ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

CDS : อนุพันธ์พลังทำลายล้างรุนแรง

คอลัมน์ หอคอยงาช้าง โดย รศ.ดร.วิมุต วานิชเจริญธรรมคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4041

ครึ่ง หลังของเดือนกันยายนเริ่มต้นสัปดาห์ด้วยเหตุการณ์ "Black Monday" ที่ดัชนีดาวโจนส์ตกลงในวันเดียวถึง 504.5 จุด หรือราวร้อยละ 4.4 ในการซื้อขายของวันจันทร์ที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา การที่ราคาหุ้นในตลาดนิวยอร์กไหลลื่นดิ่งลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้เป็นผลมาจาก ที่วาณิชธนกิจขนาดยักษ์ใหญ่อย่างเลห์แมน บราเธอร์ส ต้องประสบภาวะล้มละลายและประกาศเข้าฟื้นฟูกิจการภายใต้มาตรา 11 ของกฎหมายการเงินสหรัฐ

นัก วิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญในตลาดการเงินสหรัฐต่างมองไปที่บริษัท อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (หรือ AIG) ว่ายักษ์ใหญ่ในวงการประกันจะเป็นสถาบันการเงินรายต่อไปที่จะต้องประสบชะตา กรรมล้มละลายต่อจากเลห์แมนฯ

การ คาดการณ์ดังกล่าวหาใช่เป็นควันที่ไร้ซึ่งเชื้อไฟไม่ เพราะมีรายงานข่าวในช่วงเวลาเดียวกันนั้นว่า AIG กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องรุนแรงถึงขั้นต้องขอเงินกู้ฉุกเฉินมูลค่า 40 พันล้านเหรียญสหรัฐจากธนาคารกลางสหรัฐ

เพียง สามวันให้หลัง (วันพุธที่ 18 กันยายน) ปัญหาของ AIG กลับทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนรัฐบาลสหรัฐต้องเข้ามา "อุ้ม" มิให้ AIG ต้องล้มครืนลงตามเลห์แมนฯ (และเฟรดดี้ แมค แฟนนี่ เม แบร์ สเติร์น ฯลฯ) ที่ได้ล้มไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยรัฐบาลสหรัฐได้หยิบยื่นเงินกู้มูลค่า 85 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อแลกกับการเข้าครอบครองกิจการของ AIG

บทบาท ของรัฐบาลสหรัฐสะท้อนให้เห็นว่าการปล่อยให้ AIG ล้มลงโดยไม่เข้าแทรกแซง จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในวงกว้าง ไม่เพียงแค่ลูกค้าผู้ซื้อประกันจาก AIG เท่านั้นที่จะต้องแบกรับความเสียหาย แต่บรรดาธนาคารใหญ่ๆ ในสหรัฐและยุโรปต่างล้วนตกอยู่ในฐานะสุ่มเสี่ยงต่อภาวะล้มละลายในทันที หาก AIG ต้องล้มครืนลง

มา ถึงบรรทัดนี้ผู้อ่านอาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่า เหตุไฉนหายนะของ AIG ซึ่งมีธุรกิจหลักคือการขายประกันชีวิต หรือประกันอุบัติเหตุ จึงสร้างปฏิกิริยาลูกโซ่สั่นสะเทือนความมั่นคงของสถาบันการเงินและธนาคาร กลางในหลายประเทศทั่วโลกได้ถึงขนาดนี้

คำตอบสั้นๆ เพียงแค่สามวลีครับ "CDS"

CDS นี้ย่อมาจาก Credit Default Swap เป็นตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยงที่ส่วนวาณิชธนกิจของ AIG สร้างภาระผูกพันไว้เป็นจำนวนมหาศาล

ตรา สารอนุพันธ์นี้จะอ้างอิงกับตราสารหนี้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยเอกชน โดยมีลักษณะเป็นตราสารอนุพันธ์ที่ผู้ออกสัญญาจะให้การประกัน คุ้มครองผู้ซื้อจากความเสี่ยงที่เกิดเมื่อตราสารหนี้ที่อ้างอิงอยู่นั้นมี การผิดนัดชำระ สมมุติว่าธนาคาร X ได้ซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัท Y ธนาคาร X ย่อมเผชิญกับความเสี่ยงที่บริษัท Y จะผิดนัดชำระหนี้ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว ธนาคาร X สามารถซื้อสัญญา CDS ไว้ โดยคู่สัญญา (หรือผู้ออก CDS) จะให้การคุ้มครองกับธนาคาร X ในกรณีที่บริษัท Y ผิดนัดชำระหนี้ อย่างไรก็ดีหากบริษัท Y ยังคงจ่ายผลตอบแทนให้กับธนาคาร X ได้ตามกำหนดเวลา (ไม่เกิดเหตุการณ์เบี้ยวชำระหนี้ขึ้น) ธนาคาร X มีภาระต้องจ่ายเงิน (ตามแต่ตกลงในสัญญา) ให้กับคู่สัญญา (หรือผู้ออกตราสาร CDS นั่นเอง) ในทุกๆ งวดที่มีการชำระเงิน ประหนึ่งเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการคุ้มครองทางการเงิน ยามเกิดการผิดชำระหนี้

ตลาด CDS เติบโตอย่างรวดเร็วมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยนักวิเคราะห์ประมาณกันว่ามูลค่าของตลาด CDS มีค่าถึง 6.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ผมไม่ได้พิมพ์คำว่า "ล้าน" เกินมาคำหนึ่งนะครับ) ซึ่งเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดของบรรดาหุ้น ที่มีการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐแล้ว เราจะพบว่ามูลค่าของตลาด CDS นั้นมีขนาดมากกว่า มูลค่าของตลาดทุนสหรัฐ ถึงสามเท่าเลยทีเดียว (และอย่าตกใจไปนะครับ ถ้าผมจะบอกว่า มูลค่าของการเทรดตราสารอนุพันธ์ทั้งหมด ณ เมื่อธันวาคม ปี 2550 มีมูลค่าสูงถึง 68.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสิบเท่าของจีดีพี ของทุกประเทศทั่วโลกรวมกัน)

แม้ว่าโดยธรรมชาติแล้ว CDS เป็นเครื่องมือเพื่อใช้บริหารความเสี่ยง แต่มันกลับถูกใช้อย่างแพร่หลายในฐานะเครื่องมือสำหรับการเก็งกำไร บล็อกเกอร์รายหนึ่งเล่าว่า เฮดจ์ฟันด์สามารถฟันกำไรอย่างงามได้จากการออก CDS โดยสามารถนอนรอรับเงินจำนวน 320,000 เหรียญสหรัฐในแต่ละปี จากการขายประกันความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรเกรด BBB หรือ junk bond ก้อนเงินจำนวนมากที่เข้ามาเหมือนได้เปล่าเช่นนี้ เป็นเพราะผู้ออก junk bond ยังสามารถชำระดอกเบี้ยได้ตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ แต่หากเมื่อใดที่ junk bond นั้นผิดนัดชำระหนี้ กองทุนเฮดจ์ฟันด์นั้นจะมีภาระต้องชดเชยความเสียหายสูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว

แม้เรื่องเล่าข้างต้นจะให้ภาพทั้ง สองด้านของการเก็งกำไรด้วย CDS แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจของสหรัฐ และของโลกขยายตัวในอัตราสูง ใครๆ ก็มองเห็นกันแต่ด้านของเงินกำไรที่ได้มาง่าย โดยละเลยความเสียหายจำนวนมหาศาล ที่จะตามมา หากทุกอย่างเกิดความผิดพลาดขึ้น ลองนึกภาพดูสิครับ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หาก junk bond นั้นผิดนัดชำระหนี้ แล้วตัวเฮดจ์ฟันด์ที่ออก CDS นั้นก็ไม่มีเงินเพียงพอจะจ่ายค่าชดเชยความเสียหายให้กับผู้ซื้อตรา สารอนุพันธ์ CDS ความเสียหายสุดท้ายจะตกอยู่กับใคร

อัน ที่จริงเรื่องราวที่เล่ามาข้างต้นนี้ก็ไม่ต่างไปจากเหตุการณ์จริงที่กำลัง คุกคามเสถียรภาพของตลาดเงิน และระบบเศรษฐกิจสหรัฐในขณะนี้เท่าใดนัก ผมจะลองฉายภาพคร่าวๆ ให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างปัญหา "ซับไพรม" CDS และความเปราะบางของสถาบันการเงินในโลกปัจจุบันนี้

โดย ปกติสถาบันการเงินย่อมต้องการปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่มีเครดิตเรตติ้งดีๆ เพราะโอกาสที่ลูกค้าจะผิดชำระหนี้นั้นย่อมมีน้อย แต่เมื่อการแข่งขันระหว่างสถาบันการเงินเริ่มรุนแรงยิ่งขึ้น สถาบันการเงินจึงเริ่มขยายตลาดรุกเข้าสู่พรมแดนของลูกค้า ที่มีความเสี่ยงสูงมากยิ่งขึ้น ลูกค้าที่มีเครดิตเรตติ้งต่ำหรือถูกจัดชั้นว่ามีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระ หนี้สูงนี้ ถูกเรียกว่ากลุ่มลูกหนี้ "ซับไพรม" (เนื่องด้วยเหตุที่ลูกค้ากลุ่มนี้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่าลูกค้า ชั้นดี คือจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าไพรมเรตนั่นเอง)

เพื่อ ป้องกันตัวเองจากความเสียหายที่อาจเกิดจากลูกค้าซับไพรม สถาบันการเงินจึงใช้วิธีผ่องถ่ายเอาสัญญาเงินกู้ ของกลุ่มลูกค้าซับไพรมมารวมกัน แล้วแปลงสภาพให้เป็นตราสารหนี้ นำออกขายทอดตลาดอีกต่อ ด้วยวิธีการเช่นนี้สถาบันการเงินสามารถนำเอาสินทรัพย์เสี่ยง (คือสัญญาเงินกู้) ออกจากงบดุลของตัวเอง ทำให้ไม่ต้องมีภาระเพิ่มเงินกองทุนในภายหลัง ตราสารหนี้ที่มีกระแสผลตอบแทนมาจากสัญญาเงินกู้นี้เรียกว่า Collateralized Debt Obligation หรือ CDO

ความ น่าลงทุนใน CDO อยู่ที่ผลตอบแทนที่ให้กับผู้ถือในระดับสูง แม้ว่าลูกหนี้ซับไพรมจะมีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้สูง แต่ทว่าโอกาสที่ลูกหนี้จำนวนมากรายจะผิดนัดชำระเงินกู้พร้อมๆ กันนั้นมีน้อยมาก ดังนั้นแม้บางรายผิดนัดชำระในบางงวด แต่ยังมีรายอื่นๆ จ่ายดอกเบี้ยตามกำหนดเวลาในจำนวนที่พอเพียง กับอัตราผลตอบแทนบนตราสาร CDO ได้

เพื่อให้ตราสาร CDO นี้มีความน่าลงทุนมากยิ่งขึ้น สถาบันการเงินหัวใสจึงขาย CDS เพื่อประกันความเสี่ยงให้กับผู้ถือตราสาร CDO ตามไปด้วย ดังนั้นในยุคที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศสหรัฐบูมสุดๆ สถาบันการเงินแย่งกันปล่อยกู้ให้กับลูกค้าระดับซับไพรม และจัดการแปลงเงินกู้เหล่านั้นให้เป็น CDO จึงฉุดพาให้ตลาด CDS โตตามไปด้วย

ความ น่ากลัวชวนสยดสยองมาขมวดปมตรงที่สถาบันการเงินขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งธนาคารกลางบางแห่ง ต่างละเลยถึงความเสี่ยง และต่างเข้าถือครอง CDO จำนวนมาก และผู้เล่นรายใหญ่อย่างแบร์ สเติร์น และ AIG ต่างก็ออกตราสารอนุพันธ์ CDS มาคุ้มครองความเสี่ยงให้กับ CDO เหล่านั้นในมูลค่าที่มากมายมหาศาลไม่แพ้กัน เมื่อเกิดเหตุการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดต่ำลง ปัญหาการผิดนัดชำระหนี้เริ่มขยายวงกว้าง จนกลายเป็นปัญหาทั้งระบบ ผู้ให้การประกันความเสี่ยงอย่างแบร์ สเติร์น หรือ AIG ย่อมไม่มีเงินเพียงพอจะมาจ่ายให้กับผู้ถือสัญญา CDS ได้ครบเต็มจำนวนทุกราย โดยเฉพาะในช่วงที่เครดิตตึงตัวเช่นนี้

หากปล่อยให้เรื่องราวจบลงตามยถากรรม แบร์ สเติร์น และ AIG คงจะต้องล้มละลาย เพราะไม่มีเงินพอจะจ่ายให้กับผู้ถือสัญญา CDS และบรรดาผู้ถือสัญญา CDS และมี CDO เน่าๆ ไว้ในครอบครองก็ต้องพลอยล้มละลายตามไปด้วยเป็นแน่แท้ บทสรุปแบบนี้คงไม่ต่างอะไรกับภาพตัวโดมิโนที่ล้มระเนระนาดต่อๆ กันไปเป็นลูกโซ่

วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้เคยกล่าวไว้ว่า ตราสารอนุพันธ์เป็นอาวุธทางการเงินที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง คำเปรียบเปรยของกูรูด้านการลงทุนรายนี้สะท้อนภาพต้นตอหายนะทางการเงินในช่วง ปีนี้ได้เป็นอย่างดี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอนอกเรื่องหน่อยนะครับ.....

 

ผมอยากจะเปลี่ยน E-mail นะครับ...แต่อยากจะใช้ชื่อบัญชีเดิม (แมวน้อย)..

ไม่ทราบว่าจะทำได้ไหมครับ....ถ้าทำได้ต้องทำอย่างไรครับ...รบกวนผู้รู้แนะนำทีเถอะครับ..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอนอกเรื่องหน่อยนะครับ.....

 

ผมอยากจะเปลี่ยน E-mail นะครับ...แต่อยากจะใช้ชื่อบัญชีเดิม (แมวน้อย)..

ไม่ทราบว่าจะทำได้ไหมครับ....ถ้าทำได้ต้องทำอย่างไรครับ...รบกวนผู้รู้แนะนำทีเถอะครับ..

จากหน้านี้มุมบนขวาให้คลิกที่สามเหลี่ยมเล็กๆข้างขวาของชื่อคุณ จากนั้นเลือก การตั้งค่าของฉัน รอจนมันขึ้นหน้าใหม่ ด้านซ้ายมือจะมีช่องเปลี่ยนอีเมล์และรหัสผ่านให้เลือกครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ที่หนักข้อกว่านั้นคือฝรั่งมันจับ CDS มาทำเป็นดัชนี แล้วเล่นกันดื้อๆนั่นล่ะครับ กลายเป็น อนุพันธ์ที่อิงราคาอนุพันธ์ :023

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้าไซปรัสให้รัสเซียช่วย จะออกจากยูโรได้มั้ย แล้วกระทบต่อแบงค์อย่างไร และราคาทองจะเป็นอย่างไรครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

...

 

เชื่อได้ว่า...ถ้าพวกเราสมาชิกในกลุ่มไทยโกลด์อยู่ในกลุ่มประเทศลูกหมู...

สิ่งที่เราจะหวาดวิตก กันมากที่สุดก็คือ....ไอ้วิกฤตแบบไซปรัส...มันจะเกิดขึ้นกับเราไหมหนอ

ก็คงจะต้องมีสมาชิกจำนวนหนึ่ง ..หรืออาจจำนวนมาก คิดว่า..

ถ้าจะเอาเงินมาเก็บใส่ถังแชท...อย่างคุณหมอเล็กน่าจะอุ่นใจและปลอดภัยกว่ามั้ง

ส่ิงที่จะเกิดขึ้นก็คือ...มันคงจะมีการแห่กันไปถอนเงินมาเก็บไว้กับตัวเอง

อย่างน้อยก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 10 - 20 % ของผู้ฝากเงินทั้งหมด...

 

แค่นี้ก็ปั่นป่วนละครับ....

เพราะเงินในระบบสถาบันการเงิน ณ.วันนี้มันหมุนด้วยจำนวนรอบ...มากกว่าตัวเงินเยอะครับ...

 

 

นอกจากจะถอนเงินมาใส่ถังแซท มาซื้อทองใส่ถังแซท ผมจะซื้อหุ้นบริษัทที่ทำถังแซทด้วยครับ :P

(ไม่ได้ใบ้อะไรนะครับ มุขครับมุข)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้าไซปรัสให้รัสเซียช่วย จะออกจากยูโรได้มั้ย แล้วกระทบต่อแบงค์อย่างไร และราคาทองจะเป็นอย่างไรครับ

 

การออกจากยูโรทำได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะในเชิงปฎิบัติครับ อีกอย่างรัสเซียคงไ่ม่สิทธิใดๆในกลุ่มยูโรหรอกครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

post-2564-0-25761600-1363880291.jpg

  • อียู ต้องการให้ไซปรัสมีมาตรการอะไรซักอย่างก่อนธนาคารเปิดทำการอีกครั้ง
  • อียู ต้องการให้ไซปรัสมีมาตรการอะไรซักอย่างเพื่อป้องกันคนแห่กันถอนเงิน

ในระหว่างนี้ คนที่มีสิทธิ์ถอนเงินวันละ ๑๐๐๐ ยูโร ก็เข้าคิวถอนตังออกจากเอทีเอ็มกันเรื่อยๆ

(คลิกที่ลิงค์ เพื่อดูภาพทั้งหมด)

 

http://www.zerohedge...cyprus-atm-line

  • ไซปรัส ป๊อปปูลาร์ แบงค์ จะปิดทำการ(ถาวร)
  • ไซปรัส ป๊อปปูลาร์ แบงค์ จะถูกแยกเป็นส่วนดี และส่วนเน่า
  • เงินที่ได้จากการขายสินทรัพย์ของ ไซปรัส ป๊อปปูลาร์ แบงค์ ทอดตลาด จะเอาไปคืนให้ผู้ฝากเงิน
  • เงินฝากในส่วนที่น้อยกว่าหนึ่งแสนยูโร จะอยู่ครบถ้วน

เริ่มปล่อยให้แบงค์ล้มแบบนี้ คงไม่มีการปล้นประชาชนในตอนนี้สินะ

 

http://www.zerohedge...huttered-or-not

  • ตอนนี้ ตำรวจกำลังปะทะกับผู้ชุมนุม (รวมถึงพนักงานไซปรัส ป๊อปปูล่าร์ แบงค์) ที่หน้ารัฐสภา

http://www.zerohedge.com/news/2013-03-21/cyp-riots-begin

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าวลือเมืองลุงแซม

 

ผู้จัดรายการวิทยุนอกกระแสรายหนึ่ง ได้รับโทรศัพท์จากผู้จัดการแบงค์ บอกว่า ภายใน ๖๐ วัน
  1. ธนาคารจะค่อยๆลดชั่วโมง และวันทำการลง
  2. ลดปริมาณจำนวนเงินที่สามารถถอนได้ทันทีลง
  3. จะต้องกรอกเอกสารเพิ่มเติม ถ้าจนท.ของแบงค์มีข้อข้องใจ (ถ้าไม่กรอก หรือให้เหตุผลไม่ถูกใจ ไม่ให้ถอนเงินนะจ๊ะ)

 

http://www.stevequay....php?s=33&d=325

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางนักปั่นราคาทองใช้คุมค่าเงิน-กลบกระแสต้านอัดฉีด

  • 20 มีนาคม 2556 เวลา 09:14 น.

A4D5DAAFBFAE46D2B1D403486DBB626D.jpg

 

 

 

โดย...พันธสิทธิ เจริญพาณิชย์พันธ์

กลายเป็นข่าวใหญ่ที่สร้างความตื่นตระหนกให้กับวงการทองคำโลกไม่น้อย เมื่อสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ได้เกิดกระแสนักลงทุนรายใหญ่ทั่วโลกต่างเทขายทองคำอย่างหนักในเดือนที่แล้ว จนส่งผลให้ราคาทองคำตกอยู่ในสภาวะเลวร้ายที่สุดในรอบ 25 ปี (ราคาปิดตลาดในลอนดอนเมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ 1,581.55 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์) และคาดว่าจะเกิดการเทขายทองคำอย่างหนักและต่อเนื่องยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

แม้ว่านักวิเคราะห์หลายฝ่ายจะออกมาชี้ว่าการเทขายสัญญาทองคำที่เกิดขึ้น จนราคาที่ลดลงนั้นจะเป็นผลมาจากทิศทางเศรษฐกิจโลกในอนาคตที่คาดว่าจะดีขึ้น และเป็นผลทำให้เหล่าบรรดาประเทศยักษ์ใหญ่หยุดใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ทว่าในความเห็นของนักวิเคราะห์บางส่วนก็ไม่ได้เห็นไปตามนั้นทั้งหมด เพราะบางส่วนเห็นว่าทิศทางราคาทองคำปัจจุบันนั้นไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยพื้นฐาน ของเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการพยายามกดราคา หรือปั่นราคา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝีมือธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ของโลกนั่นเอง

ข้อมูลจากคณะกรรมการต่อต้านการผูกขาดทองคำ (จีเอทีเอ) ระบุว่า เป็นเวลาหลายปีแล้วที่เหล่าบรรดาธนาคารกลาง โดยเฉพาะในประเทศตะวันตกพยายามกดราคาทองให้ต่ำลงกว่าความเป็นจริง เพราะจะทำให้ธนาคารกลางสามารถควบคุมและกำหนดทิศทางของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน อื่นๆ ในตลาดได้ อาทิ อัตราแลกเปลี่ยน พันธบัตรรัฐบาล และอัตราดอกเบี้ย

สำหรับวิธีการที่เหล่าธนาคารกลางใช้ปั่นราคาทอง ก็คือ การพยายามแสดงให้เห็นว่าธนาคารเหล่านี้ถือครองสัดส่วนทองคำแท่งเป็นทุนสำรอง ไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งนั่นส่งผลเชิงจิตวิทยาของตลาดให้เกิดความรู้สึกไปว่ายังมี “ซัพพลาย” ทองคำแท่งที่จะเข้าสู่ตลาดมากพอต่อความต้องการจนในที่สุดทำให้ราคาทองในตลาด ก็ต่ำลง

แม้ว่าข้อมูลของสภาทองคำโลก (ดับเบิลยูจีซี) จะออกมาชี้ว่า ในปี 2012 ธนาคารกลางทั่วโลกหันมาเพิ่มสัดส่วนการถือครองทองคำเป็นทุนสำรองเป็นมูลค่า มากกว่า 12 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ปี 2000 อยู่ที่ 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น

ทว่าทางด้าน คริส โพเวล เลขาธิการคณะกรรมการต่อต้านการผูกขาดตลาดทองคำ ได้ออกมาแย้งว่า ทองคำสำรองที่เหล่าแบงก์ชาติระบุออกมาอย่างน้อย 7075% ไม่ได้มีอยู่ในการถือครองจริงๆ

“มีปริมาณซัพพลายของทองคำในตลาดมากมายมหาศาลที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยเหล่า บรรดาธนาคารกลางของประเทศตะวันตก และเป็นเรื่องง่ายมากที่จะเขียนออกมาในรายงานว่าแบงก์ชาติเหล่านั้นมีทองคำ เป็นทุนสำรองอยู่มาก ทั้งๆ ที่ไม่มีอยู่จริง” โพเวล กล่าว

คำกล่าวของ โพเวล ไม่ใช่คำกล่าวอ้างที่เลื่อนลอยแต่อย่างใด เพราะเมื่อปลายปีที่แล้วมีรายงานข่าวว่า องค์กรจีเอทีเอได้รับรายงานฉบับหนึ่งขององค์กรการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) ที่ตรวจสอบ พบว่า เหล่าบรรดาธนาคารประเทศตะวันตกพยายามปกปิด และปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลการยืมทองคำ และการทำสัญญาสวอปทองคำเอาไว้

แม้ว่าในรายงานจะไม่ได้บอกถึงเหตุผลของการปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูล แต่ก็รู้ได้ไม่ยากว่าสาเหตุที่ต้องปกปิดเอาไว้ ก็เพราะเหล่าบรรดาแบงก์ชาติเหล่านี้กลัวว่า ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่การเปิดโปงโฉมหน้าของธนาคารกลาง ที่เป็นผู้แทรกแซงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนมาเป็นเวลานาน

ขณะเดียวกัน อีกหลักฐานหนึ่งที่เป็นตัวบ่งถึงความผิดปกติที่บ่งชี้ว่า ธนาคารกลางเป็นตัวปั่นราคาไว้ ก็คือ ปริมาณซัพพลายของทองคำแท่งในตลาดโลกใน 12 ปีที่ผ่านมา ที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปไหนเลย ทั้งๆ ที่ความต้องการซื้อทองคำจาก จีน อินเดีย สหรัฐ และจากประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเกินกว่าปริมาณซัพพลายในตลาด

“ทองคำมากมายนั้น มาจากไหน? ผมคิดว่าธนาคารกลางของตะวันตกพยายามขายทองคำออกมาเพื่อทำให้ราคาทองคำต่ำลง” อีลิก สปรอต ผู้ก่อตั้งกองทุนการจัดการสปรอตแอสเซทเมเนจเมนต์ กล่าว

นอกเหนือจากการที่เหล่าแบงก์ชาติยักษ์ใหญ่ต้องการกดราคาทอง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือแทรกแซงอัตราแปลกเปลี่ยนแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้แบงก์ชาติต้องกดราคาทองเอาไว้ ก็คือ การพยายามบิดเบือนความสนใจของตลาดไม่ให้หันไปกล่าวโทษการใช้นโยบายการ กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างหนัก จนส่งให้ราคาทองในช่วงก่อนหน้านี้พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก โดยในเดือน ต.ค. ปี 2012 ราคาทองคำเคยทำสถิติพุ่งขึ้นไปแตะที่ 1,790 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์

“ผมยอมรับว่าการปั่นราคาทองคำของเหล่าแบงก์ชาติอาจฟังดูเป็นทฤษฎีการสมคบ คิด แต่ผมเชื่ออย่างสนิทใจว่าธนาคารกลางกำลังแทรกแซงราคาทองคำไม่ให้สูงขึ้น เพราะรู้ว่าการดำเนินนโยบายอัดฉีดทางการเงินอย่างหนัก กำลังส่งผลให้ราคาทองคำและสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น ดังนั้น พวกเขาจึงต้องแทรกแซงราคาทองคำไว้ไม่ให้สูงขึ้น และปกปิดการดำเนินนโยบายอย่างไม่รับผิดชอบเอาไว้” อีลิก สปรอต ผู้ก่อตั้งกองทุนการจัดการสปรอตแอสเซทเมเนจเมนต์ และเป็นผู้ถือครองทองคำแท่งรายใหญ่ของแคนาดา กล่าว

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์จากกองทุนการจัดการสปรอตแอสเซทเมเนจเมนต์ กล่าวเสริมว่า หากเหล่าแบงก์ชาติไม่เร่งแทรกแซงราคาทองคำ แน่นอนว่าอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูง จะเป็นตัวขับดันให้ราคาทองคำ และสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องแน่นอน ดังนั้น จึงทำให้ธนาคารกลางต้องแทรกแซงราคาทองคำเอาไว้ไม่ให้สูง

จึงน่าจับตาว่า ต่อจากนี้ไปทิศทางราคาทองคำในอนาคตจะเป็นเช่นไร และบทบาทของธนาคารกลางในตลาดทองคำท่ามกลางภาวะราคาทองคำขาลงจะลดการแทรกแซง ลงหรือไม่

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จับตาทางเลือก "ไซปรัส" โลกผวาปลุกวิกฤตหนี้คืนชีพ

  • 21 มีนาคม 2556 เวลา 08:32 น.

4510394EABF74C5AA206680DE199927A.jpg

 

 

โดย...นงลักษณ์ อัจนปัญญา

นอกจากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะทำให้ทั่วโลกต้องตื่นตะลึงกับเงื่อนไขสุดหินที่ทำให้มหาชนชาวไซปรัสทั้ง โกรธและตระหนกจนแห่ถอนเงินจากธนาคารแทบไม่ทัน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังทำให้หลายฝ่ายอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า หายนะของไซปรัสเกิดขึ้นได้อย่างไร

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไซปรัสผงาดขึ้นมาได้ด้วยการเป็นศูนย์กลางทางการเงิน โดยธนาคารในไซปรัสอนุญาตให้ชาวต่างชาติเปิดบัญชีผ่านทางอินเทอร์เน็ต และเก็บภาษีเงินฝากระดับต่ำ แถมยังให้บริการรวดเร็ว และขึ้นชื่อเรื่องรักษาความลับ

ภาคธนาคารจึงเฟื่องฟูรุ่งโรจน์ โดยเมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา ธุรกิจธนาคารไซปรัสใหญ่กว่าเศรษฐกิจจริงเมื่อเทียบกับมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวล รวมภายในประเทศ (จีดีพี) ถึง 7 เท่า หรือราว 1.75 หมื่นล้านยูโรต่อจีดีพี

ไซปรัสจึงเป็นเกาะสวรรค์ของนักลงทุนทางการเงินและนักธุรกิจทั่วโลกที่ ต้องการหาแหล่งวางเงิน ที่ไม่ต้องเผชิญขั้นตอนตรวจสอบเข้มงวด โดยมีการคาดการณ์ว่าเงินในบัญชีทั้งประเทศกว่าครึ่งเป็นของชาวต่างชาติ

ทว่า ฝันร้ายก็มาเยือนภาคธนาคารของไซปรัสจนได้ เมื่อต้องเผชิญกับภาวะขาดทุนชนิดแทบสิ้นเนื้อประดาตัว โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซ

ทั้งนี้ ในช่วงที่เฟื่องฟู ธนาคารในไซปรัสต่างแห่นำเงินไปลงทุนซื้อสินทรัพย์ในต่างประเทศ โดยที่ถือไว้มากที่สุดก็คือประเทศใกล้บ้านอย่างกรีซ ยืนยันได้จากในช่วงปี 2554 สัดส่วนหนี้ต่อเงินฝากของ 3 ธนาคารใหญ่ไซปรัสอย่าง แบงก์ ออฟ ไซปรัส มาร์ฟิน ไลกิ และเฮลเลนิก รวมกันสูงถึง 423% และยังเป็นหนี้เสียของกรีซเกือบครึ่ง

ดังนั้น ในช่วงที่กรีซขอเงินช่วยเหลือจากทรอยกา ซึ่งประกอบด้วย อียู ไอเอ็มเอฟ และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) โดยแลกกับเงื่อนไขที่เจ้าหนี้กรีซต้องปรับโครงสร้างหนี้ หั่นยอดหนี้ลงถึง 50% ไซปรัสจึงเจ็บตัวจากกรีซมากที่สุด

ขณะที่การปล่อยให้ภาคธนาคารใหญ่เกินตัว ทำให้เมื่อเกิดปัญหาใกล้ล้ม รัฐบาลไซปรัสจึงไม่มีเงินเพียงพอจะช่วยธนาคารของตน จนต้องเป็นประเทศที่ 5 ที่ร้องขอความช่วยเหลือจากอียูในที่สุด

อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นว่าสถานการณ์ของไซปรัสในขณะนี้มาไกลเกินกว่าจะ กล่าวโทษหาคนผิด เนื่องจากสิ่งสำคัญแรกสุดที่ต้องจัดการให้เสร็จสิ้นก่อน คือ ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างการเลี่ยงไม่ให้ภาคธนาคารประเทศต้องล้มละลายและผิดนัด ชำระหนี้

และเมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขแลกเปลี่ยนสุดหินที่รวมถึงการรีดภาษีจากเจ้า ของเงินฝาก จนรัฐบาลไซปรัสยากรับปาก เพราะชาวไซปรัสจะเดือดร้อนกันทั่วหน้า ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เริ่มคาดการณ์ถึง 5 ทางเลือกที่พอจะเป็นไปได้ของเกาะเล็กๆ บนทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแห่งนี้

ประการแรก คือ เงื่อนไขบรรลุผลและไม่ส่งผลใดๆ ต่อยูโรโซนโดยรวม ซึ่งหมายถึงการที่รัฐสภาไซปรัสยอมทำตามเงื่อนไขด้วยการขึ้นภาษีผู้มีบัญชี เงินฝากเกิน 1 แสนยูโรขึ้นไป และเว้นการเก็บภาษีสำหรับผู้มีเงินฝากในบัญชีต่ำกว่า 2 หมื่นยูโร โดยนักวิเคราะห์มองว่ารัฐบาลไซปรัสไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากต้องยอมรับเงินช่วยเหลือก้อนนี้จากอียูและไอเอ็มเอฟ เพราะอย่างน้อยการเผชิญหน้ากับความเกรี้ยวกราดของประชาชนยังดีกว่าปล่อยให้ ธนาคารล้ม

ขณะเดียวกัน แม้ภาคธนาคารของไซปรัสอาจจะติดขัดหรือสะดุดไปบ้าง แต่ด้วยไซปรัสมีขนาดเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วนแค่ 0.5% ของอียู บวกกับการที่ธนาคารในยุโรปส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับธนาคารใน ไซปรัสมากนัก นักลงทุนจึงไม่น่าจะวิตกกับกรณีที่วิกฤตไซปรัสอาจลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ภายในยูโรโซน

สำหรับสถานการณ์ที่สอง คือ เงื่อนไขบรรลุผล แต่กระเทือนต่อความเชื่อมั่นของยูโรโซน โดยเฉพาะกับภาคธนาคาร โดยนักวิเคราะห์คาดว่ารัฐบาลไซปรัสอาจจำยอมรับเงื่อนไขแลกเงินช่วยเหลือ แต่ความโกรธแค้นและเดือดร้อนที่ชาวไซปรัสได้รับจนออกอาการต่อต้านรัฐบาล อาจทำให้รัฐบาลไซปรัสต่อต้านแผนรัดเข็มขัดของอียูและไอเอ็มเอฟ

ผลข้างต้นจะทำให้นักลงทุนทั่วโลกเริ่มตั้งคำถามต่อมาตรการแก้ไขหนี้ของ ยุโรป รวมถึงเริ่มไม่เชื่อมั่นในความสามารถของอียูที่จะจัดการกับวิกฤตหนี้ กระทั่งอาจทำให้เกิดปัญหาในธุรกิจภาคธนาคารในประเทศอื่น เนื่องจากการลงทุนในธนาคารพาณิชย์ของยุโรปมีความเสี่ยงมากขึ้น จนไม่มีนักลงทุนคนใดอยากเข้ามา หลังจากที่บางรายต้องเจ็บตัวมาแล้วกับมาตรการยอมลดหนี้ให้กับกรีซ

ทางเลือกที่สาม คือ รัฐสภาไซปรัสปฏิเสธไม่รับเงื่อนไข พร้อมยอมผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่ประธานาธิบดีไซปรัสคาดว่าอาจส่งผล ให้รัฐบาลล้มละลาย ภาคการเงินประเทศพัง และไซปรัสต้องออกจากกลุ่มยูโรโซน

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์อธิบายว่าการที่ 2 ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของไซปรัสยังยืนหยัดอยู่ได้ ทั้งๆ ที่แบกหนี้ไว้ท่วมหัว เป็นเพราะเงินจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) แต่เมื่อไม่ยอมทำตามข้อแลกเปลี่ยนของอียูและไอเอ็มเอฟ อีซีบีย่อมตัดเงินช่วยเหลือในส่วนนี้ลง บีบให้ไซปรัสไม่เหลือทางเลือกอื่น นอกจากก้มหน้ายอมรับชะตากรรมล้มละลาย และหันกลับมาใช้สกุลเงินของตนเอง

ส่วนทางเลือกที่สี่ คือ การที่รัฐสภาลงคะแนนไม่ยอมรับเงื่อนไขแลกกับเงินช่วยเหลือ และหันไปเจรจากับอียูอีกรอบ ซึ่งถือเป็นตัวเลือกที่ประนีประนอม โดยนักวิเคราะห์ระบุว่า รัฐสภาไซปรัสอาจขอเจรจาเพื่อปรับเปลี่ยนเงื่อนไขใหม่ เพื่อเลี่ยงหายนะจากการผิดนัดชำระหนี้ โดยเงื่อนไขใหม่น่าจะรวมถึงปริมาณเงินช่วยเหลือที่มากกว่าเดิม และไม่ต้องเบียดเบียนเจ้าของเงินฝากในบัญชีธนาคาร

แต่กระนั้น ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า ความเป็นไปได้ข้างต้นนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของประเทศเจ้าหนี้ โดยเฉพาะหัวเรือใหญ่อย่างเยอรมนี ที่คนในประเทศเริ่มออกอาการต่อต้านการนำเงินภาษีไปช่วยเหลือประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอียู

และทางเลือกสุดท้าย คือ ตัดใจขอความช่วยเหลือจากคนนอกอียูอย่างรัสเซีย เนื่องจากมีการคาดการณ์กันว่า แดนหมีขาวแห่งนี้ฝากเงินไว้ในธนาคารไซปรัสสูงถึง 2 หมื่นล้านยูโร จนรัสเซียต้องควักเงินให้ไซปรัสยืมไปแล้ว ก่อนหน้าที่ไซปรัสจะขอความช่วยเหลือจากอียูและไอเอ็มเอฟถึง 2,500 ล้านยูโร (ราว 9.5 หมื่นล้านบาท)

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าทางเลือกของรัฐบาลไซปรัสจะเป็นเช่นไร นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกซึ่งตามติดวิกฤตหนี้สาธารณะของภูมิภาคยุโรปมาตั้งแต่ ต้น ต่างเห็นว่าสถานการณ์ในไซปรัสอาจเข้าทำนองถึงเจ็บก็ไม่จบ

เพราะตราบใดที่อียูไม่สามารถจัดการต้นตอ ทั้งการปฏิรูประบบธนาคารทั้งระบบ เสริมสถานะสกุลเงินยูโรให้มั่นคง และเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจังควบคู่กับการใช้มาตรการรัดเข็มขัดลด ขาดดุล ตราบนั้นอียูก็ยังมีโอกาสหวาดผวากับปัญหาหนี้ของประเทศสมาชิกในกลุ่ม จนไม่แน่ว่านักลงทุนทั่วโลกอาจต้องเจอกับเงื่อนไขโหดชวนตะลึงจากอียูและไอ เอ็มเอฟอีกก็เป็นได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

post-2564-0-60553700-1363905878_thumb.jpg

 

มีคนไปนั่งฟังลุงจิมตอบคำถามที่นิวยอร์คเมื่อวันพุธ สรุปสิ่งที่ลุงจิมพูดมาตามนี้

  1. สิ่งที่เกิดขึ้นในไซปรัส เป็นความผิดพลาดอันใหญ่หลวงโดยไอเอ็มเอฟ สิ่งที่ทำเป็นการย้ายการสร้างหนี้ให้ไปอยู่ในมือผู้ฝากเงิน (ปกติแล้วสร้างหนี้ด้วยการออกพันธบัตร) นี่หมายความว่าคุณควรย้ายเงินของคุณออกจากระบบธนาคารไปอยู่ในรูปอื่นเช่นทองคำเป็นต้น ลุงจิมยังบอกต่อด้วยว่า ถ้าการปล้นเงินที่ไซปรัสนั้นสำเร็จ มันจะทำให้ดาวโจรหล่นมาต่ำเหลือ ๑๐๐๐ จุดได้ เพราะนั่นหมายความว่ามีการเปลี่ยนจากการพิมพ์เงินเป็นอันดับหนึ่ง เป็นการปล้นเงินอันดับหนึ่งแทน
  2. ไออาร์เอ (บัญชีลงทุนเพื่อเกษียณอายุที่ใช้ลดภาษีได้ของชาวมะกัน) -- คุณมีเวลาประมาณ ๒-๓ ปี, เลิกเติมเงินเข้าไปในบัญชีนี้ และพยายามเริ่มถอนเงินออกได้แล้ว
  3. เอฟดีไอซี (สถาบันที่รับประกันเงินฝากของชาวมะกัน) ไม่สามารถรองรับวิกฤตทั้งระบบได้ แบงค์สองแบงค์ล้ม ไม่มีปัญหา แต่ถ้าพังเป็นระบบ เอฟดีไอซีก็ไม่รอด
  4. เหมือง (เข้าใจว่าเป็นเหมืองของลุงจิม) น่าจะเริ่มมีการผลิตได้แล้ว -- ๕ ปีที่แล้ว อาจจะดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่
  5. เรื่องการคำนวณราคาทองคำที่แท้จริง -- ถาม : ถ้าเอาเงินกระดาษมาหารด้วยปริมาณทอง จะได้ทองคำที่ ๑๕๐๐๐-๑๗๐๐๐ เหรียญ? -- ตอบ : ตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะตอบได้ ลองกลับมาคำนวณอีกครั้งในปี ๒๐๑๕ ถ้าคำนวณตอนนี้ ตัวเลขอาจจะหลอกคุณได้
  6. การปล้นทองโดยรัฐเป็นไปได้หรือไม่? -- ตอบสั้นๆได้เลยว่า "ไม่" -- เพราะทองคำมีสถานะในตอนนี้ไม่เหมือนเมื่อตอนช่วงปี ๑๙๓๐ -- ช่วงนั้นเขาปล้นทองคำเพราะต้องการเพิ่มประมาณเงินในระบบ ตอนนี้ทองคำไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเงินในระบบอีกต่อไปแล้ว ลุงจิมไม่เชื่อว่าจะมีการปล้นทองคำ แต่อย่างไรก็ตาม ลุงจิมไม่มีความคิดเห็นว่ารัฐบาลจะปล้นด้วยวิธีการ "คิดภาษี" แทนหรือไม่
  7. เหรียญทองคำมีโอกาสเป็นของปลอมน้อยกว่าทองคำแท่ง
  8. ทองคำจะเป็นสินทรัพย์อย่างเดียวที่เพิ่มค่า
  9. ทองคำจะเข้ามามีส่วนในระบบเงินตราในที่สุด
  10. ราคาที่ให้มองในตอนนี้คือ ๑๕๑๗ กับ ๒๐๒๑
  11. โลหะเงินจะทะลุ ๕๐. มันจะมีราคาเพิ่มไปพร้อมๆกับทอง โลหะเงินไม่ใช่โลหะที่ใช้เป็นเงิน ราคาของโลหะเงินนั้นขึ้นอยู่กับราคาตลาดกระดาษ เพราะฉะนั้น อุปทานนั้นถือว่ามีไม่จำกัด -- ราคาโลหะเงินจะไม่ขึ้นไปสูงมาก
  12. ทำไมไม่มีใครซักคนพยายามจะฟันกำไรเยอะจากตลาดโลหะเงิน? -- เพราะว่าถ้าเขาทำ เขาจะพบจุดจบแบบพี่น้องตระกูลฮันท์ -- เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ เคยโดนกดดันให้รับของจริง แต่เขาเป็นสุภาพบุรุษและปฏิเสธที่จะรับของนั้นไป -- ไม่มีเศรษฐีคนใหนที่อยากจะถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นคนทำให้ตลาดไครม์เม็กซ์พัง -- ถ้า พี่น้องตระกูลฮันท์ รับของจริงๆ พวกเขาอาจจะโดนจับโยนเข้าซังเต -- {ต่อจากนี้อ่านแล้วงงๆ แปลเป็นไทยไม่ได้}
  13. บริษัทที่รับฝากทองคำ อาจจะแปลงร่างเป็นผู้รายได้ (เหมือนกับบริษัทอื่นๆ)
  14. ลุงจิมไม่เชื่อในอัตราส่วนระหว่างทองคำและโลหะเงิน
  15. ลุงจิมเชื่อในทองคำมากกว่า
  16. แต่โลหะเงินก็ไปได้ดีเหมือนกัน
  17. ทองคำจะถูกปรับราคาใหม่โดยตลาด
  18. ไม่มีเหมืองที่โดนรัฐบาลยึดเหมืองใหนที่ประกอบกิจการแล้วได้กำไร
  19. ไม่น่าจะมีโอกาสที่โลหะเงินจะเข้ามาอยู่ในระบบการเงิน
  20. ทองคำ และโลหะเงิน มีจำนวนจำกัด
  21. โลหะเงินจะถึง ๓ หลัก แต่จะอยู่ได้ไม่นาน, โลหะเงินที่ ๕๐๐ เหรียญ ไม่น่าจะเกิดขึ้น
  22. ดาวโจรขึ้นเพราะ "สภาพคล่อง"
  23. ดาวโจรอาจจะหล่นมาบ้างในเร็วๆนี้ แต่จะขึ้นต่อ
  24. เป้าหมายสำคัญทองคำ ๒๔๘ เหรียญ, ๑๖๕๐ เหรียญ (ผมเทียบกับข้อ ๑๐ แล้วงงๆแฮะ)
  25. {อ่านแล้วงงๆ ไม่แปล}
  26. (หุ้น)เหมืองทองคำมีโอาสมากที่สุด เพราะตอนนี้ราคาโดนทุบอยู่ แม้ว่าตลาดจะพัง ราคาก็จะลงไปไม่มากกว่านี้แล้ว
  27. จะเลิกคิวอีเหรอ? -- เลิกคิวอีก = สร้างหลุมดำ -- เพราะฉะนั้น คิวอีไม่อั้นแน่นอน
  28. เฟดมีเครื่องมือสองอัน -- สร้างหนี้เพิ่ม หรือไม่ก็ปรับราคาทองใหม่
  29. รอบกระทิงทองคำรอบนี้จะจบในปี ๒๐๒๐-๒๐๒๑
  30. กลาส สตีกอลล์ (กฏหมายที่ควบคุมนายแบงค์ไม่ให้เอาธุรกิจธนาคารไปเล่นในคาสิโน ที่ถูกยกเลิกไปในสมัยคลินตัน จนทำให้เกิดวิกฤตต่างๆที่ผ่านมา) จะไม่ถูกนำกลับมาใช้งานอีก
  31. ลุงจิมเชื่อว่าเงินเฟ้อรุนแรงสามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าเกิดขึ้น มันจะเกิดขึ้นเพียงแค่สามเดือนเท่านั้น แต่มันจะเป็นประสบการณ์ที่แย่มาก (เกิดไม่นาน แต่รุนแรง)
  32. ยูโรจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าดอลล่าร์ เพราะยูโรอย่างน้อยก็มีการรัดเข็มขัด
  33. ไม่มีทางออกสำหรับอนุพันธ์ที่ซื้อขายนอกตลาด มันเหมือนกับปมที่อยู่ในเชือกที่เชื่อมกันเป็นวงกลม (จับต้น จับปลาย เพื่อคลายปมไม่ได้) การที่เลห์แมนล้ม เป็นการตัดเชือกเส้นนั้นออก
  34. กรอบเวลา ๕ ปี สำหรับกลุ่ม "บริคส์" ที่จะเข้ามาแทน
  35. เป้าหมายต่อไปของทองคำคือ ๓๑๐๐ - ๓๒๐๐... อะไรที่ต่ำกว่า ๓๕๐๐ ก็ซื้อๆไปเถอะ ในปี ๒๐๑๕-๒๐๑๗ มันจะไปถึง ๔๐๐๐-๔๕๐๐
  36. {งง ไม่แปล}
  37. วันที่สำคัญในตอนนี้คือวันที่ ๒๗ มีนาฯ เพราะเป็นวันเกิดของลุง :lol:
  38. อิหร่านไม่น่าจะโดนถล่ม สมัยก่อนอาจจะเป็นไปได้ แต่ตอนนี้ดูไม่น่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เรือดำน้ำของรัสเซียอาจจะเป็นตัวพลิกเกม
  39. ถ้าการปรับราคาทองคำเกิดขึ้นในปีนึงจากนี้ ทองคำน่าจะอยู่ประมาณ ๔๔๙๙ และหลังจากนั้นอีกหนึ่งปีจะขึ้นไปอีก
  40. ลุงจิมมีข่าววงในหรือเปล่า? -- แน่สิ ลุงอยู่ในวงการมานานขนาดนี้ ก็ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับขาใหญ่ในวงการนี้อยู่แล้ว
  41. ลุงไม่เชื่อว่าไครม์เม็กซ์จะพัง
  42. บิทคอยน์? -- ไม่น่าจะเหมาะกับการใช้งาน

 

http://www.silverdoctors.com/recap-of-jim-sinclairs-nyc-meeting-you-have-2-years-to-get-out-of-iras-silver-to-see-orgasmic-rally/

(ภาพโดย ชาร์ลี ดูเอน จากเฟสบุค เจเอสไมน์เซ็ท)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

post-2564-0-44112500-1363906774_thumb.jpg

สรุปข่าวสถานการณ์ไซปรัสล่าสุด

  • ไซปรัส ปรับลดปริมาณเงินที่ถอนได้ต่อวันเหลือเพียง ๒๖๐ ยูโร ต่อคน ต่อวันเท่านั้น (ส่วนธนาคารยังปิดเหมือนเดิม)

http://www.zerohedge...still-have-cash

  • ไซปรัส ป๊อปปูล่าร์ แบงค์ เหลือสภาพคล่องเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น

http://www.zerohedge...-liquidity-left

  • ยูโรโซนกำลังประเมินเรื่องการปิด ไซปรัส ป๊อปปูล่าร์ แบงค์
  • ยูโรโซนกำลังประเมินเรื่องแบงค์ดี แบงค์เน่า ในไซปรัส
  • เงินฝากที่ส่วนไม่ได้รับการประกัน อาจจะโดนดูดไปกว่าร้อยละ ๔๐

http://www.zerohedge...-bad-bank-plan้

  • กลุ่มยูโรคาดหวังให้ไซปรัสส่งข้อเสนอแผนการแก้ปัญหาเร็วๆ
  • กลุ่มยูโรบอกว่า การรับรองเงินฝากที่ไม่เกินหนึ่งแสนยูโร เป็นเรื่องที่สำคัญ (ใครมันบอกให้ปล้นทุกบัญชีตั้งแต่แรกหว่า?!)
  • กลุ่มยูโรบอกว่า ข้อเสนอใหม่ จะต้องให้ตรอยกาดูก่อน
  • เอส แอนด์พี ลดระดับความน่าเชื่อถือของไซปรัซ จาก ซีซีซี+ เป็น ซีซีซี

http://www.zerohedge...oar-troika-need

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ฟังแบบนี้แล้วดีใจจัง สิ่งที่ต้องการคือหัดคิดไปเรื่อยๆ จากงงๆแล้วจะดีขึ้นเรื่อยๆครับุ

ก็ต้องขอบคุณคุณส้มโอมือ และทุกๆท่านมากๆค่ะ ที่ช้ีแนะ และให้ความรู้มาตลอดค่ะ :_087

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...