ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

http://www.classicgold.co.th/image/strategy_analysis/filestrategy200120151636282104.pdf

 

แนวรับ แนวต้านประจำช่วง Night Session ของวันอังคารที่ 20 มกราคม 2558 ให้เพื่อนๆ ติดตามมาแล้วค่ะ

ติดตามข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับทองคำและสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ที่

 

 

 

10891861_997029370325413_446720953062065091_n.jpg?oh=49516ff5f8650cd4ea076b149f4ee80d&oe=5564DCE4

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10942451_870572359706382_7036891948683852470_n.jpg?oh=98b04ddf697ce76e200f43811d115601&oe=552B09D2&__gda__=1433184859_2d80fb934b7ec8c5b597faa863b0f882

 

สวัสดีฮัป

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดพุ่ง $17.3 เหตุวิตกศก.โลกหนุนแรงซื้อทอง

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 21 มกราคม 2558 07:42:41 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (20 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนแห่ซื้อทองคำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในวันพฤหัสบดีนี้ โดยมีกระแสคาดการณ์ว่าอีซีบีอาจจะประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมครั้งนี้

 

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 17.3 ดอลลาร์ หรือ 1.35% ปิดที่ระดับ 1,294.20 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 20.6 เซนต์ ปิดที่ 17.956 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 17.2 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,286.60 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 24.45 ดอลลาร์ ปิดที่ 778.75 ดอลลาร์/ออนซ์

นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากไอเอ็มเอฟได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ สู่ระดับ 3.5% ซึ่งลดลง 0.3% จากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ และได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีหน้าลงสู่ระดับ 3.7% ในปีหน้า เนื่องจากหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึงการลงทุนที่ชะลอตัวลง

นักลงทุนจับตาดูอีซีบีในวันพรุ่งนี้ ขณะที่ผลการสำรวจพบว่า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า นายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี จะประกาศใช้มาตรการ QE ด้วยการดำเนินโครงการซื้อพันธบัตรในวงเงิน 5.50 แสนล้านยูโร (6.35 แสนล้านดอลลาร์) ในการประชุมอีซีบีวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งเป็นวงเงินที่สูงเป็นประวัติการณ์เพื่อผลักดันให้ยูโรโซนหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืด

นอกจากนี้ นักลงทุนยังติดตามดูผลการเลือกตั้งของกรีซในวันอาทิตย์นี้ ขณะที่ผลการสำรวจส่วนใหญ่ระบุว่า พรรคไซรีซา ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านและต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด ยังคงมีคะแนนนำเหนือพรรคนิวเดโมเครซี (ND) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 21 มกราคม 2558 07:47:10 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 20 ม.ค.2558

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (20 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกทั้งในปีนี้และปีหน้า และจีนเปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปี 2557 ขยายตัวในอัตราที่ต่ำสุดในรอบ 24 ปี

 

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,515.23 จุด เพิ่มขึ้น 3.66 จุด หรือ +0.02% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,654.85 จุด เพิ่มขึ้น 20.47 จุด หรือ +0.44% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,022.55 จุด เพิ่มขึ้น 3.13 จุด หรือ +0.15%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (20 ม.ค.) ซึ่งเป็นการปิดบวกติดต่อกัน 4 วันทำการ เพราะได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ครั้งใหญ่ในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น 0.8% ปิดที่ 355.96 จุด

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,257.13 จุด เพิ่มขึ้น 14.78 จุด หรือ +0.14% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,446.02 จุด เพิ่มขึ้น 51.09 จุด หรือ +1.16% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,620.10 จุด เพิ่มขึ้น 34.57 จุด หรือ +0.52%

 

-- -ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (20 ม.ค.) จากคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE ในการประชุมนโยบายสัปดาห์นี้

ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 34.57 จุด หรือ 0.52% ปิดที่ 6,620.10 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (20 ม.ค.) หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจอาจทำให้ความต้องการพลังงานลดน้อยลงด้วย

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.ร่วงลง 2.3 ดอลลาร์ หรือ 4.7% ปิดที่ 46.39 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 85 เซนต์ หรือ 1.7% ปิดที่ 47.99 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (20 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนแห่ซื้อทองคำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในวันพฤหัสบดีนี้ โดยมีกระแสคาดการณ์ว่าอีซีบีอาจจะประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมครั้งนี้

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 17.3 ดอลลาร์ หรือ 1.35% ปิดที่ระดับ 1,294.20 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 20.6 เซนต์ ปิดที่ 17.956 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 17.2 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,286.60 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 24.45 ดอลลาร์ ปิดที่ 778.75 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบยูโรและเยนเมื่อคืนนี้ (20 ม.ค.) เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มมากขึ้นที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่คาดกันว่าธนาคารกลางในญี่ปุ่นและยุโรปเตรียมที่จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นในการประชุมในสัปดาห์นี้

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1549 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1602 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5158 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5109 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 118.81 เยน เทียบกับระดับ 117.77 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.8790 ฟรังก์ จาก 0.8792 ฟรังก์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8176 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8207 ดอลลาร์

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,515.23 จุด เพิ่มขึ้น 3.66 จุด +0.02%

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,654.85 จุด เพิ่มขึ้น 20.47 จุด +0.44%

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,022.55 จุด เพิ่มขึ้น 3.13 จุด +0.15%

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,620.10 จุด เพิ่มขึ้น 34.57 จุด +0.52%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,257.13 จุด เพิ่มขึ้น 14.78 จุด +0.14%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,446.02 จุด เพิ่มขึ้น 51.09 จุด +1.16%

 

ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,286.80 จุด ลดลง 2.20 จุด -0.04%

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,307.70 จุด ลดลง 1.40 จุด -0.03%

ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,251.69 จุด เพิ่มขึ้น 77.63 จุด +0.85%

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 17,366.30 จุด เพิ่มขึ้น 352.01 จุด +2.07%

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,918.31 จุด เพิ่มขึ้น 15.69 จุด +0.82%

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,173.05 จุด เพิ่มขึ้น 56.70 จุด +1.82%

ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,452.81 จุด ลดลง 32.51 จุด -0.43%

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 23,951.16 จุด เพิ่มขึ้น 212.67 จุด +0.90%

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,166.09 จุด เพิ่มขึ้น 14.00 จุด +0.27%

ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,750.11 จุด ลดลง 3.20 จุด -0.18%

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,334.02 จุด เพิ่มขึ้น 26.32 จุด +0.80%

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 28,784.67 จุด เพิ่มขึ้น 522.66 จุด +1.85%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย นรินรัตน์ พรหมพิทักษ์/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งเทียบยูโร,เยน คาด ECB,BOJ ผ่อนคลายการเงินเพิ่ม

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 21 มกราคม 2558 07:27:37 น.

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบยูโรและเยนเมื่อคืนนี้ (20 ม.ค.) เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มมากขึ้นที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่คาดกันว่าธนาคารกลางในญี่ปุ่นและยุโรปเตรียมที่จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นในการประชุมในสัปดาห์นี้

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1549 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1602 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5158 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5109 ดอลลาร์

 

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 118.81 เยน เทียบกับระดับ 117.77 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.8790 ฟรังก์ จาก 0.8792 ฟรังก์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8176 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8207 ดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มีการเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า “สหรัฐเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่เพียงรายเดียวที่ได้รับการปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ" ซึ่งได้หนุนกระแสคาดการณ์ในตลาดว่าเฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดกันไว้

ไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 3.6% ในปี 2558 และ 3.3% ในปี 2559 ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.5% และ 0.3% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับคาดการณ์ก่อนหน้า

ขณะเดียวกัน ไอเอ็มเอฟได้ปรับลดแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2558 และ 2559 ลงสู่ 3.5% และ 3.7% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับที่รายงานไว้เมื่อเดือนต.ค.2557

ส่วนในสัปดาห์นี้ นักวิเคราะห์คาดกันว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะประกาศโครงการซื้อพันธบัตรในการประชุมนโยบายในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งเป็นความพยายามที่จะรับมือกับภาวะเงินฝืดในภูมิภาค ขณะที่เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะพิจารณาขยายมาตรการผ่อนคลายทางการเงินในการประชุมเป็นเวลา 2 วัน ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันนี้

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งเทียบยูโร,เยน คาด ECB,BOJ ผ่อนคลายการเงินเพิ่ม

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 21 มกราคม 2558 07:27:37 น.

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบยูโรและเยนเมื่อคืนนี้ (20 ม.ค.) เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มมากขึ้นที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่คาดกันว่าธนาคารกลางในญี่ปุ่นและยุโรปเตรียมที่จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นในการประชุมในสัปดาห์นี้

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1549 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1602 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5158 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5109 ดอลลาร์

 

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 118.81 เยน เทียบกับระดับ 117.77 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.8790 ฟรังก์ จาก 0.8792 ฟรังก์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8176 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8207 ดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มีการเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า “สหรัฐเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่เพียงรายเดียวที่ได้รับการปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ" ซึ่งได้หนุนกระแสคาดการณ์ในตลาดว่าเฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดกันไว้

ไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 3.6% ในปี 2558 และ 3.3% ในปี 2559 ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.5% และ 0.3% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับคาดการณ์ก่อนหน้า

ขณะเดียวกัน ไอเอ็มเอฟได้ปรับลดแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2558 และ 2559 ลงสู่ 3.5% และ 3.7% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับที่รายงานไว้เมื่อเดือนต.ค.2557

ส่วนในสัปดาห์นี้ นักวิเคราะห์คาดกันว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะประกาศโครงการซื้อพันธบัตรในการประชุมนโยบายในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งเป็นความพยายามที่จะรับมือกับภาวะเงินฝืดในภูมิภาค ขณะที่เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะพิจารณาขยายมาตรการผ่อนคลายทางการเงินในการประชุมเป็นเวลา 2 วัน ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันนี้

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10945755_826319177406559_2339314067538179726_n.png?oh=1b0de4feb4ce69546efedc2a104ac812&oe=556DD961&__gda__=1432852235_6b59e9baa405a37d0aeb2e702228fef3

แนวต้านที่ 1300 เป็นแนวต้านสำคัญมองย่อตัวลงสู่แนวหนุน 1260 - 1270 ก่อนประชุมอีซีบีพรุ่งนี้

ทองจะไม่ลงถ้าราคาน้ำมันฉุดให้หุ้นร่วงลงและในยุโรปยังคงน่าเป็นห่วง โฟกัสที่กรีซและสวิสเป็นสำคัญ

SPDR ช่วยหนุนปัจจัยบวกต่อทองด้วการซื้อหนักๆ ติดๆ กันในช่วงนี้ การถูกเลื่อนออกไปของช่วงเวลาขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐเป็นปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนในสหรัฐมองหาโอกาสที่สินทรัพย์อื่นเช่นทอง

ซึ่งถ้าอีซีบีทำให้หุ้นพุ่งขึ้นในวันพรุ่งนี้อาจมีแรงขายทองออกมาไม่มากก็น้อย เป็นปัจจัยหนึ่งเดียวในเวลานี้ที่จะดึงให้ทองย่อลงมาได้

------------------------------------------------------------------------------

แนวต้านบริเวณ 1300 - 1310 เหรียญนั้นแข็งเนื่องด้วยเป็นระดับเมฆในกราฟรายสัปดาห์ไม่น่ารีบผ่านไป รวมถึงการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องมาระยะหนึ่งแล้ว ในขณะที่เหตุการณ์สำคัญในวันพรุ่งนี้มีแนวโน้มหนุนให้สินทรัพย์อื่นบวกได้มากกว่า โดยเฉพาะถ้าในรายละเอียดนั้นเป็นบวกต่อกรีซจะลดแรงซื้อในสินทรัพย์ปลอดภัยลง

------------------------------------------------------------------------------

ถ้าลงต่ำกว่า 1285 ทองจะย่อตัวอย่างน้อยมาที่ 1260โดยถ้าแรงซื้อมีไม่มากจะลงหนักถึง 1235 1245 ได้

ยังอยู่ในช่วงหาจังหวะเอสทั้งที่แนวต้าน 1295 1300 1308 หรือตอนหลุด 1285 ลงมาดูเป้าที่บริเวณ 1265 1272 ในเบื้องต้นและถ้าทรงไม่ดีจะยาวไปถึงอย่างน้อย 1250 1255 ซึ่งยังไม่เสียทรงในแนวโน้มรองจะยังคงเป็นแนวโน้มขาขึ้นอยู่จะเสียแนวโน้มขาขึ้นในแนวโน้มรองเมื่อลงต่ำกว่า 1200 1220 สำหรับตอนนี้

แนวต้าน 1295 1300 1308

แนวหนุน 1265 1272 1285

แนวรับเล่นสั้น 1260 1265

by Facebook.com/Wealthstation

21/1/58

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โอบามา เริ่มแถลงนโยบายประจำปีต่อสภาคองเกรสแล้วในวันนี้

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 21 มกราคม 2558 09:19:26 น.

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เริ่มแถลงนโยบายประจำปี (State of the Union) ต่อสภาคองเกรสแล้ว ซึ่งตรงกับเวลา 09.00 น.ตามเวลาไทยในวันนี้

 

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th--

 

หอการค้ารุดถกธปท.คุม'บาท'ผันผวน

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- พุธที่ 21 มกราคม 2558 00:00:03 น.

ราชบพิธ * หอการค้าไทยนำทีมพบผู้ว่าฯ ธปท. วอนดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนเร็วไป หวั่นเสียเปรียบคู่แข่ง พร้อมเสนอรัฐบาลเร่งเจรจา FTA ไทย-อียู ชดเชยถูกตัดจีเอสพี

นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้า ไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยเตรียมนำสมาชิกเข้าหารือกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนเร็วเกินไป รวมทั้งดูผลกระทบด้านอื่นที่ไม่ใช่แค่ภาคการส่งออก เพราะยังมีทั้งในส่วนของเงินกู้และพันธบัตร (บอนด์) โดยเฉพาะในส่วนของเงินกู้สำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

 

 

"เชื่อว่า ธปท.มีเครื่องมือ ดูแลอยู่แล้ว แต่ต้องยอมรับว่า ภาคเอกชนส่งออกเป็นกลุ่มเรียล เซ็กเตอร์ จึงรู้ข้อมูลและกระทบ ก่อนภาครัฐ จึงอยากส่งสัญญาณ มาให้ ไม่เช่นนั้นจะช้าไป เพราะอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนเร็วมาก หากเห็นตรงกัน น่าจะทำอะไรเพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้นได้" นายอิสระกล่าว

ทั้งนี้ อัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการส่งออกกังวลมาก เพราะค่าเงินบาทของไทยแข็งค่ากว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก โดยปี 2557 เงินบาทไทยอ่อนค่า 0.49% ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซียอ่อนค่า 6.28% อินโด นีเซีย 2.22% สิงคโปร์ 4.41% พม่า 6.28% เกาหลีใต้ 4.23% ญี่ปุ่น 11.86% สหภาพยุโรป (อียู) 13.07% รัสเซีย 43.33% และบราซิล 11.19%

ขณะเดียวกัน ผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) จากการส่งออกสินค้าไปอียู แม้จะยังไม่กระทบทันที เพราะยังมีสินค้าบางรายการที่สามารถเจรจาขอเว้นภาษีได้ในกรณีที่เป็นสินค้านำเข้าไปเพื่อไปเพิ่มมูลค่า ดังนั้น จึงอยากผลักดันให้รัฐบาลเร่งเปิดเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทยอียู เพื่อทดแทนสิทธิ GSP ที่หายไป.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เกาะติดหุ้นโลก 21-1-58 vdo.gif Morning News : เกาะติดหุ้นรอบโลก "NOW26" 21-1-58 สรุปภาพรวมตลาดหุ้น 20-1-58 vdo.gif สรุปภาพรวมการลงทุนตลาดหุ้น ช่วงตรงประเด็นข่าวค่ำ "NOW26" 20-1-58 แนวโน้มราคา vdo.gif ตรงประเด็นข่าวค่ำ แนวโน้มราคาทองคำ สดตรงจากนักวิเคราะห์ "NOW26" 20-1-58 ปตท.เปิดปั๊มPlatinumแห่งแรกในฟิลิปปินส์ 'BEAUTY'ตั้งเป้ารายได้ปีนี้แตะ1.7พันลบ. พอร์ตลงทุนหุ้นวันนี้ต่างชาติขาย819ลบ. หุ้นไทยปิดร่วง0.28จุด

ดูข่าว ทั้งหมด icon-arrow-gray.gif

 

 

ข่าวยอดนิยม

(รายงาน) "ไอเอ็มเอฟ"ชี้น้ำมันราคาถูก ไม่เพียงพอดันเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว เผยเชื่อมั่นผู้บริโภคในเอเชีย-แปซิฟิคลด

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เตือนราคาน้ำมันระดับต่ำ ไม่เพียงพอทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในปีนี้ ซึ่งสวนทางกับนักวิเคราะห์ที่ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกน่าจะได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันถูกลง

นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวว่าการดิ่งลงของราคาน้ำมันและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้นของสหรัฐอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกสดใสขึ้นในปีนี้

นางลาการ์ดกล่าวว่า ขณะที่ราคาน้ำมันที่ถูกลงจะช่วยผู้บริโภคทั่วโลก แต่สหรัฐก็อาจจะเป็นเพียงประเทศชั้นนำแห่งเดียวที่สวนกระแสภาวะชะลอตัวของการลงทุนและการอุปโภคบริโภค

นางลาการ์ดไม่แน่ใจว่า ราคาน้ำมันที่ดิ่งลง และเศรษฐกิจสหรัฐน่าจะทำให้ไอเอ็มเอฟมีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นหรือไม่

"คำตอบเป็นไปได้ที่สุดก็คือ 'ไม่'" นางลาการ์ดกล่าว

ยูโรโซนและญี่ปุ่นเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำมากเป็นเวลานาน โดยมีแนวโน้มว่าจะประสบกับวงจรราคาและค่าจ้างที่ดิ่งลง ซึ่งกำลังเกิดขึ้นแล้วในยุโรป

ขณะเดียวกัน ไอเอ็มเอฟก็คาดว่า เศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่จะชะลอตัวลงด้วย นำโดยภาวะชะลอตัวของจีน

ข้อมูลที่ย่ำแย่ในเดือนธ.ค.ของสหรัฐทำให้นักลงทุนคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะรอต่อไป โดยอาจจะรอจนถึงเดือนต.ค.เพื่อขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่การคุมเข้มนโยบายการเงินก็อาจจะทำให้ตลาดการเงินผันผวนรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศยากจน ซึ่งธนาคารและภาคเอกชนได้กู้เงินสกุลดอลลาร์มากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ร่วงลง "สร้างแรงกดดันมหาศาลด้านค่าเงิน" ต่อไนจีเรีย,รัสเซีย และเวเนซุเอลา

"ปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันที่ร่วงลงเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าเศรษฐกิจโลกอ่อนแอ ราคาน้ำมันก็จะไม่ช่วย" นางลาการ์ดกล่าว

นอกจากปัจจัยบวกต่อผู้บริโภคแล้ว นางลาการ์ดระบุว่า ราคาน้ำมันที่ร่วงลงเป็นยิ่งกว่า"โอกาสทอง" สำหรับประเทศต่างๆ ที่จะลดนโยบายเงินอุดหนุนพลังงาน และทุ่มงบรายจ่ายของรัฐบาลมากขึ้นกับการบรรเทาภาวะยากจน

โอเปคคาดน้ำมันล้นตลาดแม้สหรัฐฯชะลอผลิต

กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ระบุว่า การดิ่งลงของราคาน้ำมันเริ่มที่จะทำให้การผลิตน้ำมันในสหรัฐชะลอตัวลง แต่ภาวะชะลอตัวดังกล่าวจะไม่กระทบภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาดโลกมากขึ้นในปีนี้ และความต้องการน้ำมันของโอเปคจะลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 ทศวรรษ

โอเปคเปิดเผยรายงานประจำเดือน โดยคาดว่าความต้องการใช้น้ำมันของโอเปคจะลดลงสู่ระดับ 28.78 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ ลดลง 140,000 บาร์เรลต่อวันจากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้านี้และต่ำกว่ากำลังการผลิตในขณะนี้อยู่ที่ระดับมากกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ราคาน้ำมันดิ่งลงเกือบ 60% นับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว เนื่องจากโอเปคตัดสินใจไม่ลดการผลิตในการประชุมเดือนพ.ย.เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่ง และการดิ่งลงดังกล่าวทำให้ตลาดจับตาการขยายตัวของการผลิตน้ำมันในสหรัฐ

โอเปคเชื่อสงครามราคาได้ผล

โอเปคระบุในรายงานว่า "การร่วงลงอย่างรุนแรงของราคาน้ำมันโลกอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตจากแหล่งอื่นๆ"

ในการประชุมของโอเปคนั้น ซาอุดีอาระเบียได้เรียกร้องให้สมาชิกโอเปครับมือกับการขยายตัวของปริมาณน้ำมันจากคู่แข่ง รวมถึงหินน้ำมันของสหรัฐ ซึ่งทำให้ส่วนแบ่งตลาดของโอเปคลดลง

รายงานของโอเปคคาดว่า ปริมาณน้ำมันทั้งหมดของสหรัฐจะอยู่ที่ปริมาณเฉลี่ย 13.81 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ เพิ่มขึ้น 950,000 บาร์เรลต่อวันจากปี 2557

อัตราการขยายตัวชะลอลงกว่า 1.05 ล้านบาร์เรลต่อวันที่คาดไว้ในเดือนที่แล้ว แต่สหรัฐยังคงมีสัดส่วนสูงสุดต่อการขยายตัวของปริมาณน้ำมันที่ไม่ใช่จากกลุ่มโอเปค

โอเปคไม่ใช่ผู้คาดการณ์ด้านน้ำมันรายเดียวที่คาดว่าปริมาณน้ำมันของสหรัฐจะชะลอตัว โดยรัฐบาลสหรัฐเปิดเผยเมื่อวันอังคารว่า การผลิตน้ำมันภายในประเทศจะขยายตัวเพียง 2.2%ในปี 2559 ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดในรอบหลายปี

สำหรับอุปสงค์โดยเฉลี่ยของปีนี้สำหรับน้ำมันดิบของโอเปคคาดว่าจะอยู่ที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่อยู่ที่ 28.15 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2547

การคาดการณ์อุปสงค์ที่ลดลงของโอเปคในปีนี้ และการผลิตของโอเปคที่เพิ่มขึ้นในเดือนธ.ค. ซึ่งนำโดยอิรักนั้น บ่งชี้ว่า ปริมาณน้ำมันส่วนเกินทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในปีนี้ โดยไม่มีการปรับลดการผลิตทั้งจากโอเปคหรือผู้ผลิตอื่นๆ

ขณะที่โอเปคผลิตน้ำมัน 30.20 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนธ.ค.นั้นได้บ่งชี้ว่า จะมีปริมาณน้ำมันส่วนเกิน 1.42 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ และ 2.41 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงครึ่งปีแรก

ราคาน้ำมันดิบวานนี้ (16 ม.ค.) ปรับตัวลดลง หลังกลุ่มโอเปคมีการรายงานผลการคาดการณ์ความต้องการณ์น้ำมันดิบจากกลุ่มโอเปคในปี 2558 ที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 28.78 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต่ำกว่าผลการคาดการณ์ในช่วงก่อนหน้าราว 0.14 ล้านบาร์เรลต่อวัน และถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2547

คาดเบรนท์ไตรมาสแรกแตะ31ดอลลาร์

นอกจากนั้น ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดัน หลัง Bank of America Merrill Lynch คาดว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์มีแนวโน้มปรับตัวลดลงมาแตะที่ระดับ 31 ดอลลาร์/ต่อบาร์เรล ในช่วงปลายไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 เนื่องจากปริมาณอุปทานน้ำมันดิบโลกที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์โดยเฉลี่ยในปี 2558 มีแนวโน้มยืนอยู่ที่ระดับ 52 ดอลลาร์/บาร์เรล ปรับลดลงจากผลการคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 77 ดอลลาร์/บาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสมีแนวโน้มยืนอยู่ที่ระดับ 50 ดอลลาร์/บาร์เรล จากระดับการคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 72 ดอลลาร์/บาร์เรล

ขณะที่ในปี 2559 ราคาน้ำมันดิบเบรนท์คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ ณ ระดับเฉลี่ย 58 ดอลลาร์/บาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอยู่ที่เฉลี่ย 57 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

........................

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเอเชีย-แปซิฟิคลดลง

ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มสำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคและความเป็นอยู่ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ น้อยกว่าเมื่อ 6 เดือนก่อน ซึ่งความเชื่อมั่นสูงสุดในรอบกว่า 1 ทศวรรษ

ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคล่าสุดของมาสเตอร์การ์ดพบว่า ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นน้อยที่สุดในญี่ปุ่น, ไต้หวัน และฮ่องกง

ทั้งนี้ ผู้บริโภคมากกว่า 8,000 คนใน 16 ประเทศถูกซักถามเกี่ยวกับมุมมองของพวกเขาต่อภาวะเศรษฐกิจ, การจ้างงาน, รายได้, ตลาดหุ้น และคุณภาพชีวิต และความเชื่อมั่นลดลงจากในช่วง 6 เดือนก่อน ซึ่งสะท้อนถึงมุมมองของธนาคารโลกที่ว่า เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในช่วง "หัวเลี้ยวหัวต่อที่น่าวิตก"

ความเชื่อมั่นในญี่ปุ่นร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี ซึ่งสอดคล้องกับการที่ธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น

นายปิแอร์ เบอร์เรต์ จากมาสเตอร์การ์ด แอดไวเซอร์ประจำยุโรป, เอเชีย-แปซิฟิค, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา กล่าวว่า การลดลงดังกล่าวมีสาเหตุมาจากความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบจากนโยบายอาเบะโนมิคส์ และเยนที่อ่อนค่าลง

ส่วนความเชื่อมั่นในไต้หวัน และฮ่องกงลดลง เนื่องจากความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นกับจีน ขณะที่ความเชื่อมั่นในจีนมีเสถียรภาพจากเมื่อ 6 เดือนก่อน แม้คาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงก็ตาม โดยธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในเดือนนี้

Tags : คริสติน ลาการ์ดไอเอ็มเอฟน้ำมันราคาถูกเศรษฐกิจโลกยูโรโซนญี่ปุ่นธนาคารกลางสหรัฐ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อสส.เตรียมสั่งฟ้อง ยิ่งลักษณ์ หลังประชุมร่วมได้ข้อยุติ

 

อัยการสูงสุดเตรียมสั่งฟ้องคดีอาญาอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ หลังประชุมคณะทำงานร่วมนัดสุดท้ายได้ข้อยุติ

NATIONTV.TV

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Money Daily ทางสถานีโทรทัศน์ Modern9 วันพุธที่ 21 มกราคม 2558

http://youtu.be/tLlqIeO0sB8

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

แนวรับ แนวต้านประจำเช้าวันพุธที่ 21 มกราคม 2558 ให้เพื่อนๆ ติดตามมาแล้วค่ะ

ติดตามข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับทองคำและสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ที่ www.classicgoldfutures.co.th ค่ะ

 

 

 

1509883_997407630287587_5166325589105878475_n.jpg?oh=419032cb7a910528bc45f812295dfb68&oe=556B16E3&__gda__=1429021130_1577a8b6576cb7f4662245ceed221e28

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

wannn มีความสุข มีกำไรนะคะ

 

คุณพรรณงาม อารยวุฒิ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวโน้ม ราคาทองคำและปัจจัยที่กระทบต่อราคาทองคำในช่วงสัปดาห์ ในรายการหุ้นโค้งสุดท้าย ทางช่อง Money Channel ในวันอังคารที่ 20 มกราคม 2558

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...