ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

หมดยุคอิสระของธนาคารกลางเสี่ยงก่อสงครามค่าเงินเพื่อชาติ

 

3C7B0715D2B740AF8B56ED2821C0056C.jpg

 

 

โดย...นงลักษณ์ อัจนปัญญา

นอกเหนือจากการเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์วิกฤตหนี้สาธารณะใน ยุโรป ปัญหาเศรษฐกิจซบเซาในสหรัฐ และมาตรการแก้เงินฝืดในญี่ปุ่นแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่นักวิเคราะห์ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายจับตาอย่างใกล้ชิดก็คือบทบาท หน้าที่และการทำงานของบรรดาธนาคารกลางในประเทศต่างๆ

และประเด็นที่เริ่มมีเสียงท้วงติงจากเหล่านักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ “อิสระในการทำงาน” ของธนาคารกลาง

ทั้งนี้ เป็นเรื่องที่ยอมรับโดยทั่วหน้ากันว่า นับตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงิน ซึ่งเริ่มต้นในสหรัฐ ก่อนตามติดด้วยยุโรป และส่งผลกระทบลุกลามจนเศรษฐกิจทั่วโลกซึมเซาไปตามๆ กันนั้น ทำให้รัฐบาลนานาประเทศ โดยเฉพาะบรรดาประเทศพัฒนาแล้วงัดเอาสารพัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอัดฉีดสภาพ คล่องในระบบขนานใหญ่

ไล่เรียงตั้งแต่ นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) เพื่ออัดเงินเข้าระบบ นโยบายการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และกดให้ต่ำในระดับใกล้ศูนย์เพื่อควบคุมค่าเงินและอัตราดอกเบี้ยผลตอบแทน พันธบัตร รวมถึงนโยบายการปรับเป้าเงินเฟ้อเพื่อเปิดช่องให้รัฐบาลมีหนทางกระตุ้น เศรษฐกิจประเทศเพิ่มเติม

แน่นอนว่า สารพัดมาตรการทั้งหมดที่เอ่ยมาข้างต้น ล้วนเป็นมาตรการซึ่งประกาศบังคับใช้โดยหน่วยงานที่เรียกว่า ธนาคารกลาง (เซ็นทรัล แบงก์) องค์กรกลางที่ดำเนินงานทางด้านการเงินของประเทศอย่างเป็นอิสระ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบหลัก 4 ประการคือ 1) ออกธนบัตร 2) เป็นธนาคารของธนาคารพาณิชย์ และบริหารดูแลทุนสำรองระหว่างประเทศ 3) เป็นธนาคารของรัฐบาล และ 4) ดำเนินนโยบายทางการเงินและรักษาเสถียรภาพทางการเงิน ดูแลระบบการเงินให้มีความมั่นคงก้าวหน้า กำหนดนโยบายทางการเงิน รวมถึงการควบคุมดูแลสถาบันการเงินในระบบเศรษฐกิจ

เรียกได้ว่า บทบาทหน้าที่โดยรวมของธนาคารกลางนี้มีผลต่อสถานะ นโยบายทางการเงิน ค่าเงิน และอัตราดอกเบี้ยของประเทศเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีให้หลังที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์แทบจะทุกสำนักตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายจากธนาคารกลางซึ่งเข็นออกมารับมือกับปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นผลลัพธ์จากการที่รัฐบาลหรือผู้นำประเทศนั้นๆ พยายามกดดันให้ธนาคารกลางออกมาตรการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่สนใจต่อหน้าที่ของธนาคารกลางซึ่งจะต้องใช้นโยบายการเงินอย่างเป็นกลาง เพื่อรักษาเสถียรภาพเสถียรภาพด้านราคา (Price Stability) หรือการดูแลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสมกับระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์โดยทั่วหน้ากัน

พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือว่า กฎระเบียบข้อบังคับที่ธนาคารกลางประกาศใช้นี้ นอกจากจะฝืนกฎนโยบายทางการเงินที่ดีและเป็นกลางตามชื่อแล้ว ยังเป็นไปตามความต้องการทางการเมืองที่คำนึงถึงแต่ประโยชน์ของประเทศตนเอง เพียงอย่างเดียวอีกด้วย

ยกตัวอย่างเช่น กรณีของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ที่เพิ่งจะยอมทำตามคำขอแกมบังคับของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ชินโสะ อาเบะ เพื่อจัดการให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง ด้วยการขยายเพดานเงินเฟ้อจากเดิม 1% เป็น 2% พร้อมออกมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ (คิวอี) แบบปลายรวมมูลค่า 13 ล้านล้านเยน (ราว 4.38 ล้านล้านบาท) ต่อเดือน โดยกำหนดเริ่มบังคับใช้ในเดือน ม.ค. 2557

หรือกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ถึง 3 ครั้ง ควบคู่ไปกับการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำที่ 0.25% เพื่อกดให้ค่าเงินสกุลเงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าลงซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันสำหรับสินค้าส่งออกของสหรัฐ ขณะที่ธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) ก็ใช้มาตรการในลักษณะเดียวกันเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ซบเซาเพราะวิกฤตหนี้ สาธารณะในภูมิภาคของตนเอง

สตีเฟน คิง หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอชเอสบีซี กล่าวว่า นโยบายคิวอีหรือที่เรียกกันว่าเป็นนโยบายที่แทรกแซงระบบค่าเงินที่เหล่า ธนาคารกลางเข็นออกมาใช้ ไม่ได้มีผลช่วยรักษาเสถียรภาพทางด้านการเงินแม้แต่น้อย เนื่องจากผลลัพธ์ของคิวอีในระยะยาวรังแต่จะเพิ่มภาระหนี้สินและการขาดดุลให้ กับประเทศ

กระนั้น แม้จะรู้ซึ้งถึงผลกระทบดังกล่าวดี แต่ธนาคารกลางก็ยังฝืนใช้ เพราะในระยะสั้นจะเป็นประโยชน์ช่วยให้รัฐบาลสามารถระดมเงินทุนได้ง่าย สะดวก และประหยัดต้นทุน

กลายเป็นบทสรุปที่สตีเฟน คิง ระบุว่า หากไม่ใช่เพราะอำนาจทางการเมืองแล้ว ธนาคารกลางคงไม่ตัดสินใจเช่นนี้ได้ สอดคล้องกับความเห็นของ เจนส์ ไวด์แมนน์ ประธานธนาคารกลางเยอรมนี (บุนเดสแบงก์) ที่กล่าวเตือนว่า ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังสูญเสียอิสระในการทำงานมากขึ้น พร้อมยกตัวอย่างบีโอเจที่ยอมทำตามความต้องการของนายกรัฐมนตรีอาเบะแห่ง ญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์อีกส่วนหนึ่งแสดงความเห็นที่ค่อนข้างเห็นใจธนาคารกลางเหล่านี้ไม่น้อย เพราะเมื่อรัฐบาลประเทศหนึ่งๆ

โดยเฉพาะในประเทศมหาอำนาจที่ทรงอิทธิพลของโลกตัดสินใจกดดันให้ ธนาคารกลางของตนดำเนินนโยบายแทรกแซงค่าเงิน ธนาคารกลางอื่นๆ ทั่วโลก ย่อมไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะต้องทำบ้างเพื่อปกป้องเศรษฐกิจ

และภาคเอกชนของประเทศ

เพราะเมื่อธนาคารกลางแทรกแซงค่าเงิน ค่าเงินสกุลที่อ่อนกว่าจะไหลไปเก็งกำไรกับค่าเงินที่แข็งกว่า ย่อมทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นๆ แข็งค่าขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย

คำถามต่อมาก็คือ แล้วเงินแข็งเงินอ่อนจะส่งผลอย่างไรต่อไป

คำตอบที่ชัดเจนที่สุดก็คือ ประเทศที่ค่าเงินอ่อนจะได้ประโยชน์จากภาคส่งออกไปเต็มๆ เพราะสามารถขายสินค้าส่งออกได้ในราคาถูก ขณะที่สินค้านำเข้าจะมีราคาแพงไม่จูงใจให้คนในประเทศใช้ ซึ่งส่งผลให้ประเทศคู่ค้ากับประเทศที่ดำเนินนโยบายค่าเงินอ่อนเสียประโยชน์ ไปเต็มๆ จนในที่สุดต้องขอแทรกแซงค่าเงินบ้าง

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดล่าสุดก็คือ การประกาศแทรกแซงเงินเยนของบีโอเจ ที่ทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าสินค้าเมดอินเจแปนทั้งหลาย เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น รถยนต์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตัวอื่นๆ ในตลาดโลกถูกลง จนทำให้ประเทศที่มีสินค้าส่งออกคล้ายคลึงกันอย่างเกาหลีใต้ โดย บักแจวอน รัฐมนตรีคลังโสมขาว ออกมาส่งสัญญาณที่จะกดค่าเงินของสกุลเงินวอนให้ต่ำลง ก่อนที่สินค้าเกาหลีใต้จะเสียส่วนแบ่งตลาดให้ญี่ปุ่นจนกระเทือนเศรษฐกิจและ การจ้างงานของตน

นักเศรษฐศาสตร์ทุกสำนักกล่าวตรงกันว่า แนวโน้มที่ทุกประเทศจะแข่งกันลดค่าเงินจะนำไปสู่สงครามค่าเงินได้ไม่ยาก และเมื่อทุกประเทศกดค่าเงินให้ต่ำเหมือนกันหมดย่อมไม่มีใครได้ประโยชน์ ขณะเดียวกันกลับกลายเป็นการก่อบรรยากาศหวาดระแวง สั่นคลอนเสถียรภาพตลาดการค้าเสรี ขณะที่กลไกตลาดซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการควบคุมค่าเงินเจอบิดเบือนจนง่อย เปลี้ย

แนวโน้มความเลวร้ายข้างต้น ทำให้นักวิชาการและนักวิเคราะห์ทั่วโลกส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับความเป็น อิสระของธนาคารกลางที่ต้องปราศจากอิทธิพลทางการเมืองมาครอบงำ

ทว่า ยังมีนักเศรษฐศาสตร์อีกส่วนหนึ่งเห็นว่า ความเป็นอิสระของธนาคารกลางเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นมากนัก โดยหนึ่งในนั้นคือ โจเซฟ สติกลิทซ์ นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งแสดงความเห็นในงานเลกเชอร์ของธนาคารกลางอินเดียอย่างหนักแน่นชัดเจนว่า ความเป็นอิสระของธนาคารเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ และเป็นไปไม่ได้แน่นอน

ทั้งนี้ สติกลิทซ์ให้เหตุผลโดยยกตัวอย่างในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินที่ผ่านมาได้ พิสูจน์ให้เห็นอย่างดี โดยบรรดาธนาคารกลางของจีน บราซิล และอินเดีย ซึ่งมีอิสระน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว สามารถจัดการรับมือกับวิกฤตได้ดีกว่าธนาคารกลางของประเทศพัฒนาแล้วอย่าง ยุโรปและสหรัฐที่มีอิสระในการบริหารงาน

ความเป็นไปดังกล่าว ทำให้สติกลิทซ์สรุปอย่างไม่ยากเย็นว่า โลกใบนี้ไม่มีสถาบันที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง บรรดาองค์กรสาธารณะทั้งหลายล้วนมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ และคำถามเดียวที่ต้องถามก็คือกับใครเท่านั้น

แน่นอนว่า หากภาระหน้าที่นั้นเพื่อประเทศชาติส่วนรวม นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ล้วนเชื่อมั่นว่าเหล่าผู้นำทั่วโลกย่อมสามารถหา ทางออกร่วมกันได้แม้ไม่ดีที่สุด แต่ก็สมเหตุสมผลที่สุดเหมือนที่ผ่านมา

แต่หากภาระหน้าที่นั้น เป็นไปเพื่อกลุ่มอำนาจอิทธิพลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ธนาคารกลางก็จะกลายเป็นเพียงแค่เครื่องมือกอบโกยของคนเพียงไม่กี่คนบนความ ย่อยยับของประเทศ

และถ้าเป็นทางเลือกอย่างหลัง ต่อให้ต้องฝืนกับสถานการณ์เศรษฐกิจของชาติมากแค่ไหน นักเศรษฐศาสตร์ล้วนสรุปอย่างไม่มีลังเลว่าธนาคารกลางย่อมจำเป็นต้องรักษา ความเป็นอิสระไม่ให้การเมืองเข้ามาครอบงำแทรกแซงได้ต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:Announce

น่าจะเป็นครั้งแรกที่ลุงจิมออกมาให้กรอบเวลาหลังจากที่ทองคำแตะ ๑๖๕๐ ตามที่แกทำนาย (แม้ว่าจะทำนายเร็วไปหน่อยก็ตาม)

 

ตอนนี้ลุงจิมให้กรอบเวลาที่ทองจะเริ่มวิ่งต่อ ภายในช่วงกลางปีนี้ และยาวไปจนถึงปี ๒๐๑๗

:57

 

http://www.jsmineset...ket-ascendancy/

http://www.silverdoc...017/#more-20348

 

* * * * * * * * *

 

ธนาคารกลางรัสเซียบอกว่า เราจะเดินหน้าซื้อโลหะมีค่ามาเก็บไว้ต่อไป

 

http://www.reuters.com/article/2013/01/24/russia-cbank-idUSL6N0AT41J20130124

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:Announce

น่าจะเป็นครั้งแรกที่ลุงจิมออกมาให้กรอบเวลาหลังจากที่ทองคำแตะ ๑๖๕๐ ตามที่แกทำนาย (แม้ว่าจะทำนายเร็วไปหน่อยก็ตาม)

 

ตอนนี้ลุงจิมให้กรอบเวลาที่ทองจะเริ่มวิ่งต่อ ภายในช่วงกลางปีนี้ และยาวไปจนถึงปี ๒๐๑๗

:57

 

http://www.jsmineset...ket-ascendancy/

http://www.silverdoc...017/#more-20348

 

* * * * * * * * *

 

 

ขอเสริมนิดนะครับกันบางคนใจชะล่าใจ ทีว่าภายในช่วงกลางปีนี้หมายถึงอย่างช้านะครับ คงต้องมาดูว่าความเห็นของลุงจิมครั้งนี้จะแม่นเรื่องเวลามั้ย

I anticipate that this is exactly what will happen propelling gold to new record heights starting no later than midyear this year and running into 2017.

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โตเกียวยันไม่ได้ดึงให้'เยน'อ่อน โต้ข้อครหาปลุก'สงครามค่าเงิน' blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 มกราคม 2556 23:30 น.

 

 

blank.gif 556000001045101.JPEG blank.gif

เอเอฟพี - เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการคลังญี่ปุ่น ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาของหลายชาติที่ว่า คณะรัฐบาลชุดใหม่ของแดนอาทิตย์อุทัย ดำเนินการเคลื่อนไหวหลายๆ ด้านอย่างสอดคล้องประสานกันเพื่อที่จะทำให้เงินเยนอ่อนค่าลง ซึ่งพวกนักวิจารณ์ระบุว่าอาจกลายเป็นชนวนก่อให้เกิดสงครามค่าเงินตราระดับ โลกขึ้นมาได้

 

ทาเคฮิโกะ นากาโอะ ผู้ช่วยรัฐมนตรี (vice minister) การคลังฝ่ายกิจการระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล ซึ่งนำมาตีพิมพ์เผยแพร่ไว้ในฉบับวันพฤหัสบดี (24) ระบุว่า โตเกียวไม่มีเจตนาทำให้เงินเยนอ่อนค่าลงเพื่อประโยชน์ในด้านเพิ่มขีดความ สามารถแข่งขันแต่อย่างใด

 

“ผมขอย้ำว่า การอ่อนค่าของเยนในระยะหลังนี้ควรถือเป็นการปรับค่าจากสถานะของการแข็งค่า เกินไปด้านเดียว ซึ่งได้ดำเนินมาเป็นเวลายาวนานจนกระทั่งถึงปีที่แล้ว”

 

นากาโอะ ซึ่งเป็นข้าราชการประจำตำแหน่งสูงที่สุดในกระทรวงการคลังในฟากกิจการระหว่าง ประเทศ ยังระบุว่า การที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ประกาศนโยบายหลายประการในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงแผนการอัดฉีดสภาพคล่องแบบปลายเปิดคล้ายๆ กับมาตรการของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) นั้น ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการปั่นค่าเงินเยนแต่อย่างใด

 

ผู้ช่วยรัฐมนตรีผู้นี้ยืนยันว่า การที่บีโอเจออกมาตรการใหม่ๆ ซึ่งมีทั้งการกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% ด้วย และนักวิเคราะห์เห็นกันทั่วไปว่าเป็นเพราะแรงบีบคั้นจากรัฐบาลชุดใหม่ของ ญี่ปุ่นนั้น มีจุดหมายในการจัดการกับภาวะเงินฝืดเรื้อรังและกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

“มันไม่ควรที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์หรอก ถึงแม้ว่านโยบายการเงินที่มีเป้าหมายสร้างหลักประกันการเติบโตและเสถียรภาพ ทางด้านราคาของประเทศ อาจจะส่งผลบางประการต่ออัตราแลกเปลี่ยนก็ตาม” นากาโอะย้ำ

 

ทั้งนี้ ค่าเงินแดนอาทิตย์อุทัยทะยานทำสถิติสูงสุดที่ประมาณ 75 เยนต่อดอลลาร์ในช่วงปลายปี 2011 และแข็งค่าอยู่เกือบตลอดปี 2012 ซึ่งส่งผลกระทบแง่ลบต่อผู้ส่งออก ขณะที่ญี่ปุ่นเพิ่งรอดพ้นจากมหาภัยพิบัติแผ่นดินไหว-คลื่นสึนามิ และกำลังฝ่าฟันทำให้เศรษฐกิจของตนฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ

 

ทางการญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงตลาดเงินหลายหนเพื่อไม่ให้เยนแข็งค่าเกินไป ทว่า ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก

 

กระนั้น เงินเยนเริ่มอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วหลังจากรัฐบาลชุดใหม่ของนายกรัฐมนตรีชิน โซ อาเบะ ขึ้นบริหารประเทศเมื่อเดือนที่แล้ว โดยประกาศว่าจะเยียวยาเศรษฐกิจด้วยมาตรการใช้จ่ายก้อนมหึมา รวมทั้งกดดันให้บีโอเจใช้แนวทางผ่อนคลายเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งมีความโน้มเอียงที่จะสร้างแรงกดดันต่อค่าเงิน

 

ในวันพฤหัสบดี เงินเยนอ่อนตัวลงระหว่างการซื้อขายช่วงบ่ายที่ตลาดโตเกียว โดยเทรดอยู่ที่ 89.33 เยนต่อดอลลาร์ เทียบกับ 88.56 เยนในตลาดนิวยอร์กคืนวันพุธ (23)

 

การอ่อนค่าของเงินเยนในเดือนนี้จุดกระแสวิจารณ์จากผู้ว่าการ เฟดสาขาเซนต์หลุยส์ รวมถึงเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางรัสเซียที่เตือนว่า สถานการณ์นี้อาจนำไปสู่สงครามค่าเงินตราทั่วโลก

 

ล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (28) เจนส์ ไวด์มานน์ ประธานบุนเดสแบงก์หรือธนาคารกลางเยอรมนี เตือนว่า การที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงนโยบายของแบงก์ชาติ ดังเช่นที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น เข้าข่ายเป็นการทำให้อัตราแลกเปลี่ยนกลายเป็นประเด็นทางการเมือง

 

“จนถึงขณะนี้ ระบบการเงินโลกสามารถต้านทานวิกฤตการเงินและหลีกเลี่ยงสงครามการลดค่าเงิน ตรามาได้ และผมหวังอย่างยิ่งว่า สถานการณ์จะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป" ไวด์มานน์ กล่าว

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อังกฤษเตรียมตัวเป็นประเทศแรกในกลุ่มจี ๗ ที่จะมีการเปิดสวอป ไลน์กับธนาคารกลางจีนโดยตรง

 

http://uk.reuters.co...E90N11520130124

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

การอ่อนค่าของเงินเยนในเดือนนี้จุดกระแสวิจารณ์จากผู้ว่าการ เฟดสาขาเซนต์หลุยส์ รวมถึงเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางรัสเซียที่เตือนว่า สถานการณ์นี้อาจนำไปสู่สงครามค่าเงินตราทั่วโลก

 

ล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (28) เจนส์ ไวด์มานน์ ประธานบุนเดสแบงก์หรือธนาคารกลางเยอรมนี เตือนว่า การที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงนโยบายของแบงก์ชาติ ดังเช่นที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น เข้าข่ายเป็นการทำให้อัตราแลกเปลี่ยนกลายเป็นประเด็นทางการเมือง

 

“จนถึงขณะนี้ ระบบการเงินโลกสามารถต้านทานวิกฤตการเงินและหลีกเลี่ยงสงครามการลดค่าเงิน ตรามาได้ และผมหวังอย่างยิ่งว่า สถานการณ์จะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป" ไวด์มานน์ กล่าว

 

อ่านแล้วก็ได้แต่ด่าว่า นี่แหละ สันดานเอี้ยๆของฝรั่ง ที่ตัวเองทำเลวๆได้ แต่พอเขาสู้ก็ไปด่าเขา :034

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

อ่านแล้วก็ได้แต่ด่าว่า นี่แหละ สันดานเอี้ยๆของฝรั่ง ที่ตัวเองทำเลวๆได้ แต่พอเขาสู้ก็ไปด่าเขา :034

แหมLIKE มีน้อยจัง หมดอีกแล้ว ขอจดLIKE ตรงน้ีนะคะ

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณส้มโอมือ คุณหมอเล็ก คุณwcg และทุกๆท่านนะคะ. :01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Announce:Even with today's whacking of gold, our shiny yellow metal hit record levels of 150,000 Japanese yen/oz.

 

ถึงทองจะถูกฝั่งเมกาทุบ แต่ราคาที่ญี่ปุ่นพุ่งกระฉูด :gd

 

 

ฝั่งยุโรปมีแต่ความรุ่งเรือง หุหุ :17

สเปนตกงาน 26.02% ถ้าคิดเฉพาะคนหนุ่มสาวจบใหม่ๆทั้งสเปนและกรีซตกงานถึง 55% แล้ว แต่ถ้าคิดคนตกงานหนุ่มสาวทั้งยุโรปก็ปาเข้าไป 20%

 

 

the Spanish unemployment rates rises to 26.02% and both Spanish and Greek youth see their unemployment skyrocket past 55%. The total unemployment rate for all of the youth in the Euro zone is 20%.

 

ธนาคาร Credit Suisse รายงานว่าเจ้าของทองพากันย้ายทองหนีจากยูโรโซนเพราะกลัวยูโรเจ๊ง

Credit Suisse reports gold owners have removed their gold from the euro zone afraid of the currency crisis.

 

ประโยคเด็ดของลุงมาร์ค เฟเบอร์ เมื่อมีคนถามที่มหาลัยเยลเรื่องที่ลุงบอกให้เก็บทองคือ

มาเดิมพันกันดีกว่า แกเก็บดอลล์ ฉันเก็บทอง แล้วมาดูกันว่าใครจะเจ๊งก่อนกัน

 

“I’m prepared to make a bet, you keep your U.S. dollars and I’ll keep my gold, we’ll see which one goes to zero first.”

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ่านแล้วก็ได้แต่ด่าว่า นี่แหละ สันดานเอี้ยๆของฝรั่ง ที่ตัวเองทำเลวๆได้ แต่พอเขาสู้ก็ไปด่าเขา :034

 

ตอนผมอ่าน ผมสงสารผู้ช่วยรมต.ญี่ปุ่นมากกว่า ว่าตอนให้ข่าว เจ็บสีข้างมากหรือเปล่า :uu

 

ตอนนี้หมากบนกระดานชักเริ่มน่าสนใจแล้ว

  • ขาใหญ่เริ่มแข่งกันพิมพ์เงิน
  • หลายๆประเทศเริ่มเรียก หรือพยายามจะเรียกทองคำกลับบ้าน
  • ลุงแซมกำลังจะพยายามยึดอาวุธปืนจากประชาชน (รธน.ลุงแซม บอกว่า ปชช.ต้องมีปืน เอาไว้กำราบรัฐบาลเฮงซวย)
  • ลุงแซมปิดปากอีแกนโจนส์ บริษัทเรทติ้งแห่งแรกที่กล้าเรทรัฐบาลตามความเป็นจริง เรียบร้อย
  • โลกตะวันตกส่งทหารไปคุกคามปลดแอก หลายๆทวีปในแอฟริกาที่มีทรัพยากรเยอะๆแล้ว
  • รัสเซียเริ่มเข้ามาหนุนทวีปแอฟริกาเพื่อต่อกรกับลุงแซม
  • หุ้นแอปเปิลตกหนัก ไม่รู้ว่าจะตกต่อให้ดัชนีลงมาอีกหรือเปล่า
  • ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ มามีปากเสียงกับเกาหลีเหนือและจีน เพื่อเอาใจลุงแซม
  • ทั้งข่าวลือ และข่าวจริง เกี่ยวกับเงินหยวน
  • ฯลฯ

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณwcg, คุณส้มโอมือ,คุณmor lek ลุ้นทองจนไม่ได้นอนเลยหรอคะ อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมอยากจะยกกรอบข้อความที่่โพสต์มาก่อนหน้าได้จัง....

ทำอย่างไรครับ...ช่วยสอนที.....

 

บางทีก๊อปข้อความเก่ามาแล้ว...

ดูเหมือนไม่ให้เกียรติคนที่โพสต์มา...

ช่วยผมหน่อยนะครับ.....

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมอยากจะยกกรอบข้อความที่่โพสต์มาก่อนหน้าได้จัง....

ทำอย่างไรครับ...ช่วยสอนที.....

 

บางทีก๊อปข้อความเก่ามาแล้ว...

ดูเหมือนไม่ให้เกียรติคนที่โพสต์มา...

ช่วยผมหน่อยนะครับ.....

ต้องการอ้างถึงข้อความของใครโพสต์ก็กดอ้างถึงใต้โพสต์นั้นครับ ดูจากรูปที่ผมแนบมาครับ

post-23-0-16331000-1359091842_thumb.png

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมอยากจะยกกรอบข้อความที่่โพสต์มาก่อนหน้าได้จัง....

ทำอย่างไรครับ...ช่วยสอนที.....

 

บางทีก๊อปข้อความเก่ามาแล้ว...

ดูเหมือนไม่ให้เกียรติคนที่โพสต์มา...

ช่วยผมหน่อยนะครับ.....

 

ตรงข้อความที่อยากยกมา กดปุ่ม "อ้างถึง" ที่อยู่ด้านขวาล่างครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...