ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

อ่านข้างล่างนี่แล้วจะกัดฟันไม่แน่นเท่าไรครับ จะรอแบบสบายอารมณ์ขึ้นเยอะเลย

 

http://silverdoctors...ell/#more-24437

ขอบคุณครับคุณหมอ (แต่ภาษาปะกิตไม่ค่อยแข็งแรง)

ตอนนี้ผมแค่พยายามไม่หวังเวลามันขึ้นว่าจบย่อแล้วครับ ทำเป็นไม่สนใจมัน เดี๋ยวมันง้อเอง :D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

จากที่อ่านจาก จิม ซินแคลร์ หรือ จิม ริคเคิร์ดส .. เขาบอกว่า ทางออกสุดท้ายของระบบการเงินที่มีปัญหาแบบนี้ คือการ "ปรับราคาทองคำ" ใหม่ครับ เพราะระบบการเงินแบบพีระมิดสคีมแบบนี้ เป็นไปไม่ได้ที่จะใช้หนี้ได้หมด และมันจะต้องมีปัญหาไปในที่สุด (กระดาษหมดค่า/ไร้ค่า) ดังนั้น การปรับราคาทองคำ (ที่ทำให้หลายๆคนคำนวณได้ตัวเลขกันมาตั้งแต่ ๓๐๐๐ เหรียญ ยัน ๑๕๐๐๐ เหรียญ) จึงเป็นทางออกทางเดียวครับ

 

คุณ WCG ครับรบกวนช่วยขยายความเกี่ยวกับการปรับราคาทองคำได้มั๊ยครับ มันจะเป็นยังไงและมีผลยังไงบ้างกับคนทั่วๆไป ส่งผลกับคนที่เก็บเงินกระดาษและคนที่เก็บทองยังไงครับ

ขอบคุณมากครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:Announce ภาคใต้ของอินเดียขาดทองแบบปุบปับ

 

 

Acute shortage of gold in south India

 

Major jewellery manufacturing centres in south India are facing acute shortage of gold ahead of the wedding season despite the industry’s claim to have seen a record import of the yellow metal last financial year.

 

http://www.rediff.co...ia/20130404.htm

 

เทศกาลหมดวันที่เท่าไหร่ครับคุณหมอ จะได้ดูว่าแรงส่งการใช้งานจริงของอินเดียไปถึงเมื่อไหร่ จำชื่อเทศกาลไมได้เลยค้นไม่ถูกครับ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

 

Shale gas กับ Shale oil ผู้ท้าทายวงการน้ำมันโลก

 

 

Shale gas กับ Shale oil ผู้ท้าทายวงการน้ำมันโลก

 

5 มกราคม 2013

ชาญชัย

(ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 5906 วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ.2556)

กระแสข่าวที่ภายในทศวรรษนี้สหรัฐอเมริกาจะลดการนำเข้าทรัพยากรน้ำมันจากต่างประเทศลงเรื่อยๆ และอาจไม่นำเข้าเลยก่อนสิ้นปี 2035 มีความชัดเจนมากขึ้น เหตุเนื่องจากสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดาน (shale gas) และน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (shale oil) จำนวนมากจากแหล่งผลิตในประเทศที่ในอดีตมีข้อจำกัดทั้งด้านต้นทุนการผลิตกับปัญหามลพิษ

Shale gas กับ Shale oil

 

ทรัพยากรน้ำมันชั้นหินดินดานประกอบด้วยก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดาน (shale gas) กับน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (shale oil)

shale gas คือก๊าซธรรมชาติที่ถูกกักไว้ในชั้นหินใต้ดิน มนุษย์ค้นพบ shale gas มานานแล้ว แต่ไม่สามารถนำมาใช้เพราะไม่อาจแข่งกับแหล่งก๊าซธรรมชาติประเภทอื่นๆ ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า มีปัญหาเรื่องมลพิษน้อยกว่า

จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการพัฒนากรรมวิธีการผลิตที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing และใช้เทคโนโลยีดังกล่าวร่วมกับเทคนิควิธีการขุดเจาะตามแนวนอนที่เรียกว่า Horizontal Drilling ทำให้สามารถผลิต shale gas ได้ในปริมาณมากและด้วยต้นทุนต่ำลง

ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาใช้ก๊าซธรรมชาติจาก shale gas ในสัดส่วนร้อยละ 20 ของปริมาณก๊าซธรรมชาติทุกประเภท และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 40 ในปี 2032 ตามความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น

น้ำมันจากชั้นหินดินดาน (shale oil) หลายครั้งพบได้จากแหล่งเดียวกับที่พบก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดาน ในขณะที่บางแหล่งพบน้ำมันเป็นหลัก เช่น แหล่งขุดเจาะ ‘Avalon and Bone Springs’ คาดว่ามีน้ำมันที่นำขึ้นมาใช้ได้ถึง 1.58 พันล้านบาร์เรล แหล่ง Bakken คาดว่ามีน้ำมันถึง 3.65 พันล้านบาร์เรล

ความสามารถใช้ทรัพยากรน้ำมันชั้นหินดินดานของสหรัฐฯ กลายเป็นเหตุเขย่าวงการน้ำมันโลก

<a href="http://4.bp.blogspot.com/-lnbc8Z7Kp8w/UOZe31lgT_I/AAAAAAAAAiY/8I-apGRLxJg/s1600/shale-gas-map-lg.jpg" style="margin-left: auto; margin-right: auto;">shale-gas-map-lg.jpg (ภาพ: แหล่ง shale gas ของอเมริกา ภาพจาก: geology.com/Google)

ผลดีต่อสหรัฐอเมริกา

 

ประเทศสหรัฐอเมริกาย่อมเป็นผู้ได้ประโยชน์โดยตรงในสองประการหลัก ดังนี้

ประการแรก ในอนาคตสหรัฐฯ สามารถพึ่งพาตนเองในด้านพลังงานน้ำมัน

สหรัฐฯ เป็นประเทศที่บริโภคทรัพยากรน้ำมันมากที่สุดในโลก ในทศวรรษ 1970 ประสบปัญหาถูกองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) คว่ำบาตรไม่ยอมขายน้ำมันให้ เป็นเหตุให้คนอเมริกาทั้งประเทศต้องต่อคิวยาวเหยียดเพื่อรอเติมน้ำมันรถ กระทบการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเกือบทั้งประเทศ นับจากนั้นประเด็นการเข้าถึงแหล่งน้ำมันในตะวันออกกลางกลายเป็นประเด็นสำคัญ ทางการเมืองภายในประเทศนอกเหนือจากเหตุผลด้านความมั่นคงทางการทหาร ในระยะหลังนโยบายสหรัฐฯ ต่อภูมิภาคตะวันออกกลางมีความซับซ้อนยิ่งขึ้นและอาจเป็นเหตุผลสำคัญทำให้สหรัฐฯ ถูกกลุ่มผู้ก่อการร้ายโจมตีในเหตุวินาศกรรม 9/11 เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ชาวอเมริกันเรียกร้องให้ประเทศลดการพึ่งพาน้ำมันจากตะวันออกกลาง และกลายเป็นนโยบายของรัฐบาลในเวลาต่อมา

gas-station-car-jam.jpg

(ภาพ: ชาวอเมริกันแย่งกันเติมน้ำมันในช่วงวิกฤตน้ำมันในทศวรรษ 1970 ภาพจาก: sylverblaque.wordpress.com/Google)

 

รายงาน Global Trends 2030: alternative world ของสภาข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯ ชี้ว่าที่ผ่านมาสหรัฐฯ เริ่มใช้ก๊าซและน้ำมันจากชั้นหินดินดานแล้วโดยเฉพาะ shale gas ส่วน shale oil ยังอยู่ช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา แต่คาดว่าอีกไม่เกิน 20 ปีสหรัฐฯ อาจไม่ต้องพึ่งการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศและมีศักยภาพในการส่งออกด้วย

หากการคาดการณ์ดังกล่าวเป็นจริงเท่ากับสหรัฐฯ จะไม่ต้องพึ่งพาทรัพยากรน้ำมันจากต่างประเทศอีกต่อไป มีผลต่อนโยบายต่างประเทศอย่างชัดเจน

ประการที่สอง เศรษฐกิจได้รับผลดี

เนื่องจาก shale gas กับ shale oil ที่มีต้นทุนต่ำ ทำให้ประเทศได้ใช้น้ำมันราคาถูกกว่าปัจจุบัน ก่อผลดีต่อเศรษฐกิจอเมริกาหลายประการ เช่น ช่วยลดต้นทุนการผลิต ราคาผันผวนน้อยลง ช่วยลดการขาดดุลการค้าต่างประเทศ มีผู้คาดว่าจะทำให้จีดีพีโตขึ้นร้อยละ 1.7-2.2 และเพิ่มการจ้างงาน 2.4-3 ล้านตำแหน่งก่อนปี 2030

โดยสรุปแล้ว การที่สหรัฐฯ สามารถนำน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากแหล่งดังกล่าวมาใช้ถือเป็นการปลดแอกจากการพึ่งพาน้ำมันต่างประเทศ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยตรง และส่งผลต่อนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ในหลายเรื่อง โดยเฉพาะนโยบายต่อภูมิภาคตะวันออกกลาง

ปัญหาและอุปสรรคจากมลพิษ

 

แม้ว่าเทคโนโลยีการผลิต shale gas กับ shale oil มาถึงจุดที่สามารถผลิตเพื่อการค้าและสามารถควบคุมมลพิษได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ปัญหาเรื่องมลพิษไม่หมดไปโดยสิ้นเชิง ยังเป็นข้อจำกัดหรืออุปสรรคสำคัญของการใช้ shale gas กับ shale oil เช่น หากการสร้างฐานขุดเจาะไม่ดีแต่แรก หลุมบ่อต่างๆ ปิดไม่สนิท สารพิษร้ายแรงที่ใช้กับมลพิษที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตอาจกระจายขึ้นสู่ผิว ดิน อีกทั้งยังมีปัญหาการบำบัดน้ำจำนวนมหาศาลที่ปนเปื้อนสารเคมี เหล่านี้อาจเป็นเหตุให้ประชาชนต่อต้านอย่างรุนแรง เป็นความเสี่ยงที่บริษัทกับรัฐบาลแบกรับอยู่

มีข้อมูลชี้ว่าการผลิต shale gas ในสหรัฐฯ ถูกต่อต้านอย่างหนักจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยอ้างว่าการสำรวจขุดเจาะ shale gas ทำให้เกิดการปนเปื้อนของก๊าซมีเทนในแหล่งน้ำท้องถิ่นขนาดที่ชาวนาสามารถจุดไฟบนน้ำจากบ่อในฟาร์มของตนเอง ตลอดจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ปัญหา เรื่องมลพิษมีมูลความจริงมากขึ้นเมื่อประเทศฝรั่งเศสกับบัลแกเรียได้เลื่อน เวลาการขุดเจาะออกไปด้วยความกังวลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม การควบคุมมลพิษนั้นขึ้นกับการพัฒนาแหล่งก๊าซแหล่งน้ำมันของแต่บริษัทแต่ละประเทศ
ในระยะยาวแล้วคาดว่าสหรัฐฯ จะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การควบคุมมลพิษให้สมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ข้อจำกัดหรืออุปสรรคลดน้อยลง

iea-estimates-world-oil-prices-1980-2032.jpg

(ภาพ: ตัวอย่างคาดการณ์ราคาน้ำมันในอนาคต ภาพจาก: financialsense.com/Google)

 

 

 

ยากจะคาดการณ์ราคาน้ำมันโลกในอนาคต

 

shale gas กับ shale oil สร้างประโยชน์ต่อสหรัฐฯ อย่างแน่นอน คำถามสำคัญที่ตามมาคือราคาน้ำมันโลกจะลดลงด้วยหรือไม่

โดยทั่วไปแล้วราคาน้ำมันโลกขึ้นกับอุปสงค์อุปทานตามกลไกตลาด ปัจจุบัน shale oil ของสหรัฐฯ ยังอยู่ช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาและไม่ชัดว่าจะสามารถผลิตในปริมาณมากน้อยเพียงใด คาดการณ์ว่าในปี 2020 จะสามารถผลิตได้ 5-15 ล้านบาร์เรลต่อวัน ณ ราคาต้นทุนที่ 44-68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลขึ้นกับแต่ละแหล่ง

แม้จะมีการคาดการณ์ระดับราคาต้นทุนดังกล่าว ยังมีโอกาสที่ราคาจะลดลงมากกว่านี้เนื่องจากเทคโนโลยีอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาแบบก้าวกระโดด มีโอกาสที่เทคโนโลยีการผลิตจะดีขึ้นช่วยประหยัดต้นทุนได้มากกว่าที่คาดการณ์ในปัจจุบัน

ค่อนข้างเชื่อได้ว่านับจากนี้ shale gas กับ shale oil จะค่อยๆ ออกสู่ตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับอุปสงค์โลกที่เพิ่มมากขึ้นแต่ละปีละ ดังนั้น หากไม่คิดถึงปัจจัยอื่นๆ ราคาน้ำมันโลกไม่น่าจะผันผวนขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างอุปสงค์กับอุปทานในแต่ละช่วงเวลา

แต่ราคาน้ำมันมันโลกไม่ได้ขึ้นกับกลไกตลาดเพียงอย่างเดียว มีปัจจัยด้านการเมืองระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

Oystein Noreng เป็นหนึ่งในผู้กล่าวอย่างชัดเจนว่าทุกวันนี้รัฐบาลกลุ่ม OPEC เป็นผู้กำหนดว่าจะผลิตและส่งออกน้ำมันแก่ตลาดโลกด้วยปริมาณมากน้อยเพียงใด ประเทศเหล่านี้มีข้อได้เปรียบกว่าประเทศผู้ผลิตอื่นเนื่องจากมีต้นทุนการผลิตต่ำสุด ส่วนประเทศผู้ส่งออกน้ำมันนอกกลุ่ม OPEC จะผลิตมาก หรือน้อยขึ้นกับราคาน้ำมันในตลาดโลกเนื่องจากแต่ละแหล่งมีต้นทุนการผลิตแตก ต่างกัน ประเทศผู้ส่งออกทั้งหมดมีการติดต่อเพื่อควบคุมปริมาณการผลิตโดยยึดถือเป้า หมายกำไรทั้งปีเป็นสำคัญ (เป้าหมายกำไรทั้งปีขึ้นกับราคาและปริมาณส่งออก) ส่งผลต่อระดับราคาน้ำมันโลกโดยตรง

เมื่อสหรัฐฯ มีศักยภาพส่งออกน้ำมันสู่ตลาดโลก เกิดคำถามว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการให้ประเทศเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกน้ำมันด้วยหรือไม่ ต้องการเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีส่วนกำหนดราคาน้ำมันโลกหรือไม่ ที่ผ่านมานโยบายต่างประเทศกับนโยบายความมั่นคงเป็นตัวชี้ขาดเรื่องนี้

หากสหรัฐฯ ส่งออกจำนวนมากจะทำให้ราคาน้ำมันโลกอ่อนตัว ประชาชนที่เคยใช้พลังงานทางเลือกอาจหันกลับมาใช้น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติดังเดิม ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ผลิตพลังงานทุกประเภท กระทบต่อเศรษฐกิจและเสถียรภาพรัฐบาลของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันทั้งหลาย ในขณะที่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าน้ำมัน นโยบายส่งออกน้ำมันของสหรัฐฯ จึงเป็นประเด็นสำคัญระดับโลก มีผู้ได้กับผู้เสียประโยชน์ทั่วทั้งโลก แต่ ณ วันนี้สหรัฐฯ ยังไม่ประกาศชัดว่าต้องการเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน เป็นปริศนาที่รอคำตอบในอนาคต

primaryenergydemand.gif

(ภาพ: ตัวอย่างคาดการณ์โลกจะใช้พลังงานมากขึ้นและสัดส่วนการใช้แยกตามประเภท

ภาพจาก: world-nuclear.org/Google)

 

มีผู้กล่าวว่าพลังงานเปรียบเหมือนเลือดที่หล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไป ในอนาคตโลกจะใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นทั้งจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากกับระบบเศรษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรพลังงานมากขึ้น ประเทศที่พึ่งการนำเข้ายิ่งเห็นความสำคัญต่อเรื่องนี้

การที่สหรัฐฯ มีแนวโน้มชัดเจนว่าจะประสบความสำเร็จในการพัฒนา shale gas กับ shale oil จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมน้ำมันโลก ต่อวงการน้ำมันโลกอย่างแน่นอน และจะยิ่งส่งผลเป็นทวีคูณถ้ารัฐบาลสหรัฐฯ ตัดสินใจมีบทบาทเป็นผู้ส่งออกทรัพยากรพลังงานน้ำมัน ณ วันนี้ยังไม่อาจคาดการณ์ทิศทางการตัดสินใจดังกล่าว แต่เป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวข้องกับทุกประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศผู้ส่งออกหรือนำเข้าจำต้องติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด

----------------------

 

 

บรรณานุกรม:

1. Imports by Area of Entry. http://www.eia.gov/dnav/pet/pet_move_imp_dc_nus-z00_mbblpd_a.htm

2. John R. Fanchi. Energy in the 21st Century, 2nd Edition, 2011

3. Oystein Noreng. Crude Power: Politics and the Oil Market, reprint 2007

4. National Intelligence Council. Global Trends 2030: alternative world. http://www.dni.gov/files/documents/GlobalTrends_2030.pdf

5. ประสบการณ์จากการศึกษาดูงาน เรื่อง : การสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดาน (Shale Gas) http://www.dmf.go.th/file/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99ShaleGas-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%93%E0%B9%8C.pdf

6. Argus US Shale Oil Special Report - Argus Media http://www.argusmedia.com/Petroleum/Crude/~/media/Files/PDFs/Mkting/Argus%20US%20Shale%20Oil%20Special%20Report.ashx

7. What is shale gas and why is it important? http://www.eia.gov/energy_in_brief/article/about_shale_gas.cfm

8. U.S. Field Production of Crude Oil. http://www.eia.gov/dnav/pet/hist/LeafHandler.ashx?n=PET&s=MCRFPUS2&f=A

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองคำมี Bullish Divergence และ แท่งเทียน Hammer รายสัปดาห์ แปลว่าน่าจะกลับตัวขึ้นแล้วป่าวครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เทศกาลหมดวันที่เท่าไหร่ครับคุณหมอ จะได้ดูว่าแรงส่งการใช้งานจริงของอินเดียไปถึงเมื่อไหร่ จำชื่อเทศกาลไมได้เลยค้นไม่ถูกครับ

ก็อปมาตอบครับ

ในภาพรวมความนิยมทองคำมีสูงในทุกภูมิภาคของอินเดีย ในภาคใต้อย่างรัฐทมิฬนาฑู เกเรลา และการ์นาตากะ ดูจะอาการหนักกว่าเพื่อนมีการบริโภคทองคำถึง 90% ของการบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับในอินเดีย

ช่วงเดือนตุลาคม-พฤษภาคมเป็นช่วงเทศกาลแต่งงานของคนอินเดียซึ่งโดยปกติคนอินเดียทุ่มไม่อั้นและเฉลิมฉลองกันมโหฬาร นอกจากนั้นช่วงเดือนตุลาคม-มกราคมและมีนาคม-พฤษภาคมเป็นช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองต่างๆ มากมาย เช่น เทศการดิวาลีในเดือนตุลาคมซึ่งเป็นวันปีใหม่ของอินเดีย เทศการพระพิฆเณศวรต้นเดือนสิงหาคม รวมทั้งเทศกาลเฉลิมฉลองเทพเจ้าต่างๆ ที่มีมากมายนับหมื่นองค์ ในเทศกาลเหล่านี้คนอินเดียมักมีการซื้อทองและอัญมณีเป็นของขวัญแจกจ่ายกัน

:aaที่น่าสนใจมีอีกเรื่องคือความคิดของลุงจิมที่ว่า เฟดและฝั่งตะวันตกจะเป็นตัวทำให้ราคาทองสูงขึ้นเองเพื่อป้องกันไม่ให้ทองไหลมาทางตะวันออก

What you are going to see now, and what the gold community doesn’t understand, is that the Fed and the West are now going to encourage the price of gold to go higher.”

http://kingworldnews...old_Policy.html

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณ WCG ครับรบกวนช่วยขยายความเกี่ยวกับการปรับราคาทองคำได้มั๊ยครับ มันจะเป็นยังไงและมีผลยังไงบ้างกับคนทั่วๆไป ส่งผลกับคนที่เก็บเงินกระดาษและคนที่เก็บทองยังไงครับ

ขอบคุณมากครับ

รอฟังด้วยครับ เหตุการณ์อะไรจะจุดชนวนเหมือนโอกาสทองครั้งที่ 1

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหรัฐอเมริกา: มหาอำนาจด้านน้ำมันรายใหม่ของโลก โดย มนูญ ศิริวรรณ

 

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม 2556 เวลา 00:00 น.

 

 

 

178766.jpg

 

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยบริโภคน้ำมันประมาณ 19 ล้านบาร์เรล/วัน

 

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้บริโภคน้ำมัน รายใหญ่ที่สุดในโลก โดยบริโภคน้ำมันประมาณ 19 ล้านบาร์เรล/วัน และในจำนวนนี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศสูงถึง 8.7 ล้านบาร์เรล/วันในปี ค.ศ. 2012 โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศในแถบตะวันออกกลางและอาฟริกาเหนือ (MENA) ซึ่งมีปัญหาด้านความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมือง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าความมั่นคงด้านพลังงานของสหรัฐฯขึ้นอยู่กับ เสถียรภาพและความมั่นคงด้านการเมืองของประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง เป็นหลัก

 

อดีตประธานาธิบดี George W. Bush เคยกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ สมัยที่เขายังเป็นประธานาธิบดีเอาไว้ว่า “สหรัฐฯเสพย์ติด (addicted) น้ำมัน และน้ำมันส่วนใหญ่ที่เราใช้ก็นำเข้ามาจากภูมิภาคที่ไม่มีเสถียรภาพของโลก” โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ประกาศตัวเป็นศัตรูกับสหรัฐฯ อย่างเช่น อิหร่าน หรืออิรักในอดีต เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตามใครจะคาดคิดว่าหลังจากเจ็ดปีผ่านไป สหรัฐฯจะสามารถพลิกบทบาทกลับมาเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ ถึงแม้จะยังไม่ถึงขนาดพึ่งพาตนเองได้ทั้งหมด แต่ก็สามารถเข้าร่วมกับประเทศในกลุ่มอียูในการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจาก อิหร่าน โดยไม่ทำให้ราคาน้ำมันดิบ WTI ในประเทศสูงกว่า 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล

 

นอกจากนั้นด้วยกำลังการกลั่นน้ำมันของโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ ยังทำให้สหรัฐฯกลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันสำเร็จรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก และสามารถส่งออกน้ำมันเบนซินไปขายให้ประเทศเพื่อนบ้าน แม้กระทั่งประเทศเวเนซูเอล่า ซึ่งผู้นำมีนโยบายเป็นปฏิปักษ์กับสหรัฐฯ และสั่งยึดทรัพย์สินของบริษัท Exxon Mobil ในเวเนซูเอล่ามาแล้ว แต่ปรากฏว่าวันนี้เวเนซูเอล่าต้องสั่งน้ำมันจากสหรัฐฯสูงถึง 196,000 บาร์เรล/วัน และมีรถยนต์จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆในเวเนซูเอล่าที่ต้องใช้น้ำมันเบนซินที่ กลั่นขึ้นในประเทศสหรัฐฯ

 

ปรากฏการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการปฏิวัติการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ที่ซ่อนตัวอยู่ในชั้นหินดินดาน (Rock Formations) ด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า การขุดเจาะในแนวนอน (Horizontal Drilling) และ การอัดน้ำ ทราย สารเคมี ด้วยแรงดันสูง ที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing หรือ Fracking ลงไปในชั้นหินดินดานให้เกิดการแตกตัว และได้ก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันที่เรียกว่า Shale Oil หรือ Shale Gas ผุดขึ้นมา

 

ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้การขุดเจาะเร็วขึ้น ถูกลงและดีขึ้น ต้นทุนของน้ำมันประเภท Shale Oil น่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่วนพื้นที่ที่มีการขุดเจาะมากที่สุดอยู่ในแถบตอนกลาง (Mid-west) ของประเทศ อันได้แก่ แถบรัฐ Wyoming, Oklahoma, North Dakota, Texas, Colorado และ New Mexico

 

มีการประเมินกันว่าปีที่แล้วสหรัฐฯขยายการผลิตน้ำมันได้มากที่สุดนับตั้งแต่ มีการขุดเจาะบ่อน้ำมันบ่อแรกในเชิงพาณิชย์ในปีค.ศ. 1859 โดยผลิตได้เฉลี่ย 6.4 ล้านบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้น 14% จากปี 2011 แต่ตัวเลขล่าสุดในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคมปีนี้ สหรัฐฯก็ได้ฉลองปีใหม่ด้วยการผลิตน้ำมันดิบในประเทศได้สูงกว่า 7 ล้านบาร์เรล/วันเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปีแล้ว และสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯคาดว่าในปี 2014 สหรัฐฯจะสามารถผลิตน้ำมันดิบได้สูงถึง 7.9 ล้านบาร์เรล/วัน ในขณะที่ล่าสุดประเทศซาอุดิอาเรเบียผลิตน้ำมันดิบอยู่ที่ 9.6 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทำให้ทบวงพลังงานสากล (EIA) ออกมาคาดการว่าสหรัฐฯจะขึ้นนำหน้าซาอุดิอาเรเบียกลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบ รายใหญ่ที่สุดของโลกในอีก 7 ปีข้างหน้า คือในปีค.ศ. 2020

 

ผลจากการผลิตน้ำมันดิบภายในประเทศได้เพิ่มมากขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 20 ปีนับจากปีค.ศ. 1993 ทำให้สหรัฐฯพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศลดลง โดยลดลงไปมากกว่า 38% นับจากปีค.ศ. 2005 เป็นต้นมา

 

สัดส่วนการนำเข้าก็ลดลงจาก 60% ของความต้องการน้ำมันทั้งหมดของประเทศเมื่อเจ็ดปีที่แล้ว ลดลงเหลือเพียง 41% ในปีที่ผ่านมา แสดงถึงความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางด้านพลังงานได้มากขึ้น

 

ขณะนี้ก็เหลืออยู่เพียงประเด็นเดียวที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่คือ ถ้าในอนาคตอันใกล้นี้สหรัฐฯสามารถผลิตน้ำมันดิบได้มากพอจนพึ่งพาตนเองได้ แล้ว รัฐบาลจะยอมให้ส่งออกน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติอย่างเสรีหรือไม่

 

ปัจจุบันการส่งออกน้ำมันหรือก๊าซถูกจำกัดตามกฏหมายที่ออกโดยสภาคองเกรสในปี ค.ศ. 1973 เมื่อเกิดเหตุการณ์กลุ่มประเทศอาหรับงดส่งน้ำมันให้กับประเทศตะวันตกที่สนับ สนุนประเทศอิสราเอล (Arab Oil Embargo)

 

ถ้ากฏเกณฑ์นี้ไม่ได้รับการแก้ไข ราคาน้ำมันดิบ WTI ในอีกสองปีข้างหน้าอาจลดลงต่ำถึง 50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งจะไม่จูงใจให้มีการขุดเจาะน้ำมันหรือลงทุนเพื่อผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น ดังนั้นการตัดสินใจของรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายส่งออกพลังงานจึงมีส่วนสำคัญ อย่างยิ่งต่อการพัฒนาแหล่งพลังงานในอนาคตของสหรัฐฯ และจะมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อตลาดพลังงานโลกในอนาคตด้วย

 

ที่แน่ๆก็คือถ้าสหรัฐฯเปลี่ยนจากประเทศผู้นำเข้าพลังงานรายใหญ่มาเป็นผู้ส่ง ออกพลังงาน ประเทศในกลุ่มโอเปคก็คงจะหนาวไปตามๆกันละครับ !!!

 

 

มนูญ ศิริวรรณ

pixel.gif?key=node,178766

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองคำมี Bullish Divergence และ แท่งเทียน Hammer รายสัปดาห์ แปลว่าน่าจะกลับตัวขึ้นแล้วป่าวครับ

 

ถ้ามองภาพใหญ่ ทางเทคนิคนะคะ ทองจะกลับตัวเป็นขาขึ้นอย่างสมบูรณ์เมื่อไหร่ ส่วนตัวจะมองที่กราฟอย่างน้อย 3 ตัว คือ กราฟดอลล่า ,กราฟทอง .กราฟเงิน ค่ะ จากกราฟทั้งสาม จะเห็นว่า ทองมีสัญญาณกลับตัว(ขึ้น)แล้ว ดอลล่ามีสัญญาณกลับตัว(ลง)แล้ว เหลือแต่เงินยังไม่มีสัญญาณกลับตัว(ขึ้น)อย่างชัดเจน เลยลองวิเดาเล่นๆนะคะ ว่าทองน่าจะป้วนเปี้ยนแถว 1550 - 1590 อีกพักหนึ่ง รอจนเงินเกิดสัญญาณกลับตัว(ขึ้น)อย่างชัดเจน เมื่อไหร่ 1620 ก็เอาไม่อยู่แล้วค่ะ และเดาว่าเราน่าจะจบขาลงที่ 1539.40 แล้ว

ปล.ความเห็นส่วนตัวนะคะ เดาล้วน

post-2539-0-61337300-1365344938_thumb.png

post-2539-0-12276500-1365344946_thumb.png

post-2539-0-40538200-1365344955_thumb.png

post-2539-0-56400900-1365344969_thumb.png

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้บริโภคน้ำมัน รายใหญ่ที่สุดในโลก โดยบริโภคน้ำมันประมาณ 19 ล้านบาร์เรล/วัน และในจำนวนนี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศสูงถึง 8.7 ล้านบาร์เรล/วันในปี ค.ศ. 2012

pixel.gif?key=node,178766

 

อเมริกา นำเข้าน้ำมัน8.7ล้านบาร์เรล/วันในปี ค.ศ. 2012 ถ้าคิดบาร์เรลละ90เหรียญ คิดเป็นเงิน285,795ล้านดอลลาร์ แต่ปีที่แล้วที่ผมจำได้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาขาดดุลงบประมาณในระดับ1ล้านล้าน ดอลลาร์ ส่วนยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐในเดือนก.พ.2013ปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์ จากตัวเลขที่ได้รับการปรับทบทวนที่ 4.45 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งการรายงานข้อมูลล่าสุดสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่า สหรัฐจะมียอดขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ยอดขาดดุลการค้าปรับตัวลดลงมาจากยอดนำเข้าน้ำมันดิบ ที่ดิ่งลงราว 21% ขณะที่ยอดส่งออกน้ำมันเบนซินและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมปรับตัวสูงขึ้น

http://www.ryt9.com/s/iq03/1625108

 

ขอมุมมองเพื่อนๆหน่อยครับ ถ้าสุดท้ายอเมริกาไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบแล้วหรือแม้แต่อาจกลายเป็นผู้ส่งออก อเมริกาจะลอดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้มั้ย และส่งผลอย่างไรต่อทองคำครับ ช่วยเพิ่มมุมองกันหน่อยครับ(กำลังคิดอยู่เหมือนกันครับ)

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อเมริกา นำเข้าน้ำมัน8.7ล้านบาร์เรล/วันในปี ค.ศ. 2012 คิดเป็นเงิน285,795ล้านดอลลาร์ แต่ปีที่แล้วที่ผมจำได้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาขาดดุลงบประมาณในระดับ1ล้านล้าน ดอลลาร์ ส่วนยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐในเดือนก.พ.2013ปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์ จากตัวเลขที่ได้รับการปรับทบทวนที่ 4.45 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งการรายงานข้อมูลล่าสุดสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่า สหรัฐจะมียอดขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ยอดขาดดุลการค้าปรับตัวลดลงมาจากยอดนำเข้าน้ำมันดิบ ที่ดิ่งลงราว 21% ขณะที่ยอดส่งออกน้ำมันเบนซินและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมปรับตัวสูงขึ้น

http://www.ryt9.com/s/iq03/1625108

 

ขอมุมมองเพื่อนๆหน่อยครับ ถ้าสุดท้ายอเมริกาไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบแล้วหรือแม้แต่อาจกลายเป็นผู้ส่งออก อเมริกาจะลอดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้มั้ย และส่งผลอย่างไรต่อทองคำครับ ช่วยเพิ่มมุมองกันหน่อยครับ(กำลังคิดอยู่เหมือนกันครับ)

 

อเมริกาจะรอดมั๊ย ไม่แน่ใจค่ะ เพราะมีองค์ประกอบหลายอย่าง แต่เค้าเป็นมหาอำนาจนะคะ คงไม่ยอมจำนนง่ายๆแน่

ถ้าสุดท้ายอเมริกาไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบแล้วหรือแม้แต่อาจกลายเป็นผู้ส่งออก เดาว่าเค้าคงต้องปั่นราคาน้ำมันให้สูงขึ้นแน่ แล้วปล่อยให้ค่าเงินดอลล่าอ่อนเพื่อให้ผลกำไรมากขึ้นและนำไปใช้หนี้ ส่วนทองจะเป็นขาขึ้นตามน้ำมันแน่นอน :57

ถูกแก้ไข โดย น้ำใส

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณ WCG ครับรบกวนช่วยขยายความเกี่ยวกับการปรับราคาทองคำได้มั๊ยครับ มันจะเป็นยังไงและมีผลยังไงบ้างกับคนทั่วๆไป ส่งผลกับคนที่เก็บเงินกระดาษและคนที่เก็บทองยังไงครับ

ขอบคุณมากครับ

รอฟังด้วยครับ เหตุการณ์อะไรจะจุดชนวนเหมือนโอกาสทองครั้งที่ 1

 

:033 นั่งพิมพ์ตั้งนาน กดผิดหายหมดเลย เอาสั้นๆละกันนะครับ

 

 

ในสมัยปี ๑๙๓๓ ที่มีการยึดทองคำ ถ้าเทียบกำลังซื้อ กับนมสด (คำนวณคร่าวๆจากตัวเลขที่มี)

  • ถ้ากำทองคำไว้ ๑ ออนซ์ ปลายปี ๑๙๓๓ ซื้อนมได้ประมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๔๕
  • ถ้ากำเงินกระดาษไว้ ๒๐ เหรียญ (ราคาทองคำก่อนโดนยึด) ปลายปี ๑๙๓๓ ซื้อนมได้ปริมาณน้อยลง ร้อยละ ๑๒

ในปี ๑๙๓๓ นั่นเป็นตัวอย่างของการปรับราคาทองคำที่ดีเลยครับ สมัยก่อนมีคนใช้ทองคำเป็นตัวสะสมความมั่งคั่งมากกว่าสมัยนี้ รัฐบาลยึดทองคำ โดยให้เงินกระดาษไปในอัตราแลกเปลี่ยน ~๒๐ เหรียญ/ออนซ์ หลังจากนั้นไม่นาน ก็ปรับราคาใหม่เป็น ๓๕ เหรียญ/ออนซ์

 

สำหรับการปรับราคาครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในยุคนี้ ผมไม่ทราบเหมือนกันครับว่าจะมีผลกระทบอย่างไร และอะไรเป็นตัวจุดชนวน --- แต่ที่แน่ๆ ขาใหญ่สามารถปรับได้ง่ายกว่า เพราะคนสมัยนี้ ไม่ถือทองคำไว้ในมือเหมือนคนสมัยก่อน --- แถมมีสื่ออยู่ในมือทั่วโลก คอยกล่อม คอยล้างสมอง ให้คนไม่สามารถมองเห็น หรือวิเคราะห์สถานการตามเนื้อผ้าได้ อยากจะทำอะไรคงไม่ต้องเกรงใจใครมากละครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

....

ขอมุมมองเพื่อนๆหน่อยครับ ถ้าสุดท้ายอเมริกาไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบแล้วหรือแม้แต่อาจกลายเป็นผู้ส่งออก อเมริกาจะลอดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้มั้ย และส่งผลอย่างไรต่อทองคำครับ ช่วยเพิ่มมุมองกันหน่อยครับ(กำลังคิดอยู่เหมือนกันครับ)

มุมมองของผม

  • ชาวมะกันไม่รอดจากวิกฤต แต่ประเทศโดยรวมรอดครับ เพราะลุงแซมมีทรัพยากรธรรมชาติ, มนุษย์ และกำลังทหาร เป็นอันดับต้นๆของโลก แต่เงินเก็บชาวมะกันกำลังถูกลดค่า, กองทุนเกษียณอายุกำลังจะโดน"ไซปรัส", ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะสูงขึ้น ฯลฯ
  • ส่งออกน้ำมันสุทธิ เป็นไปได้สูงครับ ขอเพียงแต่รอเวลาที่ราคาน้ำมันสูงพอแบบที่คุณน้ำใสว่า เดี๋ยวพวกจะรีบเจาะน้ำมัน ในอลาสกา และป่าสงวนต่างๆ อย่างแน่นอน
  • ผลกระทบกรณีส่งออกน้ำมัน กับราคาทองคำ ไม่น่าจะมีผลมากครับ เพราะเขาตั้งใจล้มดอลล่าร์ เพื่อปล้นกำลังซื้อจากคนทั่วโลก ก่อนล้างไพ่ เริ่มเกมใหม่อยู่แล้ว

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...