ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

สอบถามหน่อยครับระบบการเก็บทองคำของเฟด หมายถึงทองคำส่วนไหนครับ ทองคำของเฟดเอง หรือเฟดรับจ้างเก็บทองคำด้วย

 

---ทองคำที่อ้างว่ารัฐบาลสหรัฐมีอยู่8000ตัน อยู่ในส่วนนี้หรือเปล่าครับ

 

เท่าที่ดูในสารคดี เขาบอกว่าทองส่วนใหญ่เป็นของต่างประเทศ

 

รู้ไหมว่าตึกฝั่งตรงข้ามคลังของเฟด คือคลังเก็บทองคำของ JP Morgan (ทองในตลาดComex)

ด้วยเหตุนี้ถึงมีข่าวลือ ว่ามีอุโมงระหว่างเฟด กับ เจพีหม้อแกง ไว้คอยขนทองมาเก็บไว้ทุบราคาทอง ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา

 

 

Bernanke-Dimon-Fed-Tunnel.png

 

 

 

CMP%20NYFed%20map_0.png

ถูกแก้ไข โดย oasis

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัมพันธ์การค้า 2 มหาอำนาจศึกวัดใจสหรัฐ ดันจีนคู่ค้าหรือคู่แข่ง

  • 12 มิถุนายน 2556 เวลา 08:44 น. |

8B59215C55764225AE37A42C5E7F0C09.jpg

 

 

 

โดย...นงลักษณ์ อัจนปัญญา

ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่การฟื้นฟูและเติบโตยังคงไม่แน่นอน แถมยังเชื่องช้า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ทั่วโลกต่างเห็นตรงกันว่า สิ่งที่ชาติมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกอย่างสหรัฐอเมริกาต้องการมากที่สุดใน ขณะนี้ก็คือแรงขับเคลื่อนขนาดใหญ่ที่จะมาผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถ ขยับไปข้างหน้า

แน่นอนว่า นอกจากแรงกระตุ้นจากภาครัฐที่ทุ่มลงไปชนิดเกินขีดจำกัด จนทำให้ตัวเลขหนี้สาธารณะพุ่งชนเพดานหลายรอบ อีกหนึ่งแรงดันสำคัญก็คือเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (เอฟดีไอ) ในฐานะเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อขยับขยายกิจการและการสร้างงานภายในประเทศ

และหนึ่งในทุนต่างชาติที่สหรัฐน่าจะพอคาดหวังได้บ้างในขณะนี้ ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งก็คือ เอฟดีไอจากชาติมหาอำนาจอันดับที่ 2 ของโลกอย่างประเทศจีน

เห็นได้จากรายงานการนำเงินเข้ามาซื้อหุ้นหรือควบรวมกิจการรายใหญ่ของ สหรัฐช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีกรณีตัวอย่างตอกย้ำชัดเจนล่าสุดอย่างการที่บริษัท ชวงฮุย อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลด์ดิงส์ ผู้ผลิตเนื้อหมูรายใหญ่ที่สุดของจีนประกาศเข้าซื้อกิจการของสมิธฟิลด์ ฟู้ด อิงค์ ผู้ผลิตเนื้อหมูรายใหญ่ที่สุดของโลกสัญชาติสหรัฐ ด้วยมูลค่าสูงที่สุดของการเข้าซื้อกิจการในสหรัฐของต่างชาติถึง 4,720 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.41 แสนล้านบาท) เมื่อช่วงปลายเดือน พ.ค.

อย่างไรก็ตาม แม้จะยินดีกับการมาเยือนของจีน แต่นักวิเคราะห์ต่างสรุปตรงกันว่า สหรัฐกลับยังมีอาการกระอักกระอ่วนใจที่จะให้การยอมรับจีนในฐานะพันธมิตรทาง การค้ามากกว่าคู่แข่งหรือภัยคุกคาม แม้การเข้ามาของจีนจะไม่ได้เฉียดใกล้ส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านการเมืองและ ความมั่นคงของชาติเลยก็ตาม

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ให้เหตุผลตรงกันว่า สาเหตุสำคัญเกิดขึ้นจากทัศนคติความเชื่อของชาวสหรัฐส่วนใหญ่ที่ยังรู้สึกว่า ไม่อาจจะเชื่อมั่นเชื่อใจจีนได้ 100% โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเอ่ยถึงข้อตกลงที่มีผลประโยชน์มหาศาลเข้ามาเกี่ยว ข้อง

พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ความไม่สบายใจที่จีนจะไขว่คว้าหาประโยชน์มากเกินพอดีจนไม่เหลือเผื่อถึงเจ้า ของประเทศอย่างสหรัฐ รวมถึงการฉวยโอกาสคว้าเอาความรู้ วิทยาการ เทคโนโลยีไปต่อยอดจนกลายเป็นคู่แข่งผลิตสินค้ากับสหรัฐ

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือความเห็นของ ชาร์ลส์ กราสลีย์ วุฒิสมาชิกจากรัฐไอโอวา ซึ่งกล่าวภายหลังการประกาศซื้อกิจการสมิธฟิลด์ของชวงฮุยว่าอดรู้สึกกังวลต่อ ระบบห่วงโซ่อุปทานอาหารของสหรัฐไม่ได้ ขณะที่ผลสำรวจแบบสอบถามจากฮิล พลัสโนว์ตัน สแตรทเตอร์จี บริษัทด้านการสื่อสารในสหรัฐ ที่พบว่า 51% ของชาวอเมริกันยังคงเชื่อฝังหัวว่าจีนเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ สหรัฐ

ด้าน อีริก กอร์ดอน ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายและธุรกิจจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน กล่าวว่า ชาวสหรัฐส่วนใหญ่เห็นว่าตนเองต้องเสียตำแหน่งงานให้กับจีน แถมยังต้องซื้อสินค้าจีนมากกว่าที่จีนซื้อจากสหรัฐ เป็นความรู้สึกถึงความไม่เสมอภาค หรือรู้สึกว่าสหรัฐกำลังเสียเปรียบจีน

ทัศนคติข้างต้นสะท้อนให้เห็นความกังวลที่จะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการ เข้ามาลงทุนในสหรัฐของจีน เพราะความไม่ชอบใจผสมกับความกลัวจะกลายเป็นกระแสกดดันทางการเมืองให้รัฐบาล กำหนดมาตรการที่เข้มงวดกับจีนมากยิ่งขึ้น ทั้งๆ ที่ตัวเลขจริงๆ ในปัจจุบัน จีนยังไม่แม้แต่จะติดอันดับ 1 ใน 20 เงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติที่เข้ามาในสหรัฐมากที่สุดเลยด้วยซ้ำ โดยปีที่ผ่านมาอันดับ 1 คือประเทศ เนเธอร์แลนด์ ตามด้วยฝรั่งเศสและญี่ปุ่น

ขณะเดียวกัน ยังทำให้ประธานาธิบดีบารัก โอบามา แห่งสหรัฐ ในขณะนี้ต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักจากผู้นำภาคธุรกิจในประเทศ โดยฝ่ายที่คัดค้านการเข้ามาของจีนได้เร่งรัดให้จัดการหาวิธีรับมือกับ พฤติกรรมจีนที่เสมือนนักล่าความมั่งคั่ง และนักช่วงชิงทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ ขณะที่ฝ่ายที่สนับสนุนการเข้ามาลงทุนของจีนเรียกร้องให้รัฐบาลผ่อนคลายกฎ เพื่อเปิดทางให้จีนเข้ามาลงทุนซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจที่กำลังอ่อนแอของสหรัฐ แข็งแกร่งขึ้นอีกครั้ง

คำถามสำคัญก็คือ ทำไมสหรัฐจึงไม่สบายใจที่จะเป็นพันธมิตรทางการค้ากับจีนได้เหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่เข้ามาลงทุน

นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งให้เหตุผลแรกสุดว่าเป็นเพราะแนว ทางการปกครองที่แตกต่าง ทำให้แนวคิดและหลักการบริหารต่างกัน ขณะที่ประเทศหนึ่งมีระบบที่องค์กรอิสระตรวจสอบได้ อีกประเทศเลือกที่จะกุมทุกอย่างไว้อย่างเบ็ดเสร็จ และปิดเหตุผลในการตัดสินใจให้คลุมเครือ

เหตุผลประการต่อมาก็คือ การตีความของคำว่า “มาตรฐาน” ที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยนักวิเคราะห์มองว่ามาตรฐานจีนยังคงห่างไกลจากความคาดหวังตามมาตรฐานสหรัฐ

ร็อกกี้ ลี หัวหน้ากฎหมายดำเนินการธุรกิจองค์กรของบริษัทกฎหมาย แคดวาลาเดอร์ วิกเคอร์เชม แอนด์ ทาฟท์ แอลแอลพี กล่าวว่า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือมาตรฐานด้านการบัญชีและการเมืองที่ไม่เท่าเทียม ระหว่างสหรัฐกับจีน จนทำให้การทำธุรกิจระหว่างสองชาติเติบโตได้อย่างเชื่องช้า โดย ลี กล่าวว่า การจัดการบัญชีจีนเชื่อถือไว้ใจไม่ค่อยได้ มีตัวเลขที่ระบุที่มาไม่ได้ มีการกระทำเพื่อปกปิดค่านายหน้า หรือการหาเรื่องหักลดหย่อนภาษีมากจนผิดปกติ

สอดคล้องกับความเห็นของ เอ็ด คิง หัวหน้าการควบรวมและเข้าซื้อกิจการจากบาร์เคลย์ส ในฮ่องกง ที่ระบุว่า แม้ในช่วง 23 ปีให้หลัง บริษัทเอกชนจีนที่เป็นอิสระจากรัฐจะลงทุนในสหรัฐมากขึ้น แถมเลือกลงทุนในภาคส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหรือโทรคมนาคม แต่ด้วยปัญหามาตรฐานที่เหลื่อมล้ำ สหรัฐจึงยังไม่สบายใจที่จะคบหาจีนในฐานะคู่ค้าที่เท่าเทียม

ขณะที่เหตุผลประการสุดท้ายก็คือ เจตนาในการเข้ามาของจีน โดยนักวิเคราะห์แสดงความเห็นผ่านบลูมเบิร์กว่า บริษัทขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ของจีนอยู่ภายใต้การควบคุมสนับสนุนของรัฐบาล ดังนั้นสหรัฐจึงไม่สะดวกใจนักที่จะจับมือทำธุรกิจ เนื่องจากอดคิดไม่ได้ว่าจีนอาจจะเข้ามาล้วงความลับหรือบ่อนทำลายสหรัฐ

ทั้งนี้ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการพิจารณาการลงทุนต่างชาติของสหรัฐ (ซีเอฟไอยูเอส) ได้ขวางการเข้าซื้อกิจการของบริษัทจีนอย่างน้อย 3 แห่ง ด้วยเหตุผลที่ว่า การเข้าซื้อกิจการเหล่านั้น ข้องแวะกับกิจการที่เกี่ยวพันต่อความมั่นคงของชาติ เช่น พลังงาน โทรคมนาคม หรือตั้งอยู่ใกล้กับสิ่งก่อสร้างของทางกองทัพ

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน สหรัฐจึงไม่อาจนำความมั่นคงมาเสี่ยงเพื่อความมั่งคั่งได้ โดยเมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโอบามาได้สั่งระงับไม่ให้บริษัท รอลส์ คอร์ป จากจีน สร้างโรงงานพลังงานลมใกล้กับฐานทัพเรือสหรัฐในโอเรกอน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 22 ปี ที่ประธานาธิบดีสหรัฐใช้อำนาจผู้นำขวางการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากเหตุผลด้านความมั่นคง

แต่แม้จะรู้สึกกระวนกระวายไม่สบายใจกับการเข้ามาของจีนเพียงใด แต่สุดท้ายแล้วสหรัฐก็ไม่อาจปฏิเสธจีนได้ โดย สตีเฟน ออร์ลินส์ ประธานคณะกรรมการแห่งชาติด้านความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐจีน กล่าวว่า การลงทุนไม่ว่าจะมาจากชาติใด ย่อมเป็นประโยชน์กับสหรัฐทั้งสิ้น อย่างการลงทุนของจีนจะช่วยในเรื่องของการสร้างงาน เรื่องการเก็บภาษีของรัฐ ตลอดจนจะส่งผลดีต่อราคาสินทรัพย์และตลาดหุ้นภายในสหรัฐ

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องดีแน่นอนหากสหรัฐจะผ่อนคลายกฎการลงทุนให้กับจีนบ้าง ขณะที่ พิน หนี่ ประธานว่านเซียง อเมริกา อิงค์ ประจำรัฐอิลลินอยส์ บริษัทด้านการลงทุนของจีน กล่าวว่า การลงทุนจากจีนยังเป็นประโยชน์กับสหรัฐที่จะช่วยเจาะตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ ที่สุดและมีศักยภาพในการจับจ่ายแห่งหนึ่งของโลก

นอกจากนี้ ยังไม่นับรวมถึงเงินทุนจากจีนที่เข้ามาเพื่อช่วยพยุงกิจการ ขยับขยายการเติบโต เสริมสภาพคล่อง และเพิ่มการจ้างงานในตลาดแรงงานของสหรัฐ โดยข้อมูลจากโรเดียม กรุ๊ป ระบุว่า ขณะนี้บริษัทจีนได้จ้างงานชาวอเมริกันเพิ่มมากขึ้นจาก 2.7 หมื่นคนเมื่อเดือน ต.ค.ปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 3.2 หมื่นคน ในเดือน พ.ค.ปีนี้

กลายเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่สหรัฐจะต้องใคร่ครวญหาคำตอบให้ ดี เพราะผลลัพธ์สุดท้ายก็คือการที่จะทำให้ได้จีนมาเป็นคู่ค้าที่เสมอภาคและ พันธมิตรที่เท่าเทียม หรือการผลักให้จีนเป็นคู่แข่งคุกคามของจริง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วรวรรณ ธาราภูมิ

 

7 ชั่วโมงที่แล้ว

Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง มิตรแท้ตลอดเส้นทางลงทุน

 

13 มิถุนายน 2556

----------------------------------------------------------------------------

 

General News

 

• องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) เปิดเผยว่าอัตราว่างงานของประเทศสมาชิก OECD ทรงตัวที่ระดับ 8% ในเดือนเม.ย. พร้อมระบุว่า อัตราว่างงานประประเทศยุโรปเพิ่มขึ้นสูงสุดทำสถิติใหม่ โดยเพิ่มขึ้น 0.1% สู่ระดับ 12.2% ในเดือน เม.ย. ซึ่งเหนือกว่าระดับสูงสุดของกลางช่วงทศวรรษ 1990 อยู่ 1.3% ในขณะที่อัตราว่างงานในสหรัฐลดลง 0.1% สู่ระดับ 7.5%

 

• สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะของกรีซ เผยว่า รัฐบาลกรีซสามารถระดมทุนได้ 1.625 พันล้านยูโร จากการประมูลขายตั๋วเงินคลังครั้งล่าสุด รัฐบาลกรีซขายตั๋วเงินคลังอายุ 6 เดือน ที่อัตราผลตอบแทน 4.2% ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับการประมูลเมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยนับตั้งแต่ปี 2553 ที่ผ่านมา การขายตั๋วเงินคลังประจำเดือนกลายเป็นแหล่งเงินทุนที่เหลืออยู่เพียงแหล่งเดียวของกรีซ นอกเหนือไปจากเงินช่วยเหลือจากอียูและไอเอ็มเอฟ เนื่องจากกรีซได้ถูกปิดกั้นจากตลาดการเงินโลกตลอด 3 ปีที่ผ่านมา

 

• การผลิตภาคอุตสาหกรรมของกลุ่มยูโรโซนในเดือน เม.ย. ขยายตัว 0.4% จากระดับเดือน มี.ค. ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณที่ว่าเศรษฐกิจของยูโรโซนเริ่มที่จะฟื้นตัวจากภาวะถดถอยที่ยืดเยื้อ ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเยอรมนีขยายตัว 1.2% ในเดือน เม.ย. ส่วนผลผลิตของฝรั่งเศสดีดตัวขึ้น 2.3% แต่การผลิตของอิตาลีและสเปนอ่อนตัวลง

 

• สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีเผย ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน พ.ค. ขยับขึ้น 0.4% จากเดือน เม.ย. และปรับเพิ่มขึ้น 1.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

• สำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส เผยดัชนีราคาผู้บริโภคของฝรั่งเศสในเดือน พ.ค. ขยับขึ้น 0.1% จากเดือน เม.ย. และปรับขึ้น 0.8% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. ปี 2555 เป็นผลมาจากราคาอาหารสดที่พุ่งขึ้นกว่า 4%

 

• ธ.กลางฝรั่งเศสรายงานว่า ยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน เม.ย. ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน มี.ค. อยู่ที่ 2.8 พันล้านยูโร ทั้งนี้ยอดขาดดุลการค้าอยู่ที่ 4.5 พันล้านยูโร จาก 4.6 พันล้านยูโรในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ภาคบริการมียอดเกินดุลการค้าลดลงแตะ 2.7 พันล้านยูโร จาก 2.9 พันล้านยูโรในเดือน มี.ค. การลงทุนโดยตรงของต่างชาติในฝรั่งเศสหดตัวลงสู่ระดับ 1.5 พันล้านยูโรในเดือน เม.ย. แต่การลงทุนโดยตรงของฝรั่งเศสในต่างประเทศกลับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2.7 พันล้านยูโร

 

• สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของอังกฤษในเดือน พ.ค. ลดลง 8,600 คน ซึ่งทำให้มีจำนวนผู้ว่างงาน 1.51 ล้านคน จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ลดลงในเดือนที่แล้วบ่งชี้ว่า ตลาดแรงงานกำลังปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีความคืบหน้า

 

• สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติของสหรัฐ รายงานว่า ความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดเล็กของสหรัฐปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในเดือน พ.ค. โดยดัชนีมุมมองเชิงบวกของธุรกิจขนาดเล็ก เพิ่มขึ้น 2.3 จุด สู่ระดับ 94.4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี เนื่องจากเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กมีมุมมองที่สดใสขึ้นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนข้างหน้า

 

• ก.พาณิชย์สหรัฐเผยว่า สต็อกสินค้าภาคค้าส่งเดือน เม.ย. ปรับตัวขึ้น 0.2% จากเดือน มี.ค. ที่เพิ่มขึ้น 0.3% ขณะที่ยอดค้าส่งดีดตัวขึ้น 0.5% หลังจากที่ร่วงลง 1.4% ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นสัญญาณบวกสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ สต็อกสินค้าที่เพิ่มขึ้นในเดือน เม.ย. นั้นนำโดยยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ นอกจากนี้ สต็อกเฟอร์นิเจอร์ ไม้แปรรูป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ก็เพิ่มขึ้นแข็งแกร่งเช่นกัน ด้านสต็อกเครื่องจักร สินค้าเกษตร และเคมีภัณฑ์ปรับตัวลดลง

 

• รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานว่า ยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานภาคเอกชนเดือน เม.ย. ปรับตัวลง 8.8% จากเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ทั้งนี้คำสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเรือและสาธารณูปโภคที่มีความผันผวนนั้น นับเป็นปัจจัยชี้วัดการใช้จ่ายด้านทุนในอนาคตของบริษัทต่างๆ

 

• ธ.กลางญี่ปุ่น เผยว่า ราคาค้าส่งของญี่ปุ่นเดือน พ.ค. ปรับตัวสูงขึ้น 0.6% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยมีปัจจัยจากการอ่อนค่าของเงินเยน รวมถึงค่าไฟและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยราคาค้าส่งที่เพิ่มขึ้นสะท้อนความเคลื่อนไหวของบริษัทต่างๆในการผลักต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบที่สูงขึ้นไปสู่ราคาสินค้า เนื่องจากเงินสกุลเยนอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญอื่นๆ

 

• ไอเอสเอช อิงค์ บริษัทวิจัยของสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่า ญี่ปุ่นจะกลายเป็นตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดของโลกในปีนี้ โดยญี่ปุ่นได้ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบใหม่ซึ่งมีกำลังการผลิตมากขึ้น 2 เท่า โดยมูลค่าตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ของญี่ปุ่นจะแตะ 1.98 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2556 แซงหน้าเยอรมนีซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในระหว่างปี 2552-2555

 

• สำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้เผยว่า ตัวเลขการจ้างงานปรับตัวลงในเดือนพ.ค. เนื่องจากการจ้างงานใหม่ในภาคการผลิตมีจำนวนลดลง ซึ่งสะท้อนถึงเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รายงานของสำนักงานระบุว่า จำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 256,000 คน จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สู่ระดับ 25,398,000 คนในเดือน พ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 345,000 คนในเดือน เม.ย. แต่หากเทียบรายเดือน จำนวนผู้มีงานทำลดลง 25,000 คน

 

• สำนักงานสถิติแห่งชาติของอินเดียเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของอินเดียขยาย ตัวต่ำกว่าคาดการณ์ โดยผลผลิตของโรงงาน สาธารณูปโภค และเหมืองแร่ เพิ่มขึ้น 2% จากปีก่อน ซึ่งชะลอตัวลงจากที่ขยายตัว 3.4% ในเดือน มี.ค. และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.4% เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศและการขยายตัวของการส่งออกยังคงซบเซา

 

Equity Market

 

• SET Index ปิดที่ 1,433.47 จุด ลดลง 19.16 จุด หรือ -1.32% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 66,506.14 ล้านบาท โดยตลาดยังคงปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 แม้ว่าเกิด Technical Rebound ระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย แต่เป็นไปได้อย่างจำกัด หลังเผชิญแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งแรงขายหุ้น TRUE กดดันบรรยากาศการลงทุน กลุ่ม ICT และธนาคารปรับตัวลงแรงถูกแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง ADVANC -4.4%, INTUCH -3.1%, KBANK -3.6%, BBL -1.8% TRUE -14.8% หลัง Moody’s ลดมุมมองต่อ TRUE จาก Stable เป็น Negative แม้ว่าจะคงอันดับความน่าเชื่อถือที่ B2

 

สรุปยอดสุทธิการซื้อขายของแต่ละกลุ่ม

 

กลุ่มนักลงทุน ล้านบาท

นักลงทุนสถาบัน 335.15

บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ 1,507.29

นักลงทุนต่างชาติ -5,854.74

นักลงทุนทั่วไป 4,012.31

 

Fixed Income Market

 

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเคลื่อนไหวในช่วง -0.01% ถึง 0.06%

 

• ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากข้ามคืนขึ้น 0.25% สู่ระดับ 4.25% โดยมีเป้าหมายที่จะหนุนสกุลเงินรูเปียห์ หลังจากรูเปียห์ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2552

 

(แทน)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จำนวนครอบครัวที่รับคูปองทำนิวไฮอีกแล้ว 23,116,441 ครอบครัว

มีคน 310 ล้าน ตกงานกินคูปอง เกือบ 48ล้านคน ฟื้นแล้วจ้า :_cd

The March numbers the USDA released Friday reveal 23,116,441

households enrolled in the Supplemental Nutrition Assistance Program (SNAP), or food stamps, each receiving an average monthly benefit of $274.30.

The number of individuals on SNAP did not break any records but remained high, with 47,727,052 people enrolled in SNAP, receiving an average monthly benefit of $132.86.

http://investmentwat...ve-food-stamps/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

^

^

แล้วแบบนี้จะเลิกพิมพ์แบ็งค์ได้หรอครับเนี่ย ฮ่า ยังต้องเลี้ยงดูคนอีกเยอะขนาดนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Eurozone: three countries have debt-to-income ratios of more than 300%

 

 

Three eurozone countries – Ireland, Greece and Portugal – now have debt-to-income ratios of more than 300%.

 

แล้วมันจะฟื้นได้ยังไง เมื่อหนี้มากกว่ารายรับ 300%

http://www.guardian.co.uk/business/2013/jun/09/eurozone-crisis-debt-income-ratios/print

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Seniors in 48 states face serious income shortage

 

http://money.cnn.com/2013/06/10/retirement/retirement-income/index.html

 

 

คนแก่ใน 48 รัฐของเมกา รายรับไม่พอรายจ่าย (ประเทศมี 50 รัฐ คนแก่มีเงินไม่พอใช้แค่ 48 รัฐเท่านั้น ไม่ใช่ปัญหาอะไรมั้ง) :_cd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Budget Deficit in U.S. Widened in May as Spending Increases 10%

 

http://www.bloomberg.com/news/2013-06-12/budget-deficit-in-u-s-widened-in-may-as-spending-increases-10-.html

 

 

คงเลิกพิมพ์เงินได้หร็อก ขาดดุลย์เพิ่มขึ้นอีกตั้ง 10 %

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กฏใหม่ของธนาคารญี่ปุ่นที่กำลังจะออก จะอนุญาตให้ธนาคารญี่ปุ่น ไซปรัส เงินผู้ฝากในกรณีที่แบงค์เน่าได้

 

http://www.forexlive.com/blog/2013/06/11/japan-to-become-more-like-cyprus-bail-ins-for-japan-banks/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กฏใหม่ของธนาคารญี่ปุ่นที่กำลังจะออก จะอนุญาตให้ธนาคารญี่ปุ่น ไซปรัส เงินผู้ฝากในกรณีที่แบงค์เน่าได้

 

http://www.forexlive...or-japan-banks/

 

ศัพท์ใหม่ นอกจากไซฟ่อนเงิน ก็ยังมีไซปรัสเงินอีก :D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ศัพท์ใหม่ นอกจากไซฟ่อนเงิน ก็ยังมีไซปรัสเงินอีก :D

 

อีก ๑๐-๑๕ ปีต่อจากนี้ หลังจากที่ผ่านวิกฤตที่กำลังจะเกิดขึ้น คงได้มีคำศัพท์ใหม่ๆหลายคำเลยครับคุณไมโล :D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

06-12-13 5:30am From Harvey Organ: 'Today we have important physical discussions on the latest positions inside the Comex whereby the bankers are now for the first time, long. This sets up a scenario if the shorts (hedge funds) must buy back and there are no sellers as they come in conflict with the bankers who will also be buying.

 

จากกูรูนอกนะคะ เค้าบอกว่าพวกแบงค์เริ่ม long เป็นครั้งแรกแล้วนะคะ ถ้าพวก hedge funds หยุด short เมื่อไหร่ มันจะเป็นสัญญาณซื้อค่ะ :uu

แถมท้ายด้วยกราฟเทคนิคค่ะ แนวต้านจะอยู่ที่ 1400 ด่านแข็งคือ 1425 แนวรับจะอยู่ที่ 1345 ค่ะ :32

ส่วนตัวถ้ามาแถว 1345-1355 น่าเสี่ยงเข้า คิดว่าน่าจะไดเวอเจ้นแถวนี้ สตอปลอสถ้าหลุด 1320 นะคะ ขอบอก :17

post-2539-0-63530700-1371105980_thumb.png

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วรวรรณ ธาราภูมิ

6 ชั่วโมงที่แล้ว

Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง มิตรแท้ตลอดเส้นทางลงทุน

 

14 มิถุนายน 2556

----------------------------------------------------------------------------

 

General News

 

• ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเหลือ 2.2% ในปีนี้ ลดลงจากการคาดการณ์เมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมาว่าจะขยายตัว 2.4% เนื่องจากเศรษฐกิจในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ รวมถึงจีนและบราซิล ชะลอตัวลงมากกว่าที่คาด และภาวะถดถอยของเศรษฐกิจยุโรปล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์จีดีพีทั่วโลกในครั้งนี้ ส่วนเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (ที่ไม่ใช่กลุ่มยูโรโซน) มีความเสี่ยงลดน้อยลงและมีอัตราการขยายตัวที่แข็งแกร่งขึ้น ทั้งนี้ ธนาคารโลกคาดว่าในปี 56 นี้ เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาจะขยายตัวประมาณ 5.1% และเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงจะขยายตัวเพียง 1.2%

 

• นายไซมอน เวลส์ นักเศรษฐศาสตร์จากเอชเอสบีซีคาดว่า นายมาร์ค คาร์นีย์ ว่าที่ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษคนใหม่ อาจจะมีการใช้นโยบายใหม่ในเดือนส.ค.นี้เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และอาจมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมด้วย ถึงแม้ว่าตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจของอังกฤษหลายตัวจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่อุปสงค์สินค้านั้นยังคงอ่อนแออยู่ เนื่องจากการขยายตัวของค่าจ้างยังเป็นไปอย่างเชื่องช้า อีกทั้งเศรษฐกิจโลกนั้นไม่ได้มีความแข็งแกร่งดังเช่นเมื่อหลายเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งทางเอสเอชบีซีได้คงคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจอังกฤษปี 56 ไว้ที่ 0.8%

 

• ก.พาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดค้าปลีกในเดือนพ.ค.ปรับตัวขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการขยายตัว 0.1% ในเดือนเม.ย. และดีกว่าที่ตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์ ส่วนยอดค้าปลีกพื้นฐานที่ไม่นับรวมยอดซื้อสินค้ากลุ่มยานยนต์ น้ำมันเบนซิน และวัสดุก่อสร้าง ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.3% เร่งตัวขึ้นจากเดือนเม.ย.เช่นกัน สะท้อนถึงเศรษฐกิจสหรัฐที่ฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง

 

• ก.แรงงานสหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ ว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) ของสัปดาห์ที่แล้วอยู่ที่ 334,000 ราย ลดลง 12,000 รายจากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งดีกว่าที่ตลาดคาดว่าจะอยู่ที่ 345,000 ราย แสดงถึงการฟื้นตัวต่อเนื่องของตลาดแรงงานสหรัฐ

 

• สำนักงานคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มการประเมินพื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในเดือนมิ.ย. เนื่องจากเงินสกุลเยนที่อ่อนค่าได้ช่วยให้การส่งออกของญี่ปุ่นดีขึ้น โดยได้ปรับการประเมินเพิ่มขึ้นในด้านการส่งออก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ผลกำไรภาคเอกชนและการจ้างงาน ทั้งนี้ ในรายงานของเดือนมิ.ย.ได้ระบุว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลัง ‘กระเตื้องขึ้นอย่างต่อเนื่อง’ ในขณะที่รายงานเมื่อเดือนพ.ค.ระบุว่า เศรษฐกิจกำลัง ‘กระเตื้องขึ้นอย่างเชื่องช้า’

 

• สถาบันหลายแห่งได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของจีดีพีของจีนในปี 56 หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนในเดือนพ.ค.ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด โดย ANZ Bank ได้ปรับลดการเติบโตของจีดีพีจีนอยู่ที่ 7.6% ในปีนี้ และ 7.8% ในปีหน้า ลดลงจากประมาณการก่อนหน้านี้ที่คาดไว้ที่ 7.8% ในปี 56 และ 8% ในปี 57 ทางด้านบาร์เคลย์ส ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปีนี้มาอยู่ที่ 7.4% จากเดิม 7.9% โดยคาดว่าจีดีพีจีนจะขยายตัวชะลอลงเหลือ 7.5% ในช่วงไตรมาส 2 จาก 7.7% ในไตรมาสแรก

 

• ธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.5% ในการประชุมวานนี้ หลังจากปรับลดลงอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% เมื่อเดือนก่อนหน้า โดยคาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะมีแนวโน้มฟื้นตัวเล็กน้อย ซึ่งสอดคล้องกับการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจโลก

 

• สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ปรับเพิ่มแนวโน้มความน่าเชื่อถืออินเดียจาก "เชิงลบ" มาเป็น "มีเสถียรภาพ" เนื่องจากการที่รัฐบาลอินเดียได้ใช้นโยบายเพื่อควบคุมการขาดดุลทางการคลังและฟื้นฟูการเติบโตทางเศรษฐกิจ และฟิทช์ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือสกุลเงินต่างประเทศและในประเทศระยะยาวที่ BBB- ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดสำหรับพันธบัตรเกรดลงทุน การปรับแนวโน้มความน่าเชื่อถือในครั้งนี้อาจจะเป็นสัญญาณที่ดีต่อค่าเงินรูปีที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา

 

• ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า สถานการณ์ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมาไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เนื่องจากเป็นภาวะผันผวนที่เกิดขึ้นทั่วโลกจากการที่นักลงทุนต่างชาตินำเงินออกจากตลาดเกิดใหม่ ซึ่งส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศเหล่านี้อ่อนค่าอย่างรวดเร็ว โดยเงินบาทนั้นได้เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาคหลังเงินดอลลาร์กลับมาปรับตัวแข็งค่าขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทไม่ได้มีสัดส่วนสูงกว่าเงินสกุลอื่น

 

Equity Market

 

• SET Index ปิดที่ 1,403.27 จุด ลดลง 30.20 จุด หรือ -2.11% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 85,402 ล้านบาท โดยตลาดมีความผันผวนมากในระหว่างวัน หลังจากที่ดัชนีปรับลดลง 80 จุดในช่วงเช้า แต่สามารถรีบาวด์ขึ้นมาปิดลดลง 30 จุดในช่วงบ่าย ด้วยปริมาณซื้อขายระดับสูงและนักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาซื้อสุทธิเป็นวันแรกในรอบหลายวัน โดยการรีบาวด์นั้นมีขึ้นในหุ้นเกือบทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มสื่อสาร อสังหาริมทรัพย์และธนาคารพาณิชย์ที่ราคาหุ้นสามารถกลับมาปิดบวกได้เมื่อเทียบกับวันก่อน

 

สรุปยอดสุทธิการซื้อขายของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มนักลงทุน ล้านบาท

นักลงทุนสถาบัน -211.54

บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ -1,920.01

นักลงทุนต่างชาติ 1,394.49

นักลงทุนทั่วไป 737.06

 

Fixed Income Market

 

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงมากในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะรุ่นที่อายุคงเหลือมากกว่า 6 ปีขึ้นไป มีอัตราผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงลดลงตั้งแต่ -0.05% ถึง -0.12% ส่วนรุ่นอายุต่ำกว่า 6 ปีมีอัตราตอบแทนลดลงเล็กน้อย วันนี้มีการประมูลพันธบัตรธปท. อายุ 14 วัน มูลค่า 30,000 ล้านบาท

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...