากขึ้น

 

ฟังอย่างนี้แล้ว อาจชวนให้เคลิ้มไปได้ว่าประเทศที่เกินดุลการค้าทั้งหลายคงต้องมีกองทุนความมั่งคั่งฯ ด้วยกันทั้งนั้น เพราะดูไม่มีข้อเสียที่ตรงไหน ออกจะเป็นเรื่องจำเป็นเสียด้วยซ้ำ

 

อย่างไรก็ดี ถ้าพิจารณาข้อมูลจาก SWF Institute จะเห็นได้เลยว่า ทั้งๆ ที่กองทุนความมั่งคั่งฯ มีข้อดีตามทฤษฎีนานาประการอย่างนี้ เอาเข้าจริงแล้ว ทั่วโลกมีกองทุนความมั่งคั่งฯ อยู่เพียงสิบกว่าประเทศเท่านั้น เช่นนอร์เวย์ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย เป็นต้น (ทั้งนี้ ไม่นับประเทศที่ "สักแต่ว่ามี" กองทุนฯ แต่เข้าไปดูแล้วมีสินทรัพย์เล็กน้อยไม่ถึงหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ อย่างพวก ปาปัวนิวกินี กานา กอบอง มองโกเลีย)

 

อย่างไรก็ตาม ถ้าประเทศไทยจะศึกษาแนวทางในการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่งของเราเองจริง ในพวกสิบกว่าประเทศที่เรานับก็ยังไม่ใช่ว่าเราจะเอาตามอย่างได้ทั้งหมด กล่าวคือ เราต้องตัดประเทศที่ร่ำรวยมาจากการขายน้ำมัน อย่างเช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอาระเบีย คูเวต กาตาร์ ฯลฯ ทิ้งไปอีก

 

เพราะสำหรับประเทศพวกนี้ เขามีความจำเป็น จะไม่ตั้งกองทุนฯ ก็แทบไม่ได้ เพราะรายได้ของประเทศเกือบจะมาจาก "บุญเก่า" กล่าวคือ การขุดทรัพยากรมาขายล้วนๆ ซึ่งรายได้อย่างนี้ วันใดวันหนึ่งก็จะต้องหมดลง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องกระจายแหล่งที่มาของรายได้ให้มันหลากหลายยิ่งขึ้นโดยผ่านกองทุนฯ ไม่เหมือนประเทศไทยซึ่งรายได้หลากหลายอยู่แล้ว ทำนาไม่ได้ก็ไปทำไร่ ทำไร่ไม่ได้ก็เข้าโรงงาน โรงงานปิดก็ยังมีโรงแรมให้ไปได้อีก ไม่ค่อยอับจนง่ายๆ

 

ยิ่งกว่านั้นประเทศค้าน้ำมันเหล่านี้ ส่วนใหญ่ยังปกครองอยู่ด้วยระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ ซึ่งเจ้านครเป็นเจ้าของทรัพยากรทุกอย่าง ดังนั้น ความมั่งคั่งของรัฐจึงไม่ใช่ของรัฐจริง แต่เป็นความมั่งคั่งของชี๊ค

 

และในเมื่อเป็นความมั่งคั่งของชี๊คเสียแล้ว กองทุนฯ จะดี ไม่ดี ก็ไม่ใช่เรื่องที่ประชาชนจะทำอะไรได้ จีนซึ่งรัฐเป็นเจ้าของหรือควบคุมปัจจัยส่วนใหญ่ในระบบเศรษฐกิจก็อยู่ในข้อยกเว้นเดียวกันนี้

 

ซึ่งแน่นอนว่าประเทศไทยซึ่งความมั่งคั่งยังมาจากภาษีของประชาชนจะคิดอย่างนี้ไม่ได้ ไม่เช่นนั้นก็จะได้พากันเจ๊งหรือ "ชี๊คหาย" กันทั้งประเทศ

 

แต่ข่าวร้ายที่สุดคือ แม้เราจะอยากเอาตามประเทศที่เหลือ กล่าวคือ เอาตามนอร์เวย์ ออสเตรเลีย หรือสิงคโปร์ ก็ไม่ได้อยู่นั่นเอง เพราะประเทศเหล่านี้มีสิ่งที่เราไม่มี 3 ประการ คือ

 

ประการแรก

------------

 

ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการตั้งกองทุนความมั่งคั่งฯ ล้วนแล้วแต่มีความลึกทางการเงิน (Financial Depth) ตลอดจนมีพัฒนาการของตลาดการเงินอยู่ในระดับที่สูง ซึ่งนี่ทำให้ตลาดการเงินของเขามี "ระบบ" กล่าวคือมี องคาพยพ กระบวนการ และกลไกต่างๆ อันจำเป็นต่อการบังคับให้กองทุนฯ ดำเนินงานไปได้โดยมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และได้มาตรฐานอยู่อย่างครบถ้วน

 

ประการที่สอง

--------------

 

ประชากรของประเทศข้างต้นล้วนแล้วแต่มีความรู้ในทางการเงิน (Financial Literacy) ดี ดังนั้น นอกจากกองทุนฯ จะอยู่ภายใต้การตรวจสอบติดตามของ "ระบบ" อย่างที่กล่าวแล้ว กองทุนฯ ยังจะต้องถูกตรวจสอบติดตามโดย "คน" ซึ่งรู้และเข้าใจพฤติกรรมตลอดจนนัยยะต่างๆ ของกองทุนฯ เป็นอย่างดีอีกด้วย

 

นี่จึงเป็นการจับตาสองชั้นที่ทำให้กองทุนฯ ห่วยหรือโกงได้ยากมาก

 

ประการสุดท้าย

----------------

 

ประเทศข้างต้น ล้วนแล้วแต่มีคะแนนดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันเกิน 7 คะแนนทั้งสิ้น ซึ่งเป็นเครื่องประกันว่านอกจากจะมีระบบดี คนดีแล้ว ประเทศเหล่านี้ยังไม่ค่อยมีคอร์รัปชันเข้ามาแทรกแซงทำให้ระบบหรือคนรวนเรไป กลไกต่างๆ จึงดำเนินไปได้อย่างที่ควรจะเป็น

 

ในทางตรงกันข้าม หากประเทศเราดันทุรังจะตั้งกองทุนฯ โดยปราศจากปัจจัย 3 ประการดังที่กล่าวมานี้ ก็รับรองได้ว่าเมื่อตั้งกองทุนฯ ขึ้นมาแล้ว เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่ากองทุนฯ เอาเงินสำรองของประเทศไปลงทุนที่ไหน ด้วยเหตุผลอะไร มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ และได้ผลตอบแทนคุ้มค่าหรือไม่

 

ซ้ำร้าย ในเมื่อกระเป๋าของกองทุนฯ นั้นลึกและไร้คนตรวจสอบ กองทุนฯ จึงอาจลงทุนส่งเดชได้ทีละมากและนาน จะซื้อแพงขายถูกอย่างไรคนก็ไม่มีวันรู้ รู้ก็อ้างว่าเป็นยุทธศาสตร์การลงทุนได้อีก

 

ดูเหมือนจะไม่มีอะไรเหมาะสำหรับคอร์รัปชันให้หนำใจเท่ากับกองทุนฯ หน้าตาอย่างนี้อีกแล้ว

================

 

 

 

วรวรรณ ธาราภูมิ shared Thirachai Phuvanatnaranubala's status.

about an hour ago

"เพื่อปิดช่องโหว่ตรงนี้ ผมเรียกร้องให้คุณยรรยง ควรพิจารณาแก้ไขระเบียบไปก่อน โดยห้ามการขายข้าวแบบ G to G มิให้เกิดขึ้นหน้าโกดัง ผมขอเอาใจช่วยครับ ให้ท่านปิดช่องทางทุจริต ในขั้นตอนการขาย ให้ได้ประสิทธิผลจริงจัง เพื่อจะเป็นผลงานที่เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง ฝากไว้แก่ชนรุ่นหลัง"

 

.... Thirachai Phuvanatnaranubala

 

 

 

ทำไมขายข้าวแบบ G to G มีการจ่ายเงินเพียงครั้งละ 80,000 บาท

 

ท่านผู้อ่านหลายคนคงจะงง เมื่อได้รับฟังข้อมูล ที่กรรมการ ปปช ให้ข่าวว่า การขายข้าวแบบ G to G ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีการจ่ายเงินเพียงครั้งละ 80,000 บาท

 

ตามระเบียบราชการของกระทรวงการคลัง การขายของที่เป็นของรัฐนั้น ปกติจะต้องใช้วิธีประมูล คือกำหนดให้ผู้ที่สนใจซื้อ ต้องแข่งราคากัน เพื่อให้รัฐได้ราคาขายที่สูงที่สุด

 

แต่กรณีที่รัฐบาลขายข้าวให้แก่รัฐบาลต่างชาตินั้น เขายกเว้นให้ ไม่ต้องประมูล เพราะเป็นการที่รัฐบาลไทยขายตรง

 

จึงมักจะมีเหตุจูงใจ หากรัฐมนตรีพาณิชย์รายใด ไม่ตรงไปตรงมา ก็จะพยายามหาวิธี แอบอ้างว่ามีการขายข้าวแบบ G to G ให้แก่รัฐบาลต่างชาติ แต่ที่จริงเป็นการขายให้แก่คนไทย

 

พูดง่ายๆ ก็คือหาวิธีที่จะขายข้าว ให้แก่พรรคพวกเพื่อนฝูง ในราคาต่ำ โดยหลีกเลี่ยงการเปิดประมูล เพื่อให้คนซื้อได้กำไรพิเศษ อิ่มหมีพีมันกันไปทั่ว

 

ในอดีตที่ผ่านมา การขายข้าวแบบ G to G นั้น ผู้แทนรัฐบาลไทย จะเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อเจรจา และเมื่อตกลงกันได้ หน่วยงานของรัฐบาล จึงจะส่งข้าวลงเรือ และรัฐบาลต่างชาติก็จะโอนเงินมาชำระ

 

การชำระเงินแต่ละครั้ง จึงเป็นจำนวนหลายร้อยล้านบาท

 

ในครั้งนี้ การขายข้าว ที่อ้างว่าเป็นแบบ G to G นั้น ดูเหมือนว่า มีคนที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของรัฐบาลต่างชาติ มารอซื้ออยู่ข้างหน้าโกดัง เขานั่งรออยู่ในประเทศไทยนี้เอง จึงได้มีการจ่ายเงินเพียงครั้งละ 80,000 บาทเกิดขึ้น

 

หากเรื่องเป็นเช่นนี้ นับว่าการขายข้าว ที่อ้างว่าเป็นแบบ G to G ครั้งนี้ มีการพลิกแพลงให้พิสดารไปมากกว่าเดิม อย่างที่ไม่แยบยลอะไรเลย

 

หากเรื่องเป็นเช่นนี้ ทำไปทำมา ก็คือมีการทำให้รูปแบบ ดูเสมือนเป็นขายข้าวแบบ G to G แต่โดยเนื้อหาข้อเท็จจริง ก็เป็นการขายในประเทศเท่านั้น แต่เลี่ยงไม่มีการประมูล

 

การกระทำเช่นนี้ หากเป็นจริง ก็คือทำให้ประเทศเสียหาย และเข้าข่ายทุจริต

 

เรื่องนี้ได้มีการร้องเรียน ปปช. แล้ว ขณะนี้กำลังมีการตรวจสอบ แต่ที่ผ่านมาใช้เวลานาน ปปช. บอกว่าเจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ยึกยัก ไม่ค่อยให้ข้อมูล

 

คุณสุภาก็เคยบ่น ว่าในการประชุมอนุกรรมการฯ ปรากฎว่าข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ ไม่ยอมให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขายข้าวแบบ G to G เช่นกัน

 

เนื่องจากขณะนี้ คุณยรรยง ซึ่งเป็นอดีตปลัดกระทรวง ได้เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยแล้ว ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ และเนื่องจากการตรวจสอบของ ปปช. ไม่รู้จะใช้เวลานานอีกเพียงใด

 

เพื่อปิดช่องโหว่ตรงนี้ ผมเรียกร้องให้คุณยรรยง ควรพิจารณาแก้ไขระเบียบไปก่อน โดยห้ามการขายข้าวแบบ G to G มิให้เกิดขึ้นหน้าโกดัง

 

ผมขอเอาใจช่วยครับ ให้ท่านปิดช่องทางทุจริต ในขั้นตอนการขาย ให้ได้ประสิทธิผลจริงจัง เพื่อจะเป็นผลงานที่เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง ฝากไว้แก่ชนรุ่นหลัง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Stock2morrow

รวมข่าวหุ้นเช้าวันจันทร์

 

PSพรีเซลปีนี้4หมื่นล. Q2กำไรทะลักโต30%

 

STECแบ็กล็อกล้นเพิ่มเป้ารายได้ปีนี้2.3หมื่นล้าน

...See More

 

 

1003147_597291303648316_1326701094_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

1012365_10151595073448087_188369308_n.jpg

 

:01 ขอบคุณหลาย ๆ เด้อ สำหรับข้อมูลข่าวสาร

และแง่คิดดี ๆ ...ได๋สติขึ้นหลายเลยหล่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...