ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

รอยเตอร์ - ราคาน้ำมันแตะระดับสูงสุดในรอบปี 2015 ระหว่างการซื้อขายของวันพุธ(6พ.ค.) หลังพบสต๊อกสำรองสหรัฐฯลดลงเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนมกราคม ส่วนวอลล์สตรีทและทองคำปิดลบ จากความเห็นของประธานเฟด

 

น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน ช่วงหนึ่งของการซื้อขายพุ่งขึ้นมากกว่า 2 ดอลลาร์ อยู่ที่ 62.58 ดอลลาร์ สูงสุดในรอบปี ก่อนค่อยๆปรับลงและสุดท้ายปิดที่ 60.93 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากวันอังคาร(5พ.ค.) 53 เซนต์ ส่วนเบรนต์ทะเลเหนือลอนดอน ช่วงหนึ่งขึ้นไปอยู่ที่ 69.63 ดอลลาร์ สูงสุดในปี 2015 ก่อนลงมาปิดที่ 67.77 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 25 เซนต์

 

ความเคลื่อนไหวในทางบวกของราคาน้ำมันในวันพุธ(6พ.ค.) มีขึ้นหลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่าคลังน้ำมันดิบสำรองของประเทศในสัปดาห์ที่แล้ว ลดลง 3.9 ล้านบาร์เรล ปรับลดครั้งแรกในรอบ 4 เดือน

 

ตัวเลขดังกล่าวมากกว่าที่สถาบันปิโตรเลียมอเมริกา (API) คาดหมายไว้กว่า 2 เท่า และสวนทางกลับที่เหล่านักวิเคราะห์ประมาณการณ์ไว้ว่าสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 17 ติดต่อกัน

 

หลังจากพุ่งขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบปีพักหนึ่ง นักลงทุนและเทรดเดอร์ได้เคลื่อนไหวขายทำกำไร หลังราคาน้ำมันขยับขึ้นต่อเนื่องมาหลายสัปดาห์ติด นอกจากนี้แล้วดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ก็เป็นปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำมันเช่นกัน

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อวันพุธ(6พ.ค.) ปิดลบเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน จากความผิดหวังต่อข้อมูลภาคแรงงานและคำเตือนจากนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ว่ามูลค่าตราสารทุนนั้นสูงเกินจริง

 

ดาวโจนส์ ลดลง 86.22 จุด (0.48 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 17,841.98 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 9.31 จุด (0.45 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,080.15 จุด แนสแดค ลดลง 19.69 จุด (0.40 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,919.64 จุด

 

ADP ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยตลาดแรงงานสหรัฐฯเผยว่าภาคเอกชนของอเมริกามีการจ้างงาน เพิ่มเติมแค่ 169,000 อัตราในเดือนเมษายน นับเป็นระดับที่ต่ำกว่า 200,000 อัตรา 2 สัปดาห์ติดต่อกัน ขณะที่ภาวะถดถอยของภาคปิโตรเลียมคือปัจจัยที่กัดเซาะตลาดแรงงาน

 

นอกจากนี้แล้ววอลล์สตรีทเมื่อวันพุธ(6พ.ค.) ยังถูกฉุดรั้งจากความเห็นของนางเยลเลน ที่เตือนว่ามูลค่าตลาดทุนนั้นสูงเกินไปและเสี่ยงก่ออันตรายแก่เสถียรภาพทาง การเงิน

 

นักวิเคราะห์มองว่าความเห็นดังกล่าวบ่งชี้ว่านางเยนเลน ยังคงมีความตั้งใจขึ้นดอกเบี้ย แม้มีข้อมูลทางเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและความอ่อนแอในตัวเลขการจ้างงาน ปัจจัยนี้เองที่ทำให้ราคาทองคำในวันพุธ(6พ.ค.) ปิดลบเล็กน้อย โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 2.90 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,190.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ (วันที่ 7 พฤษภาคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบสกุลเงินหลักอื่นๆเมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) เนื่องจากข้อมูลจ้างงานในภาคเอกชนของสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาด ซึ่งทำให้มีความวิตกเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1356 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.1195 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5248 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5177 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 119.35 เยน เทียบกับระดับ 119.87 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9148 ฟรังก์ จาก 0.9262 ฟรังก์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7967 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7942 ดอลลาร์

 

ดอลลาร์สหรัฐเผชิญแรงกดดันจากข้อมูลจ้างงานที่อ่อนแอ หลังผลการสำรวจของออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 169,000 รายในเดือนเม.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 205,000 ราย

 

ขณะเดียวกัน ADP ยังได้ทบทวนปรับลดตัวเลขจ้างงานในเดือนมี.ค.สู่ระดับ 175,000 ราย จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 189,000 ราย

 

นอกจากนี้ นักลงทุนยังให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดกับการแสดงความคิดเห็นของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่กล่าวเน้นย้ำว่า อัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำอาจก่อความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงิน อย่างไรก็ตาม นางเยลเยนไม่ได้ส่งสัญญาณชัดเจนเกี่ยวกับช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

 

บรรดานักวิเคราะห์เชื่อว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วในเดือนมิ.ย.อาจจะช่วยหนุนดอลลาร์ให้แข็งแกร่ง ขณะที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ล่าช้าออกไปอาจเป็นปัจจัยลบต่อดอลลาร์

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 7 พฤษภาคม 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กรีซได้ชำระหนี้วงเงิน 200 ล้านยูโร หรือ 222 ล้านดอลลาร์ให้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แล้วในวันนี้ และจะต้องจ่ายหนี้อีกงวดให้แก่ IMF ในวันที่ 12 พ.ค. วงเงิน 750 ล้านยูโร

 

เจ้าหน้าที่กระทรวงคลังกรีซ เปิดเผยว่า การชำระหนี้ครั้งนี้ได้มีการดำเนินไปตามปกติ

 

อย่างไรก็ดี หลายฝ่ายกังวลว่ากรีซจะเผชิญกับภาวะขาดแคลนเงินสด นอกเสียจากว่ากรีซจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้เพื่อให้มีคุณสมบัติในการรับความช่วยเหลือทางการเงินรอบใหม่

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ ผ06/05/58)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวเตือนเมื่อวานนี้ว่า ราคาหุ้นในตลาดที่พุ่งสูงในขณะนี้จะทำให้เกิดอันตรายได้ แต่ความเสี่ยงในระบบการเงินของสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะที่ควบคุมได้

 

นอกจากนี้ นางเจเน็ตยังกล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งอาจดีดตัวขึ้นทันทีที่เฟดปรับนโยบายกลับสู่ภาวะปกติ จะทำให้เกิดผลกระทบทั่วระบบการเงินของสหรัฐ

 

ก่อนหน้านี้ นางเยลเลนกล่าวว่า เฟดและสำนักงานกำกับกฎระเบียบในตลาดการเงินได้ช่วยให้ระบบธนาคารมีความปลอดภัยมากขึ้น หลังประสบวิกฤติการเงินในปี 2008

 

นางเยลเลนระบุว่า ผู้กำหนดนโยบายยังคงจับตาในภาคที่ต้องมีการดำเนินการต่อไป หรือจำเป็นต้องมีการปรับการดำเนินการ

 

นอกจากนี้ ประธานเฟดยังกล่าวว่า ภาคการเงินที่มีแนวปฏิบัติที่ดีจะช่วยส่งเสริมการจ้างงาน, นวัตกรรม และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (07/05/58)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 สัญญานนำทางราคาทอง ยังคงแนวโน้มลบ ขึ้นไปได้ ก็ลงมาอย่างง่ายดาย

post-775-0-37055300-1431044070_thumb.jpg

post-775-0-81346100-1431044087_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของ USD สัญญานนำทางยังคงแนวโน้ม ลบ แต่ทั้ง MACD อยู่โซนตล่างต่ำมาก และ ESI ผงกหัว จังหวะจะแข็งค่ามีมากกว่า

post-775-0-74478900-1431044390_thumb.jpg

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สิ่งที่นักลงทุนกล่าวอ้างว่ารอตัวเลขนี้ จะแสดงผลกระทบจริง หรือ คอยเก้อ แต่โพลฯ บอกว่า ตัวเลขดีขึ้น เวลา 19:30 น.

post-775-0-56023400-1431044556_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของ MACD สัญญานนำทางราคาทอง จากวันพฤหัสที่ ปิด 1183 มาปิดวันศุกร์ที่ 1187 สัญญานนำทางยังคงแนวโน้มด้านลบต่อไป จากที่เส้นดำเส้นแดงยังไม่มีการตัดกันรอบใหม่ ขึ้นไปชนต้านยังไง ก็ยังคงย่อมาแนวรับ " ทยอยซื้อตามจุดรับ ทยอยขายตามจุดต้าน "

post-775-0-52996500-1431260442_thumb.jpg

post-775-0-64913600-1431260469_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โพลล์รอยเตอร์ชี้ธนาคารสหรัฐส่วนใหญ่คาดเฟดจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยเดือนก.ย.นี้หลังตัวเลขจ้างงานเดือนเม.ย.ออกมาดีขึ้น

 

ธนาคารใหญ่ๆของสหรัฐที่รอยเตอร์สำรวจมีความเห็นเป็นส่วนใหญ่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) น่าจะเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนก.ย.นี้โดยจะปรับขึ้น 2 ครั้งในปีนี้หลังจากที่ตัวเลขการจ้างงานล่าสุดเมื่อวันศุกร์แสดงถึงสภาพเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานของการขยายตัวดี

 

ธนาคาร 16 ใน 18 รายที่ให้ความเห็นกับรอยเตอร์เชื่อว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 1 ครั้งในปี 2015 และมีเพียงธนาคาร 2 รายเท่านั้นที่คาดว่าเฟดจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยช้าลงหน่อยคือจะปรับในเดือนธ.ค.

 

ผลการสำรวจแสดงถึงความเห็นที่ตรงกันเป็นส่วนใหญ่ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นของเฟด (Fed funds rate) จะขึ้นไปอยู่ที่ 0.625% ณ สิ้นปีนี้และอยู่ในช่วง 1.25-2.25% ณ สิ้นปี 2016

 

ความเห็นของธนาคารเหล่านี้มีขึ้นหลังจากข้อมูลการจ้างงานเดือนเม.ย. ชี้ว่าตลาดแรงงานของสหรัฐมีสัญญาณการฟื้นตัวและอัตราการว่างงานได้ตกลงถึงเกือบระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี

 

ถึงแม้ตัวเลขเหล่านี้จะชี้ถึงแรงขับเคลื่อนของการขยายตัวของเศรษฐกิจในเดือนแรกของไตรมาส 2 แต่ข้อมูลการจ้างงานของเดือนมี.ค.ก็ถูกปรับลงไปในขณะที่การขึ้นของค่าจ้างก็มีน้อยมาก

 

นายทอม ไซมอน นักกลยุทธ์ตลาดการเงินของ Jefferies & Co ที่นิวยอร์กกล่าวว่าตัวเลขเหล่านี้ก็ดีเท่าที่จะทำได้ แต่ก็ยังไม่ดีเท่ากับที่คนอยากเห็น อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญกว่าคือตัวเลขเดือนเม.ย.ควรจะต้องดีกว่าของเดือนมี.ค.

 

Jefferies และ Morgan Stanley คือธนาคาร เพียง 2 รายที่คาดว่าเฟดจะเริ่มปรับดอกเบี้ยขึ้นในเดือนธ.ค.

 

ผลการสำรวจครั้งล่าสุดแตกต่างจากผลการสำรวจในต้นมี.ค.ซึ่งในครั้งนั้นความเห็นส่วนใหญ่คาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 223,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. จากระดับ 85,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 5.4% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 7 ปี

 

 

 

ที่มา MoneyChannel (11 พฤษภาคม 58)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางยุโรปชี้มาตรการ QE ช่วยสร้างเสถียรภาพระบบการเงิน (11/05/58)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นายวิตอร์ คอนสแตนซิโอ รองประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวในวันนี้ว่า มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของ ECB กำลังดำเนินไปตามแผน และจะช่วยสร้างเสถียรภาพต่อระบบการเงิน แทนที่จะสร้างความเสี่ยง

 

ทั้งนี้ หลายฝ่ายกังวลว่ามาตรการ QE ของ ECB จะทำให้นักลงทุนทำการลงทุนแบบเสี่ยงมากเกินไป เช่นเดียวกับในช่วงก่อนเกิดวิกฤติการเงิน

 

อย่างไรก็ดี นายคอนสแตนซิโอระบุว่า โดยรวมแล้ว มาตรการ QE ช่วยสร้างเสถียรภาพต่อระบบการเงิน โดยภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำที่ทำให้นักลงทุนมุ่งเข้าหาสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่านั้น เป็นเพียงผลที่เกิดขึ้นจากการที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวที่อ่อนแอ และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ มิใช่เกิดจากมาตรการซื้อพันธบัตรของ ECB

 

เขากล่าวว่า เมื่อมาตรการ QE ทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับที่ต่ำกว่า 2% ตามเป้าหมายของ ECB แล้ว อัตราดอกเบี้ยในตลาดก็จะปรับตัวขึ้นได้

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ ผ08/05/58)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อัตราเงินเฟ้อของจีนออกมาอ่อนกว่าที่คาดไว้ในเดือนเม.ย.และราคาผู้ผลิตตกลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 37 ซึ่งตอกย้ำความกังวลที่ดูจะมีเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินฝืด

 

สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนรายงานว่าเงินเฟ้อราคาผู้บริโภคเร่งตัวขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 1.5% ต่อปีในเดือนเม.ย.เทียบกับ 1.4% ในเดือนมี.ค.แต่ต่ำกว่า 1.6% ที่นักวิเคราะห์ได้คาดไว้

 

นักวิเคราะห์บางคนกล่าวว่านอกจากราคาอาหารที่ปรับขึ้นตามฤดูกาลแล้ว ตัวเลขเดือนเม.ย.แสดงถึงแรงกดดันปานกลางของราคาและอุปสงค์ที่ค่อนข้างซบเซาของเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก

 

เจ้าหน้าที่จีน ซึ่งห่วงว่าจีนอาจกำลังเดินตามรอยญี่ปุ่นที่เคยประสบปัญหาเงินฝืดนานนับสิบปีจนกระทบต่อระบบเศรษฐกิจได้บอกว่าสัญญาณอันตรายจะเกิดขึ้นถ้าอัตราเงินเฟ้อตกลงมาต่ำกว่า 1%

 

การใช้จ่ายของผู้บริโภคยังได้รับผลกระทบจากการรณรงค์ปราบคอรัปชั่นของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งได้ทำให้ราคาเหล้าสุราตกลง 0.5% ในเดือนเม.ย.อันเป็นการตกลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 19

 

ดัชนีราคาผู้ผลิตก็ยังอ่อนต่อเนื่องโดยตกลง 4.6% ในเดือนที่แล้ว ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนแต่ตกลงมากกว่าที่ตลาดคาดไว้เพียง 4.4%

 

 

 

ที่มา MoneyChannel (11 พฤษภาคม 58)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ธนาคารกลางจีนระบุในวันนี้ว่า เศรษฐกิจจีนเผชิญแรงกดดันในช่วงขาลงในระยะใกล้ แต่ไม่มีความจำเป็นที่จีนจะต้องใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการกระตุ้นสภาพคล่อง

 

ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนระบุในรายงานนโยบายการเงินประจำไตรมาสแรกว่า ระดับหนี้ที่เพิ่มมากขึ้นได้จำกัดความสามารถของจีนในการใช้การลงทุนของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลรายงานว่า จีนกำลังพิจารณาใช้มาตรการทางการเงินแบบพิเศษ เช่นเดียวกับมาตรการปล่อยเงินกู้ระยะยาว (LTRO) ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และแก้ปัญหาหนี้ของรัฐบาลในท้องถิ่น

 

อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางจีนระบุว่าจะยังคงใช้นโยบายทางการเงินอย่างระมัดระวังต่อไป โดยจะรักษาระดับสภาพคล่องอย่างเหมาะสม และดูแลให้ภาวะสินเชื่อมีการขยายตัวคงที่

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (08/05/58)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝากอีก 0.25% (11/05/2558)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลงอีก 0.25% โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 11 พ.ค.

 

ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะ 1 ปี ลง 0.25% สู่ระดับ 5.1% และลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะ 1 ปีลง 0.25% สู่ระดับ 2.25% ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่เดือนพ.ย. 2557 ที่ธนาคารกลางตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ย

 

การลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางจีนมีความพยายามที่จะจัดการกับแรงกดดันที่สูงขึ้น อันเนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ นอกจากนี้ การลดดอกเบี้ยยังมีเป้าหมายที่จะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมปรับตัวลดลง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศษฐกิจให้ฟื้นตัวขึ้นในช่วงเวลาที่รัฐบาลจีนกำลังดำเนินการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจทั่วประเทศ

 

นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนยังได้ปรับเพิ่มขนาดของช่วงการลอยตัว (floating band) ของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ขึ้นเป็น 1.5 เท่า จากเดิม 1.3 เท่า ซึ่งบ่งชี้ว่าจีนกำลังเดินหน้าการเปิดเสรีกลไกอัตราดอกเบี้ย

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 11 พฤษภาคม 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา และขณะนี้ยืนอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกของปี 2558

 

 

ทิศทางราคาน้ำมัน ได้พลิกกลับมาเป็นขาขึ้นแล้วหลังจากร่วงลงอย่างต่อเนื่องนับจากกลางปีที่ แล้วหรือนี่เป็นปรากฏการณ์ฟื้นตัวชั่วคราวก่อนดิ่งลงอีกครั้งหลังน้ำมันดิบ แตะ 45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลช่วงต้นปีนี้

 

บริษัทเชลก๊าซในสหรัฐน้ำมันทยอยปลดพนักงานและปิดแท่นขุดเจาะ ขณะที่นักลงทุนแห่เทขายหุ้นบริษัทพลังงาน นักวิเคราะห์บางสำนักถึงกับคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันจะดิ่งลึกสู่ระดับ 30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลภายในปีนี้ แต่ดูเหมือนสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดน้ำมันโลกจะไม่เป็นอย่างที่หลายฝ่ายประเมินไว้

 

ซีเอ็นเอ็นมันนีระบุว่า ราคา พลังงานค่อยๆ ปรับขึ้นตั้งแต่เดือนที่แล้ว โดยขณะนี้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่เป็นราคาอ้างอิงของตลาดโลกอยู่ที่เกือบ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงกว่าช่วงเดือนมกราคมมากกว่า 50% ส่วนราคาอ้างอิงในสหรัฐที่ตลาดไนเม็กซ์อยู่ที่ราว 62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงสุดนับจากธันวาคมปีกลายที่ผ่านมา ราคาน้ำมันทรุดลงเพราะซัพพลายพลังงานล้นตลาดจากการบูมของเชลก๊าซในสหรัฐ ประกอบกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในยุโรปและจีนที่เป็นผู้บริโภคเชื้อเพลิงราย ใหญ่ผลักดันให้ดีมานด์แผ่วลง

 

ทว่าสถานการณ์เริ่มเปลี่ยนไป บริษัทพลังงานในสหรัฐลดกำลังการผลิตลงเพราะราคาขายไม่คุ้มทุน โดยจำนวนแท่นขุดเจาะที่ยังเปิดเดินเครื่องลดต่ำสุดนับจากกันยายน 2553 ส่วนยุโรปเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จากการที่คณะกรรมาธิการยุโรปปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ของทั้งสหภาพยุโรป 29 ประเทศและยูโรโซน 19 ประเทศเป็น 1.8% และ 1.5% จากเดิม 1.7% และ 1.3% ตามลำดับ ทำให้มีการคาดหมายว่าความต้องการใช้พลังงานจะสูงขึ้นตามไปด้วย ตลอดจนการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ ล้วนผลักดันให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น

 

ด้าน ไฟแนนเชียล ไทมส์ รายงานว่า ซาอุดีอาระเบีย ผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่สุดของโลกประกาศปรับเพิ่มราคาขายอย่างเป็นทางการ (OSPs) สำหรับน้ำมันทุกเกรดที่ส่งให้กับบริษัทกลั่นน้ำมันในยุโรปและสหรัฐ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของซาอุฯ ว่าดีมานด์ในตลาดโลกจะเป็นขาขึ้น หลังจากที่ประเทศดังกล่าวรวมถึงสมาชิกองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออกหรือ OPEC หั่น OSPs ในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดจากการแย่งชิงบริษัทผลิตเชลก๊าซในสหรัฐ

 

นักวิเคราะห์จาก เอนเนอจี เอสเปคท์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านพลังงานมองว่า "แม้ราคาจะพุ่งขึ้นมากกว่า 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในเดือนที่แล้ว แต่ในภาพรวมน้ำมันยังค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับ 2-3 ปีที่แล้ว"

 

นอกจากนี้ ราคาพลังงานที่สูงขึ้นจะจูงใจให้ผู้ผลิตเชลก๊าซหันมาเพิ่มกำลังการผลิตอีกครั้งในไม่ช้า เช่น อีโอจี รีซอร์สเซส ผู้ผลิตเชลก๊าซรายใหญ่สุดของสหรัฐ เปิดเผยว่าจะกลับมาเพิ่มกำลังการผลิตในระดับ "เลข 2 หลัก" อีกครั้งถ้าราคาอ้างอิงในสหรัฐกลับมายืนอยู่ที่ 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลขึ้นไป เช่นเดียวกับไพโอเนียร์ เนเชอรัล รีซอร์สเซส บริษัทเชลก๊าซลำดับต้นๆ ที่วางแผนจะเพิ่มแท่นขุดเจาะในเดือนกรกฎาคมนี้ ถ้าราคาเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง

 

ปัจจัยข้างต้นส่งสัญญาณว่า ซัพพลายน้ำมันในตลาดโลกจะขยับสูงขึ้นอีกครั้ง ซึ่งย่อมฉุดให้ราคาพลังงานปรับลดลง

 

ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางอย่างอิรัก มีแนวโน้มจะเพิ่มปริมาณการผลิตในเร็วๆ นี้ รวมถึงอิหร่านที่จะสามารถส่งออกน้ำมันได้มากกว่าปัจจุบัน ถ้าการเจรจาปัญหานิวเคลียร์กับชาติมหาอำนาจ 6 ฝ่ายบรรลุผลราคาน้ำมันยังคงต้องหาจุดสมดุลระหว่างซัพพลายกับดีมานด์ต่อไป

 

ไทยในฐานะประเทศผู้บริโภคน้ำมันก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ แม้ราคาที่ปรับลดลงจะช่วยให้ต้นทุนการขนส่งลดลง แต่อีกด้านหนึ่งก็มีส่วนฉุดอัตราเงินเฟ้อเช่นกัน

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 10 พฤษภาคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...