ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

เมื่อดูจากFigure1 สำหรับ Gold Futures(GFQ11)บ้านเราทางTechnical อาจแกว่งหน่อยที่ด่านบริเวณ 22,910-22,940 แต่มีลุ้นทะลุได้ เล็งขึ้นต่อไปที่ 22,980-

 

23,000 และ 23,300 หรือสูงกว่านั้น ถือทนแกว่งส่วนที่เหลือ และส่วนที่เพิ่งเพิ่มเข้าไป ถือเล็งขึ้นไปแบ่งทำกำไรที่ 23,000 และ/หรือ 23,300 โดยใช้ Stoploss ระหว่างวัน

 

ที่ 22,600 ช่วยในการลุ้นได้...

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พี่จิงเจอร์

เมื่อคืนตังเมลุ้นเข้าซื้อ จนเหนื่อยเลย

เมื่อคืนเห็น 1602 แต่ใจแข็ง ยังไม่ซื้อ

รอต่อไปค่ะ

 

อเมริกา จะยื้อกันไปถึงไหน ทั่วโลกเค้าตัวเกร็งกันหมดแล้วนะจ๊ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กองทุน SPDR ถือครองทองคำที่ 1,262.97 ตัน เพิ่มขึ้น 18.17 ตัน เมื่อ 28 กค.54

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณวิภาดาค่ะ มีกำลังใจละ 2วันเราก็เสี่ยงอัดเข้าไปเหมือนกัน อิอิ

ถูกแก้ไข โดย RuayThong

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับคุณ..ginger moddang chez goldofcourse bmw2770 bbeam tanusg dep99 เด็กสยาม วิภาดา และทุกท่านครับ

เมื่อวานราคาย่อลงต่ำสุดที่ 1602 ก่อนขึ้นมาที่ 1616.xx ในตอนนี้

กราฟรายวันเปลี่ยนเป็นเขียวแท่งแรก ดังนั้นราคายังไปต่อได้อีก

MACD value 18.1 signal 19.5 หมดแรงแล้วแต่อยู่แดนบวกราคาสามารถขึ้นต่อได้และพร้อมลงครับ

แนวต้าน 1622 1632 1645

แนวรับ 1604 1596 1588

SPDR ซื้อเข้า 18.17 T ราคายืนเหนือ 1610 ได้มุมมองจึงเป็นบวก !54

การปรับเพดานหนี้ของเมกานักลงทุนรู้คำตอบแล้วว่าต้องปรับ คงจะไม่ต่างจากที่คาดหมายและไม่ตกใจมากนัก

ยุโรปก็ยังมีปัญหาอยู่ !uu

สรุปว่า ราคาน่าจะไปต่อก่อน ทำนิวไฮใหม่ก่อน พร้อมกับเงินบาทที่ยังแข็งต่อครับ !031

post-1891-007214700 1311906893.gif

ถูกแก้ไข โดย news

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ ginger moddang Mr.Li news mtts chez goldofcourse RuayThong raty bleem deb99 vanta คุณน้อย เด็กสยาม ตังเม วิภาดา ปุยเมฆ และเพื่อนๆทุกท่าน

เมื่อคืนนึกว่าจะหลุดก่อนที่คิด แล้วพี่ SPDR ก็มาซื้อลอตใหญ่มาก 18.17 ตัน...เดาว่าคงทำ Double Top แล้วไปลุ้นข่าวเรื่องปรับเพดานหนี้ ที่คิดว่าน่าจะจบ แล้วทองก็จะปรับฐานระดับ 50 เหรียญ+

คืนนี้ต้องจับตาดูละครับ...โชคดีครับเพื่อนๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณนะค่ะทั้งคุณ news และ คุณ tanusg

ลุ้นกันต่อไปค่ะ :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จะขึ้นไปเพื่อทำ double top ก่อน หรือ จะทำแชมพูสระผม H & S เลย ก็คงต้อง รอดูสถานการณ์ ว่า

 

พี่รอง ยุโรป เอาไง

พี่ใหญ่ เมกา เอาไง

 

ถ้าลงมาก่อนก็ดี จะได้ปล่อยของเก่า และเก็บของถูกได้บ้าง อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดี ตังเม วิภาดา puggy goldofcourse tanusg news moddang nuchaba ruay thong

ขอบทุกคนที่เป้นกำลังใจให้กัน

กระทู้นี้สามารถมีความเห็นต่างกันได้ไม่ต้องแปลกใจ

เราแบ่งกันคิด ใครเห็นยังไงก็บอกมา เราสนับสนุนให้ทุกคนได้คิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง

นักลงทุนที่ดีต้องมีความมั่นใจในตัวเอง รับฟังข่าวสารและคิดวิเคราะห์ได้(เพราะเวลาที่เอาข่าวมาก็ต้องบอกว่ามาจากไหน)

เราน่าจะฝึกตัวเองให้คิดและตัดสินใจเพราะเราเป็นนักลงทุน ในตลาดเปลี่ยนแปลงผันผวนไม่แน่นอนเสมอ

ใจเราต้องนิ่งประเมินความน่าจะเป็นที่จะเกิด B)

นักลงทุนที่ดีต้องสังเกตุเรียนรู้ ไม่ใหลไปกับอารมณ์(ถ้าดูกราฟหรือช่าวมากไปก็น่าไปหาอะไรที่สบายใจทำให้หัวโล่งๆแล้วค่อยคิดใหม่)

เปิดใจให้กว้าง เติมกำลังใจให้เข้มแข็ง พวกเราเหมือนนักเดินเรือที่ต้องฝ่าคลื่นลมในทะเล ทำอย่างจะนำรือในไปตามทิศทางที่ตั้งใจ

มีความสุข สบายใจ ก็ลองคิดกันดู

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทำให้ง่าย

 

โดย สาระ

๒๕ มี.ค. ๔๙

 

 

 

 

ในหลายกรณี กิจกรรมการงานต่าง ๆ ไม่มีเหตุจำเป็นอันใดที่จะทำให้มันยุ่งยากซับซ้อน

 

เพียงเพื่อเหตุผลที่ไม่คุ้มเลยกับสิ่งที่ต้องสูญเสีย

 

ด้วยเพราะเวลามีค่า เอามาใช้กับกิจกรรมหลักดีกว่า

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปธ.สภามะกันเลื่อนลงมติร่าง ก.ม.เพิ่มเพดานหนี้

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 กรกฎาคม 2554 11:28 น.

 

 

สถานการณ์แก้ปัญหาหนี้สินสหรัฐฯ เริ่มวิกฤตหนัก เนื่องจากล่าสุด นายจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ถูกบีบให้ต้องเลื่อนการลงมติแผนขยายเพดานหนี้ออกไปก่อน หลังจากยังไม่สามารถโน้มน้าวสมาชิกพรรครีพับลิกันสายอนุรักษ์นิยม เห็นด้วยกับข้อเสนอของเขา ในการขยายเพดานหนี้ เพื่อให้ทันกำหนดนัดชำระหนี้จำนวนมหาศาลของสหรัฐฯ ในวันที่ 2 สิงหาคมนี้

ทั้งนี้กลุ่มอนุรักษ์นิยมของรีพับลิกัน ต้องการให้ขึ้นภาษีมากกว่าหั่นงบประมาณ ขณะเดียวกันฝั่งพรรคเดโมแครต ไม่เห็นด้วยกับการตัดงบประมาณเพียงระยะเวลาสั้น เพราะจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ย่ำแย่หนัก

 

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีตลาดรวมต่างประเทศ เงิน ทอง โลหะ น้ำมัน ตลาดหุ้น โภคภัณฑ์ เรือขนส่ง

การเงิน-หลักทรัพย์ - ตลาดหลักทรัพย์

Friday, 29 July 2011 11:51

Share this

Twitter Yahoo Googlize this Facebook

Hear this text

 

ตลาดหุ้นนิวยอร์ค : ดาวโจนส์ปิดร่วงลงก่อนสภาผู้แทนโหวตกม.หนี้

 

ตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนลบเป็นส่วนใหญ่ในวันพฤหัสบดี โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ปิดตลาดร่วงลง แต่ดัชนี Nasdaq ปิดตลาดขยับขึ้น ในขณะที่นักลงทุนไม่แน่ใจว่าการโหวตร่างกฎหมายเพดานหนี้ในสภาคองเกรสจะส่งผลให้มีการบรรลุข้อตกลงที่นำไปสู่การปรับขึ้นเพดานหนี้ได้จริงหรือไม่

 

ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลง 62.44 จุด หรือ 0.51% สู่ 12,240.11, ดัชนี S&P 500 ปิดอ่อนลง 4.22 จุด หรือ 0.32 % สู่ 1,300.67 และ ดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้น 1.46 จุด หรือ 0.05 % สู่ 2,766.25

 

ปริมาณการซื้อขายอยู่ที่ราว 7.93 พันล้านหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ค, ตลาดหุ้นอเมริกัน (American Stock Exchange) และตลาดหุ้น Nasdaq ซึ่งสูงกว่าปริมาณเฉลี่ยต่อวันของปีนี้ที่ 7.47 พันล้านหุ้น

 

จำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกในสัดส่วนราว 3 ต่อ 2 ในตลาดนิวยอร์ค และจำนวนหุ้นลบกับหุ้นบวกมีสัดส่วนเกือบเท่ากันในตลาด Nasdaq

 

คาดกันว่าสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอาจจะโหวตร่างกฎหมายของพรรครีพับลิกันในการปรับขึ้นเพดานหนี้หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐปิดทำการในวันพฤหัสบดี ส่วนวุฒิสภาสหรัฐที่อยู่ภายใต้การนำของพรรคเดโมแครตก็กำลังจัดทำร่างกฎหมายอีกฉบับหนึ่งเพื่อแข่งขันกัน และผู้นำพรรคเดโมแครตได้กล่าวว่า ร่างกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรจะไม่ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภา

 

ปัญหาเรื่องยอดขาดดุลงบประมาณสหรัฐทำให้ระดับความผันผวนในตลาดหุ้นสหรัฐเพิ่มสูงขึ้นขณะที่ตลาดหุ้นร่วงลง โดยดัชนี S&P 500 ดิ่งลงมาแล้ว 3.3 % จากช่วงต้นสัปดาห์นี้ ส่วนดัชนีความผันผวน CBOE หรือดัชนี VIX ทะยานขึ้นสู่ 23.74 ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนมิ.ย. (รอยเตอร์)

 

 

 

ตลาดน้ำมันนิวยอร์ค : น้ำมันดิบขยับขึ้น 4 เซนต์,จับตาพายุโซนร้อน

 

ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ขยับขึ้นเล็กน้อยในวันพฤหัสบดีท่ามกลางบรรยากาศการซื้อขายที่ผันผวนมาก โดยราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนจากตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ดิ่งลงอย่างรุนแรงเกินคาด และจากพายุโซนร้อนที่ทำให้โรงงานน้ำมันบางแห่งต้องปิดทำการ โดยปัจจัยเหล่านี้ช่วยบดบังแรงลบที่ราคาน้ำมันได้รับจากความไม่แน่นอนเรื่องปัญหาเพดานหนี้ในสหรัฐ

 

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนก.ย.ขยับขึ้น 4 เซนต์ หรือ 0.04 % มาปิดตลาดที่ 97.44 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 96.51-98.01 ดอลลาร์ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนอ่อนลง 7 เซนต์ สู่ 117.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากลงไปแตะจุดต่ำสุดของวันที่ 117.05 ดอลลาร์

 

รอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจระบุว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) อาจเพิ่มขึ้นในเดือนก.ค.จนแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี โดยได้รับแรงหนุนจากการที่ซาอุดิอาระเบียและแองโกลาปรับเพิ่มปริมาณการผลิต

 

สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ปรับทบทวนตัวเลขอุปสงค์น้ำมันสหรัฐประจำเดือนพ.ค. โดยปรับลดตัวเลขลงจากเดิมเป็นอย่างมาก EIA ระบุว่าอุปสงค์น้ำมันสหรัฐอยู่ที่ 18.363 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนพ.ค.โดยปรับลดลง 2.34 % หรือ 440,000 บาร์เรลต่อวัน จากตัวเลขประเมินครั้งก่อนที่

 

18.803 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนพ.ค. (รอยเตอร์)

 

 

 

ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค : ทองขยับลง,ตลาดจับตาการโหวตในสภาผู้แทนสหรัฐ

 

ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปิดขยับลงในวันพฤหัสบดี หลังจากทำสถิติสูงสุดเมื่อวานนี้ที่ 1,628 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยนักลงทุนออกไปรอดูท่าทีอยู่นอกตลาด ในขณะที่สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐใกล้จะโหวตร่างกฎหมายปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณที่เสนอโดยพรรครีพับลิกัน

 

ราคาโลหะเงินในตลาดสปอตดิ่งลง 1.3 % สู่ 39.67 ดอลลาร์

 

ราคาทองพุ่งขึ้นมาแล้วราว 8 % ในเดือนก.ค. แต่ราคาทองอาจดิ่งลงในอนาคตถ้าหากสหรัฐสามารถบรรลุข้อตกลงในการปรับขึ้นเพดานหนี้ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้นักลงทุนหันไปซื้อสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ และถ้าหากนักลงทุนมองว่ามาตรการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณของสหรัฐจะส่งผลให้เกิดภาวะเงินฝืด

 

นักยุทธศาสตร์การลงทุนของ CitiFX กล่าวว่า ถ้าหากราคาทองสามารถปิดตลาดเดือนก.ค.ที่ระดับสูงกว่า 1,557.75 ดอลลาร์ ปัจจัยดังกล่าวก็จะบ่งชี้ว่าราคาทองอาจมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,700-1,750 ดอลลาร์สำหรับช่วงสิ้นปี 2011

 

สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันพฤหัสบดีมีดังต่อไปนี้

 

ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)

 

ทองเดือนส.ค. 1,613.40 - 1.70

 

เงินเดือนก.ย. 39.794 - 77.40 (เซนต์)

 

พลาตินั่มเดือนต.ค. 1,792.40 - 15.60

 

พัลลาเดียมเดือนก.ย. 828.10 - 5.10 (รอยเตอร์)

 

 

 

ตลาดเงินนิวยอร์ค : ตัวเลขศก.ยุโรป,พันธบัตรอิตาลีกดยูโรร่วงลง

 

ยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินหลายสกุลในวันพฤหัสบดี ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจยุโรปและการพุ่งขึ้นของต้นทุนการกู้ยืมของอิตาลีทำให้นักลงทุนกังวลว่าวิกฤติหนี้ยูโรโซนอาจลุกลามออกไป

 

ทั้งนี้ ดอลลาร์อยู่ที่ 77.76 เยน ร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 77.97 เยน ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.4314 ดอลลาร์ ร่วงลงจาก 1.4365 ดอลลาร์ ทางด้านยูโร/เยนอยู่ที่ 111.31 เยน อ่อนลงจาก 112.02 เยน

 

คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจและผู้บริโภคในยูโรโซนร่วงลงสู่ 103.2 ในเดือนก.ค. จาก 105.4 ในเดือนมิ.ย. โดยตัวเลขเดือนก.ค.นี้อยู่ในระดับต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 104.0

 

นักลงทุนคาดว่า ทิศทางของยูโร/ดอลลาร์อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ในช่วงต่อไปในวันพฤหัสบดี โดยขึ้นอยู่กับผลการโหวตในสภาคองเกรสสหรัฐต่อร่างกฎหมายเพดานหนี้ ยูโรมีแนวรับรออยู่ที่ 1.4185-1.4187 ดอลลลาร์

 

ดอลลาร์ร่วงลงทำสถิติต่ำสุดที่ 0.7990 ฟรังก์สวิส ก่อนจะฟื้นตัวขึ้นในช่วงต่อมา

 

ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินสำคัญปรับขึ้น 0.2 % สู่ 74.232 ในขณะที่นักลงทุนหลายรายปรับตัวรับการคาดการณ์ที่ว่าจะมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ (รอยเตอร์)

 

 

 

ตลาดเงิน Emerging Asia : สกุลเงินเอเชียอ่อนค่า ขณะนักเก็งกำไรซื้อคืนดอลล์

 

ริงกิต และเปโซร่วงลง ขณะที่กลุ่มนักเก็งกำไรอินเตอร์แบงก์ลดสัดส่วนการถือครองสกุลเงินเอเชียในวันนี้ จากความวิตกเกี่ยวกับการลุกลามของปัญหาหนี้ในยุโรป และภาวะชะงักงันทางการเมืองในสหรัฐเกี่ยวกับการลดยอดขาดดุล แต่เนื่องจากความวิตกต่อการผิดนัดชำระหนี้ หรือการลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐยังคงเป็นปัจจัยถ่วงดอลลาร์ สกุลเงินเอเชียจึงยังคงมีแนวโน้มที่สดใสในระยะยาว

 

ริงกิตปรับตัวลง 0.4% เมื่อเทียบกับดอลลาร์จากแรงซื้อคืนดอลลาร์ ท่ามกลางยูโรที่อ่อนค่าลง

 

เปโซร่วงลง ขณะที่กลุ่มนักเก็งกำไรอินเตอร์แบงก์ซื้อคืนดอลลาร์

 

วอนฟื้นตัวขึ้นจากการร่วงลงในช่วงเช้า ขณะที่กลุ่มผู้ส่งออกซื้อวอนเพื่อชำระบัญชีในช่วงปลายเดือน

 

บาท/ดอลลาร์ภาคบ่ายกลับมาแข็งค่าเล็กน้อย หลังกระแสเงินทุนที่ยังไหลเข้าตลาดหุ้นไทย สะท้อนมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนในประเทศ บาท/ดอลลาร์ อยู่ที่ 29.70/74 จาก 29.73/78 ช่วงเช้า ขณะที่ในตลาด offshore อยู่ที่ 29.71/72 จาก 29.74/76 ช่วงเช้า ดีลเลอร์มองว่า แนวโน้มเงินบาทยังน่าจะแข็งค่าต่อไปได้ จากทิศทาง

 

เงินทุนที่ยังเข้ามาในเอเชีย แต่ในระยะสั้น อาจจะมีการแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 29.70-29.80 เพื่อรอปัจจัยมาผลักดันทิศทางที่ชัดเจนอีกครั้ง (รอยเตอร์)

 

 

 

ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index)

ปิดวานนี้ (28 ก.ค.) ลบ 18 จุด หรือ 1.39 % สู่ระดับ 1278

 

ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 554

 

ความเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมามีดังนี้:-

 

วันที่ ระดับปิด เปลี่ยนแปลง (จุด)

 

27 ก.ค. 1296 -14

 

26 ก.ค. 1310 -7

 

25 ก.ค. 1317 -6

 

22 ก.ค. 1323 -2

 

21 ก.ค. 1325 -3 (รอยเตอร์)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...