ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ชี้ 5 ปัจจัยดูดสภาพคล่อง "ศก.ฟื้น-ลงทุนรัฐ-เฟดขึ้นดบ.-ขาดดุลบช.เดินสะพัด-ลดเพดานคุ้มเงินฝาก" ตลาดจับตา "ความเร็ว-แรง" เฟดขึ้นดอกเบี้ยทำทุนต่างชาติไหลกลับ คาดสภาพคล่องกระทบชัดกลางปีหน้า ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเดือนมิ.ย. เริ่มสะท้อนเงินตึงตัว เตือน!ผู้ประกอบการ-นักลงทุนเสียโอกาสกู้ยากขึ้น ขณะที่แบงก์ในประเทศออกโปรดักต์เก็บสภาพคล่องระยะกลางถึงระยะยาว

หลังจากธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ประกาศและทยอยลดขนาดการเข้าซื้อพันธบัตร(QE Tapering) ตั้งแต่ต้นปีนี้และกำหนดสิ้นสุดการเข้าซื้อพันธบัตรดังกล่าวภายในเดือน ตุลาคม 2557 นี้ อีกทั้งเฟดได้ส่งสัญญาณจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในปี2558 นั้น ซึ่งสร้างความกังวลต่อสภาพคล่องของไทยในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า เพราะจะปัจจัยสำคัญส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายกลับ

*5 ปัจจัยหนุนสภาพคล่องตึง

ต่อประเด็นดังกล่าว ส่วนใหญ่ต่างเห็นสอดคล้องกันว่าสภาพคล่องระบบในระยะต่อไปมีโอกาสจะลดลง โดยมี 5 ปัจจัยสนับสนุนคือ 1.เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ตั้งแต่ครึ่งหลังของปีนี้และปีหน้าหลังเศรษฐกิจมีศักยภาพและมีอัตราการเติบ โต 4-5% ทำให้ความต้องการใช้เงินเพิ่มตามการขยายการผลิตและลงทุน โดยคาดว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้สินเชื่อจะขยายตัวที่ระดับ 5-6% ซึ่งจะทำให้อัตราการเติบโตของสินเชื่อทั้งปีอยู่ที่ 7% และกลับมาขยายตัวมากกว่า 10% ในปี2558 ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์เริ่มแข่งขันระดมเงินฝากเพื่อรองรับการปล่อยสินเชื่อ มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการทยอยออกโปรดักต์เงินฝากระยะกลางและระยะยาว เฉลี่ยอายุ 3ปี เพื่อเตรียมสภาพคล่องและคุมต้นทุนจากดอกเบี้ยขาขึ้น

*เฟดขึ้นดบ.-ลงทุนรัฐ

2.โครงการลงทุนภาครัฐที่จะเริ่มทยอยเดินหน้าซึ่งจะเห็นชัดขึ้นในปี 2558 ซึ่งรัฐได้ระดมผ่านการออกพันธบัตรบ้างแล้ว 3. ปัจจัยต่างประเทศ การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ (เฟดฟันด์เรต)ในปีหน้า ทำให้เงินลงทุนต่างประเทศในตลาดตราสาร และหุ้นไทย ทยอยไหลออกชัดเจนในช่วงปลายปีนี้

4.การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แม้ว่าปีนี้จะเป็นการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด แต่เป็นการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ผิดธรรมชาติ จากมูลค่านำเข้าต่ำกว่าส่งออก และมีแนวโน้มว่านำเข้าจะขยายเพิ่มมากกว่าส่งออก จากการนำเข้าเครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์มากขึ้น 5.การลดเพดานคุ้มครองเงินฝากเหลือ 25 ล้านบาทในเดือนสิงหาคมปีหน้า จากปัจจุบันอยู่ที่ 50 ล้านบาท

 

ดร.อมรเทพ จาวะลา หัวหน้าส่วนวิจัยเศรษฐกิจและตลาดการเงิน สำนักวิจัยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) (บมจ.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า แนวโน้มสภาพคล่องในระบบช่วง 6 เดือนแรก เมื่อดูจากตัวเลขอัตราสินเชื่อต่อเงินฝาก (L/D) มีทิศทางทะยานขึ้นต่อเนื่อง โดยเดือนมิถุนายนมีสัดส่วนอยู่ที่ 98.3% เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมซึ่งอยู่ที่ 97.8% สะท้อนถึงสภาพคล่องระบบเริ่มตึงตัวมากขึ้นจากผลของปัจจัยข้างต้น โดยประเมินว่าการไหลออกของเงินทุนจะเป็นปัจจัยสำคัญและมีผลมากกว่าปัจจัย อื่น

*สินเชื่อต่อเงินฝากมิ.ย.แตะ 98%

"การเปลี่ยนแปลงของสภาพคล่องที่เริ่มตึงในเดือนมิถุนายน เห็นได้จากการขยายตัวของสินเชื่อ ในขณะที่เงินฝากยังขยายตัวไม่สูง ทำให้ L/D สูงถึง 98% เมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีก่อนหน้านี้ ที่มีอัตรา L/D เฉลี่ยอยู่ที่ 94% รวมกันสำรองอีก 6% ถือเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม และมีความเป็นไปได้ที่สัดส่วน L/D จะสูงขึ้นอีก โดยเฉพาะสถาบันการเงินขนาดเล็กที่ปัจจุบันทะลุเกิน 100% ขณะที่ธนาคารขนาดใหญ่ยังมีรูมจึงได้เปรียบมากกว่า"

ขณะเดียวกัน เริ่มเห็นต้นทุนด้านการเงินเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของเงินฝากและเงินกู้ และมีโอกาสที่ดอกเบี้ยนโยบายหรืออาร์พี จะปรับขึ้นในการประชุมครั้งที่ 8 เดือนธันวาคมนี้ จากปัจจัยเงินทุนไหลออก อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น ประกอบกับสถาบันการเงินแข่งขันระดมเงินฝากมากขึ้น

*เงินยูโร-ญี่ปุ่นไหลเข้าชดเชย

นายรชตพงศ สุขสงวน ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้บริหารฝ่าย ฝ่ายวิจัยความเสี่ยงธุรกิจ บมจ.ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ทุกสถาบันการเงินเริ่มมองทิศทางสภาพคล่องอนาคต ซึ่งจะค่อยๆลดลง โดยปัจจัยจากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้านั้น แต่ปีนี้เศรษฐกิจเพิ่งจะฟื้นตัวอาจจะมีความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นในครึ่ง ปีหลังซึ่งสภาพคล่องยังมีเพียงพอ เพราะความต้องการสินเชื่ออาจไม่มาก เนื่องจากยังมีแรงกดดันจากหนี้ครัวเรือนที่คงอยู่อีกประมาณ 1-2 ปีจากภาระหนี้ที่สร้างไว้ก่อนหน้า อีกทั้งตลาดยังคาดการณ์ว่าจะมีเงินไหลเข้าปลายปีทั้งจากการอัดฉีดสภาพคล่อง ของญี่ปุ่น (กำหนดกรอบไว้ 60-70 ล้านเยนต่อปี) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่จะอัดฉีดสภาพคล่องในรอบเดือนกันยายนปีนี้อีกประมาณ 4 แสนล้านยูโร

อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อความต้องการใช้เม็ดเงินในระบบจะเพิ่มขึ้น ซึ่งตามแผนการใช้งบประมาณลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2.4 ล้านล้านบาท ระยะเวลา 8 ปี หรือเฉลี่ย 3 แสนล้านบาทต่อปี โดยเฉพาะในปี 2560, 2561 และ 2562 ที่ประเทศไทยเดินหน้าก่อสร้างโครงการดังกล่าว แต่ในปี 2558 และปี 2559 นั้นยังไม่กดดันสภาพคล่องในระบบในอีก 2 ปีข้างหน้า เพราะหลายโครงการอยู่ในระหว่างการเวนคืนที่ดิน

"แม้ยังไม่รู่ว่าเม็ดเงินจากคิวอีจะไหลออกเท่าไร แต่แนวโน้มแน่นอนเงินทุนต่างชาติจะค่อยๆไหลออกเช่นที่ทยอยไหลออกไปแล้วก่อน หน้านี้ แต่ช่วงนี้ยอมรับว่าทุกแห่งมองไปข้างหน้าว่ามีความเสี่ยงจากเงินทุนไหลออก หลายแบงก์จึงทยอยออกโปรดักต์อย่างต่อเนื่องทั้งเงินฝากระยะกลางและระยะยาว เฉลี่ยอายุ 3 ปีเพื่อตรึงต้นทุนดอกเบี้ยและเก็บสภาพคล่อง" นายรชตพงศ กล่าวและว่า

*ดบ.นโยบายขยับขึ้นปีหน้า

ที่สำคัญ ถ้าเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยปีหน้า ก็มีความเป็นไปได้ที่ดอกเบี้ยนโยบายไทยจะปรับตาม(มติการประชุมกนง. เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2557 คงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.00% ต่อ) นอกจากนี้ยังมี 2 ปัจจัยหนุนคือด้วยเศรษฐกิจไทยฟื้นและเพื่อเป็นการลดทอนอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นผู้ประกอบการและผู้ลงทุนต้องเตรียมรับดอกเบี้ยขาขึ้น โดยที่ผ่านมาเริ่มเห็นผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5-7 ปีขยับเพิ่มบ้างแล้ว

สอดคล้องกับนางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดกล่าวว่า การยุติคิวอีเดือนตุลาคมปีนี้ยังไม่ส่งผลถึงกับดึงเงินทุนไหลออกทันที เพราะครึ่งหลังปี 2557 ปัจจัยต่างประเทศได้ส่งผลกระทบไปแล้วโดยดึงเงินทุนไหลออกจากตลาดหุ้นกว่าแสน ล้านบาทเช่นเดียวกับตลาดพันธบัตรอีกกว่าแสนล้านบาท ดังนั้นสภาพคล่องในระบบจะได้รับผลกระทบอีกทีในช่วงกลางปีหน้าเมื่อเฟดปรับ ขึ้นดอกเบี้ย

ด้านนายรุ่งศักดิ์ สาธุธรรม ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส และผู้จัดการฝ่ายวิจัย บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่าการตอบสนองของตลาดต่อทิศทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยเฟด เป็นประเด็นที่น่าจับตามากกว่าการยุติคิวอี (ตลาดคาดว่าสิ้นปี 58 ดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯจะปรับมาที่ 0.75% ซึ่งต่ำกว่าค่ากลางที่เฟดประเมินที่ 1.125%) โดยเฉพาะการคาดการณ์ของตลาดและการส่งสัญญาณของเฟดในประเด็นความเร็วและแรง ของอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลอย่างมากต่อความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายใน ระยะถัดไป

นอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าว สภาพคล่องในระบบยังขึ้นอยู่กับศักยภาพของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ในการ ดูแลเสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งสะท้อนจากยอดคงค้างพันธบัตรธปท.ปัจจุบันที่มีสูงถึง 2.8 ล้านล้านบาท เป็นพันธบัตรระยะสั้นไม่เกิน 6 เดือนจำนวน 1.1 ล้านล้านบาท ซึ่งหากธปท.ไถ่ถอนหรือปล่อยให้ครบกำหนดก็จะเป็นการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ ระบบการเงินเพิ่มเติม

ขณะที่นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีเอ็มบี ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า หลังธนาคารกลางสหรัฐฯยุติมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่คาดว่าจะหมดในเดือนตุลาคม จะเริ่มทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น คาดประมาณ 0.50-0.75% ซึ่งจะส่งผลต่อตลาดทั่วโลก และการไหลกลับของเงินทุนเคลื่อนย้าย ดังนั้นธุรกิจสถาบันการเงินจะต้องมีแผนรับมือ โดยจะเริ่มเห็นการแข่งขันระดมเงินฝากตั้งแต่ปลายนี้อย่างชัดเจนขึ้น แม้ว่าปัจจุบันการแข่งขันยังไม่รุนแรง เป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอัตราการขยายสินเชื่อไม่มากนัก การระดมเงินฝากจึงไม่จำเป็น

"ปี 2558 สภาพคล่องในระบบจะเริ่มตึงตัว ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ และไทยมีแนวโน้มปรับขึ้น ดังนั้นภาคธุรกิจจะต้องปรับตัวการกู้ยืมเงินใหม่ ซึ่งจากส่วนใหญ่จะกู้เงินระยะสั้น ควรหันมากู้ยืมระยะยาวมากขึ้น"

*ธปท.ยังสภาพคล่องไม่ตึงตัว

นางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ตลาดการเงินขณะนี้ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่สภาพคล่องจะตึงตัว เพราะแนวโน้มของเศรษฐกิจยังเป็นไปในลักษณะของการทยอยฟื้นตัว โดยธนาคารพาณิชย์เองก็ยังคงระมัดระวังสินเชื่อในบางกลุ่ม นอกจากนี้การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในปัจจุบันแม้ตัวเลขจะปรับสูงขึ้น จริง แต่ก็ยังไม่เห็นชัดเจน

"ตัวเลขอัตราสินเชื่อต่อเงินฝากช่วงปี 53 อยู่ที่ 88.3% , ปี 2554 อยู่ที่ 89.9% , ปี 2555 อยู่ที่ 93.1% , ปี 2556 อยู่ที่ 96.6% และสิ้นเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 98.3% โดยต้องยอมรับว่าตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นจริง แต่การสูงขึ้นดังกล่าวไม่ได้เป็นประเด็นที่น่ากังวล ขณะที่ในส่วนของแบงก์ชาติเอง ณ ปัจจุบันมีการดูดซับสภาพคล่องอยู่ที่ 4.55 ล้านล้านบาท"

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 14 - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองคำยังเคลื่อนไหวทรงตัวใกล้ระดับปิดของการซื้อขายช่วงกลาง สัปดาห์ โดยในระหว่างวันมีการแกว่งตัวขึ้นลงในกรอบแนวรับและแนวต้านทางเทคนิคก่อนที่ จะปิดตลาดใกล้ระดับปิดของวันก่อนหน้า ประเด็นปัญหาความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศยังเป็นปัจจัยบวกต่อการ เคลื่อนไหวของราคาทอง แต่เงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นก็เป็นปัจจัยลบกดดันราคาทองปรับขึ้นในกรอบ จำกัด

 

โดยราคาทองปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ 1,312.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ลดลง 0.25 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,308 และ 1,318 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตามลำดับ ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวานนี้ ขายออกที่บาทละ 19,850 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 19,750 บาท กองทุน SPDR ไม่มีรายงานการเปลี่ยนแปลงปริมาณการถือครองทองคำ โดยปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำรวม 795.60 ตัน

 

นักลงทุนเริ่มคลายกังวลจากสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ หลังจากมีสัญญาณว่าสถานการณ์ในยูเครนและกาซาเริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดี ซึ่งปัจจัยดังกล่าวช่วยลดแรงกดดันจากรายงานที่ระบุว่าจำนวนคนว่างงานราย สัปดาห์ของสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าผลสำรวจ โดย ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย กล่าวว่า รัสเซียจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อช่วยยุติความขัดแย้งในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ของยูเครนอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วนสถานการณ์ในกาซานั้นมีรายงานว่าอิสราเอลและกลุ่มฮามาสยอมตกลงขยายเวลา หยุดยิงเพิ่มขึ้น 5 วันตามข้อเสนอของอียิปต์ ส่งผลให้ราคาทองเริ่มอ่อนตัวลง

 

อย่างไรก็ตามราคาทองได้รับปัจจัยบวกจากการรายงานสัญญาณจำนวนผู้ขอ รับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 9 สิงหาคมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 21,000 ราย สู่ระดับ 311,000 ราย ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ 295,000 ราย ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานโดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2,000 ราย สู่ระดับ 295,750 ราย ส่วนในช่วงค่ำวันนี้จะมีการรายงานดัชนีราคาผู้ผลิตซึ่งเป็นดัชนีวัดเงินเฟ้อ ชนิดหนึ่งของสหรัฐฯ โดยผลสำรวจประเมินว่าดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนกรกฎาคมของสหรัฐฯจะขยายตัวขึ้น 0.1% หลังจากขยายตัว 0.4% ในเดือนก่อน ซึ่งระดับการขยายตัวดังกล่าวยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ดอกเบี้ยใกล้ 0% ของธนาคารกลางสหรัฐฯ

 

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกรกฎาคม ผลสำรวจประเมินไว้ที่ 82.7 จุด ส่วนภาพการเคลื่อนไหวทางเทคนิคของราคาทองยังคงมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นต่อ โดยมีแนวรับและแนวต้านของวันอยู่ที่บริเวณ 1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และ 1,325-1,330 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตามลำดับ หากราคาทองสามารถกลับขึ้นไปยืนเหนือแนวต้านบริเวณ 1,330 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้ การฟื้นตัวของราคาทองก็จะมีความต่อเนื่องมากขึ้น แต่กรณีไม่สามารถยืนเหนือแนวรับบริเวณ 1,300 ดอลลาร์ ก็จะเป็นสัญญาณขายกดดันให้ราคาทองกลับอ่อนตัวลงไปยังแนวรับบริเวณ 1,280 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ต่อไป

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (15/08/2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม 2557 ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 31.93/95 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดในวันพุธ (13/8) ที่ระดับ 31.98/32.00 บาท/ดอลลาร์ โดยที่เงินบาทแข็งค่าตามสกุลชเงินในภุมิภาคและจากกระแสเงินลงทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่องทั้งตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ขณะที่ทางสหรัฐฯมีการประกาศตัวเลขยอดค้าปลีกประจำเดือนกรกฎาคม ซึ่งไม่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้ โดยปัจจัยหลักจากการที่ผู้บริโภคมีความต้องการรถยนต์เพิ่มขึ้นเพียง 9% จากปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะอยู่ในระดับต่ำมาก แต่ปัจจัยจากอัตราการปรับตัวเพิ่มขึ้นของค่าจ้างนั้นไม่มากพอที่จะสนับสนุนการซื้อรถยนต์ ขณะที่ทางตลาดมีการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯในครึ่งปีหลังอาจมีการขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าครึ่งปีแรก หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดยเฉพาะการปรับตัวของอัตราค่าจ้างที่ต่ำกว่าควรจะเป็น ถึงแม้ว่าตลาดการจ้างงานของสหรัฐฯจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม ทั้งนี้ ระหว่างวันค่าเงินบาทมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ระดับ 31.86-31.94 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 31.86-31.88 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานในภูมิภาคยังคงล้นตลาดจากการที่โรงกลั่นน้ำมันกลับมาดำเนินการผลิตอีกครั้งหลังปิดซ่อมบำรุง นอกจากนี้อุปสงค์ยังคงเบาบางเนื่องจากหมดฤดูกาลท่องเที่ยวในเอเชีย

 

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นในภูมิภาค เช่น ฟิลิปปินส์ และ จีน โดยความต้องการใช้น้ำมันดีเซลในจีนปรับตัวดีขึ้นหลังหมดฤดูกาลห้ามทำประมง

 

ทิศทางราคาน้ำมันดิบ

 

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 95-100 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 102-107 เหรียญฯ

 

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

 

ภาวะอุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินบริเวณทะเลเหนือและแอฟริกา อันเป็นผลมาจากความต้องการใช้น้ำมันดิบที่ปรับลดลงจากโรงกลั่นในยุโรปและเอเชียยังกดดันราคาน้ำมัน อย่างไรก็ดี แผนการปิดซ่อมบำรุงหลุมน้ำมัน Buzzard ที่ทะเลเหนือในเดือน ส.ค. จะช่วยให้ภาวะอุปทานส่วนเกินที่ทะเลเหนือปรับเพิ่มขึ้นไปไม่มากนัก

 

ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและนานาประเทศอันสืบเนื่องจากความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครนที่มีแนวโน้มผ่อนคลายลง ส่งผลกดดันราคาน้ำมัน โดยล่าสุดรัสเซียได้สิ้นสุดการซ้อมรบที่บริเวณชายแดนยูเครนแล้ว ขณะที่กลุ่มกบฏก็กำลังเจรจาหยุดยิงกับยูเครน

 

เหตุการณ์ในอิรักยังคงไม่ส่งผลต่อการผลิตและส่งออกน้ำมันดิบทางใต้ของประเทศ แม้ล่าสุดสหรัฐฯ จะมีการส่งกองกำลังทางอากาศเข้าแทรกแซงในอิรักอีกครั้ง เพื่อหวังจะหยุดยั้งการบุกเข้าโจมตีเมืองเคิร์ดทางตอนเหนือของอิรักโดยกลุ่มกลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลาม (IS) โดยหลายฝ่ายมองว่าการแทรกแซงของสหรัฐฯ เป็นเพียงการเข้าควบคุมสถานการณ์เท่านั้น

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 15 สิงหาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยูโรโซนแจ้งตัวเลขศก.ไตรมาส2ไม่โตตามเป้า

ข่าวต่างประเทศ วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2557 7:27น.

 

ยูโรโซนแจ้งตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจไตรมาส 2 ของปีนี้ว่า ไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากไตรมาสแรก

ของปีนี้ เป็นผลจากการที่เศรษฐกิจของสมาชิกหลักอย่างเยอรมนีและฝรั่งเศสหดตัว

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า ยูโรสแตท แจ้งว่า ไตรมาส 2 ของปีนี้เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัวที่ร้อยละ 0.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้ และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.2 สาเหตุหลักเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจเยอรมนีหดตัวร้อยละ 0.2 เศรษฐกิจฝรั่งเศสไม่โต และเศรษฐกิจอิตาลีหดตัวร้อยละ 0.2

 

แม้เศรษฐกิจของสมาชิกที่เคยเกิดวิกฤติและสมาชิกยุโรปตะวันออกขนาดเล็กบางประเทศเติบโตแข็งแกร่ง เช่น ลัตเวียขยายตัวร้อยละ 1 ฮังการีขยายตัวร้อยละ 0.8 แต่ก็ไม่สามารถชดเชยการชะลอตัวในเยอรมนี อันเกิดจากความตึงเครียดในยูเครนได้

 

 

UNประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอิรักขั้นเลวร้าย

ข่าวต่างประเทศ วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2557 7:47น.

 

สหประชาชาติประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินระดับ 3 ซึ่งถือเป็นระดับขั้นเลวร้ายสูงสุดในอิรัก ขณะที่การปะทะรอบใหม่

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สหประชาชาติประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในประเทศอิรัก อยู่ในขั้น "ฉุกเฉินระดับ 3" ซึ่งเป็นระดับเลวร้ายสุด พัฒนาการอันเสื่อมทรามที่จะกระตุ้นความช่วยเหลือด้านสิ่งของบรรเทาทุกข์และเงินทุนเพิ่มเติม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ที่พลัดถิ่นฐาน

 

โดย นิคโคเลย์ มลาเดนอฟ ทูตพิเศษของสหประชาชาติชี้ให้เห็นถึงขอบเขตและความซับซ้อนของหายนะทางมนุษยธรรมในอิรักในตอนนี้ โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติบอกด้วยว่า พวกเขาให้การสนับสนุนผู้ถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ความหวังว่าเขาจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลที่ครอบคลุมไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ซึ่งสามารถตอบโต้ภัยคุกคามจากพวกกบฏที่ดึงอิรักเข้าสู่วิกฤติครั้งเลวร้ายที่สุด นับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาถอนทหารออกไปในปี 2011ชนกลุ่มน้อยยาซิดีหลายหมื่นคนหลบหนีการรุกคืบของกลุ่มรัฐอิสลาม อพยพขึ้นไปอยู่บนภูเขาซินจาร์ แต่พวกเขาก็ต้องอยู่ในสถานการณ์วิกฤติท่ามกลางการโอบล้อมของพวกนักรบ จนสหรัฐอมเริกาและทหารอิรัก ต้องหย่อนเสบียงอาหารและน้ำในความช่วยเหลือเบื้องต้น

 

สหประชาชาติ เปิดเผยว่า พวกเขาจะเพิ่มความช่วยเหลือแก่ผู้ที่หลบหนีออกมาจากภูเขาซินจาร์ได้แล้ว รวมถึงชาวอิรักอีกกว่า 400,000 คน ที่เข้าไปลี้ภัยในจังหวัดดาฮุก ทางตะวันตกของเขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถานแห่งอิรักนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ขณะที่อีกจำนวนหนึ่งหลบหนีไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของเขตปกครองตนเองชาวเคิร์ดหรือลงไปทางใต้สุด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โอบามาแถลงเดินหน้าโจมตีทางอากาศ ISIS

ข่าวต่างประเทศ วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2557 7:31น.

 

ผู้นำสหรัฐอมเริกา แถลงยังเดินหน้าโจมตีทางอากาศต่อกลุ่ม ISIS ระบุสถานการณ์บนภูเขาซินจาร์ดีขึ้นอย่างมาก

สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานว่า ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐอเมริกา แถลงว่า สถานการณ์บนภูเขาซินจาร์ดีขึ้นอย่างมาก จากการโจมตีทางอากาศของเครื่องบินรบกองทัพสหรัฐและคาดหมายว่าคงไม่จำเป็นต้องดำเนินภารกิจอพยพผู้คนลงมาเพิ่มเติม

 

อย่างไรก็ตาม โอบามา ยืนยันว่า จะเดินหน้าโจมตีทางอากาศเพื่อปกป้องหน่วยงานต่าง ๆ และบุคลากรของสหรัฐอเมริกาในอิรักต่อไป รวมถึงเมืองอาร์บิล และเรียกร้องขอความสามัคคีในชาวอิรัก เพื่อปราบกองกำลังรัฐอิสลามให้แพ้พ่าย

 

ทั้งนี้ เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา พวกนักรบรัฐอิสลามรุกคืบเข้าโจมตีเมืองต่าง ๆ ในเขตปกครองตนเองชาวเคิร์ด จนต้องทำให้สหรัฐอเมริกาต้องปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ เพื่อขัดขวางกบฏกลุ่มนี้ และให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวคริสเตียนและชนกลุ่มน้อยชาวยาซิดีที่หลบหนีขึ้นไปอาศัยอยู่บนภูเขาซินจาร์ภายในวงล้อมของกลุ่มติดอาวุธ ISIS

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฟินแลนด์ดิ้นหนีพิษศก.หลังรัสเซียตอบโต้EU

ข่าวต่างประเทศ วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2557 20:19น.

 

ผู้นำฟินแลนด์ ขอพบ ปูติน ถกปัญหาเศรษฐกิจ หลังโดษพิษมาตรการโต้ อียู ของ รัสเซีย

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงาน รัฐบาลฟินแลนด์ และรัสเซีย ระบุว่า ผู้นำของทั้งสองประเทศ ซึ่งเป็นคู่ค้าทางเศรษฐกิจ จะพบปะเพื่อหารือด้านการค้าในวันศุกร์นี้ ซึ่งรัสเซียเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ของฟินแลนด์ ทำให้ฟินแลนด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกสหภาพยุโรป ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ หลังรัสเซียโต้ตอบมาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรป ทันที โดย ผู้นำฟินแลนด์ ระบุว่า การประชุมจะเน้นไปที่วิกฤตการณ์ในยูเครน ที่กำลังเกิดขึ้น ขณะที่รัสเซียกล่าวว่าการประชุมจะมุ่งเน้นไปที่ประเด็นการค้าทวิภาคีเป็นหลัก แหล่งข่าวระบุว่า ฟินแลนด์ ไม่ได้เป็นเพียงตัวแทนการเจรจาระหว่างรัสเซียและตะวันตก แต่รวมไปถึงรัสเซียด้วย คาดว่า การเจรจาจะทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง

ทั้งนี้ ฟินแลนด์ ได้มีการขอพบเพื่อหารือกับผู้นำของเครมลิน ตั้งแต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลัง รัสเซีย ประกาศไม่นำเข้าอาหารจากยุโรป เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ซึ่ง รัสเซีย เป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่ของฟินแลนด์ 3 บริษัทใหญ่ เป็นซัพพลายเออร์หลักของผลิตภัณฑ์นมและผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ ในห้างสรรพสินค้าของรัสเซีย

 

 

ดัตช์เตรียมพิจารณาส่งอาวุธช่วยเคิร์ดต้านISIS

ข่าวต่างประเทศ วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2557 20:55น.

 

เนเธอร์แลนด์ ประกาศเตรียมพิจารณาส่งอาวุธช่วยเคิร์ด ต้านกลุ่มก่อการร้าย หากสถานการณ์ในภูมิภาค ไม่ดีขึ้น

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงาน รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ประกาศเตรียมพิจารณาส่งอาวุธให้เขตปกครองตนเองเคิร์ดเพื่อเตรียมรับมือกับกลุ่มก่อการร้ายที่รุกรานเข้าใกล้พื้นที่ โดยบระบุว่า สหรัฐฯ ได้เพิ่มกำลังทางทหารเพื่อช่วยเหลืออิรัก และเคิร์ด ซึ่ง รัฐสภาเนเธอร์แลนด์ เข้าใจพันธมิตรทางทหารอย่างสหรัฐฯ และพร้อมสนับสนุนอาวุธให้เคิร์ดรวมทั้งสนับสนุนรัฐบาลอิรัก บนเงื่อนไขว่าหากสถานการณ์ในปัจจุบันปลอดภัย การพิจารณาความช่วยเหลือจากคณะรัฐสภาเนเธอร์แลนด์ ก็จะไม่เป็นผล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีวันอังคาร เริ่มตันสัปดาห์ใหม่ ราคาทองมีแต่ย่อ และมีอุปสรรถจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า จากเงินไหลเข้าประเทศมาเข้าตลาดหุ้นฯ เพราะเขามองโอกาสในการลงทุนของรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากงบประมาณใหม่เข้า สนช. เป็นที่เรียบร้อยในวาระแรก ส่วนปัญหาสงครามสู้รบในต่างประเทศก็ยังมีอยู่ แต่นักลงทุนสหรัฐฯ ทำเป็นไม่สนใจเลย แม้ขณะนี้จะเกิดเหตุความไม่สงบในรัฐมิสซูรี่ สำนักข่าวสหรัฐฯ ก็ปิดเงียบ ไม่มีการมาพูดถึง แถว่าสหรัฐฯ ยังดีเยี่ยมทุกด้านอยู่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 12,26,9 แบบประชานักลงทุนนิยม แสดงอาการตัดกันของเส้นแดงและดำ ปรากฎการณ์แบบนี้ เวลารหัสนี้ ตัดกันวันไหน อีกวันจะมี Rebound เด้งคืน ก็คงต้องติดตามดูว่า จะเด้งเหมือนทุกครั้ง หรือไม่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 เส้นส่งสัญญานนำทาง ตัดกันแล้ว ถ้ามองและยึดตามรหัสฯ นี้ ก็ต้องขายทิ้ง Cut Loss แต่ถ้าตัดขาดทุนตอนนี้ เสียหาย 300-350 บาท ส่วนหนึ่งเกิดจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าจาก 32.25 แข็งมาที่ 31.87 แต่ยังไงก็ตาม เด็กขายของจะขอลุ้น ทนถือ ถือทน ต่ออีก 1-2 วัน เมื่อ รหัส 12,26,9 มันตัดกัน น่าจะมี Rebound รวมถึงสถานการณ์ทั่วโลก ก็น่าจะทำให้ทองเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ของนักลงทุนได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 7,5,2 เส้นดำมันออกยาวกว่าเส้นแดง ถึงแม้ว่าเส้นแดงจะอยู่ด้านล่าง ก็ยังเดาว่า เส้นดำมันขายมากไป เส้นแดงซื้อน่าจะไล่ตามมาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นบวกต่อราคาทองได้ จึงต้องขอถือลุ้นขึ้นต่อไป อีกสัก 1-2 วัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท ก็คงขึ้นกับใครจะมาเป็น นายกฯ ไทย ในเร็ววันนี้ โผออกมาแล้ว เดี๋ยวก็รู้ว่า จะอ่อนลงไปเท่าไหร่ดี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฟากยุโรป วันนี้ ไม่มีตัวเลขที่สำคัญออก จึงไม่น่ามีเหตุให้ราคาวูบวาบช่วงบ่าย ในช่วงๆ ของเวลาประกาศฯ รายงาน จะมีก็ช่วงเปิดตลาด ที่ขึ้นลง ตามความอยากซื้ออยากขาย ของนักลงทุน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...