ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอบคุณน้องเสม น้องส้มโอมือ ค่ะ

กองทุนทอง ที่พี่ปุณณ์ทดลองเล่นระยะสั้นขาดทุน ไปหลายร้อยบาท

แต่กองทุนทองระยะยาว ที่ทะยอยเก็บตั้งแต่ 1054-1156 กำไรแล้ว 13.7%

จะถือรอสัญญาณขายนะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองคำอนาคตดีมากๆๆ ใครยังไม่มีเก็บความพิจารณาได้เเล้ว

post-31-005927900 1285256823.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

SET ค่อยจะเขย่าเเถวเส้น fibonacci number ที่ 100% สักพักให้คนขี้กลัวขายหมู เเล้วค่อยไป ที่ระดับ 1250

post-31-024177600 1285256967.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รบกวนเรียนถามคุณเสมครับเรื่องการเข้าซื้อ Set50Index

1.เราควรใช้กราฟ Set,Set50,S50.1 ในการดูสัญญาณเข้าซื้อครับ

2.การซื้อตามสัญญาณในวันรุ่งขึ้นควรเข้าซื้อในเวลาใดจึงจะเหมาะสมครับ

3.หากต้องการซื้อที่ราคา ATO จะทำไม่ได้เพราะตลาด Futures ไม่มีช่องคำสั่ง ATO

ขอถามแนวทางการเทรดที่เหมาะสมด้วยครับ

ขอบคุณคุณเสมมากครับ

 

 

1.อันนี้เเล้วเเต่ครับ ว่าจะใช้ตัวไหน เเต่ใช้ตัวไหนเเล้ว ต้องออกด้วยตัวนั้นเสมอ ห้ามเปลื่ยนไปเปลื่ยนมา

2.เเล้วเเต่คุณสะดวกครับ สำหรับผม ตลาดเปิดมาก็ซื้อเลยไม่ว่าราคาจะเป็นยังไง

3.ไม่ได้ ก็เอาราคาตอนนั้นสิครับ

 

 

เรื่องเลกน้อยครับที่คุณถามมา อย่าไปเสียเวลาเรื่องเล๊กๆๆน้อยๆเลยครับ

สำคัญที่ว่า คุณตามระบบได้ตลอดไหม ไม่เเหกกฎไหม

 

ลองพิจารณาดูครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เห็นกราฟทอง+setคุณเสมแล้วชื่นใจ จะไปรอขายทองพร้อมคุณเสมและคุณใหญ่ที่1500-1600เหรียญนะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
B) สวัสดีคะ คุณเสมวันนี้เข้ามารอบดึก ดีใจที่ได้เจอ ขอบคุณที่โพสกราฟให้ดูคะ !thk

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

SET ค่อยจะเขย่าเเถวเส้น fibonacci number ที่ 100% สักพักให้คนขี้กลัวขายหมู เเล้วค่อยไป ที่ระดับ 1250

 

!01 สวัสดีครับคุณเสม วันนี้มาตอนดึกเลยนะครับคุณเสม !gd รอบนี้ขอทำตามระบบ ตามคุณเสมเหมือนเดิมครับ !v@ กลัวเหมือนกันครับแต่จะไม่ยอมขายหมูครับ

 

!01 !01 !01 ขอบคุณมากๆๆครับคุณเสม

post-929-075069200 1285261472.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

1.อันนี้เเล้วเเต่ครับ ว่าจะใช้ตัวไหน เเต่ใช้ตัวไหนเเล้ว ต้องออกด้วยตัวนั้นเสมอ ห้ามเปลื่ยนไปเปลื่ยนมา

2.เเล้วเเต่คุณสะดวกครับ สำหรับผม ตลาดเปิดมาก็ซื้อเลยไม่ว่าราคาจะเป็นยังไง

3.ไม่ได้ ก็เอาราคาตอนนั้นสิครับ

 

 

เรื่องเลกน้อยครับที่คุณถามมา อย่าไปเสียเวลาเรื่องเล๊กๆๆน้อยๆเลยครับ

สำคัญที่ว่า คุณตามระบบได้ตลอดไหม ไม่เเหกกฎไหม

 

ลองพิจารณาดูครับ

 

ขอบคุณครับที่แนะนำจะลองพิจารณาดูครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เศรษฐกิจโลกแบบ ผ ผึ้ง

เศรษฐศาสตร์พเนจร : ดร. วิรไท สันติประภพ กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 08 กันยายน พ.ศ. 2553

 

ในระยะนี้ นักเศรษฐศาสตร์มักถูกถามว่าเศรษฐกิจโลกฟื้นจริงหรือไม่ ทำไมตัวแปรทางเศรษฐกิจและการเงินจึงแตกสามัคคี ไปกันคนละทิศคนละทาง และเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว จะเกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ผมเชื่อว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะ 12 เดือนข้างหน้า จะ "แผ่วลง" เมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายตัวขยายตัวในอัตราสองหลักเมื่อเทียบกับช่วงฐานในปีก่อนหน้า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในลักษณะ "V shape" ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นการฟื้นตัวแบบเครื่องหมายถูกหางยาว หรือแบบค่อยเป็นค่อยไป

มีหลายปัจจัยที่จะทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกแผ่วลง ปัจจัยแรก การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 นั้น เป็นผลมาจากฐานปีก่อนที่ต่ำมาก วิกฤติเศรษฐกิจโลกรอบนี้ ได้รับผลกระทบรุนแรงมาก จากวิกฤติระบบสถาบันการเงิน ที่ระเบิดขึ้นในไตรมาส 3 ของปี 2551 ส่งผลให้ตลาดเงินและสถาบันการเงินหยุดทำงาน กลไกสำคัญๆ ของระบบเศรษฐกิจถูกกระตุกอย่างแรง ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 ภาคธุรกิจต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนหลายด้าน ไม่สามารถหาสินเชื่อได้ แม้แต่สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน โครงการลงทุนหลายโครงการถูกระงับ สภาวะตลาดมีความไม่แน่นอนสูง ในช่วงเวลานั้น ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าเศรษฐกิจโลกจะติดลบมากแค่ไหน และจะกลับมาฟื้นตัวได้เมื่อไร ส่งผลให้ธุรกิจทั่วโลกเร่งลดกำลังการผลิต ลดจำนวนพนักงาน ลดปริมาณสินค้าคงคลัง และลดการจับจ่ายใช้สอยสินค้าคงทนถาวร และสินค้าทุน การค้าระหว่างประเทศชะงักงัน ตัวเลขทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 จึงติดลบอย่างรุนแรง ส่งผลให้การคำนวณอัตราการขยายตัวของตัวแปรทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 มีฐานที่ต่ำกว่าปกติมาก

 

เมื่อเศรษฐกิจโลกได้ยาแรงตลอดปี 2552 จากทั้งนโยบายการคลัง และนโยบายการเงิน รวมทั้งการเพิ่มทุนแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงิน เศรษฐกิจโลกจึงกลับมาฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 การฟื้นตัวที่เกิดขึ้นได้รับอานิสงส์จากการปรับกลไกของภาคธุรกิจเข้าสู่สภาวะปกติ สินค้าคงคลังที่เคยถูกลดลงไปมากได้ถูกสะสมเพิ่มขึ้น คำสั่งซื้อสินค้าคงทนถาวรและสินค้าทุนที่ถูกอั้นมานานได้กลับมาใหม่ ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553

 

ปัจจัยที่สอง รัฐบาลของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจรอบนี้จะไม่สามารถใช้มาตรการการคลังแบบหมดหน้าตักได้อีกเหมือนช่วงปี 2551-2552 ซึ่งเป็นช่วงที่เราได้ยินข่าวว่ารัฐบาลของประเทศหลักๆ ร่วมมือกันทำทุกอย่าง เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจโลกหดตัวรุนแรง มีโครงการเงินอุดหนุนภาครัฐให้แก่ประชาชนหลายแบบ ทั้งซื้อบ้านใหม่ ซื้อรถใหม่ หรือแม้แต่ให้เงินประชาชนไปซื้ออะไรก็ได้มาตรการการคลังแบบร่วมมือกันหมดหน้าตักเหล่านี้ เมื่อรวมกับภาระของรัฐบาลในการแก้ไขวิกฤติสถาบันการเงินแล้ว ได้ส่งผลให้ฐานะการคลังของหลายประเทศตกต่ำมาก จนเริ่มเกิดวิกฤติหนี้สาธารณะที่กรีซในช่วงต้นปี 2553

วิกฤติหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้การประสานนโยบายการคลัง กลายเป็นนโยบายการคลังแบบ "ผึ้งแตกรัง" ประเทศใดที่ถูกตลาดมองว่ามีความเสี่ยงที่จะควบคุมปริมาณหนี้สาธารณะไม่ได้ จะต้องกู้ยืมด้วยอัตราดอกเบี้ยสูง ซึ่งจะส่งผลให้ภาระการจ่ายดอกเบี้ย และฐานะการคลังของรัฐบาลเหล่านี้ย่ำแย่ลงไปอีก เป็นวงจรอุบาทว์ที่ตกลงไปแล้วยากที่จะกลับขึ้นมาได้ โดยไม่เจ็บปวด รัฐบาลของประเทศที่เผชิญวิกฤติจึงต้องหันมาควบคุมรายจ่าย เพื่อให้กลับไปสู่นโยบายการคลังแบบสมดุลโดยเร็วที่สุด การกลับทิศทางของนโยบายการคลังนี้ มีลักษณะที่ต่างคนต่างทำ ขาดการประสานระหว่างประเทศ ทั้งๆ ที่การถอนมาตรการการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ๆ จะกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและเศรษฐกิจโลกโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

ประการที่สาม เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวแบบแผ่วลง เพราะมีปัญหาโครงสร้างอีกหลายด้านที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือต้องใช้เวลานานกว่าที่จะแก้ไข การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมหลักในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา เป็นการฟื้นตัวในลักษณะที่ไม่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมาก อัตราการว่างงานในหลายประเทศเป็นตัวเลขสองหลัก ส่งผลให้การบริโภคไม่สามารถฟื้นตัวได้รวดเร็ว วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นยังได้ส่งผลให้รัฐบาลท้องถิ่นและธุรกิจขนาดกลางจำนวนมากไม่สามารถปรับตัวได้ ไม่สามารถกู้ยืมได้ ต้องเข้าสู่สภาวะล้มละลาย นอกจากนี้ กฎเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินกำลังถูกปรับปรุงให้รัดกุมขึ้น กฎเหล่านี้จะทำให้ต้นทุนการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินเพิ่มสูงขึ้น และในช่วงที่ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน สถาบันการเงินจะเลือกที่จะระมัดระวังตัวไว้ก่อน ไม่ยอมปล่อยสินเชื่อมากระตุ้นเศรษฐกิจ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่จะต้องใช้เวลานานในการแก้ไข

 

แม้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะ "แผ่วลง" แต่ผมยังเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging markets) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกจะสามารถ "ผ่านพ้น" ไปได้ เพราะเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างหลายประการ ที่จะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจพี่ใหญ่ เช่น จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ยังมีแผนที่จะเพิ่มการลงทุนในสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน มีการปฏิรูปเปิดเสรีด้านธุรกิจหลายประเภท รวมทั้งมีประชากรวัยทำงานจำนวนมากที่มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นรวดเร็ว และต้องการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนให้ดีขึ้น ในวันนี้ขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 ของขนาดเศรษฐกิจโลก และมีแนวโน้มที่สัดส่วนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่สามารถพึ่งพากันได้เองดีขึ้นกว่าเดิม

 

นอกจากเศรษฐกิจโลกในช่วง 12 เดือนข้างหน้าจะ "แผ่วลง" แล้ว ตัวแปรทางเศรษฐกิจและการเงินมีแนวโน้ม "ผันผวน" สูงมาก เพราะโลกจะคงมีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่สูง เนื่องจากธนาคารกลางของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ต้องอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อพยุงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโดยต่อเนื่อง โดยเฉพาะตั้งแต่ที่การประสานนโยบายการคลังเข้าสู่สภาวะ "ผึ้งแตกรัง" นโยบายการเงินเป็นเครื่องมือเดียวที่เหลืออยู่สำหรับประเทศอุตสาหกรรมหลัก จึงไม่น่าแปลกใจที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศเหล่านี้จะอยู่ใกล้เคียงกับศูนย์ และค่าเงินสกุลหลักมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย ในช่วง 12 เดือนข้างหน้านี้ เราจะเห็นความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายระหว่างประเทศอุตสาหกรรมหลัก และประเทศตลาดเกิดใหม่ชัดเจนขึ้น เพราะธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้สภาพคล่องส่วนเกินในโลกจะไหลไปสู่ประเทศตลาดเกิดใหม่ แต่เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลก ยังมีแนวโน้มการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป และจะมีข่าวร้ายสลับกับข่าวดีอยู่เป็นระยะ เราจะเห็นการเล่นรอบทำกำไรจากสภาพคล่องส่วนเกินที่ไหลไปมา ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์และตัวแปรทางการเงินมีความผันผวนสูงมาก

ดังนั้น อาจจะสรุปได้ว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะ "แผ่วลง" ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า แต่เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่ มีแนวโน้มที่จะ "ผ่านพ้น" ไปได้ อย่างไรก็ดี การตัดสินใจลงทุนห้ามทำแบบ "ผิวเผิน" เป็นอันขาด เพราะมีโอกาสที่จะ "ผกผัน" ได้ง่าย เนื่องจากตัวแปรทางเศรษฐกิจการเงิน และราคาสินทรัพย์มีโอกาสที่จะ "ผันผวน" สูงมาก จากสภาพคล่องส่วนเกินที่มีอยู่ในโลก ใครหวังจะกินน้ำผึ้งคงต้องคอยเฝ้าระวัง เพราะความเสี่ยงจากผึ้งแตกรังมีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สนใจ gold spot ครับ

มีใครแนะนำสาร์เก็ตติ้งเพื่อเปิดบัญชีได้ไม๊ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรียนถามคุณเสมครับ

จากมุมมองของคุณเสม ถ้ามีของอยู่แล้ว แต่อยากเก็บเพิ่มคิดว่าควรไม่ควรครับ และถ้าควรควรเก็บช่วงไหนดีครับ :wub: :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...