ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

น้ำมันลงแต่ยังกังวลวิกฤตอียิปต์ หุ้นมะกัน-ทองคำขยับขึ้น blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2556 05:04 น.

 

blank.gif 556000008760101.JPEG blank.gif เอเอฟพี - ราคาน้ำมันวานนี้(8) ลดลงเล็กน้อย แต่ยังอยู่ภายใต้แรงกดดันจากเหตุความรุนแรงตามหลังรัฐประหารในอียิปต์ ส่วนสอลล์สตรีทปิดบวก นักลงทุนจับตารายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ที่เตรียมทยอยออกมาในช่วงสัปดาห์นี้ ขณะที่ทองคำขยับขึ้นพอสมควร หลังดอลลาร์อ่อนค่าลง

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนสิงหาคม ลดลง 8 เซนต์ ปิดที่ 103.14 ดอลลาร์ต่อบาร์รเล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 29 เซนต์ ปิดที่ 107.43 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันวานนี้(8) มีขึ้นหลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว น้ำมันตลาดนิวยอร์กดีดตัวถึงร้อยละ 6.5 ส่วนลอนดอน ก็ปรับขึ้นร้อยละ 5 ท่ามกลางความกังวลว่าสถานการณ์ความมั่นคงทางการเมืองในอียิปต์อาจส่งผลกระทบ ต่ออุปทานในตะวันออกกลาง

 

ทั้งนี้แม้จะไม่ใช่ผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ แต่อียิปต์ก็คือที่ตั้งของเส้นทางลำเลียงน้ำมันสำคัญ อย่างเช่นคลองสุเอซ และท่อลำเลียงสุเมด

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(8) ปิดบวกในกรอบแคบๆ ด้วยนักลงทุนจับตาไปที่ฤดูกาลเผยแพร่รายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ของบริษัทต่างๆ ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยอัลโค ผู้ผลิตอลูมิเนียมยักษ์ใหญ่ หลังปิดตลาดในวันจันทร์

 

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 89.24 จุด (0.59 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,225.08 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 5.45 จุด (0.16 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,484.83 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 8.61 จุด (0.53 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,640.50 จุด

 

แม้จะไม่มีการคาดหวังถึงผลประกอบการที่น่าประทับใจของบริษัทต่างๆ แต่นักวิเคราะห์มองว่าพวกนักลงทุนจะให้ความสำคัญกับมุมมองของบริษัทเหล่า นั้นต่อแนวโน้มของช่วงที่เหลือของปีมากกว่า และนั่นจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของวอลล์สตรีทในอนาคตอันใกล้นี้

 

ส่วนราคาทองคำวานนี้(8) ขยับขึ้นแรง จากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงและนักลงทุนเข้าช้อนซื้อ หลังโลหะมีค่าชนิดนี้ดิ่งลงแรงในช่วง 2 วันของการซื้อขายหลังสุด ด้วยความกังวลว่าธนาคารกลางอเมริกาจะเริ่มชะลอโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วๆ นี้ ทองคำตลาดโคเมกซ์ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 22.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,234.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบงก์ชาติเกาหลีใต้กว้านซื้อ “ทองคำ” เพิ่มเดือนมิ.ย. ส่งผลโสมขาวมีทองในคลัง “ทะลุ 100 ตัน” blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 กรกฎาคม 2556 14:35 น.

 

blank.gif 556000008710201.JPEG blank.gif เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (บีโอเค) เผยในวันจันทร์ (8) ระบุ ได้กว้านซื้อทองคำจากตลาดโลกมาถือครองเพิ่มเติมในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ส่งผลให้เกาหลีใต้กลายเป็นดินแดนที่มีทองคำสำรองในความครอบครองสูงเป็น อันดับที่ 34 ของโลก นับเป็นอันดับที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์แดนโสมขาว

 

คำแถลงของแบงก์ ออฟ โคเรียซึ่งมีการเผยแพร่ที่กรุงโซลระบุว่า เมื่อถึงสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ปริมาณทองคำสำรองในความครอบครองของเกาหลีใต้ทั้งหมดได้เพิ่มเป็นกว่า 104.4 ตัน คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 4,790 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 151,113 ล้านบาท)หลังทางบีโอเคทำการกว้านซื้อทองคำซึ่ง “ไม่มีการเปิดเผยจำนวน” เข้ามาถือครองเพิ่มเติมอีกในเดือนที่แล้ว

 

การกว้านซื้อทองคำมาถือครองเพิ่มเติมของธนาคารกลางโสมขาวในเดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้เกาหลีใต้ขยับจากอันดับที่ 36 ขึ้นมาเป็นประเทศที่มีทองคำสำรองในครอบครองสูงสุดเป็นอันดับที่ 34 ของโลกได้เป็นครั้งแรก ทั้งที่เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2011 นั้น อันดับของเกาหลีใต้ยังอยู่เพียงแค่อันดับที่ 56 ของโลกเท่านั้น ตามข้อมูลของสภาทองคำโลก (ดับเบิลยูจีซี)

 

รายงานข่าวระบุว่า บีโอเคได้ทำการกว้านซื้อทองคำครั้งใหญ่มาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง นับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2011 เป็นต้นมา เพื่อเพิ่มทางเลือกที่หลากหลายยิ่งขึ้นในด้านทุนสำรองแลกเปลี่ยนเงินตราต่าง ประเทศ

 

อย่างไรก็ดี คิม ชุงซู ผู้ว่าการบีโอเคซึ่งกำลังจะหมดวาระในเดือนมีนาคมปีหน้าออกมายืนยันว่า การกว้านซื้อทองคำในช่วงที่ผ่านมาของบีโอเค ไม่เกี่ยวข้องกับการฉวยโอกาสในช่วงที่ราคาทองคำในตลาดโลกร่วงลงไปแล้ว มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์นับตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว

 

ทั้งนี้ ข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่า สหรัฐอเมริกายังคงเป็นประเทศที่ถือครองทองคำเอาไว้มากที่สุดในโลกด้วยปริมาณ ทองคำในครอบครอง 8,133.5 ตัน รองลงมาคือ เยอรมนี 3,391.3 ตัน ขณะที่ไอเอ็มเอฟรั้งอันดับที่ 3 ด้วยจำนวนทองคำ 2,814 ตัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ​แรงซื้อ​เ​ก็งกำ​ไรหนุนทองคำปิดพุ่ง 22.2 ดอลลาร์

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 9 กรกฎาคม 2556 06:43:38 น.

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้น​เมื่อคืนนี้ (8 ก.ค.) ​เนื่องจากนักลงทุน​เข้ามาช้อนซื้อ​เพื่อ​เ​ก็งกำ​ไร หลังจากสัญญาทองคำดิ่งลง​ไปกว่า 3% ​เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบ​เดือนส.ค.พุ่งขึ้น 22.2 ดอลลาร์ ​หรือ 1.83% ปิดที่ 1,234.9 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ขณะที่สัญญา​โลหะ​เงินส่งมอบ​เดือนก.ย.​เพิ่มขึ้น 30.2 ​เซนต์ ปิดที่ 19.038 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบ​เดือนต.ค.ปิดที่ 1,362.00 ดอลลาร์/ออนซ์ ​เพิ่มขึ้น 35.60 ดอลลาร์ ​และสัญญาพัลลา​เดียมส่งมอบ​เดือนก.ย.ปิดที่ 695.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ​เพิ่มขึ้น 17.85 ดอลลาร์

 

นักลงทุน​เข้ามาช้อนซื้อ​เ​ก็งกำ​ไรหลังจากสัญญาทองคำร่วงลง​ไปกว่า 3% ​เมื่อวันศุกร์ ​โดยสัญญาทองคำดิ่งลง​ในวันศุกร์หลังจากกระทรวง​แรงงานสหรัฐ​เปิด​เผยว่า ตัว​เลขจ้างงานนอกภาค​การ​เกษตรประจำ​เดือนมิ.ย. ปรับตัว​เพิ่มขึ้น 195,000 ตำ​แหน่ง สูงกว่าที่นักวิ​เคราะห์คาด​การณ์​ไว้ว่าจะขยายตัว 165,000 ตำ​แหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานทรงตัว​ในระดับ​เดิมที่ 7.6%

 

ข้อมูล​แรงงานที่ดี​เกินคาด​ทำ​ให้นักลงทุน​เกิด​ความวิตกกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) อาจจะชะลอ​โครง​การซื้อพันธบัตร​เร็วกว่าที่คาด​การณ์ ​โดยนักวิ​เคราห์ส่วนหนึ่ง​เชื่อว่า​เฟดอาจ​เริ่มชะลอ​โครง​การซื้อพันธบัตร​ใน​เดือนก.ย.นี้ ​แทนที่จะ​เป็นช่วงสิ้นปีอย่างที่​เคยคาด​การณ์กัน​ไว้

 

อย่าง​ไร​ก็ดี นักวิ​เคราะห์คาด​การณ์ว่ามีหลายปัจจัยที่อาจหนุนราคาทองคำ​ให้ดีดตัวขึ้น​ในอนาคตอัน​ใกล้ อาทิ สถาน​การณ์ทาง​การ​เมือง​ในอียิปต์ที่อยู่​ในภาวะตึง​เครียด​และ​ไร้​เสถียรภาพ อุปสงค์ทองคำจากตะวันออกกลาง​และ​แอฟริกา​เหนือ วิกฤตหนี้ยู​โร​โซน ​และอุปสงค์ทองคำจากจีนหากราคาทองคำร่วงลง​แตะ 1,200 ดอลลาร์/ออนซ์

อิน​โฟ​เควสท์ ​แปล​และ​เรียบ​เรียง​โดย รัตนา พงศ์ทวิช ​โทร.02-2535000 ต่อ 327 อี​เมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

http://www.ryt9.com/s/iq03/1688245

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บาทอ่อนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีมากของสหรัฐ

 

updated: 08 ก.ค. 2556 เวลา 18:30:55 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของตลาดเงินปริวรรตประจำวันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 31.34/36 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าลงอย่างมากจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (5/7) ที่ระดับ 31.13/15 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักคือ ตัวเลขเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นของสหรัฐในคืนวันศุกร์ ทั้งตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐในเดือนมิถุนายน ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 195,000 ตำแหน่ง สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 165,000 ตำแหน่ง ในขณะที่ตัวเลขอัตราว่างงานของสหรัฐในเดือนมิถุนายนยังคงรักษาระดับไว้อยู่ที่ 7.6% ใกล้เคียงกับระดับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 7.5% ซึ่งตัวเลขเศรษฐกิจที่ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นของสหรัฐนี้ ได้เพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุนเกี่ยวกับการที่ธนาคารกลางสหรัฐจะชะลอมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (Quantitative Easing : QE) ในปลายปีนี้เพิ่มขึ้น โดยค่าเงินสกุลดอลลาร์ได้ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินหลัก โดยสำหรับค่าเงินบาทเองได้ปรับตัวอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 10 เดือน ที่ระดับ 31.50 บาท/ดอลลาร์ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนเฝ้าติดตามในสัปดาห์นี้คือ การประชุมคณะกรรมการนโยบายดอกเบี้ย (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในวันพุธที่จะถึงนี้ (10/7) โดยในระหว่างวันค่าเงินบาทมีกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 31.33-31.50 บาท/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ 31.43/45 บาท/ดอลลาร์

 

ส่วนค่าเงินยูโรเปิดตลาดที่ระดับ 1.2825/27 ดอลลาร์/ยูโร ปรับตัวอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (5/7) ที่ระดับ 1.2872/74 ดอลลาร์/ยูโร โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ค่าเงินยูโรปรับตัวอ่อนค่าลงได้แก่ การปรับตัวแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงของประเทศในกลุ่มยูโรโซน และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการให้วงเงินช่วยเหลือยอดใหม่มูลค่า 8.1 พันล้านยูโรของกลุ่มเจ้าหนี้ทรอยก้าให้กับประเทศกรีซ โดยในวันศุกร์ที่ผ่านมา ยอดคำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน (Factory Orders) ของเยอรมันในเดือนพฤษภาคมได้ปรับตัวลดลง 1.3% จากที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวที่ 1.2% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และตัวเลขดุลการค้าของฝรั่งเศสในเดือนพฤษภาคมได้ปรับตัวขาดดุลเพิ่มขึ้น 6 พันล้านยูโร เพิ่มมากขึ้นจากระดับเดิมในเดือนเมษายนที่ 4.5 พันล้านยูโร นอกจากนี้ ในช่วงบ่ายตัวเลขดุลการค้าของเยอรมันได้ปรับตัวกินดุลลดลงจากระดับ 17.5 พันล้านยูโร ในเดือนเมษายน ลงมาอยู่ที่ระดับ 14.1 พันล้านยูโรในเดือนพฤษภาคม ซึ่งตัวเลขที่อ่อนแอของประเทศในกลุ่มยูโรโซนนี้กดดันค่าเงินยูโร และผลักดันให้ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวลงมาอยู่ในกรอบ 1.2811-1.2850 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 1.2847/50 ดอลลาร์/ยูโร

 

สำหรับค่าเงินเยนได้เปิดตลาดที่ระดับ 99.96/97 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (5/7) ที่ระดับ 101.35/36 เยน/ดอลลาร์ อันเนื่องมาจากการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์ ประกอบกับการที่นักลงทุนได้คาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan : BOJ) จะยังคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อให้ขึ้นสู่ระดับ 2% โดยระหว่างการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันพุธ และพฤหัสบดีนี้ (10/7-11/7) ซึ่งนอกเหนือจากที่ประชุมจะพิจารณานโยบายดอกเบี้ยแล้ว อาจจะมีการหารือเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และปัญหาในภาคการธนาคารของจีน เนื่องจากญี่ปุ่นถือว่าจีนเป็นคู่ค้าที่รายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น นอกจากนี้ ในระหว่างวันได้มีการประกาศตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นในเดือนพฤษภาคม ซึ่งขยายตัว 58.1% ต่ำกว่าระดับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 76.7% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ซึ่งได้ส่งผลให้ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 100.94-101.53 เยน/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 101.26/30 เยน/ดอลลาร์

 

ในสัปดาห์นี้ตลาดรอติดตามการเปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ตัวเลขดัชนีผลผลิตมวลรวมภายในประเทศของอังกฤษ (9/7) ตัวเลขดุลการค้าของประเทศญี่ปุ่น (10/7-11/7) ดัชนีราคาของผลิตในสหรัฐ และยอดผลผลิตอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศยูโรโซน (12/7)

 

อัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +5.6/5.9 สตางค์/ดอลลาร์ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) 1 เดือน ต่างประเทศอยู่ที่ +7.00/9.00 สตางค์/ดอลลาร์

 

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1373282928

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลุ้นทองครึ่งปีหลังมีสิทธิรีเทิร์น

  • 08 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:59 น.

A973431421B34418B98E9FCC809996FC.jpg

 

 

 

นักวิเคราะห์คาดราคาที่ร่วงลงหนักช่วยนักลงทุนซื้อทองราคาถูกแต่ราคาช่วงครึ่งปีหลังอาจปรับตัวแพงขึ้น

 

บลูมเบิร์กรายงานอ้างบรรดานักวิเคราะห์ว่า ราคาทองที่ดิ่งลงอย่างหนัก และอยู่ในภาวะขาลงเป็นครั้งแรกในรอบ 13 ปีนั้น อาจช่วยให้มีแรงซื้อกลับเข้ามา และทำให้สถานการณ์ราคาทองในช่วงครึ่งปีหลังดีดตัวกลับขึ้นมา โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ลงทุนในกองทุนทองคำ หลังจากที่มูลค่าร่วงลงทุบสถิติถึง 4.47 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงไตรมาส 2 นอกจากนี้ ยังคาดว่าจะเป็นเพราะแรงซื้อจากบุคคลทั่วไป เนื่องจากเทศกาลสำคัญในช่วงครึ่งปีหลังของหลายประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะอินเดียและจีน ซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุด

 

จากข้อมูลของบลูมเบิร์กระบุว่า ตลอดช่วงปี 1981 - 2000 ซึ่งทองอยู่ในช่วงขาลงของภาวะตลาดหมีนั้น ราคาทองซึ่งลดลงเฉลี่ย 3.9% ในช่วงครึ่งปีแรก จะฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลัง โดยมีราคาลดลงเฉลี่ย 1.3%

สำหรับในปี 2013 นักลงทุนได้เทขายสัญญาทองคำไปแล้วถึง 404.4 ตัน ซึ่งหลังจากที่ราคาทองเริ่มเข้าสู่ภาวะขาลงตั้งแต่เดือน เม.ย. ที่ผ่านมา

 

http://www.posttoday.com/

ถูกแก้ไข โดย Namchiang

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ป๋าคะ แล้วดอยแท่งควรรอปล่อยที่เท่าไหร่ดีคะ ขอความเห็นด้วยคะ ขอบคุณค่ะ

สำหรับคำถามว่า " ดอยแท่งควรรอปล่อยที่เท่าไหร่ " **** แค่ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ****

 

จากสิ่งที่ทุกวันทำในช่วงเช้า คือ " กราฟรหัส MACD 3 รหัสฯ คือ ระยะยาว 12,26,9 ระยะกลาง 5,35,9 และ ระยะสั้น 7,5,2 " การที่มีดอยทองแท่งในมือ และอยากที่จะเสี่ยงน้อยหน่อยในการขายออกไปก่อน แล้วรอซื้อคืนในราคาที่ต่ำกว่า ซึ่งจะถือว่า ส่วนต่างคือกำไร ( ต้นทุนดอย ) หรือ ลดต้นทุนดอย นั้น

 

------ ในตอนนี้ เวลานี้ ไม่ใช่เวลาที่จะสามารถขายก่อนได้ เพราะอะไร ? เพราะ ระยะกลาง รหัส 5,35,9 ชนกัน กำลังคิดว่า จะขึ้นหรือลง 50:50 ที่จะเลือกทาง หากมีข่าวฯ อะไรที่จะมากระตุ้นให้มีผลค่อราคาทอง และ ระยะสั้น รหัส 7,5,2 เส้นสีแดงอยู่ด้านบน ก็ต้องถือเสี่ยงลุ้นการขึ้นต่อของราคาทอง

 

----- เวลาไหน ที่น่าลุ้น ความเสี่ยงน้อยหน่อย ที่จะตัดใจขายทิ้ง รอซื้อคืนราคาต่ำ ที่มีความเชื่อเกินครึ่งว่า ราคาทอง Spot จะลดลง

เมื่อ 12,26,9 เส้นสีแดงที่อยู่บน ถ่างออกจากเส้นสีดำ อย่างมาก เมืี่อ 5,35,9 เส้นสีแดงที่อยู่บน ถ่างออกจากเส้นสีดำ อย่างมาก และ เมื่อ 7,5,2 เส้นสีแดงโผล่เห็นชัดแจ้งใต้เส้นสีดำ เมื่อ 3 อย่างประสานความคิดเห็นในแนวเดียวกัน ในทิศทางเดียวกัน **** น่าลุ้น *** ที่จะขายก่อน แล้วซื้อคืนภายหลัง

 

แต่ไอ้กรณีที่คุณฯ จะซื้อคืนนี่สิ การจะซื้อคืนมันต้องอยู่ที่การตัดสินใจที่ว่า ลดลงมาแล้ว ลดลงมาพอสมควร จะซืี้อคืน ซื้อกลับทันทีไหม คือ พอใจแล้ว เดี๋ยวกลัวมันจะขึ้นแล้ว " ตกรถ " ดังนั้น การซืี้อคืน ไม่มีจุดสังเกตุใดๆๆ ไม่สามารถดูที่กราฟรหัสฯ ใดๆ ได้เลย เพราะทั้ง 3 สัญญานฯ อาจจะส่งสัญญานซื้อ เมื่อราคาทองสูงกว่าที่คุณขายก่อน ก็ย่อมได้ เพราฉะนั้น ต้องพอใจตรงจุดซื้อกลับให้ได้ และคิดว่า เราพอใจแล้ว ที่ลดต้นทุนนั้นลงมาได้ และจึงรอรอบต่อไปใหม่ ราคาทองมีขึ้นมีลง มันขึ้นไป เดี๋ยวมันก็ลงมา

 

เขียนให้อ่าน จะ งง ตรงไหน ก็ถามมานะครับ แต่สิ่งนี้ คือความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ชัดเจนเช่นเคย ไม่ได้ถามป๋า

 

แต่เข้ามาอ่านวิเคราะห์ไปด้วย

 

ขอบคุณมาก ๆ ครับผม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แนวต้านแนวรับ วันนี้

 

แนวต้าน : 1236.5, 1241.5, 1246.5, 1251.5

แนวรับ : 1231.5, 1226.5, 1221.5, 1216.5, 1211.5

ราคาทองก็มาถึงจุดแนวต้าน 1251.5 และถึง เป้าหมาย ขา Long ของฝรั่งคือ 1250 แล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บางคนคงคิดว่า แล้วทั้ง 3 รหัส จะมีจังหวะที่จะเกิดแบบที่เด็กขายของกล่าวเหรอ หุหุ มีครับ 3 รหัสฯ ประสานทิศทางเดียวกัน การจะเกิดก็เมื่อมีข่าวฯ ที่ไม่เอื้อต่อขาซื้อ ทั้งดอลล์แข็งค่า / สถาบันฯ ชื่อดังออกมาลดอัตราการเจริญเติบโตประเทศ / การขายทำกำไรของบรรดาขาใหญ่ หรือ ขาย่อยบางครั้ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 31.43/45 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจากช่วงปิดตลาดเย็นวานนี้ แต่ยังคงเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค

 

"เปิดตลาดเช้านี้ทรงตัวนิ่งๆ ใกล้เคียงกับช่วงเย็นวานนี้...น่าจะรอดูผลประชุม กนง.วันพรุ่งนี้" นักบริหารเงิน กล่าว

 

ปัจจัยภายนอกเป็นเรื่องความคืบหน้าการดำเนินมาตรการ QE ของสหรัฐ ส่วนปัจจัยภายในรอผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ในวันพรุ่งนี้(10 ก.ค.)

 

นักบริหารเงินประเมินทิศทางเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 31.35-31.50 บาท/ดอลลาร์

 

"เงินบาทเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็วหลังดอลลาร์กลับมาปรับตัวแข็งค่าต่อเนื่อง"

 

 

* ปัจจัยสำคัญ

 

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 101.17/18 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 101.07 เยน/ดอลลาร์

 

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2857/2860 ดอลลาร์/ยูโร ทรงตัวในระดับเดียวกันกับช่วงเย็นวานนี้

 

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.วันนี้อยู่ที่ 31.4230 บาท/ดอลลาร์

 

- บล.เอเซียพลัส ประมาณการกำไรกลุ่มแบงก์งวดครึ่งปีแรกคาดโต 25% แตะระดับ 1.07 แสน ขณะที่กำไรจากการดำเนินงาน 1.28 แสนล้านบาท ส่วนไตรมาส 2 ปีนี้กำไรยังโต 26% และทำสถิติสูงสุด โดยเฉพาะ"ทุนธนชาต-เกียรตินาคิน-กรุงศรีฯ"เหตุรายได้ดอกเบี้ยสุทธิขยับ ยอดสินเชื่อสุทธิเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มทั้งเอกชนและเอสเอ็มอี ประเมินแนวโน้มครึ่งปีหลังโตต่อเนื่อง หวังโครงการลงทุนรัฐช่วยดัน

 

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแม้สถาบันการเงินต่างชาติบุกไทย มั่นใจแบงก์ไทยแข่งแกร่งรองรับการแข่งขันสูงขึ้นได้ ไม่จำเป็นควบรวมกิจการหรือหาพันธมิตรต่างชาติใหม่ ส่วนการสยายปีกออกไปนอกประเทศควรหนักแน่นและค่อยๆ แนะควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ให้มีประสิทธิภาพมากกว่าหาของใหม่เข้าสู่ระบบ

 

- นายชาติศิริ โสภณพนิช ประธานสมาคมธนาคารไทยและประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะยังเติบโตได้ 4.5-5% แม้ว่าในช่วงครึ่งปีหลังนี้ไทยจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านการส่งออกที่อาจชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและต้องเผชิญความเสี่ยงในด้านตลาดเงินและตลาดทุนที่จะเข้าสู่ภาวะผันผวน ตามการส่งสัญญาณเปลี่ยนแนวทางการดูแลเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่ เช่นสหรัฐและจีน

 

- ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้(8 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสกุลเงินดอลลาร์พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในสัปดาห์ที่แล้ว โดยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 100.98 เยน จากระดับของวันศุกร์ที่ 101.18 เยน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9634 ฟรังค์ จากระดับ 0.9636 ฟรังค์

 

ขณะที่สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.2875 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2831 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.4949 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.4901 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 0.9142 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9066 ดอลลาร์สหรัฐ

 

- ตลาดหุ้นยุโรปปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้(8 ก.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะยังคงฟื้นตัว นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากข่าวที่ว่า พรรคการเมืองของโปรตุเกสได้บรรลุข้อตกลงเพื่อจัดตั้งรัฐบาลร่วม

 

- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้(8 ก.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาดูรายงานผลประกอบการของบริษัทเอกชน รวมถึงอัลโค อิงค์ ซึ่งจะเปิดเผยผลประกอบการหลังจากที่ตลาดปิดทำการซื้อขายแล้ว

 

- ดัชนี FTSE ตลาดหุ้นลอนดอนปิดพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนเมื่อคืนนี้ (8 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าเศรษฐกิจอังกฤษจะฟื้นตัวแข็งแกร่งและราคาหุ้นในปัจจุบันถือเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาด

 

- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้(8 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเพื่อเก็งกำไร หลังจากสัญญาทองคำดิ่งลงไปกว่า 3% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX(Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน ส.ค.พุ่งขึ้น 22.2 ดอลลาร์ หรือ 1.83% ปิดที่ 1,234.9 ดอลลาร์/ออนซ์

 

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส(WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (8 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบ WTI ขยับลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับตัวเลขจ้างงานที่สูงเกินคาดของสหรัฐ โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ส.ค.ลดลง 8 เซนต์ ปิดที่ 103.14 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 102.13-104.12 ดอลลาร์ ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์(BRENT) ส่งมอบเดือน ส.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 29 เซนต์ ปิดที่ 107.43 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน(NBS) เผยดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI) ของจีน ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สำคัญ ขยายตัว 2.7% ในเดือน มิ.ย.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 2.1% ในเดือน พ.ค ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต(PPI) ของจีน ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อระดับค้าส่ง ปรับลดลง 2.7% ในเดือน มิ.ย.เมื่อเทียบรายปี เมื่อเทียบกับที่ลดลง 2.9% ในเดือน พ.ค.

 

- สมาคมแลกเปลี่ยนทองคำและเงินของจีน เผยราคาทองคำที่ตลาดฮ่องกงพุ่งขึ้น 100 ดอลลาร์ฮ่องกง เปิดที่ระดับ 11,530 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตำลึงในวันนี้ หรือเทียบเท่ากับ 1,247.23 ดอลลาร์สหรัฐ/ทรอยออนซ์ เพิ่มขึ้น 10.82 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 9 กรกฎาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส

 

- ทองดีดตัวทางเทคนิคหลังร่วงหนักสัปดาห์ก่อน

 

- SPDR ถือทองลดลง 15.03 ตัน

 

- ระวังแรงขายหากหลุดแนวรับ 1,215 ดอลลาร์

 

- ราคาทองคำเริ่มฟื้นตัวขึ้นในการซื้อขายช่วงค่ำโดยได้รับปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ซึ่งแข็งค่าขึ้นมากในการซื้อขายช่วงปลายสัปดาห์ก่อน การรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐเป็นประเด็นที่ทำให้มีแรงซื้อเก็งกำไรในตลาดหุ้นและส่งผลให้ตลาดทองคำยังมีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลง

 

- เงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นเป็นปัจจัยลบกดดันการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ และคาดว่ายังมีแนวโน้มที่เงินทุนจะเคลื่อนย้ายกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นและตลาดสินทรัพย์เสี่ยงในสหรัฐ ส่วนทองคำและสินทรัพย์ปลอดภัยอื่นๆยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ของสหรัฐปรับตัวขึ้นค่อนข้างมาก สะท้อนความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยที่ลดน้อยลง

 

- ราคาทองคำในภาพรวมยังคงมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงต่อ แต่ด้วยในการซื้อขายช่วงปลายสัปดาห์ก่อนราคาปรับตัวลงมามาก ในระยะสั้นจึงอาจมีการดีดตัวทางเทคนิคเกิดขึ้นก่อนที่จะปรับตัวลงต่อ รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐครั้งหลังสุดยังเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองรวมทั้งตราสารการเงินอื่นๆ โดยจะมีการเปิดเผยรายงานดังกล่าวในวันพฤหัสนี้

 

- ราคาทองฟื้นตัวขึ้นมาปิดที่บริเวณ 1,240 ดอลลาร์ หากขึ้นไปยืนเหนือแนวต้านบริเวณนี้ได้ ก็จะเป็นสัญญาณซื้อสำหรับเก็งกำไรการฟื้นตัวขึ้นสู่แนวต้านบริเวณ 1,250 และ 1,270 ดอลลาร์ ต่อไป ส่วนแนวรับของวันอยู่ที่บริเวณ 1,210-1,215 ดอลลาร์ และคาดว่าจะมีแรงขายกลับออกมามากในกรณีที่ไม่สามารถยืนเหนือแนวรับบริเวณนี้และราคาจะปรับตัวลงสู่แนวรับบริเวณ 1,180 ดอลลาร์ ต่อไป

 

- ราคาโลหะเงินปรับตัวลงค่อนข้างแรงในการซื้อขายช่วงปลายสัปดาห์ก่อน จึงเริ่มมีการดีดตัวทางเทคนิคเกิดขึ้น แต่ยังคงต้องระวังแรงขายที่คาดว่าจะมีกลับออกมามากหากราคากลับอ่อนตัวลงไปต่ำกว่าแนวรับบริเวณ 18.50-18.60 ดอลลาร์ รวมทั้งกรณีที่ไม่สามารถผ่านแนวต้านบริเวณ 19.20 ดอลลาร์ ขึ้นไปได้

 

โกลด์ฟิวเจอร์สเดือนส.ค.56

 

Close chg. Support Resistance

 

18,500 +110.00 18,300/18,000 18,600/18,700

 

ราคาทองคำฟื้นตัวกลับขึ้นมาเคลื่อนไหวที่แนวต้านบริเวณ 1,240 ดอลลาร์ และยังคาดว่ายังมีแนวโน้มที่ราคาจะอ่อนตัวลงต่อ จึงสามารถเลือกเปิดสถานะขายจากแนวต้านดังกล่าว โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนอยู่ที่บริเวณ 1,250 ดอลลาร์

 

ซิลเวอร์ฟิวเจอร์สเดือนส.ค.56

 

Close chg. Support Resistance

 

610 - 600/590/550 630/690/710/725

 

ราคาโลหะเงินดีดตัวขึ้นมาเคลื่อนไหวที่แนวต้านบริเวณ 19.20-19.30 ดอลลาร์ หากสามารถผ่านแนวต้านบริเวณนี้ขึ้นไปได้ ควรปิดสถานะขายออกไปก่อน และอาจกลับมาเลือกเปิดสถานะซื้อเก็งกำไรการฟื้นตัวกลับขึ้นสู่แนวต้านบริเวณ 19.90-20.0 ดอลลาร์ แต่กรณีที่ราคากลับอ่อนตัวลงไปต่ำกว่าแนวรับบริเวณ 18.60 ดอลลาร์ คาดว่าจะมีแรงขายกลับออกมามาก และสามารถเลือกถือครองสถานะขายเก็งกำไรต่อไป

 

ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 9 กรกฎาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป็นเรื่องที่ต้องจับตามองไม่น้อย สำหรับความเคลื่อนไหวของการกำหนดนโยบายการเงินของเอเชียในขณะนี้ โดยเฉพาะจีน ที่เริ่มจะหันมาเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อในระบบการเงินและสถาบันการเงินของตนเองด้วยการปฏิเสธที่จะเข้าแทรกแซงในระบบการเงิน จนมีส่วนสำคัญในการทำให้อัตราสินเชื่อกู้ยืมระหว่างธนาคารและสถาบันการเงินแดนมังกรในช่วงกลางเดือนที่ผ่านมาพุ่งขึ้นเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่ระดับมากกว่า 13%

 

แม้ว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะถูกมองว่าภาวะสินเชื่อในจีนที่กำลังเกิดภาวะตรึงตัวอย่างหนักกำลังจะกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เข้ามาบั่นทอนเป้าการเติบโตของเศรษฐกิจแดนมังกรในปีนี้ให้น้อยลงกว่าที่ตั้งเป้าไว้

 

ทว่าการส่งสัญญาณดังกล่าวก็เป็นการบ่งบอกนัยๆ แล้วว่า รัฐบาลจีน รวมถึงผู้กำหนดนโยบายการเงินกำลังต้องการที่จะส่งสัญญาณว่าต้องการมอบบทเรียนสำคัญในการสั่งสอนและจัดการกับกลุ่มสถาบันการเงินนอกระบบ หรือธนาคารเงา (Shadow Banking) ให้รู้จักกับการบริหารความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อบ้าง

 

เนื่องจากที่ผ่านมา ธนาคารเหล่านี้ล้วนแต่อาศัยพึ่งพิงกับเงินกู้ต้นทุนต่ำที่หาได้ง่ายจากธนาคารของรัฐมากเกินไป จนติดกลายเป็นนิสัยในการปล่อยกู้อย่างไร้คุณภาพ เพราะรู้ว่ายังไงเสียก็สามารถเข้าถึงเงินกู้จากรัฐได้อย่างง่ายดายอยู่แล้ว และมีส่วนสำคัญในการก่อให้เกิดปัญหาหนี้เสียในจีนพุ่งสูงขึ้นอย่างหนัก ซึ่งมีการประเมินกันว่าหนี้เสียทั้งภาคครัวเรือนและภาครัฐในจีนมีมากถึง 202% ของจีดีพีเลยทีเดียว

 

ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเฉพาะแค่ในจีนเท่านั้นที่กำลังเริ่มหันมาเข้มงวดกับการดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อหวังลดการบิดเบือนของกลไกตลาด แต่หลายๆ ประเทศในเอเชียขณะนี้ต่างก็กำลังเริ่มนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ด้วย แม้ว่าปัญหาจะไม่คล้ายคลึงกันไปเสียทั้งหมดก็ตาม

 

เนื่องจากเมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารกลางของมาเลเซียก็เพิ่งจะได้หันมาออกมาตรการคุมเข้มทางการเงินด้วยการลดระยะเวลาการผ่อนชำระสินเชื่อของบุคคลธรรมดาและเงินกู้จำนอง เพื่อไปซื้ออสังหาริมทรัพย์จากเดิม 25 ปี ลงมาเหลือที่ 10 ปี ขณะที่เงินกู้ซื้อบ้านและอสังหาริมทรัพย์ลดระยะเวลาการผ่อนชำระจาก 45 ปี ลงมาเหลืออยู่ที่ 35 ปีเท่านั้น เพื่อมุ่งหวังที่จะลดปัญหาการขยายตัวของหนี้ครัวเรือนในแดนเสือเหลืองช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่โตขึ้นในแต่ละปีถึง 12%

 

ขณะที่หนี้สินในทุกส่วนทั้งภาครัฐและครัวเรือนของมาเลเซียก็พุ่งทะยานขึ้นใกล้ที่จะแตะระดับ 250% ของจีดีพีในประเทศแล้ว ขณะที่ปี 1990 ยังอยู่ที่ระดับ 150% ของจีดีพี

 

นอกจากนี้ มาตรการการเงินที่เข้มงวดดังกล่าวยังมีจุดมุ่งหมายไปถึงการสกัด และเป็นการตัดไฟเสียตั้งแต่ต้นลมสำหรับความเสี่ยงของภาวะฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์ในดินแดนเสือเหลืองอีกด้วย

 

“มาตรการดังกล่าวถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อระบบเศรษฐกิจของมาเลเซียเอง เพราะจะเป็นการป้องกันปัญหาฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตก ในขณะที่ภาคครัวเรือนก็จะยังสามารถใช้จ่ายจากการกู้ยืมได้ต่อไป” วันซูไฮมิ ไซดี นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารเพื่อการลงทุนเคนันกา กล่าว

 

ขณะที่เมื่อเดือนที่ผ่านมา ผู้กำหนดนโยบายการเงินของสิงคโปร์ ก็เพิ่งจะออกมาตรการคุมเข้มปัญหาฟองสบู่ในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ด้วยการกำหนดว่าค่าผ่อนชำระซื้อบ้านต้องไม่เกินกว่า 60% ของรายได้ในแต่ละเดือน ซึ่งมาตรการดังกล่าวนี้มีขึ้นหลังจากที่ราคาบ้านในแดนลอดช่องในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ได้พุ่งทะยานขึ้นถึง 0.8% ขณะที่ไตรมาสก่อนหน้านั้นเพิ่มขึ้น 0.6%

 

ทั้งนี้ นอกเหนือจากทั้ง 3 ประเทศดังกล่าวที่เริ่มหันมาคุมเข้มนโยบายการเงินแล้ว อีกหนึ่งประเทศที่ดูเหมือนว่ากำลังจะหันมาใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นเหมือนกัน นั่นก็คือ “อินโดนีเซีย” แม้ว่าเหตุผลและที่มาของปัญหาจะไม่เหมือนกับกรณีของ 3 ประเทศแรกในข้างต้นก็ตาม

 

สาเหตุที่ทำให้อินโดนีเซีย ซึ่งเพิ่งจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีไปเมื่อเดือนที่ผ่านมา ก็เนื่องจากแดนอิเหนากำลังเผชิญกับแรงกดดันจากปัญหาเงินทุนไหลทะลักออกอย่างหนัก จนส่งผลสะเทือนไปยังค่าเงิน ผลตอบแทนพันธบัตร อย่างหนัก ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการคาดการณ์กันว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กำลังเตรียมที่จะลดนโยบายอัดฉีดทางการเงินในปลายปีนี้

 

เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย อ่อนค่าลง 0.1% มาอยู่ที่ 9,951 รูเปียต่อเหรียญสหรัฐ ส่วนผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของอินโดนีเซียก็พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบมากกว่า 2 ปี ที่ 7.8%

 

นอกจากนี้ ผลจากการเข้าแทรกแซงในอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อพยุงค่าเงินรูเปียของแบงก์ชาติอินโดนีเซียอย่างหนัก ก็ทำให้เงินทุนสำรองของประเทศเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ลดลงมาเหลืออยู่ที่ 9.81 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมในเดือน พ.ค. ที่ 1.05 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปัจจัยนี้นักวิเคราะห์คาดการณ์กันว่าจะเป็นตัวเร่งให้ธนาคารกลางแห่งแดนอิเหนาต้องตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างแน่นอน ทั้งๆ ที่เพิ่งจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นมาอยู่ที่ 6% ได้เพียงแค่เดือนเดียวเท่านั้น

 

ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก คาดการณ์กันว่า การประชุมผู้กำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางอินโดนีเซียในวันที่ 11 ก.ค.นี้ จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ขึ้นมาอยู่ที่ 6.25%

 

ไม่ใช่เพียงแต่อินโดนีเซีย ที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากภาวะเงินทุนไหลออก และจำเป็นต้องหันมาเตรียมดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น เพราะธนาคารเพื่อการลงทุนโนมูระจากญี่ปุ่น ระบุว่า ขณะนี้หลายประเทศในเอเชียกำลังกดอัตราดอกเบี้ยและดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นระยะเวลานานเกินไปแล้ว และกำลังเสี่ยงที่จะนำพาประเทศไปสู่กับดักเหมือนในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 1997 อีกด้วย

 

ดังนั้น โนมูระจึงเสนอแนะให้ผู้กำหนดนโยบายการเงินในเอเชียเตรียมตั้งรับ และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่มีความเป็นไปได้สูงว่าธนาคารกลางสหรัฐ อาจลดการใช้นโยบายการอัดฉีดทางการเงินด้วยการเข้าซื้อสินทรัพย์เดือนละ 8.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปลายปีนี้เริ่มแน่ชัดแล้ว

 

จึงนับเป็นโจทย์นโยบายการเงินที่ท้าทายสำหรับเอเชียที่จะต้องจัดการรับมือ และเร่งตัดสินใจก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (วันที่ 9 กรกฎาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานอาวุโสหอการค้าไทย เปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในปัจจุบันมองว่าอยู่ในระดับที่ดีพอสมควร หลังจากที่ต้นปีค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐค่อนข้างมาก และมากกว่าคู่แข่ง แต่ในปัจจุบันค่าเงินบาทเริ่มปรับตัวอ่อนค่าลงมา โดยรวมค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมา 2% นับจากเดือนมกราคมถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวในระดับเดียวกับประเทศคู่แข่งทางการค้าอื่นๆ แต่ก็ติดตามเรื่องนี้ตลอดเวลา ทั้งนี้ มาตรการและแนวทางในการดูแลเรื่องค่าเงินของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถทำได้ดีมาก โดยในครึ่งปีหลังจะเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจที่จะมีการขายสินค้าได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 4

 

 

นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์รายหนึ่งเปิดเผยว่า ค่าเงินบาท ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2556 เปิดตลาดที่ 31.32-31.34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากปลายสัปดาห์ก่อนที่ปิดตลาดในระดับ 31.13-31.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการอ่อนค่าจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่ออกมาดี ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้น เนื่องจากเป็นการตอกย้ำเรื่องการคาดการณ์ที่จะชะลอมาตรการคิวอีของสหรัฐ โดยค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่า ค่าเงินบาทอ่อนค่าสุดที่ระดับ 31.49 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าในรอบ 10 เดือน อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 31.44-31.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

 

ที่มา : มติชนออนไลน์ (วันที่ 8 กรกฎาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประเทศเจ้าหนี้ได้ข้อสรุปการตรวจสอบทางเทคนิคด้านการปฏิรูปของกรีซ เปิดทางสำหรับการจ่ายเงินจำนวน 8,100 ล้านยูโร ในการให้ความช่วยเหลือก้อนใหม่

 

ในรายงานที่ออกมานั้น ผู้ตรวจสอบจากทรอยก้า ซึ่งประกอบไปด้วย คณะกรรมาธิการยุโรป ธนาคารกลาง และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ระบุว่ากรีซมีความก้าวหน้า ในการเคลื่อนไหวเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของการรับความช่วยเหลือทางการเงิน แต่ยังเรียกร้องให้มีการดำเนินการมากขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่วางไว้

 

ผู้ตรวจสอบ กล่าวด้วยว่า เจ้าหน้าที่กรีซยอมรับถึงการปรับปรุงการดำเนินงาน เพื่อรับประกันให้ได้งบประมาณตามเป้าที่วางไว้สำหรับปี 2556/2557 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมีการดำเนินมาตรการที่แข็งแกร่ง มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อควบคุมการจ่ายใช้จ่ายที่มากเกินไปในภาคสาธารณสุข

 

ทรอยก้า ยังบอกว่า แนวโน้มเศรษฐกิจกรีซโดยรวมแล้วยังสอดคล้องกับการคาดการณ์ และเศรษฐกิจน่าจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในปีหน้า

 

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะว่ากรีซควรจะได้รับเงินช่วยเหลือรอบต่อไปโดยแบ่งชำระเป็นงวดๆ กรีซจำเป็นจะต้องซื้อคืนพันธบัตรมูลค่า 6,600 ล้านยูโรภายในกลางเดือนสิงหาคมนี้ และเงินช่วยเหลือก้อนใหม่จำนวน 8,100 ล้านยูโรให้กับกรีซนั้นจะได้จากอียูจำนวน 6,300 ล้านยูโร ส่วนที่เหลือจะมาจากไอเอ็มเอฟ

 

เจ้าหน้าที่กรีซกล่าวว่า กรีซใกล้จะบรรลุข้อตกลงกับกลุ่มเจ้าหนี้ทรอยกาเกี่ยวกับมาตรการปฏิรูปชุดใหม่เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือ ซึ่งรวมทั้งการลดตำแหน่งงานหลายพันอัตราในภาครัฐ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 9 กรกฎาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไอเอ็มเอฟชี้ การปรับลดงบประมาณของสหรัฐ เป็นมาตรการที่ไม่เหมาะสม เรียกร้องรัฐบาลวอชิงตัน นำเสนอแผนการคลังที่มีความน่าเชื่อถือ

 

นางคริสติน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวว่า การปรับลดงบประมาณของสหรัฐ เป็นมาตรการที่ไม่เหมาะสม และอาจสร้างแรงกดดันต่อการขยายตัว พร้อมเรียกร้องรัฐบาลวอชิงตัน นำเสนอแผนการคลังที่มีความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ สหรัฐต้องเจอกับการปรับงบใช้จ่ายของรัฐบาลโดยอัตโนมัติ หรือที่รู้จักกันว่า ซีเควสเตรชั่น เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพราะสภาคองเกรสไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ในทางเลือกอื่น

 

นางลาการ์ด ระบุว่า วิธีการจัดทำงบประมาณที่ใช้ในสหรัฐ ซึ่งนำไปสู่การรัดเข็มขัดทางการคลัง ดูเหมือนว่าจะไม่เหมาะสมเท่าใดนัก เนื่องจากส่งผลกระทบกับงบรายจ่ายที่มีความสำคัญต่อการเติบโตในระยะกลางและระยะยาว

 

ท่าทีดังกล่าวของนางลาการ์ดสะท้อนจุดยืนของไอเอ็มเอฟเมื่อเดือนก่อนที่ระบุว่า การลดการขาดดุลงบประมาณในปี 2556 มีมากเกินความจำเป็น และขาดการวางแผนอย่างรัดกุม ทั้งในรายงานการตรวจสอบสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐที่ออกมาก่อนหน้านี้ ไอเอ็มเอฟยังคาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะซบเซาอยู่ที่ 1.9% ในปีนี้ โดยชี้ว่า อัตราการขยายตัวของสหรัฐในปีนี้จะสูงกว่านี้อีก 1.75 % ถ้าหากไม่มีการเร่งปรับลดการขาดดุลงบประมาณ

 

แม้ว่าการตัดลดงบประมาณ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา จะดูเหมือนไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อการจ่ายเงินเดือนข้าราชการโดยตรง แต่บรรดานักเศรษฐศาสตร์บางคนกล่าวว่า การตัดลดงบประมาณเป็นภาระต่อนายจ้างเอกชน และเป็นสาเหตุหนึ่งของการชะลอตัวในการจ้างงานในภาคการดูแลสุขภาพ และสังคมสงเคราะห์

 

นางลาการ์ด ยังเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐ รวมถึงญี่ปุ่น จัดทำมาตรการฉบับใหม่ เพื่อลดภาระหนี้ของแต่ละราย

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุัรกิจ (วันที่ 8 กรกฎาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...