ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

555 ลืมมาโพสต์ในเวปฯ

 

ตัวเลขขาเสี่ยง สำหรับ วันที่ 11-15 พฤษภาคม 2558

LONG GOLD above 1191 SL 1188 TP 1206-1212-1218-1224

SHORT GOLD below 1172 SL 1175 TP 1166-1152-1146

 

ช่วงงงวยกลับมาอีกหน 1175 - 1188 ทยอยซื้อจากจุดรับ งงงวย ทยอยขาย เมื่อถึง 1200

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 สัญญานนำราคาทอง แนวโน้มยังเป็นลบ เส้รดำเส้นแดงไม่มีการตัดกัน ขึ้นมาได้ก็ลงได้ ทยอยเข้าตามแนวรับ ขายตามจุดต้าน

post-775-0-81458100-1431394341_thumb.jpg

post-775-0-99228500-1431394367_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,45,9 ของ USD แนวโน้มยังลบ ยังมีความสามารถไปดันราคาทองให้ขึ้น ถ้าดอลล์อ่อน

post-775-0-36406300-1431394539_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

12 พฤษภาคม 2558 05:18 น.

 

 

 

เอเอฟพี/รอยเตอร์ - ราคาน้ำมันเมื่อวันจันทร์(11พ.ค.) ขยับลงเล็กน้อย จากความกังวลต่อปัญหาอุปทานล้นตลาดหวนคืนมาอีกครั้ง หลังพบกำลังผลิตสหรัฐฯฟื้นคืนมาในบางพื้นที่ ส่วนวอลล์สตรีทและทองคำปิดลบ ท่ามกลางความวิตกต่อวิกฤตการเงินกรีซ

 

น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน ลดลง 14 เซนต์ ปิดที่ 59.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 48 เซนต์ ปิดที่ 64.91 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

คอมเมอร์ซแบงค์ระบุว่าแนวโน้มราคาน้ำมันที่่ค่อยๆขยับขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยเหล่าบริษัทพลังงานระงับปฏิบัติการขุดเจาะในสหรัฐฯ ตอบสนองต่อภาวะอุปทานล้นตลาด

 

อย่างไรก็ตามคอมเมอร์ซแบงค์ บอกว่าจากข้อมูลล่าสุดพบว่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีแท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐฯที่ยุติปฏิบัติการเพิ่มเติมแค่ 11 แห่ง เหลือที่ยังปฏิบัติการอยู่ 668 แห่ง นับเป็นการลดลงของจำนวนแท่นขุดเจาะที่ยังปฏิบัติการอยู่ น้อยที่สุดนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายน

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯในวันจันทร์(11พ.ค.) ขยับลงพอสมควร จากแรงฉุดกลุ่มพลังงาน และความกังวลว่าวิกฤตการเงินกรีซจะไร้ทางออก

 

ดาวโจนส์ ลดลง 85.94 จุด (0.47 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 18,105.17 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 10.77 จุด (0.51 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,105.33 จุด แนสแดค ลดลง 9.98 จุด (0.20 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,993.57 จุด

 

เบื้องต้นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของจีนสนับสนุนหุ้นในเอเชียและยุโรปบางแห่ง ทว่าราคาน้ำมันที่ปรับลดฉุดให้หุ้นกลุ่มพลังงานเป็นตัวถ่วงของดัชนีเอสแอนด์พี 500

 

ในอีกด้านหนึ่ง แม้ข้อมูลภาคแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯเมื่อวันศุกร์(8พ.ค.) แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของอเมริกากำลังฟื้นตัวร้อนแรงขึ้น แต่เรื่องนี้เป็นข่าวเก่าไปแล้วสำหรับวันจันทร์(11พ.ค.) ขณะที่นักลงทุนหันไปจับตามองความเป็นไปได้ที่กรีซอาจต้องออกจากยูโรโซน

 

แม้กรีซได้ชำระหนี้วงเงิน 750 ล้านยูโรแก่กองทัพการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) หนึ่งวันก่อนครบกำหนด แต่มันก็ไม่เพียงพอที่จะยับยั้งความกังวลต่อปัญหาในการชำระหนี้ในงวดถัดๆไป

 

ความกังวลที่หวนคืนมาอีกครั้ง เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่กรีซอาจต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน ฉุดให้ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ และเป็นผลให้ราคาทองคำในวันจันทร์(11พ.ค.) ปิดลบพอสมควร โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 5.90 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,183.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้ากลัวค่าเงินบาท จะขึ้นจะลง หยุดเล่นทอง ! ทยอยซื้อตามจุดรับ ทยอยขายตามจุดต้าน อย่าขายก่อนหรือที่เรียกว่า เอส ค่าเงินบาทก็ไม่น่ากลัว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อาจารย์ท่านหนึ่ง ของมหาวิทยาลัย Cornell ชื่อ Karl Pillemer ซึ่ง ได้ไปสัมภาษณ์ชาวอเมริกัน ที่อายุเกิน 70 ปีขึ้นไปมากกว่า 1,200 คน โดยคำถามเด็ดนั้นอยู่ที่ว่า “จาก ประสบการณ์ชั่วชีวิตคุณ อะไรคือบทเรียนสำคัญที่สุด ที่อยากจะฝากไว้ให้ลูกหลาน” แล้ว ก็นำมาเขียนเป็นหนังสือชื่อ 30 Lessons for Living ครับ แต่เขาได้คัดเลือกบทเรียนสำคัญ 10 ประการ ที่โดดเด่นเอาไว้ครับ โดยบทเรียนทั้ง 10 ประการ ประกอบด้วย

 

1. ให้เลือกอาชีพโดย

ดูจากความต้องการ ภายในมากกว่าผลตอบแทนด้านการเงิน โดยบรรดาผู้สูงวัยกล่าวว่า ความผิดพลาดสำคัญในการเลือกอาชีพของเขา คือ การเลือกอาชีพโดยดูจากผลตอบแทนมากกว่าสิ่งที่ชอบและคุณค่าของอาชีพ

 

2. ให้ปฏิบัติต่อร่างกาย

เหมือนกับต้องใช้งานไปอีกร้อยปี โดยให้ลดและเลิกพฤติกรรมที่ทำร้ายร่างกายเรา ไม่ว่าจะเป็นการ สูบบุหรี่ กินอาหารที่ไม่ดี หรือไม่ออกกำลังกาย พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เราเสียชีวิตในฉับพลัน แต่ทำให้เราเกิดความทรมานเมื่อสูงวัย

 

3. ตอบตกลงต่อโอกาส

ที่เข้ามา โดยเมื่อมีโอกาส หรือความท้าทายเข้ามา ต้องอย่าปฏิเสธครับ เพราะส่วนใหญ่มักจะมาเสียใจ หรือเสียดายในภายหลัง

 

4. เลือก คู่ด้วยความระมัดระวัง อย่ารีบร้อนตัดสินใจ ใช้เวลาในการดู และทำความรู้จักคนที่เราจะอยู่ด้วย อย่ารีบด่วนตัดสินใจที่จะอยู่ด้วยกัน จนกว่าจะรู้จักอีกฝ่ายหนึ่งอย่างถ่องแท้

 

5. เที่ยวให้มากไว้ (ชอบมากครับ) เมื่อมีโอกาสให้เดินทางครับ คนสูงวัยส่วนใหญ่จะมองย้อนกลับมายังโอกาสต่าง ๆ ที่ได้ท่องเที่ยวเดินทาง และมองว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ และมีคุณค่าของชีวิตเลยทีเดียว

 

6. ให้ พูดในสิ่งที่อยากจะพูด เนื่องจากเรามักจะเสียใจ และเสียดาย ว่าไม่ได้พูดในสิ่งที่เราอยากจะพูดกับหลาย ๆ คน เมื่อไม่มีโอกาส เราจะมีโอกาสแสดงความรู้สึกที่แท้จริงต่อผู้อื่นได้ ก็ต่อเมื่ออีกคนหนึ่งยังมีชีวิต อยู่เท่านั้นนะครับ

 

7. เวลาเป็นของมีค่า ชีวิตของเรานั้นแสนสั้น แต่ไม่ใช่ให้มานั่งเศร้านะครับ แต่ให้ ทำในสิ่งที่สำคัญ และมีค่าเดี๋ยวนี้ เนื่องจากยิ่งเราอายุมากขึ้น เราจะพบว่าเวลายิ่งผ่านไปอย่างรวดเร็วขึ้น

 

8. ความสุขเป็นสิ่งที่เราเลือกเอง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจาก เงื่อนไขต่าง ๆ คำแนะนำหนึ่ง ก็คือ จงรับผิดชอบต่อความสุขของตัวเรา เองตลอดชีวิตเรา

 

9. การใช้เวลามานั่งกังวลต่อสิ่งต่าง ๆ นั้นเป็นการเสียเวลา ดังนั้น ให้ หยุดกังวลครับ หรือไม่ก็พยายามลดความกังวลลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความกังวลในสิ่งที่ไม่เกิดขึ้น

 

10. คิดเล็ก อย่าคิดใหญ่ ค่อย ๆ ซึมซับสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่เป็นสิ่งที่ดีในชีวิตเรา และมีความสุขกับสิ่งเหล่านั้นครับ

 

บทความโดย : Karl A. Pillemer

ที่มา : Forward Mail "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายวูล์ฟกัง ชอยเบิล รมว.คลังเยอรมนี กล่าวในวันนี้ว่า การจัดทำประชามติในกรีซเกี่ยวกับมาตรการรัดเข็มขัดตามเงื่อนไขในโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน อาจเป็นแนวคิดที่ดี

 

"สิ่งนี้อยู่ในมือของชาวกรีซ ซึ่งถ้ารัฐบาลกรีซรู้สึกว่าควรจัดทำประชามติ ก็ควรมีการดำเนินการเพื่อให้ประชาชนชาวกรีซทำการตัดสินใจ" เขากล่าว ก่อนการประชุมรมว.คลังยูโรโซนในวันนี้

 

อย่างไรก็ดี การจัดประชามติถือเป็นความเสี่ยงสำหรับรัฐบาลกรีซและรัฐบาลของประเทศอื่นๆในยูโรโซน และจะสร้างความไม่แน่นอนมากขึ้นต่อการแก้ไขปัญหาหนี้ของกรีซ

 

ทั้งนี้ ชาวกรีซราว 3 ใน 4 ระบุว่า พวกเขายังคงต้องการให้กรีซอยู่ในยูโรโซนต่อไป แต่ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าพวกเขาจะตัดสินใจลงประชามติอย่างไร หากกรีซจำเป็นต้องดำเนินการตามมาตรการรัดเข็มขัดเพื่อให้มีสิทธิ์อยู่ในยูโรโซน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 11 พฤษภาคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (11 พ.ค.) ขณะที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโก ได้แสดงความคิดเห็นที่ช่วยหนุนกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้

 

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1158 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.1206 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5590 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5458 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 120.10 เยน เทียบกับระดับ 119.79 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9335 ฟรังก์ จาก 0.9217 ฟรังก์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7901 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7918 ดอลลาร์

 

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งแกร่ง เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากการแสดงความคิดเห็นของนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก ที่ระบุว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นประเด็นที่เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายของเฟดจะมีการพิจารณากันในการประชุมครั้งต่อๆไป ตราบใดที่ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐออกมาในเชิงบวก

 

นอกจากนี้ เขามองว่าภาวะตลาดแรงงานของสหรัฐมีเสถียรภาพ และคาดว่าอัตราว่างงานจะปรับตัวลงแตะ 5% ในช่วงสิ้นปีนี้

 

กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 223,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. จากระดับ 85,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 5.4% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 7 ปี

 

ทางด้านสกุลเงินยูโรอ่อนแรงลงเมื่อเทียบดอลลาร์ ขณะที่การหารือระหว่างกรีซและรัฐมนตรีคลังยูโรโซนดูเหมือนแทบไม่มีความคืบหน้า ซึ่งทำให้มีความวิตกเกี่ยวกับการที่กรีซจะออกจากการเป็นสมาชิกของยูโรโซน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 12 พฤษภาคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักเศรษฐศาสตร์ประจำสหภาพยุโรปคาดหมายว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันที่ถูกลง รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยน จะเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้การเติบโตทางเศรษฐกิจ

นักเศรษฐศาสตร์ของคณะกรรมาธิการยุโรปปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ ของ 19 ประเทศในกลุ่มยูโรโซนในปีนี้เป็น 1.5% จากเดิม 1.3% ที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ขณะเดียวกันคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของทั้ง 28 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) จะเติบโต 1.8% ในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ 1.7% ส่วนคาดการณ์การเติบโตในปีหน้ายังคงอยู่ที่ 1.9% สำหรับยูโรโซน และ 2.1% ทั่วทั้งอียู

คณะกรรมาธิการยุโรประบุว่า ราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมาช่วยให้ผู้บริโภคในภูมิภาคมี เงินใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่มาตรการซื้อพันธบัตรมูลค่าหลายแสนล้านยูโรของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ช่วยในหลายด้าน เช่น ทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ช่วยกระตุ้นการส่งออกของยูโรโซน ลดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว และเพิ่มแนวโน้มเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ รัฐบาลหลายประเทศได้ยุติการใช้มาตรการรัดเข็มขัด เนื่องจากเวลานี้การขาดดุลงบประมาณของประเทศส่วนใหญ่ในอียูอยู่ในระดับที่ เป็นไปตามกฎของอียูแล้ว

"ไม่บ่อยนักที่เศรษฐกิจยุโรปจะได้รับแรงสนับสนุนจากหลายปัจจัยร่วมกัน" มาร์โก้ บูตี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าว อย่างไรก็ดี บูตี้เตือนว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้อย่างยั่งยืนด้วยตัวเองเมื่อปัจจัยสนับ สนุนชั่วคราวเหล่านี้หมดไปหรือไม่นั้นยังไม่ชัดเจน โดยผลกระทบตกค้างจากวิกฤติเศรษฐกิจ อาทิ อัตราว่างงานสูง ภาระหนี้สินของภาครัฐและเอกชนในระดับสูง ปัญหาระบบธนาคาร รวมถึงความอ่อนแอของการลงทุน จะยังคงอยู่ไปอีกหลายปี

ขณะเดียวกัน ตัวเลขคาดการณ์ล่าสุดของคณะกรรมาธิการยุโรปยังแสดงถึงความแตกต่างของแนวโน้ม เศรษฐกิจของประเทศยูโรโซนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากวิกฤติหนี้สาธารณะ โดยเศรษฐกิจสเปนและไอร์แลนด์ได้รับการคาดหมายว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุด ในกลุ่ม ขณะที่กรีซถูกปรับลดคาดการณ์การเติบโต เนื่องจากการความล่าช้าในการเจรจารับเงินช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลและเจ้าหนี้ บั่นทอนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของยุโรป จะเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญ คณะกรรมาธิการยุโรปปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของเยอรมนีจาก 1.5% เป็น 1.9% โดยระบุว่าการบริโภคภายในประเทศจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโต และมีตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง และอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นปัจจัยเสริม

มูลค่าดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลของเยอรมนีถูกคาดหมายว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในปีนี้ ซึ่งเป็นการเกินดุลในอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่เยอรมนีรวมประเทศในปี 2533 มูลค่าการเกินดุลในระดับสูงของเยอรมนีทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลาย ฝ่ายว่าเยอรมนีควรช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจด้วยการกระตุ้นการบริโภคและลงทุนภาย ในประเทศ อย่างไรก็ดี รัฐบาลเยอรมนีปฏิเสธเสียงเรียกร้องให้เพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลเป็นมูลค่า ที่สูงขึ้นกว่าเดิมมาก

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปคาดการณ์เศรษฐกิจไอร์แลนด์เติบโต 3.6% ในปีนี้ เป็นอัตราการเติบโตสูงสุดในยูโรโซน ส่วนสเปนคาดว่าจะเติบโต 2.8% ขณะเดียวกัน กรีซได้รับการคาดหมายว่าจะเติบโตเพียง 0.5% ในปีนี้ จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 2.5% และในปี 2559 คาดว่าเศรษฐกิจกรีซจะเติบโต 2.9% ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 3.6%

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 10 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 55 - 60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 62 - 68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล"

 

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (11 - 15 พ.ค. 58)

 

ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น จากสถานการณ์การประท้วงในลิเบีย และความไม่สงบในเยเมนที่ยังยืดเยื้ออย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากการที่อิหร่านอาจจะปรับเพิ่มปริมาณการผลิตหากได้รับยกเลิกการคว่ำบาตร และ อุปสงค์น้ำมันดิบที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 2 นี้ หลังโรงกลั่นน้ำมันทั่วโลกเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น ในขณะที่ตลาดต้องจับตาอัตราการปรับลดของจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ และการเจรจาระหว่างกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้ยูโรโซนที่จะจัดขึ้นในสัปดาห์นี้ ซึ่งหากกรีซสามารถบรรลุข้อตกลงกับกลุ่มเจ้าหนี้ได้ ก็จะทำให้กรีซได้รับการช่วยเหลือทางการเงินรอบใหม่

 

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

 

ตลาดยังมีความกังวลต่ออุปทานน้ำมันดิบที่อาจจะตึงตัวมากขึ้นจากสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางที่ยังยืดเยื้ออย่างต่อเนื่อง ล่าสุดกลุ่มผู้ประท้วงในประเทศลิเบียได้ทำการปิดท่อขนส่งน้ำมันดิบที่ลำเลียงไปยังท่าเรือ Zueitina ทำให้การดำเนินงานบริเวณท่าเรือต้องหยุดชะงักลง ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียลดลงมาอยู่ระดับต่ำกว่า 500,000 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้การสู้รบระหว่างซาอุดิอาระเบียกับกลุ่มกบฏฮูธิในเยเมนก็ยังไม่มีทีท่าที่จะยุติลงได้ แม้ว่าเยเมนจะไม่ใช่ผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ แต่จากสถาการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลว่าปัญหาอาจจะบานปลายและส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำมันดิบในภูมิภาคได้

 

จับตาการเจรจาระหว่างกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้ยูโรโซนที่จะเกิดขึ้นในวันจันทร์ที่ 11 พ.ค. 58 นี้ ว่ากรีซจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับกลุ่มเจ้าหนี้ได้หรือไม่ ซึ่งหากบรรลุข้อตกลงได้จะทำให้กรีซได้รับความช่วยเหลือทางการเงินรอบใหม่ ทั้งนี้ ในวันที่12 พ.ค. 58 นี้ กรีซมีกำหนดชำระหนี้มูลค่า 750 ล้านยูโร ให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งตลาดยังคงมีความกังวลอยู่ว่ากรีซจะเผชิญกับภาวะขาดแคลนเงินสดและไม่สามารถชำระหนี้ได้ อย่างไรก็ดี ล่าสุดธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ได้อนุมัติให้มีการเพิ่มเพดานเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน หรือ Emergency Liquidity Assistance (ELA) ให้แก่ธนาคารของกรีซอีกเป็น 7.89 หมื่นล้านยูโร จากระดับเดิมที่ 7.69 หมื่นล้านยูโร

 

จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด Baker Huges เปิดเผยข้อมูลจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ สิ้นสุดวันที่ 1 พ.ค. ปรับลดลง 24 แท่น เหลือเพียง 679 แท่น อย่างไรก็ดี การลดลงของจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับลดลงน้อยที่สุดนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งการปรับลดลงของจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในอัตราที่ช้าลง อาจส่งสัญญาณว่าการลดลงของแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบอาจจะสิ้นสุดลงในเร็วๆ นี้ หลังจากก่อนหน้านี้ ได้ปรับลดลงกว่าร้อยละ 60 ในเดือน มี.ค. 58 จากระดับที่สูงที่สุดในเดือน มิ.ย. 57

 

อิหร่านเผยว่า หากอิหร่านสามารถบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์กับชาติมหาอำนาจทั้งหกได้ ซึ่งมีกำหนดเส้นตายวันที่ 30 มิ.ย. 58 นี้ อิหร่านตัดสินใจจะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบมากขึ้น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาอิหร่านได้ลดกำลังการผลิตลงไปกว่า 60% โดยรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของอิหร่านกล่าวว่าอิหร่านต้องการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดน้ำมันดิบโลก

 

อุปสงค์น้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 2 นี้ หลังโรงกลั่นน้ำมันทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย เข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันราคาน้ำมันดิบในช่วงนี้

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดค้าปลีก จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และจีดีพี ไตรมาส1/2558 ของยูโรโซน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และยอดค้าปลีกของจีน

 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (4 - 8 พ.ค. 58)

 

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลง 0.21 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 58.94 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง 0.92 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 65.54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยได้รับหนุนหลัง EIA รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 57 ประกอบกับความกังวลว่าอุปทานน้ำมันจะตึงตัวหลังจากความไม่สงบทางการเมืองในประเทศเยเมนที่ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะคลี่คลาย อย่างไรก็ดีตลาดยังคงมีความกังวลต่อเนื่องเกี่ยวกับอุปทานล้นตลาดหลังกลุ่มประเทศโอเปกไม่มีทีท่าที่จะปรับลดกาลังการผลิตภายในการประชุมช่วงเดือน มิ.ย. ที่จะมาถึง

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (วันที่ 12 พฤษภาคม 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายหม่า จุน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำสำนักงานวิจัยของธนาคารกลางจีนกล่าวว่า การที่ธนาคารกลางจีนตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดลงอีก 0.25% นั้น ไม่ควรถูกนำไปตีความว่าจีนใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในรูปแบบของจีน

 

ทั้งนี้ นายหม่ากล่าวว่า QE ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วบางแห่งได้นำมาใช้นั้น ถือเป็นมาตรการด้านนโยบายที่จะนำมาใช้ก็ต่อเมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายเคลื่อนไหวในระดับใกล้ศูนย์และเศรษฐกิจเผชิญกับภาวะถดถอย แต่สถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในจีน เนื่องจากธนาคารกลางจีนยังคงมีเครื่องมือที่มีระเบียบแบบแผนในการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ

 

นอกจากนี้ นายหม่ากล่าวว่า เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญกับแรงกดดันช่วงขาลง จึงจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยและสร้างเสถียรภาพในการเติบโตด้านการลงทุน

 

เมื่อวานนี้ ธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลงอีก 0.25% โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันนี้ (11 พ.ค.)

 

ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะ 1 ปี ลง 0.25% สู่ระดับ 5.1% และลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะ 1 ปีลง 0.25% สู่ระดับ 2.25% ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่เดือนพ.ย. 2557 ที่ธนาคารกลางตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ย

 

การลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางจีนมีความพยายามที่จะจัดการกับแรงกดดันที่สูงขึ้น อันเนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ นอกจากนี้ การลดดอกเบี้ยยังมีเป้าหมายที่จะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมปรับตัวลดลง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศษฐกิจให้ฟื้นตัวขึ้นในช่วงเวลาที่รัฐบาลจีนกำลังดำเนินการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจทั่วประเทศ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 11 พฤษภาคม 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จีนประกาศปรับขึ้นราคาค้าปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลในตลาดภายในประเทศวันนี้ หลังจากที่ราคาน้ำมันโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น

 

ทั้งนี้ คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน (NDRC) ประกาศการปรับขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในวันนี้ โดยมีผลบังคับใช้ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งตามกลไกการกำหนดราคาน้ำมันของจีนนั้น จีนสามารถปรับราคาน้ำมันเบนซิน และดีเซลได้ทุกๆ 10 วันทำการเมื่อราคาในตลาดโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด

 

NDRC ประกาศขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน 255 หยวน (41.71 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตัน และขึ้นราคาน้ำมันดีเซล 245 หยวนต่อตัน โดยปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่ต้นปี

 

การปรับขึ้นราคาดังกล่าว บ่งชี้ว่าราคาค้าปลีกเบนซินจะถูกปรับขึ้น 0.19 หยวนต่อลิตร และราคาค้าปลีกดีเซลถูกปรับขึ้น 0.21 หยวนต่อลิตร

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (11/05/58)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...