ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ในความเห็นผมนะครับ

1.กรีซกำลังบีบยูโรให้ช่วยมากกว่านี้หน่อย

2.ไม่งั้น ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่ายนะ (คิดว่าเป็นอันนี้นะ ไม่จ่ายแล้วใครจะทำไม ไม่เหมือนไทยที่ยอมให้เค้ามายึดแผ่นดินเรา)

3.นิสัยนักการเมือง ที่ฟังข่าวคนกรีซไม่พอใจมากขึ้นกำลัีงบีบ นายกลาออก ดังนั้นก็ต้องพยายามรักษาฐานเสียงตัวเองไว้ ใครตายตรูไม่สน

แต่ที่น่ากลัว มากกว่าถ้าเป็นจริงอย่างที่คุณหมอเล็กบอกที่ วิธีสุดท้ายที่เวิร์คที่สุดในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ คือทำสงครามแล้วก็ปล้นน้ำมัน ปัญหามันจะยืดเยื้อยาวนานไปเรื่อยๆ

รบกวนคุณหมอเล็กหน่อยครับ golden cross นี่คืออะไรอะงงครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขออนุญาตเพิ่มเติมนะคับ

 

เมื่อคืนมีข่าวว่ากรีซกลับลำ ไม่ทำประชามติแล้ว ทำให้ตลาดหุ้น ทอง น้ำมัน กลับมาบวกเหมือนเดิม

อีกทั้ง ECB มี Surprise ตลาด ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย จาก 1.5% เหลือ 1.25% ด้วย

 

นายกกรีซ จอร์จฯ เหมือนจะไม่ได้ปรึกษาใครตอนที่พูดออกมา ตอนนี้เลยอาจทำให้หลุดจากตำแหน่งได้ จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ไม่รู้ว่าลึกๆแล้ว เค้าตั้งใจพูดเพื่อปั่นตลาดการเงินรึป่าว เหมือนปล่อยข่าวให้คนตกใจแล้วเก็บของถูก (เหมือนเยอรมันเมื่อเดือนก่อน)

 

วันนี้กรีซจะออกเสียงกัน ว่าควรทำประชามติหรือไม่ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะไม่ทำ เพราะคนในรัฐบาล+ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยทั้งนั้น

 

บวกกับวันที่ 3-4 พฤศจิกายนนี้ มีการประชุม G20 ถ้ากรีซโหวตออกมาว่าไม่ทำก็จบ อาจได้เงินช่วยเหลือจากกลุ่มยูโรต่อไป

แต่ถ้าพลิกโผ โหวตแล้วกรีซจะทำ กลุ่ม G20 ก็อาจจะกล่อมให้ทบทวนดูใหม่ แต่ผมเดาว่าเค้าคงไม่ทำ เพราะตอนนี้กรีซไม่มีตังค์แล้ว

น่าจะรู้เรื่องกันคืนนี้แหละคับ

 

การลงทุนช่วงนี้ถือข้ามสัปดาห์เสี่ยงมาก เพราะไม่รู้อนาคตจะเป็นยังไง อาจมีข่าวดีหรือไม่ดีเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

ส่วนตัวมองว่าทองยังวิ่งผันผวน วิ่งตามสินทรัพย์เสี่ยงบ้าง สวนทางบ้าง รับข่าวรายวันจริงๆ เดาข่าวยากคับ เราไม่ใช่คนแรกที่รู้ข่าว

 

คงต้องพึ่ง TA ของพวกอาจารย์ในเวปนี้ล่ะคับ ช่วยได้เยอะแน่นอน

ขอบคุณบ้านหลังนี้มากๆคับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับคุณกุ้งและcocohill ตอนนี้ในกราฟรายH4 MA75ตัดกับMA200 เกิด golden cross แบบนี้ น้องทองจะเกิดกระทิงตัวเล็กหรือตัวใหญ่แค่ไหนครับ? ช่วยวิเคราะห์ด้วยครับ ขอบคุณครับ:lol:

 

 

 

รบกวนคุณหมอเล็กหน่อยครับ golden cross นี่คืออะไรอะงงครับ

 

ถ้า MA75ตัดกับMA200ลงเขาเรียก dead cross ครับ (จำเขามาครับ แต่ตอนนี้เป็นยังไงไม่รู้เพราะผมไม่รู้กราฟsad.gif)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

November 3, 2011, at 5:55 pm

by Jim Sinclair in the category In The News | Print This Post | Email This Post

Dear Extended Family,

 

Gold is headed now into the $2000s with extreme violence.

 

Regards,

Jim

 

ลุงจิม บอกว่า ทองกำลังเดินหน้าไป $2000s (<--- มี S = 2000 ขึ้นไปมั๊ง)

แต่ก็จะผันผวนอย่างร้ายกาจ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

xBT> GREECE:นายกฯกรีซเปิดช่องยอมเลิกทำประชามติถ้าฝ่ายค้านหนุนแผนช่วยเหลือในสภา

เอเธนส์--4 พ.ย.--รอยเตอร์

 

นายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอูของกรีซเปิดเผยวานนี้ว่า การลงประชามติ

ต่อมาตรการช่วยเหลือกรีซนั้น จะถูกยกเลิก ถ้าหากพรรคฝ่ายค้านยินยอมที่จะลงคะแนน

เสียงสนับสนุนมาตรการดังกล่าวในรัฐสภา

ทางด้านทำเนียบนายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า นายปาปันเดรอูไม่ได้เปิดเผยกับ

สำนักข่าวเมื่อวานนี้ หลังจากที่มีรายงานโดยอ้างคำกล่าวของเขาว่า เขาได้ยกเลิก

แผนการทำประชามติแล้ว

นายปาปันเดรอู ซึ่งถูกกดดันทั้งในและต่างประเทศหลังจากประกาศว่า

จะจัดการลงประชามติ ได้เปิดเผยต่อคณะรัฐมนตรีว่า เขาพร้อมจะเจรจากับพรรค

ฝ่ายค้าน และขอให้พรรคฝ่ายค้านสนับสนุนมาตรการช่วยเหลือวงเงิน 1.30 แสน

ล้านยูโร

เขากล่าวว่า ถ้าพรรคฝ่ายค้านยินยอมสนับสนุนมาตรการดังกล่าวใน

รัฐสภา ก็จะไม่มีการทำประชามติ--จบ--

 

(รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ก๊อบจากใน facebook มานะครับ ศึกษาดีๆก่อนก็ไม่เสียหาย

 

ได้ข้อมูลเรื่อง EM Ball มาจากเพื่อนที่ทำงาน ซึ่งจบPHD และทำวิจัยเรื่องน้ำมาจากญี่ปุ่

 

น เลยอยากเอามาแชร์ให้ทราบค่ะ

 

... ++++++++++++++++++++

 

สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆพนักงานทุกท่าน

 

 

 

ก่อนอื่น ผมต้องขอโทษด้วยครับ ที่ต้องใช้พื้นที่นี้ เข้ามาขัดจังหวะการปฏิบัติงานขอ

 

งทุกท่าน

 

เนื่องจาก มีเพื่อนพนักงานของเราหลายท่านที่น้ำท่วม น้ำเข้าบ้าน แล้วต้องการจะใช้ก้อนอีเอ็ม (EM: Effective Microorganisms) เพื่อบำบัดน้ำเสียที่ท่วมขังภายในบ้านนั้น

 

 

 

โปรดฟังผมสักนิดก่อนที่จะหยิบ หรือ ซื้อหามันมาใช้นะครับ

 

 

 

คือเจ้าก้อนอีเอ็มนี้ จะประกอบไปด้วยกลุ่มจุลินทรีย์หลักๆ คือ กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง แลกโตบาซิลัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูซาเรียม สเตรปโตไมซิส อโซโตแบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์ รา ครับ ซึ่งตามทฤษฎีนั้น ก้อนนี้เมื่อนำลงไปในน้ำ จุลินทรีย์พวกนี้จะเข้าไปกินเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้น้ำเสีย และการที่แบคทีเรียที่จะทำให้น้ำเสียนั้นลดจำนวนลง จะส่งผลให้น้ำสะอาดขึ้น เพราะมีกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงทำงาน (คือ เติม ออกซิเจนลงในน้ำ) ใช่ไหมครับ

 

 

 

ในความเป็นจริงแล้ว ผิด ถนัด ครับ เพราะ

 

1. เมื่อจุลินทรีย์เหล่านี้กินแบคทีเรียที่ทำให้เกิดน้ำเสียหมดแล้ว มันจะเข้าไปกินสารอาหารอื่นๆในน้ำต่อไปครับ เพราะสิ่งมีชีวิตต้องการอาหารคร

 

ับ

 

2. และจุลินทรีย์เหล่านี้จะเพิ่มจำ

 

นวนตลอดเวลาครับ อย่างน้อยๆให้นึกว่า 1 เป็น 2 2 เป็น 4 ในทุกๆ 20 นาที โดยเฉลี่ยครับ

 

3. นอกจากนี้เพื่อการดำรงชีพและขยายจำนวน จุลินทรีย์พวกนี้จะต้องใช้ออกซิเจนในการหายใจครับ (ออกซิเจนในน้ำนั่นละครับ) เพราะพวกนี้เป็นสิ่งมีชีวิตที่หายใจ โดยใช้ออกซิเจน (จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนมีจำนวนมากกว่าจุลินทรีย์ที่สร้างออกซิเจนนะครับ)

 

 

 

สรุปคือ เมื่อเราโยนเจ้าก้อนอีเอ็มลงไปในน้ำแล้ว แรกๆ น้ำจะเหมือนว่าดูดีขึ้นครับ แต่พอพ้นไปสักระยะ สองสามวัน (ไม่นานครับ) น้ำจะแย่ลงครับ เพราะจุลินทรีย์ในอีเอ็มจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและหายใจเอาออกซิเจนในน้ำออกไปอย่างไม่หยุด (ก็เราควบคุมการแพร่จำนวนของมันไม่ได้ มันไม่เหมือนทดลองในหลอดทดลองหรือห้องปฏิบัติการนะครับ) และน้ำจะกลับมาเน่าเสียมากกว่าเดิมครับ ถ้าเป็นน้ำที่ท่วมขังภายในบ้าน แน่นอนครับ น้ำแทบไม่โดนแสงแดด จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงทำงานไม่ได้ น้ำยิ่งเน่าเร็วกว่าเดิมแน่ๆครับ

 

 

 

ดังนั้น ผมจึงอยากให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆพนักงานทุกท่าน อย่าใช้ก้อนอีเอ็มในการบำบัดน้ำเสียครับ เพราะมันไม่ส่งผลดีอย่างแน่นอนครับ ผมอยากให้เราลองกลับไปนึกถึงตอนเด็กๆ ที่ผู้ใหญ่ท่านจะสอนเราเสมอว่า อย่าทิ้งขยะ หรือสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง นะครับ นี่คือสิ่งที่ถูกต้องใช่ไหมครับ การใส่ก้อนอีเอ็มลงไป มันไม่ต่างกับการเทอุจจาระหรือขยะปฏิกูลลงไปซ้ำเติมน้ำเลยครับ

 

 

 

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม อีเมล์หรือโทรศัพท์มาสอบถามได้ครับ ผมยืนยันว่า ผมเขียนด้วยความรู้และประสบการณ์ของตัวเองที่เคยไปเรียนและทำงานด้านนี้มาโดยตรงครับ ไม่ได้ก๊อปปี้หรือฟอร์เวิร์ดบทความของใครมา และผมเคยตั้งคำถามข้างบนนี้กับเจ้าของอีเอ็มจริงๆ ที่เป็นชาวญี่ปุ่น (ศ.ในมหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาว่า) มาแล้วครับ เค้ายังตอบคำถามผมไม่ได้เลยครับ ว่าจะควบคุมจุลินทรีย์เหล่านี้ยังไง ถ้าบำบัดในแหล่งน้ำเปิดเช่นแม่น้ำ

 

 

 

อีเอ็ม อาจจะดีกับการหมักขยะ ปฏิกูล เพื่อมาเป็นปุ๋ย หรือ ไปทำความสะอาดห้องน้ำครับ แต่ไม่ใช่บำบัดน้ำเสียครับ (ลองนึกภาพครับ ว่า ขนาดเชื้อแบคทีเรียมันยังกินเลยครับ ถ้าเอาขาเราลงไปจุ่มน้ำพวกนี้สักครึ่งวันจะเป็นยังไงครับ)

 

 

 

ขอบพระคุณมากครับ ที่สละเวลามาอ่านกันครับ และหากใครจะพอกระจายความรู้นี้ออกไปได้ ขอความกรุณาด้วยครับดูเพิ่มเติม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากเลยค่ะ คุณ promin แล้วไม่เอามาบอกจะยิ่งแย่ไปกว่านี้

 

รัฐบาลต้องหาข้อมูลให้ดีก่อนที่จะนำมาประชาสัมพันธ์ให้ใช้ ถ้าเป็นแบบที่คุณ promin แจ้งมาจริง รัฐบาลก็ชุ่ยมากๆๆๆๆๆ ไม่ศึกษาข้อมูลก่อน แล้วจะกำจัดมันได้ยังไงล่ะเนี่ย จะเกิดโรคระบาดใหญ่แล้วมั๊ยประเทศไทย overgrowth ของ bacteria ถ้าเข้ากระแสเลือดไม่แย่เหรอ สัตว์น้ำทั้งหลายมันไม่ติดเชื้อเหรอ มียารักษาหรือป่าว เดินย่ำน้ำกันทุกวันเกิดมีบาดแผลทำไง แค่ฉี่หนูก็หนักหนาสาหัสแล้ว ตอนนี้โรงงานผลิตยาหรือการขนส่งก็ทำไม่ได้ น้ำจะท่วมอีกนานเท่าไรก็ไม่รู้ (นายก บอกไม่ใช่น้ำที่ปล่อยมาจากคลอง แต่มันมาจากท่อระบายน้ำ มันเลยท่วม... :( "เอาอยู่" จริงๆ )

 

รพ. ต่างๆ stock ยาได้ไม่มากนัก ประมาณ 1 เดือนก็หมด น้ำเล่นท่วมมาร่วมเดือนแล้ว ไม่รู้จะลดเมื่อไร ตอนนี้ดูเหมือนกับว่านอกจากจะไม่ดีขึ้นแล้ว มันยังขยายวงออกมากขึ้น เดือดร้อนกันทั่วหน้า แม้กระทั่ง ศปภ ยังต้องลี้ภัย (เวรจริงๆ มีหน้ามาบอกอีกว่าไม่ย้ายไปไหนแล้ว ก็พี่แกเล่นไปอยู่ ปตท ตึกสูงตั้งกี่ชั้น ถ้าน้ำท่วมไปถึงก็บ้าแล้ว) ยุคข้าวยาก หมากแพง คนจะออกมาเดินขบวนกันอีกรอบมั๊ยเนี่ย เฮ้อๆๆๆๆ

 

กรรมของคนในกรุงเทพและคนไทยทุกคน แต่ละคำพูดที่ตอบคำถามนักข่าวเวลาถูกสัมภาษณ์ ก็พอจะรู้แล้วว่า เราจะฝากความหวังไว้ที่รัฐบาลชุดนี้ได้หรือไม่ เหตุการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เห็นชัดเจนเลยว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนโดยแท้ค่ะ :( สู้ๆ นะคะ ขออภัยที่ไม่เกี่ยวกับทองคำเท่าไรค่ะ !034

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันก่อนออกข่าวนายกเดินทางไปเยี่ยมประชาชนพร้อมโยน EM Ball ลงในน้ำ ตกลงแล้วจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือทำให้แย่ลงกันแน่เนี่ย เวรกรรมของคนไทย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

EM และน้ำหมักชีวภาพ แก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียได้จริงหรือ ?

 

โดย กลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

ในช่วงเวลาปัจจุบันมีหลายหน่วยงานและหลายภาคส่วนได้สนับสนุนการใช้ EM (Effective Microorganisms) เพื่อบำบัดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำเน่าเสียในบริเวณน้ำท่วมขัง ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายรวมถึงประชาชนทั่วไปเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะอธิบายข้อเท็จจริงและให้ความรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับ EM และจะกล่าวถึงกรณีศึกษาในการบำบัดน้ำเสียของต่างประเทศในภาวะฉุกเฉิน ทั้งนี้ บทความนี้มิได้มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งแต่อย่างใด แต่มุ่งหวังถึงประโยชน์สูงสุดในการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบัน

 

ปัญหาน้ำเน่าอาจกล่าวได้ว่าเกิดจากการที่สารอินทรีย์ในน้ำมีปริมาณสูง เมื่อเกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จึงส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำมีปริมาณลดลง และในที่สุดอาจก่อให้เกิดสภาวะไร้อากาศซึ่งส่งกลิ่นเหม็น และส่งผลเสียต่อปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ ค่าการละลายออกซิเจนนับเป็นพารามิเตอร์หนึ่งที่สามารถบ่งบอกคุณภาพน้ำได้ โดยในแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่เน่าเสีย โดยทั่วไปจะมีค่าการละลายออกซิเจนประมาณ 3 - 7 มิลลิกรัมต่อลิตร การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่มีออกซิเจนสามารถอธิบายอย่างง่ายดังนี้

 

air6.png

 

EM (Effective Microorganisms) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถเฉพาะทาง ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 กลุ่มหลัก คือ 1) กลุ่ม Lactic acid bacteria 2) กลุ่ม Yeast และ 3) กลุ่ม Phototrophs (Purple bacteria) ซึ่งได้รับการพัฒนามาจาก Professor Teruo Higa ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงได้มีการประยุกต์ใช้งานในหลากหลายด้าน อาทิ ด้านการเกษตร ด้านการหมักขยะมูลฝอยเพื่อทำปุ๋ย และด้านการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสุขา (โถส้วม) เป็นต้น โดยทั่วไป จุลินทรีย์ใน EM สามารถทำงานได้ทั้งในสภาวะที่มีออกซิเจน (Aerobic conditions) และไม่มีออกซิเจน (Anaerobic conditions) อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงการประยุกต์ใช้งาน EM ในสภาวะที่ในน้ำท่วมขังซึ่งมีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen, DO) อยู่อย่างจำกัด กล่าวได้ว่า EM จะใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ และในช่วงเวลาดังกล่าวจะส่งผลทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงและไม่เพียงพอได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าน้ำในบริเวณดังกล่าวมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนอยู่มาก รวมถึงมีการใส่ EM ในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม (ปริมาณที่มากไปหรือใส่เข้าไปในสภาวะหรือรูปแบบที่ไม่เหมาะสม) ดังนั้น กล่าวได้ว่าการเติม EM อาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียจากการขาดออกซิเจนที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม

 

อีกประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการเลือกใช้งาน EM กล่าวคือ จุลินทรีย์ใน EM ทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าวไม่มีความสามารถในการสร้างออกซิเจนแต่อย่างใด นอกจากนี้ องค์ประกอบของ EM ball หรือ Micro ball ซึ่งมีการปั้นโดยใช้องค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น กากน้ำตาล และ รำข้าว เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างผลกระทบของสารอินทรีย์ข้างต้นต่อการเน่าเสียของแหล่งน้ำ อาทิ

 

  • กรณีกากน้ำตาล ที่ส่งผลต่อปัญหาน้ำเน่า เช่น การลักลอบทิ้งน้ำเสียจากโรงงานน้ำตาล และกรณีเรือน้ำตาลล่มในแม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นข่าวใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา
  • กรณีรำข้าว อาจพิจารณาการที่เรานำรำข้าว หรือ เศษอาหาร ไปทิ้งไว้ในน้ำในปริมาณมากๆ และเป็นระยะเวลานาน ก็ย่อมส่งผลให้น้ำเน่าเสียเช่นกัน

ดังนั้น เมื่อโยน EM ball ลงในแหล่งน้ำจึงเปรียบเสมือนการเพิ่มปริมาณสารอินทรีย์ให้กับแหล่งน้ำในบริเวณที่มีการท่วมขังอีกทางหนึ่ง โดยสารอินทรีย์ดังกล่าวที่ยังคงเหลืออยู่ย่อมก่อให้เกิดความต้องการออกซิเจนในน้ำที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงได้ และแม้แต่จุลินทรีย์ใน EM เอง เมื่อตายไปก็นับเป็นแหล่งสารอินทรีย์ในน้ำเช่นกันซึ่งก็ยังต้องใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายเช่นกัน ดังนั้น กล่าวได้ว่าการเติม EM นอกจากจะไม่ช่วยสร้างออกซิเจนแล้ว ยังส่งผลทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิมจากการลดลงของปริมาณออกซิเจนในน้ำ รวมถึงเพิ่มสูงขึ้นของปริมาณสารอินทรีย์ (ดังที่กล่าวถึงข้างต้น)

 

ทั้งนี้ การย่อยสลายสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำท่วมขังควรกระทำภายใต้สภาวะที่มีอากาศหรือออกซิเจนเท่านั้น การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะไร้อากาศถือได้ว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่งในแหล่งน้ำ โดยสรุป เราสามารถกล่าวได้ว่าการบำบัดสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำมีลักษณะแตกต่างจากการบำบัดสารอินทรีย์ในสุขา และการหมักขยะเพื่อทำปุ๋ย (ซึ่งมีการใช้ EM ร่วมด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นด้านออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ที่เป็นพารามิเตอร์ที่บ่งบอกถึงคุณภาพแหล่งน้ำ รวมถึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพแหล่งน้ำดังที่กล่าวไว้ในบทความก่อนหน้านี้ (http://www.eng.chula...th/?q=node/3881)

 

ถึงแม้ EM ต้นแบบ (ลิขสิทธิ์ Professor Teruo Higa) ซึ่งอ้างว่ามีความสามารถในการกำจัดกลิ่นและทำให้น้ำใส แต่ก็เป็นการช่วยบรรเทาปัญหาชั่วคราวในระยะสั้นเท่านั้น แต่หากสารอินทรีย์ในน้ำยังคงอยู่ และออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ ก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่าน้ำนั้นสะอาดจริง กล่าวคือน้ำดังกล่าวยังไม่ปลอดภัยที่จะนำมาใช้และไม่ปลอดภัยต่อสัตว์น้ำแต่อย่างใด และอาจยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ ได้อยู่ นอกจากนี้ หากมองถึงประเด็นการผลิตน้ำหมักชีวภาพ หรือ EM ในแบบต่างๆ ด้วยตนเอง จุลินทรีย์ที่ได้อาจมีองค์ประกอบที่แตกต่างจากจุลินทรีย์ใน EM ต้นแบบ และหากไม่ได้ผ่านกระบวนการควบคุมคุณภาพที่ดีพอ EM และ น้ำหมักชีวภาพอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคได้ ซึ่งนับเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ควรระวังและไม่ควรมองข้ามสำหรับทุกๆ หน่วยงานและภาคส่วนที่มีสนับสนุนการใช้ EM เพื่อบำบัดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำเน่าเสียในบริเวณน้ำท่วมขัง

 

ผู้ทรงคุณวุฒิ จากประเทศญี่ปุ่น (ซึ่งไม่สามารถเอ่ยนามได้ เนื่องจากไม่ได้ขออนุญาตไว้) ได้ให้ข้อมูลว่าจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการพยายามจัดการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในพื้นที่ต่างๆ ขององค์กรอิสระต่างๆ ที่รณรงค์ร่วมกันใช้ EM เพื่อบำบัดน้ำเสีย อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่น (กระทรวงสิ่งแวดล้อม) ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาความสามารถของ EM ในการบำบัดน้ำเสีย และพบว่า EM ไม่ได้ช่วยในการบำบัดน้ำเสียแต่อย่างใด ในการนี้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่นจึงไม่แนะนำการใช้ EM ในการบำบัดน้ำเสียในสถานการณ์ดังกล่าว นอกจากนี้ จากเหตุการณ์สึนามิซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียถูกทำลาย ทางหน่วยงานรัฐบาลของญี่ปุ่นได้ทำการแก้ไขปัญหาระยะสั้นโดยการเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคลงในท่อบำบัดน้ำเสีย และเลือกใช้การตกตะกอน (Sedimentation) และการฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) เพื่อบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียชั่วคราว รวมถึงได้มีการวางแผนจะพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียชั่วคราวโดยใช้ระบบบำบัดทางชีวภาพร่วมกับการตกตะกอน และการฆ่าเชื้อโรค (Biological treatment - Sedimentation - Disinfection) ส่วนในบริเวณชนบทนั้น ดำเนินการบำบัดน้ำเสียโดยทำการรวบรวมน้ำเสีย และทำการการฆ่าเชื้อโรค จากนั้นปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จนกระทั่งระบบบำบัดขนาดเล็กได้รับการฟื้นฟู

 

ทั้งนี้ทางกลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าใจดีถึงความปรารถนาดีของทุกฝ่ายในการช่วยกันร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น หากแต่อยากนำเสนออีกแง่มุมหนึ่งของ EM เพื่อประกอบการตัดสินใจ เพื่อเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดในการฟื้นฟูปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากภาวะน้ำท่วมในปัจจุบัน

http://www.eng.chula.ac.th/index.php?q=th%2Fnode%2F3915

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Central Banks Quietly Accumulating Gold - Declared Purchases of 206 Tons Through September 2011

http://www.zerohedge.com/news/central-banks-quietly-accumulating-gold-declared-purchases-206-tons-through-september-2011

 

 

gc%202_4.png

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตกลง em คงไม่เหมาะที่จะใช้นะครับ

 

อิอิ ต้องสวนครับ ไม่ว่านายกอะไรก็ตามtongue.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอ ขอแชร์นะคะ จากประสบการณ์ส่วนตัว เคยเกิดน้ำเน่าเสียขึ้นในบ่อปลา ปลาตายไปหลายตัว เพราะเศษหญ้าตกลงไปตอนตัดหญ้า แล้วลืมตักออก พอใช้ อีเอ็มแบบน้ำเข้มข้น ใส่ลงไป เห็นเค้าบอกอัตราส่วน หนึ่งต่อหนึ่งหมื่น คือใส่หนึ่งแกลลอนเล็ก บ่อขนาด 2x3 เมตร

 

ปรากฏว่า ไม่กี่ชั่วโมง น้ำใสขึ้นเลยค่ะ ช่วยชีวิตปลาที่เหลืออีกหลายตัวไว้ได้ ไม่ทราบว่า อีเอ็มมีหลายชนิดหรือปล่าวคะ? :)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อิอิ ต้องสวนครับ ไม่ว่านายกอะไรก็ตามtongue.gif

 

พี่หมอเล็ก หมายความว่าอะไรคะ ไม่เข้าใจค่ะ :wacko:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แล้วใช้อะไรดีคะเพราะนำ้ที่ขังอยู่ในบ้านเริ่มเน่าแล้ว และกำลังจะใช้น้ำหมักเหมือนกัน พอมาอ่านเลยหยุดไว้ก่อน ช่วยแนะนำด้วยคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...