ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

Richmond Manufacturing Index

 

Actual:8

Forecast:0

Previous:-2

Importance: Currency:USDSource Of Report:Federal Reserve Bank of Richmond (Release URL)

OverviewChartHistory

The Richmond Manufacturing Index rates the relative level of business conditions including shipments, new orders, and employment. A level above zero on the index indicates improving conditions; below indicates worsening conditions. The data is compiled from a survey of about 100 manufacturers in the Richmond area.

 

A higher than expected reading should be taken as positive/bullish for the USD, while a lower than expected reading should be taken as negative/bearish for the USD.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ออกมาเขียวตรึม รายงานดีไปหมด แต่ตรงบ้านราคาแพงนี่สิ ราคาทองจะยังไม่ร่วงหรอก เดี๋ยวก็ขึ้นไปที่ $1286-1288 แล้วก็วนเวียนจนเช้าตรงแถวนี้ื

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

roller-coaster-rider-o.gif

 

:38 อุ๊ย.....ของจริงของปลอมหว่า !!!!!!

 

 

 

:01 ขอบคุณค่ะ คุณเด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กราฟรหัส 12,26,9 MACD แบบดั้งเดิม ณ. วันนี้ ก็แสดงอาการถ่างออกอีก ยังไร้วี่แววที่จะอยู่ในสถานะเข้าซื้อ " นิ่งเฉย เฉยนิ่ง " ต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กราฟรหัส 5,35,9 MACD แบบส่งสัญญานนำทาง Signal มันก็ยังถ่างออกเช่นกัน ดังนั้น จึงยังไม่มีสัญญานให้อยู่ในสถานะข้างซื้อ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคมะกันดันหุ้นพุ่ง-น้ำมันบวก แต่ฉุดทองคำปิดลบ

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 มิถุนายน 2556 04:46 น.

 

เอเอฟพี - วอลล์สตรีทฟื้นตัวแรงและราคาน้ำมันบวกเล็กน้อยวานนี้(25) จากแรงหนุนของข้อมูลที่เผยให้เห็นถึงความเข้มแข็งและความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นต่อเศรษฐกิจอเมริกา อย่างไรก็ตามปัจจัยดังกล่าวที่ผลักให้ดอลลาร์แข็งค่าก็ฉุดให้ทองคำอ่อนตัวลง

 

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 100.75 จุด (0.69 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 14,760.31 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 27.13 จุด (0.82 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,347.89 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 14.94 จุด (0.95 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,588.03 จุด

 

ความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(25) เป็นผลจากทิศทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของอเมริกา ด้วยยอดคำสั่งซื้อสินค้าลงทนเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากแรงหนุนของคำสั่งซื้อเครื่องบิน ขณะที่ดัชนีราคาบ้านก็สูงขึ้นถึงร้อยละ 2.5

 

นอกจากนี้แล้วนักลงทุนยังรู้สึกกระชุ่มกระชวยเพิ่มเติม จากข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคของอเมริกา หลังดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสำนักงานคอนเฟอเรนซ์บอร์ด ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยเอกชนของสหรัฐฯ เดือนมิถุนายน ทะยานสู่ระดับ 81.4 จุด จาก 74.3 จุดในเดือนพฤษภาคม

 

ข้อมูลต่างๆนานาข้างต้น ส่งให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน แต่เป็นผลให้ทองคำวานนี้(25) ขยับลงสู่แดนลบ เหตุเพราะมันทำให้โลหะมีค่าชนิดนี้มีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ซื้อที่ถือสกุลเงินอื่นๆ โดยทองคำตลาดโคเมกซ์ของสหรัฐฯ ลดลง 2.00 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,275.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ขณะเดียวกันข้อมูลทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่แข็งแกร่งของอเมริกา ก็ไม่สามารถผลักให้ตลาดเชื้อเพลิงพุ่งทะยานไปข้างหน้าได้ ด้วยราคาน้ำมันวานนี้(25) ปิดบวกในกรอบแคบๆเท่านั้น เหตุเพราะนักลงทุนจับตาข้อมูลคลังน้ำมันสำรองรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ที่จะเปิดเผยออกมาในวันพุธ(26)

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้น 14 เซนต์ ปิดที่ 95.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 10 เซนต์ ปิดที่ 101.26 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำหรับกราฟ รหัส 7,5,2 ที่เด็กขายของใข้เล่นซื้อขาย เมื่อวานนี้ หัวสัญญานจะปักหัวเข้าหากัน ถ้าเมื่อคืนราคาปิดระหว่าง 1285-1286 เส้นสีแดงก็จะโผล่ขึ้นด้านบนเส้นดำทันที แต่ปรากฎว่า ความจริงที่เกิดไม่เป็นเช่นนั้น ราคาปิดลงมาที่ 1277 ลดลงย่อลง 8-9 เหรียญ ทำให้ผลของเส้นออกมาวิ่งแบบคู่ขนาน ฉะนั้นความเสี่ยง ความเป็นไปได้ที่ราคาทองจะลดลง แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ ก็ยังประเมินว่า 80-20 คือ 80% ลง และ 20% ขึ้น

 

ปล. ลืมไป เด็กขายของ จะบอกว่า 2 ส่วนที่มี ก็ " ทนถือ ถือทน " ต่อไป และ อีก 8 ส่วนเงินสด ยังไม่คิดจะซื้อเพิ่มเพื่อเฉลี่ยลงมา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อรุณสวัสดิ์ค่ะทุกคน

อดทนทนรอต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 26 มิถุนายน 2556 07:37:32 น.

ตลาดหุ้นยุโรปปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (25 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาสภาพคล่องตึงตัวของจีน นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐ

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 พุ่งขึ้น 1.5% ปิดที่ 279.69 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,649.82 จุด เพิ่มขึ้น 54.19 จุด หรือ +1.51% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 7,811.30 จุด พุ่งขึ้น 118.85 จุด หรือ +1.55% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันทำการล่าสุดที่ 6,101.91 จุด เพิ่มขึ้น 72.81 จุด หรือ +1.21%

 

 

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (25 มิ.ย.) เพระได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากการที่นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะสภาพคล่องตึงตัวของจีน

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 14,760.31 จุด พุ่งขึ้น 100.75 จุด หรือ +0.69% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 3,347.89 จุด เพิ่มขึ้น 27.13 จุด หรือ +0.82% ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 1,588.03 จุด เพิ่มขึ้น 14.94 จุด หรือ +0.95%

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (25 มิ.ย.) เพราะได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐ ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความหวังว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะช่วยหนุนความต้องการพลังงานให้เพิ่มขึ้นด้วย

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 14 เซนต์ ปิดที่ 95.32 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาดลอนดอน เพิ่มขึ้น 10 เซนต์ ปิดที่ 101.26 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (25 มิ.ย.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐซึ่งได้มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ ทำให้นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตัดสินใจชะลอการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ลดลง 2 ดอลลาร์ หรือ 0.16% ปิดที่ 1,275.1 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 3.3 เซนต์ ปิดที่ 19.526 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ปิดที่ 1350.50 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 21.40 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 667.15 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 11.02 ดอลลาร์

 

-- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 มิ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาด ซึ่งทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าข้อมูลดังกล่าวทำสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตัดสินใจลดขนาดการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 97.76 เยน จากระดับของจันทร์ที่ 97.72 เยน และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9377 ฟรังค์ จากระดับ 0.9330 ฟรังค์

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.3090 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3123 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเงินปอนด์ร่วงลงแตะระดับ 1.5425 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5442 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลงแตะระดับ 0.9262 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9274 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- -ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (25 มิ.ย.) นำโดยหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ หลังธนาคารกลางจีนระบุว่าจะดูแลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินอยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ ตลาดยังขานรับยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน และยอดขายบ้านเดือนพ.ค.ของสหรัฐที่พุ่งขึ้นเกินคาด

 

ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,101.91 จุด เพิ่มขึ้น 72.81 จุด หรือ +1.21%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งค่า หลังข้อมูลศก.สหรัฐสดใสหนุนคาดเฟดลด QE

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 26 มิถุนายน 2556 07:35:30 น.

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 มิ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาด ซึ่งทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าข้อมูลดังกล่าวทำสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตัดสินใจลดขนาดการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)

 

 

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 97.76 เยน จากระดับของจันทร์ที่ 97.72 เยน และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9377 ฟรังค์ จากระดับ 0.9330 ฟรังค์

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.3090 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3123 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเงินปอนด์ร่วงลงแตะระดับ 1.5425 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5442 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลงแตะระดับ 0.9262 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9274 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเนื่องจากข้อมูลที่แข็งแกร่งของสหรัฐทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นว่า เฟดอาจจะตัดสินใจลดขนาด QE โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ค. พุ่งขึ้น 3.6% มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 3% ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐเริ่มฟื้นตัวขึ้น

 

ขณะที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ชิลเลอร์ เปิดเผยว่า ราคาบ้านเดือนเม.ย.ในสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินคาดเมื่อเทียบเป็นรายเดือน ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐยังคงฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

ด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดขายบ้านใหม่เดือนพ.ค. พุ่งขึ้น 2.1% แตะระดับ 476,000 ยูนิต/ปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 5 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนก.ค. ปี 2551 และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่ายอดขายบ้านจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 462,000 ยูนิต/ปี

 

เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า หากข้อมูลเศรษฐกิจที่เฟดจะได้รับในวันข้างหน้านั้นบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจฟื้นตัวตามที่คาดการณ์ไว้ ก็เป็นเรื่องเหมาะสมที่เฟดจะชะลอโครงการซื้อพันธบัตร หรือชะลอกการทำ QE ภายในปีนี้ และหากข้อมูลเศรษฐกิจยังคงออกมาสอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ เฟดก็จะยังคงลดขนาดวงเงินซื้อพันธบัตรไปจนถึงช่วงครึ่งแรกของปีหน้า และจะสิ้นสุดโครงการซื้อพันธบัตรประมาณกลางปีหน้า

 

นักลงทุนจับตาดูกระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งสุดท้ายของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงประจำไตรมาส 1/2556 ในวันนี้เวลา 19.30 น.ตามเวลาไทย โดยมีการคาดการณ์ว่าจีดีพีจะขยายตัว 2.4% ซึ่งทรงตัวจากตัวเลขประมาณการในครั้งที่สอง

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประธานาธิบดีดิลมา รุสเซฟแห่งบราซิล เร่งปรึกษาหารือกับผู้นำกลุ่มประเทศบริกส์ เพื่อรับมือเฟดลดขนาดคิวอี

 

 

 

รัฐบาลบราซิลกล่าวว่ากลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่รายใหญ่จะร่วมกันจำกัดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของประเทศ จากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณลดการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล

 

นายโธมัส เทรามันน์ โฆษกรัฐบาลบราซิล กล่าวว่าประธานาธิบดีรุสเซฟ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิงแห่งจีน ได้หารือกันทางโทรศัพท์เพื่อเพิ่มความร่วมมือด้านนโยบายระหว่างสองประเทศ โดยผู้นำจีนชี้ว่าพัฒนาการใหม่ๆ ที่ซับซ้อนในตลาดโลก ทำให้ต้องร่วมมือกันใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างกลุ่มประเทศบริกส์

 

นางรุสเซฟวางแผนจะติดต่อกับผู้นำของกลุ่มประเทศบริกส์อื่นๆ ได้แก่ รัสเซีย อินเดีย และแอฟริกาใต้ ภายในสัปดาห์นี้เพื่อหารือถึงมาตรการอันเป็นรูปธรรมที่จะนำมาใช้

 

นายเทรามันน์กล่าวด้วยว่ากลุ่มบริกส์จะตัดสินใจร่วมมือกันดำเนินนโยบายเพื่อรับสถานการณ์การแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ในการประชุมที่จะมีขึ้นเดือนกรกฎาคมที่รัสเซีย

 

ก่อนหน้านี้ บราซิลและชาติกำลังพัฒนาอื่นๆ นับเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจโลก แต่ปัจจุบันประเทศเหล่านี้กำลังวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอมาตรการผ่อนคลายทางการเงินของเฟด ซึ่งเป็นชนวนให้เกิดการถอนเงินทุนออกจากตลาดเกิดใหม่

 

การคาดหมายว่าเฟดจะลดการเข้าซื้อพันธบัตร ส่งผลให้เงินเรียลของบราซิลต่ำสุดในรอบสี่ปี จนรัฐบาลต้องยกเลิกมาตรการควบคุมเงินทุนเพื่อเพิ่มเงินดอลลาร์ในระบบเศรษฐกิจของประเทศ และตลาดหุ้นบราซิลยังดิ่งลงไปแตะจุดต่ำสุดในรอบสี่ปีเช่นเดียวกัน

 

นอกจากนี้ การอ่อนค่าลงอย่างมากของเงินเรียล ยังทำให้มีความวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงของบริษัทท้องถิ่นที่มีหนี้สินจำนวนมากในสกุลเงินดอลลาร์ อีกทั้งเงินเรียลที่อ่อนค่าอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อที่สูงอยู่แล้วของบราซิล เพิ่มขึ้นไปอีก ผลจากราคาสินค้านำเข้าที่สูงขึ้น

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 26 มิุถุนายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...