ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขออีกทีครับเดี๋ยวนอนไม่หลับหาสาวๆมานอนกอดไม่ได้

 

วันก่อน ดร ประธานตังค์ชาติบอกว่ากู้เถอะโครงสร้างพฐ2บาทกว่าเอง อนาคตไม่เยอะหรอกครับ

 

ถูกต้องเลยครับที่ท่านพูด อนาคตตัวเลขนี้จะเล็กนิดเดียว. ทุกประเทศหลักทั่วโลกหาทางออกไม่ได้ พี่ไทยเองก็เจริญรอยตาม

 

เรากำลังขับเคลื่อนด้วยเงินเฟ้ออย่างเเท้จริง ทบทวนบทเรียนคุณnext ได้เลยเรื่องก๋วยเตี๋ยว

 

ทุกอย้างมีที่มาที่ไปครับ ก๋วยเตี๋ยวชามละร้อยเห็นเเน่เเละมันจะเห็นเร็วมาก

 

ผมเองไม่พอใจเรื่องค่าเงินบาทปัจจุบันเเน่ เพราะกระทบธุรกิจทางตรง เเต่ผมเข้าใจท่านผวก. ครับหากท่านลดดอกลงอีกตังค์เเดงเดียวละก็ don't cry for me Argentina. เเน่

 

เเล้วทองไปทางไหนดี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ในบรรยากาศที่ทองกำลังร่วง ผมขอยกคำทำนายเรื่องทุนนิยม จากคาร์ล มาร์กซ์(คศ.1818-1883)

ผู้เป็นต้นคิดระบบสังคมนิยม(คอมมิวนิสต์)

 

"มาร์กซ์ ไม่ได้ทำนายว่าจะเกิดประเทศคอมมิวนิสต์ แต่เอาเข้าจริง

เขาทำนายว่าทุนนิยมจะสร้างความสะเทือนเลื่อนลั้นไปทุกถิ่นฐาน

ตอนแรก ทุนนิยมจะแผ่ขยายไปทั่วโลก และปราบระบบเศรษฐกิจคู่แข่งอื่นไปสิ้น

 

ขั้นที่สอง ทุนนิยมจะนำมาซึ่งความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีในระดับที่ไม่เคยนึกฝันมาก่อน

ท้ายที่สุด กระบวนการทั้งสองอย่างนี้จะทำให้การตอบสนอง ความต้องการของมนุษย์

ทั่วทั้งโลกเป็นไปได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

 

ทุนนิยมขับเคลื่อนไปสู่การแสวงผลตอบแทนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ทุนนิยมต่างจากศักดินาตรงที่ ศักดินาสามรถอยู่รอดได้

จากเศรษฐกิจที่สถิต แต่ทุนนิยมต้องเติบโตอยู่เสมอไป

 

ผลกำไรปีที่แล้วคืองบลงทุนในปีนี้ การลงทุนจะดูสมเหตุสมผล

ก็ต่อเมื่อมีหวังจะได้ทุนเพิ่ม จากทุ่นที่ได้ลงไป แต่สุดท้ายกำไรเหล่านี้ ก็จะเหือดแห้งไป

ก็มีแต่ว่าโลกต้องใหญ่มาก ค่าจ้างต้องลดลงได้มาก และการผลิตต้องมีประสิทธิภาพอย่างมาก และต้นทุนต่ำมาก

 

ดังนั้นการทำกำไรจะยากเย็นแสนเข็ญขึ้นมากเมื่อปีกาลผ่านผัน และเศรษฐกิจก็จะเข้าสู่จุดสถิต(ไร้การเติบโต)

ภายใต้สภาพเช่นนี้ ชนชั้นกลางจะขีดชะตาว่าย่อมสูญสลายไป และกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรรมชีพ

ทุนจะกระจุกตัวมากขึ้นในมือของนายทุน รายใหญ่ยักษ์ไม่กี่เจ้าเท่านั้น ขณะที่คนอื่นที่เหลือก็ค่อย ๆ จนลง

 

เมื่อกระบวนการนี้ดำเนินไป ก็เป็นว่าไม่มีใครหนีวิกฤตนี้พ้น วิกฤตขั้นสุดท้าย คือคนส่วนใหญ่จะไม่สามารถ

เลี้ยงชีพได้ต่อไป เมื่อเป็นดังนี้แล้ว จิตสำนึกทางชนชั้นกรรมาชีพก็จะเติบใหญ่ขึ้นและการปฏิวัติกรรมาชีพ

ก็จะเกิดตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้

 

โดยเนี้อแท้แล้ว ทุนนิยมกำลังขุดหลุมฝังตนเองไปเรื่อย ๆ จากความสำเร็จอย่างยิ่งยวดของมันเอง"

 

(จากหนังสือ ย่อโลกทุนนิยม)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วรวรรณ ธาราภูมิ

 

5 ชั่วโมงที่แล้ว

Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง

 

11 เมษายน 2556

 

General News

----------------

 

• IMF เตือนให้ธนาคารกลางทั่วโลกอดทนต่อแรงกดดันทางการเมืองที่รัฐบาลกำลังทำทุกวิถีทางเพื่อลดอัตราการว่างงานลง ธนาคารกลางจึงจะต้องพยายามรักษาอำนาจไม่ให้อยู่ในความควบคุมของรัฐบาล เพื่อระวังปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ

 

• ธนาคารกลางฝรั่งเศส คาดว่า เศรษฐกิจฝรั่งเศสจะขยายตัว 0.1% ในไตรมาสแรก เป็นการฟื้นตัวหลังการหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน

 

• อิตาลีประเมินว่าหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 130.4% จาก 127% ในปีก่อน เป็นผลจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่จะหดตัวลง 1.3% และการขาดดุลงบประมาณ 2.9% ต่อ GDP ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม การขาดดุลในระดับดังกล่าวจะทำให้อิตาลีผ่านเกณฑ์การขาดดุลงบประมาณที่กำหนดไว้ที่ 3% ของสหภาพยุโรป

 

• ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ยื่นร่างกฏหมายงบประมาณประจำปี 2557 ต่อสภาคองเกรสไปแล้ว โดยตั้งรายจ่ายไว้ 3.77 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งมีการลดรายจ่ายด้านสาธารณสุขและ สวัสดิการสังคมลง ทำให้การขาดดุลงบประมาณปี 2557 จะอยู่ที่ 744 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็น 4.4% ของ GDP อันเป็นระดับการขาดดุลที่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่โอบามารับตำแหน่ง

 

ทั้งนี้ ที่การพิจารณาร่างงบประมาณล่าช้ากว่าที่ควรไปเกือบ 2 เดือนนั้น เป็นเพราะเดโมแครตกับรีพับลิกันตกลงกันไม่ได้ในหลายประเด็น

 

• รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ประจำเดือน มี.ค.ระบุว่า คณะกรรมการบางส่วนเห็นควรที่จะหยุดมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (QE) ในสิ้นปี หลังจากที่แนวโน้มตลาดแรงงานที่เริ่มฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น

 

• Fitch ลดอันดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินหยวนของจีนลงเหลือ A+ เป็นผลมาจากการกู้ยืมของรัฐบาลท้องถิ่นที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อให้กับรัฐบาลท้องถิ่นยังขาดความโปร่งใส โดยหนี้สินสุทธิของรัฐบาลท้องถิ่น ณ สิ้นปีอยู่ที่ 12.85 ล้านล้านหยวน คิดเป็น 25.0% ของ GDP เพิ่มขึ้นจาก 23.4% ในปีก่อน

 

ทั้งนี้ Fitch เตือนว่าภาคธนาคารจีนกำลังเผชิญความเสี่ยงมากขึ้นจากการปล่อยกู้นอกระบบที่คาดว่ามีสัดส่วนถึง 60% ของ GDP

 

• การส่งออกของจีนในเดือน มี.ค.เพิ่มขึ้น 10% มาอยู่ที่ 182.2 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 14.1% เป็น 183.1 พันล้านดอลลาร์ ส่งผลให้จีนขาดดุลการค้าครั้งแรกในรอบ 1 ปี ไป 884 ล้านดอลลาร์ โดยมีเหตุจากความต้องการในตลาดโลกที่ยังคงชะลอตัวจนส่งผลกระทบต่อการส่งออกของจีน ตรงข้ามกับการนำเข้าที่เร่งตัวขึ้นตามความต้องการในการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศ

 

• มาเลเซียกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปเป็นวันที่ 5 พ.ค. หลังจากนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัค ยุบสภาไปเมื่อวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา

 

• การส่งออกของฟิลิปปินส์ในเดือน ก.พ.ลดลง 15.6% เหลือ 3.74 พันล้านดอลลาร์ เพราะส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลดลง 36.5% ไปอยู่ที่ 1.48 พันล้านดอลลาร์

 

• กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง แสดงความเป็นห่วงการแข็งค่าอย่างรวดเร็วของค่าเงินบาท หลังจากหลุดระดับ 29 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่แข็งค่าสุดในรอบ 16 ปี

 

อย่างไรก็ตาม ได้ยืนยันว่าจะไม่แทรกแซงการดำเนินงานของ ธปท.และจะพยายามดูแลเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ตามอำนาจที่กฎหมายกำหนด

 

• ปลัด ก.คลัง เปิดเผยว่า จะเร่งชำระคืนและรีไฟแนนซ์เงินกู้ต่างประเทศในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่า ซึ่งรวมถึงหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่จะชำระคืนให้ต่างประเทศ 1 แสนล้านบาทในปีนี้ ทั้งนี้ เชื่อว่า ธปท.จะดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นไปตามกลไกของตลาดได้ โดยไม่จำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

 

Equity Market

---------------

 

• SET Index ปิดที่ 1,490.25 จุด เพิ่มขึ้น 19.53 จุด หรือ +1.33% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 43,493.22 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิมูลค่า 2,074 ล้านบาท ทั้งนี้ ดัชนีเร่งตัวขึ้นในครึ่งบ่ายหลังตลาดหุ้นในยุโรปเปิดตัวในแดนบวก และจากความคาดหวังต่อรายงานของธนาคารกลางสหรัฐที่คาดว่า จะยืนยันการดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินต่อไป

 

Fixed Income Market

------------------------

 

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวอายุ 8 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลง -0.06% ถึง - 0.01% ตามผลการประมูลพันธบัตรรุ่น LB27DA และ LB416A สำหรับวันนี้ไม่มีการประมูล

 

Gold Corner

--------------

 

• จีนนำเข้าทองคำจากฮ่องกงในเดือน ก.พ. 97.106 ตัน เพิ่มขึ้น 89% เพราะราคาทองคำที่ลดลงถึง 5.3% ได้กระตุ้นความต้องการเพื่อลงทุนและเก็งกำไรทองคำในจีน

 

• Goldman Sachs ลดเป้าหมายราคาทองคำในปีนี้ลงเหลือ 1,545 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จาก 1,610 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในการประเมินครั้งก่อน และยังปรับลดเป้าหมายในปี 2557 ลงเหลือ 1,350 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากเดิม 1,490 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากมองว่ามีความต้องการลงทุนในทองคำลดลงอย่างรวดเร็วแม้ว่าความเสี่ยงของเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐจะยังคงมีอยู่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โกล์ ดแมนซัค เคยมีประวัติหลอกให้ลูกค้าขายสิ่งที่ตัวเองอยากซื้อ และหลอกให้ลูกค้าซื้อสิ่งที่ตัวเองอยากขาย ลองดูข่าวนี้ประกอบ

http://www.108acc.co...1%E0%B8%87.html

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จับตาแบงก์ชาติปรับกลยุทธ์วัดดวงสินทรัพย์เสี่ยง

  • 10 เมษายน 2556

67AD57BD3DC54B5FA06DAF0A41D509BF.jpg

 

 

 

โดย...ณัฐสุดา จิตตปาลพงศ์

นับเป็นความเคลื่อนไหวที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด สำหรับการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนของบรรดาธนาคารกลางทั่วโลก

เพราะล่าสุด ธนาคารรอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ (อาร์บีเอส) ได้ทำการสำรวจธนาคารกลางของ 60 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีทุนสำรองระหว่างประเทศรวมกันสูงถึง 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 210 ล้านล้านบาท) พบว่าส่วนใหญ่นั้นกำลังวางแผนนำทุนสำรองระหว่างประเทศเข้าไปลงทุนใน สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นและสกุลเงินและพันธบัตรของรัฐบาลประเทศเศรษฐกิจเกิด ใหม่ หลังจากที่ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น สินทรัพย์เหล่านี้ถือเป็นแหล่งลงทุนที่แบงก์ชาติส่วนใหญ่ไม่กล้าแม้แต่จะแตะ ด้วยซ้ำ

ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า 8 ใน 60 ของธนาคารกลางได้เข้าไปลงทุนในหุ้นบ้างแล้ว ส่วน 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดยอมรับว่า มีหุ้นเป็นทุนสำรองแล้ว หรืออย่างน้อยก็มีแผนที่จะเข้าไปลงทุนในหุ้นภายในช่วงเวลา 5 ปี ข้างหน้านี้

ขณะเดียวกัน 70% เปิดเผยว่า สนใจลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่ถูกจัดอันดับเครดิตในระดับ A มากขึ้น ซึ่งมากกว่าสัดส่วนแบงก์ชาติที่ยังให้ความสำคัญกับพันธบัตรรัฐบาลในระดับทริ ปเปิลเอ (AAA) หรือระดับสูงสุด ขณะที่ 20% นั้นสนใจลงทุนในพันธบัตรที่มีเครดิตในระดับขยะหรือ “จังก์” รวมทั้งหุ้นกู้ภาคเอกชน

ในส่วนของสกุลเงินหรือสินทรัพย์ต่างประเทศ ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดขณะ นี้ ประกอบด้วยเงินเหรียญแคนาดา เงินเหรียญออสเตรเลีย เงินเหรียญนิวซีแลนด์ ตลอดจนสกุลเงินกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เงินเรียลของบราซิลและเงินหยวนของจีน

แน่นอนว่า สาเหตุหลักของความเคลื่อนไหวครั้งนี้คือ ความพยายามของแบงก์ชาติที่จะเสาะหาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า หลังการดำเนินมาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงินของบรรดาเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ นำโดย สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งล่าสุดประกาศอัดฉีดเงินล็อตใหญ่มูลค่าสูงถึง 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 42 ล้านล้านบาท) ได้ฉุดผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเหล่านี้อย่างหนัก โดยข้อมูลจากอาร์บีเอสยังพบว่า มากถึง 4 ใน 5 ของตัวแทนแบงก์ชาติที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้ตัดสินใจเปลี่ยนกลยุทธ์การลง ทุนเพราะความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ล้วนๆ

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ของรัฐบาลสหรัฐและเยอรมนี ซึ่งถูกยกให้เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยมากที่สุด อยู่ที่ระดับ 1.75% และ 1.24% ตามลำดับ ซึ่งนับว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับผลตอบแทนจากเงินปันผลของดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 ในตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งอยู่ที่ระดับ 2.45%

“พันธบัตรเหล่านี้ปลอดภัยก็จริง แต่ก็เริ่มหมดเสน่ห์แล้วเพราะผลตอบแทนต่ำมาก ในทางตรงกันข้าม สัดส่วนของหุ้นในทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งเมื่อ 5 ปีที่แล้ว แทบจะอยู่ที่ระดับ 0 นั้น ก็พุ่งขึ้นอย่างแรง และมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีก” แกร์รี สมิต จากบีเอ็นพี พาริบาส์ อินเวสต์เมนต์ พาร์ตเนอร์ กล่าว

สอดคล้องกับความเห็นของแพททริก ทอมป์สัน จากเจพี มอร์แกน แอสเซท แมนเนจเมนต์ ซึ่งมองว่า การซื้อหุ้นได้กลายเป็นเทรนด์ใหม่เสียแล้ว โดยเฉพาะในบรรดาธนาคารกลางที่มีปริมาณทุนสำรองในระดับสูง

ไล่เรียงตั้งแต่ประเทศเช็ก ซึ่ง อีวา แซมราซิโลวา คณะกรรมการธนาคารกลางของประเทศ เปิดเผยว่า ทางธนาคารได้เพิ่มการถือครองหุ้นจนปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนของทุนสำรองทั้ง หมดถึง 10%

“อัตราผลตอบแทนเงินปันผลพุ่งแซงหน้าผลตอบ แทนพันธบัตรแล้ว” แซมราซิโลวา เปิดเผย พร้อมย้ำว่า แม้จะลงทุนในหุ้นมากขึ้น ทว่า ธนาคารกลางก็สามารถรักษาสถานะความเสี่ยงในระดับต่ำได้

เช่นเดียวกับแบงก์ชาติเกาหลีใต้ ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้เข้าไปซื้อหุ้น โดยเฉพาะในตลาดหุ้นจีน จนดันให้การถือครองหุ้นพุ่งแตะระดับ 5.4% จากระดับ 3.1% เมื่อปี 2552 ตลอดจนธนาคารกลางอิสราเอล ที่เพิ่งเริ่มลงทุนในสินทรัพย์ประเภทหุ้นครั้งแรกเมื่อปีที่ผ่านมา โดยซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ และตั้งเป้าจะเพิ่มการถือหุ้นเพิ่มขึ้นจากเดิม 2% เป็น 8% คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.4 แสนล้านบาท)

ด้านผู้ว่าการแบงก์ชาติจีนก็ เคยเผยแผนที่จะเข้าซื้อ สกุลเงินประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มากขึ้น เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับทุนสำรองระหว่างประเทศของแดนมังกร ตลอดจนหวังกอบโกยผลตอบแทนในอัตราที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากไม่ระมัดระวังการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้ย่อมมีความเสี่ยงไม่น้อย สำหรับธนาคารกลาง ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนเตือนว่าอาจถึงขั้นสั่นคลอนตลาดการเงิน รวมทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศได้

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า “ทุนสำรองระหว่างประเทศ” คือ สินทรัพย์ที่ถือครองหรืออยู่ภายใต้การควบคุมของธนาคารกลางของแต่ละประเทศ โดยทุนสำรองนั้นมีหลากหลายประเภทไล่เรียงตั้งแต่เงินตราต่างประเทศ ทองคำ ตลอดจนพันธบัตรรัฐบาล

หน้าที่สำคัญของทุนสำรองระหว่างประเทศ คือ การรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งใช้เพื่อแทรกแซงค่าเงิน และใช้ค้ำประกันการพิมพ์ธนบัตร ทว่า ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางสามารถนำทุนสำรองไปลงทุนได้เพื่อให้เกิดดอกผล

ความเสี่ยงที่อันตรายสุด คือ ความเสี่ยง “ขาดทุน” เพราะต้องไม่ลืมว่า การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินทรัพย์ประเภทหุ้นนั้นขึ้นอยู่กับสภาวะตลาด รวมทั้งผลประกอบการของแต่ละบริษัท

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทางบีโอเจจะเคย ประกาศผลประกอบการขาดทุน 281 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 8.43 พันล้านบาท) เมื่อปี 2554 หลังมูลค่ากองทุนรวมที่จดทะเบียนซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ (อีทีเอฟ) ที่ธนาคารถือครองอยู่นั้นดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 27 ปี

เช่นเดียวกับธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (เอสเอ็นบี) ซึ่งเมื่อปี 2554 ยอมรับว่า ขาดทุน 1.35 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 4.05 แสนล้านบาท) หลังก่อนหน้านั้น ทุ่มซื้อสกุลเงินต่างประเทศในปริมาณมหาศาลเพื่อพยายามสกัดการแข็งค่าของเงิน ฟรังก์สวิส จนทำให้ธนาคารเสี่ยงหนักต่อความผันผวนของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ

ในส่วนของ “จังก์บอนด์” นั้น แน่นอนว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงมาก เพราะหมายถึงตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือบริษัทที่มีความเสี่ยงสูงที่จะ “ผิดชำระหนี้” นั่นเอง

“การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนของแบงก์ ชาติหลายแห่งสร้างความกังวลให้ กับนักลงทุนไม่น้อยว่า การไหลทะลักของเงินทุนปริมาณมหาศาลในสินทรัพย์ความเสี่ยงสูง ซึ่งบางทีขาดความโปร่งใส ก็อาจนำไปสู่ภาวะสั่นคลอนในตลาดการเงินได้” ไฟแนนเชียล ไทมส์ ระบุ

ยิ่งไปกว่านั้นคือ หลายฝ่ายกังวลว่า หากธนาคารกลางประสบภาวะขาดทุนยับเยินก็จะกระทบต่อการทำงานของธนาคารอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันปริมาณการลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงของธนาคารกลางยังคงไม่ มากนัก ทว่า ผู้เชี่ยวชาญต่างเชื่อว่าหากบรรดาเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ของโลก ยังคงเดินหน้าอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แบงก์ชาติเหล่านี้ก็จะยอมเสี่ยงเพื่อให้ได้มาซึ่งผลตอบแทนที่ดีกว่า

จะเป็นเดิมพันที่คุ้มค่าหรือไม่นั้น เวลาเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

“Today was a coordinated attack on gold. We had the Goldman Sachs recommendation to short gold. We also had the Federal Reserve Open Market Committee notes quite unusually released before the opening. Then we had the mainstream media focus on the sale of Cyprus gold, and Mrs. Lagarde on the wire telling people everything was fine with the economy.

 

ลุงจิมบอกว่าวันนี้(เมื่อคืนของบ้านเรา) เกิดการร่วมมือกันทุบทองคือ

-โกลด์แมนซัค ออกมาบอกให้ S ทอง

-ข่าวรั่วของเฟดที่ออกมาก่อนเวลาว่าจะหยุดQE

-ไซปรัสจะขายทอง (แค่ 10 ตันเท่านั้นเอง)

-IMF ออกมาประกาศว่าเศรษฐกิจยังดียู้

เท่านั้นแหละพี่น้องเอ๊ย รูดเลย :_cd

 

 

 

ฮาร์วี่ย์ ออร์แกน เขียนประชดไว้ว่า เป็นเหตุผลที่ดีที่ทองจะลงเพราะเหมืองทองของบาร์ริกที่ชิลีถูกศาลตัดสินให้หยุด(เพราะทำลายธารน้ำแข็งและแหล่งน้ำ) ผลผลิตทองลดลง...ทองลง 555

 

The Chilean court suspends Barrick's operation at Pascua Lama. They reduces gold supply. Good reason for gold to go down today.

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองคำจริงขาด กองทุน SPDR เจ้าของคือใครหนอ ช่างช่วยทุบอีกแรง เศรษฐกิจดีจริง คนน่าจะเปลี่ยนคอมมากขึ้น iMac ตัวใหม่ๆ น่าจะขายดีขึ้นนะ ทำไมยอดตกลง แปลกๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Goldman Suck says :gvme Please S Gold Because if everyone want delivery we don't have it

 

อันนี้แต่งเองคับ ฮา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:Announce เจ้ามือใช้สื่อแหกตาว่าไซปรัสขายทอง

 

:uu โฆษกของธนาคารกลางไซปรัสบอกว่าเรื่องนี้ยังไม่เคยคุยกันเลย

 

 

Cyprus Central Bank Spokesperson says $523mln Gold Sale Never Discussed

 

News of Cyprus’ planned sale helped drive gold down the most in five months.

 

http://www.kitco.com...0DC_cyprus.html

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองคำจริงขาด กองทุน SPDR เจ้าของคือใครหนอ ช่างช่วยทุบอีกแรง

 

หนึ่งในเจ้าของก็คือคนไทยที่ลงทุนผ่านกองทุนทองคำ เกือบทุกเจ้าจะไปลงผ่านSPDR(กสิกรลง กรุงเทพน่าจะลงและเจ้าอื่นๆ) ที่ไม่ลงในกองนี้ที่รู้คือธนชาต

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

SPDR ขายมากเป็นเพราะพวกเราขายของออกไปหรือครับ??

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

IMF เด๋วนี้ White Lies เหมือนรมต.บ้านเราแล้วหรือเนี่ย ติดต่อกันได้ด้วย แปลกๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

SPDR ขายมากเป็นเพราะพวกเราขายของออกไปหรือครับ??

ใช่ครับ เพราะกองทุนนี้เป็น passive fund

ที่ผ่านๆมาขายมากก็เพราะคนขายหุ้นของ SPDR (ส่วนมากก็พวก hedge fund ทั้งหลายแหล่นั่นแหละครับ)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ สงสัยเอาไปเล่นหุ้นกันหมด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...