ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

แม้เศรษฐกิจยูโรโซนจะมีทิศทางฟื้นตัวจากภาวะถดถอย แต่ปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่อัตราว่างงานสูง การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่อ่อนแอ ตลอดจนความลำบากในการเข้าถึงสินเชื่อของภาคธุรกิจยังคงอยู่ และเวลานี้ค่าเงินยูโรที่แข็งขึ้นอย่างรวดเร็วกำลังเป็นภัยคุกคามต่อการส่ง ออก

 

เดอะ วอลล์ สตรีต เจอร์นัล ระบุว่า หากการส่งออกของยูโรโซนไม่สามารถขยายตัวได้จากผลของค่าเงินยูโรที่แข็งค่า ขึ้น เศรษฐกิจในภูมิภาคที่กำลังฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ เสี่ยงที่จะกลับฟุบลงอีกครั้ง ขณะที่การแข็งค่าของเงินยูโรสร้างความลำบากใจให้กับธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่พยายามประคองการฟื้นตัวที่เปราะบางด้วยการตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับ ต่ำ ซึ่งค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นจะเป็นอุปสรรคต่อความพยายามดังกล่าว

รัฐบาลฝรั่งเศสซึ่งในอดีตที่ผ่านมามักจะสนับสนุนการแทรกแซงค่าเงินที่แข็ง ค่าขึ้น ส่งสัญญาณเตือนถึงปัญหาดังกล่าว พร้อมกับเรียกร้องให้อีซีบีหามาตรการแก้ปัญหา

ค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นมีโอกาสจะแสดงให้เห็นความเหลื่อมล้ำระหว่างเศรษฐกิจ ของยุโรปเหนือและใต้อีกครั้ง โดยธุรกิจในยุโรปใต้จะมีช่องทางในการขึ้นราคาและลดต้นทุนได้น้อยกว่าภาคการ ส่งออกในเยอรมนี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าระดับพรีเมียม เช่น รถยนต์หรูและผลิตภัณฑ์เฉพาะทางด้านวิศวกรรม

เปาโล วาซ ประธานสมาคมเสื้อผ้าและสิ่งทอของโปรตุเกส กล่าวว่า "การเพิ่มขึ้นของค่าเงินยูโรกลายมาเป็นฝันร้ายของบริษัทส่งออกของเรา" ทั้งนี้สิ่งทอคิดเป็นสัดส่วนการส่งออก 9% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของโปรตุเกส วาซ กล่าวว่า สมาชิกของสมาคมต่างหันไปหาลูกค้าจากภายนอกภูมิภาคเข้ามาแทนที่ความต้องการ ภายในยุโรปที่อ่อนแอ "ค่าเงินยูโรยังไม่แตะระดับสูงสุดในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แต่เราควรมีค่าเงินที่มีความสมดุลมากขึ้น หมายถึงต่ำกว่า 1.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างต่อเนื่อง" วาซกล่าว

ค่าเงินยูโรซึ่งปรับเพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีในช่วงปลายสัปดาห์ และคงตัวอยู่ในระดับดังกล่าวแม้ว่าข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อประจำ เดือนตุลาคม ซึ่งเป็นตัวชี้วัดกิจกรรมของภาคธุรกิจ จะลดลงจากเดือนกันยายนเล็กน้อยมาอยู่ที่ 51.5 ต่ำกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ก็ตาม

ไม่เพียงแต่การแข็งค่าของเงินยูโรจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน ของภาคการส่งออกของยูโรโซน แต่ยังส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดต่ำลง กระทบผลกำไรของภาคธุรกิจและภาคการบริโภค เนื่องจากผู้บริโภคอาจชะลอการซื้อสินค้าเพื่อรอให้ราคาลดต่ำลงมา อัตราเงินเฟ้อของราคาสินค้าสำหรับผู้บริโภคอยู่ที่ 1.1% ในเดือนกันยายน ต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ของอีซีบีอยู่มาก

อีซีบีกล่าวอยู่เสมอว่าไม่มีการตั้งเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ดีธนาคารมีเครื่องมือที่จะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันต่อค่าเงินยูโร อาทิ ลดอัตราดอกเบี้ย หรือมาตรการปล่อยกู้ใหม่ กระนั้นนักวิเคราะห์เตือนว่าเครื่องมือของอีซีบีไม่สามารถแก้ปัญหาค่าเงิน ได้ในระยะยาว เพราะแม้ว่าอีซีบีจะตรึงดอกเบี้ยไว้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% แต่ธนาคารกลางอื่นๆ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยังอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ค่า เงินอ่อนตัว

ปัจจุบันเฟดซื้อพันธบัตรเป็นมูลค่า 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนเพื่อรักษาอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดีกฎของอีซีบีห้ามไม่ให้ธนาคารให้เงินกับรัฐบาลโดยตรง ทำให้อีซีบีพิจารณาใช้มาตรการในลักษณะเดียวกันได้ยาก อีกทั้งมาตรการลักษณะดังกล่าวมีโอกาสสูงที่จะถูกต่อต้านจากเยอรมนี

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 12 พย.56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พรรครีพับลิกันยังไม่ยอมอ่อนข้อให้ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ในการเจรจาเงื่อนไขเพื่อผ่านร่างงบประมาณและเพิ่มเพดานหนี้ให้ทันก่อนเส้น ตายต้นตุลาคม เพิ่มความเสี่ยงที่หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ อาจต้องหยุดทำงานหากทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้

 

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ในการเจรจาเพื่อเพิ่มเพดานกู้ยืมของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรครีพับลิกันยื่นข้อเสนอแลกเปลี่ยนต่อ ประธานาธิบดีบารัก โอบามา โดยนอกจากจะเรียกร้องให้นายโอบามาเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายประกันสุขภาพ หรือ "โอบามาแคร์" ออกไปอีก 1 ปีแล้ว ยังต้องการให้มีการปฏิรูปมาตรการภาษี กฎหมายด้านพลังงาน รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายที่สมาชิกพรรคเดโมแครตปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุน

ขณะที่ประธานาธิบดีโอบามากล่าวว่า จะไม่ยอมเจรจาเรื่องเพดานหนี้ไม่ว่าจะกรณีใดๆ ทั้งนี้กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้แจ้งต่อสภาครองเกรสว่ารัฐบาลจะมีเพดานกู้ยืมไปจนถึงวันที่ 17 ตุลาคม หลังจากนั้นถ้าไม่มีการเพิ่มเพดาน รัฐบาลสหรัฐฯ จะผิดนัดชำระหนี้

ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายการเมืองทั้ง 2 ขั้วในเรื่องเพดานหนี้ทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการผ่านร่างงบประมาณ ประจำปีของสหรัฐฯ ให้ทันภายในวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งหากไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณได้ หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องหยุดทำการ

วุฒิสภาสหรัฐฯ ซึ่งพรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมาก มีกำหนดลงมติครั้งสำคัญเพื่อรับร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวในวันศุกร์ (27 ก.ย.) เพื่อให้หน่วยงานรัฐมีงบประมาณสำหรับใช้จ่ายไปจนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน อย่างไรก็ดี นายจอห์น เบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรจากพรรครีพับลิกันกล่าวเตือนว่า สมาชิกพรรครีพับลิกันซึ่งครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรจะไม่ยอมรับร่าง กฎหมายดังกล่าวที่คาดว่าจะผ่านวุฒิสภา

ในกรณีที่สภาคองเกรสไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณได้ทันกำหนด หน่วยงานรัฐ อาทิ สำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) และกระทรวงต่างๆ จะต้องจำกัดการดำเนินงานในวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ ขณะที่การจ่ายเงินประกันสังคมอาจเกิดการล่าช้าเนื่องจากไม่มีคนทำงาน

การงัดข้อระหว่างฝ่ายการเมืองในเรื่องการเพิ่มเพดานหนี้จาก 16.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้นายดั๊ก เอลเมนดอร์ฟ หัวหน้าสำนักงานงบประมาณแห่งสภาคองเกรสออกมากล่าวเตือนว่า "การผิดนัดชำระหนี้ใดๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ จะเป็นการเดิมพันที่อันตราย" ด้านนายแจ๊ค ลูว์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ประวัติศาสตร์ที่ซ้ำรอยการเจรจาเพิ่มเพดานหนี้เมื่อปี 2554 จะส่งผลเสียหายอย่างหนักต่อเศรษฐกิจ และหากรัฐบาลไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นหายนะ

รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้จ่ายเงินถึงเพดานกู้ยืม 16.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม นับตั้งแต่นั้นรัฐบาลอาศัยมาตรการพิเศษ เช่น ระงับการลงทุนในกองทุนสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อเพิ่มช่องว่างการกู้ยืม อีกประมาณ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เมื่อถึงวันที่ 17 ตุลาคม รัฐบาลจะเหลือเพียงแค่เงินสดในมือเพื่อใช้จ่ายหนี้ ซึ่งลูว์เตือนว่าจะเป็นเวลาอีกไม่นานที่รัฐบาลจะไม่มีเงินพอสำหรับใช้จ่าย นักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในตลาดการเงินกล่าวว่าหากเกิดเหตุการณ์ดัง กล่าว ตลาดหุ้นทั่วโลกจะดิ่งลงอย่างรุนแรง และนักลงทุนจะเรียกร้องผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น สร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประเมินว่า แม้ในกรณีที่การผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกลดลงประมาณ 0.5% ในสภาวะที่การฟื้นตัวเป็นไปอย่างเปราะบาง โดยยุโรปเพิ่งมีสัญญาณว่ากำลังฟื้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นเวลา 2 ปี ขณะที่การเติบโตในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อ่อนแอลง

ในรายงานเมื่อเดือนกรกฎาคม ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโต 2.7% ในปีนี้ โดยเชื่อว่าสภาคองเกรสและรัฐบาลสหรัฐฯ จะบรรลุข้อตกลงในการลดการขาดดุลระยะสั้นและเรื่องเพดานหนี้ อย่างไรก็ดีไอเอ็มเอฟยอมรับว่ามีความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางการเมือง "ผลกระทบต่อเศรษฐกิจอาจจะรุนแรงอย่างมาก ขึ้นอยู่กับว่าการเจรจาจะยืดเยื้อนานเพียงใด ผลต่อไปยังทั่วโลกจะรุนแรง" ไอเอ็มเอฟระบุในรายงาน

ทั้งนี้ รายงานล่าสุดจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ระบุว่า เศรษฐกิจในไตรมาส 2 ของประเทศเติบโตในอัตรา 2.5% ต่อปี เพิ่มขึ้นจากอัตราการเติบโต 1.1% ต่อปีในช่วง 3 เดือนแรก

 

ที่มา:หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 12 พย.56)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักเศรษฐศาสตร์ประเมินเฟดยังไม่ตัดสินใจลดขนาดการซื้อพันธบัตรในการ ประชุมสัปดาห์นี้ และอาจจะคงนโยบายยาวไปจนถึงช่วงต้นปีหน้า โดยรอดูความชัดเจนจากผลกระทบของวิกฤติงบประมาณในสภาคองเกรสที่มีต่อเศรษฐกิจ สหรัฐฯ

 

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยออกมานับตั้งแต่หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ กลับมาเริ่มทำงานอีกครั้งอ่อนแอกว่าความคาดหมาย โดยตัวเลขจ้างงานชะลอตัวลงในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่หน่วยงานรัฐจะปิดทำการเป็นการชั่วคราว ขณะที่แผนการลงทุนของภาคธุรกิจบางส่วนต้องชะงักไป นอกจากนี้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจอาจจะถูกกระทบในระยะยาว หลังจากสภาคองเกรสตัดสินใจเพิ่มเพดานกู้ยืมในนาทีสุดท้ายเป็นการชั่วคราวไป จนถึงเพียงต้นปีหน้า

การปิดทำการของหน่วยงานรัฐเป็นเวลา 16 วันจากผลของการเจรจางบประมาณในสภาคองเกรสไม่ลุล่วงยังส่งผลต่อการเก็บข้อมูล เศรษฐกิจในเดือนตุลาคม ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลเหล่านี้ประกอบการตัดสินใจดำเนินนโยบายทางการเงิน ไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน สก็อต บราวน์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากเรย์มอนด์ เจมส์ มองว่าเฟดมีโอกาสพิจารณาลดขนาดการซื้อพันธบัตรในเดือนมกราคมหรือมีนาคมเป็น อย่างเร็ว "โอกาสที่จะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคมน้อยกว่า 50%"

นอกจากความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจ เฟดอาจจะลังเลที่จะปรับทิศทางนโยบายครั้งใหญ่ก่อนมีการเปลี่ยนตำแหน่งประธาน จากนายเบน เบอร์นานคี เป็นนางเจเน็ต เยลเลน ในเดือนมกราคม ทั้งนี้เฟดมีกำหนดประชุมคณะกรรมการนโยบายในวันที่ 29-30 ตุลาคม และจะออกแถลงการณ์ผลการประชุมกำหนดนโยบายในช่วงบ่ายของวันพุธ (30 ต.ค.)

เฟดสร้างความประหลาดใจให้กับตลาดในเดือนกันยายนเมื่อตัดสินใจไม่ลดการซื้อ พันธบัตรลงจากมูลค่า 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน หลังจากที่นายเบอร์นานคีออกมากล่าวในเดือนมิถุนายนว่า เฟดมีโอกาสเริ่มลดการซื้อพันธบัตรลงก่อนสิ้นปีนี้ และคาดหมายว่าจะยุติการซื้อพันธบัตรทั้งหมดประมาณกลางปี 2557

อย่างไรก็ดี สัญญาณความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาทำให้เฟดระมัดระวังในการปรับลด การซื้อพันธบัตร เวลานี้นักเศรษฐศาสตร์หลายรายเชื่อว่าเฟดจะรอจนถึงปีหน้าเพื่อให้แน่ใจว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ

"ในเวลานี้เฟดไม่น่าจะมีภาพที่ชัดเจนว่าจะเริ่มลดการซื้อพันธบัตรเมื่อใด พวกเขาอยากจะเห็นว่าการปิดทำการของหน่วยงานรัฐกระทบเศรษฐกิจในไตรมาสสุด ท้ายอย่างไร รวมถึงรายงานตัวเลขจ้างงานอีก 2-3 ครั้ง" ดีน มาคี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากบาร์เคลย์สให้ความเห็น โดยมาคีมองว่าการเริ่มปรับลดการซื้อพันธบัตรจะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมปีหน้า

หากเฟดคงมูลค่าการซื้อพันธบัตรไปถึงเดือนมีนาคมตามการคาดการณ์ของนัก เศรษฐศาสตร์ จะทำให้การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) รอบปัจจุบันซึ่งเป็นรอบที่ 3 ใช้เงินสูงที่สุด พอล แอชเวิร์ธ นักเศรษฐศาสตร์จากแคปิตอล อีโคโนมิกส์ ประเมินว่า คิวอี 3 อาจจะคิดเป็นมูลค่ารวม 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ คิวอี 1 เฟดใช้เงินรวม 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคิวอี 2 มีมูลค่าประมาณ 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขการจ้างงานประจำเดือนกันยายนเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 148,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ 180,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานลดลงเล็กน้อยเหลือ 7.2% เป็นตัวเลขต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 ทั้งนี้การจ้างงานเฉลี่ยในไตรมาส 3 ของปีอยู่ที่ 129,000 ตำแหน่งต่อเดือน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงครึ่งปีแรกที่ 200,000 ตำแหน่งต่อเดือนอยู่มาก

 

ที่มา :หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 12 พย.56)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไอเอ็มเอฟ ระบุเศรษฐกิจเวเนซุเอลาอาจเจอทางเลือกในการดำเนินนโยบายที่ยากลำบากเร็วๆ นี้ หลังเศรษฐกิจชะลอตัวจนต้องนำทุนสำรองมาใช้

 

กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) "นางคริสติน ลาการ์ด" แสดงความเห็นว่า เศรษฐกิจเวเนซุเอลาไม่ได้อยู่ในสภาพดีในขณะนี้ และเข้าใจว่ากำลังใช้ทุนสำรองในปริมาณมาก

 

เศรษฐกิจเวเนซุเอลาเติบโตช้าลงมากปีนี้ ทำให้ทางการต้องนำทุนสำรองสกุลต่างประเทศมาใช้ ซึ่งนางลาการ์ดกล่าวว่าบริบทดังกล่าวจะทำให้เวเนซุเอลาเผชิญประเด็นด้านนโยบายที่ยากลำบากในเร็วๆ นี้

 

แต่ไอเอ็มเอฟยอมรับว่าขาดแคลนข้อมูลที่ชัดเจนของเวเนซุเอลา ซึ่งตลอด 10 ปีที่ผ่านมาไม่ยอมมอบการประเมินทางเศรษฐกิจแก่ไอเอ็มเอฟ

 

ขณะเดียวกัน รัฐบาลของประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร แห่งเวเนซุเอลา ได้รณรงค์ก่อนเทศกาลคริสต์มาส ด้วยการส่งทหารไปดูแลร้านอิเล็กทรอนิกแห่งหนึ่งที่มีสาขามากมาย และส่งผู้ตรวจสอบไปยังร้านอื่นๆ เพื่อตรวจสอบราคา

 

การเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นหลังจากชาวเวเนซุเอลาหลายพันคน แห่ไปร้านอิเล็กทรอนิก หวังได้สินค้าราคาไม่แพงนัก เนื่องจากรัฐบาลกำหนดให้มีการตั้งราคาสินค้าอย่างยุติธรรม โดยบางกรณีมีการลดราคาลงถึงครึ่งหนึ่ง

 

อย่างไรก็ตาม มีการปล้นเกิดขึ้นที่สาขาหนึ่งของร้านดากา เหตุการณ์นี้สร้างความอับอายแก่ชาวเวเนซุเอลาและทำให้ฝ่ายค้านอ้างว่านายมาดูโรจุดชนวนความวุ่นวายแทนที่จะปกป้องคนจน

 

หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ทางการได้ประกาศว่าผู้จัดการ 5 คนจากสาขาของร้านดากา เจวีจี และครัช จะถูกดำเนินคดีข้อหาขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรม หลังจากนำเข้าสินค้าในเงินดอลลาร์ที่อัตราแลกเปลี่ยน 6.3 โบลิวาร์

 

เจ้าหน้าที่ได้นำภาพกล้องโทรทัศน์ เครื่องซักผ้า และเครื่องปรับอากาศ ซึ่งราคาพุ่งขึ้น 1,000% หรือมากกว่านี้โดยนักธุรกิจที่หวังรวย ขณะที่เจ้าของร้านจำนวนมากอ้างว่าการขึ้นราคาเป็นสิ่งถูกต้อง หลังจากเงินเฟ้อพุ่งขึ้น 54% เพราะพวกเขาต้องซื้อเงินดอลลาร์สำหรับนำเข้าสินค้าในตลาดมืด ในราคาที่สูงกว่าอัตราของทางการเกือบ 10 เท่า

 

ที่มา : MSN (วันที่ 12 พฤศจิกายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเปิด 31.62/64 ทรงตัวจากวานนี้ แต่แนวโน้มอ่อนค่า

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2556 09:38:11 น.

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 31.62/64 บาท/ดอลลาร์ ค่อนข้างใกล้เคียงกับตอนปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 31.62/63 บาท/ดอลลาร์

 

"วันนี้ตลาดค่อนข้างเงียบเปิดมาค่อนข้างใกล้เคียงกับเมื่อวาน เหมือนกันเมื่อวานขึ้นมาเยอะ วันนี้ก็มีการขาย Take Profit ลงมาบ้างก็เลยย่อลงมา แต่ยังไม่มีการทำธุรกรรมเยอะเท่าไหร่ ประเด็นที่จับตาคือการเมืองของไทย เพราะเรื่องของสหรัฐฯค่อนข้างชัดเจนว่าเศรษฐกิจค่อนข้างฟื้นตัวดีขึ้น" นักบริหารเงิน กล่าว

 

นักบริหารเงิน ประเมินว่าวันนี้เงินบาทอาจจะย่อตัวลงมาเล็กน้อย แต่ระยะยาวยังน่าจะอ่อนค่าอยู่ มองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ระหว่าง 31.55-31.70 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 99.49/51 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 99.10 เยน/ดอลลาร์

 

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3392/3394 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 1.3301 ดอลลาร์/ยูโร

 

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ 31.6520 บาท/ดอลลาร์

 

- ที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมในวาระ 1 มีจำนวนส.ว.ที่ลงมติไม่รับร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม 141 เสียง และรับร่างพ.ร.บ. 0 โดยงดออกเสียง 0 มีจำนวนผู้เข้าประชุม 141 คน จากจำนวนสมาชิกส.ว.ทั้งหมด 149 คน

 

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้การเมืองป่วน ฉุดจีดีพีไตรมาส 4 กดทั้งปีโตไม่ถึงเป้า 3.7% ชี้กระทบความเชื่อมั่นผู้บริโภค นักท่องเที่ยว นักลงทุน ลุ้นวิกฤติการเมืองผ่านพ้นไปได้

 

- นักวิเคราะห์ฯคาดตลาดหุ้นไทยเช้านี้แกว่งตัวในกรอบ 1,380-1,425 จุด มองนักลงทุนยังคงระวังการลงทุนอยู่ แม้จะคลายเรื่องของศาลโลกตีความคดีปราสาทพระวิหารไปแล้ว แต่ยังมีเรื่องพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่อาจมีการยกระดับการชุมนุมขึ้น

 

- ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นเช้านี้ โดยได้รับแรงหนุนจากตลาดหุ้นเกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่ปรับตัวสูงขึ้น

 

- ตลาดหุ้นนิวยอร์กเปิดลดลงเล็กน้อย หลังจากที่ทะยานขึ้นอย่างมากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา จากข้อมูลจ้างงานสหรัฐที่แข็งแกร่งเกินคาด

 

- นักลงทุนกำลังรอดูการแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน รองประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อคณะกรรมการด้านการธนาคารของวุฒิสภาในวันพฤหัสบดีนี้

 

- สมาคมแลกเปลี่ยนทองคำและเงินของจีน เปิดเผยว่า ราคาทองคำที่ตลาดฮ่องกงลดลง 18 ดอลลาร์ฮ่องกง เปิดที่ระดับ 11,900 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตำลึง เทียบเท่ากับ 1,288.91 ดอลลาร์สหรัฐ/ทรอยออนซ์ ลดลง 1.95 ดอลลาร์สหรัฐ ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ/ 7.75 ดอลลาร์ฮ่องกงในวันนี้

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 12 พฤศจิกายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานเศรษฐกิจ ก็ไม่มีอะไรหวือหวา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาซื้อขายทองในประเทศ ช่วงนี้ ถึงแม้ราคาทองตลาดโลกย่อ แต่ค่างเงินบาทก็อ่อนค่าอย่างแรง จนทำให้ราคาทอง $1277 ขายที่ 19,200 บาท สำหรับตัวผมแล้ว ถือว่าเป็นราคาทองไทย ที่แพงเกินควรนะครับ จึงยังไม่มีความอยากที่จะเก็บคืนเข้าพอร์ตสะสมสักเท่าไหร่ ประจวบเหมาะกับสถานการณ์อึมครึมในฝ่ายพรรครัฐบาล อันอาจนำพาไปสิ่งที่น่าตกใจได้ในเร็วๆ นี้ จึงนิ่งไว้ก่อนที่จะไปซื้อทอง อยากถือแต่เงินสด และ เครื่องใช้จำเป็นเอาไว้ กรณีที่จะซื้อเข้าในครั้งนี้ ขอไม่กำหนดราคาไว้ล่วงหน้า แต่เป็นการดูสถานการณ์รายวันดีกว่า

 

สถานการณ์แบบนี้ เรียกว่า สุกงอมเป็นกล้วยก็ออกอาการคล้ำไปแล้ว มีการตั้งสมมุติฐานหลายๆ อย่าง จากการไม่ได้ยอมรับข้อผิดพลาดใน พรบ. นิรโทษกรรม และยังยืนยันในส่วนลึกของจิตใต้สำนึก ว่า มันเป็นสิ่งถูกต้อง ประชาชนคิดไปเอง ดังนั้น อะไรก็ย่อมเกิดขึ้นได้ในทันใด มีสติเท่านั้น จะทำให้เข้าใจในเหตุที่จะเกิดขึ้น.

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Support: - 1273.03 and 1266.51(main).

Resistance: - 1305.11, 1312.52, 1321.63 and 1326.33(main)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นยุโรปคาดเปิดตลาดทรงตัว ขณะเอกชนรายงานผลประกอบการ

 

 

ตลาดหุ้นยุโรปมีแนวโน้มว่า จะเปิดตลาดทรงตัวในวันนี้ ขณะที่บริษัทต่างๆได้รายงานผลประกอบการ

ดัชนี Euro Stoxx 50 ขยับขึ้นไม่ถึง 0.1% แตะ 3,051 เมื่อเวลา 7.12 น.ตามเวลาลอนดอน

หุ้นโวดาโฟนอาจจะปรับตัวลง ภายหลังจากที่ได้รายงานรายได้ไตรมาส 2 ที่ลดลง 4.9% ส่วนหุ้นเฮงเคล อาจจะปรับตัวขึ้นเนื่องจากกำไรไตรมาส 3 ที่สูงกว่าการประเมินของนักวิเคราะห์

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สรุปสภาวะตลาดทองคำแท่ง และโกลด์ฟิวเจอร์ส วันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 โดย YLG

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ ThaiPR.net -- อังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2556 17:15:23 น.

กรุงเทพฯ--12 พ.ย.--PRDD

สภาวะตลาดวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบที่ระดับ 1,277.13-1,283.25 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่โกลด์ฟิวเจอร์ส GFZ13 อยู่ที่ 19,300 บาท โดยราคาปรับตัวลดลง 50 บาท จากวันก่อนหน้าที่ระดับ 19,330 บาท ขณะที่ซิวเวอร์ฟิวเจอร์ SVZ13 อยู่ที่ 663 บาท โดยราคาไม่เปลี่ยนแปลงจากวันก่อนหน้าที่ระดับ 663 บาท

 

 

 

(หมายเหตุ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้น ณ เวลา 16.41 น.ของวันที่ 12/11/13)ออกมา คือ ออกมา คือ

 

แนวโน้มวันที่ 13 พฤศจิกายน 2556

ราคาทองคำตลาดต่างประเทศร่วงลงอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างวันสร้างระดับต่ำสุดหลายวันต่อเนื่อง โดยสร้างแนวโน้มเชิงลบทางเทคนิค โดยราคาทองคำอ่อนตัวลงร่วงผ่านระดับ 1,300 ดอลลาร์ในวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน หลงัจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเรื่องการลดขนาด QE หลังจากมีข้อมูลที่บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของสหรัฐ โดยสหรัฐระบุว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้น 204,000 ตำแหน่ง จากระดับที่เพิ่มขึ้น 163,000 ตำแหน่ง และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะขยายตัว 125,000 ตำแหน่ง บ่งชี้ให้เห็นว่านายจ้างมีมุมมองในแง่บวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐ โดยตลาดพุ่งความสนใจไปที่ถ้อยแถลงของนายเดนนิส ล็อคฮาร์ท ประธานเฟดสาขาแอตแลนตา และนายนารายานา โคเชอร์ลาโคทา ประธานเฟดสาขามินนิอาโปลิสเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ว่า เฟดอาจจะเริ่ม ปรับลดมาตรการกระตุ้นทางการเงินลง เมื่อใด นายล็อคฮาร์ท และนายโคเชอร์ลาโคทาเป็นเจ้าหน้าที่เฟดกลุ่มแรก ที่แสดงความเห็นนับตั้งแต่การเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่ง นักลงทุนยังคงจับตาผลกระทบของข้อมูลการจ้างงานที่ดีเกินคาด และเปิดโอกาสให้ราคาทองร่วงลงไปทดสอบจุดต่ำสุดของเดือนตุลาคมที่ 1,251 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และถ้าหากราคาทองคำร่วงผ่านแนวรับดังกล่าวลงไป ราคาทองก็อาจร่วงผ่านจุดต่ำสุดรอบ 3 ปีที่ 1,180.71 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาราคาทองคำมีการแกว่งตัวและผันผวนค่อนข้างมาก เบื้องต้นวายแอลจีประเมินว่าราคาทองคำในช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงของการพักฐาน หากราคาทองคำยืนเหนือบริเวณ 1,275-1,266 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคาทองคำจะดีดตัวขึ้นไปทดสอบบริเวณ 1,289ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 1,297-1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยยังเน้นกลยุทธ์การลงทุนในระยะสั้นและทำกำไรจากการแกว่งตัวของราคาทองคำ

 

กลยุทธ์การลงทุน วายแอลจีมีมุมมองว่า หากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแนวต้าน 1,297-1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้จะทำให้ราคาทองคำอ่อนตัวลงมา โดยหากราคาทองคำสามารถยืนเหนือแนวรับ 1,275-1,266 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อย่างแข็งแกร่ง คาดว่าราคาน่ากลับขึ้นไปทดสอบแนวต้านอีกครั้ง แต่หากยืนไม่ได้ต้องระมัดระวังแรงขายที่ออกมาอาจทำให้ราคาย่อตัวลงสู่แนวรับถัดไป สำหรับผู้ที่ไม่มีทองคำในมือรอดูบริเวณ 1,275 หรือ 1,266 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากสามารถยืนได้อย่างมั่นคง ถือเป็นจุดซื้อเก็งกำไรระยะอีกครั้ง แต่หากราคาหลุดแนวรับ 1,266 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แนะนำให้ชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์

 

ทองคำแท่ง (96.50%)

แนวรับ 1,275 (19,070บาท) 1,266 (18,930บาท) 1,257 (18,800บาท)

แนวต้าน 1,289 (19,280บาท) 1,297 (19,400บาท) 1,307 (19,550บาท)

GOLD FUTURES (GFZ13)

แนวรับ 1,275 (19,240บาท) 1,266 (19,100บาท) 1,257 (18,970บาท)

แนวต้าน 1,289 (19,450บาท) 1,297 (19,570บาท) 1,307 (19,720บาท)

SILVER FUTURES (SVZ13)

แนวรับ 20.60 (648 บาท) 20.35 (640 บาท) 20.10 (632 บาท)

แนวต้าน 21.60 (679 บาท) 21.95 (690 บาท) 22.10 (695 บาท)

หากต้องการทราบทิศทางราคาทองคำและแนวทางลงทุนทองคำ ขอคำปรึกษาเพิ่มเติมจากทีมที่ปรึกษาการลงทุนด้านโกล์ดฟิวเจอร์ส โทร.02-687-9999 และการลงทุนด้านทองคำแท่ง โทร.02-687-9888

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อิอิ ป๋า อินเทรนสุดๆเลยคะ มีโลโก้ด้วยอะ คริคริ รอซื้อทองพร้อมป๋านะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

NFIB Small Business Optimism

Actual:91.6

Forecast:

Previous:93.9

Importance:Currency:USDSource Of Report:National Federation of Independent Business (Release URL)

OverviewChartHistory

The National Federation of Independent Business (NFIB) Small Business Optimism Index is a composite of ten seasonally adjusted components. It provides a indication of the health of small businesses in the U.S., which account of roughly 50% of the nation's private workforce.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...