ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ทำไมมันไม่มาซื้อที่เยาวราชล่ะครับ (ถามจริงๆนะ งง)

 

คือค่าเงินของเขาลดลงไปมาก เลยทำให้ราคาทองในสกุลเยนแพงเว่อร์ไป

(เหมือนกับที่บาทแข็ง ตอนนี้ราคาทองเลยถูกกด) บินมาซื้อเมืองไทย (หรือที่อื่น)

เพื่อทำอาบิกากราคา ก็ไม่คุ้มเงินที่ประหยัดได้ครับ

 

ตอนขนเงินเข้าประเทศไทย ถ้าขนมาเกิน ๑๐,๐๐๐เหรียญ (มั้ง) ก็ต้องสำแดงกับศุลกากรไทย

แถมตอนขนของกลับเข้าประเทศ จะต้องสำแดงที่ศุลกากรขาเข้าด้วย โดนโขกภาษีอีก

เผลอๆโดนยัดข้อหาฟองเงิน ก่อการร้าย ฯลฯ อีก

 

ถ้าอยากซื้อจริงๆ ยอมเสียค่าพีเมี่ยงแพงๆที่ญี่ปุ่นสะดวกสุด

 

ถ้าเป็นขาใหญ่ ระดับยากูซ่า พวกเขาสามารถโทรสั่งโบรก ให้ซื้อทองไปเก็บไว้ในคลังส่วนตัวประเทศต่างๆได้เลยครับ

(ยากูซ่าญี่ปุ่นเดี๋ยวนี้เข้ามามีอิทธิพลกับธุรกิจปกติแล้วนะครับ เงินอยู่ในตลาดหุ้น ธุรกิจถูกกฏหมายต่างๆ มากมาย)

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

พูดราวกับเหวงและธิดาที่บอกว่าไม่มีชายชุดดำ ถึงมีก็มีแต่ปืนพก มีรูปหลักฐานก็บอกว่าตัดต่อ

 

 

"We Are Going To Kill The Dollar" Says Obama Senior Official; When, How, Asks Mish

 

 

http://youtu.be/OeIFcuVTS3U

 

 

Read more at http://globaleconomi...l08jrtlASP0L.99

LIKEหมดค่ะ ขอพิมพ์LIKE ให้แทนค่ะ ยุคน้ี เค้าแถกันไปเรื่อยค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นอกจากนั้น มันก็มีพวก fta กฎหมายอะไรบ้าๆบอๆมากดดันเรา

....

 

หึหึ คนของเราก็ยอมเขาด้วยละครับ

 

อย่างในข่าวที่สื่อชอบนำเสนอว่าลุงแซมเอาสารขัณเข้าไปอยู่ในประเทศที่ต้องจับตามองว่าจะละเมิดลิขสิทธิ์

ทำให้ชาวสารขัณต้องวิ่งเต้นออกกฏหมายลิขสิทธิ์กันใหญ่ เพราะกลัวเสียหน้า กลัวโดนกีดกันทางการค้า ฯลฯ

หารู้ไม่ว่า ประเทศอย่างแคนาดา ก็โดนอยู่ในบัญชีหนังหมาอันนี้เหมือนกัน เพราะแคนาดาไม่ยอมออกกฏหมาย

ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนของเขา

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

2 ตลาดนี้ราคาต่างกันมากไหมครับ ตอนนี้

ก็ไม่ต่างกันนะครับ (ก็ที่เราเห็นวิ่งขึ้นลงทั้งวันนั่นแหละครับ) แต่ความคิดของผมว่าคนซื้อจากฝั่งตะวันออกอาจต้องการมากเลยไปกวาดซื้อจากทั้งสองที่เลย

ทำไมมันไม่มาซื้อที่เยาวราชล่ะครับ (ถามจริงๆนะ งง)

อันนี้เป็นราคาในตลาดค้าทองของเขาซึ่งผมคิดว่าทางเยาวราชก็คงส่งไปขายในตลาดของเขาด้วยมังครับ เพราะพวกค้าทองรายใหญ่ๆคงมีการซื้อขายที่ตลาดต่างประเทศหลายตลาด

นอกเหนือจากนั้นคุณWCG ตอบไปแล้ว

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองที่ตลาด ญี่ปุ่นแพงกว่า อเมริกาใช่ไหมครับช่วงนี้ ?

เพราะอะไรอ่ะ :38

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หน้าตามันเหมือนๆกันยังไงไม่รู้ :uu

 

gold_cot.gif

 

ถ้าไปดู COT ว่าเจ้ามือปิด S ไปมหาศาล อีกด้วยละก็.... :gd

บวกกับกราฟดอลล์ที่ร่วงอีกด้วย ทองน่าไปโลด :aa

 

usd_break.gif

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Senate votes to temporarily suspend federal debt limit

 

Congress gave final approval Thursday to a plan to temporarily suspend the legal limit on the national debt, permitting the Treasury Department to keep borrowing and lifting the threat of a government default until August.

The measure, approved by the Senate 64 to 34, now goes to the White House for President Obama’s signature. Without congressional action, the administration had been warning that the Treasury would run out of money to pay the nation’s bills by early March.

 

http://www.washingto...ss=rss_national

 

 

:Announceสภาเมกาโหวตผ่านให้ไม่ต้องสนเพดานหนี้ชั่วคราวจนกว่าจะเดือนสิงหาคม ฮ่วย! มิน่าน้องดาวถึงกระฉูด เพราะมันบอกว่าให้กู้ยืมได้เต็มเหนี่ยว ไม่งั้นเดี๋ยวต้นเดือนมีนาไม่มีเงินใช้จ่าย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มันเตะตัดขาได้ตลอดเลย เป็นเมื่อก่อนหล่ะก็เมื่อคืนมี50เหรียญเเล้ว :)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาลงช่วงนี้เพราะขาใหญ่รีบปิด S ใช่มั้ยครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาลงช่วงนี้เพราะขาใหญ่รีบปิด S ใช่มั้ยครับ

ดูจากในนี้เลยครับ(แต่รายงานที่ออกวันศุกร์จะสรุปแค่ถึงวันอังคารนะครับ)

เท่าที่ผมเคยอ่านมาจากคนวิเคราะห์ของฝรั่ง เขาบอกว่าถ้า L/S แล้วน้อยกว่่า 2.1 เมื่อไรจะค่อนข้าง bullish

 

Conclusion: Now massively bullish as the bankers go net long to the tune of 15,353 contracts.

Remember that these figures are up to this past Tuesday.

 

http://news.goldseek.../1359750890.php

post-23-0-25190600-1359801651_thumb.jpg

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

 

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 01:00

CYPRUS : รหัสลับวิกฤติโลก

 

โดย : ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย

 

นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่กำลังคิดว่า สิ่งที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤติในยูโรโซนได้ผ่านพ้นไปแล้ว ผมกำลังจะบอกว่า "ไม่ใช่" เลย

สิ่งเลวร้ายสุดๆ กำลังจะมาเยือนต่างหาก โดยรหัสลับที่จะเปิดประตูสู่วิกฤตินั้นก็อาจเป็น CYPRUS นั่นเอง

อาจกล่าวได้ว่า สงครามของ "หลักเศรษฐศาสตร์" และ "ระบบยูโร" นั้นเป็นแบบไตรภาคแทนที่จะเป็นแบบม้วนเดียวจบ โดยภาคแรกเริ่มตั้งแต่ปี 2011 ไปจนถึงกลางปี 2012 นั้น "เศรษฐศาสตร์" ได้รุกไล่จน "ระบบยูโร" เกือบล่มสลาย ขณะที่กลางปี 2012 เป็นต้นไปนั้น ผู้นำของ ECB และ ยูโรโซนหลายประเทศ ได้ทุ่มเทสรรพกำลังดำเนินนโยบายแบบ Eurozonomics ซึ่งย้อนแย้งกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แทบทุกมิติ จึงพิทักษ์ "ระบบยูโร" เอาไว้ได้ ส่งผลให้ภาค 2 ซึ่งก็คือ ตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปี 2012 นั้นเป็นชัยชนะของ "ระบบยูโร" โดยแท้ แต่สำหรับภาคที่ 3 ซึ่งเป็นภาคสุดท้าย ผมคิดว่า "ระบบยูโร" ยังคงอันตรายอย่างยิ่ง และเสี่ยงต่อภาวะล่มสลาย

ไซปรัส (Cyprus) ซึ่งเป็นเกาะในทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียน อยู่ทางตะวันออกของกรีซ และ ทางใต้ของตุรกี มีประชากรเพียง 8.6 แสนคน ซึ่งน้อยกว่าจังหวัดขอนแก่นของไทยเสียอีก แต่มีนักท่องเที่ยวราว 2.4 ล้านคนต่อปี (3 เท่าของประชากร) ขนาดเศรษฐกิจก็เพียง 25 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 1 ใน 12 ของประเทศกรีซเท่านั้น เหตุใดเกาะเล็กๆ แห่งนี้อาจเป็นศูนย์กลางของแผ่นดินไหวทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสึนามิเศรษฐกิจกระทบไปทั่วโลกได้ มาดูรายละเอียดกันครับ

ไซปรัส มีโอกาสสูงที่จะออกจากระบบเป็นประเทศแรกในยูโรโซน หลังจากเริ่มขอความช่วยเหลือจากทรอยก้า (EC, ECB และ IMF) เป็นประเทศที่ 5 ตั้งแต่กลางปี 2012 โดยธนาคารในประเทศเกิดความเสียหายจากการลงทุนในพันธบัตรกรีซจำนวนมาก มีเหตุผล 4 ประการที่สนับสนุน ดังนี้

1. ไซปรัสมีความผูกพันอยู่กับ "ยูโร" ระยะเวลาสั้น เพียงแค่ 5 ปีเท่านั้น เพราะ เริ่มใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2008 และ หลังจากใช้เงินสกุลนี้ก็ดูเหมือนเศรษฐกิจจะย่ำแย่มาโดยตลอด ภาพพจน์ของเงินยูโรในสายตาประชาชนดูเลวร้าย

2. แม้ไซปรัสจะมีหนี้ภาครัฐต่อ GDP อยู่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศในยูโรโซนโดยอยู่ระดับ 71% เท่านั้น แต่การใช้เงินยูโรกลับทำให้ประเทศเกาะแห่งนี้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และ เสียสมดุลมากที่สุด โดยดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบอย่างหนักถึง -10.4% GDP ในปี 2011 เมื่อเทียบกับ กรีซที่ -9.8% โปรตุเกส -6.4% สเปน -3.5% และ อิตาลี -3.2% ตามลำดับ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าปัญหาที่แท้จริงของยูโรโซนนั้นไม่ได้อยู่ที่หนี้สินภาครัฐ แต่อยู่ที่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่างหาก โดยประเทศที่ขาดดุลมากหมายถึง ใช้ค่าเงินที่แข็งเกินไปมาก จะทำให้ติดหนี้สินต่างประเทศมาก จำเป็นต้องไฟแนนซ์เงินด้วยต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และ ดูเหมือนว่าความรุนแรงของปัญหาใน PIIGS จะหนักหน่วงผันแปรตามการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนี้เสียด้วย คือ ไซปรัสและกรีซมีปัญหาหนัก ขณะที่ สเปน อิตาลี ยังอยู่ระดับมีปัญหาพอสมควร

3. ผู้นำของไซปรัสไม่เกรงใจทรอยก้า ซึ่งจะต่างจากกรณีของกรีซ โดยจะไม่ยอมรับเงื่อนไขการรัดเข็มขัดการคลัง รวมไปถึงการถูกบังคับขายรัฐวิสาหกิจ เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือ ซึ่งเรื่องนี้ถือได้ว่าสำคัญมากทีเดียว ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ก็จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ ซึ่งจะต้องหาเสียงกันแบบไม่ยอมรับนโยบายรัดเข็มขัดเป็นแน่ เพราะ ปัจจุบันเศรษฐกิจก็ถดถอยอยู่แบบ -2% ต่อปี และ มีการว่างงานสูงขึ้นเรื่อยๆ แตะระดับ 14% ไปแล้ว นอกจากนี้ ไซปรัสยังหวังจะหาเงินช่วยเหลือซึ่งก็เป็นวงเงินไม่สูงนัก จากประเทศรัสเซียได้ด้วย

4. ทรอยก้า คงเห็นประเทศนี้เล็กมากๆ ไม่มีผลอะไรนักที่จะยอมปล่อยให้ออกจาก "ระบบยูโร" ไปได้

สิ่งสำคัญก็คือ ภาวะหลังจากการออกจาก "ระบบยูโร" ซึ่งผมคิดว่าระบบยูโรนี้คือ ความผิดพลาดครั้งใหญ่ของระบบการเงินโลกเลยทีเดียว เพราะ ประเทศที่อ่อนแอจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่า เป็นลูกหนี้หนักขึ้นเรื่อยๆ แถมถูกบังคับให้รัดเข็มขัดการคลัง ผู้คนถูกลดเงินเดือน แถม อัตราว่างงานสูงอีกด้วย จึงสูญเสียอิสรภาพทั้งการเงินการคลังโดยสิ้นเชิง

การเลิกใช้ "ยูโร" จึงน่าจะกลับส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจไซปรัสอย่างเร็ว โดยเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ และ อัตราว่างงานลดลง เพราะ สามารถกลับไปใช้ค่าเงินที่เหมาะสมและมีดุลยภาพ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ การส่งออก และ การท่องเที่ยวได้ แต่ผลดีของประเทศไซปรัสนั้นอาจเป็นผลเสียหายต่อยูโรโซน

เพราะเมื่อประชาชนของประเทศ PIIGS เห็นเหตุการณ์แบบนั้น ก็คงคิดว่า "พวกเราจะมาทนอยู่อย่างยากลำบาก ถูกตีโซ่ตรวนด้วยระบบเงินยูโร จนกลายเป็นทาสของประเทศเยอรมนีเพื่ออะไรกัน การประกาศอิสรภาพอย่าง ไซปรัส จะมิดีกว่าหรอกหรือ" และ นี่เองอาจเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะล่มสลายของ "ระบบยูโร"

หลายคนอาจคิดว่าสิ่งเลวร้ายที่สุดของยูโรโซนได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ความเป็นจริงก็คือ "เงินยูโร" ระบบปัจจุบันคือ ต้นตอปัญหาใหญ่ซึ่งยังไม่ได้แก้ไขเลยแม้แต่น้อย สิ่งนี้จะเชื่อมระหว่างประเทศแข็งแรง (เยอรมนี เนเธอร์แลนด์) โดยจะเป็นประเทศเจ้าหนี้ และ ประเทศอ่อนแอ (PIIGS) เป็นประเทศลูกหนี้ ซึ่งต้องติดหนี้เพิ่มเรื่อยๆ และ จ่ายดอกเบี้ยสูงอีกด้วย ความสัมพันธ์ผ่าน "ระบบเงินยูโร" จึงคล้าย นายทาสกับทาส หรือ จักรวรรดิกับอาณานิคม เมื่อมีประเทศต่างๆ ต้องการออกจากระบบนี้กลับมามีอิสรภาพ สามารถกลับไปใช้ค่าเงินที่เหมาะสมกับประเทศตนเอง โดยเริ่มจาก "ไซปรัส" ก็น่าจะสร้างความปั่นป่วนต่อเสถียรภาพเงินยูโร และตลาดการเงินของโลกอยู่ไม่น้อยเลย

C-Y-P-R-U-S จึงเป็นรหัสที่อันตรายอย่างยิ่งยวด แม้จะเป็นผลประโยชน์ของชาติที่ผู้นำควรตัดสินใจทำเพื่อประชาชนของประเทศตน เอง ให้หลุดพ้นจากโซ่ตรวน "เงินยูโร" สู่อิสรภาพ และ นำพาเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้ มีการจ้างงานเพิ่ม อย่างไรก็ดี การทำเพื่อชาตินี้อาจจะกระทบต่อเสถียรภาพของ "ระบบเงินยูโร" และ "ยูโรโซน" ไปด้วย ซึ่งนั่นหมายถึง ความยุ่งเหยิงของการเงินโลกอีกครั้งจะกลับมาเยือน เพราะ ประเทศ PIIGS บางประเทศจะหาทางเดินหน้าสู่อิสรภาพจากโซ่ตรวน "เงินยูโร" เพื่อฟื้นเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน

"CYPRUS" จึงเป็นรหัสลับตัวอักษร 6 ตัวที่อันตรายยิ่งแต่ก็มีน้อยคนนักจะล่วงรู้และสังเกตเห็น แรงสั่นสะเทือนบนเกาะเล็กๆ แห่งนี้ซึ่งมีประชากรไม่ถึง 1 ล้านคน อาจก่อให้เกิดสึนามิทางเศรษฐกิจไปทั่วโลกกระทบผู้คนถึง 7 พันล้านคนได้เลย และหากเรื่องนี้เกิดขึ้นจริงก็อาจมีทฤษฎี "ไซปรัสไท้เก๊ก" (Taiji Cyprus Theory) ตามมาด้วย ซึ่งหมายความว่า "การที่ประเทศเล็กๆ แม้จะดำเนินนโยบายที่ถูกต้องเป็นผลบวกต่อประเทศตนเองก็ตาม แต่สิ่งนั้นกลับส่งแรงสะท้อนกลับเป็นผลลบต่อโลกได้ในระดับที่ยิ่งใหญ่ขึ้น หลายพันเท่า"

อย่างไรก็ดี หากจะคิดในแง่บวกก็คือ ประเทศที่อ่อนแอในยูโรโซน (PIIGS และ ไซปรัส) จะสามารถประกาศอิสรภาพจากโซ่ตรวนยูโรได้ จึงสามารถดำเนินนโยบายการเงินการคลังเพื่อฟื้นเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ หากเกิดวิกฤติโลกขึ้นจริง โลกก็ได้มีแผนสำรองที่จะรับมือไว้แล้ว.... "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" (Taiji-Econ.) ไงละครับ

Tags : ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Dutch nationalise SNS Reaal bank group in $14 billion rescue

 

The Dutch government said on Friday it had put together the 10-billion-euro package - which follows a much smaller bailout in 2008 - to prevent SNS Reaal's collapse under the weight of property loan losses and to shore up confidence in the financial system after a private investor-led rescue failed.

 

http://uk.reuters.co...E9100A420130201

 

:Announceแบ๊งค์เจ๊ง รัฐเข้าไปอุ้มแล้วก็กลายเป็นของรัฐอีกแล้ว

ธนาคารนี้ใหญ่เป็นอันดับ4 ของเนเธอร์แลนด์ครับ

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณส้มโอมือ คุณMOR LEK คุณwcg คุณJocho และทุกท่านมากๆค่ะ :01

ถูกแก้ไข โดย Alan

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอเชีย-ละตินเร่งสกัดทุนร้อนทำมากเกินเสี่ยงกระทบศก.โต

  • 01 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 08:21 น. |535340534C4E4CB4B301C8C708F2DEF6.jpg

 

 

โดย...พันธสิทธิ เจริญพาณิชย์พันธ์

กลายเป็นประเด็นร้อนทางเศรษฐกิจของโลกที่ดำเนินมาต่อเนื่องมาจากไตรมาส 4 ปีที่แล้วมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับภาวะความเสี่ยง “สงครามค่าเงินโลก” เนื่องจากการเร่งดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มพิกัด ทั้งการคงอัตราดอกเบี้ยต่ำ และอัดเงินเข้าระบบอย่างไม่เคยมีมาก่อน เพื่อให้พ้นจากภาวะชะลอตัวของเหล่าบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ได้ทำให้เงินทุนหลั่งไหลเข้าไปยังภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจและมีผล ตอบแทนดอกเบี้ยที่สูงกว่าอย่างเช่น เอเชียและละตินอเมริกา หรือทวีปอเมริกาใต้แทน

ด้วยเหตุนี้จึงเห็นได้ว่าประเทศต่างๆ ในเอเชียและละตินอเมริกา จึงหันมางัดมาตรการต่างๆ ขึ้นมาเพื่อปกป้องเงินทุนร้อนดังกล่าว ที่จะทำให้ค่าเงิน ค่าของตัวเองแข็งค่าเกินไป และป้องกันการเก็งกำไร รวมไปถึงปัญหาฟองสบู่ ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วกันถ้วนหน้าไล่เรียงไปตั้งแต่ฮ่องกง เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ไทย สิงคโปร์ โคลัมเบีย และเปรู

เนื่องจากต้องยอมรับว่าประเทศเหล่านี้ส่วน ใหญ่พึ่งพาภาคการส่งออกเป็นตัว ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาระดับค่าเงินของตัวเองเอาไว้ไม่ให้แข็งค่ามากจน เกินไป และเพื่อเป็นการรักษาระดับเสถียรภาพในการแข่งขันในทางการค้าเอาไว้ให้ได้

ถึงกระนั้นก็ตาม แม้ว่าที่ผ่านมาหลายประเทศจะหันมาใช้มาตรการปกป้องค่าเงิน และสกัดเงินทุนร้อนที่ไหลทะลักเข้ามามากเกินไปแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเบาบางลงเลยแม้แต่น้อย ซ้ำยังจะทวีความรุนแรงขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้นี้

ดังเห็นได้จากการที่ค่าเงินของหลายประเทศ ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง เช่น ค่าเงินวอนของเกาหลีใต้ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ที่ทำสถิติแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 13 เดือน ที่ 1,092 วอนต่อเหรียญสหรัฐ ขณะที่ค่าเงินเปโซของฟิลิปปินส์ เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ก็ทำสถิติแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 5 ปี ที่ 40.55 เปโซ ต่อ 1 เหรียญสหรัฐ

สาเหตุหลักที่ทำให้ปัญหาเงินทุนร้อนจะยิ่ง ไหลทะลักเข้ามาในเอเชียและละติ นอเมริกาหนักขึ้นก็คือ แนวโน้มการฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วยังไม่มีทีท่าว่า จะดีขึ้น เช่น การประกาศผลจีดีพีสหรัฐไตรมาส 4 ปีที่แล้วก็กลับเข้าสู่ภาวะหดตัวที่ 0.1% ขณะที่อัตราการว่างงานของกลุ่มยูโรโซนเดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว ก็ทำท่าว่าจะพุ่งทำสถิติขึ้นไปที่ 11.9% สูงจากเดือนก่อนหน้านั้นซึ่งอยู่ที่ 11.8%

ดังนั้น จึงทำให้การดำเนินนโยบายอัดฉีดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศยักษ์ใหญ่เหล่า นี้จึงยังคงจำเป็นต้องดำเนินต่อไปอีก ดังเห็นได้จากแถลงการณ์ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ล่าสุดที่ได้ยืนยันชัดว่าการดำเนินนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ครั้งที่ 3 ผ่านทางการเข้าซื้อสินทรัพย์เดือนละ 8.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จะยังเดินหน้าต่อไป

ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ที่พึ่ง ประกาศเพิ่มเป้าเงินเฟ้อไปที่ 2% และการออกมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์แบบปลายเปิด (ไม่จำกัดเวลา) ในต้นปี 2014 เป็นต้นไป เพียง 1 สัปดาห์ ล่าสุดก็ออกมาส่งสัญญาณแล้วว่าจะดำเนินนโยบายกระตุ้นอีกในอนาคต หากสถานการณ์บีบบังคับให้จำเป็นต้องทำ

จึงไม่แปลกที่เหล่า บรรดาประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในเอเชีย รวมไปถึงบางประเทศในละตินอเมริกาจะเริ่มวิตกถึงแนวโน้มของคลื่นเงินทุนร้อน ระลอกใหม่ที่จะเข้ามาในอนาคต และเตรียมหันมาดำเนินมาตรการและหยิบใช้เครื่องมือต่างๆ ขึ้นมา เพื่อสกัดกั้นแนวโน้มการหลั่งไหลเข้ามาของเงินร้อนดังกล่าวมากขึ้นในอนาคต

ไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้ ที่รัฐมนตรีคลังได้ออกมาประกาศกร้าวว่าอาจจะพิจารณามาตรการการเก็บภาษีด้าน ธุรกรรมการเงินในตลาดพันธบัตร และตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศเพื่อลดความผันผวนในตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยน ค่าเงินดังกล่าว ขณะเดียวกันก็ยังได้ร้องขอให้รัฐวิสาหกิจในประเทศหลีกเลี่ยงการกู้ยืมเงิน จากต่างชาติอีกด้วย

ส่วนธนาคารกลางฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ ก็ออกมาเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่ากำลังดำเนินการศึกษามาตรการต่างๆ เพิ่มเติมเพื่อมาสกัดการไหลเข้ามาของเงินทุนต่างชาติมากขึ้น โดยเฉพาะฟิลิปปินส์นั้นมีข่าวว่าทางธนาคารกลางกำลังพิจารณาผ่อนคลายกฎการแลก เปลี่ยนค่าเงินตราต่างประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เงินไหลเวียนออกนอกประเทศมากขึ้น

ขณะที่รัฐบาลไทยได้ตั้งคณะทำงานเพื่อติดตาม และศึกษามาตรการรองรับกับ ปัญหาค่าเงินบาทผันผวนแล้ว หลังจากที่ค่าเงินบาทต่อเหรียญสหรัฐเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 29.75 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 17 เดือน ขณะที่นักวิเคราะห์บางส่วนเตือนว่าค่าเงินบาทอาจแข็งต่อเนื่องจนทะลุไปอยู่ ที่ 28 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ได้ในอนาคต

ส่วนในฟากของทางฝั่งละตินอเมริกา ที่ในปีนี้คาดว่าเงินทุนไหลเข้าจะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 5.6% ที่ 3.21 แสนล้านเหรียญสหรัฐ สำนักข่าวรอยเตอร์สคาดการณ์ว่าธนาคารกลางเม็กซิโกกำลังจะพิจารณาหั่น ดอกเบี้ยลงในไม่ช้านี้ ส่วนเปรูก็เตรียมชำระหนี้ต่างชาติ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนกำหนดในปีนี้ อีกทั้งยังได้เตรียมออกมาตรการเข้าแทรกแซงค่าเงินในประเทศ ส่วนเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา โคลัมเบียได้ออกมาตัดลดดอกเบี้ย และเพิ่มการซื้อเงินเหรียญสหรัฐไปก่อนแล้ว

อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันประเทศต่างๆ จะหันมาใช้เครื่องมือและมาตรการต่างๆ เพื่อรับมือกับการหลั่งไหลเข้ามาเงินทุนที่หลากหลายมากขึ้น แต่ต้องยอมรับว่าในสายตาของนักวิเคราะห์บางส่วนกลับรู้สึกเป็นกังวลต่อการ ใช้เครื่องมือมาตรการต่างๆ ที่หลากหลายมากขึ้นว่า หากดำเนินการไม่ดีและรุนแรงเกินไป อาจจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจมากกว่าจะเป็นผลดีเหมือนที่ตั้งใจไว้ เนื่องจากจะไปบั่นทอนและทำลายความสามารถของภาคเอกชนในการปรับตัวต่อภาวะความ เปลี่ยนแปลงของตลาด

ไม่เพียงเท่านั้น การดำเนินมาตรการดังกล่าวอย่างไร้ขอบเขต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าไปแทรกแซงค่าเงิน ก็อาจนำไปสู่ภาวะความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินโลกมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ปัญหาหาดังกล่าวจึงคาดว่าได้รับการนำไปพูดคุยและหาแนวทางการ แก้ไขปัญหา ในเวทีที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม 20 ประเทศ (จี20) ที่รัสเซีย ในเดือนหน้านี้

ดังนั้น สิ่งที่ธนาคารกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย ควรจะทำก็คือไม่ใช่การไปหยุดการไหลเวียนเข้ามาของเงินทุนต่างชาติ แต่ตะต้องเน้นไปที่การบริหารจัดการการไหลเวียนของเงินทุนที่เข้ามาให้เหมาะ สม

“นักลงทุนสามารถยอมรับกับการจำกัดอัตราเงิน ฝาก หรือการควบคุมเงินทุนไหลเข้าได้ แต่สิ่งที่นักลงทุนไม่ชอบและกลัวคือเงินทุนของพวกเขาถูกกักไว้ไม่ให้ไปไหน” จีออฟ เลวิส นักยุทธศาสตร์โลก จากฝ่ายบริหารจัดการสินทรัพย์ของธนาคารเจพีมอร์แกน กล่าวให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เดอะวอลสตรีตเจอร์นัล

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์จากจีพีมอร์แกน กล่าวเสริมว่า แม้สถานการณ์ขณะนี้จะยังถึงกับร้ายแรงและเป็นสิ่งที่ทำลายระบบการไหลเวียน ของเงินทุนมากเกินไป แต่เหล่าบรรดาธนาคารกลางในประเทศต่างๆ ก็ควรที่จะคำนึงถึงผลดีผลเสียที่เหมาะสมก่อนที่จะออกนโยบายและมาตรการเพิ่ม เติมในอนาคต

จึงนับเป็นความท้าทายต่อบทบาทและการตัดสิน ใจของธนาคารกลางและภาครัฐบาล ของเอเชียและในละตินอเมริกาต่อการรับมือกับปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง

เพราะหากไม่ระมัดระวัง และใช้เครื่องมือเหล่านี้อย่างเหมาะสมแล้ว อนาคตอันเรืองรองของตลาดเกิดใหม่ ย่อมอาจดับสูญสลายไปได้ในพริบตา ซึ่งทั้งสองทวีปนั้นได้เคยลิ้มลองประสบการณ์อันเจ็บปวดมาแล้วในช่วงทศวรรษ 1990

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

....

ถึงกระนั้นก็ตาม แม้ว่าที่ผ่านมาหลายประเทศจะหันมาใช้มาตรการปกป้องค่าเงิน และสกัดเงินทุนร้อนที่ไหลทะลักเข้ามามากเกินไปแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเบาบางลงเลยแม้แต่น้อย ซ้ำยังจะทวีความรุนแรงขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้นี้

...

จึงไม่แปลกที่เหล่า บรรดาประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในเอเชีย รวมไปถึงบางประเทศในละตินอเมริกาจะเริ่มวิตกถึงแนวโน้มของคลื่นเงินทุนร้อน ระลอกใหม่ที่จะเข้ามาในอนาคต และเตรียมหันมาดำเนินมาตรการและหยิบใช้เครื่องมือต่างๆ ขึ้นมา เพื่อสกัดกั้นแนวโน้มการหลั่งไหลเข้ามาของเงินร้อนดังกล่าวมากขึ้นในอนาคต

...

ดังนั้น สิ่งที่ธนาคารกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย ควรจะทำก็คือไม่ใช่การไปหยุดการไหลเวียนเข้ามาของเงินทุนต่างชาติ แต่ตะต้องเน้นไปที่การบริหารจัดการการไหลเวียนของเงินทุนที่เข้ามาให้เหมาะ สม

....

 

อย่างไรก็คงจะจัดการการไหลเวียนไม่ได้ผลนัก เพราะเรือขนาดเล็ก ไม่น่าจะทัดทานคลื่นที่เกิดจากเรือรบหลายๆลำวิ่งอยู่ในมหาสมุทรได้ เพียงแค่ประคองตัวไม่ให้ล่มได้ก็เก่งแล้ว

 

ขนาดเรื่อใหญ่อย่างสวิส ก็ยังเจ็บตัวเลย : สวิสฯ ที่มีเงินหนีตายไหลเข้าประเทศมหาศาล ที่ไม่ยอมอ่อนข้อให้เงินตัวเองแข็งค่าขึ้นมา ด้วยการพิมพ์เงินมาซื้อเงินสกุลอื่นๆไว้ ทำให้มีเงินสกุลอื่นๆในประเทศเพิ่มจนไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เลยเอาเงินไปซื้อเงิน "เยน" ของญี่ปุ่นเก็บไว้ เพราะยังไงก็ต้องทำการค้ากันอยู่แล้ว ที่ไหนได้ ญี่ปุ่นดันมาลดค่าเงินตัวเองไปกว่าร้อยละ ๑๐ ทำให้สวิสขาดทุนลงไปอีก

 

ยังเชื่อเหมือนมาร์ค ฟาเบอร์พูดไว้ ว่าตอนนี้อย่าแข่งกันว่าใครจะทำเงินได้มากกว่ากันเลย นาทีนี้ผู้ชนะ คือคนที่เจ็บตัวน้อยที่สุด

 

* * *

 

จิม วิลลี่ แห่ง โกลเด้น แจคแอส อธิบายศูนย์ "สวอปไลน์" เงินหยวนของจีน ที่ไปเปิดตามประเทศต่างๆในโลกไว้ง่ายๆประมาณนี้

  1. ประเทศในอเมริกาใต้ ส่งดีบุกจากเหมืองในอเมริกาใต้ไปให้จีน มูลค่า ๑๐๐ หยวน
  2. สามเดือนต่อมา จีนผลิตผลไม้ประป๋อง, โทรทัศน์, ฯลฯ ออกมา แล้วส่งของคืนไปให้ประเทศในอเมริกาใต้ ๗๐ หยวน ถือว่าหายกัน ไม่มีใครเป็นหนี้ใคร

เขาบอกว่า ตอนนี้แต่ละประเทศ เริ่มทำระบบการค้าขายแลกเปลี่ยน โดยไม่ต้องพึ่งเงินดอลล่าร์แล้ว เช่น ตุรกี, อิหร่าน, อินเดีย* ที่เริ่มใช้ทองคำในการแลกเปลี่ยนเป็นต้น, รัสเซียที่มีบริการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์+เชื้อเพลิงขาย ที่รับเงินสกุลอะไรก็ได้ และขนาดอังกฤษที่เป็นศูนย์กลางการเงินของโลก ยังต้องยอมเปิดทางให้มี "สวอปไลน์" กับจีนโดยตรง เพราะต่อไป เงินหยวนจะเข้ามีบทบาทในการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น

 

ตอนนี้ "ปิโตร" ดอลล่าร์อยู่ได้เพราะทุกประเทศยังต้องซื้อพลังงานในสกุลดอลล่าร์อยู่ (คนขายไม่กล้าขายในสกุลอื่น เดี๋ยวโดนเข้าไปเผยแพร่ประชาธิปไตย) แต่จากการที่ธนาคารกลางทั้งหลายยังแข่งกันทำลายค่าเงินตัวเอง คนจะเริ่มหันไปใช้ของอย่างอื่นในการแลกเปลี่ยนสินค้ามากขึ้น และจิม วิลลี่ เชื่อว่า ซาอุฯ จะเป็นประเทศสุดท้ายที่ขายน้ำมันในสกุลดอลล่าร์

 

* จำข่าวที่อินเดียบอกว่าจะขึ้นภาษีเพื่อลดการนำเข้าทองคำได้หรือเปล่าครับ จิม วิลลี่ บอกว่า ตัวรัฐบาลอินเดียเอง นำเข้าทองคำเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมพร้อทในการแลกเปลี่ยนสินค้าด้วย

 

* * *

 

จากเรื่องเล่าของธ.กลางสวิส จิม วิลลี่ เชื่อว่า ในที่สุด เมื่อไม่มีเงินสกุลไหนที่ไว้ใจได้แล้ว ธนาคารกลาง และผู้คน ก็จะหันมาถือทองคำ ที่เป็นเงินสกุลที่แข็งที่สุดในโลก ในที่สุด

 

ถ้าผู้อ่านเชื่อเหมือนเพื่อนๆหลายคนในห้องนี้, และ จิม วิลลี่ แล้ว ก็น่าจะ "มองข้ามช็อต" เริ่มทยอยเอากระดาษไปแลกทองตอนที่มันถูกๆแบบนี้ได้แล้ว ไม่งั้นตอนมันขึ้นเยอะๆ นอกจากจะแลกได้น้อยลงแล้ว แถมยังต้องไปเหยียบกันที่เยาวราช/ซีคอนฯ อีก ส่วนธ.กลางอื่นๆ ก็ปล่อยให้เขาถือเงินสกุลนั้น สกุลนี้ไปก่อน แล้วค่อยมาเปลี่ยนเป็นทองคำในที่สุด (ธ.กลางส่วนมากคงทิ้งเงินสำรองสกุลหลักๆของโลกทันทีไม่ได้ เพราะนอกจากจะทำให้ค่าเงินสกุลดังกล่าวตกอย่างรวดเร็วแล้ว ยังทำให้เสี่ยงต่อการถูกรุกรานด้วย)

 

ป.ล. จิม วิลลี่ บอกว่า ซ่างไห่ โกลด์ เอ็กซ์เชนจ์ ที่พึ่งเปิดขึ้นใหม่ มีราคาสูงกว่าราคากระดาษในโลกตะวันตก เขาเชื่อว่าคนจะอาบิกากซื้อทองถูกๆจากตะวันตก มาขายทำกำไรในเอเชียเรื่อยๆ และในที่สุด ทองคำจากโลกตะวันตกจะไหลไปอยู่ในมือของจีน เป็นจำนวนมาก

 

ฟัง จิม วิลลี่ คุยกับเทิร์ด ได้ที่นี่ (ความยาวชั่วโมงกว่า แต่รายละเอียดเยอะมาก แนะนำครับ)

tfmetalsreport.com/podcast/4469/tfmr-podcast-39-full-willie

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...