ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

:bye :37 นอนก่อนนะพรุ่งนี้ต้องขับรถแต่เช้า แล้วจะโม้มาเป็นพักๆ :P

 

เดินทางปลอดภัยนะคะ ขอให้ปลอดฝน ที่กทม ตอนนี้ตกแล้ว ถนนลื่น เมาเอ๊ยง่วงอย่าขับนะคะ

 

โชคดีค่ะ เที่ยวเผื่อด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ เฮียนายห้างฯ คุณ เด็กขายของ คุณ nuchaba คุณ ปุยเมฆ คุณ NongRee คุณ GB2514 คุณ Raty คุณ Mr.Li คุณ Aiya คุณ foo คุณ พลอยสีสวย คุณ เกี้ยมอี๋ คุณ พวงชมพู คุณ Racha คุณ arthas คุณ กระต่ายทอง คุณ ขาใหม่ คุณ Jumbo A คุณ nene81 คุณ modtanoiy คุณ noijaa คุณ kaykee คุณ ท่านตี๋ คุณ แมวหลวง คุณ Pasaya คุณ nufirst คุณ Madee คุณ forgame คุณ noonoon_ja คุณ luk คุณ ดอกเหมยสีทอง และทุกๆท่านครับ(ขออภัยที่เอ่ยนามไม่ครบครับ)

 

ฟันธงแบบไม่กลัวหน้าแหก ออกตัวแบบล้อฟรี เดาแบบไม่ได้คิดว่ามีดอยเข้าข้างตัวเอง วันนี้ขึ้นครับ :047 ทั้งสัญญาณต่างๆก็ลงมาเยอะแล้ว H4 กองกับพื้นเป็นลองกอง รายวันก็น่าจะกลับตัวได้ วันนี้น่าจะปิด + กว่าแน่นอน ขาใหญ่ก็น่าจะมีลากขึ้นบ้าง คนที่มีทองหรือถือหุ้นเหมืองทองคงไม่ชอบให้ราคาโดนยำขนาดนี้ ยังไงๆวันนี้ต้องมีหมัดสวน :57

 

วันนี้ไม่น่าผ่าน 1638-1645 ได้ ยกเว้นขาใหญ่ลากไปวางไว้บน 165X ช่วงบ่ายถึงค่ำมืดมีโอกาสขึ้น รอเวลาดูนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หวัดดีกับตัน พี่ใหญ่ เก็บยาวๆ กันเลยทีเดียว อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พี่ค่ะ หน้าแรกมันไม่อัพเดตบอร์ดใช่มั้ยค่ะ หรือว่าเครื่องหนูเป็นเครื่องเดียวเนี่ย :_02

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พี่ค่ะ หน้าแรกมันไม่อัพเดตบอร์ดใช่มั้ยค่ะ หรือว่าเครื่องหนูเป็นเครื่องเดียวเนี่ย :_02

 

 

เป็นเหมือนกันค่ะ ตั้งแต่เมื่อวานละ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หวัดดีกับตัน พี่ใหญ่ เก็บยาวๆ กันเลยทีเดียว อิอิ

รับทราบครับ. เมื่อวานยังโชคดี หลังจากโพสต์กับคุณ Wong 53 เรื่องราคากั๊ก ปล่อยออกไปนิดหน่อยแบบขาดทุนแต่หวังซื้อกลับในราคาต่ำกว่า เข้านี้ก็หวังไปซื้อกลับที่ 23,950 บาท ลดขาดทุนได้บ้าง. มาต่อเรื่องข่าวความเคลื่อนไหว เมื่อคืนนี้

 

 

สกุลเงินยูโรร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (4 เม.ย.) หลังจากนายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เตือนว่า เศรษฐกิจยูโรโซนมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะขาลง ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณว่าอีซีบีอาจจะใช้มาตรการผ่อนคลายทางการรเงินเพิ่มเติม

 

สกุลเงินยูโรร่วงลง 0.70% แตะที่ 1.3141 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันอังคารที่ 1.3233 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินปอนด์อ่อนตัวลง 0.15% แตะที่ 1.5888 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5912 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.47% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 82.440 เยน จากระดับ 82.830 เยน แต่พุ่งขึ้น 0.69% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9157 ฟรังค์ จากระดับ 0.9094 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.70% แตะที่ 1.0256 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0328 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 0.61% แตะที่ 0.8142 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8192 ดอลลาร์สหรัฐ

 

สกุลเงินยูโรร่วงลงหลังจากนายมาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบีกล่าวภายหลังการประชุมนโยบายการเงินเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทยว่า เศรษฐกิจยูโรโซนยังคงมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะขาลง และความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นมากกว่าที่จะลดลงในปีนี้ โดยในการประชุมครั้งนี้อีซีบีมีมติคงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงไว้ที่ 1% ตามคาด

 

นอกจากนี้ ยูโรยังได้รับแรงกดดันหลังจากมีรายงานว่า รัฐบาลสเปนขายพันธบัตรระยะกลางได้เพียง 2.6 พันล้านยูโร (3.4 พันล้านดอลลาร์) ในการประมูลเมื่อวานนี้ ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายสูงสุดที่วางไว้ ขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมปรับตัวสูงขึ้น และมีรายงานว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลอิตาลีก็ปรับตัวขึ้นเช่นกนี้ ซึ่งผลการประมูลครั้งนี้ยิ่งจุดปะทุความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้สินของสเปนและอิตาลี

 

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงหนุนหลังจาก ADP Employer Services เปิดเผยว่า ภาคเอกชนทั่วสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 209,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่ง

 

การเปิดเผยข้อมูลจ้างงานของ ADP Employer Services มีขึ้นก่อนที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนมี.ค.ในคืนวันศุกร์ตามเวลาไทย ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าตัวเลขการจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 201,000 ตำแหน่ง หลังจากเพิ่มขึ้น 227,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนมี.ค.จะทรงตัวที่ 8.3%

 

นักลงทุนจับตาดูการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ และเยอรมนีจะเปิดเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ. ในช่วงเย็นวันนี้ตามเวลาไทย

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 5 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาน้ำมันดิบที่ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (4 เม.ย.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของรัฐบาลกลางสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 สัปดาห์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภาวะซบเซาของอุปสงค์พลังงานภายในประเทศ นอกจากนี้ ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้ส่งสัญญาณการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 หรือ QE3

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ที่ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนพ.ค.ร่วงลง 2.54 ดอลลาร์ หรือ 2.44% ปิดที่ 101.47 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 104.12 - 101.08 ดอลลาร์

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอนส่งมอบเดือนพ.ค.ร่วงลง 2.52 ดอลลาร์ หรือ 2.02% ปิดที่ 122.34 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงหลังจาก EIA รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 30 มี.ค.พุ่งขึ้น 9.01 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ  362.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ที่ 2.1 ล้านบาร์เรล

 

ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้น 19,000 บาร์เรล สู่ระดับ 135.89 ล้านบาร์เรล ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 300,000 บาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 1.46 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 221.91 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่คาดว่าจะลดลงเพียง 1.2 ล้านบาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น 1.2% แตะที่ 85.7% มากกว่าที่คาดว่าจะขยับขึ้นเพียง 0.3%

 

การพุ่งขึ้นอย่างรุนแรงของสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐทำให้ตลาดวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวของอุปสงค์พลังงานภายในประเทศ นอกจากนี้ ตัวเลขดังกล่าวยังสอดคล้องกับข้อมูลของการปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ที่ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐพุ่งขึ้น 7.8 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 4.5 ล้านบาร์เรล

 

ตลาดได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ยุโรป หลังจากมีรายงานว่ารัฐบาลสเปนขายพันธบัตรระยะกลางได้เพียง 2.6 พันล้านยูโร (3.4 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายสูงสุดที่วางไว้ ขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมปรับตัวสูงขึ้น

 

นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันนิวยอร์กยังคงได้รับปัจจัยลบจากการที่นักลงทุนผิดหวังต่อคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ที่ไม่ได้ส่งสัญญาณการใช้มาตรการ QE3 แม้เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงก็ตาม

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 5 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก:ทองปิดร่วง $57.9 จากข่าวอินเดียขึ้นภาษีนำเข้าทอง (05/04/2555)

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดทรุดฮวบลงเกือบ 58 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (4 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้ส่งสัญญาณการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 หรือ QE3 นอกจากนี้ ตลาดทองคำยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลที่ว่า รัฐบาลอินเดียจะขึ้นภาษีการนำเข้าทองคำเป็น 2 เท่า

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 57.9 ดอลลาร์ หรือ 3.46% ปิดที่ 1,614.1 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1622.0 - 1614.1 ดอลลาร์

 

 

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ร่วงลง 2.221 ดอลลาร์ ปิดที่ 31.044 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนพ.ค.ร่วงลง 12.85 เซนต์ ปิดที่ 3.7905 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 61.9 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,598.6 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ดิ่งลง 26.85 ดอลลาร์ ปิดที่ 632.75 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานโดยอ้างความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ว่า สัญญาทองคำดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 12 สัปดาห์เมื่อคืนนี้ เนื่องจากความผิดหวังที่เฟดไม่ได้ส่งสัญญาณการใช้มาตรการ QE3 ได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้ามากระหน่ำขายอย่างหนัก

 

ทั้งนี้ ทองคำซึ่งเป็นแหล่งการลงทุนที่ปลอดภัย มักจะได้รับแรงหนุนเมื่อธนาคารกลางประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน เพราะมาตรการดังกล่าวจะทำให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ซึ่งจะทำให้สัญญาทองคำมีความน่าดึงดูดใจ

 

นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลที่ว่า รัฐบาลอินเดียจะขึ้นภาษีนำเข้าทองคำเป็น 2 เท่า ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้เทรดเดอร์จับตาดูอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอินเดียเป็นผู้นำเข้าทองคำรายใหญ่สุดของโลก

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควทส์ (วันที่ 5 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิวาทะ"ค่าบาท" อย่าปล่อยอึมครึม (05/04/2555)

เท่าที่ได้พูดคุยกับนักธุรกิจสี่ซ้าห้ารายล้วนตกอยู่สภาพเดียวกัน คือ ไม่รู้จะวางแผนธุรกิจอย่างไรเพราะยังสับสนงงงวยกับ "ค่าเงินบาท" ไม่รู้จะอ่อนหรือจะแข็ง อาการนี้เกิดขึ้นหลังจาก "วิวาทะ" ระหว่าง "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" รัฐมนตรีคลังกับ "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ

 

เมื่อ "กิตติรัตน์" ส่งสัญญาณว่าอยากจะเห็นค่าเงินบาทอยู่ระดับ 33-34 บาทต่อดอลลาร์ ปัจจุบันอยู่ระดับ 30 บาทกว่าๆ แต่ "ประสาร" เห็นว่าไม่ควรเข้าไปแทรกแซง จะเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด วิวาทะระหว่าง "คลัง" กับ "แบงก์ชาติ" ไม่ใช่ครั้งแรก มีมาทุกรัฐบาล เพราะในซีกรัฐมนตรีคลังมาจาก "การเมือง" เป้าหมายจึงอยากจะเห็นค่าเงินบาทอ่อน เพื่อกระตุ้นการส่งออกจะมีรายได้เข้าประเทศมากขึ้นซึ่งเศรษฐกิจไทยพึ่งการส่งออกถึง 70% ขณะที่ "แบงก์ชาติ" ก็เติบโตมาด้วยเส้นทาง "เทคโนแครต" จึงไม่อยากแทรกแซงทุกอย่างต้องเป็นไปตามกลไกตลาด

 

แต่คราวนี้ "กิตติรัตน์" ออกมาส่งสัญญาณแรงไปหน่อยคนก็เลยฮือฮา แต่ก็พอเข้าใจได้เพราะรัฐบาลอยากเห็น "บาทอ่อน" ช่วยฟื้นเศรษฐกิจ แต่ที่หงุดหงิดเพราะ "คิดได้แต่ทำไม่ได้" ไม่มีอำนาจ ระหว่าง "คลัง" กับ "แบงก์ชาติ" มีเส้นแบ่งพรมแดนชัดเจน แบงก์ชาติดูนโยบายการเงิน ดูแลอัตราแลกเปลี่ยน ทุนสำรอง ส่วนคลังดูนโยบายการคลัง

 

รัฐมนตรีคลังก็ได้แต่ระบายความอึดอัดออกมาดังๆ จะปลดก็ไม่ง่าย จะส่งสัญญาณให้ออกก็ทำไม่ได้ เพราะตำแหน่งผู้ว่าฯ แบงก์ชาติมาจากการ "สรรหา" ไม่ได้มาจากการเมืองเหมือนก่อน

 

อันที่จริงค่าบาทอ่อนหรือแข็งมีทั้งคนได้คนเสีย ผู้ส่งออกก็เชียร์ "บาทอ่อน" เต็มที่ เพราะได้ประโยชน์ทำให้แข่งขันได้ ผู้นำเข้าย่อมไม่เห็นด้วยเพราะ "บาทอ่อน" ทำให้สินค้านำเข้ามีราคาแพงต้นทุนสูง

 

เฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันที่ไทยนำเข้าเกือบ 100% จะทำให้ ผู้บริโภคเดือดร้อน

 

นักเศรษฐศาสตร์ นายธนาคารก็ไม่เห็นด้วย หากแบงก์ชาติเข้าไปแทรกแซงเท่ากับ "บิดเบือนตลาด" เกิดการเก็งกำไรได้ไม่คุ้มเสีย แม้แต่ "เจ้าสัวชาตรี โสภณพนิช" บิ๊กบอสแบงก์กรุงเทพ ก็ยังเห็นว่าค่าเงินบาทระดับนี้เหมาะสม

 

ทางที่ดี "คลัง-แบงก์ชาติ" น่าจะหาทางคุยกันลับๆ หรือปิดห้องคุยไม่ควรออกมาตอบโต้กันผ่านสื่อ อาจจะถูกตีว่าผู้กำหนดนโยบาย "ขัดแย้งกัน" ไม่เป็นเอกภาพ

 

นักธุรกิจเขาบอกว่าจะอ่อนหรือจะแข็งก็เอาสักอย่าง แต่อย่าปล่อยให้มันอึมครึมจนทำอะไรไม่ถูก

 

ที่มา : ข่าวสดรายวัน (วันที่ 5 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงไว้ที่ 1% ตามคาด ทั้งนี้อีซีบีให้น้ำหนักกับอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนยังอยู่ในภาวะเปราะบาง

 

ข้อมูลของยูโรโซนในช่วงที่ผ่านมาแสดงให้เห็นเศรษฐกิจของยูโรโซนอยู่ในภาวะย่ำแย่ โดยในวันนี้ สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือ ยูโรสแตท รายงานว่า ยอดค้าปลีกในยูโรโซน ปรับตัวลดลง 0.1% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.

 

สเปนขายพันธบัตรระยะกลางได้ 2,600 ล้านยูโรในการประมูล ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายสูงสุดที่วางไว้ ขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งผลการประมูลครั้งนี้ยิ่งจุดปะทุความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้สินของสเปน หลังจากที่รัฐบาลเพิ่งเปิดเผยว่า หนี้สาธารณะของประเทศมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นอีกในปีนี้

 

ธนาคารกลางสเปนเปิดเผยว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3 ปีที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนม.ค.2558 อยู่ที่ 2.89% เพิ่มขึ้นจากระดับ 2.44% ในการประมูลเมื่อวันที่ 15 มี.ค. ขณะที่พันธบัตรอายุ 5 ปี ซึ่งครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนต.ค.2559 มีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 4.319% เพิ่มขึ้นจาก 3.376% ในการประมูลเมื่อวันที่ 1 มี.ค.

 

ก่อนหน้านี้ ต้นทุนการกู้ยืมของสเปนปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะได้รับอานิสงส์จากโครงการปล่อยเงินกู้อายุ 3 ปี วงเงิน 1 ล้านล้านยูโร ของธนาคารกลางยุโรป อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า ผลในเชิงบวกของการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวให้กับธนาคารพาณิชย์ในยุโรปจะเริ่มจางลงแล้ว

 

ที่มา : money channel (วันที่ 5 เมษายน 2555)

 

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เรียกร้องความร่วมมือจากทั่วโลกเพื่อเพิ่มศักภาพให้กับไอเอ็มเอฟในการรับมือกับความท้าทายต่างๆ โดยกล่าวเตือนว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบาง

 

นางลาการ์ดกล่าวในที่ประชุมประจำปีของสมาคมผู้สื่อข่าวในกรุงวอชิงตันว่า เศรษฐกิจโลกกำลังก้าวหน้าเพราะมีสัญญาณที่เป็นบวกเกี่ยวกับเสถียรภาพของตลาดการเงิน รวมทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการจ้างงานที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

 

"สิ่งที่สำคัญที่สุดในเวลานี้คือ เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายต้องดำเนินงานให้ลุล่วง โดยที่ไม่ได้หยุดอยู่ที่ความพึงพอใจ" นางลาการ์ดกล่าว พร้อมกับเตือนถึงภาพลวงตาในเรื่องความมั่นคง

 

ในขณะที่แนะนำว่าประเทศที่มีโอกาสใช้นโยบายให้ดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น นางลาการ์ด ได้แสดงความคิดเห็นว่า การใช้มาตรการรัดเข็มขัดไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลกอาจจะเป็นการ "ลงโทษตัวเอง"

 

นางลาการ์ดระบุว่า สหรัฐมีภาคการเงินและที่ความสัมพันธ์ทางการค้าที่แข็งแกร่งกับยุโรปซึ่งระบบการเงินยังคงตึงตัวอย่างหนัก "หากเศรษฐกิจยุโรปต้องสะดุดลง การพื้นตัวของเศรษฐกิจและการสร้างงานในสหรัฐก็จะมีความเสี่ยงตามไปด้วย" นางลาการ์ดกล่าว

 

นางลาการ์ดได้ย้ำว่า ไอเอ็มเอฟได้มีบทบาทในการช่วยให้ประเทศสมาชิกสามารถเอาชนะความท้าทายต่างๆ ไปได้ ตลอดทั้งการรวมตัวกันเป็นปึกแผ่น

 

ทั้งนี้ นางลาการ์ดได้แสดงความยินดีต่อความเคลื่อนไหวของกลุ่มประเทศยูโรโซนในการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกองทุนให้ความช่วยเหลือทางการเงิน โดยระบุว่า "ถึงเวลาแล้วที่ต้องเพิ่มศักภาพของเรา"

 

"โควต้าเงินกองทุนต่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั้งโลกในปัจจุบันยังมีอัตราส่วนที่ต่ำกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก โดยเมื่อ 60 ปีที่ผ่านมา อัตราส่วนจะสูงกว่านี้ 3-4 เท่า เราจึงมีพื้นฐานที่ดีในการเพิ่มสัดส่วนดังกล่าว" นางลาการ์ดกล่าว สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 4 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายจาง เสี่ยวเฉียง รองประธานคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน (NDRC)ซึ่งเป็นหน่วยงานวางแผนเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนกล่าวระหว่างการประชุม Boao Forum for Asia ประจำปี 2555 ว่า เศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 8.4% เมื่อเทียบรายปีในไตรมาสแรก ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จะขยายตัว 3.5% ในช่วงเวลาดังกล่าว  ทั้งนี้ ดัชนี CPI อย่างเป็นทางการจะได้รับการเปิดเผยในวันจันทร์ที่ 9 เมษายน ส่วนจีดีพีจะเปิดเผยในวันศุกร์ที่ 13 เมษายน

 

ขณะที่การถกเถียงเรื่องมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 (QE3) ยังดำเนินต่อไปในที่ประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด มีผู้กำหนดนโนบายจำนวนมากขึ้นที่ถอนตัวจากการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

 

 

รอยเตอร์สรายงานว่า ในการประชุมครั้งล่าสุดของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ  มีกรรมาธิการเพียง 2 คนจากทั้งหมด 10 คนที่เห็นด้วยกับมาตรการนี้ ถือเป็นความแตกต่างอย่างมากจากเดือนมกราคม ซึ่งกรรมาธิการหลายคนมองว่าเศรษฐกิจจำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลรอบที่ 3

 

 

ผลการเปลี่ยนแปลงอันน่าประหลาดใจนี้ฉุดราคาพันธบัตรและทองคำ ตลอดจนตลาดหุ้นให้ทรุดลง ขณะที่ดันค่าเงินดอลลาร์ให้แข็งขึ้น

 

 

อย่างไรก็ตาม เฟดยังคงกังวลเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจมะกัน ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนบางประการในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ในบันทึกการประชุมระบุว่า "สมาชิกคณะกรรมาธิการเห็นพ้องกันว่า แม้แนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวมจะแข็งแกร่งขึ้น แต่ส่วนใหญ่แล้วสถานการณ์ยังคล้ายคลึงกับช่วงเดือนมกราคม" เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของเฟดไม่เชื่อว่าทิศทางการเติบโตที่กระเตื้องขึ้นจะมากพอที่จะปรับตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 4 เมษายน 2555)

 

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สนง.สถิติออสเตรเลียเผยยอดขาดดุลการค้าลดลงในเดือนก.พ. (05/04/2555)

สำนักงานสถิติของออสเตรเลีย (ABS) เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าของออสเตรเลีย อยู่ที่ 480 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (493.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในเดือนก.พ. ลดลงจากระดับ 491 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (504.70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในเดือนม.ค.

 

รายงานระบุว่า การส่งออกสินค้าและบริการเดือนก.พ. ลดลง 2% ขณะที่การนำเข้าลดลง 4%

 

นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ตัวเลขการค้าของออสเตรเลียยังคงอ่อนแอในเดือนที่ผ่านมา แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนถือว่าดีขึ้น และจะฟื้นตัวสู่ระดับเกินดุลในอนาคตอันใกล้ โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า ออสเตรเลียน่าจะมียอดเกินดุลการค้า 1.1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (1.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในเดือนก.พ.

 

ซาแวนธ์ เซบาสเตียน นักวิเคราะห์จากคอมม์เซค ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านการเงิน กล่าวว่า การส่งออกน่าจะกระเตื้องขึ้นเร็วๆ นี้

 

"หากคุณดูข้อมูลการค้าของออสเตรเลียในรอบ 12-18 เดือนที่ผ่านมา จะเห็นว่าค่อนข้างอยู่ในเชิงบวก" นายเซบาสเตียนกล่าว

 

ด้านเบน จาร์แมน นักเศรษฐศาสตร์จากเจพี มอร์แกน กล่าวว่า ดุลการค้าของออสเตรเลียปรับตัวดีขึ้นในเดือนก.พ. แต่อาจจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะจึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จากสำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 5 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีดาวโจนส์ล่วงหน้าร่วงลง 98 จุด หรือ 0.8% แตะที่ 13,034 จุด ณ เวลา 7.41 น.ในนิวยอร์ก และดัชนี S&P 500 ปรับตัวลง 0.8% แตะที่ 1,397.7 จุด หลังจากที่ความต้องการพันธบัตรสเปนในการประมูลวันนี้ลดต่ำลง ซึ่งเพิ่มความวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้ของประเทศ ขณะเดียวกันนักลงทุนรอดูการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในคืนนี้

 

รัฐบาลกลางสเปนเปิดเผยว่า สเปนขายพันธบัตรได้ 2.59 พันล้านยูโร (3.4 พันล้านดอลลาร์) ในการประมูลวันนี้ ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายสูงสุดซึ่งวางไว้ที่ 3.5 พันล้านยูโรอยู่มาก ขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมก็ปรับตัวสูงขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ 4.319% เพิ่มขึ้นจาก 3.376% ในการประมูลเมื่อวันที่ 1 มี.ค. ส่วนความต้องการซื้อพันธบัตรสูงกว่ามูลค่าที่นำออกประมูลอยู่ที่ 2.46 เท่า ลดลงจาก 2.59 เท่าในการประมูลเดือนที่แล้ว

 

ทั้งนี้ ผลการประมูลพันธบัตรสเปนยิ่งเป็นการจุดกระแสความวิตกกังวลในหมู่นักลงทุนเกี่ยวกับสถานะการคลังของสเปน รวมถึงอิตาลี ให้ทวีความรุนแรงขึ้น หลังจากที่วานนี้ รัฐบาลสเปนเพิ่งเปิดเผยว่า หนี้สาธารณะของประเทศจะพุ่งขึ้นสู่ระดับ 79.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2523 ถึงแม้ว่ารัฐบาลได้เดินหน้าใช้มาตรการรัดเข็มขัดขั้นรุนแรงก็ตาม

 

ขณะเดียวกันทางฝั่งสหรัฐวันนี้ จะมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่นักลงทุนจับตา ซึ่งรวมถึงในเวลา 19.15 น.ตามเวลาประเทศไทย ADP จะเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานทั่วประเทศเดือนมี.ค. และในเวลา 21.00 น. สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐเปิดเผยดัชนีภาคบริการเดือนมี.ค. ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าน่าจะลดลง

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 5 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 31.01/03 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจากเย็นวานนี้ที่ระดับ 30.97/31.00 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับกับภูมิภาค และมีแนวโน้มอ่อนค่า

 

"(เงินบาท)ปรับตัวอ่อนค่าตามภูมิภาค หลังผลประมูลพันธบัตรของสเปนไม่ได้รับการตอบรับสักเท่าไหร่ ทำให้คนกลับมากังวลเรื่องหนี้ของยุโรป" นักบริหารเงิน กล่าว

 

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศที่สำคัญ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 82.26/29 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับ 82.15/40 เยน/ดอลลาร์ ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3147/3149 ดอลลาร์/ยูโร ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับ 1.3150/3190 ดอลลาร์/ยูโร

 

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 31.00-31.10 บาท/ดอลลาร์

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 5 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...