ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

แบงก์คาดการณ์ ที่ประชุม กนง. 17 ธ.ค.นี้หั่นดอกเบี้ยอีก 0.25% เหลือ 1.75% น้ำมันขาลงเป็นเหตุทำเงินเฟ้อร่วงตาม เศรษฐกิจโลกไม่เป็นใจยังอยู่ภาวะชะลอตัว หวั่นดอกเบี้ยถูกลากยาวตลอดปี 2558 รอลุ้นดอกแพงปี 2559 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีมองเศรษฐกิจไทยปีหน้า โอกาสจีดีพีโต 4% ยังยาก

 

นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกร จำกัด เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยคาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จากระดับ 2.00% มาอยู่ที่ระดับ 1.75% ในการประชุมรอบสุดท้ายของปีนี้ ในวันที่ 17 ธันวาคม เพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัว หลังจากช่วงที่ผ่านมาการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างล่าช้า อีกทั้งแรงกดดันเงินเฟ้อมีแนวโน้มผ่อนคลายลง ส่วนปัจจัยนอกประเทศที่เป็นประเทศคู่ค้าไทยทั้งจีน ญี่ปุ่น ยูโร ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว จึงคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสที่จะทรงตัวในระดับต่ำในระยะยาว เพราะสภาพคล่องในตลาดการเงินไทยยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และน่าจะเพียงพอสำหรับการระดมทุนและการปล่อยสินเชื่อในระยะแรกของปี 2558 ทั้งนี้ มองว่าสินเชื่อด้านการลงทุนและสินเชื่อเพื่อการค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น

 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ธนาคารทหารไทย ได้ประเมินในทางเดียวกันว่า เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังต้องใช้เวลาพักฟื้นอีกระยะหนึ่ง ด้วยแรงส่งทางเศรษฐกิจยังไม่เข้มแข็งพอ ทำให้ความหวังที่จะเห็นจีดีพีไทยในระดับ 4% ในปีหน้าจึงรางเลือนลง ด้านภาคต่างประเทศก็ยังมีความกังวลกับเศรษฐกิจยุโรป ญี่ปุ่น และจีนอยู่ และแม้รัฐบาลจะออกมาตรการของขวัญปีใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ การลดภาษีให้เอสเอ็มอี การตั้งนาโนไฟแนนซ์เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น มองว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจจริงไม่มากนัก เพราะเม็ดเงินในโครงการต่างๆ ยังไม่สูงมาก จึงมองว่าจะเป็นปัจจัยที่สร้างความกังวลต่อ กนง. และอาจจะลดดอกเบี้ยลง 0.25% เพราะอัตราเงินเฟ้อไม่ได้กดดัน ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างรวดเร็ว หากกลุ่มโอเปคยังยืนยันจะไม่ลดกำลังการผลิต ราคาน้ำมันอาจจะร่วงไปถึง 58 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และอาจส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปต่ำกว่ากรอบของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ปรับมาดูอัตราเงินเฟ้อทั่วไปแทนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน) ที่กำหนดช่วง 1.5-4.5% เป็นการปรับลงตั้งแต่เริ่มใช้กรอบเงินเฟ้อทั่วไปทันที และหากเงินเฟ้อไม่กลับมาเป็นขาขึ้น อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อปี 2558 ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จึงมีความเป็นไปได้สูงที่การประชุม กนง.วันที่ 17 ธันวาคมนี้จะลดอัตราดอกเบี้ยลง หากเป็นจริงภาวะดอกเบี้ยของไทยจะไม่กลับมาเป็นขาขึ้นจนกระทั่งปี 2559 และอาจทำให้ภาวะดอกเบี้ยต่ำในปัจจุบันจะลากยาวไปอีกทั้งปีหน้า

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 13 ธันวาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นในการซื้อขายช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนที่จะเริ่มมีแรงขายกลับออกมาจนราคาอ่อนตัวลดช่วงบวกลง ความกังวลเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้มีแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยกลับเข้ามา

 

นักลงทุนต่างรอติดตามการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ หากมีสัญญาณการปรับระดับอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจนก็จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ของราคาทองคำต่อไป โดยราคาทองคำปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ 1,222.10 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ลดลง 4.90 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,214 และ 1,227 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ตามลำดับ

 

ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ขายออกที่บาทละ 19,050 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 18,950 บาท กองทุน SPDR ไม่มีรายงานการเปลี่ยนแปลงปริมาณการถือครองทองคำ โดยปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำรวม 725.75 ตัน

 

ราคาทองคำอ่อนตัวลงในการซื้อขายช่วงค่ำของวันศุกร์ นักลงทุนบางส่วนเริ่มขายทองคำกลับออกมาก่อนที่จะมีการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ ในสัปดาห์นี้ ขณะที่นักลงทุนอีกส่วนหนึ่งขายทำกำไร ภายหลังราคาปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

 

นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาสดใสยังส่งผลให้ความต้องการลงทุนในทองคำลดลงด้วย โดยหลังการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในครั้งนี้เริ่มมีการประเมินว่าในคำแถลง หลังเสร็จสิ้นการประชุม ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเปลี่ยนแปลงภาษาที่ใช้ในแถลงการณ์ โดยอาจจะมีการตัดคำว่า "considerable time" ซึ่งไม่ได้ระบุถึงเวลาที่ชัดเจนในการขึ้นดอกเบี้ยออกไปจากแถลงการณ์

 

รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ออกมาในทางบวกเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กดดัน การเคลื่อนไหวของราคาทองคำ โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือนธันวาคมของ ทอมสันรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน แตะที่ 93.8 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 8 ปี และดีกว่าการคาดการณ์ของตลาด ส่วนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

มีรายงานข่าวว่าสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ มีมติอนุมัติร่างงบประมาณรายจ่ายจำนวน 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการยุติความเป็นไปได้ในการปิดหน่วยงานรัฐบาล หรือการชัตดาวน์ที่อาจจะเกิดขึ้น รายงานระบุว่าสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ มีมติอนุมัติร่างงบประมาณดังกล่าวด้วยเสียงสนับสนุน 56-40 เสียง ซึ่งจะมีการนำเสนอต่อประธานาธิบดีบารัค โอบามา ลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมายในช่วงต่อไป

 

ส่วนภาพการเคลื่อนไหวทางเทคนิคของราคาทองคำยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยในการซื้อขายช่วงปลายสัปดาห์ก่อนราคาทองอ่อนตัวลงต่อเนื่องติดต่อกันหลาย วัน แต่ยังคงสามารถประคองตัวเหนือแนวรับบริเวณ 1,210-1,215 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ภาพการฟื้นตัวจึงยังไม่เสียไป และหากในช่วงที่ราคาทองฟื้นตัวกลับและสามารถผ่านแนวต้านบริเวณ 1,240 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ขึ้นไปได้ ก็จะเป็นสัญญาณซื้อเก็งกำไรการฟื้นตัวขึ้นไปเคลื่อนไหวที่แนวต้านบริเวณ 1,255 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ต่อไป

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (15/12/2557)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาทเปิดที่ 32.80/81 บาท/ดอลลาร์ คาดแนวโน้มแกว่งแคบ มองวันนี้เคลื่อนไหวกรอบ 32.75-32.85 บาท/ดอลลาร์

 

 

นักบริหารเงินจากธนาคาร พาณิชย์ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 32.80/81 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่เคลื่อนไหวอยู่แถวระดับ 32.78/80 บาท/ดอลลาร์

 

"เงินบาทวิ่งแคบๆ ในกรอบประมาณ 5 สตางค์ อาทิตย์นี้ตลาดจับตาคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(FOMC) และการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของปี และก็ยังจะมีการประชุม ECB เรียกว่าสัปดาห์นี้มีไฮไลท์หลายเรื่อง" นักบริหารเงิน กล่าว

 

ส่วนผลการเลือกตั้งของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนายชินโสะ อาเบะ ชนะการเลือกตั้งถือว่าไม่ได้เซอร์ไพรส์ตลาดเท่าไหร่นัก

 

ประเมินว่า วันนี้เงินบาทน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆระหว่าง 32.75-32.85 บาท/ดอลลาร์

 

 

 

 

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (15/12/2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีตอนเช้าครับ

 

ค่อย ๆ ย่ออย่างเดียวเลยง่ะ

 

สงสัยฝรั่ง ถือเงินสด ตามที่ป๋าว่า

 

ขอบคุณนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตัวเลขขาเสี่ยงฝรั่งเดาทอง คงต้องภาวนาอย่าลงต่ำกว่า 1202 สำหรับคนมีทองในมือ แต่ระยะนี้มีเงินบาท ช่วยพยุงราคาทองไทย ไม่ให้ขยับลง

 

LONG GOLD above 1209 SL 1206 TP 1231-1248-1256

SHORT GOLD below 1202 SL 1205 TP 1191-1182-1168-1156

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พรุ่งนี้ วันหวยแห่งชาติ

 

ปล. เพิ่มเติม : ในหลวงทรงครองราชย์ นับเป็นปีที่ 68

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองเช้านี้ กับราคาปิดตลาดตามกราฟฯ มันแตกต่าง $10 คงสืบเนื่องมาจากเหตุการบุกยึดร้าน Cafe ในเมืองซิดนีย์ จับตัวประกัน ขู่วางระเบิด Opera House ซึ่งเช้านี้ ตำรวจจัดการวิสามัญฆาตกรรม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หวังว่า เปิดตลาดเอเชีย และ ตลาดยุโรป ราคาทองจะกระเตื้องขึ้นมา

 

รหัส MACD 5,35,9 ของราคาทองคำ เส้นดำเส้นแดง ยังไม่ได้ตัดกัน จะอยู่ในสถานะซื้อ คือ มีความหวังว่า Rebound และ เด้งคืนมาได้ ทองในพอร์ต หรือในมือ ของผม ขายเกลี้ยงหมดแล้ว ดังนั้น ถ้าราคาทองในประเทศประกาศขายที่ 18,700 บาท ( ดีนะ ที่ขายไปก่อน ขายตามแนวต้าน ไม่งั้น ก็คง รู้งี้ นึกว่าจะขึ้นตามสัญญานฯ ถึงเข้าซื้อวันนั้น มาวันนี้ แมร่งราคาลงมาต่ำกว่า ที่เข้าตามสัญญานเสียอีก )

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ ตามรหัส 5,35,9 สัญญานนำทาง ยังคงอยู่ในสถานะ อ่อนค่า เนื่องจากเส้นดำเส้นแดงยังไม่ได้ตัดกัน จังหวะขึ้นๆ ลงๆ ของค่าเงินย่อมมีจังหวะเกิด ซึ่งคาดเดาว่า วันนี้ คงอ่อนค่าลง

 

มันเป็นธรรมดาของตลาดเก็งกำไร ย่อมมีทำกำไรโดยขายออก และซื้อคืน เมื่อราคาต่ำลงมา ของค่าเงินฯ จนกว่าจะรู้ถึงผลการประชุม ธนาคารกลางสหรัฐฯ และถึงวันหยุดยาวเทศกาลคริสต์มาส ยังพอมีเวลาหาตังค์มาฉลอง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดาวโจร ร่วงต่อเนื่อง สัญญานออกมาด้านลบ ในขณะนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้ ขอดูตลาดหุ้นไทยเสียหน่อย อูย ! แม่เจ้า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท 32.95 คงวิ่งในกรอบแข็งค่า 32.85-32.90

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 16-17 ธันวาคม 2557 ว่า เฟดน่าจะยังคงอยู่ในเส้นทางในการทยอยกลับเข้าสู่การดำเนินนโยบายการเงินแบบ ปกติ (Policy Normalization) หลังจากการประชุม FOMC ในครั้งก่อนหน้า ได้มีมติให้ปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงต่อเนื่อง 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งนำมาสู่การสิ้นสุดการซื้อสินทรัพย์ภายใต้โครงการ QE อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ แม้การประชุมเฟดครั้งนี้ คงจะไม่มีการประกาศเปลี่ยนแปลงแนวทางในการดำเนินนโยบายการเงินอย่างมีนัย สำคัญ แต่ก็มีประเด็นที่น่าติดตามหลายด้าน ดังนี้

 

 

- พัฒนาการการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

ใน ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีพัฒนาการฟื้นตัวที่เด่นชัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขยายตัวของ GDP ในไตรมาส 3/57 ที่ขยายตัวสูงถึง 3.9% QoQ ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ที่ 3.3% ในขณะที่ ตลาดแรงงานอันเป็นเครื่องชี้เศรษฐกิจที่สำคัญของเฟด ก็บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวที่มีความชัดเจนและเป็นวงกว้างมากขึ้น โดยล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน 2557 ค่าเฉลี่ยของการปรับเพิ่มขึ้นของตำแหน่งงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 227,000 ตำแหน่ง/เดือน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงเดือนตุลาคมที่ 223,000 ตำแหน่ง/เดือน ขณะที่ การปรับขึ้นค่าแรงเฉลี่ยในเดือนพฤศจิกายน 2557 มีการเปลี่ยนแปลง 0.4% จากเดือนก่อน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มากที่สุดในรอบปีนี้ นอกจากนี้ หากพิจารณาการจ้างงานที่รวมจำนวนผู้ที่ทำงานชั่วคราวเนื่องจากไม่สามารถหา ตำแหน่งงานถาวรได้ และสัดส่วนผู้ว่างงานที่รวมผู้ที่ตัดสินใจเลิกหางาน (Marginally Attached Workers) หรือ U6-Unemployment อันเป็นเครื่องสะท้อนระดับที่ต่ำกว่าศักยภาพของตลาดแรงงาน (Slack in Labor Market) ก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยปรับลดลงจากระดับ 12.7% ในเดือนมกราคม 2557 สู่ระดับ 11.4% ในเดือนพฤศจิกายน 2557

 

 

- อย่างไรก็ดี เฟดคงยังไม่น่าจะเร่งรีบทยอยถอยออกจากมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน

 

ทั้งนี้ เนื่องจาก ประการแรก แรงกดดันเงินเฟ้อของสหรัฐฯ น่าจะมีแนวโน้มผ่อนคลายและอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายระยะกลางของเฟดที่ 2.0% อย่างต่อเนื่องไปอีกหลายเดือนข้างหน้า อันเป็นผลจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะพลังงาน มีแนวโน้มปรับลดลง กอปรกับทิศทางของเงินดอลลาร์ฯ ที่อาจยังแข็งค่าขึ้น ประการที่สอง เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเผชิญความเสี่ยงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระดับสูง โดยเฉพาะจากยูโรโซน ญี่ปุ่น จีน รวมถึงรัสเซีย อันอาจส่งผ่านไปยังเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้าได้ ทั้งนี้ ด้วยปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าว คงสนับสนุนให้เฟดมีโอกาสคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รวมทั้งขนาดของงบดุล ในจังหวะที่ยาวนานขึ้น เพื่อสร้างหลักประกันต่อการฟื้นตัวที่ต่อเนื่องให้กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีหน้า

 

 

ติดตามปัจจัยที่ส่งผลต่อจังหวะในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า ได้แก่

 

- การเปิดเผยตัวเลขทบทวนประมาณการของการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่ง คาดว่าจะสะท้อนมุมมองเชิงบวกมากขึ้น โดยในการประชุมครั้งนี้ จะมีการรายงานตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจในปี 2557-2558 ซึ่งจุดสนใจคงอยู่ที่ (1) คาดการณ์จีดีพีปี 2558 โดยจากพัฒนาการเศรษฐกิจเชิงบวกในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่เฟดอาจปรับจีดีพีในปี 2558 ให้สูงกว่า 3.0% ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าระดับศักยภาพในระยะยาวที่ 2.0-2.3% (2) มุมมองด้านตลาดแรงงาน โดยแม้ว่าในระดับการว่างงานในปัจจุบันที่ 5.8% จะเป็นขอบบนของระดับการว่างงานปกติในระยะยาวของสหรัฐฯ (NAIRU) ที่ 5.2-5.8% แต่หากพัฒนาการของตลาดแรงงานสหรัฐฯ สามารถที่จะรักษาโมเมนตัมการฟื้นตัวที่ค่อนข้างดีดังเช่นปัจจุบันได้ อัตราการว่างงาน ณ สิ้นปี 2558 ก็มีโอกาสที่จะปรับลดลงต่ำกว่า 5% (3) มุมมองเกี่ยวกับเงินเฟ้อของเฟด ที่ยังคงน่าจะทรงตัวในระดับต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อระยะกลาง ทั้งนี้ แม้เป็นที่คาดหมายว่า คาดการณ์ตัวเลขจีดีพีและระดับการว่างงานอาจได้รับทบทวนไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งหนุนการปรับนโยบายการเงินของเฟดเข้าสู่ระดับปกติ แต่หากตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของเฟด ยังออกมาค่อนข้างต่ำ ก็อาจยังตอกย้ำภาพที่เฟดไม่จำเป็นต้องเร่งรีบตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ได้

 

- การสื่อสารของเฟดไปยังสาธารณะชนในบันทึกการประชุมว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อความในการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำอีกระยะเวลาหนึ่ง หลัง มาตรการ QE สิ้นสุดหรือไม่ อันคงเป็นตัวแปรสำคัญที่อาจจะมีผลต่อจังหวะในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบายครั้งแรกของสหรัฐฯ ในปีหน้า ว่ามีโอกาสที่จะเกิดขึ้นในจังหวะที่เร่งหรือชะลอลงจากเดิม

 

- การผลัดเปลี่ยนสมาชิกที่มีสิทธิในการลงมติปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของเฟด (FOMC Voting Member) โดยในปี 2558 จะมีการผลัดเปลี่ยนสมาชิกระหว่างสาขาของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve Bank: FRB) ประจำปี จำนวน 4 สาขา (ยกเว้นสาขานิวยอร์ก) ซึ่งคาดว่า สมาชิกที่ลงมตินโยบายการเงินของเฟดส่วนใหญ่จะมีมุมมองที่สนับสนุนการคงอัตรา ดอกเบี้ยในระดับต่ำ มากกว่าสมาชิกที่มีสิทธิในการลงมติในช่วงปี 2557 อันอาจเป็นนัยถึงการเปลี่ยนแปลงท่าทีต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายการ เงินสหรัฐฯ ที่คงเกิดขึ้นอย่างไม่เร่งรีบและมีความระมัดระวังมากขึ้น

 

 

สำหรับผลต่อไทยนั้น ท่าทีของเฟดที่ถูกคาดหมายว่าจะคงระดับการผ่อนคลายทางการเงินอย่างต่อเนื่อง ทั้งในการประชุมรอบวันที่ 16-17 ธันวาคม 2557 นี้ รวมถึงในช่วงอีกหลายเดือนข้างหน้า (โดยคาดว่า โอกาสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด น่าจะอยู่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน) คงช่วยผ่อนคลายแรงกดดันต่อการเปลี่ยนแปลงกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดการ เงินโลก ซึ่งคงเพิ่มความยืดหยุ่นให้ทางการไทยสามารถคงนโยบายการเงินในลักษณะผ่อนคลาย เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความกังวลต่อความเสี่ยงเชิงเสถียรภาพด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่ผ่อนคลาย ลง

 

ที่มา : มติชนออนไลน์ (16/12/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...