ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

“แคทเตอร์พิลลาร์” ยักษ์ใหญ่วงการเครื่องจักร ประกาศปลดพนักงาน หลังยอดขายลดฮวบ-อุตสาหกรรมเหมืองย่ำแย่ blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 เมษายน 2556 15:50 น.

 

 

blank.gif 556000004382001.JPEG blank.gif เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - “แคทเตอร์พิลลาร์ อิงค์” ผู้ผลิตเครื่องจักรกลหนักรายใหญ่ของโลกจากสหรัฐฯ ประกาศปลดพนักงานออกอย่างน้อย 460 คน ตามมาตรการปรับโครงสร้างองค์กร หลังความต้องการของตลาดโลกต่อเครื่องจักรกลที่ใช้ใน “อุตสาหกรรมเหมืองแร่” ลดน้อยถอยลงในช่วงที่ผ่านมา จนส่งผลให้ยอดขายของบริษัทอยู่ในแดนลบต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว

 

รายงานข่าวซึ่งอ้าง ดักลาส อาร์.โอเบอร์เฮลแมน ประธานและซีอีโอของแคทเตอร์พิลลาร์ ที่มีการเผยแพร่ในวันเสาร์ (6) ระบุว่า ทางบริษัทมีความจำเป็นต้องสั่งปลดพนักงานออกอย่างน้อย 460 คนในเบื้องต้น ที่โรงงานผลิตเมือง ดีเคเทอร์ มลรัฐอิลลินอยส์

 

โดยคำแถลงระบุว่า ก่อนที่จะมีคำสั่งปลดพนักงานจำนวนดังกล่าว ทางบริษัทได้พยายามอย่างถึงที่สุดแล้วในการตัดลดค่าใช้จ่าย ด้วยวิธีตัดลดจำนวนชั่วโมงการทำงานของคนงานให้น้อยลง แต่ไม่เป็นผล จึงทำให้ต้องสั่งปลดคนงานออกในที่สุด

 

รายงานข่าวระบุว่า โรงงานแห่งดังกล่าวของแคทเตอร์พิลลาร์ในมลรัฐอิลลินอยส์ ถือเป็นหนึ่งในโรงงานที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะซบเซาของอุตสาหกรรม เหมืองแร่ทั่วโลก ซึ่งส่งผลให้ยอดขายเครื่องจักรกลที่เกี่ยวข้องของแคทเตอร์พิลลาร์ลดลงอย่าง ต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว

 

คำแถลงของแคทเตอร์พิลลาร์ระบุว่า คำสั่งปลดพนักงานในครั้งนี้จะกระทบกับพนักงานราว 11 เปอร์เซ็นต์ของโรงงานผลิตในมลรัฐอิลลินิอยส์ และจะมีผลภายใน 60 วัน

 

อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงภายในสำนักงานใหญ่ของแคทเตอร์พิลลาร์ อิงค์ที่เมืองเพออเรีย มลรัฐอิลลินอยส์ ระบุว่า ยักษ์ใหญ่แห่งวงการเครื่องจักรกลอเมริกันซึ่งก่อตั้งกิจการมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1925 รายนี้อาจมีความจำเป็นต้องปลดพนักงานออกเพิ่มเติมอีกนับพันคน หากยอดขายยังคงไม่กระเตื้อง และอาจกระทบกับขวัญกำลังใจของพนักงานในสังกัดที่มีอยู่มากกว่า 125,000 คนทั่วโลก

556000004382002.JPEG blank.gif

556000004382003.JPEG blank.gif

556000004382004.JPEG ดักลาส อาร์. โอเบอร์เฮลแมน ประธานและซีอีโอของแคทเตอร์พิลลาร์ blank.gif

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้าข่าวมาแบบนี้ทองจะลงใช่ป่าวคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

....

คำแถลงของแคทเตอร์พิลลาร์ระบุว่า คำสั่งปลดพนักงานในครั้งนี้จะกระทบกับพนักงานราว 11 เปอร์เซ็นต์ของโรงงานผลิตในมลรัฐอิลลินิอยส์ และจะมีผลภายใน 60 วัน

......

 

ที่เคยอ่านมา รัฐนี้เป็นรัฐที่มีเงินติดลบระดับน้องๆแคลิฟอร์เนีย และเก็บภาษีค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับรัฐอื่นๆ อ่านข่าวแล้วยังชั่งใจอยู่ว่า เป็นการสับขาหลอกพนักงานหรือเปล่า เพราะหลายๆบริษัทก็มักจะใช้เล่ห์กลแบบนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับสหภาพแรงงาน

  • แคทอาจจะต้องการลดภาระด้านค่าใช้จ่ายในรัฐนี้ แล้วค่อยๆย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นหรือเปล่า (จีเอ็ม ก็บอกว่าขาดทุน จะเจ๊ง ต้องให้รัฐอุ้ม ไม่งั้นคนจะตกงาน สูญเสียอุตสาหรกรรมเรือธงของประเทศ ฯลฯ ... พอรัฐอุ้มเสร็จ พี่แกก็ปิดโรงงานในเมืองลุงแซม ไปเปิดในเม็กซิโกแทน)
  • อีกอย่าง น่าจะเป็นการเตรียมรับมือค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นจากโอมาม่าแคร์ ที่จะบังคับให้ทำประกันให้พนักงานครอบคลุมขึ้น และค่าเบี้ยประกันสูงขึ้น

เพิ่มเติมข้อมูล (จากวิกิพีเดีย)

  • แคท มีโรงงานทั้งหมด ๑๑๐ โรงงานทั่วโลก (๕๑ โรงงานอยู่ในเมืองลุงแซม)
  • สืบเนื่องจากการปรับโครงสร้างของการดำเนินงานในช่วงปี ๑๙๙๐ จำนวนพนักงานที่อยู่ในสหภาพแรงงานลดลงไปถึง ๒๐,๐๐๐ ตำแหน่ง ในเมืองพีโอเรีย ในขณะที่มีการจ้างงานนอกประเทศเพิ่มขึ้น
  • ฐานการผลิตดั้งเดิมอยู่ในเมือง พีโอเรีย อิลลินอยส์ (ตอนนี้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่)
  • แคทมีโรงงานหลักอยู่ ๔ โรงงาน (ทั้งหมดอยู่ในอิลลินอยส์) .... โรงหลอมในเมืองเมเปิลตัน, โรงงานประกอบในเมืองอีสท์ พีโอเรีย, โรงงานผลิตเครื่องยนต์ ในเมืองมอสส์วิลล์, และโรงเก็บอะไหล่ที่เมืองมอร์ตัน

 

ข้อสังเกตส่วนตัว

  • จากที่ตัวแทนบริษัทให้ข่าว ต้องปลดคนในเมืองดีเคเตอร์ ๔๖๐ คน ซึ่งไม่ใช่โรงงานหลัก
  • ในแอฟริกา มีความพยายามในการขยายเหมืองแร่อยู่เรื่อยๆ
  • จากที่ฟังข่าว ในเมืองลุงแซม และแคนาดาเอง มีความพยายามในการขุดเจาะน้ำมัน และกาซธรรมชาติ กันพอสมควร
  • ถ้าอุปสงค์จากทั้งใน และนอกประเทศลดลง จนทำให้แคทต้องปลดคนงานจริงๆ ... นั่นหมายความว่า ๑)การขยายตัวสุทธิของธุรกิจที่ต้องใช้เครื่องมือหนักแบบแคทนั้นลดลง หรือ ๒)แคทสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับคู่แข่งรายอื่น

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ที่เคยอ่านมา รัฐนี้เป็นรัฐที่มีเงินติดลบระดับน้องๆแคลิฟอร์เนีย และเก็บภาษีค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับรัฐอื่นๆ อ่านข่าวแล้วยังชั่งใจอยู่ว่า เป็นการสับขาหลอกพนักงานหรือเปล่า เพราะหลายๆบริษัทก็มักจะใช้เล่ห์กลแบบนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับสหภาพแรงงาน

  • แคทอาจจะต้องการลดภาระด้านค่าใช้จ่ายในรัฐนี้ แล้วค่อยๆย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นหรือเปล่า (จีเอ็ม ก็บอกว่าขาดทุน จะเจ๊ง ต้องให้รัฐอุ้ม ไม่งั้นคนจะตกงาน สูญเสียอุตสาหรกรรมเรือธงของประเทศ ฯลฯ ... พอรัฐอุ้มเสร็จ พี่แกก็ปิดโรงงานในเมืองลุงแซม ไปเปิดในเม็กซิโกแทน)
  • อีกอย่าง น่าจะเป็นการเตรียมรับมือค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นจากโอมาม่าแคร์ ที่จะบังคับให้ทำประกันให้พนักงานครอบคลุมขึ้น และค่าเบี้ยประกันสูงขึ้น

ขอบคุณน้องwcgมากที่ตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการสลับขาหลอกหรือเปล่า เผอิญมีคนรู้จักที่สนิทเขาทำอุปกรณ์บางอย่างที่ใช้กับงานเหมืองแร่เลยโทรไปถาม

 

---เขาบอกว่าCATเพิ่งจะมาตั้งโรงงานที่ระยอง2โรงงาน

---เมื่อปลายปีที่แล้วCATมีแปลนจะสั่งของจากโรงงานคนรู้จัก เมื่อสัปดาห์ก่อนมีการเปลี่ยนแผนการสั่งกระทันหันยอดหายไปร่วมครึ่ง

---เดาว่าแคทสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับคู่แข่งรายอื่น เพราะยอดขายอุปกรณที่ใช้ในธุรกิจเหมืองแร่ของคนรู้จักยอดสั่งของยังเยอะแบบเป็นที่พอใจของโรงงานครับไม่มีตก

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

“จอร์จ โซรอส” ออกโรงเตือนการลงทุนใน “ทองคำ” สุดเสี่ยง แม้แบงก์ชาติหลายประเทศยังกว้านซื้อไม่เลิก blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 เมษายน 2556 16:47 น.

 

 

blank.gif 556000004421201.JPEG blank.gif

เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - จอร์จ โซรอส พ่อมดการเงินชื่อดัง ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี วัย 82 ปี เปิดใจให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เซาท์ไชนา มอร์นิงโพสต์ของฮ่องกงเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระบุทองคำได้สูญเสียความเป็น “ที่หลบภัยอันปลอดภัย” ในด้านการลงทุนไปแล้ว แม้ธนาคารกลางของหลายประเทศจะยังคงเดินหน้าซื้อทองคำมากักตุนไว้ต่อไป

 

โซรอสเปิดใจกับผู้สื่อข่าวของเซาท์ไชนา มอร์นิงโพสต์ โดยระบุว่า ในเวลานี้ทองคำกลายเป็นช่องทางการลงทุนที่ได้สร้างความผิดหวังแก่สาธารณชน ทั่วไป จากที่ผู้คนเคยให้ความสำคัญกับทองคำในฐานะของการลงทุนที่ปลอดภัยมาโดยตลอด

 

โซรอสระบุว่า สถานะของทองคำที่เคยถูกมองว่าเป็น “ที่หลบภัยอันปลอดภัย” ในด้านการลงทุนนั้นได้ถูกทำลายลงไปจนหมดสิ้นแล้ว หลังเกิดวิกฤตกับเงินยูโร จนเงินสกุลดังกล่าวเกือบถึงคราวล่มสลายในปีที่ผ่านมา โดยสิ่งที่เกิดขึ้นในยุโรปทำให้ทองคำกลายเป็นช่องทางการลงทุนที่ไม่ปลอดภัย อีกต่อไป ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากลดสัดส่วนการถือครองทองคำของตนลง แม้จะมีข่าวว่าธนาคารกลางของหลายประเทศจะยังเดินหน้าซื้อทองคำมาถือครองไว้ ในช่วงที่ผ่านมา

 

พ่อมดการเงินชื่อดังระบุว่า การลงทุนในทองคำที่เคยถูกว่าเป็นช่องทางที่มั่นคง กลับกลายเป็นการลงทุนที่มิอาจคาดการณ์ได้และสุ่มเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงได้ ตลอดเวลา หาใช่เป็นการลงทุนที่ปลอดภัยในระยะยาวอีกต่อไปแล้ว

 

ในส่วนของบทบาทของสาธารณรัฐประชาชนจีนต่อวิกฤตหนี้สินในกลุ่มยูโรโซน นั้น จอร์จ โซรอสเผยกับผู้สื่อข่าวของสื่อดังของฮ่องกง โดยแสดงความเชื่อมั่นว่าการที่จีนมีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ ไซปรัสเมื่อไม่นานมานี้ ถือเป็นส่งสัญญาณจากรัฐบาลปักกิ่งว่า ในความเป็นจริงแล้ว จีนยังคงต้องการให้เงินยูโรดำรงอยู่ต่อไป ในฐานะทางเลือก นอกเหนือจากเงินดอลลาร์สหรัฐ

 

อย่างไรก็ดี โซรอสเตือนว่า ยุคสมัยแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างร้อนแรงของจีนได้จบสิ้นไปแล้ว และไม่น่าจะมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจของจีนจะกลับไปเติบโตได้ในลักษณะเช่น เดียวกันนั้นอีก พร้อมเตือนว่าศักยภาพของเศรษฐกิจโลกในการรองรับสินค้าส่งออกของจีนอาจเหลือ ไม่มากนัก ซึ่งหมายความว่ามีความเสี่ยงที่จีนซึ่งยังคงต้องพึ่งพารายได้จากการส่งออก และการลงทุนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของตน อาจประสบภาวะการเติบโตที่ชะงักงันและหนทางเดียวที่จีนจะหลีกเลี่ยงภาวะดัง กล่าวได้ คือ ต้องหันไปกระตุ้นการบริโภคจากกำลังซื้อมหาศาลภายในประเทศตัวเอง แทนการพึ่งผู้ซื้อจากนอกประเทศอย่างที่ผ่านมา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิกฤตไซปรัสทำยุโรปตะวันออกแย่ ชี้ “สโลวีเนีย” อาจเป็นสมาชิกยูโรโซนรายต่อไปที่ ศก.ล่มสลาย blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 เมษายน 2556 15:17 น.

 

 

blank.gif 556000004413301.JPEG เยโรมิน เซ็ตเทิลเมเยอร์ รองหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของอีบีอาร์ดี blank.gif

เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - นักเศรษฐศาสตร์ระดับท็อปประจำธนาคารเพื่อการฟื้นฟูและการพัฒนาแห่งยุโรป (อีบีอาร์ดี) เตือนวิกฤตในไซปรัสคุกคามการเติบโตของหลายประเทศในยุโรปตะวันออก พร้อมชี้สโลวีเนียอาจกลายเป็นสมาชิกยูโรโซนรายต่อไปที่ต้องขอรับความช่วย เหลือทางการเงิน

 

เยโรมิน เซ็ตเทิลเมเยอร์ รองหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของอีบีอาร์ดี เผยที่สำนักงานใหญ่ของอีบีอาร์ดีในกรุงลอนดอนเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเตือนว่าวิกฤตในภาคธนาคารและหนี้สินจำนวนมหาศาลของไซปรัสจะส่งผลกระทบต่อ การเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศในยุโรปตะวันออกอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากยุโรปตะวันออกเป็นภูมิภาคที่ยังคงต้องพึ่งพาการไหลเวียนของเงินทุน ต่างชาติ และการส่งออกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในไซปรัสรวมถึงมาตรการช่วยเหลือของชาติในยุโรปต่อไซปรัส กำลังทำลายกลไกและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติไปจนหมดสิ้น

 

รองหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของอีบีอาร์ดีชี้ว่า ความเสียหายในระดับที่มิอาจยอมรับได้ที่เกิดขึ้นกับผู้ฝากเงินในธนาคารของ ไซปรัส เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินช่วยเหลือมูลค่า 10,000 ล้านยูโรนั้น กำลังสร้างความตื่นตระหนกให้แก่บรรดานักลงทุนต่างชาติและกระตุ้นให้เกิด ปรากฏการณ์เงินทุนไหลออกนอกประเทศมากยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า ประเทศในยุโรปตะวันออกที่ต้องพึ่งการไหลเวียนของเงินลงทุนจากต่างชาติในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด และคาดว่าประเทศที่จะได้รับผลกระทบอาจมีถึง 29 ประเทศ

 

เซ็ตเทิลเมเยอร์ยังเตือนว่า สโลวีเนียอดีตดินแดนคอมมิวนิสต์ชาติแรกที่ประกาศใช้ “เงินยูโร” เป็นเงินตราสกุลหลักของประเทศ อาจกลายเป็นประเทศสมาชิกยูโรโซนรายที่ 6 ที่ต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน หลังจากรัฐบาลสโลวีเนียต้องดิ้นรนอย่างหนักเพื่อฉุดรั้งเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ให้กลับเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นหนที่ 2 นับตั้งแต่ปี 2009 ขณะที่สัดส่วนของ “หนี้เน่า” ในภาคธนาคารของสโลวีเนียก็เพิ่มสูงขึ้นจนอยู่มีสัดส่วนกว่า 1 ใน 5 ของผลผลิตทางเศรษฐกิจของประเทศ หลังอุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศประสบภาวะล่มสลาย

 

ทั้งนี้ ข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เมื่อต้นปีระบุว่า สโลวีเนียจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านยูโรในปีนี้ ขณะที่ภาคธนาคารของสโลวีเนียก็ต้องการเงินอัดฉีดเพิ่มเติมอีกไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านยูโร

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขุนคลัง “ลักเซมเบิร์ก” ยันพร้อมเปิดกว้างตรวจสอบภาคการเงิน หลังถูกโจมตีเป็น แดนสวรรค์ของการ “เลี่ยงภาษี” blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 เมษายน 2556 14:38 น.

 

 

blank.gif 556000004411601.JPEG ลุค ฟรีเดน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของลักเซมเบิร์ก blank.gif เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - ทางการลักเซมเบิร์กเตรียมพิจารณาเปิดกว้างให้มีการตรวจสอบภาคธนาคารของตนมาก ขึ้น เพื่อความโปร่งใสและสนับสนุนความพยายามของนานาชาติต่อสู้กับการเลี่ยงภาษี ทั้งนี้เป็นการเปิดเผยของขุนคลังลักเซมเบิร์ก กับหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งของเยอรมนีเมื่อวันอาทิตย์ (7)

 

ลุค ฟรีเดน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของลักเซมเบิร์ก ซึ่งอยู่ในตำแหน่งมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2009 เผยระหว่างให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ฉบับประจำวันอาทิตย์ “Frankfurter Allgemeine Sonntagszeitung” โดยยืนยันว่าลักเซมเบิร์กพร้อมให้ความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับตรวจสอบด้าน ภาษีของรัฐบาลต่างประเทศ รวมถึงรัฐบาลเยอรมนี ในการปราบปรามอาชญากรรมทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน โดยเฉพาะการเลี่ยงภาษี

 

ที่ผ่านมานโยบายของธนาคารและสถาบันการเงินในลักเซมเบิร์ก ที่เน้นการ “รักษาความลับ” ของลูกค้าในระดับสูงสุด ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่ากลายเป็นช่องทางให้พวกนักธุรกิจ นักการเมือง รวมถึงพวกอาชญากรข้ามชาติใช้ลักเซมเบิร์กเป็นแหล่งฟอกเงินและหลบเลี่ยงภาษี โดยเยอรมนีถือเป็นหนึ่งในชาติที่เป็นตัวตั้งตัวตีมาโดยตลอดให้ลักเซมเบิร์ก เปิดกว้างให้มีการตรวจสอบความโปร่งใสของภาคธนาคารมากขึ้น

 

ในการเปิดใจล่าสุดกับหนังสือพิมพ์ของเยอรมนี ฟรีเดนยอมรับว่าขณะนี้ทางการลักเซมเบิร์กตระหนักดีว่าประเทศต่างๆ ต้องการให้ลักเซมเบิร์กเปิดกว้างทางด้านข้อมูลทางการเงินให้มากขึ้น ซึ่งรัฐบาลลักเซมเบิร์กเองก็เห็นด้วยที่ต้องให้มีการตรวจสอบธุรกรรมทางการ เงินที่น่าสงสัยที่เกิดขึ้นในดินแดนของตน พร้อมย้ำว่าประเทศของตนไม่ปรารถนาที่จะเป็น “สวรรค์ของการเลี่ยงภาษีและฟอกเงิน” แต่อย่างใด

 

ทั้งนี้ ลักเซมเบิร์กเป็นดินแดนขนาดเล็กในยุโรปที่มีประชากรเพียง 500,000 คน แต่ทว่าภาคธนาคารและสถาบันการเงินของลักเซมเบิร์กกลับมีมูลค่าทรัยพ์สินคิด เป็นสัดส่วนมากกว่า 20 เท่าตัวของผลผลิตทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

ท่าทีล่าสุดของรัฐมนตรีคลังลักเซมเบิร์กมีขึ้นหลังจากที่เมื่อวัน ศุกร์ (5) รัฐบาลเยอรมนีเพิ่งลงนามในข้อตกลงพิเศษเพื่อต่อต้านการเลี่ยงภาษีกับทางการส วิตเซอร์แลนด์ ศูนย์กลางทางการเงินอีกแห่งของยุโรปที่ขึ้นชื่อเรื่องการปกปิดความลับของ ลูกค้าธนาคารเป็นเลิศ โดยข้อตกลงดังกล่าวเปิดทางให้รัฐบาลเยอรมนีสามารถดำเนินการทางกฎหมายต่อ พลเมืองของตนได้หากพบหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายเลี่ยงภาษี ผ่านการเปิดบัญชีเงินฝากหรือการทำธุรกรรมทางการเงินใดๆ ในสวิตเซอร์แลนด์

 

blank.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลักเซมเบิร์ก กับ สโลเวเนีย ใครจะเกิดภาวะ BANK RUNก่อนครับ ส่วนตัวมองลักเซมเบิร์ก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายกฯ โปรตุเกสสั่ง “ตัดงบฯ สาธารณะ” หลังศาล รธน.ปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัด blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 เมษายน 2556 08:20 น.

 

 

blank.gif 556000004397501.JPEG นายกรัฐมนตรี เปโดร ปาสซอส แห่งโปรตุเกส ประกาศแผนตัดงบประมาณสาธารณะก้อนโต วานนี้(7) หลังศาลรัฐธรรมนูญปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัดในร่างงบประมาณปี 2013 blank.gif

เอเอฟพี - นายกรัฐมนตรี เปโดร ปาสซอส โกเอลโญ ประกาศตัดงบรายจ่ายสาธารณะก้อนโตเมื่อวานนี้ (7) หลังศาลรัฐธรรมนูญไม่ยอมรับมาตรการรัดเข็มขัดที่รัฐบาลเสนอไปในร่างงบประมาณ ปี 2013

 

โกเอลโญ มีถ้อยแถลงว่า รัฐบาลจะไม่ปรับขึ้นภาษีเพิ่มเติมในปี 2013 แต่จะมีมาตรการอื่นๆ เพื่อควบคุมรายจ่ายสาธารณะในด้านการประกันสังคม, สาธารณสุข และการศึกษา

 

ศาลรัฐธรรมนูญโปรตุเกสมีคำตัดสินเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (5) ว่า มาตรการรัดเข็มขัดที่เสนอมาในร่างงบประมาณขัดต่อกฎหมาย โดยเฉพาะแผนตัดเงินเดือนเดือนที่ 14 สำหรับพนักงานรัฐและข้าราชการเกษียณ และการตัดเงินช่วยเหลือกรณีว่างงานและเจ็บป่วย

 

รัฐบาลโปรตุเกสตำหนิคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญอย่างรุนแรง โดยชี้ว่าจะทำให้รัฐสูญเสียเงินออมไปอีกราว 1,200 ล้านยูโร และจะทำให้การลดรายจ่ายภาครัฐตามเงื่อนไขรับเงินช่วยเหลือ 78,000 ล้านยูโรจากสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ทำได้ยากยิ่งขึ้น

 

โกเอลโญเตือนว่า สถานะของโปรตุเกสขณะนี้ “เปราะบาง” ยิ่งกว่าแต่ก่อน และอาจส่งผลต่อการเจรจาเพื่อขอยืดเวลาชำระหนี้คืนแก่อียู

 

คณะกรรมาธิการยุโรปแถลงเตือนวานนี้ (7) ว่า รัฐบาลโปรตุเกสควรเคารพวัตถุประสงค์ของการมอบเงินช่วยเหลือ และ “การละเลยจุดประสงค์เหล่านั้นอาจทำให้ความพยายามที่ชาวโปรตุเกสกระทำมาโดย ตลอดต้องไร้ผล”

 

แผนตัดลดงบประมาณในปี 2013 ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาเมื่อปีที่แล้ว คาดว่าจะช่วยให้โปรตุเกสมีเงินออมเพิ่มขึ้น 5,300 ล้านยูโร

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

.....

เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - จอร์จ โซรอส พ่อมดการเงินชื่อดัง ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี วัย 82 ปี เปิดใจให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เซาท์ไชนา มอร์นิงโพสต์ของฮ่องกงเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระบุทองคำได้สูญเสียความเป็น “ที่หลบภัยอันปลอดภัย” ในด้านการลงทุนไปแล้ว แม้ธนาคารกลางของหลายประเทศจะยังคงเดินหน้าซื้อทองคำมากักตุนไว้ต่อไป

......

 

 

http://www.scmp.com/news/china/article/1208805/interview-george-soros

 

Gold was destroyed as a safe haven, proved to be unsafe. Because of the disappointment, most people are reducing their holdings of gold. But the central banks will continue to buy them, so I don’t expect gold to go down. If you have the prospect of a crisis, you will have occasional flurries or jumps. So gold is very volatile on a day-to-day basis, no trend on a longer-term basis.

 

อ่านพาดหัวผจก. และเปิดดูเนื้อข่าวผ่านๆ ..... ถ้าผจก.แปลข่าวไม่ครบ ผมก็อ่านไม่ครบ

จากต้นเรื่อง นสพ.ฮ่องกง ... โซรอสบอกต่อด้วยว่า "แต่ธนาคารจะยังคงพยายามซื้อทองเข้าต่อไป เพราะฉะนั้นผมจึงไม่คาดว่าทองจะลง"

 

ส่วน โซรอส จะสับขาหลอกหรือเปล่า อันนี้ไม่รู้....

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ส่วน โซรอส จะสับขาหลอกหรือเปล่า อันนี้ไม่รู้....

 

มี คนพูดว่าถ้าโซรอสมาเคาะประตูที่บ้านเขาเพื่อขอเข้าไปหลบฝนหน่อย เนื้อตัวเปียกโชก เขาจะไม่ให้โซรอสเข้าบ้าน แต่จะออกไปดูว่าฝนตกหนักจริงมั้ย และภาวะเปียกขนาดนั้นสัมพันธ์กับฝนที่ตกมั้ย ถ้าสมเหตุสมผลค่อยให้โซรอสเข้าไปหลบฝน

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลักเซมเบิร์กน่าจะเป็นรายต่อไป ส่วนโปรตุเกสก็เต้นพิงเชือกได้อีกยาว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดร.ไสว บุญมา คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "บ้านเขาเมืองเรา" จำนวนคนอ่าน 1820 คน

ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ แม้ชื่อบทความดูจะ เกี่ยวโยงกับไสยศาสตร์ แต่ขอเรียนว่าเรื่องที่จะเขียนต่อไปไม่เกี่ยวกับไสยศาสตร์ แก่นของเนื้อหามาจากแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ไทย

 

 

ซึ่งสอนอยู่ในมหาวิทยาแห่งหนึ่งในภาคอีสานและเคยทำงานกับองค์การอวกาศของสหรัฐอเมริกาชื่อ ทวิช จิตรสมบูรณ์

อาจารย์ท่านนี้มีวิธีคิดแบบหนึ่งซึ่งมักจะทะลุออกไปนอกกรอบที่คนทั่วไป ใช้อ้างอิง ผมไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์แต่เคยศึกษาวิถีของนักวิทยาศาสตร์และปราชญ์มาบ้าง ผมมองว่าอาจารย์ทวิชคิดแบบนักวิทยาศาสตร์และปราชญ์ที่แท้จริง การคิดแบบดังกล่าวนี้ในหลายๆ กรณีนำไปสู่การศึกษา ทดลองและวิจัยจนได้ผลอันทรงคุณค่าแก่สังคมมนุษย์ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น บางทีจะมีผู้ลบหลู่และหัวเราะเยาะ หรือหาว่าคงบ้าไปแล้ว ผมติดตามแนวคิดของอาจารย์ทวิชมาหลายปี ผมมองว่าเรื่องที่จะนำมาเล่านี้อาจมีผู้หัวเราะเยาะ แต่คนไทยควรนำไปพิจารณาโดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจบริหารประเทศและนักเศรษฐศาสตร์ ที่บริการคนเหล่านั้นอยู่

อาจารย์ทวิชมองว่าตำราฝรั่งเกี่ยวกับการคำนวณภาระหนี้สินของประเทศนั้น ใช้กับเมืองไทยไม่ได้เนื่องจากเมืองไทยเก็บภาษีได้ต่ำกว่าฝรั่งอย่างดินกับ ฟ้า แต่ใช้จ่ายเงินภาษีที่เก็บมาได้หมดไปในด้านการดำเนินงานรายวันมากกว่าฝรั่ง นักเศรษฐศาสตร์และนักการเมืองมักอ้างกันว่า ถ้าหนี้สินของประเทศอยู่ในอัตราต่ำกว่า 60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่เรามักเรียกกันติดปากว่า “จีดีพี” ประเทศจะสามารถชำระหนี้ได้แบบไร้ปัญหา การคิดตามแนวนี้กำลังนำไปสู่การกู้เงินจำนวน 2.2 ล้านล้านบาทเนื่องจากมันจะทำให้ภาระหนี้สินของชาติเพิ่มขึ้นเป็นราว 60% ของจีดีพีพอดิบพอดีจากภาระหนี้ซึ่งมีอยู่ประมาณ 44% ของจีดีพีในปัจจุบัน การที่ตัวเลขถูกดีดออกมาเป็นเช่นนั้นอาจารย์ทวิชตั้งข้อสงสัยอันน่าฟังว่า เพราะรัฐบาลคิดไว้ล่วงหน้าแล้วว่าจะนำเอาตำราฝรั่งมาอ้างเพื่อกล่อมคนไทยว่า หนี้ใหม่นี้จะไม่เป็นภาระที่สูงเกินไป

ตามแนวคิดของอาจารย์ทวิช เราใช้เกณฑ์ 60% ของจีดีพีไม่ได้ด้วยปัจจัยสองประการ คือ ประการแรก ฝรั่งเก็บภาษีได้ในอัตราสูงกว่าเราราว 2 เท่าตัว และประการที่สอง ฝรั่งใช้ภาษีที่เก็บมาได้นั้นหมดไปกับการดำเนินงานรายวันจำพวกค่าน้ำ ค่าไฟ และจ่ายเป็นเงินเดือนราว 60% ส่งผลให้เหลือเงิน 40% ที่สามารถนำไปใช้หนี้หรือลงทุนได้ ส่วนไทยเรานำภาษีที่เก็บได้ไปใช้เพื่อการดำเนินงานรายวันเสีย 80% ทำให้เหลือเพียง 20% เท่านั้นที่จะนำไปใช้หนี้ หรือเพื่อการลงทุนได้ (อาจารย์ทวิชบอกว่างบประมาณการศึกษาที่ได้ผลอันน่าอับอายของเราใช้เงินใน อัตราสูงเป็นเกือบสองเท่าของชาวโลก) ฉะนั้น ถ้านำตัวเลขคร่าวๆ เหล่านี้มาใช้เป็นเกณฑ์ เมืองไทยไม่ควรมีหนี้สินสูงเกิน 15% ของจีดีพี หรือภาระหนี้ที่อ้างว่า 60% นั้นอันที่จริงเป็น 240%

ขอเรียนว่าตามความเป็นจริง ฝรั่งโดยทั่วไปเก็บภาษีได้ในอัตราสูงกว่า 30% ของจีดีพีโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวียที่มีรัฐสวัสดิการสูงและ คนไทยชอบอ้างว่าอยากทำตามเขาบ้างทั้งที่เราเก็บภาษีได้เพียงเศษของเขาเท่า นั้น นั่นคือ ไทยเก็บภาษีได้ราว 17% ของจีดีพีในขณะที่เดนมาร์กเก็บได้ 49% ฟินแลนด์ 44% นอร์เวย์ 44% และสวีเดน 46% อัตราภาษีของเรานอกจากจะต่ำกว่าของเขามากแล้ว เมื่อได้เป็นเงินออกมาก็ยังต่ำกว่าของเขาแบบเทียบไม่ติดอีกด้วย ทั้งนี้เพราะรายได้ของเราต่ำกว่าของเขามาก อาทิเช่น เรามีรายได้ต่อหัวคนราว 8,600 ดอลลาร์ต่อปี ในขณะที่เดนมาร์กมีกว่า 40,000 ดอลลาร์ (17% ของ 8,600 คือ 1,462 ดอลลาร์ ส่วน 49% ของ 40,000 คือ 19,600 ดอลลาร์ นั่นหมายความว่าเขาเก็บภาษีเป็นรายคนได้เกินกว่า 13 เท่าของเรา แต่เราทราบดีแล้วว่าการรักษาพยาบาลซึ่งเป็นส่วนสำคัญของรัฐสวัสดิการนั้นใช้ เงินไม่ต่างกันมากนักเนื่องจากต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือแบบทันสมัยคล้าย กัน ฉะนั้น โบราณจึงเตือนว่าเมื่อเห็นช้างถ่าย ไม่ควรพยายามทำตามมัน)

สำหรับในด้านภาระหนี้สิน จะเห็นว่าญี่ปุ่นมีหนี้สูงถึงกว่า 235% ของจีดีพี แต่ญี่ปุ่นยังไม่ล้มละลายเพราะสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลา อาจจำกันได้ว่าประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 4 ประเทศที่ล้มละลายและต้องไปขอความช่วยเหลือจากภายนอกได้แก่ไอร์แลนด์ โปรตุเกส กรีซและไซปรัส ประเทศเหล่านี้มีภาระหนี้สินระหว่าง 87% ถึง 170% ของจีดีพี ตัวเลขเหล่านี้ชี้บ่งว่า ตัวที่จะชี้ว่าประเทศเสี่ยงต่อการล้มละลายหรือไม่มิใช่มีเพียงตัวเดียวเท่า นั้นซึ่งอาจารย์ทวิชพยายามจะบอก และเราอย่าไปลอกของเขามาทั้งดุ้นเนื่องจากภาวะของเราต่างกับของเขามาก

นอกจากนั้น อาจารย์ยังพูดถึงเรื่องอื่นที่มีความสำคัญยิ่ง อาทิเช่น ความคุ้มค่าของการลงทุน การรั่วไหลของเงินกู้และความจำเป็นเร่งด่วนมีหรือไม่ แม้จะไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ แต่อาจารย์ทวิชพูดถึงเรื่องเหล่านี้ได้ดีกว่านักเศรษฐศาสตร์ของรัฐบาลเสีย อีก ทั้งนี้คงเพราะนักเศรษฐศาสตร์บางคนเป็นจำพวกเมธีบริกรที่มักบิดเบือนหลัก วิชาการเพื่อเอาใจเจ้านายในวงการเมือง

โดยสรุป รัฐบาลไม่ควรยึดตัวเลขในตำราฝรั่งเป็นเกณฑ์สำหรับประเทศไทย หากใช้วิธีคิดที่อาจารย์ทวิชเสนอ ส่วนเกณฑ์ที่ได้ออกมาอาจไม่ตายตัวนัก แต่หากคิดกันแบบตรงไปตรงมา เงินกู้นำไปลงทุนแบบคุ้มค่า จัดเรียงตามลำดับเวลาก่อนหลังอย่างเหมาะสมโดยปราศจากความฉ้อฉล ผลย่อมออกมาดี ในด้านส่วนตัว ผมมีข้อสังเกตว่าการศึกษาความคุ้มค่าของโครงการลงทุนและความจำเป็นก่อนหลัง ยังมิได้ทำกัน ฉะนั้น กฎหมายกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาทเป็นเสมือนการเซ็นเช็คเปล่าให้ฝ่ายบริหารซึ่งย่อมผิดทั้งหลักการ บริหารและหลักการพัฒนาประเทศแน่นอน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...