ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอบคุณมากๆครับ เรียก อาจารย์เสม เลยนะ สุดยอด มีเมตตา กรุณา.......ขอแสดงความนับถือ !gd !gd

!01 !01 ......................................................................

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณ คุณเสมมากครับ...เราต้องเมตตาคนไม่รู้ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากๆๆครับคุณเสม เมื่อเช้าผมก็ปิดทิ้งกระดาษตามระบบเรียบร้อยแล้วครับผม

 

!01 !01 !01 !01 !01 !01 !01

 

!10 !10 !10 !10 !10 !10 !10

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทิศทางอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารกลาง

ดร.อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

 

ในช่วงวิกฤติการเงินในปี ค.ศ.2008 ที่ส่งผลกระทบจนทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในปี ค.ศ.2009 ธนาคารกลางทั่วโลกต่างปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลงอย่างรุนแรงและอยู่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ รวมธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีปรับดอกเบี้ยอ้างอิงลงมาอย่างต่อเนื่องจนอยู่ที่ระดับ 1.25% เป็นเวลาปีเศษแล้ว และมีประเด็นว่าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่ 1.25% นี้ต่ำเกินไปหรือไม่และถึงเวลาที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แล้วหรือยัง

 

สำหรับภาคธุรกิจแล้ว ยังต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยคงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเอาไว้ เนื่องจากต้องการให้ต้นทุนทางการเงินต่ำต่อไป แต่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งในปัจจุบันและในอนาคต หรือแม้แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งที่ 5 ในวันที่ 14 กรกฎาคมนี้ควรจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เหตุผลหลักก็จะคงต้องการทำให้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกลับเข้าสู่ภาวะปกติ (normalization) ภายหลังที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง (5.9% ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 และ 12.0% ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553) และต้องการให้อัตราที่แท้จริง (อัตราดอกเบี้ยหักด้วยอัตราเงินเฟ้อ) เป็นบวกเพื่อส่งเสริมการออมของประชาชน

 

กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียมีแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเพราะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นเร็วและแข็งแกร่งมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ยังอ่อนแอ และยังมีความเสี่ยงของวิกฤติหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป จนทำให้มีคาดการณ์กันว่าจะทำให้ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาและยุโรป จะยังต้องคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งอาจจะเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยถูกเลื่อนออกไปเป็นปี 2555

 

สำหรับแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียสำหรับปี 2553 ซึ่งรวบรวมจากรอยเตอร์ ได้ดังนี้

 

เกาหลีใต้ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันที่ 9 กรกฎาคม สู่ 2.25% จาก 2.00% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงิน เนื่องจากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเริ่มปรากฏขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังในขณะที่เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น นักวิเคราะห์คาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจเพิ่มขึ้นอีก 0.50% ก่อนสิ้นปีนี้

 

มาเลเซีย ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้งในปีนี้ โดยปรับขึ้นครั้งละ 0.25% สู่ 2.75% จากเดิมที่ 2.0% โดยจุดประสงค์เพื่อทำให้นโยบายกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังผ่านพ้นภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดในวันที่ 8 กรกฎาคม ธนาคารกลางก็ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อและ แนวโน้มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจนักวิเคราะห์จึงคาดว่ามาเลเซียจะตรึงอัตราดอกเบี้ยนี้จนถึงสิ้นปีนี้

 

นิวซีแลนด์ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ 2.75% จาก 2.5% ในวันที่ 10 มิถุนายน ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกหลังจากเกิดวิกฤติการเงินโลก ตลาดคาดการณ์ว่ามีโอกาส 84% ที่ธนาคารกลางนิวซีแลนด์จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในการประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 29 กรกฎาคม ทั้งนี้ เพราะเศรษฐกิจฟื้นตัวในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

 

ออสเตรเลีย ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 6 ครั้ง สู่ 4.5% นักวิเคราะห์คาดว่ามีโอกาสสูงที่ธนาคารกลางจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ 4.75% ในการประชุมวันที่ 3 สิงหาคม ถ้าหากประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในวันที่ 28 กรกฎาคมสูงเกินคาด ทั้งนี้ธนาคารกลางออสเตรเลียเป็นธนาคารกลางสำคัญแห่งแรกที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ โดยเริ่มปรับขึ้นในเดือนตุลาคม 2009 อย่างไรก็ดีการปรับขึ้นในช่วงที่ผ่านมายังคงมีการเรียกคืนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินที่ออสเตรเลียปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวม 4.25% ในช่วงนั้น

 

ไต้หวัน ธนาคารกลางไต้หวันสร้างความประหลาดใจให้ตลาดในวันที่ 24 มิถุนายน ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.125% สู่ 1.375% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินโลก เพื่อส่งสัญญาณว่าทางธนาคารกลางตั้งใจจะเริ่มต้นปรับนโยบายให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ และนักวิเคราะห์คาดกันว่าธนาคารกลางจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ก่อนสิ้นปีนี้

 

อินเดีย ธนาคารกลางอินเดียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมหลัก 3 ครั้ง ในปีนี้ โดยปรับขึ้นรวมกัน 0.75% สู่ 5.5% และนักวิเคราะห์คาดว่าธนาคารกลางอินเดียจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมทบทวนนโยบายครั้งถัดไปในวันอังคารที่ 27 กรกฎาคม ในขณะที่เศรษฐกิจอินเดียเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งและอัตราเงินเฟ้อภาคค้าส่งอยู่สูงเป็นตัวเลข 2 หลัก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

!thk !thk ขอบคุณคะคุณเสม !thk !thk

สุดยอดนับถือน้ำใจคุณเสมคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ คุณเสม และคุณส้มโอมือ ติดตามทุกวัน เช่นกัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คิดดีทำดี แถมเสียสละเวลาให้ทุกคนอีก

เป็นกำลังใจให้คุณเสมครับ

ขอบคุณครับ

ถูกแก้ไข โดย eduu

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...