ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

รหัส 5,35,9 สัญญานนำราคาทอง เส้นดำเส้นแดงทับกัน แนวโน้มวันนี้ กำลังเลือกทาง ขึ้นมาได้ก็ลงได้ ทยอยเข้าตามแนวรับ ขายตามจุดต้าน ณ. ตอนนี้ จุดรับที่จ้องเข้า 1185

post-775-0-14478800-1431480519_thumb.jpg

post-775-0-26061200-1431480547_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของ USD ยังแนวโน้มอ่อนค่า หนุนราคาทอง

post-775-0-85501500-1431480681_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 13 พฤษภาคม 2558 07:47:42 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 12 พ.ค.2558

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (12 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินของกรีซ หลังจากรมว.คลังกรีซได้ออกมายอมรับว่า กรีซอาจเผชิญปัญหาการขาดสภาพคล่อง

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 18,068.23 จุด ลดลง 36.94 จุด หรือ -0.20% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,976.19 จุด ลดลง 17.38 จุด หรือ -0.35% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,099.12 จุด ลดลง 6.21 จุด หรือ -0.29%

 

 

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (12 พ.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากแรงเทขายในตลาดพันธบัตร และวิกฤตหนี้สินของกรีซ

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.3% ปิดที่ 396.09 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,974.65 จุด ลดลง 53.22 จุด หรือ -1.06% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,472.41 จุด ร่วงลง 200.94 จุด หรือ -1.72% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,933.80 จุด ลดลง 96.05 จุด หรือ -1.37%

 

-- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (12 พ.ค.) ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 นำโดยหุ้นอีซี่เจ็ท ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้สินของกรีซ

 

ดัชนี FTSE 100 ลดลง 96.05 จุด หรือ 1.37% ปิดที่ 6,933.80 จุด

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (12 พ.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ การร่วงลงของตลาดหุ้นยุโรป อันเนื่องมาจากวิกฤตหนี้กรีซนั้น ยังกระตุ้นให้นักลงทุนยังเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 9.4 ดอลลาร์ หรือ 0.79% ปิดที่ระดับ 1,192.40 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 21.2 เซนต์ ปิดที่ 16.526 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 5.7 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,133.00 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 4.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 785.15 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (12 พ.ค.) หลังจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของอุปสงค์น้ำมันในปีนี้ นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากสถานการณ์ตึงเครียดในเยเมน

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 1.5 ดอลลาร์ ปิดที่ 60.75 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 1.95 ดอลลาร์ ปิดที่ 66.86 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบสกุลเงินหลักอื่นๆเมื่อคืนนี้ (12 พ.ค.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐโดยรวมที่อ่อนแอส่งผลให้นักลงทุนเชื่อกันว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไป

 

ค่าเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1220 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.1158 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5676 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5590 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 119.89 เยน เทียบกับระดับ 120.10 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9286 ฟรังก์ จาก 0.9335 ฟรังก์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7991 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7901 ดอลลาร

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

13 พฤษภาคม 2558 05:11 น.

 

 

 

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันพุ่งแรงในวันอังคาร(12พ.ค.) จากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงและจับตารายงานสต๊อกเชื้อเพลิงสหรัฐฯช่วงกลางสัปดาห์ ส่วนวอลล์สตรีทปิดลบและทองคำขยับขึ้นพอสมควร เหตุนักลงทุนกังวลต่อความเคลื่อนไหวในระยะหลังของตลาดพันธบัตร

 

น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือ ไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้น 1.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 60.75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.95 ดอลลาร์ ปิดที่ 66.86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ดอลลาร์ซื้อขายที่ 1.1221 ดอลลาร์ต่อยูโรในช่วงบ่าย ลดลงจาก 1.1157 ดอลลาร์ต่อยูโรจากเมื่อวันจันทร์(11พ.ค.) ท่ามกลางแรงขายในตลาดพันธบัตรโลก หลังอัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะหลัง ทั้งนี้ดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ส่งผลให้สินค้าโภคภัณฑ์ในราคาดอลลาร์ มีราคาถูกลงสำหรับผู้ซื้อที่ถือสกุลเงินอื่นๆ

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อวันอังคาร(12พ.ค.) ปิดในแดนลบ หลังการปรับตัวขึ้นในระยะหลังของตลาดพันธบัตรโลก สร้างความหวั่นไหวแก่นักลงทุนที่มีความกังวลอยู่ก่อนแล้วเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่เฟดอาจขึ้นดอกเบี้ย

 

ดาวโจนส์ ลดลง 36.94 จุด (0.20 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 18,068.23 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 6.21 จุด (0.29 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,099.12 จุด แนสแดค ลดลง 17.38 จุด (0.35 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,976.19 จุด

 

ช่วงต้นวอลล์สตรีทร่วงลงอย่างหนัก หลังผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯทะยานแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน อย่างไรก็ตามตลาดค่อยๆฟื้นตัวจนปิดลบแค่เล็กน้อย หลังอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรปรับลดลงมา

 

นักวิเคราะห์มองว่าการทะยานขึ้นอย่างที่ไม่เคยคาดหมายมาก่อนของพันธบัตรสหรัฐฯและพันธบัตรเยอรมนีเมื่อเร็วๆนี้ ได้สร้างความยุ่งเหยิงแก่เหล่านักลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกามาหลายวันแล้ว "ในระยะสั้น ตลาดตกเป็นตัวประกันของอัตราดอกเบี้ย" จิม อาวาด กรรมการผู้จัดการบริษัทพลิมโซลล์มาร์ค แคปิตอลกล่าว

 

ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน ก่อนค่อยขยับลงมาเล็กน้อย ทั้งนี้การพุ่งขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ นั่นหมายความว่าต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้น ซึ่งทำให้การขยับขยายธุรกิจของบริษัทต่างๆทำได้ยากขึ้นตามไปด้วย

 

ส่วนราคาทองคำเมื่อวันอังคาร(12พ.ค.) ปิดสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ หลังดอลลาร์อ่อนค่าลงและความผันผวนในตลาดพันธบัตรยุโรป กระตุ้นให้นักลงทุนหันมาถือครองสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 9.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,192.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

13 พฤษภาคม 2558 05:11 น.

 

 

 

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันพุ่งแรงในวันอังคาร(12พ.ค.) จากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงและจับตารายงานสต๊อกเชื้อเพลิงสหรัฐฯช่วงกลางสัปดาห์ ส่วนวอลล์สตรีทปิดลบและทองคำขยับขึ้นพอสมควร เหตุนักลงทุนกังวลต่อความเคลื่อนไหวในระยะหลังของตลาดพันธบัตร

 

น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือ ไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้น 1.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 60.75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.95 ดอลลาร์ ปิดที่ 66.86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ดอลลาร์ซื้อขายที่ 1.1221 ดอลลาร์ต่อยูโรในช่วงบ่าย ลดลงจาก 1.1157 ดอลลาร์ต่อยูโรจากเมื่อวันจันทร์(11พ.ค.) ท่ามกลางแรงขายในตลาดพันธบัตรโลก หลังอัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะหลัง ทั้งนี้ดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ส่งผลให้สินค้าโภคภัณฑ์ในราคาดอลลาร์ มีราคาถูกลงสำหรับผู้ซื้อที่ถือสกุลเงินอื่นๆ

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อวันอังคาร(12พ.ค.) ปิดในแดนลบ หลังการปรับตัวขึ้นในระยะหลังของตลาดพันธบัตรโลก สร้างความหวั่นไหวแก่นักลงทุนที่มีความกังวลอยู่ก่อนแล้วเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่เฟดอาจขึ้นดอกเบี้ย

 

ดาวโจนส์ ลดลง 36.94 จุด (0.20 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 18,068.23 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 6.21 จุด (0.29 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,099.12 จุด แนสแดค ลดลง 17.38 จุด (0.35 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,976.19 จุด

 

ช่วงต้นวอลล์สตรีทร่วงลงอย่างหนัก หลังผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯทะยานแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน อย่างไรก็ตามตลาดค่อยๆฟื้นตัวจนปิดลบแค่เล็กน้อย หลังอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรปรับลดลงมา

 

นักวิเคราะห์มองว่าการทะยานขึ้นอย่างที่ไม่เคยคาดหมายมาก่อนของพันธบัตรสหรัฐฯและพันธบัตรเยอรมนีเมื่อเร็วๆนี้ ได้สร้างความยุ่งเหยิงแก่เหล่านักลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกามาหลายวันแล้ว "ในระยะสั้น ตลาดตกเป็นตัวประกันของอัตราดอกเบี้ย" จิม อาวาด กรรมการผู้จัดการบริษัทพลิมโซลล์มาร์ค แคปิตอลกล่าว

 

ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน ก่อนค่อยขยับลงมาเล็กน้อย ทั้งนี้การพุ่งขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ นั่นหมายความว่าต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้น ซึ่งทำให้การขยับขยายธุรกิจของบริษัทต่างๆทำได้ยากขึ้นตามไปด้วย

 

ส่วนราคาทองคำเมื่อวันอังคาร(12พ.ค.) ปิดสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ หลังดอลลาร์อ่อนค่าลงและความผันผวนในตลาดพันธบัตรยุโรป กระตุ้นให้นักลงทุนหันมาถือครองสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 9.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,192.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ช่วงนี้ ต้องขออภัยนะครับ ที่เข้ามาบ่นน้อยลง เพราะ ติดเล่นไลน์ ที่ดูแล้ว เล่นแล้ว มันกว่า ส่งภาพ และข้อมูลได้ทันใด และ เวปฯ Load ข้อมูลนาน ไม่ทันเหตุการณ์ เลยขอบ่นน้อยลง

post-775-0-01578600-1431525582_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 สัญญานนำทางของราคาทอง ตัดกัน เปลี่ยนแนวโน้มเป็นบวก นิสัยของบวก ราคาทองจะย่อลงก่อน เพื่อให้เข้าซื้อ ก่อนที่ราคาจะปรับขึ้น ซึ่งจะตรงข้ามกับสถานะลบ ที่ จะขึ้นนำก่อนแล้วค่อยร่วง ถึงแม้ว่า แนวโน้มจะเป็นบวก ในวันนี้ แต่หลายๆ ครั้ง ที่รหัส 12,26,9 สั่งให้รีบวิ่งหน้าตั้งเข้าซื้อ ทองร่วงทุกที ประกอบกับ เส้นสีแดงที่บอกสภาวะขาย นิ่งเหลือเกิน เหมือนรอราคาให้สูง กรูจะขายทำกำไร ดักตีหัว จึงพึงระวัง

 

เล่นลงทุนลดความเสี่ยง ทยอยเข้าซื้อที่จุดแนวรับ ทยอยขายตามแนวต้าน

post-775-0-98991700-1431566583_thumb.jpg

post-775-0-26605400-1431566601_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของ USD ยังคงแนวโน้มด้านอ่อนค่า และเส้นดำเริ่มห่างออกจาก เส้นแดง จากภาวะอ่อนค่าแรงเมื่อคืนนี้ จากผลพวง ยอดค้าปลีกสหรัฐย่อแรง

 

ภาวะการย่อแรงแบบนี้ เป็นแค่เหตุประเดี๋ยวประด๋าว เดี๋ยวมีเรื่องใหม่มา ก็กลบ เปลี่ยนเรื่อง

post-775-0-32211400-1431566861_thumb.jpg

post-775-0-84621900-1431566876_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท ที่หลายคนกลัว หลายคนปอกแหก หวั่นวิตก ถามจริงๆ เวลาราคาทองขึ้น USD จะอ่อนค่า ส่งผลให้บาทแข็ง / เวลาทองลง USD จะแข็งค่า ส่งผลให้บาทอ่อนค่า เรื่องแบบนี้ น่าจะเป็นเรื่องปกติทั่วๆไป ที่เคยชินกันอยู่แล้ว

 

ประเด็นจึงน่าจะอยู่ที่ 33 บาท กลัวจะมา 31 บาท หรือ 32 บาท แหง่เลย !!!!?!?!! จึงถามว่า ค่าเงินบาท ที่มาตรงจุดนี้ 33 กว่าบาท มาจากสาเหตุอะไรกันครับ เพราะ USD เหรอ ? เพราะราคาทองเหรอ ! เพราะค่าเงิน ยูโร เหรอ ! เพราะตลาดหุ้นไทย เหรอ !!?!!!

 

เพราะ คณะกรรมการกำกับนโยบายการเงินแห่งชาติ ลดดอกเบี้ย ลงมา 0.25% และ ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกหลักเกณฑ์เสริมเคลื่อนย้ายเงิน ใช่ไหม ? แล้วสิ่งนี้ เปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็วให้มีผลกระทบด้านบาทแข็งได้ไหม !?!?!

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท ที่หลายคนกลัว หลายคนปอกแหก หวั่นวิตก ถามจริงๆ เวลาราคาทองขึ้น USD จะอ่อนค่า ส่งผลให้บาทแข็ง / เวลาทองลง USD จะแข็งค่า ส่งผลให้บาทอ่อนค่า เรื่องแบบนี้ น่าจะเป็นเรื่องปกติทั่วๆไป ที่เคยชินกันอยู่แล้ว

 

ประเด็นจึงน่าจะอยู่ที่ 33 บาท กลัวจะมา 31 บาท หรือ 32 บาท แหง่เลย !!!!?!?!! จึงถามว่า ค่าเงินบาท ที่มาตรงจุดนี้ 33 กว่าบาท มาจากสาเหตุอะไรกันครับ เพราะ USD เหรอ ? เพราะราคาทองเหรอ ! เพราะค่าเงิน ยูโร เหรอ ! เพราะตลาดหุ้นไทย เหรอ !!?!!!

 

เพราะ คณะกรรมการกำกับนโยบายการเงินแห่งชาติ ลดดอกเบี้ย ลงมา 0.25% และ ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกหลักเกณฑ์เสริมเคลื่อนย้ายเงิน ใช่ไหม ? แล้วสิ่งนี้ เปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็วให้มีผลกระทบด้านบาทแข็งได้ไหม !?!?!

post-775-0-77099300-1431567298_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...