ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

สภาพคล่องล้นโลก

 

เมื่อก่อนเเค่พันล้านบาทก็ใหญ่มากเเล้วครับโครงการใหญ่ๆระดับประเทศ

 

เดี๋ยวนี้โครงการอนุมัติเงินพิเศษให้นายตำรวจที่ไปเฝ้ารับจำนำข้าวทั้งประเทศยังเป็นร้อยล้านเลย :_10

 

พอดีชอบเล่นเทคนิคอยู่รูเเล้วติดดอยทอง เพราะความโลภครับ เลยต้องออกมาปลอบใจตัวเองบ่อยๆ :_cd

ถูกแก้ไข โดย Jocho

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สิงห์ซุ่ม .....แคนาดาแอบพิมพ์โดยไม่บอกกล่าว :gd (ไทยน่าเอามั่ง)

 

 

Mark Carney Leaves Canada With 'Stealth QE' Rising At Fastest Pace Since 2009

 

 

http://www.zerohedge.com/news/2013-01-28/mark-carney-leaves-canada-stealth-qe-rising-fastest-pace-2009

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Guru Corner

---------------

 

• Bruce Krasting อดีต ผู้จัดการกองทุน Hedge Fund วิเคราะห์ว่า ที่ผ่านมาการใช้นโยบาย QE ของ FED ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวและขายพันธบัตรระยะสั้นเพื่อกดดอกเบี้ยระยะ ยาวให้ต่ำลง ทำให้ FED มีกำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยประมาณ 9 หมื่นล้านดอลลาร์ และมีกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (Unrealized Gain) จากพันธบัตรที่ลงทุนอีกประมาณ 2 แสนล้านดอลลาร์

 

(เมื่อ Yield ถูกกดให้ต่ำลงตลอด พันธบัตรที่ถือจึงมีกำไรทางบัญชีจากการ Mark to market) FED จึงนำส่งรายได้เข้าคลังได้สูงขึ้นตลอด โดยคาดว่ารายได้ที่ส่งเข้าคลังในปีก่อนมีมูลค่าเกือบ 9 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 10% ของยอดขาดดุลงบประมาณทั้งปี

 

แต่เมื่อใดที่อัตราดอกเบี้ย กลับสู่ภาวะปกติ (QE) Yield จะสูงขึ้น ผู้ถือพันธบัตรจะขาดทุน และ FED เองก็จะมีรายได้จากอัตราดอกเบี้ยที่ ค่อยๆ ลดลงเหลือศูนย์ โดยจะขาดทุนทางบัญชี (Unrealized loss) จากพันธบัตรที่ถือไว้ถึง 3 แสนล้านเหรียญภายใน 3 ปี (เมื่อ Yield พันธบัตรสูงขึ้น คนที่ถือพันธบัตรอายุยาวๆ จะยิ่งขาดทุน) ส่งผลให้ไม่มีรายได้ส่งคลัง

 

ดังนั้น ความเสี่ยงที่ FED กำลังกังวลต่อการจบมาตรการ QE คือ ความเสี่ยงต่อรายได้ของ ก.คลัง ของที่จะลดลงนั่นเอง

 

 

 

เอ....แบบนี้

 

ถ้าใครถือพันธบัตรอเมริกาไว้มากๆ...

 

แค่เทขายอย่างเดียว ( เทใส่ bid ) ......

 

Fed ก็เจ๊งบ้ง สิครับ......

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สภาพคล่องล้นโลก

 

......

 

เซ็นทรัลปั้น"แบรนด์ ใหม่"ลุยตปท. ดีเดย์ปักธงห้างหรูใจกลางยุโรปเสริมทัพ"อิตาลี"

 

.... ล่าสุดประกาศทุ่ม 1 หมื่นล้านบาทเปิดโครงการเซ็นทรัล ภูเก็ต เฟส 3 บนที่ดินแปลงใหญ่ผืนงามกว่า 130 ไร่ ควบคู่กับการตอกย้ำด้วยภาพการสยายปีกปักธงตลาดนอกประเทศในอิตาลี, อินโดนีเซีย ที่นำร่องเปิดตลาดไปแล้ว ....

 

.... เป้าหมายการเติบโตไปยังต่างประเทศที่วางไว้ คือ การเปิดศูนย์การค้าระดับบน "ลักเซอรี่" อย่างน้อยให้ได้ปีละ 1 แห่ง โดยในเชิงกลยุทธ์จะเดินหน้าขยายศูนย์การค้าหรูไปยังทั่วทุกมุมโลกที่มีโอกาส และในตลาดที่มีศักยภาพ .....

 

.... ตึกอาคารเก่าใจกลางกรุงโรมที่เซ็นทรัล รีเทลทุ่มงบฯกว่า 8,000 ล้านบาทซื้อในช่วงปลายปีที่ผ่านมายังเตรียมจะขึ้นเป็นศูนย์การค้าหรูเช่น เดียวกัน ภายใต้ชื่อ tritone "ธิโตเน่" โดยเป็นทำเลที่ถือว่าดีที่สุดอยู่ใกล้กับขั้นบันไดสเปนและน้ำพุเทรวีที่ แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางมากว่า 20 ล้านคน ....

 

อย่างที่มาร์ตินฯบอก คนระดับมหาเศรษฐี ซื้อทองเก็บไม่ได้หรอก เพราะทองมันมีไม่พอให้เงินกระดาษซื้อ

 

กลุ่มทุนจีน ไล่ซื้อที่ดิน ที่นา และธุรกิจในเมืองลุงแซม ซื้อไร่ไวน์ อสังหาในยุโรป กันสนุกสนาน

แถมยังไปลงทุนในทรัพยากรในออสเตรเลีย และทวีปแอฟริกาเป็นจำนวนมากจนทำให้ลุงแซมกริ้ว

และเริ่มส่งลูกหลานลุงแซมไปประจำการเพื่อพลีชีพแล้ว

 

กลุ่มทุนไทย ก็พยายามไปไล่ซื้อบริษัทประกันที่จีน ไปซื้อที่ทำห้างในยุโรป

บางเจ้าที่ไม่เป็นข่าว ก็มาลงเงินไล่ซื้อของในเมืองลุงแซมไม่รู้เท่าไหร่

 

เก็บเงินกระดาษไว้เพื่อเป็นสภาพคล่องนี่ไม่เลวครับ

แต่ถ้าดูผู้เล่นระดับช้าง เขาค่อยๆเปลี่ยนกระดาษเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้ แทนสินทรัพย์ในจินตนาการแล้ว

 

 

สิงห์ซุ่ม .....แคนาดาแอบพิมพ์โดยไม่บอกกล่าว :gd (ไทยน่าเอามั่ง)

....

 

ไม่น่าจะนานเกินรอ :D

post-2564-0-57458800-1359483328.png

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิกฤตยูโรโซนส่อปะทุซ้ำศก.ไม่ฟื้น-ว่างงานพุ่ง-การเมืองไม่นิ่ง

  • 29 มกราคม 2556 เวลา 08:10 น. |

136DCF8F81884A8ABF7282DAEBA5A6EA.jpg

 

 

โดย...พันธสิทธิ เจริญพาณิชย์พันธ์

นับตั้งแต่ที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้ประกาศว่าพร้อมที่จะงัดมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรระยะสั้น เพื่อเข้าช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหาวิกฤตหนี้อย่างหนักออกมาเมื่อปีที่ แล้ว ประกอบกับการที่กรีซสามารถบรรลุเงื่อนไขเพื่อแลกรับกับเงินช่วยเหลือจากคณะ เจ้าหนี้ (ทรอยกา) ซึ่งประกอบไปด้วยสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก็ทำให้หลายฝ่ายจะมองว่าปัญหาวิกฤตหนี้กลุ่มยูโรน่าจะผ่านพ้นจุดวิกฤตที่ หนักที่สุดไปแล้ว และน่าจะก้าวเดินเข้าสู่ภาวะผ่อนคลายได้แล้วในปีนี้

เห็นได้จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสเปนกับอิตาลี ที่อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพที่ 5.17% และ 4.17% ตามลำดับ ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงกลางปีที่แล้ว ที่ทางอีซีบียังไม่ประกาศมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรดังกล่าวที่ยังอยู่สูงถึง ระดับ 67%

อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มปัญหาหนี้ยูโรโซนจะไม่น่าเป็นห่วงเหมือนเช่นที่ผ่านมา แต่หากพินิจพิเคราะห์ให้ลึกลงไปถึงตัวแปรต่างๆ ในปีนี้ ต้องยอมรับเลยว่าแท้ที่จริงแล้วปัญหาวิกฤตหนี้ยูโรโซนไม่ได้มีทีท่าจะเบาลง เหมือนเช่นที่กล่าวไว้ในข้างต้นเลย ซ้ำร้ายไปกว่านั้นกลับยิ่งส่อแววว่าจะเดือดปะทุขึ้นอีกครั้งในปีนี้

เพราะปัจจัยหลักของการแก้ปัญหาอย่างการเร่งทำการปฏิรูปเพื่อให้ภาค เศรษฐกิจจริงทั้งระบบสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้า และกลับเข้าสู่ภาวะการเติบโตในกลุ่มประเทศยูโรโซนยังคงไม่มีวี่แววว่าจะเกิด ขึ้นมาได้เลยแม้แต่น้อย อีกทั้งยิ่งเมื่อต้องมาเจอกับผลกระทบที่เกิดจากการใช้มาตรการรัดเข็มขัดใน หลายประเทศเพื่อลดรายจ่าย ก็จะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายมากขึ้นลงไปอีกในอนาคต

เห็นได้จากระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของกลุ่มยูโรโซนที่พุ่งสูงขึ้น เรื่อยๆ โดยคาดว่าในปีนี้จะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 94.5% จากตัวเลขเดิมในไตรมาส 3 ของปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 90%

ขณะที่อัตราการว่างงานเดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว ซึ่งจะเปิดเผยในวันศุกร์ที่ 1 ก.พ.นี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์กคาดการณ์โดยอ้างนักเศรษฐศาสตร์ 3-4 คน ว่าจะยังพุ่งสูงขึ้นทำสถิติไปอยู่ที่ 11.9% ขณะที่เดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 11.8% ส่วนที่สเปนเมื่อสัปดาห์ก่อนก็เพิ่งออกมาเผยว่า ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว อัตราการว่างงานพุ่งสูงขึ้นถึง 26% ของจำนวนแรงงานทั้งระบบ ด้านการว่างงานในกรีซในเดือน ต.ค.ปีที่แล้ว ก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติศาสตร์ที่ 26.8% เช่นกัน

ไม่เพียงเท่านั้น แนวโน้มการเติบโตจีดีพีในปีนี้ของกลุ่มยูโรโซนก็ยังถูกตอกย้ำ และสะท้อนถึงแนวโน้มที่ย่ำแย่ต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้ถูกไอเอ็มเอฟออกมาตัดลดคาดการณ์ลงจากที่หดตัว 0.2% ลงมาอยู่ที่หดตัว 0.4%

“แม้ว่ามาตรการเข้าซื้อพันธบัตรระยะสั้นจะช่วยลดความเสี่ยงให้กับกลุ่มยู โรโซนได้มาก แต่เรายังไม่เห็นถึงแนวโน้มที่ดีขึ้นในภาคเศรษฐกิจจริงเลย ดังนั้นทุกฝ่ายจึงต้องช่วยกันฟื้นภาคเศรษฐกิจให้มากขึ้น” มาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี กล่าวในระหว่างการประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม

ทรรศนะของประธานอีซีบี สอดคล้องกับคำพูดของ มาร์ติน ฮัตชินสัน นักยุทธศาสตร์จากมันนี่ มอร์นิง อินเวสติง ที่กล่าวว่า ตัวเลขที่สะท้อนออกมาในตลาดพันธบัตรไม่ใช่ตัวชี้วัดถึงความเป็นไปของสภาวะ การเงินและเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ได้ดีที่สุดเสมอไป

ขณะที่ปัจจัยต่อมาที่จะทำให้วิกฤตหนี้ยูโรโซนน่าเป็นห่วงอยู่ก็คือ แผนการปฏิรูปและแนวทางข้อตกลงต่างๆ ที่เหล่าบรรดาผู้นำยุโรปร่วมกันก่อร่างสร้างกันขึ้นมา เพื่อแก้ไขที่มาของวิกฤตจนถึงรากถึงโคนโดยผ่านการประชุมไม่ต่ำกว่า 10 ครั้งในระยะ 23 ปีที่ผ่านมานั้น ก็ดูเหมือนจะยังคงไม่สามารถนำออกมาใช้ตอบสนองและแก้ไขปัญหา ที่ดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากขึ้นได้อย่างทันท่วงที

เช่น ข้อตกลงการตั้งสหภาพธนาคารที่ผู้นำยุโรปหวังใช้เป็นเครื่องมือแก้ปัญหา และตรวจ สอบภาคธนาคารขนาดใหญ่ของประเทศต่างๆ กว่า 150 แห่งโดยตรง หากเกิดมีปัญหาขึ้นมาและกำหนดให้เริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2014 นั้น ดูเหมือนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะภาคธนาคารเอกชนสเปน อิตาลี และฝรั่งเศส กลับต้องการได้รับเงินช่วยเหลือที่เร็วกว่านั้น

นอกจากนี้ แม้จะมีแผนการเริ่มให้สหภาพธนาคารเริ่มดำเนินการในปีหน้าขึ้นมา แต่ต้องยอมรับว่าแนวทางการดำเนินงานขององค์กรดังกล่าวยังคงมีข้อขัดแย้งกัน ระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกยูโรโซนอยู่หลายข้อ เช่น การเข้าไปแบกปัญหาด้านธนาคารที่ประสบปัญหาการเงินจนถูกสั่งให้ปิดกิจการ ฝ่ายไหนจะเป็นผู้เข้าไปแบกรับ

“สหภาพธนาคารยังไม่เกิดขึ้นในปีนี้ และเหล่าผู้นำยุโรปก็ไม่มีความเห็นไปในแนวทางเดียวกันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ ขององค์กร ดังนั้นจึงคาดว่าตลาดจะเริ่มหมดความอดทน และวิกฤตจะเริ่มกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง” แบร์รี ไอเชนกรีน นักเศรษฐศาสตร์ชาวสหรัฐ กล่าวในระหว่างการประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม

ขณะที่ปัจจัยสุดท้ายที่น่ากังวล และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้วิกฤตหนี้ยูโรโซนกลับมาเดือดอีกครั้งในปีนี้ก็ คือ เสถียรภาพและความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในหลายประเทศ เพราะในปีนี้จะมีการเลือกตั้งผู้นำทั้งในอิตาลีช่วงเดือน ก.พ. และเยอรมนีในช่วงเดือน ก.ย. ซึ่งอาจส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงต่อแผนการและแนวทางการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้ใน ประเทศนั้นๆ จนก่อให้เกิดความไม่แน่นอนในตลาดมากขึ้น

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ได้แสดงความกังวลอย่างมาก โดยเฉพาะในกรณีการเลือกตั้งในอิตาลีนั้น มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดความผันผวนในตลาด เพราะรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี มาริโอ มอนติ ประกาศแล้วว่าจะไม่ลงเลือกตั้ง ขณะที่ผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งหลายคน ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ ซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี ต่างก็พยายามชูนโยบายการเลิกใช้แผนการรัดเข็มขัด

ดังนั้น จึงเป็นความเสี่ยงว่าหากประชาชนที่หมดความอดทนกับผลกระทบจากแผนรัดเข็มขัด หันไปเลือกพรรคการเมืองที่ต่อต้านแผนรัดเข็มขัด สามารถขึ้นมาครองอำนาจได้ ก็อาจทำให้แผนการปฏิรูปเศรษฐกิจ การตัดลดงบ ประมาณรัฐบาลเดิมอาจสิ้นสุดลง ซึ่งนั่นจะทำให้นักลงทุนไม่เชื่อมั่นต่อแผนการลดหนี้ในอิตาลี และจะทำให้วิกฤตหนี้ยูโรโซนกลับมาร้อนแรงขึ้นอีกครั้ง

ขณะที่การเลือกตั้งในเยอรมนีก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน เพราะเริ่มมีประชาชนไม่พอใจต่อการที่รัฐบาลนำเงินไปใช้ช่วยประเทศอื่นๆ ที่ประสบปัญหาผ่านกองทุนส่วนกลางของอียู เช่น กรีซ มากขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้น หากรัฐบาลของ อังเกลา แมร์เกิล พ่ายแพ้ขึ้นมา ย่อมหมายถึงหัวเรือใหญ่ผู้เป็นเสาหลักในการแก้ปัญหาหนี้ยูโรโซนอาจเกิดการ เปลี่ยนทิศทางการแก้ปัญหา และการเข้าให้ความช่วยเหลือประเทศอื่นๆ ในกลุ่มขึ้นมาทันที

นอกเหนือจากประเด็นการเลือกตั้งทางการเมืองของ 2 ประเทศยูโรโซนดังกล่าวที่เสี่ยงจะเป็นชนวนวิกฤตหนี้แล้ว อีกปัญหาหนึ่งที่น่ากังวลไม่แพ้กันก็คือ ความเป็นเอกภาพของยุโรปที่เริ่มอ่อนแอลงทุกขณะ เห็นได้จากกรณีของอังกฤษ ที่แม้จะไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร 17 ประเทศ แต่ก็เริ่มหันมาขอทบทวนบทบาทถึงความสัมพันธ์กับอียูอีก 26 ประเทศแล้ว ด้วยการให้ประชาชนตัดสินใจผ่านการทำประชามติในปี 2017 ว่าจะอยู่หรือออกจากการเป็นสมาชิกของอียู

เนื่องจากเห็นว่าแนวทางและผลประโยชน์ของประเทศตนเองไม่สอดคล้องกับอียูใน หลายเรื่อง โดยเฉพาะแผนการตั้งสหภาพธนาคารที่อังกฤษมองว่าจะทำให้บทบาทในการเป็นศูนย์ กลางด้านการเงินการธนาคารในยุโรปของอังกฤษต้องลดลง

ขณะเดียวกันบางประเทศสมาชิกก็เริ่มรู้สึกไม่ชอบกับการอยู่ร่วมกลุ่มอียู สักเท่าไร เพราะเริ่มตระหนักว่าการเป็นสมาชิกร่วมกลุ่มอียูก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้ รับประโยชน์และถูกอุ้มชูเป็นพิเศษเมื่อเกิดปัญหาขึ้นเสมอไป ดังเห็นได้จากการมอบเงินช่วยเหลือที่มาพร้อมกับเงื่อนไขรัดเข็มขัดที่สุดหิน เหมือนเช่นที่ไอร์แลนด์ โปรตุเกส กรีซ กำลังเผชิญอยู่

ดังนั้น จึงไม่แปลกที่จะเริ่มเห็นกระแสเรียกร้องให้รัฐบาลของตนเดินออกจากการเป็น สมาชิกอียู รวมไปถึงการยกเลิกใช้เงินสกุลยูโรเสียมากขึ้นในหลายๆ ประเทศ

จึงนับว่าปีนี้ถือเป็นปีที่ท้าทายของการแก้ไขวิกฤตหนี้ยูโรที่น่าจับตา มองอย่างกระชั้นชิดอย่างยิ่ง และไม่แน่ว่าปีนี้อาจเป็นการตัดสินชี้ขาดได้เลยว่ายูโรโซนจะอยู่หรือไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิกฤตยูโรโซนส่อปะทุซ้ำศก.ไม่ฟื้น-ว่างงานพุ่ง-การเมืองไม่นิ่ง

อันนี้ยิ่งรุนแรงครับเพราะเผลอหลุดปากออกมาเอง :uu

Labor Minister Says France Is "Totally Bankrupt"

 

http://www.zerohedge.com/print/468939

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พอเลิกคุ้มครองเงินฝากก็พากันแห่ไปถอนเงินกันอุตลุด ....มีโอกาสเจ๊งใหมเนี่ย :57

BANK RUN IN PROGRESS? MASSIVE $114B WITHDRAWN FROM 25 LARGEST US BANKS FIRST WEEK OF JANUARY!

 

the Fed is reporting that $114 billion were withdrawn from the largest 25 US banks over the first week of January, the largest fund outflow since the 9/11 attacks, even exceeding the pace of the outflow during the 2008 financial panic!

 

http://www.silverdoc...ary/#more-20575

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วรวรรณ ธาราภูมิ

 

6 ชั่วโมงที่แล้ว

Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง ... มิตรแท้ตลอดเส้นทางลงทุน

 

30 มกราคม 2556

 

General News

-------------------

 

• บริษัทวิจัยเซ็นทิกซ์ ได้สำรวจความคิดเห็นของนักลงทุนจำนวน 959 คนเกี่ยวกับแนวโน้มที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะต้องถูกสถานการณ์บีบบังคับให้ออกจากยูโรโซน พบว่า การล่มสลายของยูโรแทบจะไม่เป็นประเด็นอีกต่อไปแล้ว เพราะมีนักลงทุนเพียง 17.2% ที่คาดว่าจะมีหนึ่งหรือหลายประเทศที่จะออกจากยูโรโซนภายใน 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งลดลงจาก 25% ในเดือน ธ.ค. และระดับสูงถึง 73% ในเดือน ก.ค.ปีที่แล้ว

 

• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคล่วงหน้าสำหรับเดือน ก.พ. ของเยอรมนีเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน สู่ 5.8 จาก 5.7 ในเดือนม.ค. ซึ่งได้แรงหนุนจากการคาดการณ์รายได้ที่พุ่งขึ้น และความตั้งใจจะซื้อสินค้ามากขึ้น

 

• เดวิด ไมล์ส หนึ่งในคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ กล่าวว่าศักยภาพการผลิตของอังกฤษอาจลดลงตามอุปสงค์ที่ยังคงซบเซา แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจอังกฤษจะขยายตัวมากขึ้น

 

นอกจากนี้ ได้สนับสนุนการผ่อนคลายเชิงปริมาณมากขึ้น เพราะเชื่อว่ายังมีโอกาสที่เศรษฐกิจที่อ่อนแอจะขยายตัวโดยไม่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่ม และระบุว่า การพิมพ์ธนบัตรเป็นเครื่องมือที่ทรงอานุภาพมาก

 

• Fitch Rating ยกเลิกคำเตือนที่จะลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐลงจาก AAA ในไม่กี่เดือนข้างหน้า เนื่องจากสหรัฐบรรลุข้อตกลงเรื่องเพดานหนี้ชั่วคราว แสดงว่าความวิตกเกี่ยวกับความขัดแย้งด้านงบประมาณที่ยืดเยื้อได้ผ่อนคลายลงแล้ว

 

อย่างไรก็ตาม ได้เตือนว่า สหรัฐยังคงเสี่ยงต่อการถูกปรับลดอันดับ ถ้าผู้กำหนดนโยบายไม่ร่วมกันวางแผนที่น่าเชื่อถือเพื่อลดยอดขาดดุลจำนวนมหาศาลของประเทศลงในระยะกลางคือช่วง 6-12 เดือน

 

• สมาคมเศรษฐศาสตร์ธุรกิจแห่งชาติของสหรัฐ (NABE) เปิดเผยผลสำรวจรายไตรมาสว่า นักเศรษฐศาสตร์อเมริกันมีมุมมองบวกมากขึ้นเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐในนี้ โดยมีจำนวนครึ่งหนึ่งที่คาดว่าอัตรา การเติบโตจะอยู่ที่ 2-4% ในขณะที่มีนักเศรษฐศาสตร์ 36% ที่ระบุเช่นนี้ในการสำรวจเมื่อ 3 เดือนก่อน ส่วนอีกครึ่งหนึ่งคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวต่ำกว่า 2%

 

• ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จะเปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤติของภาคธนาคารในวันที่ 7 มี.ค.นี้ เพื่อตัดสินว่าธนาคารขนาดใหญ่จะรับมือกับความตื่นตระหนกทางการเงินอย่างไร ซึ่งธนาคารต่างๆ จะต้องผ่านการทดสอบภาวะวิกฤติภายใต้สมมติฐานทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ที่สุด ได้แก่ อัตราว่างงานของสหรัฐจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 12% ยุโรปและญี่ปุ่นจะเผชิญกับภาวะถดถอย และกิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนจะชะลอตัวลงอย่างมาก

 

• ดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองใหญ่ของสหรัฐในเดือน พ.ย.ปรับเพิ่มขึ้น 0.6% จากเดือน ต.ค. และเมื่อเทียบรายปีพุ่งขึ้น 5.5% ซึ่ง เดวิด บลิทเซอร์ ประธานฝ่ายจัดทำดัชนีราคาบ้านของสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส ระบุว่า ตลาดที่อยู่อาศัยกำลังฟื้นตัวขึ้น โดยคาดกันว่าภาคธุรกิจนี้จะช่วยหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปีนี้

 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลราคาบ้านในครั้งนี้สวนทางกับการเปิดเผยของสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติเมื่อวานนี้ที่ระบุว่า ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ส.ค.ปีที่แล้ว แสดงว่าการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยยังไม่มีความต่อเนื่องมากนัก

 

• จากการสำรวจโดย เนชันแนล ออสเตรเลีย แบงก์ (NAB) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของออสเตรเลียเพิ่มขึ้นเป็น +3 ในเดือน ธ.ค. จากเดิม -9 ในเดือน พ.ย.ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบหลายปี โดยระบุว่าภาวะทางธุรกิจของอุตสาหกรรม ค้าส่ง การผลิต ค้าปลีก และการก่อสร้าง อยู่ในระดับที่อ่อนแอที่สุด แต่อุตสาหกรรมการขนส่ง สาธารณูปโภค และการบริการส่วนบุคคล อยู่ในระดับที่ค่อนข้างน่าพอใจ

 

นอกจากนี้ ได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจออสเตรเลียจะขยายตัวในอัตรา 2% ในปี 2556 และ 3.3% ในปี 2557

 

• ครม.ญี่ปุ่น อนุมัติงบประมาณเบื้องต้นสำหรับปีงบประมาณ 2556 (เริ่ม 1 เม.ย.) เป็นจำนวนเงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 92.61 ล้านล้านเยน (1.02 ล้านล้านดอลลาร์) โดยมีเป้าหมายพยุงเศรษฐกิจผ่านโครงการสาธารณะขนาดใหญ่

 

ทั้งนี้ คาดว่าจะเก็บภาษีได้ 43.1 ล้านล้านเยน สูงกว่าการออกพันธบัตรใหม่ของรัฐบาลที่ 42.85 ล้านล้านเยน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีที่รายได้จากการจัดเก็บภาษีสูงกว่ามูลค่าการออกพันธบัตร ขณะที่รายได้ที่ไม่ได้มาจากภาษี คาดว่าจะอยู่ที่ 4.05 ล้านล้านเยน

 

• รัฐบาลญี่ปุ่นวางแผนออกตราสารหนี้รวมถึงพันธบัตรใหม่และพันธบัตรเพื่อการรีไฟแนนซ์ภายใต้งบประมาณปี 2556 ในวงเงิน 170.5 ล้านล้านเยน (1.9 ล้านล้านดอลลาร์) ซึ่งลดลง 2.1% จากปีที่แล้ว (ลดลงครั้งแรกในรอบ 5 ปี) สะท้อนความพยายามที่จะปรับปรุงสถานะการคลังของประเทศที่ย่ำแย่ที่สุดประเทศหนึ่งในบรรดาประเทศพัฒนาแล้วรายใหญ่

 

• รองอธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวถึงกรณีที่ธุรกิจเช่าซื้อกังวลปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ จากโครงการรถคันแรกว่า ...

 

ถ้าผู้เข้าโครงการคิดว่าผ่อนชำระไม่ไหวหรือยังไม่ได้รับเงิน ขอให้แจ้งยกเลิกการแจ้งสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ หรือถ้าได้รับเงินคืนไปแล้ว ก็สามารถนำเงินมาคืนทางรัฐบาลได้ เพื่อรถคันนั้นจะได้สามารถโอนได้ภายในระยะเวลาที่ไม่เกิน 5 ปี

 

นอกจากนี้ ได้ระบุเพิ่มเติมว่าผู้เข้าร่วมโครงการรถคันแรกที่จะเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระได้ตจะมีอยู่เพียง 4%

 

Equity Market

------------------

 

• SET Index ปิดตลาดที่ 1,478.77 จุด เพิ่มขึ้น 6.72 จุด หรือ +0.46% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 56,146 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 37 ล้านบาท

 

ทั้งนี้ มีแรงซื้อหุ้นเทคโนโลยี และพลังงานหนุนตลาด ขณะที่มีแรงขายหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และแบงก์ โดยตลาดแกว่งตัวในกรอบแคบจากการที่นักลงทุนรอดูปัจจัยเกี่ยวกับผลประกอบการไตรมาส 4/55 และงวด 1 ปีของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) รวมถึงการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

 

Fixed Income Market

---------------------------

 

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างทรงตัว มีเพียงช่วงอายุ 5-12 ปีที่ปรับลดลงเพียง -0.01% โดยนักลงทุนรอติดตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของสหรัฐฯ ในวันที่ 29 - 30 มกราคม ว่าจะมีการส่งสัญญาณใดๆ ที่อาจกระทบต่อกระแสเงินทุนไหลเข้าหรือไม่สำหรับวันพุธนี้มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 10 ปี วงเงิน 14,000 ล้านบาท

 

• ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สู่ 7.75% ตามคาด โดยได้แรงหนุนจากการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นการลดครั้งแรกในรอบ 9 เดือน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่ขยายตัวในอัตราช้าที่สุดในรอบ 10 ปี

 

ทั้งนี้ RBI ได้ลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2555-2556 ลงมาอยู่ที่ 5.5% จากก่อนหน้านี้ที่คาดว่าจะขยายตัว 6.5% นอกจากนี้ ยังได้ลดสัดส่วนกันสำรองของธนาคารพาณิชย์อย่างไม่คาดหมายลง 0.25% สู่ 4.00% ซึ่งจะทำให้มีเม็ดเงินอีก 1.80 แสนล้านรูปีไหลเข้าสู่ระบบธนาคาร

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อย่างที่มาร์ตินฯบอก คนระดับมหาเศรษฐี ซื้อทองเก็บไม่ได้หรอก เพราะทองมันมีไม่พอให้เงินกระดาษซื้อ

 

กลุ่มทุนจีน ไล่ซื้อที่ดิน ที่นา และธุรกิจในเมืองลุงแซม ซื้อไร่ไวน์ อสังหาในยุโรป กันสนุกสนาน

แถมยังไปลงทุนในทรัพยากรในออสเตรเลีย และทวีปแอฟริกาเป็นจำนวนมากจนทำให้ลุงแซมกริ้ว

และเริ่มส่งลูกหลานลุงแซมไปประจำการเพื่อพลีชีพแล้ว

 

กลุ่มทุนไทย ก็พยายามไปไล่ซื้อบริษัทประกันที่จีน ไปซื้อที่ทำห้างในยุโรป

บางเจ้าที่ไม่เป็นข่าว ก็มาลงเงินไล่ซื้อของในเมืองลุงแซมไม่รู้เท่าไหร่

 

เก็บเงินกระดาษไว้เพื่อเป็นสภาพคล่องนี่ไม่เลวครับ

แต่ถ้าดูผู้เล่นระดับช้าง เขาค่อยๆเปลี่ยนกระดาษเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้ แทนสินทรัพย์ในจินตนาการแล้ว

 

 

ทุกอย่างต้องกลับมาที่ฐาน

แต่คนมักจะมองข้ามความจริงเสมอ ไปมองสมมติ

เงิน นี้เป็นสมมติที่ชัดที่สุดเลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นึกๆ ดู เหมือนเราเล่นเกมเศรษฐีนะครับ

 

แล้วมีคนแอบเอาเงินจากเกมเศรษฐีอีกกล่องมาเล่นเพิ่ม

 

คนอื่นๆ ก็ทำตามบ้าง

 

แต่กระดานที่เล่นมีกระดานเดียว ราคาย่อมต้องสูงขึ้น ๆ

 

คนเล่นยังสนุก เกมจะเล่นไปเรื่อยๆ

 

แต่พอมีการเอะอะขึ้นมา มีการตรวจสอบ คนมีเงินกล่องอื่นอยู่ก็ซวยไป

 

แต่คนมีที่ดินในกระดานสบายไป แม้จะใช้เงินกล่องอื่นซื้อมา

 

บริษัทไหนไปซื้อสินทรัพย์ ที่ดินไว้เยอะๆ เล็งๆ ไว้นะครับ

 

เวลาเกิดวิกฤต หุ้นร่วงลงมาแต่ฐานการเงินยังดี เราซื้อหุ้นไว้-เป็นการซื้อสินทรัพย์แบบคนไม่มีเงินก้อนใหญ่ :P

 

พอพ้นวิกฤต บริษัทพวกนี้จะกลับขึ้นไปแข็งแกร่งครับ

ถูกแก้ไข โดย milo

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เเนวต้านที่สำคัญมากที่สุดในอาทิตย์นี้คือ 1692-1695 หลุดขึ้นยืนได้ถือว่ามีการกลับตัวครับ ตลาดยุโรปเปิดผมว่าคงมีการชี้นำไปก่อนบ้างหล่ะ คงยังไม่รอถึง non-farm employment report คืนนี้

 

ถัดไป

 

เเนวต้านกำเเพงใหญ่ 1750-1760 หากหลุดได้ โอกาสเข้าเทรนขาขึ้นใหญ่ ระดับ1850 สูงมากๆครับ

 

SL 1650 ครับ :)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองกลับตัวได้จริง USD Index น่าถอยไปเเถว 75 จุดเลยครับ นั่นหมายความว่า บาทมีโอกาสเเข็งต่อไป เงินทุนไหลเข้าต่อเนื่อง :17

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...