ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงประจำไตรมาส 3 ขยายตัว 1.9% เมื่อเทียบรายปี ทำสถิติขยายตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 อย่างไรก็ตาม จีดีพีไตรมาส 3 ขยายตัวในอัตราที่ช้ากว่าไตรมาส 2 ซึ่งขยายตัวแข็งแกร่งถึง 3.8%

 

รายงานของรัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า การอุปโภคบริโภค ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 60% ของจีดีพีญี่ปุ่นนั้น ขยายตัว 0.1% ในไตรมาส 3 ทำสถิติขยายตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 แต่ขยายตัวช้าลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ที่เพิ่มขึ้น 0.6%

 

ส่วนยอดการส่งออกในไตรมาส 3 หดตัวลง 0.6% เนื่องจากเศรษฐกิจในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ชะลอตัวลง ขณะที่ตัวเลขการลงทุนในภาคธุรกิจปรับตัวขึ้น 0.2% ในไตรมาส 3

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 14 พฤศจิกายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โออีซีดี ชี้ เศรษฐกิจในยูโรโซน จีน และอังกฤษมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น ขณะที่ในอินเดีย บราซิล และรัสเซียยังคงซบเซา

 

 

โออีซีดีแถลงดัชนีนำเศรษฐกิจหรือซีแอลไอประจำเดือนกันยายนในสมาชิกประเทศพัฒนาแล้ว 34 ประเทศ เพิ่มขึ้นเป็น 100.7 จาก 100.6 ในเดือนสิงหาคม ดัชนีซีแอลไอยังชี้ให้เห็นว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ ช่วยคลายความกังวลที่ว่าเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่องในจีนและประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ อาจฉุดรั้งการฟื้นตัวเล็กน้อยในประเทศพัฒนาแล้ว และแม้ว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้าจะซบเซาลงจากคาดการณ์ครั้งก่อน แต่ก็มีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจปี 2557 จะเติบโตเร็วกว่าปีนี้

 

สำหรับเศรษฐกิจจีน ดัชนีซีแอลไอของโออีซีดีบ่งชี้ว่า หลังจากเศรษฐกิจชะลอตัวก่อนหน้านี้ เศรษฐกิจจีนอาจฟื้นตัวต่อเนื่องหลังขยายตัวขึ้นในไตรมาสสาม โดยเดือนที่แล้วสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนแถลงว่า ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีของจีนในไตรมาสสามอยู่ที่ 7.8% สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2555 และสูงกว่าไตรมาสสองที่ 7.5%

 

การเติบโตของยูโรโซนมีแนวโน้มมั่นคง นำโดยเยอรมนี แต่ได้แรงหนุนจากอิตาลีและฝรั่งเศส ช่วยคลายความกังวลต่อบรรดาผู้กำหนดนโยบาย หลังการสำรวจธุรกิจหลายครั้งระบุว่า การเติบโตของยูโรโซนที่เริ่มต้นอีกครั้งในไตรมาสสองได้สูญเสียแรงส่ง และคาดว่าตัวเลขเศรษฐกิจยูโรโซนที่จะเผยแพร่ในวันพฤหัสนี้จะขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกันแต่อยู่ในอัตราชะลอตัว

 

อังกฤษพลิกกลับมาเติบโตในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยไตรมาสสามจีดีพีขยายตัว 3.2% จาก 2.8% ในไตรมาสสอง ดัชนีซีแอลไอระบุว่า เศรษฐกิจอังกฤษจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสต่อ ๆ ไป แนวโน้มการเติบโตของสหรัฐและญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เศรษฐกิจแคนาดาขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนอินเดีย บราซิล และรัสเซีย เศรษฐกิจยังคงซบเซาต่อเนื่อง

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 13 พฤศจิกายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หนี้เสียของธนาคารจีนหลายแห่งในไตรมาสสามเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 8 ปี สร้างความกังวลเกี่ยวกับหนี้ก้อนโตในช่วงที่เศรษฐกิจของจีนกำลังชะลอตัว

 

คณะกรรมการกำกับดูแลภาคธนาคารจีน หรือ ซีบีอาร์ซี เปิดเผยว่า หนี้เสียธนาคารพุ่งขึ้น 24,100 ล้านหยวนเป็น 563,000 ล้านหยวนนับถึงสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ถือเป็นการเพิ่มขึ้นรายไตรมาสมากที่สุดในปริมาณหนี้เสีย นับตั้งแต่ไตรมาสสี่ของปี 2548

 

ซีบีอาร์ซีระบุด้วยว่า ระหว่างที่ยอดการเติบโตเงินกู้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในไตรมาสสาม แต่สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อรายได้ หรือ เอ็นพีแอลของธนาคารจีนกลับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยแตะที่ 0.97% จาก 0.96% เมื่อสิ้นเดือนมิถุนายนที่่ผ่านมา

 

บรรดานักวิเคราะห์ต่างเชื่อว่า สัดส่วนเอ็นพีแอลอย่างเป็นทางการนี้ต่ำกว่าตัวเลขที่แท้จริงของหนี้เสียในงบดุลของธนาคารจีน การคาดการณ์อย่างเป็นกลางสำหรับสิ้นเดือนมิถุนายน 2556 อยู่ระหว่าง 1-5%

 

ขณะที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดว่าหนี้เสียจะเพิ่มขึ้นต่อไป เนื่องจากการเติบโตของจีนกำลังชะลอตัวและหนี้บางส่วนที่ได้รับอนุมัติระหว่างที่จีนใช้แผนกระตุ้นสินเชื่อเมื่อช่วงวิกฤติการเงินปี 2551 นั้นกลายเป็นหนี้เสีย

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 13 พฤศจิกายน 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถึงแม้วิกฤติหนี้สหรัฐคลี่คลายแต่ตลาดหุ้นไทยกลับต้องเจอการเมืองร้อนในประเทศ ทำให้ดัชนีหุ้นเดือนตุลาคมเพิ่มแค่ 4.32% รวม 10 เดือนแรกปี56ต่างชาติยังเทขาย 1.05 แสนล้านบาท สูงสุดในภูมิภาค ขณะที่บริษัทจดทะเบียนหันมาระดมทุนจากตลาดหุ้นถึง 2.2 แสนล้านบาทเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว

 

นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติเทขายสุทธิ 105,338 ล้านบาทถือเป็นการขายสูงสุดที่สุดในภูมิภาคเอเชีย เมื่อเทียบกับประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไต้หวัน อินเดีย และเกาหลี

 

ทั้งนี้เป็นผลมาจากตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดเปิดทำให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาซื้อขายจำนวนมาก เมื่อเกิดปัจจัยกดดันต่างๆทำให้มีการเทขายออกมามากแต่เชื่อว่านักลงทุนยังคงมองเรื่องปัจจัยพื้นฐานของประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งเราถือว่าเป็นประเทศที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีจึงเชื่อว่าจะทำให้นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาทำการซื้อขาย

 

ณ สิ้นเดือนตุลาคม ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปิดที่ 1,442.88 จุด ปรับเพิ่มเพียง 4.32% จากเดือนก่อนหน้า สำหรับ market capitalization ของ SET อยู่ที่ 12,594,616 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.26% จากเดือนก่อนหน้า และของ mai อยู่ที่ 189,278 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.42% จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันรวมของ SET และ mai อยู่ที่ 39,078 ล้านบาท ลดลง 15.91% จากเดือนกันยายน เป็นผลจากความกังวลเรื่องการชะลอมาตรการ QE ของสหรัฐฯ ส่งผลให้เงินทุนไหลออก

 

สำหรับผู้ลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา ด้วยมูลค่า 1,070 ล้านบาท แต่ในช่วง 10 เดือนแรกของปี2556 ผู้ลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 105,338 ล้านบาท โดยผู้ลงทุนกลุ่มอื่นๆ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่การระดมทุนของบริษัทจดทะเบียนใน SET และ mai มีการระดมทุนรวม 4,417 ล้านบาท แยกเป็นการระดมทุนในตลาดแรก 342 ล้านบาท และระดมทุนตลาดรอง 4,075 ล้านบาท ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2556 มีมูลค่าการระดมทุนสะสมทั้งสิ้น 220,097 ล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 1 เท่าจากปีก่อนหน้า

 

ขณะที่ดัชนีหุ้นไทยตั้งแต่วันที่ 1-12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ลดลง 2% แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคพบว่าไทยยังดีกว่า ถึงแม้สถานการณ์ทางการเมืองจะรุนแรงก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อดัชนีหุ้นมากนัก เพราะนักลงทุนยังคงเชื่อมั่นในพื้นฐานที่ค่อนข้างแข็งแกร่งของไทย อย่างไรก็ตาม ช่วงที่เหลือของปีนี้ แนะนำให้จับตาปัจจัยเสี่ยงในประเทศ คือการชุมนุมทางการเมืองหากอยู่ในวงจำกัด จะไม่กระทบดัชนีหุ้นไทยโดยรวม ซึ่งที่ผ่านมานักลงทุนต่างประเทศทราบถึงความเสี่ยงทางการเมืองของไทยตั้งแต่เหตุการณ์เมื่อปี 2553 ส่งผลให้ดัชนีหุ้นลดลง10% แต่หลังจากนั้นก็ได้มีการคาดการณ์เกี่ยวกับการเมืองมาตลอดจึงทำให้ดัชนีหุ้นไทยไม่ขยับมาก แต่คาดว่าอาจจะกระทบเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่า

 

ที่มา หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 14 พฤศจิกายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณข่าวสาร และการบ่นที่ฟังแล้วช๊อบชอบของป๋าค่ะ :gd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Support: - 1276.77, 1262.13 and 1257.73(main)

Resistance: -1288.88, 1294.55 and 1305.11(main), 1312.52

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

**เงินบาทเปิด 31.46/47 แข็งค่าจากวานนี้ หลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มใช้ QE ต่อ

 

 

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 31.46/47 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากตอนปิดตลาดเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 31.60/62 บาท/ดอลลาร์

"เงินบาทแข็งค่าลงมาหลังร่างแถลงการณ์นางเจเน็ต เยลเลน รองประธานเฟด และว่าที่ประธานเฟดคนใหม่ ออกมาบอกว่า การฟื้นตัวเศรษฐกิจของสหรัฐฯยังไม่ชัดเจน และยังมีความจำเป็นจะต้องใช้มาตรการ QE ต่อไปสหรัฐฯเผยการฟื้นตัวเศรษฐกิจของสหรัฐฯยังไม่ชัดเจน และยังมีความจำเป็นจะต้องใช้มาตรการ QE ต่อไป ส่งผลให้ดอลลาร์ร่วงลงมา แต่คาดว่าไม่น่าจะเป็นประเด็นแรงทำให้ดอลลาร์ร่วงต่อไปได้หลายวัน" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวแคบๆ อยู่ในกรอบที่ 31.40-31.55 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 31.4920 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M อยู่ที่ 2.35743% และ THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ 2.41611%

 

 

 

* ปัจจัยสำคัญ

 

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 99.45 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 99.50 เยน/ดอลลาร์

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3475 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 1.3420 ดอลลาร์/ยูโร

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ 31.5920 บาท/ดอลลาร์

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขยายวงเงินให้คนไทยนำเงินบาทออกนอกประเทศเพื่อนบ้านได้ 2 ล้านบาท จากเดิม 5 แสนบาท พร้อมเพิ่มตัวแทนรับแลกเปลี่ยนเงิน ระบุส่งเสริมการค้าชายแดน และรับเออีซี

- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เล็งหั่นจีดีพีปีนี้ต่ำกว่า 3.7% รอลุ้นเดือนธันวาคม มองปัจจัยการเมืองเริ่มมีผลกระทบ ชี้หากยืดเยื้ออาจกระทบการลงทุนของภาครัฐ ฉุดความเชื่อมั่นภาคเอกชน

- นักวิเคราะห์ฯคาดตลาดหุ้นไทยเช้านี้รีบาวน์ช่วงสั้นตามตลาดภูมิภาคที่เช้านี้ขึ้นกันทั่วหน้า หลังสหรัฐฯเผยการฟื้นตัวเศรษฐกิจของสหรัฐฯยังไม่ชัดเจน และยังมีความจำเป็นจะต้องใช้มาตรการ QE ต่อไป อย่างไรก็ดีปัจจัยการเมืองยังกดดันอยู่ การขึ้นของดัชนีฯจึงจำกัด พร้อมให้แนวรับไว้ที่ 1,395 แนวต้าน 1,425 จุด

- นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ เปิดอกหลังรับตำแหน่งประธานตลาดหุ้น เน้นเพิ่มขนาด-สร้างมูลค่า ดันกองทุนโครงสร้างพื้นฐานบริษัทไทยในอินโดจีนเข้าจดทะเบียน ยันต่างชาติยังเชื่อมั่น ดึงหุ้นไทยเข้าไปคำนวณในดัชนี MSCI ขณะที่พื้นฐานบริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่ง หนุนตลาดหุ้นไทยฝ่าวิกฤติการเมือง

- นางเจเน็ต เยลเลน รองประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานเฟดคนต่อไปนั้น เตรียมที่จะชี้แจงต่อสภาคองเกรสว่าการผ่อนคลายทางการเงินในปัจจุบันควรดำเนินต่อไปในขณะนี้ โดยระบุในร่างถ้อยแถลงต่อคณะกรรมการด้านการธนาคาร, ที่อยู่อาศัยและกิจการในเขตเมืองของวุฒิสภา ซึ่งมีการเปิดเผยเมื่อวานนี้ระบุว่า เฟด “กำลังใช้เครื่องมือด้านนโยบายการเงินเพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งมากขึ้น"

- China Foreign Exchange Trading System (CFETS) รายงานว่า เงินหยวนแข็งค่าขึ้น 0.27% แตะที่ 6.1315 หยวนต่อดอลลาร์เช้าวันนี้

- ธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 2.50% ในการประชุมวันนี้ สอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้

- สำนักงานสถิติแห่งชาติของสเปนเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสเปนปรับตัวลดลง 0.1% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน รายงานระบุว่า ตัวเลขดังกล่าวเป็นการปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกของดัชนี CPI นับตั้งแต่ปี 2552

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทปิด 31.57/59 ตลาดรอดูถ้อยแถลงเยลเลนต่อทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2556 17:49:06 น.

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 31.57/59 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.46/47 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 31.45-31.59 บาท/ดอลลาร์

 

"ช่วงบ่ายมี Off Shore กับต่างชาติกลับเข้ามาซื้อ"นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวแคบๆ อยู่ในกรอบที่ 31.45-31.65 บาท/ดอลลาร์ โดยให้ติดตามถ้อยแถลงของนางเจนเน็ต เยลเลน รองประธานเฟด และว่าที่ประธานเฟดคนใหม่ ว่าจะมีประเด็นอะไรที่อยู่นอกเหนือร่างแถลงการณ์หรือไม่

 

 

 

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 99.88/90 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่อยู่ที่ระดับ 99.45 เยน/ดอลลาร์

 

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3444/3446 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.3475 ดอลลาร์/ยูโร

 

- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,415.69 จุด เพิ่มขึ้น 10.92 จุด, +0.78% มูลค่าการซื้อขาย 29,688.18 ล้านบาท

 

- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,542.96 ลบ.(SET+MAI)

- นักวิเคราะห์ฯเผยตลาดหุ้นไทยวันนี้แกว่งแคบแต่ยืนในแดนบวกได้เช่นเดียวกับตลาดภูมิภาคที่ต่างขึ้นกันทั่วหน้า และขึ้นได้ดีกว่าตลาดบ้านเรา รับแรงหนุนจากมีสัญญาณ QE จะยังคงอยู่ แม้ตลาดบ้านเราจะขึ้นแต่วอลุ่มไม่มาก ทำให้ไม่มีนัยยะอะไร เพราะนักลงทุนคงยังไม่มั่นใจ จากเหตุกังวลการเมือง ส่วนการประกาศ Earning โดยรวมถือว่าใช้ได้ พรุ่งนี้ตลาดฯคงทรงตัว แนะแค่"เทรดดิ้ง"เพราะวอลุ่มเทรดน้อย ตลาดฯจึงยังไม่น่าจะไปได้ไกล พร้อมให้แนวรับ 1,381 ส่วนแนวต้าน 1,418-1,433 จุด

 

- น.ส.จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เผยสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2556 มีจำนวน 5,430,560.04 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45.49 ของ GDP

 

- รัฐบาลลาว จะออกพันธบัตรในรูปสกุลเงินบาทในประเทศไทยเป็นรอบที่ 2 ในมูลค่าสูงถึง 3 พันล้านบาท มีระยะเวลาไถ่ถอน 3 และ 5 ปี โดยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วง 4.6-4.7% และ 5.1-5.2% ต่อปี ตามลำดับ เพื่อจำหน่ายแบบเฉพาะเจาะจง ให้แก่นักลงทุนสถาบัน และกลุ่มผู้มีฐานะมั่งคั่ง โดยจะเริ่มเปิดให้จองซื้อในวันที่ 29 พ.ย.

 

- นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่พบว่า การชุมนุมประท้วงทางการเมืองส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวม

 

ส่วนกรณีที่แกนนำม็อบระบุว่าการชุมนุมจะยุติลงได้ภายในสิ้นเดือน พ.ย.นี้ นายธนวรรธน์ กล่าวว่า หากสามารถจบลงได้จริง โดยไม่มีความรุนแรง เพราะแกนนำม็อบมีความตั้งใจจะชุมนุมอย่างสงบ และเน้นอารยะขัดขืน ขณะที่รัฐบาลก็ยืนยันจะไม่ใช้กำลังสลายการชุมนุน ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากนัก โดยอาจกระทบต่อการบริโภค การท่องเที่ยว และการลงทุนเพียง 10,000-20,000 ล้านบาท และยังทำให้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวได้ 3.3% ส่วนปีหน้าโตได้ 5%

 

- สถาบันการเงินหลายแห่งเชื่อมั่นว่า แผนการปฏิรูปล่าสุดของจีนจะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นตลาดในแง่ของการพัฒนาเศรษฐกิจจีนระยะยาว

 

- สภาทองคำโลกเปิดเผยว่า อุปสงค์ทองคำร่วงลง 21% ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เนื่องจากนักลงทุนลดการลงทุน และธนาคารกลางประเทศต่างๆชะลอการซื้อลง

 

- นางเจเน็ต เยลเลน รองประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานเฟดคนต่อไป เตรียมที่จะชี้แจงต่อสภาคองเกรสคืนนี้

 

อินโฟเควสท์ โดย นิศารัตน์ วิเชียรศรี/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Initial Jobless Claims

Actual:339K

Forecast:330K

Previous:341K

Importance:Currency:USDSource Of Report:Department of Labor (Release URL)

OverviewChartHistory

Initial Jobless Claims measures the number of individuals who filed for unemployment insurance for the first time during the past week. This is the earliest U.S. economic data, but the market impact varies from week to week.

 

A higher than expected reading should be taken as negative/bearish for the USD, while a lower than expected reading should be taken as positive/bullish for the USD.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Trade Balance

Actual:-41.78B

Forecast:-39.00B

Previous:-38.70B

Importance:Currency:USDSource Of Report:Bureau of Economic Analysis (Release URL)

OverviewChartHistory

The Trade Balance measures the difference in value between imported and exported goods and services over the reported period. A positive number indicates that more goods and services were exported than imported.

 

A higher than expected reading should be taken as positive/bullish for the USD, while a lower than expected reading should be taken as negative/bearish for the USD.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...