ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ลึกๆผมก็ห่วงเรื่องว่าสงครามจะเกิดขึ้น แต่เช้านี้ผมมีความคิดแวบในหัวว่าสงครามโลกครั้งที่3เริ่มไปแล้ว เกือบทุกประเทศโดนโจมตีแล้วเพราะพวกเราคุ้นเคยกับภาพสงครามที่รบกันด้วยอาวุธมาตลอดหรือเปล่า ลองมองอีกทีว่าช่วงเกิดต้มยำกุ้งประเทศของเราเสียหายขนาดไหน ธนาคารหลายแห่งต้องขายหุ้นให้ต่างชาติ ตอนนั้นประเทศไทยตกเป็นเมืองขึ้นทางเศรษฐกิจ กลุ่มคนที่โจมตีเราเขากำไรไปมากมายขนาดไหนแล้วประเทศเราเสียหายขนาดไหน คนตกงานมากขนาดไหน

 

เรื่องเกาหลีเหนือเป็นการดึงจุดสนใจของทุกคนออกจากสงครามจริงที่เกิดขึ้นแล้วในระบบเงินตราหรือเปล่า

 

อเมริกาและยุโรปพิมพ์เงินมามากมายตั้งแต่ปีที่เกิดวิกฤต(ระบบปัจจุบันต้นทุนการพิมพ์ยิ่งถูกเพราะแค่กดตัวเลขเข้าไปในระบบ) สุดท้ายเงินก็ไหลไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในต่างประเทศ เขาพิมพ์เป็นประเทศแรกๆ ถึงวันนี้เงินที่พิมพ์ไปซื้อสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกไว้เยอะมากแล้วตั้งแต่ต้น ตอนนี้ก็สูบลมให้สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกโป่งพองให้เยอะที่สุดเพื่อกอบโกยกำไร

 

---ญี่ปุ่นเริ่มเห็นว่าสงครามเกิดขึ้นแล้วเขาถึงพิมพ์เงินสู้ด้วยอัตราความเร่งสูงมาก

 

บางประเทศประชาชนก็ไม่กล้าฝากเงินแล้ว เพราะกลัวโดนยึด ถอนเงินออกมาแล้วจะทำอย่างไร หันไปที่ทองคำก็เจอข่าวลบอย่างมากมายจากกลุ่มขาใหญ่(พวกเขาสร้างภาพว่าทองคำไม่ใช่Safe Heavenอีกแล้ว ราคากำลังจะไหลลง) หันมาที่หุ้นปรากฎว่าน่าสนใจมาก สร้างผลกำไรอย่างเยี่ยมยอด

 

สงครามที่เริ่มไปแล้ว

----พิมพ์เงินเพิ่มอย่างมากมาย ไปซื้อสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก(รวมทั้งค่าเงินด้วย)

----เมื่อซื้อได้มากพอแล้วก็สูบลมให้โป่งพองเพื่อกอบโกยกำไร โดยทำให้ประเทศอื่นต้องนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาเข้าสู่สงครามครั้งนี้

----ทำให้ประชาชนกลัวการฝากเงิน(เล่นกับความกลัวเพราะกลัวโดนยึด) ถอนเงินออกมา เงินที่ถอนออกมาจำนวนไม่น้อยก็ไหลไปสินทรัพย์เสี่ยง

----ใช้ความโลภเข้าล่อ ประเทศที่ไม่เกิดวิกฤตอย่างประเทศไทย ตอนนี้นักลงทุนหน้าใหม่ในตลาดหุ้นเพิ่มอย่างมากมาย ผมไปธนาคารอาทิตย์ที่แล้ว ธนาคารมีโต๊ะสำหรับแนะนำการลงทุนโดยเฉพาะแล้ว

----ให้ข่าวร้ายสำหรับทองคำและทุบราคาทองคำเพื่อเขาจะเอาเงินกระดาษที่พิมพ์มาอย่างถูกๆ มาซื้อทองคำเก็บไว้เอง

 

----เมื่อสงครามโลกครั้งที่3ใกล้จบ เมื่อพวกเรารู้ตัวกันอีกทีว่ารูปแบบสงครามเปลี่ยนไป ก็โดนปล้นไปเรียบร้อยแล้วทั่วโลก

 

ผมว่าใกล้ก่อสงครามโลกครั้งที่ ๓ เพื่อล้างไพ่ และ ดึงความสนใจจากปัญหาเศรษฐกิจ แล้วหละครับคุณหมอ

 

ฟังมุมมองนักวิแคะหลายๆคนเรื่องกรณีตาคิมจองอึน มีคนนึงมองเกมไว้ได้น่าสนใจ

  • คิมฯ ต้องการแสดงให้ประชาชนเห็นว่าข้าแน่ เลยต้องประกาศอย่างโน้นอย่างนี้
  • แต่เฮียแกไม่กล้าเอาจริงๆหรอก เพราะถ้าลงมือเมื่อไหร่ มะกันเอาคืน มีแต่ตายกับตาย
  • การแปลคำประกาศของรัฐบาลเกาหลีเหนือออกสื่อทั่วโลก แปลแบบไม่ตรงไปตรงมา เพื่อสร้างความชอบธรรมในการหาเรื่องกาหลีเหนือ (อันนี้ไม่รู้จริงหรือเปล่า เพราะ ฟังเกาหลีไม่ออก -- เขาบอกว่า เกาหลีเหนือไปคุยกับยูเอ็น แล้วบอกว่า ถ้าลุงแซมยังไม่เลิกมายั่วยุเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือจะไม่มีทางเลือกนอกจากใช้อาวุธนิวเคลียร์ -- ในขณะที่ข่าวออกสื่อ เขาบอกว่า เกาหลีเหนือไปบอกยูเอ็นว่า กรูจะใช้อาวุธฯฉะกับลุงแซม)
  • จีนที่เป็นเพื่อนของเกาหลีเหนือ ก็พยายามบอกว่า เอ็งอย่าซ่า แต่เกาหลีเหนือก็ไม่ค่อยฟัง
  • ลุง แซมเลยส่งกองเรือรบ และซ้อมรบก้บเกาหลีใต้ บินเลียบๆชายแดน เพื่อยั่วให้ตาคิมเริ่มเอาก่อน (หรือไม่ก็ยิงเครื่องบินตัวเองตกซักเครื่อง แล้วบอกว่าตาคิมทำ)
  • ลุงแซมมิได้สนใจเกาหลีเหนือนักหรอก แต่คาดไว้ว่าถ้าได้ฉะกับตาคิมเมื่อไหร่ จีนเพื่อนซี้ จะต้องลงมาเล่นด้วย**
  • สรุปว่า ลุงแซมได้ทำสงครามกับจีนสมใจอยาก (เพราะหาเรื่องสร้างความชอบธรรมเพื่อทำสงครามกับจีนตรงๆไม่ได้)
  • ที่ อยากทำสงครามกับจีนก็เป็นเพราะว่า ตอนนี้จีนเที่ยวไปทำข้อตกลงการค้าโดยไม่ใช้เงินเหรียญลุงแซม กับประเทศต่างๆเต็มไปหมด ถ้าเมื่อไหร่ทำสงคราม ก็จะมีโอกาสให้ลุงแซมสร้างความชอบธรรมในการห้ามประเทศอื่นทำการค้าโดยใช้ เงินหยวนได้ (เขาว่า เรื่องนี้แหละ คือสิ่งที่ลุงแซมต้องการจริงๆ)

** คล้ายๆกับสมัยคงครามโลก ที่มีหลักฐานหลายๆอย่างในประวัติศาสตร์ ทำให้เชื่อได้ว่า ลุงแซมอยากฉะกับนาซีมาก (เพราะตอนนั้นตาอดอล์ฟ ขึ้นมาได้จากการที่เศรษฐกิจพัง เขาสั่งยกเลิกระบบธนาคารกลางเอกชนทั้งหมด และสามารถทำให้เศรษฐกิจฟื้นได้โดยทีมาเฟียธนาคารไม่ได้ส่วนแบ่ง ทำให้เสียผลประโยชน์เป็นอย่างมาก) แต่หาเรื่องจะไปฉะกับเขายังไง เขาก็ไม่ยอมเล่นด้วย (เช่น ไปยิงเรือเยอรมันในตอนนั้น แต่เยอรมันก็ไม่เอาคืน) ---- แต่พออิตาลี เยอรมัน ญี่ปุ่น ลงนามเป็นพันธมิตรกัน ลุงแซมก็เลยพยายามไปยั่วให้ญี่ปุ่นตบะแตก ส่งเครื่องบินมาถล่มที่ฮาวาย (มีหลักฐานว่า ลุงแซมได้รับข่าวกรองมาก่อน ว่าญี่ปุ่นจะมาถล่ม แต่ลุงแซมไม่ทำอะไร ปล่อยให้เกิดเรื่องขึ้น) พอฮาวายโดนถล่ม ลุงแซมก็เลยได้ทำสงครามกับสามประเทศพันธมิตรนี้โดยอัติโนมัติ

จับตาแบงก์ชาติปรับกลยุทธ์วัดดวงสินทรัพย์เสี่ยง

  • 10 เมษายน 2556

67AD57BD3DC54B5FA06DAF0A41D509BF.jpg

 

 

 

โดย...ณัฐสุดา จิตตปาลพงศ์

นับเป็นความเคลื่อนไหวที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด สำหรับการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนของบรรดาธนาคารกลางทั่วโลก

เพราะล่าสุด ธนาคารรอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ (อาร์บีเอส) ได้ทำการสำรวจธนาคารกลางของ 60 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีทุนสำรองระหว่างประเทศรวมกันสูงถึง 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 210 ล้านล้านบาท) พบว่าส่วนใหญ่นั้นกำลังวางแผนนำทุนสำรองระหว่างประเทศเข้าไปลงทุนใน สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นและสกุลเงินและพันธบัตรของรัฐบาลประเทศเศรษฐกิจเกิด ใหม่ หลังจากที่ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น สินทรัพย์เหล่านี้ถือเป็นแหล่งลงทุนที่แบงก์ชาติส่วนใหญ่ไม่กล้าแม้แต่จะแตะ ด้วยซ้ำ

ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า 8 ใน 60 ของธนาคารกลางได้เข้าไปลงทุนในหุ้นบ้างแล้ว ส่วน 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดยอมรับว่า มีหุ้นเป็นทุนสำรองแล้ว หรืออย่างน้อยก็มีแผนที่จะเข้าไปลงทุนในหุ้นภายในช่วงเวลา 5 ปี ข้างหน้านี้

ขณะเดียวกัน 70% เปิดเผยว่า สนใจลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่ถูกจัดอันดับเครดิตในระดับ A มากขึ้น ซึ่งมากกว่าสัดส่วนแบงก์ชาติที่ยังให้ความสำคัญกับพันธบัตรรัฐบาลในระดับทริ ปเปิลเอ (AAA) หรือระดับสูงสุด ขณะที่ 20% นั้นสนใจลงทุนในพันธบัตรที่มีเครดิตในระดับขยะหรือ “จังก์” รวมทั้งหุ้นกู้ภาคเอกชน

ในส่วนของสกุลเงินหรือสินทรัพย์ต่างประเทศ ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดขณะ นี้ ประกอบด้วยเงินเหรียญแคนาดา เงินเหรียญออสเตรเลีย เงินเหรียญนิวซีแลนด์ ตลอดจนสกุลเงินกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เงินเรียลของบราซิลและเงินหยวนของจีน

แน่นอนว่า สาเหตุหลักของความเคลื่อนไหวครั้งนี้คือ ความพยายามของแบงก์ชาติที่จะเสาะหาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า หลังการดำเนินมาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงินของบรรดาเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ นำโดย สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งล่าสุดประกาศอัดฉีดเงินล็อตใหญ่มูลค่าสูงถึง 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 42 ล้านล้านบาท) ได้ฉุดผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเหล่านี้อย่างหนัก โดยข้อมูลจากอาร์บีเอสยังพบว่า มากถึง 4 ใน 5 ของตัวแทนแบงก์ชาติที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้ตัดสินใจเปลี่ยนกลยุทธ์การลง ทุนเพราะความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ล้วนๆ

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ของรัฐบาลสหรัฐและเยอรมนี ซึ่งถูกยกให้เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยมากที่สุด อยู่ที่ระดับ 1.75% และ 1.24% ตามลำดับ ซึ่งนับว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับผลตอบแทนจากเงินปันผลของดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 ในตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งอยู่ที่ระดับ 2.45%

“พันธบัตรเหล่านี้ปลอดภัยก็จริง แต่ก็เริ่มหมดเสน่ห์แล้วเพราะผลตอบแทนต่ำมาก ในทางตรงกันข้าม สัดส่วนของหุ้นในทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งเมื่อ 5 ปีที่แล้ว แทบจะอยู่ที่ระดับ 0 นั้น ก็พุ่งขึ้นอย่างแรง และมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีก” แกร์รี สมิต จากบีเอ็นพี พาริบาส์ อินเวสต์เมนต์ พาร์ตเนอร์ กล่าว

สอดคล้องกับความเห็นของแพททริก ทอมป์สัน จากเจพี มอร์แกน แอสเซท แมนเนจเมนต์ ซึ่งมองว่า การซื้อหุ้นได้กลายเป็นเทรนด์ใหม่เสียแล้ว โดยเฉพาะในบรรดาธนาคารกลางที่มีปริมาณทุนสำรองในระดับสูง

ไล่เรียงตั้งแต่ประเทศเช็ก ซึ่ง อีวา แซมราซิโลวา คณะกรรมการธนาคารกลางของประเทศ เปิดเผยว่า ทางธนาคารได้เพิ่มการถือครองหุ้นจนปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนของทุนสำรองทั้ง หมดถึง 10%

“อัตราผลตอบแทนเงินปันผลพุ่งแซงหน้าผลตอบ แทนพันธบัตรแล้ว” แซมราซิโลวา เปิดเผย พร้อมย้ำว่า แม้จะลงทุนในหุ้นมากขึ้น ทว่า ธนาคารกลางก็สามารถรักษาสถานะความเสี่ยงในระดับต่ำได้

เช่นเดียวกับแบงก์ชาติเกาหลีใต้ ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้เข้าไปซื้อหุ้น โดยเฉพาะในตลาดหุ้นจีน จนดันให้การถือครองหุ้นพุ่งแตะระดับ 5.4% จากระดับ 3.1% เมื่อปี 2552 ตลอดจนธนาคารกลางอิสราเอล ที่เพิ่งเริ่มลงทุนในสินทรัพย์ประเภทหุ้นครั้งแรกเมื่อปีที่ผ่านมา โดยซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ และตั้งเป้าจะเพิ่มการถือหุ้นเพิ่มขึ้นจากเดิม 2% เป็น 8% คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.4 แสนล้านบาท)

ด้านผู้ว่าการแบงก์ชาติจีนก็ เคยเผยแผนที่จะเข้าซื้อ สกุลเงินประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มากขึ้น เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับทุนสำรองระหว่างประเทศของแดนมังกร ตลอดจนหวังกอบโกยผลตอบแทนในอัตราที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากไม่ระมัดระวังการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้ย่อมมีความเสี่ยงไม่น้อย สำหรับธนาคารกลาง ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนเตือนว่าอาจถึงขั้นสั่นคลอนตลาดการเงิน รวมทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศได้

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า “ทุนสำรองระหว่างประเทศ” คือ สินทรัพย์ที่ถือครองหรืออยู่ภายใต้การควบคุมของธนาคารกลางของแต่ละประเทศ โดยทุนสำรองนั้นมีหลากหลายประเภทไล่เรียงตั้งแต่เงินตราต่างประเทศ ทองคำ ตลอดจนพันธบัตรรัฐบาล

หน้าที่สำคัญของทุนสำรองระหว่างประเทศ คือ การรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งใช้เพื่อแทรกแซงค่าเงิน และใช้ค้ำประกันการพิมพ์ธนบัตร ทว่า ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางสามารถนำทุนสำรองไปลงทุนได้เพื่อให้เกิดดอกผล

ความเสี่ยงที่อันตรายสุด คือ ความเสี่ยง “ขาดทุน” เพราะต้องไม่ลืมว่า การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินทรัพย์ประเภทหุ้นนั้นขึ้นอยู่กับสภาวะตลาด รวมทั้งผลประกอบการของแต่ละบริษัท

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทางบีโอเจจะเคย ประกาศผลประกอบการขาดทุน 281 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 8.43 พันล้านบาท) เมื่อปี 2554 หลังมูลค่ากองทุนรวมที่จดทะเบียนซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ (อีทีเอฟ) ที่ธนาคารถือครองอยู่นั้นดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 27 ปี

เช่นเดียวกับธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (เอสเอ็นบี) ซึ่งเมื่อปี 2554 ยอมรับว่า ขาดทุน 1.35 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 4.05 แสนล้านบาท) หลังก่อนหน้านั้น ทุ่มซื้อสกุลเงินต่างประเทศในปริมาณมหาศาลเพื่อพยายามสกัดการแข็งค่าของเงิน ฟรังก์สวิส จนทำให้ธนาคารเสี่ยงหนักต่อความผันผวนของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ

ในส่วนของ “จังก์บอนด์” นั้น แน่นอนว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงมาก เพราะหมายถึงตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือบริษัทที่มีความเสี่ยงสูงที่จะ “ผิดชำระหนี้” นั่นเอง

“การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนของแบงก์ ชาติหลายแห่งสร้างความกังวลให้ กับนักลงทุนไม่น้อยว่า การไหลทะลักของเงินทุนปริมาณมหาศาลในสินทรัพย์ความเสี่ยงสูง ซึ่งบางทีขาดความโปร่งใส ก็อาจนำไปสู่ภาวะสั่นคลอนในตลาดการเงินได้” ไฟแนนเชียล ไทมส์ ระบุ

ยิ่งไปกว่านั้นคือ หลายฝ่ายกังวลว่า หากธนาคารกลางประสบภาวะขาดทุนยับเยินก็จะกระทบต่อการทำงานของธนาคารอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันปริมาณการลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงของธนาคารกลางยังคงไม่ มากนัก ทว่า ผู้เชี่ยวชาญต่างเชื่อว่าหากบรรดาเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ของโลก ยังคงเดินหน้าอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แบงก์ชาติเหล่านี้ก็จะยอมเสี่ยงเพื่อให้ได้มาซึ่งผลตอบแทนที่ดีกว่า

จะเป็นเดิมพันที่คุ้มค่าหรือไม่นั้น เวลาเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จ้างงานมะกันเข็นไม่ขึ้นนโยบายเฟดไร้ผลกู้วิกฤต

  • 11 เมษายน 2556 เวลา 09:23 น.

AD67804BF5C84043899A9682F33E6BFD.jpg

 

 

โดย...ณัฐสุดา จิตตปาลพงศ์

หลังจากที่งัดสารพัดมาตรการเพื่อพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาอย่างต่อ เนื่อง ดูเหมือนว่ารัฐบาลสหรัฐก็ยังคงแก้ปัญหา “การว่างงาน” ในประเทศไม่ตกเสียที

เห็นได้จากตัวเลขอัตราว่างงาน ซึ่งเมื่อเดือน มี.ค. อยู่ที่ระดับ 7.6% โดยแม้จะปรับตัวลดลงจากระดับ 7.7% ในเดือนก่อน ทว่าก็ไม่ได้สะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจที่เป็นจริงเลย

เพราะแม้จำนวนชาวอเมริกันที่เข้ารับสวัสดิการคนว่างงานจะลดลง ทว่าการจ้างงานนั้นขยับเพิ่มขึ้นเพียง 8.8 หมื่นตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้กว่าครึ่ง และต่ำกว่าตัวเลขเดือน ก.พ. ที่มีการจ้างงานมากถึง 2.36 แสนตำแหน่ง

หรือถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ สาเหตุที่อัตราว่างงานลดลงนั้นไม่ได้เกิดจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นผลพวงจากการที่ชาวอเมริกัน “ถอดใจ” เลิกหางานนั่นเอง

“อัตราว่างงานลดลงด้วยเหตุผลที่ผิดๆ การที่คนเลิกหางานนั้นสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นและความหวังว่าจะได้งาน ทำที่ลดน้อยลง” เคร็ก อเล็กซานเดอร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากธนาคารโตรอนโตโดโนมินิกัน (ทีดีแบงก์) เผย

ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานเมืองลุงแซมยังพบว่าอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน (Labor Force Participation Rate) ของสหรัฐ ซึ่งหมายถึงชาวอเมริกันในวัยทำงานทั้งที่มีงานทำและกำลังหางานทำในตลาดแรง งานนั้น ลดสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 34 ปี โดยในเดือน มี.ค. เพียงเดือนเดียวดิ่งลงถึง 4.96 แสนคน และหากรวมตัวเลขตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมานั้น พบว่าลดลงไปแล้วถึง 6.26 แสนคน

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่นักวิเคราะห์หลายคนจะออกโรงเตือนว่า สหรัฐกำลังเผชิญ “วิกฤตในตลาดแรงงาน” อย่างแท้จริง และหากไม่มีการเร่งแก้ไขปัญหา ก็อาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศซบยาว

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ปัญหาอัตราว่างงานสหรัฐนั้นเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2550 โดยนับตั้งแต่ปี 2550 ถึงต้นปี 2553 ชาวอเมริกันสูญเสียงานไปทั้งหมด 8.7 ล้านตำแหน่ง ขณะที่การสร้างงานนับตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน มีเพียง 5.8 ล้านตำแหน่งเท่านั้น

“สถานการณ์เข้าขั้นหายนะแล้ว แต่รัฐบาลสหรัฐก็ยังคงนิ่งเฉย” ไฮดี มัวร์ นักข่าวเดอะการ์เดียน สื่อชื่อดังเมืองผู้ดี เผย

สอดคล้องกับความเห็นของนักวิเคราะห์รายอื่นๆ ที่มองว่า ที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐผลักภาระความรับผิดชอบไปที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพียงฝ่ายเดียว โดยแทบจะไม่มีการผลักดันมาตรการสร้างงานใดๆ เลย ซึ่งในส่วนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟดนั้นก็ดูจะไร้ประสิทธิภาพในการ ฟื้นฟูตลาดแรงงานโดยสิ้นเชิง

เจฟฟรี แลกเกอร์ ประธานเฟดสาขาเมืองริชมอนด์ ในรัฐเวอร์จิเนีย และชาร์ลส์ พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ได้เคยออกมาเตือนก่อนหน้านี้ว่า มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) รอบที่ 3 ของเฟดจะไร้ผลในการกระตุ้นการจ้างงาน

“ผมเชื่อว่า คิวอี 3 จะส่งผลต่อตลาดแรงงานน้อยมาก แต่จะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อเป็นส่วนใหญ่” แลกเกอร์ เตือนเมื่อช่วงเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ เพราะต้องไม่ลืมว่า ในการดำเนินมาตรการคิวอีนั้น เฟดจะอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสาร หนี้ที่มีอสังหาริมทรัพย์ค้ำประกันอยู่ (เอ็มบีเอส) มูลค่า 8.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.6 ล้านล้านบาท) ต่อเดือน เพื่อหวังกดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้อยู่ในระดับต่ำ

และที่สำคัญก็คือ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับต่ำ 0-0.25% เนื่องจากเชื่อว่าจะกระตุ้นให้ประชาชนกู้เงินและใช้จ่ายมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความพยายามของธนาคารกลางสหรัฐกลับไม่ช่วยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการในประเทศ จ้างงานเพิ่ม ซึ่งซีเอ็นบีซีชี้ว่า เป็นเพราะ 1.ภาคเอกชนยังคงไม่เชื่อมั่นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางวิกฤตหนี้ยุโรป การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และประเด็นเรื่องการตัดลดงบประมาณอัตโนมัติ (ซีเควสเตอร์) ของรัฐบาลสหรัฐ ผู้ประกอบการจึงเลือกชะลอการลงทุนออกไปก่อน และ 2.บริษัทส่วนใหญ่ไม่รู้สึกกดดันที่จะต้องจ้างพนักงานเพิ่ม และแก้ปัญหาด้วยการให้พนักงานทำงานหนักขึ้นแทน โดยข้อมูลจากทางการสหรัฐพบว่า ตัวเลขวัดผลิตภาพการทำงานของพนักงานเมืองลุงแซมขยายตัว 1.9% ในช่วงระหว่างเดือน ก.ค.ก.ย. ปีที่แล้ว จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

“สถานการณ์ในเมืองลุงแซมเลวร้ายมาก เพราะผู้ประกอบการแทบจะไม่มีการจ้างงาน ทั้งในส่วนของงานประจำและงานพาร์ตไทม์” โจเซฟ บรูซาเวลาส นักเศรษฐศาสตร์จากบลูมเบิร์ก เผย

สอดคล้องกับความเห็นของ นาตาชา แปบเลอร์ หญิงอเมริกันรายหนึ่งซึ่งตัดสินใจเลิกหางานและหันพึ่งเงินช่วยเหลือคนว่าง งานแทน ภายหลังไม่มีบริษัทใดติดต่อกลับมาเลย

ขณะที่ เอพี ระบุว่า ในส่วนของชาวอเมริกันที่เลิกหางานนั้น หากเป็นหนุ่มสาวอายุน้อยมักเลือกเรียนต่อ ส่วนชาวอเมริกันวัยกลางคนส่วนใหญ่เลือกเกษียณอายุก่อนกำหนด ขณะที่ประชาชนในกลุ่มอายุอื่นๆ มักเลิกหางานชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น

สถานการณ์แรงงานที่เข้าขั้นวิกฤตนี้จึงส่งผลให้นักวิเคราะห์หลายคนออกมา กดดันรัฐบาลสหรัฐให้เร่งผลักดันนโยบายต่างๆ ที่ช่วยกระตุ้นการจ้างงานมากขึ้น เพราะเชื่อว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ “ถูกจุด” มากกว่าที่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเฟดเพียงฝ่ายเดียว

“สภาคองเกรส โดยเฉพาะพรรครีพับลิกัน ขวางร่างกฎหมายสร้างงานหลายฉบับ ไล่เรียงตั้งแต่ ‘อเมริกัน จ๊อบ แอค’ ซึ่งสามารถช่วยสร้างงานให้กับทหารนับล้านคน ‘สมอล บิซิเนส แอค’ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ธนาคารท้องถิ่นปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอีมากขึ้น รวมทั้ง ‘บริง จ๊อบส์ โฮม แอค’ ซึ่งจะลดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่บริษัทสัญชาติอเมริกันที่ไปลงทุนในต่างประเทศได้รับ ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการสหรัฐปักหลักลงทุนในประเทศมาก ขึ้น” เดอะการ์เดียน ระบุ

ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ หากสภายังคงไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องซีเควสเตอร์ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าจะทำให้จีดีพีสหรัฐหดตัวถึง 0.5% ก็จะยิ่งทำให้ชาวอเมริกันตกงานมากขึ้นกว่าเดิม

“ตลาดแรงงานสหรัฐยังคงต้องเผชิญความเสี่ยงในอนาคต” เอียน เชฟเฟอร์ดสัน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากบริษัทที่ปรึกษาเศรษฐกิจแพนเทออน ในสหรัฐ เผย พร้อมย้ำว่า ปัญหาที่แท้จริงคือความต้องการพนักงานที่อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะในบรรดาธุรกิจรายย่อย ซึ่งนับเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสหรัฐ

เพราะฉะนั้น ตราบใดที่รัฐบาลเมืองลุงแซม ภายใต้การนำของประธานาธิบดี บารัก โอบามา ยังคงแก้ปัญหาการว่างงานไม่ถูกจุด เศรษฐกิจของประเทศก็คงต้องซบอีกยาว พร้อมลากเศรษฐกิจโลกดำดิ่งลงไปด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

SPDR ขายมากเป็นเพราะพวกเราขายของออกไปหรือครับ??

ใช่ครับ เพราะกองทุนนี้เป็น passive fund

ที่ผ่านๆมาขายมากก็เพราะคนขายหุ้นของ SPDR (ส่วนมากก็พวก hedge fund ทั้งหลายแหล่นั่นแหละครับ)

ขอบคุณครับ สงสัยเอาไปเล่นหุ้นกันหมด

 

ฝากความเห็นของ เทิร์ด เฟอร์กูสัน ไว้พิจารณาครับ

  • จีแอลดี (กองทุนทองคำกระดาษของสไปเดอร์) มีปริมาณ "ของจริง" ลดลง
  • เอสแอลวี (กองทุนโลหะเงินกระดาษของสไปเดอร์) มีปริมาณ "ของจริง" เพิ่มขึ้น
  • ถ้าเศรษฐกิจดีขึ้นจริง แล้วคนโยกไปลงทุนอย่างอื่นกัน เอสแอลวี น่าจะโดนด้วย แต่นี่ไม่ใช่ กลับเพิ่มขึ้น
  • เทิร์ด ขอให้ แอนดริว มาไกวร์ เทรดเดอร์ ณ ลอนดอน ช่วยใช้ข้อมูลจากคนรู้จักทั้งหมด "ประมาณ" ปริมาณทองคำที่ถูกส่งออกจากคลังใน ลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ (ปริมาณทองคำที่ผู้ถือสัญญาขอรับของจริง) ต่อวัน เขาประมาณไว้ว่า ทองคำน่าจะถูกส่งออกจากทั้งสองที่ รวมกันประมาณ ๒๒-๒๗ ตัน ต่อวัน
  • เทิร์ด มองเรื่องนี้ว่า ที่ จีแอลดี ของลด น่าจะเป็นเพราะคนที่ถือกระดาษอยู่ รับของจริงออกไปมากกว่า

http://www.tfmetalsr...encumbered-gold

 

* * * * * * * * * * * * * *

  • ได้มีโอกาสเปิดประเด็นกับคนสองสามคน เรื่อง "ไซปรัส" และนโยบายปล้นผู้ฝากเงิน ที่ธนาคารกลางชั้นนำในโลกมีแผนการเก็บไว้ในลิ้นชัก ฯลฯ ..... ปรากฏว่าเปิดแล้ว คุยต่อไม่ได้เลย เพราะไม่มีใครสักคนที่รู้เรื่องไซปรัสโดนปล้น ... เลยได้แต่เล่าเรื่องว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วแนะนำให้พวกเขาไปหาอ่านเอาเองต่อ

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลึกๆผมก็ห่วงเรื่องว่าสงครามจะเกิดขึ้น แต่เช้านี้ผมมีความคิดแวบในหัวว่าสงครามโลกครั้งที่3เริ่มไปแล้ว เกือบทุกประเทศโดนโจมตีแล้วเพราะพวกเราคุ้นเคยกับภาพสงครามที่รบกันด้วยอาวุธมาตลอดหรือเปล่า ลองมองอีกทีว่าช่วงเกิดต้มยำกุ้งประเทศของเราเสียหายขนาดไหน ธนาคารหลายแห่งต้องขายหุ้นให้ต่างชาติ ตอนนั้นประเทศไทยตกเป็นเมืองขึ้นทางเศรษฐกิจ กลุ่มคนที่โจมตีเราเขากำไรไปมากมายขนาดไหนแล้วประเทศเราเสียหายขนาดไหน คนตกงานมากขนาดไหน

 

......

 

สงครามที่เริ่มไปแล้ว

----พิมพ์เงินเพิ่มอย่างมากมาย ไปซื้อสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก(รวมทั้งค่าเงินด้วย)

----เมื่อซื้อได้มากพอแล้วก็สูบลมให้โป่งพองเพื่อกอบโกยกำไร โดยทำให้ประเทศอื่นต้องนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาเข้าสู่สงครามครั้งนี้

----ทำให้ประชาชนกลัวการฝากเงิน(เล่นกับความกลัวเพราะกลัวโดนยึด) ถอนเงินออกมา เงินที่ถอนออกมาจำนวนไม่น้อยก็ไหลไปสินทรัพย์เสี่ยง

----ใช้ความโลภเข้าล่อ ประเทศที่ไม่เกิดวิกฤตอย่างประเทศไทย ตอนนี้นักลงทุนหน้าใหม่ในตลาดหุ้นเพิ่มอย่างมากมาย ผมไปธนาคารอาทิตย์ที่แล้ว ธนาคารมีโต๊ะสำหรับแนะนำการลงทุนโดยเฉพาะแล้ว

----ให้ข่าวร้ายสำหรับทองคำและทุบราคาทองคำเพื่อเขาจะเอาเงินกระดาษที่พิมพ์มาอย่างถูกๆ มาซื้อทองคำเก็บไว้เอง

 

----เมื่อสงครามโลกครั้งที่3ใกล้จบ เมื่อพวกเรารู้ตัวกันอีกทีว่ารูปแบบสงครามเปลี่ยนไป ก็โดนปล้นไปเรียบร้อยแล้วทั่วโลก

 

 

 

คิดคล้ายๆกับแหล่งข่าวหลายๆแหล่งที่ผมตามอ่านเลยครับ นอกเหนือจากสงครามทางการเงินแล้ว ยังมีสงครามทางการทหาร ที่เริ่มต้นแล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปทั่วโลก เช่น สงครามอิรัก, อัฟกานิสถาน, หลายๆประเทศในแอฟริกา, ตอนนี้กำลังจะมี จีน/เกาหลีเหนือ/รัสเซีย อีก

 

หลายๆคนเชื่อว่า พอระบบการเงินมันเน่าได้ที่แล้ว ก็จะตามมาด้วยสงคราม เพื่อล้างไพ่ (แต่ไม่ล้างหนี้ แถมสร้างหนี้เพิ่ม) แล้วเริ่มต้นใหม่

 

สองปีก่อนที่ผมเริ่มรู้จักเรื่องทองคำ ตอนนั้นผมมองว่า ระบบการเงินที่น่าจะดีกว่าที่เป็นอยู่ คือระบบ มาตรฐานทองคำ .. พิมพ์เงิน ต้องมีทอง .. แต่ยิ่งศึกษามากไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นได้ว่า ขาใหญ่ มาเฟียทั้งหลาย กำลังพยายามสะสมทองคำไว้ในมือให้มากที่สุด เพราะเขารู้ว่า เมื่อจบเกม มาตรฐานทองคำกลับมาแน่ๆ ...... แต่นั้นก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนสำหรับตาสีตาสาทั่วไป เพราะพวกเขาไม่ได้มีทองคำ (ต่อให้จะซื้อ ทองคำในโลกก็ไม่พอให้คนทั่วไปซื้อกันทั้งโลก) และในที่สุด พวกเขาก็ต้องมากู้เงินกระดาษ(ที่หนุนด้วยทองคำ) จากกลุ่มคนกลุ่มเดิม เสียดอกเบี้ยแบบเดิม เป็นหนี้แบบเดิม ก่อนเกิดวิกฤต

 

สองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา มุมมองของผมเรื่องระบบการเงินจึงเปลี่ยนไป ผมมองว่า ปัญหามันอยู่ที่ระบบการเงิน ถูกควบคุมโดยคนเพียงหยิบมือหนึ่ง ซึ่งคนพวกนั้นจะมีอำนาจเหนือตัวละครอื่นๆในระบบสังคม โดยที่มีกฏหมาย และกำลังทหาร ในการหนุนคนพวกนั้นไว้

 

ตอนนี้ผมเริ่มรู้สึกว่า "ตลาดเสรี(จริงๆ)" ของระบบเงินตรา น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ระบบเงินตราไหนดีที่สุด คนก็จะหันไปใช้ระบบนั้นแทน โดยไม่ต้องใช้กำลังทหารในการบังคับ (เช่น ลุงแซมไปตัดหัวซัดดัม และกัดดาฟี เพื่อให้ขายน้ำมันในรูปดอลล่าร์ต่อ) --- จะเห็นได้ว่า สิ่งที่ขาใหญ่ต่างๆทั่วโลกกลัวที่สุด คือ กลัวคนผลิต "เงินตรา" หรือ สื่อในการแลกเปลี่ยนมูลค่า ใช้เอง --- ถ้าระบบเงินตราที่ใช้กันอยู่ดีจริง ก็เป็นเรื่องน่าแปลกใจที่ต้องมีคนคอยพยายามใช้กำลังบังคับให้คนอื่นๆในสังคม ใช้ระบบเงินตราที่มีอยู่ ห้ามไปใช้ระบบอื่น หรืออุตริคิดระบบใหม่ขึ้นมาใช้เอง

 

หรือถ้าปล่อยให้มี "ตลาดเสรี(จริงๆ)" ของระบบเงินตราไม่ได้ ขอเพียงแค่แต่ละประเทศ มีระบบธนาคารกลางของรัฐ ที่สามารถผลิตเงินออกมาใช้ได้เอง โดยไม่ต้องกู้จากธนาคารกลางเอกชน และเสียดอกเบี้ยแล้ว ผมเชื่อว่า มนุษยชาติโดยรวมก็จะดีกว่านี้

 

ศาสนาหลายๆศาสนา เคยมีข้อบัญญัติไว้ ว่าห้ามปล่อยกู้โดยคิดดอกเบี้ย (บางศาสนาก็ยังมีข้อนี้อยู่ บางศาสนาก็ไม่ใช้ข้อนี้แล้ว) ผมเคยมองว่าเป็นเรื่องแปลก ทำไมต้องห้าม .... แต่ตอนนี้ฉุกคิดขึ้นมาว่า ศาสดา/บรรพบุรุษเมื่อหลายพันปีก่อน อาจจะพยายามบอกอะไรบางอย่างกับเราอยู่ก็ได้....

 

ป.ล. กรณีที่บ.ต่างๆ พยายามดึงดูดคนมาเล่นหุ้น เป็นเหมือนที่ลุงโฉลกว่าไว้จริงๆ ว่าระบบของแกยังใช้ได้ในไทยอยู่ (ใช้ที่บ่อนใหญ่ๆเช่นอังกฤษไม่ได้แล้ว) เพราะว่าบ้านเราแมงเม่าเยอะ

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ได้อาศัยข่าวต่างประเทศจากคุณหมอเล็กและคุณWCG ช่วยต่อจิกซอร์ทางความคิดได้เยอะ ลำพังตัวเองภาษาอ่อนเกินไปที่จะตามหาข่าวต่างประเทศ ลำพังข่าวในเมืองไทยไม่ช่วยต่อจิกซอร์ทางความคิดเท่าไหร่ ขอบคุณครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากครับ ช่วยให้เปิดมุมมองได้ดีทีเดียวเลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณส้มโอมือ คุณหมอเล็ก คุณwcg มากๆค่ะ :01

ได้มุมมองใหม่ที่ ทำให้เห็นภาพและเข้าใจระบบโลกมากข้ึน

โลกน้ี ซับซ้อนมากจังนะคะ ถ้ารู้จักพอเพียงกัน คงไม่วุ่นวายขนาดน้ี

ทุกการกระทำของคนมีอำนาจ มักมีเงื่อนงำซ่อนเล้น มะค่อยตรงไปตรงมากันเลยนะคะ

น่ากลัวจริงๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:_10เมื่อมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ความตรงไปตรงมาก็ไม่มี

นี่คือ12ธนาคารที่รู้ข่าวของเฟดก่อนใครๆว่าเฟดจะเอายังไง (รู้ก่อนเขาหน่อยก็รวยตายแล้วครับ เพราะนี่อาจเป็นครั้งแรกที่จับได้)

 

These 12 Banks Got the Fed Minutes a Day Early

 

http://www.cnbc.com/id/100632206

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:_10เมื่อมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ความตรงไปตรงมาก็ไม่มี

นี่คือ12ธนาคารที่รู้ข่าวของเฟดก่อนใครๆว่าเฟดจะเอายังไง (รู้ก่อนเขาหน่อยก็รวยตายแล้วครับ เพราะนี่อาจเป็นครั้งแรกที่จับได้)

 

These 12 Banks Got the Fed Minutes a Day Early

 

http://www.cnbc.com/id/100632206

 

ระบบทุนนิยมเสรี ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก มันดีแบบนี้นี่เอง

:uu

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณทุกข่าวสาร

มีประโยชน์มากๆ ค่ะ

ขอบคุณนะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:_10เมื่อมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ความตรงไปตรงมาก็ไม่มี

นี่คือ12ธนาคารที่รู้ข่าวของเฟดก่อนใครๆว่าเฟดจะเอายังไง (รู้ก่อนเขาหน่อยก็รวยตายแล้วครับ เพราะนี่อาจเป็นครั้งแรกที่จับได้)

 

These 12 Banks Got the Fed Minutes a Day Early

 

http://www.cnbc.com/id/100632206

 

---- ก่อนจะลดค่าเงินบาทข่าวก็รั่ว บริษัทที่ใหญ่มากของไทยเขาป้องกันเรื่องนี้ไม่นานก่อนลดค่าเงินบาท ดังนั้นช่วงนั้นเขาไม่

สะเทือนเลย

 

---- ช่วงมาตรการกันสำรอง30%ของไทยที่เอามาใช้แค่วันเดียว ก็มีคนร่ำรวยไปเยอะจากตลาดหุ้น

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เศรษฐกิจโลกดี แต่คนใช้น้ำมันกันลดลง สวนทางกันเลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เศรษฐกิจโลกดี แต่คนใช้น้ำมันกันลดลง สวนทางกันเลย

 

บัลติก ดราย อินเด็กซ์ ก็เป็นหนึ่งในตัวชี้ชี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจคล้ายๆกับน้ำมัน

 

สงสัยตัวชี้สองตัวนี้ยังไม่ได้รับรายงานจากลุงแซม ว่าเศรษฐกิจฟื้นแล้วนะจ๊ะ :lol:

 

post-2564-0-16908900-1365736170_thumb.png

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ เบื่อกับตรรกะ พวกนักการเมือง Brokers ชอบ White Lies จริงๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...