ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ในส่วนของการกระตุ้นราคาทองจาก ข่าวการประชุมของธนาคารกลางแต่ละประเทศนั้น เดือน 11 ไม่มีเลยนะครับ คัดความช่วยเหบือได้เลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Chicago Fed National Activity

Actual:0.14

Forecast:0.15

Previous:0.13

Importance:Currency:USDSource Of Report:Federal Reserve Bank of Chicago (Release URL)

OverviewChartHistory

A monthly report by the Chicago Federal Reserve Bank that tracks economic activity in the 7th district, which is comprised of Indiana, Iowa, Illinois, Michigan and Wisconsin. The index is useful in tracking economic growth and identifying potential inflation.

 

A higher than expected reading should be taken as negative/bearish for the USD, while a lower than expected reading should be taken as positive/bullish for the USD.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 12,26,9 แบบดั้งเดิม และ รหัส 5,35,9 แบบส่งสัญญานนำทาง " ยังให้มองเฉยเมย อย่าพึ่งซื้อเข้า ยังมีโอกาส ลงได้ต่ออีก "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 7,5,2 แบบไวไว เส้นแดงก็ยังอยู่ใต้เส้นดำ ความยาวของทั้ง 2 เส้น ก็ไล่เลี่ยกันมาตลอด การพลิกกลับมาทำให้ราคาทองปิดมากกว่า 1265 มีความน่าจะเป็น น้อย ต่ำ เอาสัก 25% ของความเป็นไปได้ ดังนั้น ก็ต้องถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะมีราคาขายต่ำกว่า วันนี้ เกิดขึ้น ในวันพรุ่งนี้ จึงเป็นสาเหตุที่ ผม ในฐานะผู้ซื้อทองแท่ง ยังไม่สนใจที่จะทำการเข้าซื้อ แต่ แต่ ถ้าวันนี้ระหว่างวัน ราคาขายทองปรากฎให้เห็นที่ ราคา 18,900 บาท ก็สนใจที่จะทยอยเข้าซื้อชุดเล็กๆๆๆ ครับ ต้องเป็นราคาที่ Fair ด้วยนะ 555 ดูว่าเรื่องมาก แต่ถ้าราคาไม่ตรงกับคำนวณจริงๆๆ การทำกำไรก็ยากเวลาทองขึ้น บาทแข็ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

น้ำมันลงต่ำสุดรอบ5เดือน ทองคำ-หุ้นสหรัฐฯปิดลบ กังวลเฟดลดกระตุ้นศก.

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 พฤศจิกายน 2556 05:34 น.

 

 

 

 

เอเอฟพี - น้ำมันนิวยอร์กวานนี้(12)ขยับลงแรง แตะระดับต่ำสุดรอบ 5 เดือน คาดข้อมูลสต๊อกเชื้อเพลิงสหรัฐฯจะสูงขึ้นอีกในสัปดาห์นี้ ส่วนวอลล์สตรีททรงตัวและทองคำ ปิดลบเล็กน้อย ท่ามกลางแรงคาดหมายว่าเฟดจะลดระดับกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วๆนี้

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนธันวาคม ลดลง 2.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 93.04 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 59 เซนต์ ปิดที่ 105.81 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ราคาน้ำมันตลาดนิวยอร์กตกอยู่ภายใต้ความกังวลต่อภาวะอุปสงค์ที่อ่อนแอในสหรัฐฯ ชาติผู้บริโภครายใหญ่ของโลก หลังคาดหมายว่ารายงานคลังน้ำมันดิบสำรองของประเทศในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 พฤศจิกายน ซึ่งมีกำหนดเผยแพร่ในวันพุธ(13) จะออกมาอ่อนแออีกหนึ่งสัปดาห์

 

ก่อนหน้านี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ข้อมูลอย่างเป็นทางการของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ พบว่าสต๊อกน้ำมันดิบของประเทศในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 พฤศจิกายน เพิ่มขึ้น 7 สัปดาห์ติดต่อกัน รวมแล้วเป็นปริมาณกว่า 29.8 ล้านบาร์เรลเลยทีเดียว

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(12) ทรงตัว ท่ามกลางแรงคาดเดาครั้งใหม่ถึงความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางอเมริกา(เฟด) จะลดระดับกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วๆนี้

 

ดัชนีดาวโจนส์ ลดลง 31.66 จุด (0.20 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,751.44 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 4.16 จุด (0.23 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,767.73 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 0.13 จุด (0.01 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,919.92 จุด

 

นักลงทุนพากันมองไปยังข้อมูลภาคแรงงานอันแข็งแกร่งอย่างน่าประหลาดใจที่เผยแพร่ออกมาเมื่อสัปดาห์ก่อน อันก่อข้อสันนิษฐานว่าเฟดอาจลดระดับกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วๆนี้ จากเดิมที่อาจเลื่อนออกไปจนถึงปีหน้า

 

ปัจจัยนี้เองก็ฉุดให้ทองคำวานนี้(12) ปิดลบพอสมควร และแตะระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือน โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 9.90 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,271.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

IMFแนะไทยเลิกจำนำข้าวประชานิยมเพื่องบฯ

ข่าวต่างประเทศ วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 7:54น.

 

ไอเอ็มเอฟ เรียกร้องรัฐบาลไทย ยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจประชานิยมบางอย่าง เพื่อความสมดุลทางงบประมาณและจำกัดตัวเลขหนี้สาธารณะที่พุ่งสูงขึ้น

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ เสนอในรายงานทบทวนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำปี ทั้งยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทย ปรับปรุงการทำงานในความรับผิดชอบด้านตรวจตราธนาคารรัฐและสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ธนาคาร ซึ่งกำลังตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น

 

นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟ ได้แนะนำในรายงานที่เผยแพร่ด้วยว่า ขณะที่ไทยยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ จากการไหลเวียนของเงินลงทุนอันผันผวนและความไม่แน่นอนของสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจโลก รัฐบาลควรสร้างความอุ่นใจว่า มีเงินเพียงพอรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดไม่ถึงต่าง ๆ

 

ทั้งนี้ ข้อมูลจีดีพี ที่จะเผยแพร่ออกมาในสัปดาห์หน้า คาดหมายว่า ชาติเศรษฐกิจหมายเลข 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ จะหลุดพ้นจากภาวะถดถอย แต่การส่งออกซึ่งคิดเป็นกว่าร้อยละ 60 ของเศรษฐกิจโทยและการบริโภคของเอกชน ยังคงอ่อนแอ ซึ่งเหล่านักวิเคราะห์คาดคะเนว่า รัฐบาลจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างเข้มแข็ง แม้ว่า รัฐบาลไทยบอกว่าที่มั่นทางการเงินยังคงแข็งแกร่ง แต่ ไอเอ็มเอฟ มองว่าการใช้จ่ายในโครงการประชานิยมต่าง ๆ นานา กำลังทำให้คำมั่นสัญญาสร้างสมดุลทางงบประมาณตกอยู่ในความเสี่ยง

 

ไอเอ็มเอฟ ระบุว่า ตัวเลขขาดดุลของรัฐบาลกลาง จะเพิ่มเป็นร้อยละ 3.4 ของจีดีพีของปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนกันยายน สืบเนื่องจาก อัตราภาษีนิติบุคคลระดับต่ำ และการลดหย่อนภาษี และโดยรวมแล้วมีความเป็นไปได้ที่หนี้สาธารณะของไทย จะเพิ่มเป็นร้อยละ 53 ของจีดีพี ภายในสิ้นปี 2018

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 13 พฤศจิกายน 2556 07:38:03 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดดที่ 15,750.67 จุด ลดลง 32.43 จุด -0.21%

 

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 3,919.92 จุด เพิ่มขึ้น 0.13 จุด +0.00%

 

 

 

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,767.69 จุด ลดลง 4.20 จุด -0.24%

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,263.78 จุด ลดลง 26.36 จุด -0.61%

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,076.48 จุด ลดลง 31.38 จุด -0.34%

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,726.79 จุด ลดลง 1.58 จุด -0.02%

 

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 4,380.64 จุด ลดลง 61.08 จุด -1.38%

 

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,180.25 จุด ลดลง 6.47 จุด -0.20%

 

ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,794.80 จุด ลดลง 9.41 จุด -0.52%

 

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 20,281.91 จุด ลดลง 209.05 จุด -1.02%

 

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 22,901.41 จุด ลดลง 168.44 จุด -0.73%

 

ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 6,324.17 จุด เพิ่มขึ้น 58.94 จุด +0.94%

 

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 2,126.77 จุด เพิ่มขึ้น 17.30 จุด +0.82%

 

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,995.48 จุด เพิ่มขึ้น 18.18 จุด +0.92%

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 14,588.68 จุด เพิ่มขึ้น 318.84 จุด +2.23%

 

ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 8,195.26 จุด เพิ่มขึ้น 12.70 จุด +0.15%

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (12 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเริ่มวิตกกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตัดสินใจปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หรือโครงการซื้อสินทรัพย์ ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 32.43 จุด หรือ 0.21% ปิดที่ 15,750.67 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 4.20 จุด หรือ 0.24% ปิดที่ 1,767.69 จุด และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 0.13 จุด ปิดที่ 3,919.92 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (12 พ.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่าสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ของสหรัฐจะยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าความต้องการเชื้องเพลิงในสหรัฐชะลอตัวลง

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 2.1 ดอลลาร์ ปิดที่ 93.04 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 59 เซนต์ ปิดที่ 105.81 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค.เมื่อคืนนี้ (12 พ.ย.) โดยสัญญาทองคำปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. เพราะได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะลดขนาดมาตรการ QE หรือโครงการซื้อพันธบัตรในเดือนหน้านี้

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 9.9 ดอลลาร์ หรือ 0.77% ปิดที่ 1,271.2 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 50.4 เซนต์ ปิดที่ 20.778 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 7.2 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,439.6 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 12.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 742.35 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (12 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตัดสินใจลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดได้ออกมาส่งสัญญาณในเรื่องดังกล่าว

 

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 99.67 เยน จากระดับ 99.21 เยน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9182 ฟรังค์ จากระดับ 0.9193 ฟรังค์

 

ยูโรแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.3427 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3408 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะระดับ 1.5891 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5992 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะ 0.9297 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9355 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดขยับลงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (12 พ.ย.) แม้มีรายงานว่าราคาบ้านในประเทศอังกฤษปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่นักลงทุนจับตาผลการเจรจาระหว่างบริษัทซีอาร์เอชและบริษัททอล์ก ทอล์ก เทเลคอม กรุ๊ป

 

ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,726.79 จุด ลดลง 1.58 จุด หรือ -0.02%

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (12 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเริ่มวิตกกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตัดสินใจปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หรือโครงการซื้อสินทรัพย์ ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 0.6% ปิดที่ 321.68 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,263.78 จุด ลดลง 26.36 จุด หรือ -0.61% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,076.48 จุด ลดลง 31.38 จุด หรือ -0.34% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,726.79 จุด ลดลง 1.58 จุด หรือ -0.02%

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

ADVERTISEMENT

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งค่า รับกระแสคาดการณ์เฟดอาจลด QE

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 13 พฤศจิกายน 2556 07:20:59 น.

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (12 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตัดสินใจลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดได้ออกมาส่งสัญญาณในเรื่องดังกล่าว

 

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 99.67 เยน จากระดับ 99.21 เยน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9182 ฟรังค์ จากระดับ 0.9193 ฟรังค์

 

 

 

ยูโรแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.3427 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3408 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะระดับ 1.5891 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5992 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะ 0.9297 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9355 ดอลลาร์สหรัฐ

 

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะลดขนาด QE รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังจากนายริชาร์ด ฟิสเชอร์ ประธานเฟดสาขาดัลลัส กล่าวต่อสำนักข่าว CNBC เมื่อวานนี้ว่า โครงการซื้อสินทรัพย์ของเฟดไม่สามารถนำมาใช้ได้ตลอดไป เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งแล้ว เฟดก็จำเป็นต้องลดขนาดโครงการนี้

 

ขณะที่นายเดนนิส ล็อคฮาร์ท ประธานเฟดสาขาแอตแลนต้ากล่าวว่า เฟดอาจจะลดขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์ในในการประชุมเดือนธ.ค.นี้

 

นักลงทุนจับตาดูนางเจเน็ต เยลเลน รองประธานเฟด ที่จะแถลงของต่อคณะกรรมการด้านการธนาคารของวุฒิสภาในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งความคิดเห็นของนางเยลเลนเกี่ยวกับตลาดแรงงานและเศรษฐกิจนั้น เป็นที่จับตาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากนักลงทุนกำลังรอให้มีสัญญาณบ่งชี้เกี่ยวกับแผนการด้านนโยบายในอนาคตของเฟด

 

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูกระทรวงการคลังสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขงบประมาณเดือนต.ค.ในวันนี้ ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าสหรัฐจะขาดดุลงบประมาณ 1.04 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนต.ค.

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้าดอกเบี้ยจะขาขึ้นจริง นักเล่นกำไรทองต้องระวังมากๆๆ ฮวบๆๆๆ เพราะ เขาจะหันมาหุ้นแทน หรือไม่ก็กินดอกเบี้ยเงินฝาก

 

IMFประเมินศก.ไทยยังแกร่ง

 

ไอเอ็มเอฟประเมินพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังแกร่ง เงินเฟ้อต่ำ? ฐานะทางการเงินแบงก์พาณิชย์และภาคธุรกิจอยุ่ในเกณฑ์ดี เงินสำรองระหว่างประเทสสูง พร้อมแนะให้ทางการรับนโยบายดอกเบี้ยขาขึ้นตามแนวโน้มเงินเฟ้อ ติงออกกติกาคุมนันแบงก์และแบงก์รัฐ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินในภาพรวม

 

รายงานข่าวจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า คณะกรรมการบริหารของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Executive Board of the International Monetary Fund : IMF) ได้ประชุมสรุปการทบทวนภาวะเศรษฐกิจไทยประจำปี 2556 โดยมีประเด็นสำคัญ คือ 1.ประเทศไทยสามารถบริหารจัดการนโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้ดีในช่วงที่ผ่านมา และมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ ฐานะการเงินของธนาคารพาณิชย์และภาคธุรกิจที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี เงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง และระดับหนี้สาธารณะที่สามารถบริหารจัดการได้

 

2.การดำเนินนโยบายการคลังในปัจจุบันมีความเหมาะสม อย่างไรก็ดี การปรับสมดุลภาคการคลัง (fiscal consolidation) อย่างค่อยเป็นค่อยไป จะช่วยเพิ่มความสามารถทางการคลัง (fiscal space) เพื่อดูแลเศรษฐกิจในระยะปานกลาง และรองรับการใช้จ่ายที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามแผนของรัฐบาลได้ นอกจากนี้ คณะกรรมการสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา ตลอดจนทดแทนการให้เงินอุดหนุนทั่วไป ด้วยมาตรการที่มุ่งให้ความช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม

 

3. การดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในปัจจุบันมีความเหมาะสม อย่างไรก็ดี ทางการควรเตรียมพร้อมในการลดการผ่อนคลายเข้าสู่การดำเนินนโยบายแบบปกติ (normalisation) หากแรงกดดัน เงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อนึ่ง คณะกรรมการฯเห็นว่าฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศที่แข็งแกร่ง รวมถึงระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความยืดหยุ่นและความพร้อมในการดำเนินมาตรการ macroprudential ของไทย จะมีส่วนช่วยบรรเทาความผันผวนของเศรษฐกิจโลกในระยะข้างหน้าได้ 4.ทางการไทยควรเร่งดำเนินการปรับปรุงกฎเกณฑ์และระเบียบการกำกับดูแลสถาบัน การเงิน ที่มิใช่ธนาคารและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (Specialised Financial Institutions : SFIs) ให้รัดกุมขึ้น เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินโดยรวม

 

5.ทางการไทยควรส่งเสริมให้การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอยางทั่วถึง และเป็นธรรมยิ่งขึ้น รวมถึงเร่งเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน โดยเฉพาะการส่งเสริมทักษะแรงงานเพื่อบรรเทาปัญหาความไม่สมดุลระหว่างทักษะ แรงงานกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ คณะกรรมการยังให้การสนับสนุนแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อ ลดต้นทุนการขนส่ง ส่งเสริมการค้า และสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว

 

ขณะเดียนกันนายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPURC) เปิดเผยว่า จากการตั้งความหวังว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวมาก ขึ้น แต่ก็ออกมาไม่เป็นตามที่คาดไว้ การส่งออกฟื้นตัวไม่เป็นไปตามที่ประเมิน ค่าครองชีพเพิ่มสูง กำลังซื้อของประเทศก็ลดลง จากปกติในช่วงไตรมาสสามจีดีพีจะโต 3-4% แต่คาดว่าในปีนี้จะไม่ถึง 3% แต่น่าจะเกิน 2 % อีกทั้งในไตรมาสสี่ ยังไม่เห็นสัญญาณที่จะมาช่วยกระตุ้นการเติบโตให้เพิ่มขึ้น

 

อย่างไรก็ตามจากที่หลายฝ่ายมองว่าการท่องเที่ยวจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ก็คงเป็นส่วนหนึ่ง แต่ปัจจุบันผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองก็เริ่มส่งผลให้ 17 ประเทศประกาศเตือนนักท่องเที่ยวให้หลีกเลี่ยงพื้นที่ชะมนุม ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยควรแสดงความกังวล แต่อย่างไรก็ตามจากกรณีเหตุการณ์รัฐประหารในปี 2549 นักท่องเที่ยวยังมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 20 % หรือในปี 2543 เหตุการณ์ความรุนแรงแยกราชประสงค์ ตัวเลขของนักท่องเที่ยวก็ยังเพิ่มขึ้นเช่นกัน จึงมองว่าปัญหาทางการเมืองไม่น่าจะส่งผลกระทบรุนแรงกับการท่องเที่ยวโดยตรง เพราะไทยยังมีพื้นที่อีกมากที่จะกระจายนักท่องเที่ยวไปได้ แต่เมื่อใดที่เหตุการลุกลามขยายวงกว้างจนเกิดความรุนแรงคงจะมีปัญหาพอสมควร

 

" ปัญหาทางการเมืองในขณะนี้ยังไม่เห็นความรุนแรงถือเป็นการชุมนุมโดยสงบ แต่วันใดที่รัฐบาลยังเฉยเมยและสนใจเล่นการเมืองเพียงอย่างเดียว จนการชุมนุมดุเดือดมากขึ้นก็คงกระทบกับเศรษฐกิจอย่างแน่นอน ทางออกที่ดีของรัฐบาลคือการออกมาขอโทษ เพราะประชาชนเสียความเชื่อมั่นในรัฐบาลนี้จาก พรบ. นิรโทษกรรม การออกมาขอโทษน่าจะลดแรงปะทะไปได้พอสมควร"

 

สำหรับปี 2557 เศรษฐกิจไทยก็น่าจะยังไม่ถึงขั้นกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่คงไม่ตกต่ำเท่ากับปี 2556 ปัจจัยที่ยังคงต้องจับตามองคือเศรษฐกิจโลก ที่มีผลต่อการส่งออก? และค่าเงินที่ผันผวน ซึ่งเศรษฐกิจไทยปัจจัยภายในประเทศอาจส่งผลอยู่บ้างแต่ก็ไม่เท่ากับการเปรียบ เทียบกับเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบค่อนข้างมาก รวมถึงการจัดการต้นทุนการผลิตต่างๆ ที่อาจมีปัจจัยผันผวนเข้ามาในช่วงปีหน้า

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 13 พฤศจิกายน 2556)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เฟดจะประชุม 18 ธันวา ไม่ตื่นตูมไปเหรอที่จะคิดแนวว่า จะลดวงเงิน ราคาทองจึงต้องมีจุดรับที่แข็งแกร่งมากๆๆ เพราะระยะเวลายังอีกนานเกือบ 1 เดือน ถ้าเกิดราคาทองจะย่อเพราะ เรื่อง Fed เรื่องเดียวล่ะก็ หนาวสะท้านทรวงถึงปอด ตับ ม้าม สำหรับใครถือดอย เราจึงหวัง สัก $1250 ก็คงเป็นกำแพงเสริมเหล็ก พยุงไว้ได้

 

ราคาพันธบัตรสหรัฐร่วงลงในวันนี้ ท่ามกลางสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังได้รับปัจจัยกระตุ้นที่จะช่วยให้เกิดการฟื้นตัว ซึ่งทำให้เกิดกระแสคาดการณ์เป็นวงกว้างว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะชะลอมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงเร็วกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

 

โดยพันธบัตรอายุ 10 ปี อ่อนตัวลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 0.03% แตะที่ 2.77% เมื่อเวลา 8.32 น.ตามเวลานิวยอร์ก

 

ทั้งนี้ สหรัฐได้เปิดเผยรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสหลายรายการในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า เฟดอาจจะชะลอมาตรการ QE ลงเร็วกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ หรืออย่างเร็วสุดในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐเดือนธ.ค.นี้

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 12 พฤศจิกายน 2556)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณหญิงคนนึง….

 

คุณทำให้ผู้ชายไทยหันมา

ดูแลภรรยามากขึ้น

ทุกวันนี้ผมนวดเช้านวดเย็น

พาไปเดินเล่นซื้อเสื้อผ้า

หาอาหารดีๆให้ทาน

ทำงานบ้านด้วยตัวเอง

พาไปนั่งฟังเพลงร้านที่ชอบ

รอบคอบเรื่องรายจ่าย

ดูแลแม่ยายยิ่งกว่าแม่

แคร์เรื่องสุขภาพ

หยุดเที่ยวอาบอบนวด

อย่าให้เธอต้องปวดใจ

อยากได้อะไรยอมหมด

ขับรถให้เธอนั่ง

ดูหนังทุกอาทิตย์

ฟิตหุ่นให้เฟิร์ม

ปิดเทอมเลี้ยงลูกให้

พาไปชอปปิ้ง…..

อย่าจ้างคนมายิงกูก็พอ….

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...