ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

อยากทราบด้วยครับ รอคำตอบอยู่ครับ

 

๒๐๑๕.๗๕

 

๒๐๑๕ = ปีคริสตศักราช

๑.๐๐ = ๓๖๕ วัน

๐.๗๕ = ๐.๗๕ x ๓๖๕ = ๒๗๓.๗๕ วัน = หรือประมาณวันที่ ๒๙-๓๐ ก.ย. = หรือสิ้นไตรมาส ๓ อย่างที่คุณหมอว่ามาครับ

 

http://amsu.cira.colostate.edu/leap.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

(Oct.1) 8 คำถาม 8 คำตอบ : Government Shutdown ส่งผลอะไร อย่างไร และทำไม ?? ผลกระทบและสาเหตุุการปิดทำการของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ หลังจากรัฐสภาไม่ผ่านการพิจารณางบประมาณประจำปี

 

1 การปิดทำการจะมีผลต่อความสัมพันธ์ต่อสังคมสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกหรือไม่

- งานบริการด้านกงสุล กงสุลสหรัฐ ในต่างประเทศ จะยังคงดำเนินงานตราบเท่าที่มีงบประมาณเพียงพอที่จะสนับสนุนในการทำงาน ตามคำสั่งของกระทรวงการต่างประเทศ ดังนั้นบริการ การขอวีซ่า และการทำหนังสือเดินทาง และ การให้บริการแก่ พลเมืองสหรัฐ ในต่างประเทศ จะดำเนินต่อไปเท่าที่สามารถทำได้

 

- นโยบายการทูต : การเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศ จะถูก จำกัด ให้เฉพาะสำหรับภารกิจเท่าที่จำเป็น เช่นเพื่อความมั่นคงของชาติ หรือ การรับมือภัยพิบัติเหตุฉุกเฉิน ที่เกี่ยวข้องกับ ความปลอดภัยของชีวิตมนุษย์ หรือ การคุ้มครองทรัพย์สิน

 

- บริการด้านกรีนการ์ด : งานบริการด้านเกี่ยวกับพิจารณาให้สัญชาติสหรัฐ และการให้บริการตรวจคนเข้าเมือง จะยังคงดำเนินต่อ เพราะกระบวนการขอ บัตรเขียว หรือ การขอถิ่นที่อยู่ถาวรในสหรัฐ ได้รับงบประมาณส่วนใหญ่จาก ค่าธรรมเนียมการใช้บริการ มากกว่างบประมาณจากส่วนกลาง

 

- หน่วยงานด้านความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ : ส่วนใหญ่ยังคงทำงานตามปกติ เพราะมีความจำเป็นต่อความมั่นคง ปลอดภัยโดยรวม เช่น หน่วยยามฝั่ง และ จนท.ภาษีศุลกากร และ หน่วนงานป้องกันชายแดน พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตรวจคัดกรอง ที่สนามบิน แต่อาจจะเกิดความล่าช้าได้ในบางหน่วยงาน

 

- หน่าวยงานทางทหาร: ทหาร 1.4 ล้านนายที่อยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่และประจำการ จะยังคงทำหน้าที่ต่อไปแต่จะได้รับเงินภายหลัง ขณะที่ ครึ่้งหนึ่งของเจ้าหน้าที่ พนักงาน พลเรือนกระทรวงกลาโหม จำนวน 400,000 คน จะถูกพักงาน ขณะที่อีกครึ่งหนึ่งจะทำงานโดยไม่ได้รับเงิน

 

- การท่องเที่ยว: อุทยานแห่งชาติทั่วอเมริกาการวมทั้งเว็บไซต์จะปิดบริการชั่วคราว รวมไปถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ และพิพิธภัณฑ์ ที่จะสูญเสียรายได้จากนับล้านค่าตั๋วเข้าชม นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อ ชุมชนใกล้เคียงแหล่งท่องเที่ยวและธุรกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยว

 

 

2 ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจจะมีต่อสหรัฐอเมริกา และทั่วโลก ?

 

-ถ้าปิดในเวลาไม่กี่วัน จะส่งผลต่อความลำบากทางการเงิน โดยเฉพาะพนักงานที่ถูกพักงานและไม่ได้รับค่าจ้าง

 

-ถ้าปิดในเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่ รายได้จากการท่องเที่ยว จะเริ่มได้รับผลกระทบ และผู้บริโภคและภาคธุรกิจ จะไตร่ตรองมากขึ้นในการใช้จ่าย

 

- ถ้าปิดนานกว่านั้น จะส่งผลต่อการชำระหนี้ ของรัฐบาลกลาง ทำหน้าที่นักลงทุนต่างชาติ เริ่มต้องกังวลเกี่ยวกับ ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ และอาจจะสูญเสีย ความเชื่อมั่น ศักยภาพในการใช้จ่าย การให้กู้ยืมเงิน และอัตราดอกเบี้ยจากผู้ให้กู้จากต่างประเทศอาจเพิ่มขึ้น นักลงทุนต่างชาติ ไม่มีความเชื่อมั่นการซื้อ พันธบัตร รัฐบาลสหรัฐ

 

3 ทำไมรัฐบาลสหรัฐ ต้องปิดทำการ?

 

ตอบง่ายๆ ให้เห็นภาพ รัฐบาลก็เหมือน รถ ที่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิง นั่นก็คืองบประมาณในการบริหาร หากไม่มีน้ำมันรถก็แล่นไม่ได้ ขณะที่รัฐสภาเป็นเสมือนผู้รับผิดชอบในการเติมน้ำมันในทุกๆ ปีงบประมาณใหม่

 

4 เหตุที่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่สามารถตกลงกับฝ่ายบริหารได้ เพราะ?

 

พรรคริพับลิกันซึ่งถือเสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯไม่เห็นด้วยกับ กฏหมายการประกันสุขภาพ หรือ รู้จักกันในชื่อ Obamacare จึงปฏิเสธที่จะลงนามในการจัดสรรงบประมาณประจำปี ที่มีนโยบายดังกล่าว ขณะที่ สมาชิกวุฒิสภาซึ่งพรรคเดโมแครตถือเสียงข้างมาก ก็ปฏิเสธที่จะลงนามอนุมัติงบประมาณประจำปีที่มี กองทุน Obamacare รวมอยู่ด้วย

 

5 เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาก่อนหรือไม่

 

เกิดขึ้น 17ครั้ง ตั้งแต่ ค.ศ. 1977 จนถึงครั้งล่าสุดซึ่งเป็นเวลายาวนานที่สุด ถึง 21 วันนับจากวันที่ 16 ธันวาคม 1995 ถึง 5 มกราคม 1996

 

6 วิธีปิดทำงาน จะดำเนินการอย่างไร ในเวลานี้ ?

 

หน่วยงานรัฐบาลกลาง จะมีการแจ้งให้ พนักงาน หรือเจ้าหน้าที่แต่ละคนว่า ว่าใคร คือ " จำเป็น " หรือ " ไม่จำเป็น " ที่จะต้องเข้ามาทำงานในสถานการณ์นี้ เจ้าหน้าที่รัฐที่เห็นว่ามีความ เห็นว่า จำเป็น จะยังคง ทำงานตามปกติ ส่วนคนอื่นที่เหลือจะถูกพักงาน ที่บ้าน โดยไม่ได้รับเงินเดือน ส่วนคนที่มาทำงานจะจ่ายให้ภายหลังหากมีการจัดสรรงบประมาณเรียบร้อยแล้ว

 

7 มีเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางกี่คนที่จะถูกพักงาน?

 

ประมาณ 800,000 จากจำนวน 2.2 ล้านคนของเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางทั่วอเมริกาจะถูกพักงาน อยู่ที่บ้าน โดยไม่ได้รับเงินเดือน

 

8 ผู้ที่ถูกพักงานจะสามารถทำงานได้หรือไม่ ?

 

สามารถทำได้ แต่ อาจจะมี ผลกระทบตามมา เพราะในแง่กฏหมายแล้วจะไม่สามารถทำได้ และอาจมีความผิดทางกฎหมาย ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจะดำเนินการ ใด ๆ เกี่ยวกับงานในระหว่างการถูกปิดทำการ ซึ่งรวมไปถึง การตรวจอีเมลของที่ทำงานก็ไม่สามารถทำได้

 

Source: Voice of America หรือ VOA

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อเมริกาเจ๊ง...ทองลง ดาวน์โจนขึ้น...เจริญละมรึง :_cd

DJIAF 15097.00 +51 +0.34%

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

(Oct 1) ก.ล.ต.สหรัฐยันทำงานต่อได้อีกระยะ : นายจอห์น เนสเตอร์ โฆษกคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ หรือ เอสอีซี แถลงว่า เอสอีซียังเปิดทำการในวันนี้ และคาดว่าจะทำงานเต็มที่ไปอีก 2-3 สัปดาห์เพราะเอสอีซีมีเงินทุนพิเศษที่หน่วยงานส่วนใหญ่ไม่มี ขณะที่หน่วยงานรัฐบาลกลางอื่น ๆ เริ่มหยุดทำงาน หลังไม่มีงบประมาณให้ดำเนินการมาตั้งแต่เที่ยงคืน หรือราว 11.00 น.ตามเวลาประเทศไทย

 

แม้ในกรณีที่เอสอีซีจะหมดเงินทุน และจำเป็นต้องลดการปฏิบัติการลง คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ยังคงจับตาดูกิจกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยน การใช้ข้อมูลวงใน และกองทุนการเงินต่าง ๆ

 

เมื่อถึงเวลานั้น เอสอีซีอาจหยุดบริการบางอย่าง เช่น กระบวนการสมัคร ซึ่งรวมถึงการขายหุ้นไอพีโอของทวิตเตอร์

 

ผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่งกล่าวว่า การปิดทำการของภาครัฐ ไม่เป็นปัญหาต่อตลาด เท่ากับเรื่องการเพิ่มเพดานหนี้ในเดือนหน้า

 

ตลาดเคยเจอบรรยากาศเช่นนี้มาแล้วในอดีต โดยการวิจัยของแบงก์ ออฟ อเมริกา-เมอริล ลินช์ พบว่าในการปิดทำการของรัฐบาลกลาง 11 ครั้งนับจากปี 2524 พบว่าค่าเฉลี่ยดัชนี เอส แอนด์ พี 500 เพิ่มขึ้น 0.1% ก่อนรัฐบาลหยุดทำงาน และเพิ่มขึ้น 1.2% ระหว่างหยุดทำการหนึ่งเดือน จากนั้นก็เพิ่มขึ้น 2.8% หลังจากผ่านไป 1 เดือน

 

การปิดสำนักงานภาครัฐส่วนใหญ่ค่อนข้างสั้น ประมาณ 3 วัน ที่หยุดทำงานนานที่สุดคือ 21 วันในเดือนธันวาคม 2538

 

Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Thanong Fanclub · 18,855 คนถูกใจสิ่งนี้33 นาทีที่แล้ว บริเวณ Bangkok ·

 

 

มีการเคลื่อนไหวแปลกๆทางทหารในสหรัฐฯ

 

ไม่แน่ใจว่าข่าวที่ลิงค์มานี้มีความน่าเชื่อแค่ใหน แต่มีรายงานว่ามีการเคลื่อนไหวทางทหารแปลกๆในสหรัฐฯเหมือนกับว่าประเทศจะ อยู่ในภาวะกฎอัยการศึก ช่วงนี้สหรัฐฯกำลังมีวิกฤตการเงินพอดี เพราะว่ารัฐบาลปิดตัวเองเนื่องจากงบประมาณประจำปีไม่ผ่าน แต่ที่จะเป็นเรื่องใหญ่ คือการยกเพดานหนี้สหรัฐฯจาก$16.7ล้านล้าน ถ้าไม่ยกเพดานหนี้ขึ้น สหรัฐฯจะผิดชำระหนี้ และจะกลายเป็นประเทศล้มละลายทันที เส้นตายคือวันที่17ตุลาคม ถ้าดูบรรยากาศการเมืองตอนนี้ โอกาสที่ทางฝ่ายบริหารและคอนเกรซจะตกลงกันได้เรื่องยกเพดานหนี้ดูเหมือนว่า จะไม่ง่าย เรื่องนี้เป็นเรื่องคอขาดบาดตายมากกว่าเรื่องปิดรัฐบาลมาก วิกฤตส่อเค้าอยู่ข้างหน้าอีกระลอกหนึ่ง แต่ที่น่าสนใจคือระหว่างวันที่ 13-14ตุลาคมทางDepartment of Homeland Security จะมีการฝึกการรักษาความปลอดภัยทั่วสหรัฐฯแบบเสมือนจริง โดยจะจำลองสถานการณ์การที่สหรัฐฯโดนโจมตีทางไซเบอร์จากศัตรู ทำให้ระบบคอมฯหรือการสื่อสารอื่นๆล้มเหลว ช่วงนั้นอาจจะเป็นช่วงที่เราต้องจับตาดูเป็นพิเศษว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิด ขึ้นหรือเปล่า

 

 

thanong

1/10/2013

 

http://intellihub.com/2013/10/01/major-military-movement-spotted-inside-conus-possibly-domestic-deployment/

-PAXP-deijE.gif

 

Major Military Movements Spotted Inside the CONUS Possibly for Domestic Use intellihub.com

Shepard Ambellas | As the Corporation of the United States (D.C.) skates by on the verge of bankruptcy, military activity

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

http://armstrongecon...-a-stock-rally/

 

 

สรุปคร่าวๆ

 

เรากำลังเผชิญอยู่กับ 2 วิกฤต ที่พร้อมจะแตก (ในปี 2015.75) นั่นคือ วิกฤตหนี้สาธารณะ และ วิกฤติเงินบำนาญ

เราอยู่ในช่วงเปลี่ยนถ่าย (อย่างช้าๆ ในระยะเริ่มต้น แต่จะเปลี่ยนในอัตราเร่ง

เงินกำลังไหลออกจาก Public Sector ไปยัง Private Sector (เพราะ 1. ความเสี่ยง 2. ผลตอบแทน)

 

และนี่แหละ จะทำให้ดอกเบี้ยพันธบัตรเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ (และจะทำให้ QE หยุดไม่ได้)

และดัชนี Dow Jones สูงขึ้นอย่างมาก (ไปจนปี 2015.75)

 

อาจเป็นเพราะเหตุนี้รึป่าวครับคุณหมอเล็ก

ถูกแก้ไข โดย milo

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

JohnCM, เมื่อ 01 ตุลาคม 2013 - 12:12, พูดว่า:

เงินกำลังไหลออกจาก Public Sector ไปยัง Private Sector (เพราะ 1. ความเสี่ยง 2. ผลตอบแทน)

 

 

งง เลย ครับท่านใดเข้าใจช่งยบอกหน่อยค้าบ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองโดนทุบเพราะข่าวนี้หรือเปล่า

http://www.zerohedge.com/news/2013-10-01/bart-chilton-commodities-traders-you-are-your-own

 

เพราะหน่วยงานรัฐบาลโดนปิด เลยไม่มีใครคอยดูแลตลาดโภคภัณท์ เปิดช่องให้ถูกทุบได้

 

(จะดู ไม่ดูยังไงก็โดนทุบอยู่ดี เพราะเจพีหม้อแกง ส่งคำสั่งขายตามที่ลูกค้าสั่ง ลูกค้าคือรัฐบาลสหรัฐนะจ๊ะ)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ที่ถูกทุบ เพราะจีนปิดตลาดวันหยุดยาวหรือเปล่าครับ ?

 

ถ้าใช่แสดงว่า ช่วงนี้ราคาน่าจะถูกกดลงน่าดูเลยครับ

 

แล้วอาจดีดกลับตอนจีนเปิดตลาด

 

ความคิดเห็นส่วตัวนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Oct.2) วิกฤตเศรษฐกิจคราวหน้าจะเป็นอย่างไร (2) : วันก่อนมีโอกาสพบกับท่านผู้อ่านท่านหนึ่งโดยบังเอิญ ได้รับทราบว่ามี Comment ในบทความเดือนที่แล้วว่าด้วยเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจ ท่านบอกว่าอ่านจบแล้ว ยังไม่จุใจ มีความรู้สึกว่า “ยังไม่สุดซอย” อย่างนั้นผมก็เลยเรียนไปว่าเดี๋ยวรออ่านเดือนต.ค.นี้ ผมจะว่าให้ "สุดซอย” ไปเลยว่างั้น เราเริ่มกันตอนนี้เลยนะครับ

 

คราวก่อนผมมีข้อแนะนำสังเกตอยู่หลายประการ ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์มากเหมาะสมที่จะนำเอามา "รับใช้ปัจจุบัน” เป็นอย่างยิ่ง แต่ดูเหมือนว่า Comment ที่ได้ยังอยากจะให้ผมเล่าเรื่องที่เป็นสัญญาณเตือนให้มากขึ้น ดังนั้นขอเรียนเป็นประเด็นๆ ตรง ๆ เนื้อ ๆ เน้น ๆ เลยนะครับ

 

1.) วิกฤติคราวก่อนปี 2540 เป็นเรื่องของการ “mismanage” นโยบายเรื่องดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลัก คงจะไม่กล่าวในที่นี้อีก ในความเห็นของผมโอกาสที่เราจะมี “systemic risk” ในเรื่องดังกล่าวอีกคงจะเป็นไปได้ยาก เหตุผลสั้นๆ แต่มีน้ำหนักมากก็คือ ประการแรกอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงแบบไม่มีความเสี่ยง (Risk Free Rate) ดำรงอยู่อย่างเป็นเรื่องเป็นราว (meaningful existence)

 

ประการที่สองการหันมาใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวก็ทำให้การโจมตีเงินทำได้ยากและไม่คุ้ม "ที่จะทำ” ถึงแม้ว่าการบริหารจัดการนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนสามารถทำได้ดีกว่านี้ก็ตาม

 

2.) ผมมีความเชื่อว่าวิกฤติคราวหน้า (บอกไปแล้วในเดือนที่แล้วว่าไม่น่าจะเกินปี 2017) น่าจะมีต้นตอมาจากเรื่องอื่นมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการที่ผิดพลาดทางด้านการคลัง ยิ่งมีการยืนยันอย่างมั่นเหมาะว่า จะดำรงวินัยทางการคลังอย่างมั่นคง ยิ่งทำให้ผมไม่มั่นใจมากขึ้น ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้ตั้งใจจะต่อว่าใครเพียงทุกอย่างคงต้องดู”เรื่องจริง” ที่เกิดขึ้น และดูเหมือนว่าหน่วยงานอิสระอื่น ๆ ก็ได้จับตาดูเหมือนกัน อาทิเช่นบริษัทจัดอันดับในต่างประเทศ เป็นต้น

 

3.) โดยทั่วไปการดำเนินนโยบายการคลังจะมีสององค์ประกอบเป็นสำคัญ ได้แก่ การใช้จ่ายภาครัฐ (Government Expenditure; G) และการจัดเก็บภาษี (Tax;T) เมื่อใดก็ตามเมื่อ G=T ก็หมายถึงการดำเนินนโยบายแบบสมดุล(Balanced Budget)

 

หากต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาลก็อาจจะใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary Fiscal Policy) การดำเนินนโยบายแบบนี้ตัว G ก็จะมากกว่า T และต้องหาเงินมาเพิ่มด้วยการกู้อย่างที่ผมได้เคยเรียนไว้การกู้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย หากเราสามารถหาเงินมาคืนเจ้าหนี้เขาได้ และเจ้าหนี้ยังคงมีความ "สบายใจ” ที่จะให้กู้อยู่ได้

 

4.) การใช้ Expansionary Fiscal Policy รัฐก็มีความคาดหวังว่าเศรษฐกิจที่ขยายตัวจะทำให้ประชาชนกินดีอยู่ดี แล้วมีกำลังในการจับจ่ายใช้สอย และเสียภาษีได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบของไทยที่ยังพึ่งพาภาษีขาย (Sales Tax) อยู่มาก ดังนั้นนโยบายที่ผ่านมายังคงมีจุดมุ่งหมายที่กระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถเก็บภาษีได้ในภายหลัง

 

อย่างไรก็ตามสิ่งที่เป็นที่น่าห่วงใยก็คือ หากการจัดเก็บภาษีทำได้ไม่ตามนัด ฐานะการคลังก็จะอ่อนแอลง และเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งปฏิกิริยาลูกโซ่ก็จะเกิดขึ้นตามมา หากนึกไม่ออกไปทบทวนเรื่องที่เกิดขึ้นที่ กรีซ และไซปรัส แล้วมาเทียบเคียงดูมันไม่น่าจะต่างกันเท่าไหร่หรอก

 

5.) ปฏิกิริยาลูกโซ่ที่บอกข้างต้นนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากความเชื่อมั่นล้วน ๆ เมื่อความเชื่อมั่นเสื่อมถอย อะไร ๆ ก็ดูไม่ดีไปหมด เจ้าของเงินก็อยากได้เงินคืน เขาก็จะเร่งรัดการชำระหนี้ การปล่อยสินเชื่อก็จะเข้มงวดมากขึ้น

 

เจ้าหนี้ในทุกระดับไม่ว่าระดับลูกทุ่ง ลูกกรุง หรืออินเตอร์ ก็จะทำอย่างเดียวกัน ที่ได้บอกข้างต้น ใครพอจะ "ชักดาบ” ได้ก็จะไม่รีรอ ผู้คนก็จะตื่นตระหนก แห่ไปถอนเงินมาเก็บไว้ที่บ้าน (จำไซปรัสได้ไหมครับ) พวกอินเตอร์ก็จะขนเงินออกทั้งอินเตอร์จริงๆ (เจ้าหนี้ต่างประเทศ) และอินเตอร์จำเป็น (พวกที่มีเงินบาทเยอะ ๆ และเป็นเงินสดเป็นตู้คอนเทนเนอร์) ค่าเงินบาทก็จะอ่อนลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในตลาดสว่างและตลาดมืด เงินก็จะหายไปจากระบบไปกองอยู่ที่แบงก์ชาติ ดอกเบี้ยก็จะพุ่งสูงขึ้น ที่เหลือก็ไปคิดเอาเองก็แล้วกัน

 

6.) คราวก่อนได้กล่าวไว้ว่าต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ก็ขอทบทวนเอาไว้ตรงนี้อีกหน่อยหนึ่งว่า ในยามวิกฤตสภาพคล่องเป็นเรื่องที่สำคัญถึงสำคัญที่สุด และคงจะไม่มีประโยชน์อันใดที่จะเพิ่งมารู้ว่ามีวิกฤตแล้วถึงจะมาเตรียมสภาพคล่อง เพราะมันไม่มีทางทันหรอก

 

โดยปกติมันจะมีดัชนีบ่งชี้ให้เรารู้สึกตัวอยู่ล่วงหน้าพอควร ขอยกตัวอย่างเช่นเมื่อใดที่เจ้าหนี้เขาจะเริ่มหวั่นไหว (เมื่อ Credit rating แย่ลง) เมื่อใดที่สภาพคล่องเริ่มหดหาย (เมื่อแบงก์เริ่มไม่ปล่อยกู้ ดอกเบี้ยสูงขึ้น) เมื่อใดที่เงินทุนไหลออก(เมื่อเงินบาทอ่อนตัวอย่างรวดเร็ว แซงเงินทุกสกุล)

 

หวังว่าคราวนี้ผมได้ว่าจน "สุดซอย” แล้วนะครับ และทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัว โปรดใช้วิจารณญาณ ในการรับรู้ด้วย สวัสดี

 

โดย เสถียร ตันธนะสฤษดิ์

Money Time

 

Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

JohnCM, เมื่อ 01 ตุลาคม 2013 - 12:12, พูดว่า:

เงินกำลังไหลออกจาก Public Sector ไปยัง Private Sector (เพราะ 1. ความเสี่ยง 2. ผลตอบแทน)

 

 

งง เลย ครับท่านใดเข้าใจช่งยบอกหน่อยค้าบ

 

ตามความเข้าใจก็คือ รัฐบาลหมดความน่าเชื่อถือ และเพื่อหาผลตอบแทนที่ดีกว่า เงินจึงไหลไปภาคธุรกิจเอกชน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Gold has tumbled sharply and the bearish decline still appears to be moving in full pace.

The nonsense put out about gold as a hedge against inflation and the coming hyperinflation trapped a lot of people in the yellow metal.

However, I have been warning that we face deflation not inflation and with the $2 trillion-plus Fed balance sheet expansion, gold failed to breakout to the upside demonstrating that the fundamentals talked about just are not real.

 

Our Daily Bearish Reversal lies at 1283. We still see gold declining and it should perhaps just crack below the $1,000 level to wipe out most of the Gold promoters who have sold their bill of goods to a lot of unsuspecting people. Once that is accomplished, the tree should be shaken significantly and the majority will most likely then be looking for $650.

 

 

ลอกมาไม่หมดนะครับ สนใจตัวเต็มตามอ่านในลิงค์ของ MA เลยนะครับ

สรุปคร่าวๆ

MA ย้ำอีกครั้ง (เป็นครั้งที่พันแล้วมั้ง หุหุ) ว่า ไม่มี Hyperinflation

ที่เราเจอเป็น Deflation ต่างหาก

และการที่ทองราคาลงเรื่อยๆ ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า สิ่งที่คนเชื่อเรื่อง QE เรื่องเงินเฟ้อ จะทำให้ทองราคาสูงขึ้นนั้นเป็นความเชื่อที่ผิด

 

หากทองปิดต่ำกว่า 1283 ก็เตรียมลงอีกรอบใหญ่ได้เลย

ตามมุมมองของ MA ยังเชื่อว่าทองจะลงต่อ และเผลอๆ จะทะลุต่ำกว่า 1000 ได้

และเพราะตรงนี้จะทำให้ Gold Promoter (ที่ลับหลังก็ขายทองออกเหมือนกัน) จะหุบปากเสียที

 

** อย่างไรก็ตาม มุมมองระยะยาวของ MA ยังไม่เปลี่ยนแปลง

 

ถึงตอนนั้น กูรู ทั้งหลาย จะออกมาฟันธงว่า จะได้เห็น 650 เป็นแน่แท้

และคนที่มีทองฝอย ทองหนวดกุ้ง รายเล็กรายกลาง ก็จะขายทองออกมาเกลี้ยง ทุกๆ การขึ้นเล็กๆ น้อยๆ

และนั่นแหละ การวิ่งรอบใหญ่จะมาถึง เมือรายย่อยรายกลางขายของออกมาหมดแล้ว

 

MA เชื่อว่า การเขย่าต้นไม้เก็บผลไม้ ครั้งนี้ จะยาวนานไปจนถึงเดือน มี.ค. ปีหน้า (ระวังเดือน ม.ค.)

 

 

http://armstrongeconomics.com/2013/10/01/gold-the-problem-we-face/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

JohnCM, เมื่อ 01 ตุลาคม 2013 - 12:12, พูดว่า:

เงินกำลังไหลออกจาก Public Sector ไปยัง Private Sector (เพราะ 1. ความเสี่ยง 2. ผลตอบแทน)

 

 

งง เลย ครับท่านใดเข้าใจช่งยบอกหน่อยค้าบ

 

 

เงินกำลังไหลจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐ ไปเข้าตราสารของเอกเชน เช่น หุ้นในตลาด (dow) และ หุ้นกู้ หรือพวก Mortgage back security ครับ

ทั้งนี้เพราะ

 

1. ความเสี่ยง เขามองกันว่า ตราสารของรัฐไม่ได้มีความเสี่ยงต่ำแบบในอดีตแล้ว ตราสารรัฐก็มีสิทธิ default ได้ แบบที่เกิดขึ้น เห็นกันบ้างแล้ว

2. ผลตอบแทน ของพันธบัตรรัฐบาลต่างๆ ถูกกดให้อยู่ในระดับต่ำเกินไป จากนโยบายของธนาคารกลางต่างๆ เช่น QE ก็มีผลในการกดดอกเบี้ย

ดอกเบี้ยต่ำๆ เช่น ไม่เกิน 2% นี้กดดันให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม ฯลฯ ต้องหาทางเลือกการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนมากขึ้นครับ

เพราะ อัตราผลตอบแทนการลงทุนเฉลี่ยขั้นต่ำที่กองทุนเหล่านี้ต้องการคือ 8% ต่อปี หากต่ำกว่านี้ กองทุนเหล่านั้นเกิดปัญหา เงินจะขาดมือ หากถึงเวลาที่ผู้ประกันตนใช้สิทธิในอนาคต

(และสิ่งนี้กำลังเกิดขึ้น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของหลายๆ ประเทศจะถูกเป็นแหล่งที่รัฐจะยึดเข้าไปซื้อพันธบัตร หากไม่มีคนซื้อ หรือหนี้รัฐมีปัญหา และจะทำให้กองทุนเหล่านี้เจ๊งในที่สุด)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...