ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอบคุณมากๆๆครับคุณเสม :D :D :D :D :D +1 +1 +1 +1 +1

 

รูปคุณ Playboy น่ารักมากๆเลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไม่มีอะไรเปลื่ยนเเปลงครับ

 

ทองคำ ยาวไปๆๆ ยังไปได้อีกไกลครับ ถือยาวไปๆๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รับทราบผมถือยาวตามอาจารย์เสมชี้แนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณอาจารย์เสมมาก ๆค่ะ ทองคำ ไปโลด !gd !57 !031 !thk !thk !thk !thk

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ครูเสมคะยางยังเขียวอยู่ไหมคะ

 

 

ยาง AFET เขียวมานานเเล้วครับ วันนี้ เหยียบ 101.35 เเล้ว

ยางTOCOM รอตลาดปิดครับ ว่าจะเขียวไหมวันนี้

 

ใครเล่นตาม ตลาดไหนก็อิงตลาดนั้นนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไม่มีอะไรเปลื่ยนเเปลงครับ

 

ทองคำ ยาวไปๆๆ ยังไปได้อีกไกลครับ ถือยาวไปๆๆ

 

ขอบคุณมากๆๆครับคุณเสม สบาย สบาย สบาย ตามระบบครับ

post-929-085977000 1282039962.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จีนลดความเสี่ยงลงทุน เพิ่มการซื้อพันธบัตรยูโรและเยน

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 สิงหาคม 2553 14:40 น.

 

 

 

 

 

 

 

 

บลูมเบิร์ก - จีนกำลังหันไปซื้อพันธบัตรสกุลเงินยูโรและเยนมากขึ้น จากเดิมที่มุ่งซื้อพันธบัตรดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากความวิตกว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจชะลอการฟื้นตัว

 

นายอี้ว์ หย่งติ้ง คณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายนโยบายต่างประเทศของธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า ขณะนี้จีน ซึ่งมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสูงถึง 2.45 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมากที่สุดในโลก กำลังซื้อพันธบัตรของยุโรป “เป็นจำนวนมากทีเดียว” โดยมิได้ขายพันธบัตรและสินทรัพย์ของยุโรปออกไปแต่อย่างใด อันเป็นการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง จากเดิมที่เน้นการลงทุนในพันธบัตร ที่ออกโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ

 

คณะกรรมการชุดนี้เดินทางไปเยือนฝรั่งเศส,สเปน และเยอรมนีระหว่างวันที่ 20 มิ.ย.- 2 ก.ค. ที่ผ่านมา และได้แจ้งให้ผู้กำหนดนโยบายของยุโรปทราบว่า จีนมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจและสกุลเงินยูโร

 

ด้านกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นระบุเมื่อวันที่ 9 ส.ค. ว่า จีนได้ซื้อพันธบัตรของญี่ปุ่นจำนวน 1.73 ล้านล้านเยน ( 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งมากกว่าที่จีนเคยขายออกไปในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อันนับเป็นการซื้ออย่างรวดเร็วที่สุดในรอบอย่างน้อย 5 ปี

 

ทั้งนี้ จีนเข้าซื้อพันธบัตรของยุโรปในช่วงที่สหภาพยุโรป หรืออียู ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความวิตกที่ว่าวิกฤตหนี้สินสาธารณะของบางชาติสมาชิกจะคุกคามเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจของกลุ่ม 16 ชาติสมาชิก ที่ใช้เงินยูโรทั้งหมด เช่นการประกาศแผนการให้เงินกู้จำนวน 957,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนรัฐบาลชาติยูโรโซน

 

ความเคลื่อนไหวของจีนเกิดขึ้นในช่วงเดียวกับที่ธนาคารกลางของชาติในเอเชีย ซึ่งมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศราว 60% ของโลก ก็กำลังหันไปลงทุนในสินทรัพย์สกุลเงินยูโร เพื่อความปลอดภัยของทุนสำรอง เนื่องจากวิตกเรื่องความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการที่กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้กู้เงินจำนวนมหาศาลด้วยการออกพันธบัตร โดยข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐฯ ระบุว่า เกาหลีใต้, มาเลเซีย และอินเดียได้ลดการถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ

 

ความวิตกว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจอ่อนแรงลงถูกตอกย้ำ โดยแถลงการณ์ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด เมื่อวันที่ 10 ส.ค. ซึ่งระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจฟื้นตัวน้อยลงในระยะเวลาอันใกล้กว่า ที่เคยคาดการณ์ไว้ และเฟดจะยังคงรักษาระดับการถือครองพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯในปัจจุบันไว้ เพื่อป้องกันเม็ดเงินไหลออกจากระบบการเงิน

 

อย่างไรก็ตาม กาเร็ท เบอร์รี นักกลยุทธ์ด้านเงินตราของยูบีเอส เอจี ซึ่งเป็นบริษัทค้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกมองว่า ยังไม่มีวี่แววความตื่นตระหนกจากเฟด จึ่งเป็นสิ่งยืนยันว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนแรงลงเพียงชั่วคราวเท่านั้น

 

จากการสำรวจของบลูมเบิร์ก นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะโต 3 % ในปีนี้ เทียบกับชาติในกลุ่มยูโร ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะโต 1.2% และเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะโต 3.4%

 

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี เวิน เจียเป่า ของจีนเคยเรียกร้องเมื่อเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ให้สหรัฐฯ ดำเนินมาตรการเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนว่า การลงทุนในพันธบัตรสหรัฐฯ จะมีความปลอดภัย โดยจีนซึ่งเป็นชาติที่ถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ มากที่สุด ได้ลดการถือครองในเดือนพ.ค. เหลือ 867,700 ล้านดอลลาร์ จาก900,200 ล้านดอลลาร์ในเดือนเม.ย และจากสถิติถือครองสูงสุดถึง 939,900 ล้านดอลลาร์เมื่อเดือนก.ค.2552

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทแข็งค่ามีที่มาที่ไปอย่างไร

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

 

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งทำให้การส่งออกของไทยขยายตัวในอัตราสูงและต่อเนื่อง ประกอบกับการขยายตัวของการนำเข้าที่ยังตามหลังการส่งออก ทำให้ประเทศไทยเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดสูงเกินคาด นอกจากนั้น การปรับขึ้นของดอกเบี้ยในประเทศไทย ที่สอดคล้องกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและความเชื่อว่าความเสี่ยงทางการเมืองลดลง ทำให้เงินทุนไหลเข้าประเทศไทยมากขึ้น กล่าวโดยสรุปคือการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประกอบกับเงินทุนไหลเข้าสุทธิ ทำให้ประเทศไทยมีการเกินดุลชำระเงินสูง ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังที่เห็นได้ชัดเจนใน 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา

 

หากสภาวการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไปก็จะเป็นแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ คงจะนำไปสู่การถกเถียงกันอีกครั้งว่าทิศทางเงินบาทน่าจะไปในทางใด จะมีการเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาทอีกหรือไม่ นโยบายที่เหมาะสม คือ อะไรและประเทศไทยมีทางเลือกในการปรับตัวหรือไม่อย่างไร

 

ถ้าจะตอบให้ตรงประเด็นตั้งแต่ต้นก็ต้องบอกว่า ปัญหานี้เคยเผชิญมาแล้วในปี 2005-2006 ซึ่งรากเหง้าของปัญหา คือ การใช้จ่ายเกินตัวของสหรัฐอเมริกา ในช่วงนั้น สหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 5-6% ของจีดีพี ซึ่งเป็นผลจากการใช้จ่ายเกินตัวของประชาชนอเมริกันเป็นหลัก ส่วนหนึ่งเพราะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ราคาบ้านปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ประชาชนเข้าใจว่าตัวเองร่ำรวยขึ้นสามารถกู้เงินได้เป็นจำนวนมาก จากการนำเอาบ้านที่อยู่อาศัยไปจำนองกับธนาคาร (จึงเกิดการเปรียบเปรยว่าบ้านเป็นเสมือนเครื่องเอทีเอ็มประจำครอบครัว) ในขณะเดียวกัน ธนาคารก็เร่งปล่อยกู้ และอาศัยนวัตกรรมทางการเงิน โดยนำเงินกู้ไปแปลงสภาพเป็นตราสารหนี้ ซึ่งอ้างว่าเป็นตราสารหนี้ชั้นดีขายไปทั่วโลก ทำให้ธนาคารสามารถปล่อยกู้ได้เป็นทวีคูณ ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้และกำไร ทำให้สหรัฐใช้จ่ายเกินตัวอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งฟองสบู่แตกและสหรัฐเข้าสู่วิกฤติทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบปลายปี 2008 ความตกต่ำทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ส่งผลให้สหรัฐลดการใช้จ่าย (เพราะประชาชนตกงาน 9.5% ของแรงงานทั้งหมด) การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจึงปรับลดลงเหลือ 3% ของจีดีพี ถือว่าเป็นความก้าวหน้าที่ชัดเจนในการลดความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก

 

ความไม่สมดุลที่ว่านี้ คือ การที่สหรัฐใช้จ่ายเกินตัว ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเอเชียเป็นผู้ที่ปล่อยกู้ให้ กล่าวคือ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐเป็นการสะท้อนการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของเอเชีย และเมื่อเอเชียเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประกอบกับมีเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาค ส่งผลให้เงินสกุลเอเชียมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น แต่ธนาคารกลางเอเชียไม่อยากให้เงินแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ จึงเข้าไปแทรกแซงโดยการซื้อดอลลาร์มาเก็บเป็นทุนสำรองและขายเงินสกุลของตนออกไป การซื้อเงินดอลลาร์ทำให้ค่าเงินดอลลาร์ไม่อ่อนค่า ส่วนการขายเงินสกุลของตนออกไปก็ทำให้เงินสกุลของตนไม่แข็งค่านั่นเอง สิ่งที่ตามมาอย่างเห็นได้ชัด คือ เอเชียมีทุนสำรองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในกรณีของไทยก็จะเห็นได้ว่าทุนสำรองเพิ่มขึ้นจาก 30.6 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2000 มาเป็น 55.9 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2005 และล่าสุดเพิ่มขึ้นเป็น 158.8 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2010 (เดือน มิ.ย.) การเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในเวลา 10 ปีของทุนสำรองนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในเอเชีย ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยเท่ากับ 158 พันล้านดอลลาร์ หรือ 50% ของจีดีพี ในขณะที่จีนมีทุนสำรอง 2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 40% ของจีดีพี เป็นต้น

 

หมายความว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2010 ทำให้เศรษฐกิจโลกหวนกลับไปสู่พฤติกรรมเดิม คือ สหรัฐเริ่มใช้จ่ายเกินตัวมากขึ้นและเอเชียก็รับเป็นทั้งผู้ขายและเจ้าหนี้ (vender financing) เช่นที่เกิดขึ้นในปี 2003-2007 สิ่งที่แตกต่าง คือ ในยุคหลังวิกฤติ 2009 นี้ ผู้ที่ใช้จ่ายเกินตัว คือ รัฐบาลสหรัฐ ตัวอย่างเช่น ปีนี้ประเทศสหรัฐโดยรวมอาจขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 3-4% ของจีดีพี แต่รัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณ (มีการใช้จ่ายเกินตัว) ประมาณ 10% ของจีดีพีคิดเป็นเม็ดเงิน 4.5-6.0 แสนล้านดอลลาร์ และ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ ตามลำดับ

 

ในทางตรงนั้น ธนาคารกลางต่างประเทศที่เข้าไปแทรกแซงค่าเงิน ทำให้ทุนสำรองของตนเพิ่มขึ้น ก็ได้ลงทุนซื้อตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เช่น เมื่อเดือนสิงหาคม 2007 ต่างชาติถือตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐมูลค่า 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ คิดเป็น 36.5% ของตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐทั้งหมดที่ถือโดยประชาชนทั่วไป และล่าสุด ในเดือนพฤษภาคม 2010 ธนาคารกลางต่างประเทศถือตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าถึง 2.7 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 34% ของการถือตราสารดังกล่าวทั้งหมด โดยประชาชนทั่วไปจะเห็นได้ว่าธนาคารกลางต่างประเทศ โดยเฉพาะเอเชียจะเป็นเจ้าหนี้รัฐบาลสหรัฐมากขึ้น หากยืนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเช่นเดิม ซึ่งมองในอีกแง่หนึ่งก็ต้องยอมรับว่ามีความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ประการ คือ

 

1. ตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และรัฐบาลสหรัฐสร้างหนี้เพิ่มขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งหนี้สาธารณะสูงถึง 90% ของจีดีพีแล้วในการประเมินของไอเอ็มเอฟ

 

2. ในอนาคตรัฐบาลสหรัฐมีภาระใช้จ่ายด้านรัฐสวัสดิการมากเกินกว่ารายได้จากการเก็บภาษี ทำให้สหรัฐจะต้องปรับโครงสร้างด้านการคลังลดรายจ่าย เพิ่มรายได้มิฉะนั้นจะเผชิญกับปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัวในอนาคตได้

 

3. ปัจจุบันราคาตราสารหนี้สหรัฐสูงมาก สะท้อนได้จากผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีที่ 2.8% ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น ในอนาคตจึงมีความเป็นไปได้ว่าไม่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นหรือจะฟุบ ดอกเบี้ยก็จะต้องปรับตัวเพิ่มขึ้น แปลว่าผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมีโอกาสสูงที่จะประสบกับการขาดทุน

 

หากไม่ต้องการรับความเสี่ยงของการเป็นเจ้าหนี้รัฐบาลสหรัฐก็ต้องลดการแทรกแซง ค่าเงินบาท กล่าวคือ ต้องยอมปล่อยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อ ทำให้ความจำเป็นต้องปรับดอกเบี้ยในประเทศลดลง นอกจากนั้น การแทรกแซงน้อยลงจะช่วยให้ธนาคารแห่งประเทศไทย มีภาระในการดูดซับสภาพคล่องในประเทศ (sterilization) น้อยลง เป็นการลดความเสี่ยงจากการขาดทุน เนื่องจากต้องจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรที่ออกมา เพื่อดูดซับสภาพคล่องในประเทศในอัตราสูง แต่ได้ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ต่างประเทศที่ต่ำ เพราะดอกเบี้ยสหรัฐอยู่ที่ระดับต่ำ หากธนาคารแห่งประเทศไทยขาดทุนก็จะไม่สามารถลดหนี้กองทุนฟื้นฟู ซึ่งหมายถึง ภาระดอกเบี้ยที่รัฐบาลจะต้องแบกรับภายใต้งบประมาณครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

!thk !thk !thk

ถูกแก้ไข โดย Puiii

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

!thk !thk !thk ขอบคุณคะคุณส้มโอมือ คุณเสม !thk !thk !thk

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...