ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

วรวรรณ ธาราภูมิ

 

6 ชั่วโมงที่แล้ว

Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง

 

25 มีนาคม 2556

 

------------------------------------------------------------------

 

General News

 

• รัฐสภาไซปรัสมีมติผ่านร่างกฎหมายฉุกเฉิน เพื่อจัดตั้งกองทุนด้านการลงทุนที่มีเป้าหมายในการระดมทุนให้ได้ 5.8 พันล้านยูโร (7.48 พันล้านดอลลาร์) ตามคำเรียกร้องของกลุ่มยุโรกรุ๊ป เพื่อแลกกับมาตรการให้ความช่วยเหลือมูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์

 

ซิตี้กรุ๊ปกล่าวว่า ความเสี่ยงของผลกระทบจากวิกฤติไซปรัสต่อยูโรโซนนั้นอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ เนื่องจากระบบเศรษฐกิจของไซปรัสมีสัดส่วนเพียง 0.2% ของจีดีพียูโรโซน และมาตรการความช่วยเหลือที่ยูโรกรุ๊ปเสนอให้กับไซปรัสมีขนาดเพียงพอที่จะช่วยกอบกู้วิกฤตไซปรัส ในขณะที่ทางสถาบันจัดอันดันความน่าเชื่อถือเอสแอนด์พี ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของไซปรัสลง 1 ขั้น จากระดับ CCC+ มาอยู่ที่ระดับ CCC ซึ่งเป็นระดับ "ขยะ" หลังจากรัฐสภาไซปรัสได้ปฏิเสธมาตรการจัดเก็บภาษีเงินฝากในระบบธนาคาร พร้อมกับเตือนว่าอาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไซปรัสลงอีก ถ้าหากไซปรัสไม่ได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินในเร็วๆ นี้

 

• สถาบัน Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนีรายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีอยู่ที่ 106.7 จุดในเดือนมี.ค. ลดลงจาก 107.4 จุดในเดือนก.พ. บ่งชี้ถึงแนวโน้มธุรกิจที่ย่ำแย่ลง ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของมาร์กิตที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ที่แสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีการขยายตัว แต่ด้วยอัตราที่ชะลอลง

 

• สำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศสรายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมของฝรั่งเศสยังทรงอยู่ที่ระดับ 90 จุดในเดือนมี.ค. ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าตัวเลขดัชนีจะปรับตัวขึ้นเล็กน้อย เป็นแนวโน้มเดียวกันกับตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของภูมิภาคยูโรโซนที่ประกาศออกมาในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว แสดงให้เห็นว่านักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคยุโรปสูงเกินไป

 

• สำนักงานสถิติแห่งชาติสเปนรายงานว่า ยอดการยึดบ้านในปี 55 ของสเปน เพิ่มขึ้น 17.7% เมื่อเทียบกับปี 54 เนื่องจากอัตราว่างงานระดับสูงได้ส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชน ส่วนยอดการล้มละลายของบริษัทสเปนในปี 55 ได้เพิ่มขึ้น 32% จากปี 54 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทในภาคก่อสร้าง เป็นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยต่อเนื่องของสเปน

• ประธานสมาคมการธนาคารสเปนกล่าวว่า ภาคธนาคารสเปนอาจจะกลับมาทำกำไรอีกครั้งในปีนี้ หลังจากประสบภาวะขาดทุนในปี 55 ที่ภาคอุตสาหกรรมการธนาคารของสเปนขาดทุน 1.65 พันล้านยูโร อย่างไรก็ตาม ภาคธนาคารสเปนน่าจะฟื้นตัวได้ เนื่องจากไม่น่าจะต้องกันสำรองจำนวนมากเหมือนปีที่แล้ว

 

• องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของจีนมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ถึง 8.5% ในปี 56 และ 8.9% ในปี 57 โดยจีนจะได้ประโยชน์จากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในตลาดที่อยู่อาศัย และการลงทุนทางธุรกิจที่ฟื้นตัวขึ้น แม้ว่าการส่งออกจะยังคงชะลอตัวนอกจากนี้ จีนยังคงดำเนินนโยบายการเงินและการคลังแบบระมัดระวัง ทำให้มีเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ในกรณีที่สถานการณ์ในต่างประเทศเลวร้ายกว่าที่คาด

 

• ศูนย์วิจัยการพัฒนาในสังกัดสภาแห่งรัฐของจีนกล่าวว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนอาจจะถึงจุดเปลี่ยนในปี 2558 หลังจากที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วมา 30 ปี โดยการขยายตัวของจีดีพีจีนอาจจะลดลงในปี 2558 สู่ระดับที่มีเสถียรภาพที่ 6-7% และจะมีการปฏิรูปโครงสร้างในการขยายตัว โดยโอกาสการเติบโตใหม่ๆ จะมาจากการสร้างสังคมเมือง การปรับปรุงภาคอุตสาหกรรมและคุณภาพการบริโภคให้ดีขึ้น เป็นต้น

 

• หน่วยงานภาครัฐของพม่าและฝรั่งเศสได้บรรลุข้อตกลงในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคในพม่า โดยพม่าจะได้รับความช่วยเหลือจากฝรั่งเศสในด้านสาธารณูปโภคในชนบท ความมั่นคงด้านอาหาร การพัฒนาการเกษตร สุขภาพ อุปทานน้ำ และสาธารณสุข

 

• สศค.เปิดเผยว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (ต.ค.55-ก.พ.56) รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 8.07 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 20.5% ปัจจัยหลักมาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจภายในประเทศที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและโครงการรถยนต์ใหม่คันแรก ขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีจำนวนทั้งสิ้น 1.1 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 27.4% เนื่องจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้งบประมาณขาดดุล 3.38 แสนล้านบาท

• ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าถึง 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในกลางปีนี้ และอาจจะแข็งค่าถึง 28.50 บาทต่อดอลลาร์ภายในปลายปี โดยประเทศไทยยังต้องเผชิญแนวโน้มเงินทุนไหลเข้าต่ออีก 1 ปีจากนโยบายอัดฉีดสภาพคล่องของประ เทศหลัก ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทุกๆ 1% จะกระทบต่อการส่งออก 0.6-1% และจะมีผลต่อจีดีพี 0.1-0.3% เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยยังพึ่งพาการเป็นฐานการผลิตและส่งออกอยู่มาก

 

• สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ประมาณการภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 1/56 ว่าจะหดตัวลง 0.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งในหลายพื้นที่ โดยส่วนใหญ่จะกระทบต่อพื้นที่ปลูกข้าว แต่ยังคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจภาคเกษตรปี 56 จะขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.5 - 4.5% จากปีที่แล้ว เนื่องจากผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญหลายชนิดทั้งพืช ปศุสัตว์ และประมง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวน่าจะช่วยให้การส่งออกสินค้าเกษตรและราคาสินค้าเกษตรมีทิศทางที่ดีขึ้น

 

Equity Market

 

• SET Index ปิดที่ 1,478.97 จุด ลดลง 50.55 จุด หรือ -3.33% ด้วยมูลค่าซื้อขายที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 101,361 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 73 ล้านบาท โดยตลาดปรับตัวลงแรงต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 จากการแห่เทขายของนักลงทุนภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าจะไม่ได้มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นเป็นพิเศษ โดยปัจจัยลบที่มีขึ้นในตลาดไม่ว่าจะเป็นเรื่องความกังวลกรณีปัญหา พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทอาจขัดรัฐธรรมนูญ ตลาดต่างประเทศ หรือ กรณีนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปล่อยกู้ 30 ล้านบาท ให้กับสามีนอกสมรส อาจส่งผลกระทบให้การรัฐบาลสะดุด ล้วนแต่ไม่มีน้ำหนักเท่าใดนัก โดยหุ้นที่ราคาปรับตัวลดลงมากจะเป็นหุ้นขนาดเล็กที่ราคาได้เพิ่มขึ้นไปมากในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม หุ้นขนาดใหญ่ก็ถูกแรงเทขายออกมาเช่นกันทั้งหุ้นกลุ่มพลังงานและธนาคารพาณิชย์

 

Fixed Income Market

 

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงในทุกรุ่น โดยเปลี่ยนแปลงในช่วงระหว่าง -0.03% ถึง 0.00% โดยเฉพาะรุ่นที่อายุคงเหลือระหว่าง 4 ถึง 18 ปี จะมีอัตราผลตอบแทนลดลงมากกว่ารุ่นอื่นๆ โดยภาพรวมตลอดสัปดาห์ที่แล้ว อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลได้ปรับตัวลดลงเกือบทุกวัน หลังจากที่ทรงตัวมาเป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน

 

(แทน)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอบีเอ็น แอมโร (ธ.ในฮอลแลนด์)

 

-คนที่ฝากทองคำไว้กับธนาคาร ตอนนี้ธนาคารไม่อนุญาตให้รับของจริงจากธนาคารแล้ว

-แต่ไม่ต้องกังวลใจไป บัญชีของคุณสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ตามราคาตลาด เพราะเงินที่คุณลงทุนไว้ อยู่ในรูปโลหะมีค่า (จริงๆนะ)

 

http://www.zerohedge...l-gold-delivery

 

 

 

1ในมาตรการยึดคืนทองคำจากประชาชนเริ่มแล้ว(ตอนนี้ยังไม่ยึดคืนทองคำที่ประชาชนถือไว้เอง ส่วนหลังจะทำหรือไม่ทำก็ต้องดูกันไป)

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

  • ทรอยกา + ไซปรัส ตกลงกันได้ ในหลักการ แล้ว
  • ตกลงกันที่โต๊ะอาหาร โดยมี มาริโอ ดรากิ(ประธานอีซีบี), คริสติน ลาการ์ด(ไอเอ็มเอฟ), เฮอร์แมน แวน รูมพอย(ประธานสภายุโรป), โฮเซ่ บาร์โรโซ (ประธานคณะกรรมาธิการยูโรป)

โดยที่มีข้อตกลงกันตามนี้

  1. ธนาคาร ไลกิ จะปิดตัวลง
  2. ธนาคารไซปรัส จะอยู่รอด แต่เงินฝากจะถูกปล้น
  3. เงินฝากที่ได้รับประกันในธนาคารไลกิ จะถูกย้ายมาอยู่ในความดูแลของธนาคารไซปรัส

  • ดูเหมือนกับว่า จะเป็นการตัดสินใจเพื่อปกป้องผู้ฝากเงินรายย่อย และไปฟันขาใหญ่ที่ฝากเงินไว้แทน
  • กำลังมีการพูดคุยกันว่า อาจจะไม่มีความจำเป็นการออกเสียงในสภาไซปรัสเพื่อรองรับนโยบายนี้ เนื่องจากการปล้นครั้งนี้ไม่ใช่ "ภาษี" หากแต่เป็นการปรับโครงสร้างของธนาคาร (ดูมัน ตอนแรกเรียกว่าภาษีให้ดูดี แต่พอกฏหมายไม่เอื้อ ก็เรียกว่าปรับโครงสร้าง แถมปล้นหนักกว่าเดิมอีก)
  • การกระทำครั้งนี้ดูเหมือนกับว่า ตัดสินใจกันระหว่างนายแบงค์ในกลุ่มอีซีบี ว่าธนาคารกลางของไซปรัสควรจะปรับโครงสร้างอย่างไร -- เงินฝากในธนาคารดี/เน่า จะถูกปล้นตามที่นายแบงค์อีซีบีเห็นสมควร -- เพื่อที่จะเลี่ยงการลงคะแนนเสียงของสภาไซปรัส และความเป็นไปได้ที่จะละเมิดกฏหมายของสหภาพยุโรป

http://www.zerohedge...oika-reach-deal

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

  • ดูเหมือนกับว่า จะเป็นการตัดสินใจเพื่อปกป้องผู้ฝากเงินรายย่อย และไปฟันขาใหญ่ที่ฝากเงินไว้แทน
  • กำลังมีการพูดคุยกันว่า อาจจะไม่มีความจำเป็นการออกเสียงในสภาไซปรัสเพื่อรองรับนโยบายนี้ เนื่องจากการปล้นครั้งนี้ไม่ใช่ "ภาษี" หากแต่เป็นการปรับโครงสร้างของธนาคาร (ดูมัน ตอนแรกเรียกว่าภาษีให้ดูดี แต่พอกฏหมายไม่เอื้อ ก็เรียกว่าปรับโครงสร้าง แถมปล้นหนักกว่าเดิมอีก)
  • การกระทำครั้งนี้ดูเหมือนกับว่า ตัดสินใจกันระหว่างนายแบงค์ในกลุ่มอีซีบี ว่าธนาคารกลางของไซปรัสควรจะปรับโครงสร้างอย่างไร -- เงินฝากในธนาคารดี/เน่า จะถูกปล้นตามที่นายแบงค์อีซีบีเห็นสมควร -- เพื่อที่จะเลี่ยงการลงคะแนนเสียงของสภาไซปรัส และความเป็นไปได้ที่จะละเมิดกฏหมายของสหภาพยุโรป

 

 

จะเป็นการเมือง 2 หน้า เพื่อลดแรงบีบ แรงกดดัน จากบรรดาขาใหญ่ในรัสเซียหรือเปล่า...

แผนการอีหรอบนี้ออกมา...มันคือแผนปล้นรัสเซียชัดๆ....

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมคิดว่านี้คือการทดสอบครับ

- ทดสอบว่า ประชาชนจะมีความเห็นอย่างไร (แน่นอนต่อต้านอยู่แล้ว)

- ต้องการดูผลลัพธ์ ถ้าหักเงินจากบัญชีไม่ได้ ประเทศลูกหนี้จะทำยังไง (ใช้ Capital control)

- เป็นตัวอย่างให้ประเทศลูกหนี้ ถ้าไม่ยอมตามนายแบงค์ ก็ต้องล้มจมกันทั้งประเทศ แทนที่จะยอมสละเงินในบัญชีแค่ 10 %

 

เหนือสิงอืนใด ผมคิดว่าพวกขาใหญ่ ต้องการควบคุมการเงินโลก พูดแบบนี้อาจไม่เห็นภาพ

 

ลองคิดดูว่าในสถานะการปกติ ไม่มีใครบังคับใช้มาตรการณ์นี้กับคุณได้ (แม้คุณจะเป็นหนี้เขาก็ตาม)

แต่เมื่อคุณเข้าตาจน ก็ต้องไปอ้อนวอนเขา เป็นตามที่เขาขุดหลุมดักคุณไว้ แล้วคุณก็ยังเดินเข้าไป (ก็มันไม่มีทางอื่นแล้วนี้)

 

คิดเล่นๆ ถ้าขาใหญ่อยากล้มกระดานเอง เริ่มเกมใหม่ที่ได้เปรียบมากกว่าเดิม เป็นไปได้ไหมครับ?

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

  • ไซปรัส และทรอยกา ตกลงกันเรื่องอุ้มแบงค์ได้แล้ว
  • เงินฝากส่วนที่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ ยูโร ในธนาคารไซปรัส จะโดนปล้นร้อยละ ๒๐
  • ส่วนเงินฝากที่อยู่ธนาคารอื่นๆจะโดนปล้นร้อยละ ๔
  • ไซปรัสจะต้องหาเงินให้ได้ทั้งหมด ห้าพันแปดร้อยล้านยูโร ภายในวันจันทร์ เพื่อที่จะได้รับเงินช่วยเหลือ หนึ่งหมื่นล้านยูโร จากยูโรโซน (เคยได้อ่านว่าเงินกว่าหมื่นหกพันล้าน จะเอาไปทำอะไรบ้าง ก้อนใหญ่ๆ จะต้องเอาไปจ่ายดอก .... คล้ายๆกับกู้หนี้นอกระบบเปล่าครับ กู้หนี้ใหม่ มาจ่ายหนี้เก่า ... เพียงแต่พอพวกนายแบงค์เขาทำกัน เพื่อกดหัวปชช.ให้เป็นทาส มันไม่ผิดกฏหมายเท่านั้นเอง)
  • จนท.ชั้นผู้ใหญ่ของไซปรัสบอกว่า จะไม่แตะกองทุนบำเน็จบำนานของชาติ

http://rt.com/news/c...tax-troika-730/

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คิดเล่นๆ ถ้าขาใหญ่อยากล้มกระดานเอง เริ่มเกมใหม่ที่ได้เปรียบมากกว่าเดิม เป็นไปได้ไหมครับ?

 

รู้สึกงั้นเหมือนกันครับ คนพวกนี้มีเงินล้นฟ้าจนไม่รู้จะอยากได้เงินไปทำอะไรแล้ว

สิ่งที่เขาต้องการ น่าจะเป็นอำนาจในการควบคุมคนมากกว่า

  • หนี้ = ทาส
  • ตอนนี้เครดิตสะพัดทั่วโลก สร้างหนี้กันสนุกสนาน
  • แต่ระบบการเงินแบบนี้ มันไม่สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน
  • เมื่อทุกคนเป็นหนี้กันเต็มที่แล้ว ก็เตะขาเก้าอี้ให้มันล้มซะ (เงินกระดาษแทบไม่เหลือค่า, ส่วนมูลค่าที่เหลือ ก็ปล้นเอาแบบไซปรัส)
  • ในที่สุดคนก็ต้องเริ่มต้นที่ ๐ หาเงินกันใหม่ แต่หนี้เก่าไม่หายนะ ต้องใช้หนี้ต่อไป
  • มันคือระบบ ทาส ๒.๐ นี่เอง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รอดูพรุ่งนี้บ่ายๆจะเป็นอย่างไร

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รอดูพรุ่งนี้บ่ายๆจะเป็นอย่างไร

 

พรุ่งนี้บ่ายมีไรครับคุณหมอ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรื่องไซปรัสจะเป็นอย่างไรหลังธนาคารเปิดวันแรกครับ ที่เราคาดการณ์กันจะตรงหรือไม่ ^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรื่องไซปรัสจะเป็นอย่างไรหลังธนาคารเปิดวันแรกครับ ที่เราคาดการณ์กันจะตรงหรือไม่ ^^

:lol: ครับผม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

  • มันคือระบบ ทาส ๒.๐ นี่เอง

เกงจังคับคิดได้นิ version 2.0 (แล้วจะต่างจาก 1.0 ไงอะคับ :uu )

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

“ไซปรัส” บรรลุข้อตกลง EU สั่งปิดธนาคารอันดับสอง-ปลดล็อกเงินกู้ 10,000 ล้านยูโร blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 มีนาคม 2556 11:58 น.

 

 

blank.gif 556000003750601.JPEG ประธานาธิบดี นิคอส อนาสตาเซียเดส แห่งไซปรัส เดินออกจากสำนักงานสภายุโรปในกรุงบรัสเซลส์ วันนี้(25) หลังเข้าพบประธาน เฮอร์มาน แวน รอมปุย และเจ้าหน้าที่ที่เกียวข้อง เพื่อหารือเรื่องการขอรับเงินช่วยเหลือของไซปรัส blank.gif รอยเตอร์ - ไซปรัสบรรลุข้อตกลงปลดล็อกเงินช่วยเหลือ 10,000 ล้านยูโรจากองค์กรเจ้าหนี้ “ทรอยกา” ก่อนจะถึงกำหนดเส้นตายในวันนี้ (25) ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารใหญ่อันดับสองของประเทศถูกปิดตัวลง และมีการอายัดเงินฝากที่ไม่อยู่ในข่ายคุ้มครองตามกฎหมายอียู

 

ประธานาธิบดี นิคอส อนาสตาเซียเดส แห่งไซปรัส ใช้เวลาเจรจากับผู้นำสหภาพยุโรป, ธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศไอเอ็มเอฟ ซึ่งเรียกรวมว่า “ทรอยกา” นานกว่า 12 ชั่วโมง กว่าจะได้ข้อตกลงเบื้องต้นที่นำพาภาคธนาคารของไซปรัสให้รอดพ้นวิกฤตล้มละลาย มาได้

 

ข้อตกลงดังกล่าวซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรียูโรโซนอีก ครั้ง ระบุให้มีการสั่งปิด ป็อบปูลาร์ แบงก์ ออฟ ไซปรัส หรือ ไลกี และโอนบัญชีเงินฝากที่มีมูลค่าต่ำกว่า 100,000 ยูโรมายัง แบงก์ ออฟ ไซปรัส ธนาคารอันดับหนึ่งของประเทศ เพื่อสร้าง “ธนาคารดี” (good bank) ขึ้นมา

 

สำหรับเงินฝากที่เกินกว่า 100,000 ยูโร ซึ่งไม่อยู่ในข่ายได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายอียู จะถูกอายัดเพื่อนำไปใช้หนี้ของธนาคารไลกี และเพิ่มทุนให้กับ แบงก์ ออฟ ไซปรัส ผ่านกระบวนการแปลงเงินฝากเป็นทุน (deposit/equity conversion)

 

แหล่งข่าวอาวุโสซึ่งเข้าร่วมการเจรจา เผยว่า อนาสตาเซียเดส ถึงกับขู่จะลาออกหากถูกบีบคั้นจนเกินรับไหว และเดินออกจากสำนักงานใหญ่อียูไปโดยไม่มีแถลงการณ์ใดๆทั้งสิ้น

 

ประธานาธิบดีไซปรัสเดินทางไปประชุมที่กรุงบรัสเซลส์ด้วยเครื่องบิน เช่าเหมาลำของคณะกรรมาธิการยุโรป และใช้ความพยายามอย่างสูงที่จะคงสถานะของไซปรัสให้เป็นศูนย์กลางการเงินที่ ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนมหาศาลจากนักธุรกิจรัสเซียและอังกฤษ

 

Jeroen Dijsselbloem ประธานยูโรกรุ๊ป เปิดเผยว่า การอายัดเงินฝากของธนาคารไลกีคาดว่าจะสร้างรายได้ประมาณ 4,200 ล้านยูโร

 

การปิดธนาคารไลกี ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของไซปรัสจะส่งผลให้มีพนักงานถูกปลดอีกหลายพันตำแหน่ง

 

โฆษกอียูรายหนึ่งชี้ว่าจะไม่มีการเรียกเก็บภาษีจากบัญชีเงินฝากของ ธนาคารไซปรัสทั้งระบบ ทว่าผลกระทบที่ผู้ฝากเงินรายใหญ่ของแบงก์ ออฟ ไซปรัส และธนาคารไลกี จะได้รับอาจหนักหนาสาหัสกว่าแผนเดิมที่วางไว้ หลังจากสัปดาห์ที่แล้วรัฐสภาไซปรัสไม่ยอมรับแผนเรียกเก็บภาษีจากบัญชีเงิน ฝากธนาคารทุกประเภท

 

สหภาพยุโรปและไอเอ็มเอฟตั้งเงื่อนไขให้ไซปรัสหาวิธีสร้างรายได้ถึง 5,800 ล้านยูโรจากภาคธนาคารของตน ก่อนที่จะยอมอนุมัติวงเงินช่วยเหลือ 10,000 ล้านยูโร โดยประธานกองทุนเงินช่วยเหลือของอียูชี้ว่า ไซปรัสควรได้รับเงินช่วยเหลืองวดแรกภายในเดือนพฤษภาคมนี้

556000003750602.JPEG มิคาลิส ซาร์ริส รัฐมนตรีกระทรวงการคลังไซปรัส blank.gif

556000003750603.JPEG คริสติน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการใหญ่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) blank.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เกงจังคับคิดได้นิ version 2.0 (แล้วจะต่างจาก 1.0 ไงอะคับ :uu )

 

เรื่องเพ้อเจ้อผมถนัดครับ :lol:

  • ทาส ๑.๐ นี่ตัวอย่างก็เป็นสมัยที่พวกค้าทาสส่งทาสจากแอฟริกามาขายในเมืองลุงแซมไงครับ ซื้อขายได้ง่ายๆ เป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่ง ไม่ใช่มนุษย์ .... แต่พอมีการเลิกทาส ปรับกรอบทางสังคมใหม่ ระบบทาส ๑.๐ ก็อยู่ในหัวของทุกคนว่ามันเป็นสิ่งเลวร้าย ฯลฯ ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยที่ไม่ถูกต่อต้านจากสังคม
  • ส่วนทาส ๒.๐ นี่ แยบยลกว่า เพราะคนส่วนมากไม่รู้ตัวว่าเป็นทาสของเจ้าของธนาคารกลางเอกชน ที่มีสิทธิ์ผูกขาดในการพิมพ์เงิน(สร้างหนี้ให้กับสาธารณะ)เพื่อพวกพ้องได้ตามใจชอบ แต่คนที่ต้องออกแรงทำงานใช้หนี้คือประชาชนทั่วไป แถมระบบธนาคารกลางเอกชนนี่ไม่มีทางใช้หนี้ได้หมดอีกด้วย .... งานนี้เป็นทาสกันนานจนกว่าจะรู้ตัวครับ (เช่น ตาโป๊งเหน่งที่พิมพ์เงินมหาศาลเพื่ออุ้มแบงค์เน่าๆในเมืองลุงแซม และยุโรป โดยที่ชาวมะกัน และคนที่ถือเงินสกุลดอลล่าร์ ต้องรับผิดชอบหนี้ที่เกิดจากการพิมพ์เงิน)

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บ้านเราทาส Version 3.0 หรือเปล่าครับ ทาสไปอีอย่างน้อย 50ปี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...