ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

53585.gif53589.gif

 

"ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้"

 

万事如意 新年发财

ปีใหม่ขอให้ทุกอย่างสมหวังปีใหม่ขอให้ร่ำรวย

 

祝:春 节 快

万 事 如 意 ,恭 喜 发 财!

身 体 健 康,合 家 欢 乐!

มีโชคลาภ ร่ำรวยเงินทอง สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์สวยงาม

จิตใจสดชื่นแจ่มใส ก้าวหน้ามั่นคง

มีคนรักและอุปถัมป์ค้ำชูมากมาย ทุกสิ่งเป็นไปดั่งใจสมปรารถนา

☺✨

 

เช่นกัน..

ก้อขอให้สิ่งดีๆ ย้อนกลับไปสู่พี่เด็กขายของ..100 เท่า 1.000 ทวี

 

สวัสดีวันซิวยี่..ค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีปีใหม่ครับ ขอให้ท่านเจ้าของกระทู้ และผู้ติดตามข่าวสารทุกท่าน

 

มีสุขภาพแข็งแรง จิตใจผ่องใส มีครอบครัวที่สมบูรณ์

 

เฮง เฮง เฮง ตลอดปี ตลอดไปกันนะครับ ^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หนทางข้างหน้า 6-12 ชั่วโมง ยังไม่มีวี่แวว " ราคาตื่นขึ้นมา "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อีซีบีห่วงผลกระทบยูโรแข็ง (11/02/2556)

ประธานอีซีบีชี้เงินยูโรแข็งค่ามีโอกาสกลายมาเป็นความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค แต่ยังไม่แสดงท่าทีชัดเจนว่าจะเข้าแทรกแซง ส่งผลให้ค่าเงินยูโรปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบสองสัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ในทันที

 

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ค่าเงินยูโรที่แข็งขึ้นในช่วงนี้ก่อให้เกิดความกังวลต่อภาคธุรกิจและนักการเมืองในยูโรโซน เนื่องจากหากค่าเงินแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจจะส่งผลกระทบต่อสัญญาณเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งในปีนี้จากการส่งออกที่อยู่ในสถานการณ์ที่ดีขึ้น

 

นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ปฏิเสธว่าอีซีบีไม่ได้มีความพยายามที่จะเข้าแทรกแซงค่าเงินยูโร โดยตระหนักดีกว่าการดำเนินนโยบายดังกล่าวอาจนำมาซึ่งการเกิดสงครามค่าเงินระหว่างค่าเงินสกุลหลักๆ อย่างดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเงินเยน อย่างไรก็ดีนายดรากีส่งสัญญาณที่นักวิเคราะห์ตีความว่า หากยูโรแข็งค่าขึ้นมาก มีโอกาสที่อีซีบีอาจจะดำเนินมาตรการบางประการ

"อัตราแลกเปลี่ยนไม่ใช่เป้าหมายในทางนโยบาย แต่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อการเติบโตและเสถียรภาพด้านราคา" นายดรากีกล่าวในการแถลงข่าวภายหลังการประชุมประจำเดือนของอีซีบีเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (7 ก.พ.) โดยที่ประชุมอีซีบีมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.75% เท่าเดิม

นายดรากีพยายามหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวอย่างชัดเจนถึงความเป็นไปได้ในการเข้าแทรงแซงเพื่อลดค่าเงินยูโรลง โดยประธานอีซีบีกล่าวว่า ค่าเงินยูโรในเวลานี้ไม่ห่างจากค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมามากนัก แต่ก็กล่าวเสริมว่า นโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ อาจจะส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน

คาร์สเทน เบอร์เซสกี นักวิเคราะห์จากไอเอ็นจี แบงก์ ระบุในรายงานว่า "ความท้าทายสำคัญที่สุดของดรากีคือแสดงให้เห็นทักษะพิเศษในการใช้คำพูดเข้าแทรกแซงเพื่อลดอัตราแลกเปลี่ยนของเงินยูโรลง และเขาประสบความสำเร็จ" ขณะที่วาเลนติน มารินอฟ นักยุทธศาสตร์ด้านค่าเงินจากซิตี้กรุ๊ป กล่าวว่า "นักลงทุนจะให้ความสนใจว่าถ้าค่าเงินยูโรแข็งขึ้นอีกมากอาจทำให้อีซีบีออกมาตรการเพื่อตอบสนองเร็วกว่าความคาดหมาย"

ทันทีที่นายดรากีให้ความเห็นต่อเรื่องดังกล่าว ค่าเงินยูโรลดลงสู่ระดับต่ำกว่า 1.34 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อยูโรเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมกราคม โดยเพียงเมื่อ 6 เดือนก่อนค่าเงินยูโรมีการซื้อขายอยู่ในระดับ 1.21 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อยูโร ขณะที่สถิติการแข็งค่าสูงสุดของเงินยูโรอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อยูโรเล็กน้อยเมื่อเดือนเมษายน 2551 ซึ่งเป็นช่วงที่วิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังทวีความรุนแรง

นายดรากีเน้นย้ำถึงแนวโน้มของดัชนีทางเศรษฐกิจต่างๆ ช่วงที่ผ่านมาว่ายูโรโซนจะก้าวพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ในปีนี้ ข้อมูลล่าสุดระบุว่า ดัชนีภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนธันวาคมจากเดือนพฤศจิกายน หลังจากที่เดือนพฤศจิกายนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเยอรมนีหดตัว ส่งสัญญาณถึงสถานการณ์ที่ดีขึ้นในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาค

อย่างไรก็ดี การแข็งค่าขึ้นของเงินยูโรเป็นความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกด้วยการทำให้ราคาสินค้าจากยูโรโซนแพงขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาคอื่น ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินยูโรปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ จนถึงระดับสูงสุดในรอบปี

ดรากีกล่าวว่า การแข็งค่าของเงินยูโรเป็นสัญญาณของความเชื่อมั่นที่ฟื้นคืนกลับมา นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า ค่าเงินอาจจะต้องเพิ่มขึ้นกว่านี้อีกมากก่อนที่อีซีบีจะดำเนินมาตรการใดๆ อาทิ ลดอัตราดอกเบี้ย

ค่าเงินยูโรแข็งส่งผลกระทบต่อสินค้าส่งออกก็จริง แต่ในขณะเดียวกันก็มีผลดี โดยช่วยให้สินค้านำเข้า โดยเฉพาะน้ำมันดิบ มีราคาถูกลง ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายใน "ปัจจัยหลักที่ทำให้เงินยูโรแข็งค่าคือวิกฤติหนี้สาธารณะที่คลี่คลายลง ซึ่งนับว่าเป็นผลดีต่อการเติบโตของยูโรโซน โดยอีซีบีน่าจะปล่อยให้เงินยูโรแข็งค่าขึ้นและมีโอกาสน้อยที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกครั้ง" ยอร์ก คราเมอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากคอมเมิร์ซแบงก์ แสดงความเห็น

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 10-13 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"โอบามา" เรียกร้องสภาทำงบประมาณสมดุล(11/02/2556)

ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ของสหรัฐกล่าวในรายการวิทยุประจำสัปดาห์ว่า การทำประมาณสมดุล จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมีเหตุผลในการดำเนินโครงการต่างๆและการปฏิรูป ภาษี

 

 

 

ทั้งนี้หากสหรัฐไม่สามารถแก้ปัญหาความยุ่งยากในการเจรจาเรื่องงบประมาณ ได้ภายในวันที่ 1 มีนาคมนี้จะเกิดการตัดงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนและการป้องกันประเทศลง หลายครั้งโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจสหรัฐทั้งระบบ

 

 

 

โดยนักเศรษฐศาสตร์ คาดว่าอาจทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐลดลง 0.6% จากการคาดการณ์โดยทั่วไปที่ 2% ในปีนี้

 

 

 

นายโอบามาเชื่อว่าขั้นตอนการทำงบประมาณต้องใช้เวลา พร้อมแนะให้รัฐสภาเดินหน้าเจรจาในระยะสั้น หลังจากที่เคยประสบความสำเร็จในช่วงเริ่มต้นปีนี้ จนกว่าจะหาทางแก้ปัญหาในระยะยาวได้

 

ที่มา : money channel (วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปธ.BOE คนใหม่ ส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงิน (11/02/2556)

มาร์ค คาร์นีย์" ชาวแคนาดา ซึ่งเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่ได้นั่งในตำแหน่งประธานธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) ในรอบ 318 ปี ได้แสดงความเห็นครั้งแรกเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ใกล้ชะงักงันของอังกฤษเมื่อวัน พฤหัสบดี (7 ก.พ.) ว่า จะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินเพื่อรักษาความเชื่อมั่นของครัวเรือนและภาค ธุรกิจ แต่ในการตอบข้อซักถามต่อสภาผู้แทนราษฎรอังกฤษ นายคาร์นีย์ กลับกล่าวว่า จะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเขาสังเกตว่า นโยบายของอังกฤษมักพุ่งเป้าไปที่ปัญหาเงินเฟ้อ และยืนยันว่า เป้าหมายเงินเฟ้อที่ยืดหยุ่น ใช้ได้ทั้งในอังกฤษ และแคนาดา ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นนโยบายการเงินที่ได้ผลที่สุดจนถึงตอนนี้

 

ในทัศนะของคาร์นีย์ เศรษฐกิจที่อ่อนแอควรได้รับการกระตุ้นทางการเงินในช่วงเวลาหนึ่ง แต่นโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ ได้พิสูจน์แล้วอย่างเพียงพอแล้วว่า การใช้นโยบายที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจจะประสบความสำเร็จโดยเร็ว อย่างไรก็ดี ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า นายคาร์นีย์จะผลักดันให้ธนาคารกลางอังกฤษซื้อพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้น

 

นายคาร์นีย์ รับตำแหน่งในธนาคารกลางแคนาดาเมื่อปี 2551 เขามีชื่อเสียงจากการช่วยปกป้องเศรษฐกิจแคนาดาจากวิกฤตการณ์การเงินโลก ด้วยการยืนยันจะคงอัตราดอกเบี้ยของแคนาดาไว้ที่ใกล้ 0% ประมาณหนึ่งปี ในช่วงที่วิกฤตเศรษฐกิจรุนแรง ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ได้นำแนวคิดนี้ไปใช้ในเวลาต่อมา จากผลงานดังกล่าว สร้างชื่อเสียงให้นายคาร์นีย์เป็นนายธนาคารชั้นนำระดับโลกคนหนึ่ง

 

ทั้งนี้ หลังนายคาร์นีย์ แสดงความเห็น ค่าเงินปอนด์พุ่งสูงขึ้น 0.4% เป็น 1.572 ดอลลาร์ต่อ 1 ปอนด์ เนื่องจากนักลงทุนเห็นสัญญาณว่า อาจมีการผ่อนคลายโยบายการเงินมากขึ้น

 

ที่มา : money channel (วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปิดทำการในเทศกาลตรุษจีน ขณะตลาดหุ้นออสซี่เปิดลบ (11/02/56)

ตลาดหุ้นเอเชียปิดทำการเป็นส่วนใหญ่ในวันนี้ รวมถึงตลาดหุ้นจีน ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยตลาดหุ้นจีน และไต้หวัน จะปิดทำการไปจนถึงวันศุกร์ที่ 15 ก.พ.

 

ส่วนตลาดหุ้นเกาหลีใต้และญี่ปุ่นจะเปิดทำการในวันอังคารที่ 12 ก.พ. ขณะที่ตลาดหุ้นมาเลเซียและสิงคโปร์จะเปิดทำการในวันพุธที่ 13 ก.พ. และตลาดหุ้นฮ่องกงจะเปิดทำการในวันพฤหัสบดีที่ 14 ก.พ.

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นออสเตรเลียยังคงเปิดทำการซื้อขายตลอดทั้งสัปดาห์นี้ ส่วนในวันนี้ ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดที่ 4,987.40 จุด ลดลง 2.00 จุด หรือ -0.04% และดัชนี S&P/ASX 200 เปิดที่ 4,969.10 จุด ลดลง 2.20 จุด หรือ -0.04%

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (11/02/56)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต่างชาติ ชิ่งหนีหุ้น ก่อนค่าเงินอ่อน (11/02/2556)

แมงเม้าท์เล่าอินไซด์มาแล้จร้า...เอี้ยดดดดดดดดดดดด ... ติดเบรกจนได้สำหรับตลาดหุ้นไทย หลังจากขึ้นไปทำสถิติสูงสุดได้ในการซื้อขายระหว่างวันจันทร์ระดับ 1511 จุด ก็ถอดถอยลงมา แถมช่วงท้านวันศุกร์ยังปิดต่ำกว่า 1500 จุด ซะอย่างนั้น หลังจากเขียวไปแทบทั้งวัน โดยปิดที่ระดับ 1,497.30 จุด ลดลง 2.51 จุด แต่หากเทียบกันทั้งสัปดาห์หุ้นไทยปิดลดลง 0.13% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าซื้อขายต่อวันเริ่มที่จะลดลง 4.51% แสดงให้เห็นว่าแรงกระทิงเริ่มชะลอ ไม่กล้าที่ฝ่าด่าน 1510 ไปมากนัก

 

ขณะต่างชาติเริ่มหันมาขายกันแล้ว มีซื้อวันจันทร์วันเดียว จากนั้นเป็นมหกรรมขายเต็มๆ 4 วันติด สรุปทั้งสัปดาห์ขายถึง 10,095 ล้านบาท ซึ่งนั้นทำให้ยอดซื้อสะสะสมของต่างชาติตั้วแต่ต้นปีลดฮวบเหลือแค่ซื้อสะสมแค่ 5,909 ล้านบาท หากยังคงออกต่อเนื่องในสัปดาห์ที่จะถึง มีหวังติดลบเป็นแน่แท้เลยนะเนี่ย...หวังว่าคงไม่ใจร้ายหนีออกไปก่อนนะจ๊ะ

 

ส่วนใครมีคนถามว่าต่างชาติขายสุทธิขนาดนี้ แล้วหุ้นทำไมลงแค่นี้ ก็แหม..เป็นเพราะว่ามีคนซื้อ และ คนซื้อก็ไม่ใช่ใครที่ไหนมาจากสถาบันในประเทศที่ออกทริกเกอร์ฟันด์ และ พวกมือเทรดจากโบรกเกอร์นั้นเอง

 

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยติดเพดานส่วนหนึ่ง เกิดจากความกังวลที่เริ่มจะกลับมา ในตลาดหุ้นยุโรป โดยเฉพาะที่ อิตาลี เมื่อ ซิลวิโอ แบลุสโคนี่ อดีตผู้นำอิตาลี ผู้สร้างหนี้ตัวยง ประชานิยมมือเทพ มีราศีจับ คะแนนนำมาขณะนี้ ท่ามกลางการเลือกตั้งของอิลาตีที่จะมีขึ้นในวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์นี้

 

ขณะที่ปัญหาการเมืองในสเปนก็มีขึ้นกดดันเมื่อ มาริอาโอ จาฮอย นากรัฐมนตรีสเปนที่กำลังเคลียร์ปัญหาเรื่องหนี้เรื่องหนี้เกิดถูกกดดันให้ ลาออกเนื่องจากถูกกล่าวหาถึงการคอรัปชั่น

 

นั้นก็ทุกฝ่ายเลยทำให้เกิดความกังวลกับปัญหายุโรปอีกครั้ง ว่าที่เคยสงบสุขจากการรัดเข็มขัด จะถึงเวลาปลดแอกก่อหนี้อีกหรือไม่ จ๊ากกก ผลตอบแทนพันธบัตรของอิตาลี และ สเปนเลย พุ่งอีกครั้ง นี่ไม่ใช่ภาพดีกับตลาดหุ้นนะเนี่ย เพราะกระทบต่อต้นทุนการกู้ยืมของทั้งสองประเทศ

 

ประกอบกับมีเสียงของ ประธานธนาคารกลางยุโรป "มาริโอ้ ดาร์กี้" บ่นขรมกับการแข็งค่าของสกุลเงินยูโร เมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่ผ่านมา เป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจยุโรป ยิ่งซะเติมเข้าไปอีก

 

นั้นก็ทำให้หุ้นยุโรปที่ร่วงกันกระจายในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศษ แม้ว่าวันศุกร์จะรีบาวด์ขึ้นมาได้ก็ตาม แต่อาการก็ยังน่าเป็นห่วง

 

เป็นที่น่าสงสัยนิดๆ ว่าในส่วนของตลาดหุ้นสหรัฐมีเพียงดาวโจนส์ที่ทำท่าชะงักดัชนียังคงต่ำกว่า 14,000 จุด แต่สำหรับ S&P 500 กลับปิดที่ 1,517.93 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2550 หรือในรอบ 5 ปี เช่นเดียวกับ Nasdaq ปิดที่ 3,193.87 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 12 ปี หลังมีข่าวแอปเปิ้ลอาจจะเพิ่มการปันผล

 

ขณะเดียวกันเหตุการณ์ในประเทศเกี่ยวกับค่าเงินบาดหมาง เอ้ย ค่าเงินบาท ก็เริ่มที่จะเห็นการรุกหนักของรัฐบาลนำโดย ท่านกิตติรัตน์ ณ ระนอง ที่จี้ให้แบงก์ชาติลดลงเบี้ย เพื่อหวังจะให้เงินไหลออก ตามมาด้วยนากยรัฐมนตรีก็มีการส่งสัญญาณสำทับขอให้แบงก์ชาติทำงานประสานกับรัฐบาล แม้ว่าท่านผู้ว่าแบงก์ชาติประสาร ไตรรัตน์วรกุล จะพยายามชี้การลดดอกเบี้ยจะไม่ได้ช่วย แต่ล่าสุดการที่แบงก์ชาติมองเงินเฟ้อปีนี้จะไม่ถึง 3% เหลือแค่ 2.80% ก็ทำให้วงการเม้าท์กันให้แซด ว่านี่จะเป็นสัญญาณในการปรับดอกเบี้ยลงในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ สัปดาห์ถัดไปหรือไม่ ต่างชาติจึงเร่งถอนเงินออกจากตลาดหุ้นขนาดนี้

 

ภาพแบบนี้จะเอาอย่างไรกับตลาดหุ้นไทยดี ต่อนนี้บางตามตรงอยู่ในช่วงของการสับสนจะเลือกอย่างไหนดี ทิศทางในระยะยาวยังดี แต่ระยะสั้นอาจจะผันผวนจากเงินทุนที่ไหลออก ต้องเลือกกลยุทธ์กันเอง ว่าจะเลือกแบบไหน แต่ถ้าดัชนีลงมาแล้วไม่หลุด 1480 จุด ก็ไม่น่าห่วงอาราย แต่บางครั้งการนั่งเฉยในช่วงต่างชาติขายดูทิศทางก็อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่ง

 

แต่หากไปถามบล.กสิกรไทย จำกัด และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เค้ามองกันว่า ดัชนีมีโอกาสที่จะปรับฐานช่วงสั้น โดยต้องจับตาแรงขายของต่างชาติ รวมถึงการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) ทั้งนี้ ให้แนวรับที่ 1,487 และ 1,454 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,524 และ 1,550 จุด

 

ขณะที่ ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ว่าตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้า จะยังคงมีความผันผวนต่อเนื่อง ด้วยวอลุ่มที่ เบาบาง หลังหลายตลาดหุ้นในภูมิภาคหยุดทำการเนื่องในเทศกาลตรุษจีน ขณะที่ยังต้องจับตา ทิศทางการลงทุนของต่างชาติ หลังในช่วงที่ผ่านมาขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง

 

แต่ก็มองว่าการที่บริษัทจดทะเบียน(บจ.) จะทยอยประกาศผลประกอบการปี 55 และประกาศจ่ายปันผล ในช่วงสัปดาหน้านั้น เชื่อว่าจะสามารถประคองภาพรวมตลาดได้ โดย มองแนวรับสัปดาห์หน้าบริเวณ 1,480 และแนวต้านที่ 1,510 และ 1,530 จุด

 

เอ้า ใครจะลุยหุ้นหรือไม่ ก็แล้วแต่ตัวใครตัวมัน ดูทิศทางให้ดีๆ ก่อนแล้วกัน แต่ถ้าคิดจะลุยก็ต้องดูไปทางอสังหาริมทรัพย์หากใครเชื่อว่าแบงก์ชาติจะลดดอกเบี้ยแล้วกัน

 

ถึงเวลาเม้าท์ บจ. มีข่าวลือกับให้แซดอีกแล้วสำหรับ TRUE กับทางออกทางการเงินที่ต้องจับตา ในอดีตใครหลายคนหากดูงบการเงินของทรูแล้วก็จะรู้ว่า ไม่ไหวกับการลงทุน 3G แน่ๆ ต้องเพิ่มทุน แต่ล่าสุดทีข่าวออกมาว่าทรูอาจจะมีการออก Infarstucture Fund หรือ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ก็เรียกกันง่ายๆ ว่า จะขายธุรกิจโครงข่ายมือถือในปัจจุบันเข้ากองทุน ระดมทุนจากประชานนั้นไงล่ะ ซึ่งเค้าบอกกันกระหน่ำหูว่า จะมีเงินเข้ามาถึง 50,000 ล้านบาท เอามาล้างหนี้ได้เกือบหมดเลยทีเดียว โอ้ววววว ... แถมยังมีการลือกันอีกว่า จะมีการขายหุ้นให้กับ China mobile ด้วย แต่ต้องมีราคาสูงกว่านี้ จริงๆ รู้ตัวเลขแต่ไม่กล้าบอก บอกไว้ก่อนนี่คือข่าวลือที่เข้าหูไมาไม่ได้กรอง จะจริงหรือไม่ หรือมีโอกาสแค่ไหนลองตรองดูกันแล้วกัน

 

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์ (วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต่างชาติหนีเข้าบอนด์ยาวผวาสะกัดเงินร้อน(11/02/2556)

จับสัญญาณฟันด์โฟลว์ในตลาดหุ้น-บอนด์ ต่างชาติโยกเงินจากพันธบัตรระยะสั้นเข้าพันธบัตรระยะยาว ส่วนตลาดหุ้นชิงขายสุทธิกว่า 8 พันล้าน รับ 2 เด้ง กำไรหุ้น ค่าเงิน สมาคมตลาดตราสารหนี้- นักวิเคราะห์สานเสียงสะท้อนความกังวลกนง.ลดดอกเบี้ยสกัดเงินร้อน

 

นางสาวอริยา ติรณประกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ถึงความเคลื่อนไหวของกระแสเงินลงทุนต่างชาติในตลาดตรา สารหนี้ว่า ในรอบเดือนเศษที่ผ่านมา(2 ม.ค.-7 ก.พ.)ยังมียอดซื้อสุทธิ มีเพียงวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมาเท่านั้นที่ขายสุทธิ 7.8 พันล้านบาท และส่วนใหญ่เป็นการขายเพื่อทยอยลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว เนื่องจากอัตราผลตอบแทน(ยีลด์)ของตราสารหนี้ระยะยาวปรับตัวลง 0.2-0.4 %

ประกอบกับนักลงทุนบางรายขายตราสารหนี้ออกมาเพื่อหวังทำกำไร 2 ต่อ ทั้งกำไรจากส่วนต่างราคาของตราสารหนี้(ยีลด์) และกำไรจากค่าเงินด้วยแต่คงมีไม่มาก ขณะที่เดือนกุมภาพันธ์(1-6 ก.พ.)ก็ยังมีเงินต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ต่อเนื่อง

นางสาวอริยากล่าวว่า จากพฤติกรรมการลงทุนของต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ สะท้อนการคาดการณ์ว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้ มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ย (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี อยู่ที่ 2.75 % ) และถือเป็นมาตรการหนึ่งที่กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศ ไทย(ธปท.)สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อชะลอการไหลเข้าของเงินลงทุนต่างชาติ

"สาเหตุที่ปีนี้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ต่อเนื่อง เป็นผลจากปีที่ผ่านมาเงินไหลเข้ามาน้อย เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นต้น" นางสาวอริยากล่าว

นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ฯ กล่าวก่อนหน้านี้ว่าเดือนมกราคมที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้ถึง 1 แสนล้านบาท ซึ่งถือว่ามีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าเช่นกัน ขณะที่พบว่าเงินลงทุน 90 % เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น(อายุน้อยกว่า 1 ปี )

ด้านความเคลื่อนไหวของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้น จากรายงานข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่านักลงทุนต่างชาติได้พลิกกลับมาขายสุทธิติดต่อกัน 3 วัน (5-7 ก.พ.) รวม 8.33 พันล้านบาท

จากภาวะดังกล่าว นายสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัยหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน)กล่าวว่า เป็นการขายทำกำไรหลังดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯปรับขึ้นไปที่ระดับ 1,500 จุด ประกอบกับความกังวลระยะสั้นว่าธปท.อาจใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยเข้ามาควบคุม เงินไหลเข้า ด้วยการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของกนง.ในการประชุมวันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้

อย่างไรก็ตามคาดว่าการขายหุ้นของต่างชาติเป็นเพียงการทำกำไรระยะสั้นเท่า นั้น ซึ่งหากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ออกมาดีก็เชื่อว่าเงินต่างชาติจะ ยังคงไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย ดังนั้นการขายทำกำไรรอบนี้จึงไม่ใช่รอบใหญ่ โดยคาดว่าดัชนีมีโอกาสปรับตัวลงสู่ระดับ 1,400 จุด

สอดคล้องกับนายธวัชชัย อัศวพรไชย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.โกลเบล็กฯ กล่าวว่า การขายหุ้นของต่างชาติสะท้อนถึงความกังวลปัจจัยระยะสั้นในการประชุมกนง.ที่ จะมีขึ้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งอาจมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงได้ ประกอบกับการขายเพื่อทำกำไรออกมาก่อน อย่างไรก็ตามรอบนี้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯจะปรับตัวลงไม่มาก โดยคาดว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,480-1,490 จุด ซึ่งหากผลประกอบการบจ.ออกมาดีก็จะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หวั่นแบงค์ชาติจ่อขึ้นดอกเบี้ย โปะขาดทุนพยุงเงินบาท (11/02/2556)

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวในรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน กรณีที่มีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นนั้น ว่า ขณะนี้แข็งค่าขึ้นเป็น 30 ปลาย ๆ มาเป็น 30 กลาง ๆ จนมาถึงจุดที่บอกว่า 31 บาท คือเกิดขึ้นจากความสำเร็จในการส่งออกได้ดีจนกระทั่งเราได้เปรียบดุลการค้า การนำเข้าน้อยกว่า และรวมดุลบริการ เป็นคำที่ว่าดุลบัญชีเดินสะพัด คือการค้าขายทั้งสินค้าและบริการของเราเป็นบวก รวมทั้งความมั่นใจของผู้คนที่มีมากขึ้น ทำให้ผู้ที่นำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศ ทั้งเป็นรูปแบบการลงทุนทางตรงคือมาสร้างโรงงานและตราสารหนี้ รวมทั้งการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในประเทศเอาไว้มีความแตกต่างกว่าอัตราดอกเบี้ยที่เจ้าของเงินทุนที่เป็นเงินตราต่างประเทศนั้น จะไปสามารถแสวงหาในประโยชน์ได้จากที่อื่นโดยคณะกรรมการนโยบายการเงินอยู่ที่ 2.75 ฉะนั้นความต่างตรงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีการไหลเข้าของเงิน และจะมีการพูดคุยกันว่าถ้าหากว่าเราจะมาทบทวนนโยบายตรงนี้จะเป็นประโยชน์หรือไม่ ซึ่งก็ได้ฝากทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กรุณาพิจารณาเรื่องนี้ ที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ ตนมีข้อกังวลตั้งแต่อัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงกว่าร้อยละ 3 อย่างไรก็ตามขณะนี้ก็เห็นชัดเจนมากขึ้นว่ามีเงินไหลเข้ามาเพื่อลงทุน โดยคาดหวังส่วนต่างจากตรงนี้มากขึ้นในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ ญี่ปุ่นใกล้ 0 ดอกเบี้ยยุโรปไม่ถึง 1 เหล่านี้ ฉะนั้นเงินก็ไหลไปยังประเทศที่ให้ผลตอบแทนที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าเสมอ

 

อย่างไรก็ตามการดูแลค่าเงินและนโยบายต่างๆทำให้ธนาคารกลางของประเทศจะขาดทุนบ้าง และเป็นสิทธิ เป็นหน้าที่ด้วย แต่ถ้าหากดูแลแล้วเกิดเป็นภาระ เป็นจำนวนมากขึ้น เป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น โดยที่ยังไม่มีคำว่าเราจะดำเนินการเพื่อไม่ให้ภาระนั้นมันสะสมมากขึ้นจนกลายเป็นปัญหาได้อย่างไร ก็เป็นเรื่องที่ต้องดูแลกัน ข้อมูลนี้เป็นเรื่องสาธารณะ และต้องพูดด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจจะเกิดความไม่มั่นใจ มั่นคงในสถาบันสำคัญของประเทศคือธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งถ้ามีมากก็คือเป็นภาวะที่เรียกว่าเงินท่วมระบบหน้าที่ธนาคารชาติต้องดึงออก แต่ย้ำว่าถ้าดึงมาก ดึงนาน ก็จะเป็นปัญหา การออกพันธบัตรที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเพื่อที่จะปรับแผนผู้ที่ถือพันธบัตรไว้แทน และส่งเงินเข้ามาให้ธนาคารแห่งประเทศไทย นำไปเก็บรักษาไว้ ตรงนี้ก็มีดอกเบี้ย ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูง ต้นทุนก็สูง ในขณะที่ผลตอบแทนที่ได้จากเงินตราต่างประเทศที่อยู่ในความดูแลนั้น อัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนก็ต่ำ ฉะนั้นก็จะเกิดส่วนต่างตรงนี้ ในปี 2555 คือปีปฏิทินที่ผ่านมามีส่วนต่างที่เป็นผลขาดทุนจากผลต่างอันนี้เกิน 100,000 ล้านบาท และไม่ใช่เป็นการเกิดขึ้นเฉพาะปี 2555 ในปีก่อนนั้นก็มีผลขาดทุนเพียงแต่น้อยกว่านี้

 

นายกิติรัตน์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่กำลังกังวลคือว่าเมื่อเงินมียาวนานขึ้นก็คืออีก 1 ปี และมีจำนวนที่มากขึ้น ผลขาดทุนที่จะสะสมรวมกันก็จะมากขึ้นไปโดยลำดับ หากคิดกันซะเดียวนี้ก็จะยังไม่เป็นปัญหารุนแรง แต่ถ้าหากปล่อยไป ในปี 2556 เกิดปัญหาเดียวกันมียอดของการสะสมของการขาดทุนเพิ่มขึ้นอีกก็จะกลายเป็นปัญหาได้เหมือนกัน ดังนั้นสิ่งที่คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นคนกำหนดดูแลการกำกับนโยบายทั่วไปของธนาคาร การที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน ซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยจะไตร่ตรองเรื่องนี้

 

“ผมได้ทำหนังสือแสงดข้อกังวลให้เห็นชัดเจน ไปถึงผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ให้รับทราบข้อห่วงใยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย นอกจากนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีหน้าที่ในการกำกับทั่วไป แม้กฎหมายจะเขียนไว้ว่ายกเว้นหน้าที่ทางด้านนโยบายการเงินให้เป็นหน้าที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน อาจจะมองไม่เห็นประเด็นที่เป็นความเสียหายตรงนี้ แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีความรับผิดชอบ คณะรัฐมนตรีมีความรับผิดชอบต่อรัฐสภา เพราะฉะนั้นทุกฝ่ายต้องทำงานสอดประสานกัน ข้อกฎหมายในพระราชบัญญัติยังเขียนไว้ด้วยในมาตรา 7 เขียนไว้ว่า การดำเนินนโยบายต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงนโยบายของรัฐบาลด้วย จำเป็นต้องไตร่ตรองให้รอบคอบถึงผลดีผลเสียของสิ่งที่ดำเนินการ”นายกิติรัตน์ กล่าว

 

นายกิตติรัตน์ กล่าวต่อว่า ถ้าขึ้นอัตราดอกเบี้ย จริง ๆ ก็มีคนแสดงความคิดเห็นน่าสนใจ ว่าเหมือนการดำเนินนโยบายทางการเงินไม่ได้แปลว่าคงที่หรือลงอย่างเดียว ขึ้นได้ด้วย ตนเองก็ไม่อยากไปคาดเดาอะไร แต่การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจในเรื่องใด ๆ ก็แล้วแต่จะมีข้อดีและข้อเสียควบคู่กันเสนอ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยหวังว่าจะเป็นการชะลอเงินเฟ้อนั้น ต้องอธิบายลึก ๆ ว่า เงินเฟ้อแล้วจะชะลออย่างไร ก็จะบอกว่าการขึ้นดอกเบี้ยนั้นจะเป็นการชะลออุปสงค์คือทำให้คนอยากจะออมมากขึ้น แต่ส่วนสำคัญถ้าเราไม่ได้เป็นระบบเศรษฐกิจ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะสามารถทำให้เกิดการดึงดูดเงินตราต่างประเทศเข้ามาอีก เมื่อเงินต่างประเทศเข้ามาสภาพคล่องที่มากขึ้นไปอีกอาจจะกลายเป็นกลไกสำคัญที่ให้เงินเฟ้อสูงขึ้น เพราะปริมาณเงิน แต่ถ้าคำอธิบายบอกว่าไม่ต้องเป็นห่วง เพราะว่าทำอย่างนั้นก็จะดูดเงินออกไป การดูดเงินออกอีกก็จะกลายเป็นภาระต่อผู้ดูดเงินออกขึ้นอีก และก็จะไม่มีคำตอบว่าเราจะดูแลส่วนต่างหรือต้นทุนของการดูแลนโยบายอย่างนี้ต่อเนื่องเป็นระยะยาวได้อย่างไร

 

“เมื่อค่าเงินบาทแข็งขึ้นจะกระทบ ผู้ส่งออกจะสามารถทำงานได้ยากขึ้น เพราะว่าสินค้าเราก็จะแพงขึ้นในต่างประเทศ และถ้าหากว่านำไปสู่การผลิตที่ชะลอลง เพราะว่าส่งออกได้น้อยลง หรืออาจจะไม่น้อยลงเพียงแต่เติบโตในอัตราที่ช้ากว่าที่ควร สิ่งที่ตามมากระเทือนถึงการจ้างงาน กระเทือนถึงภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงก็เป็นไปได้ ต้องมีมาตรการชัดเจนไม่เกิดผลบานปลาย”รองนายกฯกล่าวและว่าหากมีปัญหาใหญ่และใช้ระยะยาวนานกว่าแก้ไขได้จะเป็นเรื่องอันตราย

 

สำหรับกระแสข่าวการควบรวมกิจการธนาคารเอสเอ็มอีแบงค์ และธนาคารออมสินในขณะนี้สามารถให้คำยืนยันว่าธนาคารที่ดูเหมือนจะปรากฎเป็นข่าวนั้น เป็นธนาคารของรัฐที่มีขนาดย่อมเมื่อเทียบกับธนาคารของรัฐอื่น ๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่าและไม่ต้องเป็นประเด็นข่าว ดังนั้นในส่วนที่จะมีการดูแลในส่วนของธนาคารของรัฐเหล่านี้ สามารถยืนยันได้ว่ารัฐบาลมีความรับผิดชอบดูแลต่อผู้ฝากเงิน ดูแลต่อผู้ที่ใช้สินเชื่อของธนาคารเหล่านั้นว่า ทุกอย่างยังสามารถดำเนินไปตามปกติ

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน : บมจ.ไทยออยล์(11/02/2556)

ตัวเลขดุลการค้าจีนส่งเบรนท์ขึ้น ขณะที่WTIยังถูกกดดันจากสต็อกสูง "

 

เบรนท์ส่งมอบเดือน มี.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 1.66 ปิดที่ 118.90 เหรียญฯ ส่วนเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน มี.ค. ปรับลดลง 0.11 ปิดที่ 95.72 เหรียญฯ

+ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังตัวเลขดุลการค้าของจีนเกินดุลอย่างต่อเนื่อง

ในเดือน ม.ค. โดยเกินดุลที่ 29.2 ล้านล้านเหรียญฯ เหนือการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 22.0 ล้านล้านเหรียญฯ แม้ว่าจะปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นที่ 7.4% ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 5.92% ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนว่าเศรษฐกิจโลกและความต้องการน้ำมันจะ ขยายตัวเพิ่มขึ้น

+ ตัวเลขดุลการค้าขาดดุลของสหรัฐ เดือน ธ.ค.55 อยู่ที่ 38.5 พันล้านเหรียญฯ ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 48.6 พันล้านเหรียญฯ ในขณะที่การส่งออกปรับตัวดีขึ้น 2.1% ในเดือน ธ.ค.55 แต่ภาคการนำเข้าหดตัวลง 2.7% สวนทางกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 3.7%

+ ความวุ่นวายทางการเมืองในตูนีเซีย รวมถึงเหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างซูดานและซูดานใต้ที่ก่อให้เกิดผู้เสีย ชีวิตจำนวน 100 ราย ในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา จะยังคงเป็นปัจจัยที่หนุนให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ยืนได้ในระดับสูง จากความความกังวลว่าอุปทานน้ำมันดิบมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบ

+ เหตุการณ์ความรุนแรงในเยเมนสร้างความกังวลต่อตลาดเพิ่มขึ้นไปอีก หลังท่อน้ำมันดิบที่ใช้สำหรับการส่งออกถูกระเบิดจากกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาล และส่งผลให้การขนส่งน้ำมันดิบต้องหยุดชะงักลง โดยมีกำลังการขนส่งอยู่ที่ 110,000 บาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้คาดว่าการขนส่งน้ำมันดิบจะกลับมาดำเนินการอีกครั้งหลังการซ่อมแซม เสร็จสิ้นซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการประเมินความเสียหาย

- ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ จากความกังวลต่อปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ณ จุดส่งมอบ คุชชิ่ง โอกาโฮมา ที่คาดว่าจะคงตัวในระดับสูงต่อไป เนื่องจากกำลังการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับอุปสงค์จากโรงกลั่นในประเทศที่ปรับลดลงจากแผนการซ่อมบำรุงประจำปี

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณการส่งออกที่ปรับเพิ่มขึ้นจากทางยุโรป อย่างไรก็ดีอุปสงค์ภายในภูมิภาคยังอยู่ในระดับที่ดี ท่ามกลางความกังวลว่าอุปทานจะลดลงตามแผนการซ่อมบำรุงของโรงกลั่นในภูมิภาค ที่กำลังจะมาถึง

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากตลาดมีความกังวลต่ออุปทานที่จะปรับลดลงตามฤดูกาลการซ่อมบำรุง ประจำปีของโรงกลั่นภายในภูมิภาคที่จะเริ่มขึ้นหลังเทศกาลตุรษจีน

ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง

กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์หน้า เบรนท์ 112 -120 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 92-100 เหรียญฯ ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจและความขัดแย้งทางการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลาง และผลการประชุมผู้นำกลุ่มยูโรโซน

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ / ผลประกอบการไตรมาส 4/55 ของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ ได้แก่

วันจันทร์: การประชุมผู้นำกลุ่มยูโรโซน การผลิตภาคอุตสาหกรรมฝรั่งเศส

วันอังคาร: การประชุมรัฐมนตรีการคลังยุโรป /โคคา โคล่า

วันพุธ: การผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซน ยอดขายปลีกสหรัฐฯ จีดีพีไตรมาส 4 ของญี่ปุ่น/เม็ตไลฟ์ /ซิสโก้ ซิสเต็ม

วันพฤหัส: จีดีพีไตรมาส 4 ของยูโรโซน เยอรมนีและฝรั่งเศส ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ

วันศุกร์: การผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ (ม.มิชิแกน) ผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของรัฐนิวยอร์ค ดุลการค้ายูโรโซน รวมทั้งการประชุมกลุ่มประเทศ G20

- ติดตามปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง หลังอิสราเอลโจมตีรถบรรทุกอาวุธที่คาดว่าจะถูกส่งจากซีเรียไปยังกลุ่มหัว รุนแรงในเลบานอน ประกอบกับต้องติดตามท่าทีของอิหร่านซึ่งประกาศเป็นพันธมิตรกับซีเรียต่อ สถานการณ์ดังกล่าว

- ติดตามความวุ่นวายทางการเมืองในแอฟริกาเหนือ หลังนายกฯ ตูนิเซียประกาศยุบสภา เนื่องจากไม่สามารถทนแรงกดดันของประชาชนที่ออกมาประท้วงจากเหตุลอบสังหารผู้ นำพรรคร่วมฝ่ายค้านได้ รวมทั้งเรียกร้องให้มีการปฏิวัติประเทศครั้งที่ 2 หลังตูนิเซียเคยเป็นต้นแบบในการโค่นล้มอำนาจผู้นำเผด็จการ (Arab Spring) ตั้งแต่ปลายปี 2553

- ติดตามสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในยุโรป หลังนายมาเรียโน ราฮอย นายกรัฐมนตรีสเปนถูกฝ่ายค้านกดดันให้ลาออกหลังถูกกล่าวหาว่าพัวพันกับการ คอร์รัปชั่น รวมทั้งมีความกังวลต่อผลการเลือกตั้งของอิตาลีที่จะมีขึ้นในวันที่ 24-25 ก.พ. โดยโพลล่าสุดพบว่านายซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งชูนโยบายยกเลิกมาตรการรัดเข็มขัดกำลังมีคะแนนนิยมเพิ่ม ขึ้น ความไม่แน่นอนดังกล่าวส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรของทั้ง 2 ประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นและสร้างความกังวลให้กับตลาด

- ติดตามการประชุมผู้นำกลุ่มยูโรโซนและรัฐมนตรีการคลังยุโรปว่าจะมีมุมมองต่อ ทิศทางและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไร หลังตัวเลขเศรษฐกิจของยุโรปเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัว

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

WIFO ชี้กรีซอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้หากปราศจากการปรับเปลี่ยนเชิงกลยุทธ์และความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆในยุโรป(11/02/2556)

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจของออสเตรีย (WIFO) คาดว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของกรีซในปี 2556 จะลดลง 23% จากระดับสูงที่ทำไว้เมื่อปี 2551 แนวโน้มที่ย่ำแย่ดังกล่าวสวนทางกับความคิดเห็นของนายจอร์จ โปรโวโปลอส ผู้ว่าการธนาคารกลางกรีซ ที่ระบุเมื่อเดือนมกราคมว่าภาวะเลวร้ายที่สุดได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทั้งนี้ นายคาร์ล ไอจินเจอร์ ผู้อำนวยการ WIFO กล่าวว่า การคาดการณ์ของ WIFO บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของกรีซจะไม่เพียงแค่ชะงักงัน แต่จะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม โดยระบุเสริมว่ากรีซอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้หากปราศจากการปรับเปลี่ยนเชิง กลยุทธ์และความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆในยุโรป

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ก.คลังเวเนฯประกาศลดค่าเงิน “โบลิบาร์” รวดเดียว 32% อ้างต้องแก้ปัญหาการขาดดุล (11/02/2556)

เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-ฮอร์เฆ ฆิออร์ดานี รัฐมนตรีคลังเวเนซุเอลาประกาศในวันเสาร์ (9) โดยยืนยันว่า เวเนซุเอลาจะลดค่าของเงินสกุล “โบลิบาร์” ของตนลง 32 เปอร์เซ็นต์ นับตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์นี้เป็นต้นไป เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณของประเทศ

 

รัฐมนตรีคลังเวเนซุเอลายืนยันว่า การตัดสินใจลดค่าเงินของประเทศในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 5 ในระยะเวลา 9 ปี เป็นคำสั่งโดยตรงของประธานาธิบดีอูโก ชาเบซ ที่พักรักษาตัวจากอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งอยู่ที่ประเทศคิวบา

 

ความเคลื่อนไหวล่าสุดของทางการเวเนซุเอลามีขึ้นหลังมีการเปิดเผยตัวเลขจากกลุ่มเคลื่อนไหวฝ่ายค้าน ว่า การนำเงินของรัฐมาใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการลงชิงตำแหน่งผู้นำเวเนซุเอลาสมัยล่าสุด ของประธานาธิบดีชาเบซเมื่อปีที่แล้ว ส่งผลให้งบประมาณรายจ่ายประจำปีของเวเนซุเอลามีการขาดดุลเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว

 

อย่างไรก็ดี ทางกระทรวงการคลังเวเนซุเอลายืนยันว่า การประกาศปรับลดค่าเงินล่าสุดเป็นเพียงมาตรการเพื่อปรับสมดุลด้านงบประมาณของประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการใช้จ่ายภาครัฐตามปกติเท่านั้น พร้อมย้ำว่า ฐานะทางการคลังของประเทศยังคงมั่นคง

 

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า การลดค่าเงินของเวเนซุเอลาครั้งนี้ จะส่งผลกระทบให้คุณภาพชีวิตของชาวเวเนซุเอลาราว 29 ล้านคนทั่วประเทศย่ำแย่ลงและจะส่งผลให้สินค้านำเข้ามีราคาถีบตัวสูงขึ้น แต่การปรับลดค่าเงินจะส่งผลดีต่อการส่งออกของประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพารายได้ จากการส่งออกน้ำมันเป็นหลักอย่างเวเนซุเอลา

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ (วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...