ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

สวัสดีเพื่อน deb wann news bas wishwish meng Goldgeng Google raty Alan เด็กสยาม ตังเม ตะนอย

 

อยากเล่นด้วยคน Espresso BBB ... ... .... โชคดี มีความสุข มีภูมิด้านทาน มีกำไรนะคะ

 

10868148_866571750106443_6851942148943892391_n.jpg?oh=d76a9ea61bff8ae9de01d9c6b65006e7&oe=5527420E&__gda__=1429307472_aa3ebd960b3153be338f5ba4f58a914d

 

อารมณ์ดี

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2558 07:49:52 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 14 ม.ค.2558

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของเจพี มอร์แกนที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ รวมทั้งธนาคารโลกที่ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก และข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ

 

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,427.09 จุด ร่วงลง 186.59 จุด หรือ -1.06% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,639.32 จุด ลดลง 22.18 จุด หรือ -0.48% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,011.27 จุด ลดลง 11.76 จุด หรือ -0.58%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก หลังจากธนาคารโลก หรือเวิล์ดแบงก์ ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ อันเนื่องมาจากความเสี่ยงที่ตลาดการเงินทั่วโลกจะผันผวนและยูโรโซนอาจจะเผชิญภาวะเงินฝืด

ดัชนี Stoxx Europe 600 1.48% ปิดที่ 339.67 จุด

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,817.08 จุด ร่วงลง 123.92 จุด หรือ -1.25% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,223.24 จุด ลดลง 67.04 จุด หรือ -1.56% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,388.46 จุด ร่วงลง 153.74 จุด หรือ -2.35%

 

-- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) โดยได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ร่วงลงอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทองแดง

ดัชนี FTSE 100 ลดลง 153.74 จุด หรือ 2.35% ปิดที่ 6,388.46 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงติดต่อกันหลายวันก่อนหน้านี้ โดยสัญญาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้นปิดในแดนบวกแม้ว่าสหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นเกินคาดก็ตาม

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 2.59 ดอลลาร์ ปิดที่ 48.48 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดลอนดอน พุ่งขึ้น 2.1 ดอลลาร์ ปิดที่ 48.69 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) ซึ่งเป็นการปิดบวกติดต่อกัน 4 วันทำการ เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก รวมทั้งรายงานยอดค้าปลีกที่ซบเซาและการร่วงลงของตลาดหุ้นนิวยอร์กนั้น ได้ช่วยหนุนแรงซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 10 เซนต์ หรือ 0.01% ปิดที่ 1,234.50 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 16.8 เซนต์ ปิดที่ 16.988 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 8.8 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,239.00 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) หลังจากที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกและดัชนีราคานำเข้า

ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1778 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1764 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5220 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5146 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 117.30 เยน เทียบกับระดับ 117.73 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0197 ฟรังค์ จาก 1.0209 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8148 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8154 ดอลลาร์

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,427.09 จุด ลดลง 186.59 จุด -1.06%

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,639.32 จุด ลดลง 22.18 จุด -0.48%

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,011.27 จุด ลดลง 11.76 จุด -0.58%

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,388.46 จุด ลดลง 153.74 จุด -2.35%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,817.08 จุด ลดลง 123.92 จุด -1.25%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,223.24 จุด ลดลง 67.04 จุด -1.56%

 

ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,332.20 จุด ลดลง 49.90 จุด -0.93%

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,353.60 จุด ลดลง 51.10 จุด -0.95%

ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,180.23 จุด ลดลง 51.57 จุด -0.56%

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 16,795.96 จุด ลดลง 291.75 จุด -1.71%

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,913.66 จุด ลดลง 3.48 จุด, -0.18%

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,222.44 จุด ลดลง 12.86 จุด -0.40%

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 24,112.60 จุด ลดลง 103.37 จุด -0.43%

ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,490.88 จุด เพิ่มขึ้น 91.88 จุด +1.24%

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,159.67 จุด ลดลง 54.69 จุด -1.05%

ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,742.01 จุด ลดลง 6.89 จุด -0.39%

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,326.16 จุด ลดลง 14.91 จุด -0.45%

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 27,346.82 จุด ลดลง 78.91 จุด -0.29%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย นรินรัตน์ พรหมพิทักษ์/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดบวก 10 เซนต์ เหตุวิตกศก.โลกหนุนแรงซื้อทอง

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2558 07:48:06 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) ซึ่งเป็นการปิดบวกติดต่อกัน 4 วันทำการ เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก รวมทั้งรายงานยอดค้าปลีกที่ซบเซาและการร่วงลงของตลาดหุ้นนิวยอร์กนั้น ได้ช่วยหนุนแรงซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 10 เซนต์ หรือ 0.01% ปิดที่ 1,234.50 ดอลลาร์/ออนซ์

 

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 16.8 เซนต์ ปิดที่ 16.988 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 8.8 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,239.00 ดอลลาร์/ออนซ์

นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้นนิวยอร์กร่วงลงติดต่อกันหลายวันทำการก่อนหน้านี้ ภายหลังจากธนาคารโลกธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลงสู่ระดับ 3% ซึ่งลดลง 0.4% จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมิ.ย. เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเผชิญอุปสรรคต่างๆ รวมถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับภาวะผันผวนในตลาดการเงิน, ราคาน้ำมันที่ตกต่ำจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน และความเสี่ยงเกี่ยวกับภาวะเงินฝืดในยูโรโซน

นอกจากนี้ รายงานยอดค้าปลีกที่อ่อนแอของสหรัฐยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่ายอดค้าปลีกเดือนธ.ค.ร่วงลง 0.9% ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นการดิ่งลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปีที่แล้ว และยังสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดน้ำมัน: แรงซื้อเก็งกำไร หนุนน้ำมัน WTI ปิดพุ่ง 2.59 ดอลลาร์

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2558 07:29:22 น.

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงติดต่อกันหลายวันก่อนหน้านี้ โดยสัญญาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้นปิดในแดนบวกแม้ว่าสหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นเกินคาดก็ตาม

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 2.59 ดอลลาร์ ปิดที่ 48.48 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดลอนดอน พุ่งขึ้น 2.1 ดอลลาร์ ปิดที่ 48.69 ดอลลาร์/บาร์เรล

นักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงติดต่อกัน 3 วันทำการก่อนหน้านี้ อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด และจากการที่โกลด์แมน แซคส์ ได้ปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบที่ตลาด NYMEX ลงสู่ระดับ 47.15 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากคาดการณ์เดิมที่ 73.75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐยังไม่สามารถสกัดแรงซื้อในตลาดได้ โดยเมื่อสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้น 5.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 417,000 บาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมัน เพิ่มขึ้น 1.776 ล้านบาร์เรล

นอกจากนี้ รายงานของ EIA ระบุว่า สหรัฐผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 60,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 9.19 ล้านบาร์เรลต่อวันในรอบสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ที่ EIA เริ่มทำการรวบรวมข้อมูลด้านการผลิตในปี 2526

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์ปรับตัวลง หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐอ่อนแอ

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2558 07:25:51 น.

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) หลังจากที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกและดัชนีราคานำเข้า

ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1778 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1764 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5220 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5146 ดอลลาร์

 

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 117.30 เยน เทียบกับระดับ 117.73 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0197 ฟรังค์ จาก 1.0209 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8148 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8154 ดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐได้เผชิญแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยเมื่อคืนนี้ว่า ยอดค้าปลีกทั่วไปร่วงลง 0.9% ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นการดิ่งลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปีที่แล้ว ขณะที่ยอดค้าปลีกพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมภาคยานยนต์, น้ำมันเบนซิน, วัสดุก่อสร้าง และบริการด้านอาหาร ลดลง 0.4% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนพ.ย.

ขณะเดียวกัน กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ดัชนีราคานำเข้าดิ่งลง 2.5% ในเดือนธ.ค. จากราคาพลังงานที่ทรุดตัวลง และเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2551 ขณะที่เดือนพ.ย.ร่วงลง 1.8% โดยตัวเลขดัชนีราคานำเข้าที่อ่อนแอบ่งชี้ถึงแรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลงในช่วงหลายเดือนข้าง ส่วนดัชนีราคาส่งออกปรับตัวลง 1.2% ในเดือนที่แล้ว

บรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่า ข้อมูลโดยรวมที่ออกมาในเชิงลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอดค้าปลีกที่ร่วงลงสวนทางคาดการณ์นั้น ส่งผลให้ตลาดคาดการณ์กันว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนสิ้นปีนี้

ส่วนเงินเยนแข็งค่าขึ้นเป็นวันที่ 4 ติดต่อกันเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากนักลงทุนมีความต้องการสินทรัพย์ที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ท่ามกลางตลาดหุ้นที่ซบเซา

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป็นจุดที่ต้องระวังการสับขาหลอก มีไดเวอร์เจ้นท์ในราย 4 ชม.หลังโดนเทลงจากแนว 1240 1245ลงมา

เอสตามเมื่อหลุด 1225 เป้า 1210 1215 และ 1200 ในจังหวะหลุดลงมาแล้วต้องระวัง pull back กลับขึ้น

ตลาดหุ้นร่วงลง ทำให้ดาวน์โจนส์ปิดลบ 4 วันติดกัน แต่น้ำมันฟื้น โดยฟื้นตัวกว่า 6% ถ้าไม่มีข่าวการตัดราคากันของผู้ผลิตน้ำมันน่าจะมีช่วงฟื้นตัว หลังจากขายทิ้งกันไม่ดูอะไรเลยมาก่อนหน้านี้

--------------------------------------------------------------------

วันนี้ทองมีโอกาสลงต่ำกว่า 1225 ได้แต่แนวโน้มระยะกลางยังเป็นบวก เพราะมีฐานอยู่ที่ 1200 - 1210 ถ้ายังไม่ปรับตัวลงต่ำกว่า 1200 การฟอร์มตัวของทองจะเป็นการย่อเพื่อสะสมพลังเพื่อขึ้นทดสอบแนวต้านหลัก 1240 1260 1280ต่อไป

วันนี้เอสตามเมื่อหลุด 1225 หรือดักเอสที่ 1235 ในกรณีที่ยืน 1235 แล้วขึ้นทดสอบ 1245 อีกรอบแนวโน้มจะดูดีมีโอกาสไป 1260 ได้

by Facebook.com/Wealthstation

เป็นจุดที่ต้องระวังการสับขาหลอก มีไดเวอร์เจ้นท์ในราย 4 ชม.หลังโดนเทลงจากแนว 1240 1245ลงมา

เอสตามเมื่อหลุด 1225 เป้า 1210 1215 และ 1200 ในจังหวะหลุดลงมาแล้วต้องระวัง pull back กลับขึ้น

ตลาดหุ้นร่วงลง ทำให้ดาวน์โจนส์ปิดลบ 4 วันติดกัน แต่น้ำมันฟื้น โดยฟื้นตัวกว่า 6% ถ้าไม่มีข่าวการตัดราคากันของผู้ผลิตน้ำมันน่าจะมีช่วงฟื้นตัว หลังจากขายทิ้งกันไม่ดูอะไรเลยมาก่อนหน้านี้

--------------------------------------------------------------------

วันนี้ทองมีโอกาสลงต่ำกว่า 1225 ได้แต่แนวโน้มระยะกลางยังเป็นบวก เพราะมีฐานอยู่ที่ 1200 - 1210 ถ้ายังไม่ปรับตัวลงต่ำกว่า 1200 การฟอร์มตัวของทองจะเป็นการย่อเพื่อสะสมพลังเพื่อขึ้นทดสอบแนวต้านหลัก 1240 1260 1280ต่อไป

วันนี้เอสตามเมื่อหลุด 1225 หรือดักเอสที่ 1235 ในกรณีที่ยืน 1235 แล้วขึ้นทดสอบ 1245 อีกรอบแนวโน้มจะดูดีมีโอกาสไป 1260 ได้

by Facebook.com/Wealthstation

 

 

 

 

10920938_823741877664289_857999104711662215_n.png?oh=b3a6450e77493f661b01e2aa1b84ae75&oe=5525389C&__gda__=1429760861_382aaefc95becb8f138149d44c784d56

15 1 15

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

สรุปราคาซื้อขายทองคำ และ Gold Futures ภายในประเทศ ณ วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 9.00 น.

ข่าวหุ้น-การเงิน ThaiPR.net -- พฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2558 10:15:22 น.

กรุงเทพฯ--15 ม.ค.--MTS Gold Group

 

ราคาทองคำเปิดตลาดที่ระดับ 1,229 เหรียญ/ออนซ์ และกลับมาปิดช่วงกลางคืนที่ระดับ1,238เหรียญ/ออนซ์ (22.30น.) ค่าเงินบาทปิด 32.74 บาท/ดอลลาร์ ราคาสมาคมเปิดที่ 19,050 บาท กับ 19,150 บาท และกลับมาปิดที่ 19,000 บาท กับ 19,100 บาท

ปริมาณการซื้อขาย Gold Futures 50 บาท อยู่ที่ 554 คู่สัญญา แบบ 10 บาทอยู่ที่ 4136 คู่สัญญา Open Interest แบบ 50 บาท เพิ่มขึ้น 2.41 % แบบ 10 บาท เพิ่มขึ้น 6.62 % GFG14 ปิด 19,240 บาท และ GFJ14 ปิด 19,320 บาท GF10G14 ปิดที่ 19,250 บาท GF10J14 ปิดที่ 19,330 บาท

 

 

สัญญา Comex เพิ่มขึ้น 0.1 ดอลลาร์ ปิดที่ระดับ 1,234.5 ดอลลาร์/ออนซ์ NYMEX เพิ่มขึ้น 2.59 เซนต์ ปิดตลาดที่ระดับ 48.48 ดอลลาร์/บาร์เรล SPDR ถือครองทองคำอยู่ที่ระดับ 707.59 ตัน(ขายออก 0.23 ตัน)

 

ข่าวที่สำคัญ

-ทองคำยังคงปิดบวกติดต่อกัน 4 วันทำการ เพราะได้รับแรงสนับสนุนจากการเข้าซื้อของนักลงทุนในฐานะสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก หลังจากธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้ รวมถึงการปรับตัวลดลงต่อเนื่องของตลาดหุ้น และการอ่อนค่าของดอลลาร์หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯออกมาน่าผิดหวัง

-นักวิเคราะห์จาก MKS กล่าวว่า ในเช้าวันนี้ทองคำได้รับแรงกดันจากการแรงขายทำกำไรของนักลงทุนในตลาดเอเชียที่เริ่มทำการ Cover Position จึงกดดันราคาทองคำทำให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงมาบริเวณ 1,230 เหรียญอีกครั้ง และอาจกลับลงมาทดสอบ 1,215 เหรียญได้ในเร็วๆนี้ หลังจากที่ราคาทองคำสัปดาห์นี้พยายามขึ้นไปทดสอบบริเวณ 1,245 เหรียญถึง 3 ครั้งแต่ยังไม่ผ่าน

-อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์จาก HSBC ระบุว่า ตลาดทองคำยังคงแข็งแกร่งมากที่สุด ขณะที่กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง จากแรงสนับสนุนหลักจากตลาดหุ้นส่วนใหญ่ที่อ่อนตัว ขณะที่ปริมาณการเข้าซื้อทองคำในเอเชียยังคงแข็งแกร่งก่อนเข้าสู่เทศกาลตรุษจีน

-ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.1778 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับ 1.1764 ยูโร/ดอลลาร์ เพราะได้รับแรงกดดันจากข้อมูลยอดค้าปลีกและยอดนำเข้าที่ออกมาย่ำแย่ของสหรัฐฯ จึงส่งสัญญาณถึงแรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลงในอีกหลายเดือนต่อจากนี้

-ขณะที่ค่าเงินเยนในเช้าวันนี้อ่อนค่าขึ้นสู่ระดับ 117.74 เยน/ดอลลาร์ จาก 117.30 เยน/ดอลลาร์ จึงส่งผลให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นฟื้นตัวอีกครั้ง

-ผลตอบแทนพันธบัตรหลักของ 6 ประเทศในยูโรโซนปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ หลังสภายุโรป (ECJ) มีข้อสรุปว่า ข้อเสนอของอีซีบีในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศที่ประสบปัญหาทางการเงิน สอดคล้องกับหลักการสนธิสัญญาพื้นฐานของอียู จึงส่งผลให้ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับอุปสรรคทางกฎหมายในการเข้าซื้อพันธบัตรของอีซีบี

-ธนาคารโลก (World Bank) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2015 สู่ระดับ 3% จาก 3.4% เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโลกยังคงต้องเผชิญกับอุปสรรคและความเสี่ยงจากตลาด-----การเงินที่ผันผวนทั่วโลกหลังราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะมีการขยายตัวที่แข็งแกร่ง แต่ทางยูโรโซนอาจเผชิญกับภาวะเงินฝืด

-ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวขึ้น 2.59 เหรียญ ที่ระดับ 48.48 เหรียญ/บาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากการเข้าซื้อเก็งกำไรของนักลงทุน หลังจากที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงติดต่อกัน 3 วันทำการ

-เมื่อคืนนี้ ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปิด -1.06% ยังคงปิดแดนลบติดต่อกัน 4 วันทำการ หลังจากกลุ่มนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของ เจพี มอร์แกน ที่ออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ ขณะที่ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก และข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐฯ

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญเมื่อคืน

Core Retail Sales m/m ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ 0.1% ตัวเลขจริงที่ออกมาอยู่ที่ระดับ - 1.0%

Retail Sales m/m ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ 0.4 % ตัวเลขจริงที่ออกมาอยู่ที่ระดับ -0.9 %

Import Prices m/m ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ -1.8 % ตัวเลขที่คาดการณ์อยู่ที่ระดับ -2.5 %

Crude Oil Inventories ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ -3.1 M ตัวเลขที่คาดการณ์อยู่ที่ระดับ 5.4 M

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในคืนนี้

PPI m/m ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ -0.2 % ตัวเลขที่คาดการณ์อยู่ที่ระดับ -0.3%

Unemployment Claims ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ 294 K ตัวเลขที่คาดการณ์อยู่ที่ระดับ 299K

Core PPI m/m ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ 0.0 % ตัวเลขที่คาดการณ์อยู่ที่ระดับ 0.2%

Empire State Manufacturing Index ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ -3.6 ตัวเลขที่คาดการ์อยู่ที่ระดับ 5.3

Philly Fed Manufacturing Index ตัวเลขเดิมอยู่ที่ระดับ 24.5 ตัวเลขที่คาดการณ์อยู่ที่ระดับ 20.3

 

ทิศทางราคาทองคำ

ราคาทองคำยังคงมีความผันผวนขึ้นและลงในกรอบ 1,222-1,245 เหรียญ โดยที่ตลาดยังคงรับข่าวเรื่องการที่ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯออกมาไม่ดีนัก จึงทำให้มีแรงซื้อทำกำไรของนักลงทุนอย่างหนาแน่น โดยเมื่อวานนี้ราคาดีดขึ้นไปบริเวณ 1,242 เหรียญก่อนจะพบกับแรงเทขายอย่างหนาแน่นเช่นกัน จึงคาดว่าราคาทองคำยังอยู่ในช่วงผันผวนตามเนื้อข่าวเศรษฐกิจ ขณะที่เมื่อวานี้ SPDR เทขายทองคำออกมาเล็กน้อย 0.23 ตัน สู่ระดับ 707.59 ตัน สำหรับวันนี้จะมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่คาดว่าจะออกมาไม่ดีนัก

 

วิเคราะห์ราคาทองคำทางเทคนิค

ราคาทองคำยังคงมีความผันผวนในระยะสั้นระหว่างการแกว่งในกรอบบริเวณ 1,220-1,250 เหรียญ ซึ่งนักลงทุนคงต้องติดตามสภาวะตลาดอย่างใกล้ชิดตามตัวเลขเศรษฐกิจ แนวรับสำคัญ 1,220 เหรียญ และแนวต้านสำคัญ 1,250 เหรียญ ขณะที่ค่าเงินบาทมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่องจึงแข็งค่าขึ้น

 

กลยุทธ์การลงทุนในวันนี้

เล่นตามการแกว่งของราคาในตลาด

 

- นักลงทุนที่ถือ Long Position และนักลงทุนที่ถือ Short Position

เล่นเก็งกำไรในกรอบระยะสั้นดังกล่าว

 

กลยุทธ์สำหรับนักลงทุน Weekly Trading

ภาพหลักระยะยาวยังเป็นแนวโน้มขาลง

 

Gold Futures G15 จะมีแนวรับที่ระดับ 19,270 บาท และแนวต้านที่ระดับ 19,470 บาท

Gold Futures J15 จะมีแนวรับที่ระดับ 19,340 บาท และแนวต้านที่ระดับ 19,540 บาท

 

บทวิเคราะห์ข้างต้น ยึดหลักตาม Technical Analysis บริษัทไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ต่อการวิเคราะห์ข้างต้นและโปรดระลึกเสมอว่าการลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณในการลงทุนด้วยตัวของท่านเอง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทปิด 32.75/77 ทรงตัวตามภูมิภาค มองกรอบพรุ่งนี้ 32.70-32.85

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2558 17:29:42 น.

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.75/77 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.76 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทแกว่งในกรอบแคบๆ ไม่ต่างจากช่วงเช้ามากนักที่เปิด 32.74/76 การเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้มาจากผลของ flow ต่างชาติ แต่ไม่ได้มีผลจากปัจจัยใดๆ เพราะช่วงนี้ตลาดยังนิ่งๆ รอดูการประชุมของธนาคารกลางหลายแห่งที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า ทั้งธนาคารกลางสหรัฐ, ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางญี่ปุ่น

 

 

นักบริหารเงิน ระบุว่า เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวตามทิศทางของเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาค โดยคาดว่าพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70 - 32.85 บาท/ดอลลาร์

 

* ปัจจัยสำคัญ

 

- ปิดตลาดเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 117.22/24 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 117.69 เยน/ดอลลาร์

- ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1690 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1770 ดอลลาร์/ยูโร

- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,523.38 จุด เพิ่มขึ้น 0.14 จุด, +0.01% โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 38,668 ล้านบาท

- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 3,130.86 ลบ.(SET+MAI)

- น.ส.ปารีณา พ่วงศิริ ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย(KBANK) กล่าวในงานสัมนา "จับตาภาวะเศรษฐกิจปีมะแม 2558 ทั้งตลาดทุน ค่าเงิน และหุ้นเด็ด" โดยคาดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย(GDP) ในปีนี้จะอยู่ที่ 3.5-4% ซึ่งเป็นการเติบโตจากฐานที่ต่ำ ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 2% ไปจนถึงสิ้นปี 58 แม้ว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงกลางปีนี้ โดยมองว่าการที่ธปท.คงดอกเบี้ยไว้ที่ 2% เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3.5-4%

- นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในปี 2558 เศรษฐกิจไทยที่เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในระดับ 4% ทำให้ธนาคารพาณิชย์จะสามารถสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ โดยในปี 58 นี้ ได้ตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ไว้ที่ 7% โดยสินเชื่อธุรกิจที่จะขยายตัวได้ดี คือ ก่อสร้าง, อสังหาริมทรัพย์ และสาธารณูปโภค

- แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ธนาคารกลางญีปุ่น (บีโอเจ) ซึ่งจะเปิดฉากในวันอังคารหน้านั้น คาดว่าคณะกรรมการนโยบายของบีโอเจจะทวนคาดการณ์ดัชนี CPI พื้นฐานของปีงบประมาณ 2558 ซึ่งปัจจุบันประเมินไว้ว่าจะขยายตัว 1.7% โดยการปรับทวนครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินราคาและคาดการณ์อย่างเต็มรูปแบบของบีโอเจซึ่งครอบคลุมระยะเวลา 3 ปีจนถึงเดือนมี.ค. 2560

- ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) เปิดเผยในรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ(Beige Book) ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงมีการขยายตัวในช่วงกลางเดือนพ.ย.-ปลายเดือนธ.ค. แต่ภูมิภาคที่ผลิตน้ำมันบางส่วนมีสัญญาณชะลอตัว อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ลดลง อย่างไรก็ดี คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด(FOMC) มีกำหนดจะประชุมกันครั้งต่อไปในวันที่ 27-28 ม.ค.

- ธนาคารกลางอินเดียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% แตะที่ 7.75% ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในประเทศเริ่มชะลอตัวลง

- สภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างกฎหมายผ่อนคลายกฎระเบียบในภาคธนาคารและตลาดการเงิน โดยสภาผู้แทนฯ ได้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวด้วยคะแนนเสียง 271 ต่อ 154 เสียง กฎหมายดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายการเงิน"ดอดด์-แฟรงค์" ปี 2553 ที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักออกไปจนถึงปี 2562

ทั้งนี้ "กฎหมายดอดด์-แฟรงค์" จะเพิ่มอำนาจให้กับรัฐบาลในการกำกับดูแลธนาคารและตลาดการเงิน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติการเงินและนำเอาเงินภาษีประชาชนไปช่วยเหลือภาคธนาคารอีกรอบ

- ธนาคารกลางจีน จะปรับกฎระเบียบเกี่ยวกับการคำนวณเงินฝากของภาคธนาคาร โดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มเม็ดเงินสำหรับปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศที่กำลังชะลอตัว

นายเจิ้ง สงเฉิง หัวหน้าฝ่ายสถิติประจำแบงก์ชาติจีน เปิดเผยว่า จีนจะเริ่มคำนวณเงินฝากจากสถาบันที่ไม่ได้เปิดรับเงินฝาก โดยก่อนหน้านี้ เงินฝากในลักษณะดังกล่าวถูกจัดให้อยู่ในประเภทเงินฝากระหว่างธนาคาร และไม่สามารถนำไปคำนวณอัตราสินเชื่อต่อเงินฝาก(LDR) ได้

อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--

 

สรุปสภาวะตลาดทองคำแท่ง และโกลด์ฟิวเจอร์ส วันที่ 15 มกราคม 2558 โดย YLG

ข่าวหุ้น-การเงิน ThaiPR.net -- พฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2558 17:20:58 น.

กรุงเทพฯ--15 ม.ค.--พีอาร์ดีดี

 

สภาวะตลาดวันที่ 15 มกราคม 2558 ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบที่ระดับ 1,226.40-1,239.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่ราคาทองคำแท่ง 96.5% ภายในประเทศขายออกอยู่ที่ 19,200 บาทต่อบาททองคำ โดยราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 100 บาท ก่อนหน้าที่ระดับ 19,100 บาทต่อบาททองคำ ขณะที่โกลด์ฟิวเจอร์ส GFG15 อยู่ที่ 19,320 บาท โดยราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 80 บาท จากวันก่อนหน้าที่ระดับ 19,240 บาท

 

 

(หมายเหตุ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้น ณ เวลา 16.59 น.ของวันที่ 15/01/15)

 

แนวโน้มวันที่ 16 มกราคม 2558

ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐอาจจะฟื้นตัวอย่างไม่แข็งแกร่ง ประกอบกับความกังวลเรื่องเศรษฐกิจโลก และการดีดขึ้นของราคาน้ำมันดิบไม่สามารถบรรเทาความกังวลเรื่องอุปทานน้ำมันล้นตลาดได้ เป็นเหตุผลที่นักลงทุนเข้าซื้อทองคำเมื่อราคาอ่อนตัวลง ประกอบกับนักลงทุนยังคงไม่ต้องการเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากนัก หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน และ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานยอดค้าปลีกดิ่งลง 0.9% ในเดือนธันวาคม ซึ่งถือเป็นอัตราที่รุนแรงที่สุดในรอบ 11 เดือน ตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนปรับเลื่อนเวลาที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในช่วงกลางปีนี้ออกไป และทำให้นักลงทุนเทขายทำกำไรดอลลาร์สหรัฐออกมา ประเด็นดังกล่าวส่งผลบวกต่อทิศทางราคาทองคำ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 20 เดือนที่ 1.784% และ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภท 30 ปี รูดลงแตะสถิติต่ำสุดที่ 2.395% ในระหว่างช่วงการซื้อขาย อย่างไรก็ตามทองคำขยับขึ้นได้ไม่ไกล เนื่องจากแรงฉุดที่แนวโน้มสกุลเงินยูโรมีโอกาสอ่อนตัวลงต่ำกว่าระดับที่เริ่มใช้ในปี 1999 เป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี หลังจากที่ปรึกษาศาลยุติธรรมยุโรป กล่าวว่า โครงการซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ถูกต้องตามกฎหมาย โดยคาดว่าอีซีบีจะประกาศโครงการดังกล่าวในการประชุมสัปดาห์หน้า ซึ่งจะเห็นได้ว่าราคาทองคำตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวโดยอิงสกุลเงินดอลลาร์และยูโรเป็นหลัก กระแสข่าวต่างๆที่กระทบค่าเงินดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่นักลงทุนต้องคอยติดตาม โดยเฉพาะประเด็นของยุโรปที่ยังมีต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งราคาทองคำยังคงผันผวนในช่วงที่ผ่านมาโดยปิดบวกและลบสลับกัน

 

กลยุทธ์การลงทุน วายแอลจีมองว่าราคาทองคำหากไม่สามารถผ่านแนวต้าน 1,250-1,252 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้จะทำให้ราคาทองคำอ่อนตัวลงมา โดยหากราคาทองคำสามารถยืนเหนือแนวรับ 1,220 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อย่างแข็งแกร่ง คาดว่าราคาน่ากลับขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญบริเวณ 1,252 ดอลลาร์ต่อออนซ์อีกครั้ง แต่หากยืนไม่ได้ต้องระมัดระวังแรงขายที่ออกมาอีกครั้ง สำหรับผู้ที่ไม่มีทองคำในมือรอดูบริเวณ 1,220 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากสามารถยืนได้อย่างมั่นคง ถือเป็นจุดซื้อเก็งกำไร แต่หากราคาหลุดแนวรับ 1,208 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แนะนำให้ชะลอการลงทุน

 

ทองคำแท่ง (96.50%)

แนวรับ 1,220 (18,920บาท) 1,208 (18,730บาท) 1,195 (18,530บาท)

แนวต้าน 1,252 (19,410บาท) 1,265 (19,620บาท) 1,277 (19,800บาท)

 

GOLD FUTURES (GFG15)

แนวรับ 1,220 (19,060บาท) 1,208 (18,880บาท) 1,195 (18,670บาท)

แนวต้าน 1,252 (19,560บาท) 1,265 (19,760บาท) 1,277 (19,950บาท)

 

หากต้องการทราบทิศทางราคาทองคำและแนวทางลงทุนทองคำ ขอคำปรึกษาเพิ่มเติมจากทีมที่ปรึกษาการลงทุนด้านโกล์ดฟิวเจอร์ส โทร.02-687-9999 และการลงทุนด้านทองคำแท่ง โทร.02-687-9888

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าวหุ้น-การเงินล่าสุด »

 

ธนาคารกลางสวิสยกเลิกผูกติดค่าเงินฟรังก์กับยูโร, ลดดอกเบี้ยสู่ระดับ -0.75%

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2558 17:39:33 น.

ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศยกเลิกการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนขั้นต่ำที่ 1.20 สวิสฟรังก์ต่อยูโร พร้อมลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ -0.75% จาก -0.25%

 

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10405675_867366223360329_1031190538749905922_n.jpg?oh=8ae0134a40da267a99243279e18929fb&oe=552158B5

 

สวัสดีเพื่อน วันศุกร์แว้ววว โชคดี สุขภาพดี ลงทุนถุกจังหวะสบายใจ

ดึจ้า news wannn wishwish deb meng Goldleng

 

 

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

 

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 16 มกราคม 2558 07:55:27 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 15 ม.ค.2558

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนตื่นตระหนกต่อข่าวที่ว่า ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ตัดสินใจยกเลิกมาตรการควบคุมสกุลเงินฟรังก์ ด้วยการยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโร นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐและผลประกอบการที่ย่ำแย่ของธนาคารในสหรัฐ ยังเป็นอีกปัจจัยที่ฉุดตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดในแดนลบติดต่อกัน 5 วันทำการ

 

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,320.71 จุด ร่วงลง 106.38 จุด หรือ -0.61% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,570.82 จุด ลดลง 68.50 จุด หรือ -1.48% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,992.67 จุด ลดลง 18.60 จุด หรือ -0.92%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) หลังจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโร พร้อมกับปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยมีเป้าหมายที่จะป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย

ดัชนี Stoxx Europe 600 พุ่งขึ้น 2.58% ปิดที่ 348.45 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,323.20 จุด เพิ่มขึ้น 99.96 จุด หรือ +2.37% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,032.61 จุด พุ่งขึ้น 215.53 จุด หรือ +2.20% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,498.78 จุด เพิ่มขึ้น 110.32 จุด หรือ +1.73%

 

-- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) หลังจากมีข่าวว่าธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโร

ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 110.32 จุด หรือ 1.73% ปิดที่ 6,498.78 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) หลังจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) คาดการณ์ว่า อุปทานน้ำมันที่มีอยู่มากเกินไปในปัจจุบันนั้น จะเป็นปัจจัยถ่วงราคาน้ำมันในปีนี้

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.ร่วงลง 2.23 ดอลลาร์ ปิดที่ 46.25 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 1.02 ดอลลาร์ ปิดที่ 47.67 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

--สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดทะยานขึ้นกว่า 30 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) โดยสัญญาทองคำพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 เดือน หลังจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ตัดสินใจยกเลิกมาตรการควบคุมสกุลเงินฟรังก์ ด้วยการยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโร

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 30.3 ดอลลาร์ หรือ 2.45% ปิดที่ระดับ 1,264.80 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 11.4 เซนต์ ปิดที่ 17.102 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 23.8 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,262.80 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ร่วงลง 14.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 766.35 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- ฟรังก์สวิสทะยานขึ้นเมื่อเทียบสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและยูโรเมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) หลังจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโร พร้อมทั้งปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐออกมาในเชิงลบ

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1612 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1778 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.5188 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5220 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 116.52 เยน เทียบกับระดับ 117.30 เยน และร่วงลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.8724 ฟรังก์ จาก 1.0197 ฟรังก์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8224 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8148 ดอลลาร์

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,320.71 จุด ลดลง 106.38 จุด -0.61%

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,570.82 จุด ลดลง 68.50 จุด -1.48%

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,992.67 จุด ลดลง 18.60 จุด -0.92%

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,498.78 จุด เพิ่มขึ้น 110.32 จุด +1.73%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,032.61 จุด เพิ่มขึ้น 215.53 จุด +2.20%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,323.20 จุด เพิ่มขึ้น 99.96 จุด +2.37%

 

ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,310.60 จุด ลดลง 21.60 จุด -0.41%

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,331.40 จุด ลดลง 22.20 จุด -0.41%

ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,165.09 จุด ลดลง 15.14 จุด -0.16%

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 17,108.70 จุด เพิ่มขึ้น 312.74 จุด +1.86%

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,914.14 จุด เพิ่มขึ้น 0.48 จุด +0.03%

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,336.46 จุด เพิ่มขึ้น 114.02 จุด +3.54%

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 24,350.91 จุด เพิ่มขึ้น 238.31 จุด +0.99%

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,188.71 จุด เพิ่มขึ้น 29.04 จุด +0.56%

ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,745.00 จุด เพิ่มขึ้น 2.99 จุด +0.17%

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,338.84 จุด เพิ่มขึ้น 12.68 จุด +0.38%

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 28,075.55 จุด เพิ่มขึ้น 728.73 จุด +2.66%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย นรินรัตน์ พรหมพิทักษ์/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดพุ่ง 30.3 ดอลล์ รับข่าวสวิสเลิกคุมค่าเงิน

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 16 มกราคม 2558 07:52:27 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดทะยานขึ้นกว่า 30 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) โดยสัญญาทองคำพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 เดือน หลังจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ตัดสินใจยกเลิกมาตรการควบคุมสกุลเงินฟรังก์ ด้วยการยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโร

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 30.3 ดอลลาร์ หรือ 2.45% ปิดที่ระดับ 1,264.80 ดอลลาร์/ออนซ์

 

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 11.4 เซนต์ ปิดที่ 17.102 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 23.8 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,262.80 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ร่วงลง 14.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 766.35 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาทองคำทะยานขึ้นหลังจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.20 ฟรังก์สวิส พร้อมลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ -0.75% จาก -0.25%

การประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าวที่มีการกำหนดขึ้นในวันที่ 6 ก.ย. 2554 นั้น มีเป้าหมายที่จะควบคุมค่าเงินฟรังก์สวิสไม่ให้แข็งค่ามากเกินไปเมื่อเทียบกับยูโร รวมทั้งไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศถดถอย และตกอยู่ในภาวะเงินฝืด

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของธนาคารกลางสวิสได้เพิ่มน้ำหนักให้กับกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจจะประกาศโครงการซื้อพันธบัตรในระหว่างการประชุมวันที่ 22 ม.ค.นี้ เพื่อสกัดภาวะเงินฝืด

ทั้งนี้ สวิตเซอร์แลนด์เป็นหนึ่งในผู้ซื้อสกุลเงินยูโรรายใหญ่ของโลก ซึ่งการประกาศยกเลิกการควบคุมค่าเงินฟรังก์นั้น สะท้อนให้เห็นว่าสวิตเซอร์แลนด์ไม่มีความเชื่อมั่นในสกุลเงินยูโรและยังบ่งชี้ถึงความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในยูโรโซน

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ฟรังก์สวิสพุ่งเทียบดอลล์,ยูโร หลังสวิสเลิกคุมค่าเงิน

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 16 มกราคม 2558 07:37:38 น.

ฟรังก์สวิสทะยานขึ้นเมื่อเทียบสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและยูโรเมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) หลังจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโร พร้อมทั้งปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐออกมาในเชิงลบ

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1612 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1778 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.5188 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5220 ดอลลาร์

 

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 116.52 เยน เทียบกับระดับ 117.30 เยน และร่วงลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.8724 ฟรังก์ จาก 1.0197 ฟรังก์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8224 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8148 ดอลลาร์

เงินฟรังก์สวิสพุ่งขึ้นเมื่อเทียบยูโรและดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ได้สร้างความประหลาดใจแก่ตลาดด้วยการประกาศยกแลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.20 ฟรังก์สวิส รวมทั้งได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ -0.75% จาก -0.25%

บรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่าการดำเนินการของ SNB แสดงให้เห็นถึงการขาดความเชื่อมั่นต่อสกุลเงินยูโร และได้หนุนกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางยุโรปจะประกาศแผนการซื้อพันธบัตรในระหว่างการประชุมกำหนดนโยบายที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 22 ม.ค.นี้ ซึ่งเป็นความพยายามที่จะจัดการกับภาวะเงินฝืด

ส่วนดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบยูโรและเงินเยน โดยได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งใหม่เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนก.ย.2557 ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยตัวเลขเพิ่มขึ้น 19,000 ราย สู่ระดับ 316,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 10 ม.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 291,000 ราย

ขณะเดียวกัน กระทรวงรายงานว่าดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับตัวลงมากที่สุดในรอบเกือบ 3 ปีในเดือนธ.ค. จากการดิ่งลงของราคาพลังงาน โดยดัชนี PPI สำหรับอุปสงค์ขั้นสุดท้ายร่วงลง 0.3% ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2554 หลังจากลดลง 0.2% ในเดือนพ.ย.

เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PPI เพิ่มขึ้น 1.1% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2556 หลังจากเพิ่มขึ้น 1.4% ในเดือนพ.ย.

นักวิเคราะห์มองว่าดัชนี PPI ล่าสุดแสดงให้เห็นว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในระดับผู้ผลิตยังคงอ่อนแรง ซึ่งจะทำให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยต่ำเช่นในปัจจุบันไว้ต่อไป

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดน้ำมัน: น้ำมัน WTI ปิดลบ $2.23 หลังโอเปคชี้อุปทานน้ำมันสูงฉุดราคาร่วง

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 16 มกราคม 2558 07:20:01 น.

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) หลังจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) คาดการณ์ว่า อุปทานน้ำมันที่มีอยู่มากเกินไปในปัจจุบันนั้น จะเป็นปัจจัยถ่วงราคาน้ำมันในปีนี้

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.ร่วงลง 2.23 ดอลลาร์ ปิดที่ 46.25 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 1.02 ดอลลาร์ ปิดที่ 47.67 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงกว่า 2 ดอลลาร์ หลังจากรายงานล่าสุดของโอเปคระบุว่า อุปทานน้ำมันที่มีอยู่มากเกินไปในปัจจุบันนั้น จะเป็นปัจจัยถ่วงราคาน้ำมันในปีนี้ พร้อมระบุว่า ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันยังคงซบเซาเนื่องจากตลาดน้ำมันโลกมีปริมาณน้ำมันส่วนเกินอยู่อย่างน้อย 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วนในปี 2558 นั้น คาดว่าปริมาณน้ำมันดิบจากโอเปคจะอยู่ที่ 28.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน"

รายงานของโอเปคยังระบุด้วยว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยของกลุ่มโอเปคในเดือนธ.ค.อยู่ที่ 30.20 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันหลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้น 5.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 417,000 บาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมัน เพิ่มขึ้น 1.776 ล้านบาร์เรล

รายงานของ EIA ระบุว่า สหรัฐผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 60,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 9.19 ล้านบาร์เรลต่อวันในรอบสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ที่ EIA เริ่มทำการรวบรวมข้อมูลด้านการผลิตในปี 2526

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

 

 

 

Thanong Fanclub

11 hrs · Edited ·

·

 

 

11. เตรียมทำศึกกันแล้ว

เฉลยQUIZจากซีรีส์ตอนที่8

1. ทำไมอียูถึงออกข่าวการทำOutright Monetary Transactions หรือการทำQEคล้ายกับที่ธนาคารกลางสหรัฐฯเคยทำ?

 

ยุโรปน่าจะหน้ามืดแล้ว เพราะว่ากำลังจะโดนรัสเซียปิดก๊อกท่อก๊าซ และไม่รู้ว่าปูตินอาจจะสั่งหยุดพักการชำระหนี้หรือไม่ นอกจากนี้เศรษฐกิจก็อ่อนแอ โด๊ปเท่าไหร่ก็ไม่โต ภาคการธนาคารก็มีปัญหาหนี้สูง ถ้าเกิดเหตุแพนิคการการเบี้ยวหนี้ของรัสเซีย หรือจากการที่ก๊าซโดนปิดก๊อก หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเหมือนCharlie Hebdo ธนาคารกลางยุโรปต้องการมีเครื่องมือทางการเงินครบอยู่ในมือจะได้ปั๊มเงินเข้าไปในระบบเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ประกาศว่าจะทำOMTอย่างนี้อาจจะเป็นการช่วยอุ้มดอลล่าร์อีกรอบ

2. ทำOMTเพื่ออะไร

ธนาคารกลางทำOMTเพื่อที่จะอุ้มพันธบัตรรัฐบาลของประเทศยูโรโซน ในกรณีที่ออกพันธบัตร ตลาดไม่ซื้อเพราะว่ากลัวจะไม่ได้เงินคืนเหมือนในกรณีของกรีซ ECBสามารถซื้อพันธบัตรรัฐบาลแบบเหมายกเข่ง ถือว่าเป็นการไฟแนนซ์หนี้ของรัฐบาลโดยธนาคารกลาง เยอรมันค้านเรื่องนี้มาตลอด ไม่รู้ว่าอยากจะค้านต่อไปหรือไม่ เพราะว่าเวลาจะตายกัน ต่างคนจะต่างกระโดดหนี แต่แค่ออกข่าวว่าECBจะทำOMT นักลงทุนก็หอบเงินยูโรหนีตายเข้าไปอยู่ในตลาดสวิส ทำให้ค่าเงินสวิสฟรังค์แข็ง ทางการสวิสต้องยกเลิกการผูกค่าเงินฟรังค์กับยูโรเพื่อกันไม่ให้ฟรังค์แข็งเกินไป แต่ก็เอาไม่อยู่ ค่าเงินฟรังค์แข็งเสียดฟ้าถึง15%ในวันเดียว ธนาคารกลางสวิสต้องชาร์จดอกเบี้ยสถาบันการเงินที่เอาเงินมาฝากระยะสั้นเพิ่มเป็น0.75% จาก0.25% ส่วนตลาดหุ้นตกไป9% นาฬิกาสวิสคงจะต้องแพงหูฉี่แล้ว แพนิคครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ายูโรเจ๊งแล้ว เพราะว่าถ้าไม่เจ๊งจริง ECBคงไม่คิดอยากจะทำOMT และนักลงทุนคงจะไม่คิดหนีตายเข้าไปกินช๊อคโกแล็ทในสวิตเซอร์แลนด์

3. ใครจะได้ประโยชน์

คนที่คุมECBจะได้ประโยชน์ เพราะว่าจะชี้เป็นชี้ตายประเทศสมาชิกได้ ในกรณีที่เกิดวิกฤติ และวิกฤติกำลังจะมา ไม่งั้นทางG-20ไม่ออกมาตรการใหม่ในการอุ้มแบงค์ ถ้าECBให้สภาพคล่องประเทศสมาชิกใด ประเทศนั้นก็รอด หรือมีโอกาสหายใจ ถ้าไม่ให้สภาพคล่อง ประเทศนั้นก็จะขาดเงิน วิกฤติจะหนัก เพราะฉะนั้นมีโอกาสที่พวกที่คุมECBจะใช้มาตรการOMTเหมือนขนมหวานเพื่อล่อให้สมาชิกอยู่ในแถว เพราะว่าการแซงชั่นกับรัสเซียเป็นเรื่องใหญ่ ใครแตกแถวก็จะไม่ได้กินขนมหวาน ฝรั่งเศสพยายามแตกแถวแต่ก็โดนสอยและสังสอนแบบเบาะๆไปแล้ว ท้ายที่สุดECBคงต้องเตรียมการหาทางไฟแนนซืค่าใช้จ่ายในการสงครามด้วย ถ้าจำเป็น

ลองเปรียบเทียบคำตอบดูว่า เหมือนกันหรือเปล่า ผมอาจจะตอบไม่ถูกนักก็ได้ แต่ผิดถูกไม่เป็นไร เพราะว่าเราเรียนรู้ด้วยกัน

thanong

15/1/2015

 

 

 

 

10420755_311941029002278_7000172886144527449_n.jpg?oh=ebf38d5520a928143ce73c416fd0d8fe&oe=5522E7C5&__gda__=1432729981_b52b0630a759396a2c6c2a772fa092d2

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...