ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ผมเปิด L Comex Gold 1 ตั๋วไปครับ เมื่อเช้านี้

ถูกแก้ไข โดย seam888

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

COMEX Gold 20100804

post-31-047303600%201280972209.gif

ลืมบอกไป เเท่ง สะสมได้เเล้วนะครับ ต่อจากนี้ไป ซื้อสะสมไปเรื่อยๆครับ

รอบนี้อาจจะขึ้นถึง $1230 เเล้วกลับมาลงใหม่นะครับ สะสมไปเรื่อยๆได้เเล้วครับ ทองคำเเท่ง

 

!thk !thk !thk

ขึ้นมาเร็ว อยากลงดอยจะแย่แล้ววววว !57

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณน้องเสมค่ะ

อย่างนั้นพี่ปุณณ์ก็เริ่มเก็บกองทุนเพิ่มอีกนะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณเสมและคุณส้มโอมือค่ะ +1ให้ทั้งสองคนแระ :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณน้องเสมค่ะ

อย่างนั้นพี่ปุณณ์ก็เริ่มเก็บกองทุนเพิ่มอีกนะคะ

 

 

 

เก็บไว้ ยาวๆๆเลยครับ พี่ปุณณ์ อนาคต ทองคำเป็นสิ่งที่มีค่ามากมายครับ

ไม่ว่าเศรษฐกิจจะดี หรือ จะร้ายทางเลือกสุดท้ายของนักลงทุน คือ "ทองคำ" ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เก็บไว้ ยาวๆๆเลยครับ พี่ปุณณ์ อนาคต ทองคำเป็นสิ่งที่มีค่ามากมายครับ

ไม่ว่าเศรษฐกิจจะดี หรือ จะร้ายทางเลือกสุดท้ายของนักลงทุน คือ "ทองคำ" ครับ

เข้าทองแท่งไปแล้วตามน้องเสมแนะนำค่ะ.. ขอบคุณนะคะ..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ความเสี่ยงจากคำแถลงของ Bernanke

คอลัมน์ "มอง ซ้าย มอง ขวา" โดย ภาวิน ศิริประภานุกูล pawin@econ.tu.ac.th ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4232

 

ประเทศไทยของเราได้รับข่าวดีมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ในการแถลงข่าวรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนกรกฎาคมของธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับเพิ่มตัวเลข คาดการณ์อัตราการเติบโตของ GDP ประเทศไทยปี 2553 เป็นระดับ 6.5-7.5 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ปรับลดประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลงเล็กน้อย ไปอยู่ที่ระดับ 2.5-3.8 เปอร์เซ็นต์ จากการชะลอตัวลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ขั้นปฐมและมาตรการของรัฐบาลในการลดค่าครองชีพและตรึงราคาสินค้าในตลาด

 

โดยทุก ๆ สำนักกล่าวตรงกันครับว่า แรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้มีการปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตก็คือ การส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งประเทศคู่ค้าสำคัญของประเทศไทยในภูมิภาคนี้ได้ แสดงให้เห็นถึงสัญญาณการฟื้นตัวที่ ชัดเจนครับ

 

ในขณะที่อีกฟากหนึ่งของโลกนั้น ผมรู้สึกว่าภาพเศรษฐกิจในปีนี้ของพวกเขาจะไม่สดใสเหมือนของเราครับ โดยในวันพุธที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา Ben Bernanke ได้กล่าวแถลงการณ์ต่อสภาคองเกรสว่า ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในอนาคตจะยังคงอยู่ในสภาวะที่ Bernanke ใช้คำว่า "unusually uncertain" หรือ "มีความ ไม่แน่นอนสูงกว่าในระดับปกติ"

 

โดยถึงแม้ว่าทาง Bernanke จะคิดว่ามีความเป็นไปได้ไม่มากนักที่ระบบเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะกลับไปอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอีกครั้ง แต่เขาก็เริ่มสังเกตเห็นการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจที่อ่อนกำลังลง อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่า ทางประธานของระบบธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาจะยังไม่เห็นถึงความจำเป็น ใด ๆ ที่จะต้องประกาศมาตรการทางการเงินใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีก

 

Bernanke ยังคงเห็นว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาจะยังคงเติบโตในระดับปานกลางต่อไป โดยอัตราการ ว่างงานในประเทศจะค่อย ๆ ปรับตัวลดลง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกหลายปี ซึ่งแถลงการณ์ในลักษณะนี้ของ Bernanke ได้ส่งสัญญาณในลักษณะที่ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศสหรัฐอเมริกาจะยังคงอยู่ในระดับ 0 เปอร์เซ็นต์ต่อไปอีกระยะหนึ่ง

 

ในส่วนระบบเศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพยุโรปนั้น ถึงแม้ว่าจะมีบรรยากาศที่ดีขึ้น ภายหลังการจัดทำ Stress test ของ ธนาคารหลายแห่งในภูมิภาค และพบว่า มีเพียง 7 แห่งจากทั้งหมด 91 แห่งที่อาจมีปัญหาถ้าหากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในระดับไม่รุนแรงมากนักในภูมิภาคเกิดขึ้น แต่เรายังคงพูดได้ว่าระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้จะยังคงมีความอ่อนแอต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง โดยเรายังคงได้ยินการกล่าวถึงปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศกรีซ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ และสเปน มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ธนาคารกลางของสหภาพยุโรปน่าจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินในลักษณะผ่อนคลายไปอีกสักระยะหนึ่ง

 

ภาพที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจโลกในตอนนี้ก็คือ เราเริ่มจะสังเกตเห็นการถอนนโยบายกระตุ้นระบบเศรษฐกิจออกจากประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียบางประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลักษณะของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่ธนาคารกลางในสหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรปจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง

 

ภาพของระบบเศรษฐกิจโลกในช่วงปัจจุบันนี้มีความสอดคล้องกับภาพในรายงานประจำปี ค.ศ. 2010 ของ Bank of International Settlement หรือ BIS ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการพบปะพูดคุยกันของธนาคารกลาง ทั่วโลกครับ โดยในรายงานประจำปี ฉบับดังกล่าวมีการพูดถึงความเสี่ยงลักษณะต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สภาพเช่นนี้

 

และความเสี่ยงลักษณะหนึ่งที่เรามองเห็นได้ชัดเจนเหลือเกินครับก็คือ การไหลเวียนของเงินทุนในระดับโลกที่น่าจะ ยังคงทะลักเข้ามาในประเทศกำลังพัฒนาในแถบเอเชียอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเงินทุนเหล่านี้ไม่ได้เข้ามาเพื่อแสวงหาประโยชน์จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียกับระบบเศรษฐกิจใหญ่ ๆ อย่างสหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรปแต่เพียงอย่างเดียวครับ

 

สาเหตุของการไหลบ่าของเงินทุนทั่วโลกเข้ามายังประเทศในภูมิภาคเอเชียยังคงมีอีกอย่างน้อย 3 ประการด้วยกันนั่นคือ 1) การเข้ามาเก็งกำไรในการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในภูมิภาค 2) การเข้ามาของเงินลงทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากการคาดการณ์ถึงการเติบโตที่สูงกว่าอย่างเห็นได้ชัดในช่วงทศวรรษที่กำลังจะมาถึง และ 3) การคาดการณ์ถึงความเสี่ยงที่ลดลงในการกลับไปสู่สภาวะระบบเศรษฐกิจตกต่ำอีกครั้งหนึ่ง ด้วยภาพการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ ในภูมิภาค โดยการประกาศคงอัตราดอกเบี้ยในระดับใกล้ 0 เปอร์เซ็นต์ของประเทศพัฒนาแล้วขนาดใหญ่หลายประเทศ ประกอบกับมาตรการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจเพื่อประคองภาคธุรกิจต่าง ๆ จะยิ่งทำให้สภาวะการไหลบ่าของเงินทุนมาสู่ภูมิภาคเอเชียน่าจะทวีความรุนแรงมากยิ่งกว่า ในอดีต

 

ซึ่งการไหลบ่าของเงินทุนเหล่านี้จะสร้างปัญหาให้กับภาคนโยบายของประเทศในภูมิภาคเอเชียครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการกับการเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลท้องถิ่นของประเทศต่าง ๆ โดยการไหลบ่าเข้ามาของเงินทุนเหล่านี้อาจทำให้ ค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียปรับตัวแข็งขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งจะกระทบกับภาคธุรกิจส่งออกและอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของแต่ละประเทศ ในอนาคตอีกด้วย

 

มาตรการเพื่อใช้จัดการกับการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินเหล่านี้ อาจรวมไปถึงการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแต่ละประเทศ แต่การชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็อาจจะกระทบ ต่อความสามารถในการจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อภายในประเทศ ซึ่งน่าจะก่อตัวขึ้นภายหลังจากการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคเศรษฐกิจจริง นอกจากนั้นยังมีประเด็นของการก่อตัวขึ้นของฟองสบู่ในตลาดการเงินและภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมอีก ต่างหากด้วยครับ

 

ทางเลือกด้านนโยบายอีกทางหนึ่งก็คือ การเข้าไปแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นระยะ ๆ ของทางธนาคารกลาง และการประกาศใช้มาตรการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนต่าง ๆ เพื่อบริหารจัดการการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ โดยในระยะ 2-3 เดือน ที่ผ่านมานี้เราได้สังเกตเห็นการประกาศใช้มาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนจากหลาย ๆ ประเทศครับ เช่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และรัสเซีย เป็นต้น

 

โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นด้วยกับประโยคหนึ่งในรายงานประจำปีของ BIS ครับว่า การจัดการกับสภาพเช่นนี้ที่ดีที่สุดก็คือ การสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคเอกชนในการจัดการกับความเสี่ยงจากการเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลภูมิภาคด้วยตนเอง โดยทางภาคนโยบายอาจแค่จัดหาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็นและเพียงพอต่อการบริหารความเสี่ยงให้กับภาคเอกชนเพียงเท่านั้น

 

โดยการจะกระตุ้นให้ภาคเอกชนต่าง ๆ ปรับตัวเพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการบริหารจัดการความเสี่ยงของการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนนั้นเราก็จำเป็นที่จะต้องปล่อยให้มีการเคลื่อนไหวของอัตรา แลกเปลี่ยนอย่างเสรีในระดับหนึ่ง ไม่ใช่เข้าไปบริหารจัดการจนทำให้ภาคเอกชน ไม่เห็นถึงความจำเป็นในการปรับตัว

 

แต่ในอีกด้านหนึ่งผมก็เห็นด้วยครับว่า ภาคเอกชนจากหลากหลายภาคส่วนยังคงไม่มีความพร้อมต่อการเข้าไปบริหารจัดการกับความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วยตนเอง ซึ่งการหาจุดสมดุลในการเข้าไปบริหารจัดการกับการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนของทางภาครัฐนั้นก็น่าจะเป็นเรื่องที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องมีการหารือกันอย่างจริงจังนับตั้งแต่วันนี้ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...