ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

dbfe1400eb3821ff15f3ab7537a25e6c.pngอะไรก็หยุดน้องทองไม่อยู่ แม้นบาทจะแข็ง

 

ผมขอตามอาจารย์เสมไปรอเพื่อนๆที่1500-1600 มารับเละ555

 

เล่นทองไม่หวั่นไหวไม่เคยกลัว ถือแล้วรอ ทำตามระบบอย่างเดียว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

dbfe1400eb3821ff15f3ab7537a25e6c.pngอะไรก็หยุดน้องทองไม่อยู่ แม้นบาทจะแข็ง

 

ผมขอตามอาจารย์เสมไปรอเพื่อนๆที่1500-1600 มารับเละ555

 

เล่นทองไม่หวั่นไหวไม่เคยกลัว ถือแล้วรอ ทำตามระบบอย่างเดียว

 

เดี๋ยวเก็บกองทุน หิ้วทองแท่งตามหลังคุณใหญ่ไปด้วยคนค่ะ 1500-1600 เชียวหรือคะ ohmy.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กองทุนที่ซื้อขายตามโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (quant fund) : ปัญหาและทางออก

คอลัมน์ การเงินปฏิวัติ โดย สฤณี อาชวานันทกุล www.fringer.org ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 09 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4243

 

กฎหมายปฏิรูปภาคการเงินอเมริกัน (กฎหมายดอดด์-แฟรงค์) ซึ่งผ่านการลงนามโดยประธานาธิบดี บารัก โอบามา ในเดือนกรกฎาคม 2010 จุดประกายการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับแนวโน้มประสิทธิภาพและผลกระทบของกฎหมาย

 

ประเด็นใหญ่ประเด็นหนึ่งที่กฎหมายดอดด์-แฟรงค์ และนักเศรษฐศาสตร์ นักการเมือง และนักวิชาการส่วนใหญ่มองข้ามไป คืออันตรายของกองทุนที่ซื้อขายตามโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (เรียกว่ากองทุนควอนท์- quant fund ย่อมาจาก quantitative) ซึ่งในวิกฤตการเงินปี 2008 เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักให้สถานการณ์เลวร้ายลงอย่างรวดเร็วจนตลาดกอบกู้ตัวเองไม่ได้

 

กองทุนควอนท์จะซื้อขายหลักทรัพย์ตามโมเดลคอมพิวเตอร์ที่เขียนโปรแกรมไว้ล่วงหน้า ไม่มีผู้จัดการกองทุนคอยตัดสินใจ โมเดลที่ใช้มีตั้งแต่โปรแกรมพื้น ๆ เช่น ถ้าราคาหุ้นวันนี้สูงกว่าราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 60 วัน โมเดลจะขายหุ้นให้โดยอัตโนมัติ ไปจนถึงโมเดลที่นำปัจจัยต่าง ๆ เช่น สถิติราคาหุ้น ผลตอบแทนของตลาด ค่าความผันผวนของหุ้นในอดีต ปัจจัยพื้นฐานของหุ้น มาใช้เป็นสมมติฐานในโมเดล กองทุนควอนท์ส่วนใหญ่ใช้โมเดลที่มีความซับซ้อนเกินความเข้าใจของนักลงทุน หรือแม้แต่ผู้บริหารสถาบันการเงินเอง

 

ความสำเร็จของกองทุนควอนท์มิได้ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ (ถึงแม้ว่ามันจะเป็นส่วนสำคัญ) เท่ากับ "ความฉลาด" ของโมเดลที่เขียนขึ้น และความฉลาดของโมเดลก็ย่อมมาจากความฉลาดของคนที่เขียนมันเป็นสำคัญ

 

แต่ความฉลาดไม่อาจเป็นหลักประกันแห่งความสำเร็จ เพราะตลาดการเงินหาได้เดินอย่างนาฬิกาที่เที่ยงตรง แต่ผันแปรไปตามพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งมักจะดูเฉลียวมากกว่าฉลาด และบ่อยครั้งก็ทำตามความหวั่นวิตก หรือความโลภที่บังตา มากกว่าตรรกะที่แม่นยำ

 

ในปี 2009 โจเซฟ ฟุลเลอร์ (Joseph Fuller) ผู้ร่วมก่อตั้ง Monitor หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก เขียนบทความเรื่อง "The Terminator Comes to Wall Street" (เทอร์มิเนเตอร์บุกภาคการเงิน) ลงในวารสาร The American Scholar (อ่านฉบับเต็มได้จาก http://www.theamericanscholar.org/) เพื่ออธิบายปัญหาของกองทุนควอนท์ในปัจจุบัน และวิธีการที่ภาครัฐควรใช้ในการกำกับดูแล ถึงแม้ว่าข้อเสนอของเขาจะไม่ได้รับการตอบสนอง ข้อสังเกตของฟุลเลอร์ก็สมควรได้รับการหยิบยกขึ้นมาถกในวงกว้าง เพราะปัญหาที่เขาชี้ให้เห็นนั้นยังไม่หายไปไหน และในภาวะที่กองทุนควอนท์ยังได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะจากนักลงทุนที่เชื่อมั่นในคอมพิวเตอร์มากกว่ามนุษย์

 

ในบทความของเขา ฟุลเลอร์บอกว่า การซื้อขายแบบควอนท์ไม่ได้เป็นเหตุปัจจัยของวิกฤตปี 2008 เท่านั้น แต่มีบทบาทสำคัญในการล้มละลายของเฮดจ์ฟันด์ชื่อ Long Term Capital Management (LTCM) ในปี 1997 ซึ่งธนาคารกลางของสหรัฐต้องเข้ามาจัดการตะล่อมแกมขู่ธนาคารให้เข้ามาอุ้ม ก่อนที่จะเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อระบบการเงินทั้งประเทศ ฟุลเลอร์บอกว่า ภาคการเงินและภาครัฐไม่ได้เรียนรู้บทเรียนที่สำคัญจากหายนะในครั้งนั้น และ "พวกเขามองไม่เห็นความเปราะบางและความผันผวนของโมเดลซื้อขายแบบที่ LTCM ใช้...ควรมองว่า กรณี LTCM นั้นเป็นลางบอกเหตุ ไม่ใช่ข้อยกเว้น"

 

ฟุลเลอร์บอกว่า โมเดลซื้อขายที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ยุค LTCM จนถึงทุกวันนี้มี "ปัญหาในตัวเอง" สามข้อ ไม่ว่าผู้คิดค้นจะเก่งกาจปานใด ปัญหาแรก คือคนที่สร้างโปรแกรมไม่เข้าใจตลาดการเงิน พวกเขาคือผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ หรือไม่ก็ฟิสิกส์ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านหุ้น ตราสารหนี้ ตลาดการเงิน หรือจิตวิทยา ผู้สร้างโมเดลเหล่านี้มักจะคิดว่าตลาดมีประสิทธิภาพและทำงานตรงตามทฤษฎี แต่ไม่มีทฤษฎีใดจะสามารถสะท้อนพฤติกรรมของมนุษย์ได้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะพฤติกรรมที่สับสนอลหม่านและไม่มีเหตุมีผล เพราะทำไปด้วยอารมณ์

 

นอกจากนี้ นักสร้างโมเดลยังใช้สถิติจากอดีตมาเป็นฐานของโมเดล พวกเขา "ทดสอบ" โมเดลที่สร้างขึ้นด้วยการดูว่ามันจะทำงานอย่างไร ถ้าเหตุการณ์ในอดีตเกิดขึ้นอีก (back-testing) และเนื่องจากโมเดลจำลองอดีต นักสร้างโมเดลจึงไม่สามารถใส่สถานการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น ความผันผวนที่เกิดขึ้นพร้อมกันในตลาดตราสารหนี้ ตลาดหุ้น ตลาดเงินตราต่างประเทศ และตลาดโภคภัณฑ์ (ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่อเมริกาประสบระหว่างปี 2008-2009)

 

"ปัญหาในตัวเอง" ปัญหาที่สองที่ฟุลเลอร์ชี้ให้เห็น คือผู้บริหารกองทุนควอนท์บ่อยครั้งไม่เข้าใจคนเขียนโมเดล เพราะพวกเขาพูดกันคนละภาษา (กล่าวอย่างหยาบ ๆ ได้ว่า ฝ่ายหนึ่งพูดภาษาคน อีกฝ่ายหนึ่งพูดภาษาเลข) ผู้บริหาร (ซึ่งมักจะเป็นนักการเงินอาชีพ) ไม่สามารถแปลงคำถามของตัวเองให้พ่อมดเลขผู้เขียนโมเดลเข้าใจได้ว่าโมเดลของเขาจะมีปฏิกิริยาต่อสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างไร นอกจากนี้ ฟุลเลอร์บอกว่า ตัวโมเดลเองก็ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่มีมนุษย์คนไหน รวมทั้งคนเขียนโมเดลเองสามารถพยากรณ์ได้อย่างชัดเจนว่า ประเภทและปริมาณมหาศาลของตราสารอนุพันธ์และหลักทรัพย์ที่ถูก "เคาะ" ซื้อขายผ่านโมเดลจะส่งผลกระทบอะไร และไม่รู้ว่าโมเดลจะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างไรบ้าง

 

"ปัญหาในตัวเอง" ประการสุดท้ายของกองทุนควอนท์ คือโมเดลเหล่านี้ "ไม่เข้าใจ" ซึ่งกันและกัน เพราะโมเดลแต่ละอันถูกออกแบบมาให้ทำตามกลยุทธ์ของตัวเอง โดยมีเป้าหมายที่จะทำกำไรให้ได้มากที่สุดในตลาดใดตลาดหนึ่ง แต่โมเดลแต่ละอันไม่สามารถคำนึงถึงบทบาทของโมเดลอื่น ๆ ในตลาด สิ่งที่เกิดขึ้น คือโมเดลแต่ละอันทำปฏิกิริยาแทบจะในเวลาจริง (real time) ต่อการกระทำของโมเดลอื่น ๆ ส่งผลให้ตลาดผันผวนมากกว่าปกติมาก โดยเฉพาะในภาวะคับขัน ที่โมเดลต่าง ๆ สั่งขายหลักทรัพย์แทบจะพร้อมกันและกอดเงินสดเอาไว้แทนเพื่อหยุดผลขาดทุนของกองทุน (stop loss) ซึ่งทำให้ตลาดดิ่งเหวและสภาพคล่องแห้งเหือดอย่างรวดเร็ว ดังที่เกิดขึ้นในวิกฤตการเงินปี 2008

 

ฟุลเลอร์บอกว่า โมเดลควอนท์ทุกโมเดลมีปัญหาที่ว่ามานี้ทั้งสามข้อ ต่างกันแค่จะมีมากหรือมีน้อย เขาแนะนำว่า วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง คือหาทางลดความผันผวนที่เกิดขึ้นจากโมเดลเหล่านี้ให้ได้ ก่อนอื่น ผู้บริหารสถาบันการเงินที่ใช้โมเดลควอนท์จะต้องเข้าใจโมเดลของตัวเองมากขึ้น คณะกรรมการและคณะกรรมการบริหารจะต้องทบทวนตรรกะที่ใช้ในการสร้างโมเดล ตลอดจนระดับความเปราะบางของมันต่อเหตุการณ์ไม่คาดคิด ไม่ใช่ไม่สนใจ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารความเสี่ยงต่อไปตามธรรมเนียมเดิม ฟุลเลอร์แนะนำว่า สถาบันการเงินทุกแห่งควรมีผู้จัดการความเสี่ยงที่สามารถอธิบายให้เข้าใจเป็นภาษาคนว่า ตรรกะของโมเดลคืออะไร และมันมีความเสี่ยงอะไรบ้าง ผู้จัดการจะต้องผลักดันให้นักเขียนโมเดลตอบให้ได้ว่า เขาใช้ตัวแปรและเหตุการณ์ในอดีตอะไรมาสร้างโมเดล อะไรคือความแตกต่างที่สำคัญที่สุด 10 ประการ ระหว่างเหตุการณ์ในอดีตกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และโมเดลของเขาจะรับมือกับความแตกต่างเหล่านั้นได้อย่างไร

 

ในระดับย่อยลงมา ฟุลเลอร์บอกว่า สถาบันการเงินจะต้องรวบรวมนักค้าหลักทรัพย์ หรือผู้จัดการกองทุนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากในตลาดการเงิน มาจับเข่าคุยกับพ่อมดเลขที่มีหน้าที่สร้างโมเดล จะได้ปรับความเข้าใจให้ตรงกันว่า โมเดลทำอะไรได้และไม่ได้ และหาวิธีปรับปรุงให้โมเดล "เผื่อพื้นที่" สำหรับพฤติกรรมที่ทำด้วยอารมณ์ของมนุษย์บ้าง

 

ส่วนด้านระบบตอบแทน ฟุลเลอร์เห็นตรงกับนักการเงินจำนวนมากว่า คณะกรรมการสถาบันการเงินต่าง ๆ ควรจะยกเครื่องครั้งใหญ่ เพราะวิกฤตที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนแล้วว่า กลยุทธ์ที่สร้างผลกำไรในระยะสั้น อาจนำไปสู่หายนะของทั้งบริษัทในระยะปานกลาง ดังนั้น บริษัทจึงควรเปลี่ยนวิธีจ่ายค่าตอบแทน เพื่อผลักดันให้นักสร้างโมเดล เทรดเดอร์ ผู้จัดการกองทุนมองไกลกว่าเดิม และมีวินัยมากขึ้นในการลงทุน เช่น กันเงินโบนัสก้อนใหญ่ไว้ทยอยจ่ายเป็นเวลาหลายปี ปรับลดตามผลประกอบการที่เกิดจริง ไม่ใช่จ่ายโบนัสทั้งก้อนในงวดเดียว

 

แม้ว่ากองทุนควอนท์จะมี "ปัญหาในตัวเอง" สามข้อที่ควรหาทางแก้ไขและบรรเทาดังที่กล่าวไปแล้ว มันก็มีประโยชน์มากมายในตลาดการเงิน โดยเฉพาะเวลาที่ไม่มีวิกฤต เช่น ช่วยเสริมสร้างสภาพคล่องในตลาด เพิ่มผลิตภาพของสถาบันการเงินต่าง ๆ และช่วยลดต้นทุนในการซื้อขายของนักลงทุนลงอย่างฮวบฮาบ (เพราะคอมพิวเตอร์ไม่ต้องมีเงินเดือน) ซึ่งหมายความว่ามันช่วยสร้างโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงตลาดการเงินมากกว่าในอดีต ช่วยให้พวกเขาได้มีโอกาสออมเงินและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่จากผลตอบแทนที่ได้ในตลาด นอกจากนี้ กองทุนควอนท์ก็มีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดปัญหาที่กองทุนทั่วไปประสบเป็นครั้งคราว เช่น การเลือกปฏิบัติ ผลประโยชน์ทับซ้อน ความสะเพร่า หรือความขี้เกียจ เพราะปัญหาเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหาของคน ไม่ใช่ของเครื่อง

 

ผู้เขียนเห็นด้วยกับฟุลเลอร์ว่า ภาคการเงินและภาครัฐควรแก้ปัญหาอย่างตรงจุด คือหาทางลดความผันผวนของโมเดลควอนท์ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ไม่ใช่ห้ามใช้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้ เพราะมันได้กลายเป็นส่วนสำคัญของตลาดการเงิน และนักลงทุนจำนวนมากก็ชอบซื้อขายแบบนี้จริง ๆ นอกจากนี้ ทางการก็ไม่ควรบัญญัติกฎเกณฑ์ที่ไม่ได้ผล เช่น บังคับให้กองทุนควอนท์รายงานสถานะสินทรัพย์เสี่ยงอย่างละเอียด เพราะสถานะการลงทุนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การรายงานสถานะในอดีตไม่อาจช่วยให้นักลงทุนเข้าใจระดับความเสี่ยงที่ครบถ้วนและทันการณ์ได้

 

นอกเหนือจากการปรับปรุงโมเดลและระบบค่าตอบแทน ผู้เขียนคิดว่า การขยายขอบเขตของตัวแปรที่ใช้เป็นสัญญาณซื้อหรือขายในโมเดลก็สำคัญไม่แพ้กัน ปัญหาใหญ่ที่ผ่านมา คือโมเดลควอนท์มักจะมีปฏิกิริยาที่รวดเร็วต่อสัญญาณผิดตัว คือนอกจากจะไม่คำนึงถึง "สถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในอดีต" แล้ว มันยังละเลยปัจจัยที่สะท้อนความเสี่ยงเชิงระบบ และปัจจัยที่ไม่ใช่ตัวแปรทางการเงิน แต่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสำคัญไม่แพ้กัน อาทิ ดัชนีชี้วัดระดับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัท ซึ่งหลายตัวทวีความเที่ยงตรงและครอบคลุมมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

ยกตัวอย่าง ผลงานด้านความปลอดภัยของพนักงานและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของบริษัทบีพี เจ้าของแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ระเบิดในเดือนเมษายน 2010 และเป็นหายนะน้ำมันรั่วที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จนบีพีถูกถอดออกจากดัชนีชั้นนำที่วัดระดับความรับผิดชอบของบริษัทจดทะเบียน เช่น Global Sustainability Index (GSI) และ Global Climate 100 (GC100) นานนับปีก่อนเกิดเหตุในอ่าวเม็กซิโก ช่วยให้นักลงทุนและกองทุนที่อิงดัชนีตัวนี้ไม่ต้องขาดทุนจากหุ้นของบีพี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณ Seam888 มาให้แนวทางค่อยมีกำลังใจหน่อย ขอบคุณมากครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

+1คุณเสม ถือตามระบบไม่หวั่นไหว !Announce !Announce !Announce

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พอดีเพิ่งศึกษาการลงทุนแบบระบบของคุณเสมครับ มีข้อสงสัยอยากสอบถามนิดนึงครับ :huh:

-ลงทุนแบบระบบนี่จะเล่น Long อย่างเดียว ไม่เล่น Short หรอครับ

-ถ้าเป็นเช่นนั้น ทำไมการลงทุนแบบระบบถึงไม่เล่น Short ครับ

 

ขอบคุณครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...