ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอบคุณนะคะคุณเสม ได้เจอตัว2 ครั้งแล้วแต่ยังไม่ได้ทักทายเลย

ตอนนี้มองเห็นเป้าหมายทองไปไกล แต่การที่ทองขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะ USอ่อนค่า

ทำให้เงินบาทแข็งบาดใจไปเลย ถ้ามองเป็นเงินไทยล่ะคะ อยากทราบความเห็นนะค่ะ

!thk !thk !thk

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จากในอดีต การ Break new high ของตลาดทองคำ ราคาจะทะลุไปอยากรุนเเรงมากตอนนี้ราคา All time new high อยู่ที่ $1310 คงเป็นราคาเด็กๆมากๆสำหรับทองคำ ใครไม่มีของก็ลองหาซื้อเอาเองนะครับ ระยะยาวทองคำสดใสมากๆๆไม่ว่าจะเป็นทางด้าน TA หรือ ทาง FA ไม่มีเหตุผลใดที่จะทำให้ทองคำไม่ขึ้น การขึ้นครั้งนี้ Bullish กว่าทุกๆครั้งมาก โดยไม่มีการย่อลงมาหนักๆๆเลย เเสดงถึงความ Bullish ในตลาดทองคำ โดย ต่อไปเศรษฐกิจโลก พัง คำตอบสุดท้ายของ นลท ก็คือ "ทองคำ" นั่นเอง

 

ไม่ได้เข้า Board มาหลายวันเห็น นลท มีการ S ทองคำในตลาด GF กันมากมาย คิดเเล้วเหมือนการเข้า บ่อนดีๆๆนั้นเอง อยากให้ นลท ทุกท่าน ใช้สติในการลงทุน อย่าใช้อารมณ์เเละความรู้สึก ในการลงทุนนะครับ

คนที่มีทองเเท่งก็ถือยาวๆไปครับ อย่ากลัวราคาเเถวนี้ยังเด็กๆมากๆ ต่อไปทองคำไปสูงกว่านี้เเน่นอน

 

SET ตลาดขึ้นมาทดสอบ 950 จุดหลายครั้งเเล้ว ตอนนี้ตลาด SET ไทย confirm wave 3 ราคาจะไปได้อีกไกลโดยใช้ระบบในการเทรดก็กำไร พอเพียง รวยจนเบื่อไปเเล้ว

 

ขอบคุณมากๆๆครับ คุณเสม ยังถือทุกอย่างตามระบบเหมือนเดิมครับ !01 !01 !01

post-929-096411700 1285730031.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมถือยาวตามอาจารย์เสมชี้แนะครับเพื่อนๆ

 

1500-1600 ไม่เห็นยากที่ผมจะปล่อยของ776b44d35ace1f8f5fb05c2fad2050ca.gif

ถูกแก้ไข โดย Yai Carmungwed

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมถือยาวตามอาจารย์เสมชี้แนะครับเพื่อนๆ

 

1500-1600 ไม่เห็นยากที่ผมจะปล่อยของ776b44d35ace1f8f5fb05c2fad2050ca.gif

 

ในที่สุดคุณใหญ่ก็ได้รูปประจำตัวใหม่อีกรูปแล้วสินะ ตาม 1600 ไปติดๆ ครับ :lol: :lol: :lol:

ถูกแก้ไข โดย leo_attack

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คงเป็นกองทุน K-gold ที่มีการจ่ายปันผลกัน ได้ยินมาว่าจ่ายเเค่ 0.2 เองนิครับพี่ปุณณ์ เเล้วเงินกว่าจะได้อีกประมาณ 6 วันใช่ไหมครับ สำหรับผม ก็มีกองทุนนี้เหมือนกัน ผมเก็บยาวครับ ย่อเมื่อไรซื้อทองกลับหมดครับ ผมชอบเล่นระยะยาวอะครับ รอที่ $1600 ครับ

 

ปันผลจ่ายราวๆ 0.20 บาท หักภาษีไปอีก 10% เงินปันผลเข้าบัญชีราวๆสิ้นเดือน ตค. ค่ะ

ถ้าอย่างนั้นพี่ปุณณ์จะเก็บยาวเลย และเก็บเพิ่มเมื่อย่อค่ะ หยุดเล่นกองทุนน้ำมันไปแล้วเอาเงินมาลงกองทุนทองดีกว่า

ปีนี้จ่ายปันผลมารวมรอบนี้ 3 รอบ 1.15 บาท แล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:wub: :wub:

 

ขอบพระคุณมากนะคะ คุณเสม มาบ่อยๆ นะคะ

:rolleyes:

หายไป นลท.แย่แน่ๆๆ เลย

 

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ ตามระบบคุณเสมอยู่นะคะ ทองคำ น้ำมัน เซท ค่ะ

 

 

:rolleyes:

:rolleyes: :blink: :blink:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณ คุณเสมมากคับ เข้ามาอัพเดทบ่อยๆนะคับ !01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขออนุญาติสอบถามคุณเสม การเขียนสุตรโดยใช้ VOLUME เขามาด้วยทำยังงัยครับ....หมายถึงถ้ามีสูตรอยู่แล้ว

เช่น ข้างล่างนี้แล้วเขียนใส่ ตรงไหน ยังงัยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

 

{Boonc PnT 1.1 Original}{CDC PnT 1.1 Original}

 

{Indicator Builder}

 

{CDC PnT 1.1 Original}

Pct:=1;

Pk:=Peak(1,C,Pct); Tr:=Trough(1,C,Pct);

Upper:=Ref(ValueWhen(1,Pk<>Ref(Pk,-1),C),-1);

Lower:=Ref(ValueWhen(1,Tr<>Ref(Tr,-1),C),-1);

Upper;Lower;

{C; Zig(C,Pct,%);}{ไม่ใส่ก้อได้เส้นราคาปิดกับเส้นซิกแซ็ก ถ้าจะใส่ให้ลบวงเล็บปีกกาออก}

 

{Expert Advisor}

{Highlights}

{Bullish}

Upper:=FmlVar("CDC PnT 1.1 Original","Upper");

Lower:=FmlVar("CDC PnT 1.1 Original","Lower");

Bullish:=BarsSince(Cross(C,Upper))<BarsSince(Cross(Lower,C));

Bearish:=BarsSince(Cross(C,Upper))>BarsSince(Cross(Lower,C));

Bullish;

 

{Bearish}

Upper:=FmlVar("CDC PnT 1.1 Original","Upper");

Lower:=FmlVar("CDC PnT 1.1 Original","Lower");

Bullish:=BarsSince(Cross(C,Upper))<BarsSince(Cross(Lower,C));

Bearish:=BarsSince(Cross(C,Upper))>BarsSince(Cross(Lower,C));

Bearish;

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

IMF ไม่เชื่อโลกจะมีสงครามหั่นค่าเงิน ขณะสภาUSดันกม.ซัดจีนที่กด'หยวน'

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 กันยายน 2553 23:24 น.

 

 

 

 

 

 

 

 

เอเอฟพี - ความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามหั่นค่าเงินระบาดไปทั่วโลกนั้น อยู่ในเกณฑ์ต่ำ แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีภัยคุกคามในเรื่องนี้อยู่เลย นั่นเป็นการประเมินเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (28) ของ โดมินิค สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการแห่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ หลังจากที่บางประเทศทยอยกันเข้าแทรกแซงค่าเงินกันมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯเตรียมผ่านร่างกฎหมายเมื่อวันพุธ(29) ซึ่งมุ่งลงโทษจีนในข้อหากดค่าเงินหยวนให้ต่ำกว่าความเป็นจริง

 

ในท่ามกลางความขุ่นเคืองที่พอกพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายๆ ประเทศต่างพากันเทเงินสกุลของตนเองเข้าสู่ระบบการเงิน เพื่อดึงให้ค่าเงินอ่อนตัวลง ในอันที่จะเอื้อให้สินค้าของประเทศมีราคาถูกลงเมื่อนำออกขายในตลาดโลก ซึ่งส่งผลให้ชาติคู่แข่งตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบและได้รับความเสียหายในเชิงเศรษฐกิจอย่างมากมาย อย่างไรก็ตาม บิ๊กบอสแห่งไอเอ็มเอฟยังมั่นใจว่าศึกหั่นค่าเงินระหว่างชาติต่างๆ จะไม่เกิดขึ้นเพราะแต่ละชาติต่างรู้ว่าทำไปก็มีแต่จะเข้าเนื้อ

 

“ผมคิดว่าความเป็นไปได้มีค่อนข้างต่ำ เพราะทุกฝ่ายต่างเข้าใจดีว่าหากปล่อยให้ความขัดแย้งลุกลามใหญ่โต... ก็จะต้องเผชิญกับผลกระทบเชิงลบ แต่กระนั้นก็เถอะ มันก็อาจเกิดขึ้นได้อยู่หรอกครับ” สเตราส์-คาห์น แห่งไอเอ็มเอฟ กล่าวกับนักข่าวในกรุงวอชิงตัน

 

การออกโรงครั้งนี้เกิดขึ้นหนึ่งวัน หลังจากที่รมว.คลังของบราซิล กุยโด้ มันเตก้า ออกปากแสดงความขุ่นเคืองที่เงินรีลของประเทศตนถูกดันให้แข็งขึ้น ยามที่ชาติอื่นเอาแต่หั่นค่าเงินด้วยนานากลวิธี จนกระทั่งภาคส่งออกที่เคยคึกคักอย่างยิ่งต้องได้รับความเสียหาย

 

“เราอยู่ในท่ามกลางสงครามแทรกแซงค่าเงินครับ” มันเตก้ากล่าวอย่างนั้นในกรุงเซา เปาโล พร้อมบ่งใบ้ว่าจะเกิดการแทรกแซงค่าเงินในฝ่ายของตนบ้างในไม่ช้า “เรื่องนี้คุกคามบราซิล เพราะมันบั่นทอนศักยภาพการแข่งขันของพวกเรา”

 

เมื่อหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นานารัฐบาลร่วมสิบกว่าเจ้า ตั้งแต่โคลอมเบียถึงสิงคโปร์ เปิดปากยอมรับว่าเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อกดดันให้ค่าเงินของตนอ่อนตัว ในอันที่จะช่วยให้ราคาสินค้าส่งออกถูกลง ในเวลาเดียวกัน เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเงินรีลของบราซิล ก็อ่อนยวบลงมาก ราว 25% แล้วนับจากต้นปีที่ผ่านมา

แต่อันที่จริงแล้ว จุดเปราะบางที่สุดในศึกหั่นค่าเงินนั้น ปรากฏอยู่ในระหว่างคู่รักคู่แค้นเก่าแก่ คือสหรัฐฯ กับจีน

 

หลายปีที่ผ่านมา วอชิงตันโจมตีปักกิ่งครั้งแล้วครั้งเล่า ว่าจีนทำให้ค่าเงินหยวนต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างมหาศาล ขณะที่สหรัฐฯ ก็ใช้สารพัดกลวิธีในอันที่จะบีบเค้นให้จีนผละออกจากนโยบายกดค่าเงินหยวนให้อ่อนจัดๆ ด้วยหวังว่าเมื่อเงินหยวนสะท้อนความเป็นจริงออกมา สินค้าของจีนจะไม่ถูกสตางค์อย่างที่เป็นอยู่ และยอดขาดดุลการค้าที่สหรัฐฯ มีอยู่กับจีนอย่างมากมายและเรื้อรังก็จะกระเตื้องขึ้น พร้อมกับส่งผลให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะแย่น้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ บอบช้ำซวนเซจากวิกฤตในตลาดการเงินโลก

 

ทั้งนี้ ในวันพุธนี้ (29) สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ มีกำหนดโหวตร่างกฎหมายใหม่ที่มีมาตรการลงโทษสินค้าจีน หากเงินหยวนที่เชื่อกันว่าต่ำกว่าความเป็นจริงนั้น ยังไม่ถูกปลดปล่อยให้สะท้อนความเป็นจริง และได้ดีดตัวขึ้นมาเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์

 

ตามร่างกฎหมายดังกล่าว จะมีการขยายอำนาจแก่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ให้สามารถกำหนดพิกัดภาษีศุลกากรต่อสินค้านำเข้าที่พบว่า ชาติต้นทางมีการแทรกแซงค่าเงินของประเทศตน

เสียงสนับสนุนร่างกฎหมายฉบัคบนี้ว่ากันว่าหลั่งไหลมาจากทั้งพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน เพราะในอีกเพียง 5 สัปดาห์ข้างหน้า ก็จะถึงฤดูกาลเลือกตั้งกลางเทอมที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนฯทั้งสภา และสมาชิกวุฒิสภาราว 1 ใน 3 โดยที่พวกนักการเมืองอเมริกันเชื่อว่าหากพวกตนประสบความสำเร็จในศึกเศรษฐกิจกับจีน พวกตนจะได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนที่ปักใจเชื่อกันไปหมดแล้วว่าจีนทำการค้าอย่างไม่เป็นธรรม และเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำร้ายเศรษฐกิจ จนเกิดการว่างงานมหาศาลกระทั่งว่าอัตราการว่างงานพุ่งเกือบ 10% แล้ว

คาดหมายกันว่าร่างกฎหมายนี้น่าจะผ่านสภาผู้แทนฯไปได้อย่างไม่ลำบาก จากนั้นก็จะต้องให้วุฒิสภาพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งคาดกันว่าน่าจะเป็นช่วงภายหลังการเลือกตั้งกลางเทอมตอนต้นเดือนพฤศจิกายนไปแล้ว ตรงนี้เองยังเป็นที่สงสัยกันว่าจะได้เสียงสนับสนุนจากสภาสูงหรือไม่ เนื่องจากพวกหอการค้าอเมริกันและกลุ่มธุรกิจอเมริกันที่ไปทำมาหากินในจีน ต่างออกมาคัดค้านว่าร่างกฎหมายเช่นนี้ก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี

 

ในระดับนานาชาติ การงัดข้อในประเด็นค่าเงินน่าจะระอุขึ้นอีกในสัปดาห์หน้า เมื่อบรรดารมว.คลังและผู้ว่าการแบงก์ชาติของนานาประเทศจะไปรวมตัวกันประชุมที่วอชิงตัน ในวาระการประชุมประจำปีของไอเอ็มเอฟ ระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคม และต่อด้วยการประชุมซัมมิตกลุ่มจี-20 ที่เกาหลีใต้ ในสัปดาห์ที่สามของเดือนตุลาคม

 

สำหรับบทบาทและความรับผิดชอบของไอเอ็มเอฟต่อปัญหาการแทรกแซงค่าเงิน เป็นเรื่องหนึ่งที่ถูกพูดถึงมากเช่นกัน

 

“ไอเอ็มเอฟเองก็ปล่อยปละกับหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะต้องเฝ้าระวังปัญหาเรื่องนี้ด้วย สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นข้างนอกนั้นเป็นเรื่องที่ปล่อยกันตามชอบ ใครอยากทำอะไร ก็ทำกันไป” กล่าวโดยมอร์ริส โกลด์สไตน์ อดีตเจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟ ซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกสถาบันคลังสมองชื่อดัง Peterson Institute for International Economics

 

“ถ้าจีนสามารถแทรกแซงตลาดเงินได้เรื่องๆ และทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนเป็นไปตามต้องการได้เป็นเจ็ดปีแปดปีต่อเนื่อง โดยที่ไอเอ็มเอฟไม่พูดอะไรสักแอะ งั้นทำไมชาติอื่นๆ จะทำบ้างไม่ได้” โกลด์สไตน์ว่าไว้อย่างนั้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คนนับหมื่นประท้วง สหภาพยุโรป ใน บรัสเซลส์ เบลเยี่ยม

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 30 กันยายน 2553 04:39 น.

 

 

 

 

 

ผู้คนนับหมื่นเคลื่อนขบวนผ่านบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันพุธในการประท้วงต่อมาตรการอันเข้มงวดของรัฐบาลประเทศยุโรปซึ่งทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจชะลอลงและซ้ำเติมผู้ยากจน

ผู้ประท้วงมากกว่า 5,000 คนรวมตัวประท้วงในเมืองวอร์ซอ มีการนัดหยุดงานและมีการปลุกระดมให้เกิดการประท้วงในเมืองหลวงอีก 11 แห่ง เพื่อต่อต้านมาตรการตัดงบประมาณ,การปฏิรูปตลาดแรงงานและระบบบำเน็จบำนาญ

กลุ่มผู้ประท้วงระบุว่าพวกเขาบรรลุเป้าหมายในการระดมคน 100,000 คนเดินประท้วงบนถนนในบรัสเซลส์ แต่ตำรวจบอกว่ามีผู้ประท้วง 56,000 คน และ 218 คนถูกจับกุมคุมขังด้วยความผิดเล็กน้อย ผู้เข้าร่วมประท้วงในที่อื่นๆก็มีไม่มาก จอห์น มองค์ ประธาน สมาพันธ์สหภาพการค้ายุโรป กล่าวกับผู้ชุมนุมใกล้สำนักงานใหญ่ของสหภาพยุโรปในบรัสเซลส์ ว่า การต่อต้านมาตรการที่เข้มงวด และเรียกร้องงานทำและการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นข้อเรียกร้องของการประท้วงครั้งนี้

ผู้ประท้วงจากทั่วยุโรปได้โบกธงของสหภาพและชูป้ายระบุว่าต่อต้านความเข้มงวด และให้ความสำคัญกับการมีงานทำ และการขยายตัว

การประท้วงนำขบวนโดยกลุ่มคนสวมชุดดำและใส่หน้ากากสีดำถือร่มและกระเป๋าซึ่งเป็นตัวแทนของนักเก็งกำไร ทำหน้าที่เป็นหัวขบวนของงานศพเพื่อไว้อาลัยต่อความตายของยุโรป

ผู้ประท้วงไม่พอใจที่รัฐบาลประเทศยุโรปใช้เงินจำนวนมากในการช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ขณะที่คนธรรมดากลับต้องยอมรับความเข้มงวด

ประชาชนรู้สึกว่ามีเงินยูโรหลายพันล้านไว้ช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ แต่งบประมาณเพื่อสังคมกลับถูกตัดทอนลง

โฮเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมการชาติยุโรปกล่าวว่าสหภาพยุโรปตระหนักถึงผลกระทบต่อสังคม แต่รัฐบาลเห็นว่าการดำเนินมาตรการดังกล่าวเป็นทางเดียวที่จะทำให้พ้นภาวะวิกฤติได้

นักเศรษฐศาสตร์มองว่าการประท้วงไม่น่าจะกดดันรัฐบาลให้ยกเลิกการปฏิรูปโครงสร้างต่างๆได้

รัฐบาลประเทศยุโรปกล่าวว่ามีความจำเป็นต้องใช้ความเข้มงวดเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากวิกฤติหนี้ของประเทศเหมือนกับประเทศกรีซ ขณะที่คนงานรู้สึกว่าต้องับกรรมจากปัญหาที่พวกเขาไม่ได้ก่อขึ้น

"เราเข้าใจว่ามีวิกฤติ แต่มันมักจะถูกอ้างในการกดดันต่อประชาชน ซึ่งเป็นลูกจ้าง คนงาน และไม่ได้อยู่ในธุรกิจขนาดใหญ่" ผู้ประท้วงชาวบัลแกเรียที่มาร่วมประท้วงในบรัสเซลส์กล่าว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...