ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

เริ่มต้นเช้าวันพุธที่ 13 สิงหาคม หลังจากหยุดพักผ่อนมา 4 วันเต็มๆๆ ราคาทองยังไม่ไปไหนไกล ชนด้านบน แล้วก็ยังมาป้วนเปี้ยนแถวๆ 1307-1309 ในแนวรับที่ดีได้ มาเริ่มต้นลุ้นกันต่อ โดยถ้ามองอดีตที่ผ่านมาวันเดียวกันของปีที่แล้ว ก็จะเริ่มไต่ขึ้นแบบต่อเนื่องได้แล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 แบบส่ง Signal สัญญานนำทาง ที่ตัดกันไปแล้วนั้น ( ให้เข้าซื้อ ) ก็ยังคงอยู่ในด้านที่จะขึ้นต่อไป ผมซื้อเข้าไปแล้วตั้งแต่วันศุกร์เช้า ก็ต้อง " ทนถือ ถือทน " ต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 7,5,2 แบบไวไว ออกมาทับกัน ของเส้นดำเส้นแดง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท อาจอยู่ในกรอบ 32.05-32.15 ยังไม่น่าตกใจ ที่จะทำให้ราคาทองในประเทศตกฮวบจนน่าตกใจ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานจีน โพลว่า อุตสาหกรรมไม่ดี แต่ไม่ส่งผลต่อราคาทองในทันที น่าจะส่งผลในตอนตลาดสหรัฐฯ / ส่วนในยุโรป โพลฯว่า ไม่ดี ถ้าออกตามโพลฯ ก็ต้องนะวังราคาทองย่อตัว แต่ทั้งนั้น ก็ต้องอยู่ที่สถานการณ์การสู้รบ ในอิรัค และ ยูเครน แต่ท่าทางนักลงทุนสหรัฐฯ พยายามปิดตา ไม่สนใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเลย พยายามไม่ยอมให้เกิดกระแส เพราะตัวเองมีเอี่ยวอย่างมาก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานสหรัฐฯ โพลว่า เสมอตัวเท่าเดิม ในยอดค่าปลีก ออกมาตามนั้น ราคาทองก็นิ่งๆๆ แต่ถ้าออกมาแย่ ราคาทองก็ขยับขึ้น ก็ภาวนาบวกแช่งให้ยอดขายปลีกร่วงลงแรง ไปเลย เพราะถ้าอ้างถึง ตัวเลขจีนที่จะออกมา ถ้าลดลง ก็น่าจะหมายถึง ยอดขายในตลาดสหรัฐฯ ไม่ดี จึงมีการสั่งผลิตในจีนลดลง จึงขอให้ดูตัวเลขจีน เที่ยงนี้ ให้ดีๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันร่วงต่ำสุดรอบ13เดือน หุ้นสหรัฐฯ-ทองคำปิดสวนทาง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 สิงหาคม 2557 04:36 น.

 

 

เอเอฟพี/รอยเตอร์ - ราคาน้ำมันลอนดอนร่วงลงต่ำสุดรอบ 13 เดือนวานนี้(12) หลังถูกปรับลดแนวโน้มอุปสงค์ของปี2014และ2015 ขณะที่วอลล์สตรีทปิดลบและทองคำบวกเล็กน้อย นักลงทุนกังวลสถานการณ์ระหว่างรัสเซียกับยูเครน

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนกันยายน ลดลง 71 เซนต์ ปิดที่ 97.37 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 1.66 ดอลลาร์ ปิดที่ 103.02 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ในรายงานที่เผยแพร่ในสัปดาห์นี้ ทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ(ไออีเอ) ปรับลดประมาณการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกลงจากคราวก่อน โดยในปี 2014 คาดหมายว่าจะเพิ่มขึ้นแค่ 1.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากที่เคยคาดคะเนเมื่อเดือนมิถุนายน ว่าจะเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

นอกจากนี้แล้วทางทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ ยังปรับลดประมาณการณ์การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันในปี 2015 ลง จาก 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เหลือ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยอ้างถึงอุปสงค์ที่ลดลงอย่างมากในชาติเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว ขณะที่ตลาดก็ล้นไปด้วยอุปทาน

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อวันอังคาร(12) ปิดลบเล็กน้อย ถุูกกดดันโดยหุ้นกลุ่มพลังงานและความกังวลต่อสถานการณ์ระหว่างยูเครนกับรัสเซีย

 

ดาวโจนส์ ลดลง 8.18 จุด (0.05 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,561.80 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 3.12 จุด (0.16 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,933.80 จุด แนสแดค ลดลง 12.08 จุด (0.27 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,389.25 จุด

 

นอกจากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์แล้ว วอลล์สตรีทยังถูกเหนี่ยวรั้งจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมนี ดิ่งลงแรง เหลือ 8.6 จุด ในเดือนสิงหาคม แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2012

 

ส่วนทองคำวานนี้(12) ปิดบวกครั้งแรกในรอบ 3 วันของการซื้อขาย หลังความกังวลต่อปัญหาระหว่างยูเครนกับรัสเซีย และวิกฤตในตะวันออกกลาง ผลักให้นักลงทุนหันเข้าหาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 10 เซนต์ ปิดที่ 1,310.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000091919

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองคำหลายวันที่ผ่านปิดตลาดทรงตัวที่บริเวณ 1,310 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากในระหว่างวันช่วงที่ตลาดการเงินของไทยปิดทำการราคาทองเคลื่อนไหว ระหว่างแนวรับและแนวต้านทางเทคนิคบริเวณ 1,300-1,330 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ประเด็นปัญหาการเมืองระหว่างประเทศยังเป็นปัจจัยบวกต่อการเคลื่อนไหวของราคา ทอง

 

โดยราคาทองปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ 1,308.65 ดอลลาร์ ลดลง 0.07 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,305 และ 1,317 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตามลำดับ ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ขายออกที่บาทละ 19,900 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 19,800 บาท กองทุน SPDR รายงานว่าได้ลดปริมาณการถือครองทองคำลงจากวันพฤหัสที่ผ่านมาราว 1.79 ตัน โดยปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำรวม 795.86 ตัน

 

ในการซื้อขายทองคำสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นตอบรับรายงานสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่าง ประเทศ หลังมีรายงานว่ารัสเซียประกาศมาตรการคว่ำบาตรสินค้าจากประเทศตะวันตก อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของราคาทองยังมีความจำกัด เนื่องจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่มีสัญญาณการฟื้นตัว และในสัปดาห์นี้คาดว่าสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองในหลายประเทศยัง เป็นประเด็นบวกต่อการเคลื่อนไหวของราคาทอง

 

อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าวคงจะมีผลต่อราคาทองในช่วงที่ราคาทองอ่อนตัวลง แต่สำหรับช่วงที่ราคาทองปรับตัวขึ้นมาเคลื่อนไหวเหนือแนวต้านบริเวณ 1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ประเด็นดังกล่าวจะมีผลต่อราคาทองในกรอบจำกัด และอาจมีการปรับฐานหากยังไม่มีรายงานความรุนแรงใดๆ เพิ่มเติม ส่วนการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา และยังมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์นี้

 

โดยเงินบาท แข็งค่าขึ้นหลังตลาดหุ้นไทยเริ่มฟื้นตัวพร้อมกับการกลับมาซื้อสุทธิในตลาด หุ้นไทย แม้ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนนักลงทุนต่างประเทศกลับมามียอดขายสุทธิ แต่คาดว่าเป็นการขายลดความเสี่ยงก่อนที่ตลาดหุ้นไทยจะปิดทำการต่อเนื่องหลาย วัน แต่ยังมีแนวโน้มที่นักลงทุนต่างประเทศจะกลับมาซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย เนื่องจากมีปัจจัยบวกจากประเด็นต่างๆ ในประเทศ ทั้งการจัดตั้งรัฐบาลและมาตรการลงทุนจากภาครัฐ ส่วนการเคลื่อนไหวของราคาทองคำทางเทคนิค ซึ่งหลายวันที่ผ่านมาราคาทองแกว่งตัวระหว่างแนวรับและแนวต้านบริเวณ 1,300-1,330 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และปิดตลาดทรงตัวบริเวณ 1,310 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน ภาพการเคลื่อนไหวของราคาทองจึงยังมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวระหว่างแนวรับและ แนวต้านบริเวณ 1,300-1,330 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ต่อไป หากราคาทองอ่อนตัวลงไปต่ำกว่าแนวรับหรือดีดตัวผ่านแนวต้านขึ้นไปได้ คาดว่าจะมีแรงซื้อขายเข้ามามากจนการเคลื่อนไหวของราคาทองมีกรอบการแกว่งตัว ที่กว้างมากขึ้น

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (13/08/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวอย่างผันผวนในช่วงเช้าวันนี้ ขณะที่นักลงทุนจับตาดูรายงานผลประกอบการของภาคเอกชน ขณะที่ญี่ปุ่นเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2 หดตัว 6.8% เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่มีการขึ้นภาษีการบริโภค

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific Index (MXAP) เคลื่อนไหวเล็กน้อยที่ระดับ 146.59 จุด เมื่อเวลา 9.44 น.ตามเวลาโตเกียว

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 15,111.76 จุด ลดลง 49.55 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 24,726.24 จุด เพิ่มขึ้น 36.83 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,155.02 จุด ลดลง 8.10 จุด

 

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,046.68 จุด เพิ่มขึ้น 5.21 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,298.80 จุด ลดลง 4.59 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,853.25 จุด เพิ่มขึ้น 2.86 จุด

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 13 สิงหาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร ING ชี้ นักลงทุนจะมีข้อมูลที่ชัดเจนในสัปดาห์นี้ว่า เศรษฐกิจของยูโรโซนมีความเปราะบางมากน้อยแค่ไหน ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย็งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในยูเครนและอิรักที่สร้างบรรยากาศอึมครึมไปทั่วตลาดโลก

 

เมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจสหรัฐและอังกฤษที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง เศรษฐกิจในเขตยูโรโซนกลับมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงไตรมาสสิ้นสุดเดือนมิ.ย. โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาคได้ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง ในขณะที่เศรษฐกิจอิตาลีหดตัวกลับเข้าสู่ภาวะถดถอย

 

รายงานของ ING ระบุว่า “สหรัฐและอังกฤษมีแนวโน้มจะอยู่ในกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวรวดเร็วที่สุดทั้งในปีนี้และปีหน้า ในขณะที่สถานการณ์ในยุโรปมีทิศทางที่ตรงกันข้าม"

 

ทั้งนี้ สหภาพยุโรปมีกำหนดจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสำหรับ 18 ประเทศในไตรมาสเดือนเม.ย.-มิ.ย. ในวันพฤหัสบดีนี้ และเยอรมนีมีกำหนดจะเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของประเทศในช่วงเวลาเดียวกัน

 

นักวิเคราะห์คาดว่า ทั้งเยอรมนีและสหภาพยุโรปจะไม่เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างมากในช่วงดังกล่าว เนื่องจากการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการบุกรุกยูเครนได้บั่นทอนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 13 สิงหาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาน้ำมันดิบสหรัฐปิดร่วงลงเล็กน้อย จากกระแสคาดการณ์ความต้องการน้ำมันทรุด เพราะเศรษฐกิจชะลอตัว

 

 

สัญญาน้ำมันดิบตลาดล่วงหน้าสหรัฐ ปิดปรับตัวลง หลังจากสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ หรือไออีเอ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจที่ ชะลอตัวในปีนี้จะส่งผลให้ความต้องการบริโภคน้ำมันเพิ่มขึ้นวันละ 1 ล้านบาร์เรล ลดลงจากที่เคยคาดการณ์ในเดือนก.ค.ว่าจะเพิ่มขึ้นวันละ 1.2 ล้านบาร์เรล

 

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัส ตลาดไนเม็กซ์ ส่งมอบเดือนก.ย. ปรับตัวร่วงลง 71 เซนต์ ปิดที่ราคา 97.37 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนก.ย.ร่วงลง 1.66 ดอลลาร์ ปิดที่ราคา 103.02 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ถือเป็นราคาปิดที่ระดับต่ำสุด นับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. ปี 2556

 

นอกจากนี้ ไออีเอ ซึ่งระบุว่า การขยายตัวอย่างไม่สม่ำเสมอของเศรษฐกิจโลก ฉุดรั้งความต้องการใช้น้ำมันและราคาน้ำมันดิบ ท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคสำคัญๆของโลก ยังได้ปรับลดคาดการณ์ความต้องการน้ำมันดิบในปีหน้าเหลือ 1.3 ล้านบาร์เรล จาก 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

 

 

 

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (13/08/2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เศรษฐกิจอิตาลีกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้งในช่วงครึ่งแรกของปี 2557 นับเป็นแรงกดดันระลอกใหม่ต่อรัฐบาลของนายมัตเตโอ เรนซี ในการเร่งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันหลายฝ่ายเริ่มกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของภูมิภาคยูโรโซน

สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี เปิดเผยตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำไตรมาส 2 ของปี 2557 โดยเศรษฐกิจอิตาลีหดตัวลง 0.2% นับเป็นการหดตัวที่เหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่ประเมินว่าเศรษฐกิจ อิตาลีจะเติบโตได้ 0.1% ในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งการหดตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2 หมายความว่าอิตาลีกลับเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้งหลังจากไตรมาสแรก เศรษฐกิจหดตัวที่ 0.1% ทั้งนี้ เศรษฐกิจอิตาลีเพิ่งก้าวพ้นจากภาวะถดถอยต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปีมาเมื่อไตรมาสสุดท้ายของปี 2556

 

นักเศรษฐศาสตร์คาดหมายว่า ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดจะทำให้รัฐบาลอิตาลีประกาศปรับลดคาดการณ์การเติบโตทาง เศรษฐกิจในปี 2557 ลงเหลือ 0.8% ซึ่งเป็นตัวเลขที่หลายฝ่ายมองว่าสูงเกินไป ธนาคารกลางอิตาลีและสมาพันธ์แรงงานแห่งอิตาลี (Confindustria) คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้ไว้เพียง 0.2%

การกลับสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหมายถึงแรงกดดันต่อนายมัตเตโอ เรนซี นายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่เข้ามารับตำแหน่งเมื่อ 6 เดือนก่อน นายเรนซีถูกมองว่าเป็นความหวังใหม่ของการเมืองอิตาลีเมื่อแรกเริ่มที่เข้า รับตำแหน่ง ด้วยการให้คำมั่นว่าจะลดการใช้จ่าย ลดภาษี แปรรูปรัฐวิสาหกิจ และดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อฟื้นการเติบโตและสร้างงาน อย่างไรก็ดี เวลานี้เริ่มมีข้อกังขาต่อนายเรนซีว่าจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจได้ตามสัญญาที่ ให้ไว้หรือไม่ หลังจากช่วงที่ผ่านมาถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าความสนใจของนายเรนซีอยู่ที่การ ปฏิรูปวุฒิสภา

ฟรานเชสโก ดาเวรี นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปาร์มา กล่าวว่า "เศรษฐกิจอิตาลีหยุดนิ่งอยู่กับที่มาเป็นเวลา 1 ปีหลังจากเผชิญภาวะถดถอยมา 8 ไตรมาสติดต่อกัน สถานการณ์เช่นนี้นับเป็นความจำเป็นเร่งด่วนให้นายเรนซีต้องเร่งลงมือ หมายความว่าต้องเร่งทำงานด้านเศรษฐกิจและทำการปฏิรูปให้เกิดขึ้นจริง" ขณะที่ฟาบิโอ โฟอิส นักวิเคราะห์จากบาร์เคลย์ส มองว่า ตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอจะเป็นแรงกดดันต่อรัฐบาล และเชื่อว่าเป้าหมายลดการขาดดุลงบประมาณให้เหลือ 2.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปีนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้

ปิแอร์ คาร์โล ปาโดอัน รัฐมนตรีคลังของอิตาลี ยอมรับว่าประเทศมีปัญหาในการก้าวพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย และการเติบโตเกือบ 0% มาเป็นเวลา 10 ปี อย่างไรก็ดี อิตาลียังไม่มีความจำเป็นต้องให้ทรอยก้า ซึ่งประกอบด้วยสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เข้ามาช่วยเหลือในการปฏิรูปเศรษฐกิจ "ประเทศต้องปฏิรูปด้วยตัวเอง และเรากำลังทำอยู่ แต่ต้องเร่งทำให้เร็วขึ้นกว่านี้"

ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์กล่าวว่า ตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าความคาดหมายของอิตาลีอาจเป็นสัญญาณแรกๆ ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงผลกระทบจากความตึงเครียดกับรัสเซียต่อเศรษฐกิจ ยุโรป มาร์ติน ลัค นักเศรษฐศาสตร์จากยูบีเอส มองว่า ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับรัสเซีย ประกอบกับความไม่สงบในตะวันออกกลาง ซึ่งต่างเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของอิตาลี ทำให้ความต้องการสินค้าส่งออกจากอิตาลี โดยเฉพาะสินค้าหรูและแฟชั่น มีลดน้อยลง กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ลัคกล่าวด้วยว่า ตัวเลขล่าสุดเป็นข้อมูลก่อนเกิดเหตุการณ์ยิงเครื่องบินของสายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส เหนือน่านฟ้ายูเครน ซึ่งทำให้ความขัดแย้งตึงเครียดยิ่งขึ้น "ผมคาดว่าสถานการณ์จะเลวร้ายลงอย่างแน่นอน"

ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดจากอิตาลี รวมถึงเยอรมนีที่รายงานตัวเลขคำสั่งซื้อสำหรับภาคอุตสาหกรรมลดลงถึง 3.2% ในเดือนมิถุนายนเมื่อเทียบกับพฤษภาคม ทำให้เกิดความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาคยูโรโซนที่ยังฟื้นตัวได้อย่าง อ่อนแอและมีความเปราะบางต่อปัจจัยที่เข้ามากระทบอย่างไม่คาดหมาย มาร์โค แวกเนอร์ นักเศรษฐศาสตร์จากคอมเมิร์ซแบงก์ มองว่าเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาส 2 จะเติบโตได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้ สำนักงานสถิติยุโรปจะเปิดเผยประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในวันที่ 14 สิงหาคม

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 10 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

IEAปรับลดความต้องการน้ำมันโลกจากศก.โลกไม่นิ่ง

ข่าวต่างประเทศ วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2557 7:51น.

 

ทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ แถลงปรับลดตัวเลขประมาณการณณ์ความต้องการใช้น้ำมัน เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอน

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ไออีเอปรับลดตัวเลขประมาณการความต้องการใช้น้ำมันลงวันละ 1 ล้านบาร์เรล จากเดิมที่คาดการณ์ไว้วันละ 1.2 ล้านบาร์เรล เมื่อ 1 เดือนก่อนหน้านี้ เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันในไตรมาสที่ 2 อยู่ที่เพียงวันละ 700,000 บาร์เรล ซึ่งนับว่าต่ำสุดตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2555 และไอเอ็มเอฟได้ปรับลดตัวเลขประมาณการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ร้อยละ 0.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 และการที่เศรษฐกิจขยายตัวน้อยลงจะทำให้ความต้องการใช้พลังงาน ซึ่งรวมถึงน้ำมันลดลงตามมา

 

ส่วนความต้องการใช้น้ำมันโดยรวมในปีนี้อยู่ที่วันละ 92.7 ล้านบาร์เรล นอกจากนี้ไออีเอยังได้ปรับลดตัวเลขประมาณการความต้องการใช้น้ำมันในปี 2558 เนื่องจากตัวเลขประมาณการณ์ความต้องการใช้น้ำมันในจีน รัสเซีย และญี่ปุ่นลดลง

 

ไออีเอระบุว่า ปัจจัยเหตุขัดแย้งในลิเบีย อิรัก และยูเครน ซึ่งคาดกันว่าจะทำให้เกิดความตึงเครียด และทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น อาจทำให้เกิดผลในทางตรงกันข้าม และการคว่ำบาตรทางการค้าต่อรัสเซียกรณีเหตุขัดแย้งในยูเครนอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจรัสเซียและความต้องการใช้น้ำมัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาทเปิดที่ 32.06/07 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า คาดวันนี้เคลื่อนไหว 31.95-32.10 บาท/ดอลลาร์

 

นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ เปิดเผยว่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.06/07 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 32.13/14 บาท/ดอลลาร์ เมื่อเวลา 08.55 น.เงินบาทไปทำโลว์ที่ระดับ 32.02 บาท/ดอลลาร์ หลังได้รับแรงหนุนจากการเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างประเทศ

 

"ปรับตัวแข็งค่าต่อเนื่องจากช่วงวันหยุดยาวตามแรงเทขายดอลลาร์" นักบริหารเงิน กล่าว

 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าเงินบาทในช่วงนี้เป็นเรื่องของทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างประเทศเป็นสำคัญ ทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินบาทในช่วงนี้ไม่ได้ตามค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค

 

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้จะอยู่ระหว่าง 31.95-32.10 บาท/ดอลลาร์

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 13 สิงหาคม 2557)

 

 

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.06/07 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 32.13/14 บาท/ดอลลาร์ เมื่อเวลา 08.55 น.เงินบาทไปทำโลว์ที่ระดับ 32.02 บาท/ดอลลาร์ หลังได้รับแรงหนุนจากการเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างประเทศ

 

"ปรับตัวแข็งค่าต่อเนื่องจากช่วงวันหยุดยาวตามแรงเทขายดอลลาร์" นักบริหารเงิน กล่าว

 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าเงินบาทในช่วงนี้เป็นเรื่องของทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างประเทศเป็นสำคัญ ทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินบาทในช่วงนี้ไม่ได้ตามค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค

 

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้จะอยู่ระหว่าง 31.95-32.10 บาท/ดอลลาร์

 

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 102.25 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 101.90 เยน/ดอลลาร์

 

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3365 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.3346 ดอลลาร์/ยูโร

 

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.2470 บาท/ดอลลาร์

 

- ตลาดหุ้นไทยฟื้นหนุนนักลงทุนหน้าใหม่ เข้าลงทุน เผยครึ่งปีแรกมีเข้ามาแล้วกว่า 4 หมื่นราย เดือนมิ.ย.เดือนเดียวเพิ่มขึ้นกว่า เท่าตัว ตลาดหลักทรัพย์คาดทั้งปีได้นักลงทุนใหม่ 8 หมื่นรายตามเป้า ใช้กลยุทธ์จับมือธนาคารพาณิชย์พบกลุ่มลูกค้าเงินฝาก หวังขยายฐานได้เร็วและได้นักลงทุนที่มีคุณภาพ

 

- แบงก์ชาติเผยสถาบันการเงินปล่อยกู้ในระบบเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน 3.33 หมื่นล้านบาท สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ได้สินเชื่อเพิ่ม พบอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลนำโด่ง 5.76 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจจัดหาที่อยู่อาศัย ขณะที่ธุรกิจขอสินเชื่อจากแบงก์ไปปล่อยกู้ต่อ รวมถึงธุรกิจประกันภัยได้รรับสินเชื่อลดลงถึง 1.19 แสนล้านบาท ภายในไตรมาสเดียว

 

- นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมยังคงตัวเลขเป้าหมายการส่งออกสินค้ายานยนต์ปีนี้ไว้ที่ 10% คิดเป็นมูลค่า 20,582.43 ล้านเหรียญสหรัฐ เช่นเดียวกับการส่งออกสินค้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ที่ขยายตัว 10% หรือมูลค่า 13,183.94 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากแนวทางของอุตสาหกรรมยานยนต์มีทิศทางดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการที่บอร์ดบีโอไอเริ่มอนุมัติโครงการต่างๆ ที่ค้างอยู่ โดยเฉพาะในกลุ่มยานยนต์ที่มีการอนุมัติโครงการมาแล้วกว่าแสนล้านบาท และหากโครงการอีโคคาร์ 2 แล้วเสร็จจะช่วยให้ตลาดยานยนต์คึกคักมากขึ้น

 

- น.ส.ณัฐฑี จุฑาวรากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิว เจอร์ส จำกัด เปิดเผยว่า ราคาทองคำในช่วงก่อนวันหยุดยาวต่อเนื่อง 4 วัน ปรับเพิ่มขึ้นจากปัจจัยต่างประเทศเป็นหลัก จากที่เกิดความไม่สงบทั้งในตะวันออกกลาง ความตึงเครียดในอิรัก ส่งผลให้ราคาทองคำจากที่ต่ำกว่า 1,300 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ กลับดีดตัวขึ้นมา เป็นการลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยงในตลาดหุ้นที่ค่อนข้างผันผวน แต่อยากให้ติดตามปัจจัยในสัปดาห์หน้า ทั้งตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่คาดว่าจะออกมาดี การลดมาตรการคิวอี และแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะกดดันให้ราคาปรับขึ้นแต่เป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น

 

- ธนาคารกลางจีนพยายามอย่างหนักในการผลักดันการเพิ่มสัดส่วนการใช้เงินหยวนในตลาดทุนโลก ทั้งการเปิดกว้างให้ค่าเงินหยวนเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงได้อย่างเสรีมากขึ้นโดยล่าสุด สามารถเคลื่อนไหวได้มากกว่า 2% จากเดิมที่ควบคุมไว้ไม่เกิน 1% ส่งผลให้การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านอัตราแลกเปลี่ยน RMD ค่อนข้าง จะเปิดเสรีองค์กรต่างๆ จะได้รับความสะดวกมากขึ้น

 

- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเทียบยูโรเมื่อคืนนี้(12 ส.ค.) หลังจากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของนักลงทุนเยอรมนีอ่อนแรงลงในเดือนส.ค. โดยค่าเงินยูโรร่วงลงเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3368 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3383 ดอลลาร์

 

- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป(ZEW) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักวิเคราะห์ในเยอรมนีที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจลดลงมาอยู่ที่ 8.6 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับแต่ปี 2555 จากระดับ 27.1 ในเดือนก.ค. โดยความเชื่อมั่นที่ย่ำแย่ของนักลงทุนเยอรมนีได้ถ่วงค่าเงินยูโรลงแตะระดับต่ำสุดนับแต่เดือนพ.ย.ปีที่แล้ว เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

 

นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีความกังวลว่ามาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจากทางสหภาพยุโรป (อียู) และสหรัฐ อาจจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซน และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้น

 

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ หลังจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกในปี 2557 โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 71 เซนต์ ปิดที่ 97.37 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 1.66 ดอลลาร์ ปิดที่ 103.02 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2556

 

- สมาคมแลกเปลี่ยนทองคำและเงินของจีน เปิดเผยว่า ราคาทองคำที่ตลาดฮ่องกงขยับลง 10 ดอลลาร์ฮ่องกง เปิดที่ระดับ 12,120 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตำลึงในวันนี้ โดยราคาดังกล่าวเทียบเท่ากับ 1,312.74 ดอลลาร์สหรัฐ/ทรอยออนซ์ ลดลง 1.08 ดอลลาร์สหรัฐ ที่อัตราแลกเปลี่ยนล่าสุด 1 ดอลลาร์สหรัฐ/ 7.75 ดอลลาร์ฮ่องกง

 

- รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ไตรมาส 2 ของญี่ปุ่น หดตัว 6.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี และหากเทียบเป็นรายไตรมาสพบว่า จีดีพีไตรมาส 2 หดตัวลง 1.7% อันเป็นผลมาจากมาตรการปรับขึ้นภาษีการบริโภคเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ส่วนการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสเดียวกันปรับตัวลดลง 5.0%

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 13 สิงหาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...