ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขยายตัวอักษร Ctrl+ สว้สดี คุณๆทุกๆคน

 

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 5 มกราคม 2555 06:16:35 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 ม.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากยอดสั่งซื้อของโรงงานในสหรัฐที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ขณะที่หุ้นกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ดีดตัวขึ้นหลังจากมีรายงานว่ายอดขายรถยนต์ใหม่ในสหรัฐพุ่งขึ้นแข็งแกร่งในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ดัชนีดาวโจนส์ลดช่วงบวกลงในระหว่างวัน เนื่องจากตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรป

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์บวก 21.04 จุด หรือ 0.17% ปิดที่ 12,418.42 จุด ดัชนี S&P 500 ขยับขึ้น 0.24 จุด หรือ 0.02% ปิดที่ 1,277.30 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 0.36 จุด หรือ 0.01% ปิดที่ 2,648.36 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 ม.ค.) หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อของโรงงานในสหรัฐพุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนพ.ย. ซึ่งบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของภาคการผลิตสหรัฐ และยังทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐจะช่วยหนุนอุปสงค์พลังงานให้ดีดตัวขึ้นด้วย

สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.ขยับขึ้น 26 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 103.22 ดอลลาร์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 103.72 - 101.88 ดอลลาร์

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (4 ม.ค.) ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 2 วันทำการ เนื่องจากกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในอิหร่านและวิกฤตหนี้ยุโรป ยังคงเป็นแรงผลักดันให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำเพื่อความปลอดภัย

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 12.2 ดอลลาร์ หรือ 0.76% ปิดที่ 1,612.7 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค.เป็นต้นมา หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1612.7 - 1600.2 ดอลลาร์

 

-- สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (4 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนแทบจะไม่ให้การตอบรับผลการประมูลพันธบัตรครั้งล่าสุดของรัฐบาลเยอรมนี ประกอบกับมีการคาดการณ์ว่า การประมูลพันธบัตรครั้งต่อไปอาจจะไม่ได้รับการตอบรับจากตลาดเท่าที่ควร

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.82% แตะที่ 1.2943 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันอังคารที่ 1.3050 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (4 ม.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเปราะบางของภาคธนาคารในยุโรป หลังจากมีรายงานว่าธนาคารยูนิเครดิต ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของอิตาลี ประกาศระดมทุนด้วยการเสนอขายหุ้น 7.5 พันล้านยูโรเพื่อหนุนงบดุลบัญชี

ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 5,668.45 จุด ลดลง 31.46 จุด

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรร่วง เหตุตลาดเมินผลประมูลบอนด์เยอรมนี

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 5 มกราคม 2555 07:18:36 น.

สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (4 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนแทบจะไม่ให้การตอบรับผลการประมูลพันธบัตรครั้งล่าสุดของรัฐบาลเยอรมนี นอกจากนี้ ยูโรยังได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่าสเปนอาจจะยื่นขอกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.82% แตะที่ 1.2943 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันอังคารที่ 1.3050 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่สกุลเงินปอนด์อ่อนค่าลง 0.17% แตะที่ 1.5619 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5645 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐขยับขึ้น 0.14% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 76.730 เยน จากระดับ 76.620 เยน และพุ่งขึ้น 1.01% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9415 ฟรังค์ จากระดับ 0.9321 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนตัวลง 0.05% แตะที่ 1.0364 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0369 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์อ่อนตัวลง 0.25% แตะที่ 0.7875 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7895 ดอลลาร์สหรัฐ

แม้เยอรมนีสามารถขายพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ได้ 4.06 พันล้านยูโร (5.28 พันล้านดอลลาร์) ในการประมูลเมื่อวานนี้ แต่นักลงทุนกลับไม่ให้ความสนใจกับข่าวดังกล่าวเท่าที่ควร ซึ่งส่งผลให้สกุลเงินยูโรร่วงลงด้วย ขณะเดียวกับมีการคาดการณ์ว่า การประมูลพันธบัตรครั้งต่อไปของรัฐบาลเยอรมนีอาจจะไม่ได้รับการตอบรับจากตลาดได้ดีเท่าที่ควร

นอกจากนี้ สกุลเงินยูโรยังได้รับแรงกดดันจากหลังจากมีรายงานว่า รัฐบาลสเปนกำลังพิจารณาเรื่องการยื่นขอเงินกู้จาก IMF และ และกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) รวมทั้งรายงานที่ว่า ดัชนีภาคการผลิตของยูโรโซนเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 48.3 จุดในเดือนธ.ค. ซึ่งดัชนีที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จุดบ่งชี้ว่าภาคการผลิตของยูโรโซนยังคงหดตัวลง

ส่วนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ เนื่องจากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐมากขึ้น หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อของโรงงานภายในประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.8% ในเดือนพ.ย. สู่ระดับ 4.592 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน

ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีภาคบริการเดือนธ.ค. และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนธ.ค. โดยนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรจะเพิ่มขึ้น 148,000 ตำแหน่ง และอัตราว่างงานจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 8.7% จากระดับ 8.6% ของเดือนพ.ย.

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อิหร่านประกาศเรือรบต่างชาติทุกลำต้องได้รับอนุญาตก่อนผ่านช่องแคบฮอร์มุซ

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 4 มกราคม 2555 21:31:55 น.

สมาชิกสภานิติบัญญัติอิหร่านประกาศว่า เรือรบต่างชาติทุกลำต้องขออนุญาตอิหร่านก่อนจึงจะแล่นผ่านบริเวณช่องแคบฮอร์มุซได้

"หากเรือของกองทัพและเรือรบของประเทศใดเดินทางผ่านช่องแคบฮอร์มุซโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ได้รับความร่วมมือจากกองทัพเรืออิหร่าน กองกำลังติดอาวุธของอิหร่านจะเข้าไปหยุดยั้งเรือดังกล่าว" นายนาเดอร์ คาซิพัวร์ สมาชิกสภานิติบัญญัติอิหร่าน กล่าว พร้อมระบุว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติกำลังหารือเรื่องแผนการณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง

สำนักข่าวฟาร์สของอิหร่านรายงานว่า เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาอิหร่านประกาศว่า จะใช้ช่องแคบฮอร์มุซเป็นเครื่องมือในการป้องกันตนเอง และจะปิดช่องแคบหากถูกคุกคาม

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา อตาโอลลาห์ ซาเลฮี ผู้บัญชาการกองทัพบกของอิหร่าน เตือนไม่ให้สหรัฐนำเรือบรรทุกเครื่องบินลำหนึ่งกลับเข้ามาในอ่าวเปอร์เซียอีก หลังจากที่สหรัฐได้นำเรือดังกล่าวแล่นออกจากอ่าวเปอร์เชียไป ในระหว่างที่อิหร่านทำการซ้อมรบทางทะเลบริเวณช่องแคบฮอร์มุซ

อย่างไรก็ตาม นายจอร์จ ลิตเติล โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ยืนยันว่าสหรัฐจะเดินหน้าส่งเรือบรรทุกเครื่องบินหลายลำเข้าไปในอ่าวเปอร์เซียอย่างที่เคยทำมาตลอดหลายสิบปี โดยไม่สนใจคำเตือนของอิหร่าน สำนักข่าวซินหัวรายงาน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดน้ำมัน NYMEX: น้ำมันดิบปิดบวก 26 เซนต์ รับข้อมูลภาคการผลิตสหรัฐ

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 5 มกราคม 2555 06:50:06 น.

สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 ม.ค.) หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อของโรงงานในสหรัฐพุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนพ.ย. ซึ่งบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของภาคการผลิตสหรัฐ และยังทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐจะช่วยหนุนอุปสงค์พลังงานให้ดีดตัวขึ้นด้วย

สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.ขยับขึ้น 26 เซนต์ หรือ 0.25% ปิดที่ 103.22 ดอลลาร์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 103.72 - 101.88 ดอลลาร์

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 1.57 ดอลลาร์ หรือ 1.4% ปิดที่ 113.70 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 111.27 - 113.97 ดอลลาร์

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX ดีดตัวขึ้นทันทีที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อของโรงงานภายในประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.8% ในเดือนพ.ย. สู่ระดับ 4.592 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน และยังช่วยให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวขึ้น ซึ่งจะช่วยหนุนความต้องการพลังงานให้เพิ่มขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมัน NYMEX เป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากตลาดมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรปมากขึ้นเมื่อหุ้นกลุ่มธนาคารในยุโรปถูกกระหน่ำขายอย่างหนัก หลังจากมีรายงานว่า รัฐบาลสเปนกำลังพิจารณาเรื่องการยื่นขอเงินกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF)

นอกจากนี้ ตลาดยังวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจในยูโรโซน หลังจากมีรายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 48.3 จุดในเดือนธ.ค. ซึ่งดัชนีที่เคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 50 จุดบ่งชี้ว่าภาคการผลิตของยูโรโซนยังคงหดตัวลง

การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) เปิดเผยหลังจากตลาดน้ำมัน NYMEX ปิดทำการเมื่อวานนี้ว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในรอบสัปดาห์ที่แล้ว ร่วงลง 4.4 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้น 5.2 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 3.4 ล้านบาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น 0.4%

นักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 30 ธ.ค. ซึ่งสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยในวันพฤหัสบดีนี้ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจจะลดลง 1.8 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันกลั่นอาจจะพิ่มขึ้น 700,000 บาร์เรล สต็อกน้ำมันเบนซินอาจจะเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านบาร์เรล นอกจากนี้คาดว่า อัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันอาจจะเพิ่มขึ้น 0.4%

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูสถานการณ์ตึงเครียดของอิหร่าน หลังจากพลเอก อาตุลเลาะห์ ซาเลฮี ผู้บัญชาการกองทัพบกของอิหร่านกล่าวว่า อิหร่านจะดำเนินมาตรการขั้นเด็ดขาดถ้าหากเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐกลับเข้ามาในอ่าวอาหรับ

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดี Moddang Chez NOT4545 ตังเม เด็กสยาม ย่าหยา พวงชมพู Chinchilla fung Mr.Li Ohshikung แสงแดด put42 bbeam mateenee ลูกน้ำเค็ม เฟิร์ส dep99 baskie30

 

hunk hunk goldtoyGoldOfCourse Silver&Gold Goldbullish jojosung bmw2770 หัดเล่นgf zv735 น้อย foo fung TNt2012 raty goldgold

 

 

In Focus: “ตลาดเกิดใหม่ กับความหวังต่อลมหายใจเศรษฐกิจโลกปีมังกร

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 4 มกราคม 2555 13:30:00 น.

ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจทั้งสองฟากฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งก็คือสหรัฐและยุโรป ที่ลากยาวคาราคาซังมาตลอดปี 2554 นั้น นักวิเคราะห์หลายสำนักต่างก็ออกมาฟันธงในทิศทางเดียวกันเมื่อช่วงใกล้สิ้นปีที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจโลกจะยังคงอยู่ในขั้นโคม่าต่อไปในปี 2555 และจะมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางเศรษฐกิจโลก โดยฝ่ายวิจัยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดชี้ว่า เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 เนื่องจากวิกฤตการเงินในโลกตะวันตก ฉุดเศรษฐกิจโลกทั้งปีเติบโตที่ระดับ 2.2% ขณะที่นายเจอราร์ด ลีออง หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์และหัวหน้าสำนักวิจัยของกลุ่มธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง การเติบโตที่แข็งแกร่งในจีนและกลุ่มประเทศในตลาดเกิดใหม่อื่นๆน่าจะช่วยหนุนเศรษฐกิจโลกให้สามารถพลิกฟื้นขึ้นมาได้ โดยการปรับตัวขึ้นในซีกโลกตะวันออก ซึ่งจะส่งผลไปยังซีกโลกตะวันตก และจะเป็นบทพิสูจน์สำคัญที่ยืนยันถึงการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจเศรษฐกิจโลก

“ตลาดเกิดใหม่" อาจไม่ใช่คำที่แปลกใหม่สำหรับนักลงทุนและแวดวงเศรษฐกิจ แต่ในปีนี้อาจเป็นที่จับตามากขึ้นอีกครั้งในฐานะ “ความหวัง" หรือ “ที่พึ่ง" เดียวในการต่อลมหายใจเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ ในห้วงเวลาที่เศรษฐกิจของภูมิภาคที่เคยเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐและยุโรป ได้ประสบปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงไม่แพ้กันและในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน

ตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) หมายถึงกลุ่มประเทศที่กิจกรรมเศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวรวดเร็ว โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ส่วนใหญ่มักเป็นแหล่งทรัพยากรและแรงงานที่สำคัญ นอกจากนี้ กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ยังมีจำนวนประชากรคิดเป็นราว 80% ของประชากรทั่วโลกและมีขนาดเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 20% ของเศรษฐกิจโลก โดยทั่วไปมีการแบ่งกลุ่มตลาดเกิดใหม่ออกเป็น 4 กลุ่มตามภูมิภาค คือ

 

ตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย (Emerging Asia) เช่น จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวันและไทย

ตลาดเกิดใหม่ในละตินอเมริกา (Emerging Latin) เช่น บราซิล ชิลี อาร์เจนตินาและเม็กซิโก

ตลาดเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออก (Emerging Eastern Europe) เช่น สาธารณรัฐเชก ฮังการี โปแลนด์และรัสเซีย

ตลาดเกิดใหม่ในตะวันออกกลาง/แอฟริกา (Emerging Middle East/Africa) เช่น แอฟริกาใต้ อียิปต์ ไนจีเรีย และลิเบีย

 

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตในประเทศตลาดเกิดใหม่ ได้แก่ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของชนชั้นกลาง และการเพิ่มการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในประเทศโลกตะวันออก อีกทั้งเครือข่ายธุรกิจที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งขึ้นในแถบแนวพื้นที่การค้าใหม่ ที่ช่วยเชื่อมเศรษฐกิจระหว่างเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง และละตินอเมริกาเข้าด้วยกัน

“เอเชีย" อาจถือได้ว่าเป็นกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่ได้รับการพูดถึงและมีแนวโน้มสดใสมากที่สุด การที่กลุ่มตลาดเกิดใหม่ในเอเชียประกอบไปด้วยจีน ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียและใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐ และอินเดีย ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเอเชีย รองจากจีนและญี่ปุ่น และรั้งอันดับ 10 ของโลกนั้น ยิ่งช่วยเพิ่มบทบาทความสำคัญแก่ภูมิภาคนี้ เนื่องจากสัดส่วนเศรษฐกิจขนาดใหญ่และเข็งแกร่งของทั้งจีนและอินเดียได้ช่วยส่งเสริมการขยายตัวโดยรวมของทั้งกลุ่ม

คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งสหประชาติสำหรับละตินอเมริกาและแคริบเบียน (ECLAC) เปิดเผยในรายงาน "Annual Balance of the Region's Economies" เมื่อเทียบกับประเทศยุโรป สหรัฐ และญี่ปุ่นแล้ว เศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2554 แม้จะชะลอตัวลงบ้างจากมาตรการคุมเข้มด้านการเงินและสินเชื่อ และการชะลอมาตรการกระตุ้นการลงทุน

จุดแข็งของเอเชียคือการมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่ระดับสูง รัฐบาลมีหนี้สินต่ำและแม้จะมีการก่อหนี้ แต่ส่วนใหญ่เป็นหนี้ภายในประเทศ ซึ่งส่งผลให้ฐานะการคลังของรัฐบาลมีความเข้มแข็ง นอกจากนี้ การที่เอเชียเคยมีประสบการณ์ในการเผชิญวิกฤติมาก่อน ถือเป็นบทเรียนที่ดีในการทำให้มีความระมัดระวังในการดำเนินนโยบายและมีกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้น

ไม่เพียงแต่นักลงทุนต่างชาติจะเล็งเป้าหมายมาที่กลุ่มตลาดเกิดใหม่ในเอเชียเท่านั้น แต่ภายในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ด้วยกันเองต่างก็มองหาช่องทางเพิ่มการค้าระหว่างกันเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั้งในยุโรปและสหรัฐ หลังจากวิกฤติหนี้สาธารณะของยุโรปส่งผลให้คำสั่งซื้อจากทวีปดังกล่าวลดลง ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่ การค้าภายในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นและการสานสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆจะช่วยให้เอเชียอยู่รอดได้ท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจในโลกตะวันตก โดยนายเดวิด อเดลแมน เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสิงคโปร์กล่าวเมื่อปลายปี 2554 ว่า ถึงเอเชียจะไม่สามารถตัดขาดจากอเมริกาหรือยุโรปอย่างสิ้นเชิง แต่ก็จะไม่ล้มตามไปด้วย โดยเศรษฐกิจเอเชียอาจจะชะลอตัว แต่จะไม่ชะงักงัน ยกเว้นว่าอาจจะมีบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ที่ต้องพึ่งพาตลาดสหรัฐเป็นหลัก เนื่องจากสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกส่วนใหญ่ของเกาหลีใต้อยู่ในกลุ่มอิเลคทรอนิคส์

ทางด้านธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ระบุในรายงาน “Asia Economic Monitor" เมื่อต้นเดือนธ.ค.ว่า ในสถานการณ์เลวร้ายที่สุด ซึ่งหมายถึงการที่เศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐอยู่ในภาวะถดถอยรุนแรงและส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกดิ่งลงอย่างหนักใกล้เคียงกับปี 2552 นั้น เอดีบีคาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ในเอเชียตะวันออก ซึ่งรวมถึงจีน จะเติบโตเพียง 5.4% ซึ่งลดลง 1.8% จากประมาณการปัจจุบันที่ 7.2% โดยเอดีบีระบุว่า แม้ในสถานการณ์เลวร้ายสุดดังกล่าว เศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่ของเอเชียตะวันออกน่าจะทรุดหนัก แต่ก็ยังไม่รุนแรงเท่ากับผลกระทบที่เกิดในช่วงวิกฤติโลกปี 2551-2552 ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากภูมิภาคนี้ได้กระจายตลาดส่งออกที่หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งการพึ่งพาอุปสงค์ภายในภูมิภาคเป็นปัจจัยหนึ่งที่หนุนการจริญเติบโต

“ละตินอเมริกา" นับเป็นภูมิภาคแห่งความหลากหลาย แต่ละประเทศมีความต่างกันทั้งในด้านขนาด, จำนวนประชากรและสภาพเศรษฐกิจ ละตินอเมริกามีประชากรรวมกันกว่า 600 ล้านคน ซึ่งมากกว่าครึ่งเป็นชาวเม็กซิกันและชาวบราซิล ขณะที่ 3 ประเทศหลัก ซึ่งได้แก่บราซิล, เม็กซิโกและอาร์เจนตินา มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) รวมกันคิดเป็นมูลค่ากว่า 70% ของทั้งภูมิภาค ซึ่งส่งผลให้รายได้ประชากรโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมาก

การที่ละตินอเมริกามีสหรัฐเป็นประเทศคู่ค้าและนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าปัญหาขาดดุลงบประมาณและเศรษฐกิจในสหรัฐได้ส่งผลกระทบเต็มๆต่อภูมิภาคนี้ โดย ECLAC คาดว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคละตินอเมริกาจะขยายตัวชะลอลงที่ 3.7% ในปี 2555 จาก 4.5% ในปีนี้ ขณะที่นางอลิเซีย บาร์เซนา เลขาธิการ ECLAC ระบุว่า ปัจจัยที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคให้ขยายตัวก็คือการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติและทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ แต่เตือนว่าหากวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรปเลวร้ายลง ก็จะยิ่งส่งผลกระทบซ้ำเติมต่อภาพรวมเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้

ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศในภูมิภาคนี้พุ่งขึ้นเป็นประวัติการณ์สู่ระดับ 760 พันล้านดอลลาร์ โดยบราซิลและเม็กซิโกเป็น 2 ประเทศที่มีสัดส่วนทุนสำรองสูงสุด โดยนางบาร์เซนากล่าวว่า ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่ระดับสูงของบราซิลและเม็กซิโกนับเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยหนุนความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจภูมิภาค แต่สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการก็คือการรักษาระดับการเจริญเติบโตและลดความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจของภูมิภาคให้ได้

“แอฟริกา" หรือกาฬทวีป..แว่บแรกที่เรามักจะนึกถึง คงหนีไม่พ้นภาพความยากจนและอดอยากยากแค้นสาหัสสากรรจ์ของชาวแอฟริกัน มิหนำซ้ำยังรวมถึงภาพไฟสงครามที่คุกรุ่นและเศษซากบ้านเรือนที่วอดวายจากการห้ำหั่นกันในสงครามกลางเมืองและสงครามล้างเผ่าพันธุ์ …แต่ในอีกด้านหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือแอฟริกาเป็นทวีปที่ร่ำรวยด้วยทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากและยังไม่ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ทั้งทรัพยกรป่าไม้ที่มีจำนวนราว 1 ใน 6 ของพื้นที่ทวีป, ทรัพยากรแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิดทั้งทองคำและเพชร รวมถึงเหล็ก, ทองแดง, ดีบุกและอื่นๆ ซึ่งล้วนเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ, ทรัพยากรพลังงาน ซึ่งก็คือน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ ที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไนจีเรีย, ลีเบียและอียิปต์ รวมทั้งถ่านหินในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และทรัยากรสัตว์ป่า ป่าแอฟริกามีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม ซึ่งแม้จะมีจำนวนลดลงเพราะถูกล่า แต่ก็ยังมีจำนวนมากเมื่อเทียบกับทวีปอื่นๆ โดยเฉพาะทางตอนกลางของทวีป นักลงทุนจึงมองว่า ตลาดเกิดใหม่ในแอฟริกาเปรียบเหมือนขุมเพชรขุมทองสำหรับการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการลงทุนต่อไป

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประเมินว่า ประเทศที่จะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดในช่วง 5 ปีนับจากนี้ไป (2554-2558) จะเป็นประเทศจากแอฟริกามากถึง 7 ใน 10 อันดับ นำโดยจีนและอินเดีย ซึ่งจะมีการขยายตัวที่ 9.5% และ 8.2% ตามลำดับ ตามด้วยเอธิโอเปีย, โมซัมบิกและแทนซาเนีย ที่ 8.1%, 7.7% และ 7.2% ตามลำดับ ส่วนสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดคาดว่า อัตราการขยายตัวของกลุ่มประเทศในแอฟริกาใต้ในช่วง 20 ปีข้างหน้าจะอยู่ที่ระดับสูงกว่าจีนเล็กน้อย โดยสูงถึง 7% เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่อยู่ในภาวะยากจน จึงทำให้มีโอกาสที่จะเติบโตได้สูง

ทางด้าน “ตะวันออกกลาง" ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่กลุ่มเดียวกับแอฟริกา มีสถานภาพเป็นขุมพลังงานที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากมีทรัพยากรน้ำมันดิบจำนวนมหาศาล จึงทำให้มีอำนาจในการต่อรองและมีอิทธิพลในการกำหนดทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก ซึ่งน้ำมันก็จัดเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทหนึ่ง

ในช่วงปี 2554 ที่ผ่านมา ภูมิภาคตะวันออกกลางเผชิญความไม่สงบทางการเมืองที่บานปลายในหลายประเทศ ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงความวุ่นวายในระดับรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เป็นการลุกฮือของพลังประชาชนที่ไม่พอใจกับความยากจน คอร์รัปชัน และการถูกกดขี่ภายใต้การปกครองเผด็จการแบบผูกขาดมาเป็นเวลานาน และพลังดังกล่าวนับว่ามีอานุภาพมากพอที่จะจุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์โลกครั้งสำคัญในการล้มล้างระบอบทรราชย์ที่หยั่งรากสั่งสมอำนาจบารมีในภูมิภาคดังกล่าวมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ จนทำให้นิตยสารไทม์ส ซึ่งเป็นนิตยสารที่ทรงอิทธิฉบับหนึ่งของโลก ได้ยกย่องให้ “กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง" เป็น “บุคคลแห่งปี 2554" โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ประท้วงในตะวันออกกลาง หรือ “อาหรับ สปริง" อันนำมาสู่เสรีภาพและประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนในภูมิภาคดังกล่าวแทบไม่เคยสัมผัสมาก่อน

แม้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะดูเป็น “ความรุนแรง" แต่ก็แฝงนัยสำคัญ โดยนักวิเคราะห์มองว่า มีพลวัตเกิดขึ้นในโลกอาหรับ มีรัฐบาลที่มีความชอบธรรมในสายตาของประชาชน ซึ่งจะมีบทบาทมากขึ้นต่อไป แนวโน้มดังกล่าวถือเป็นปัจจัยบวกต่อความมีเสถียรภาพทางการเมือง และเมื่อใดก็ตามที่สถานการณ์ทางการเมืองมีความมั่นคง ก็ย่อมเกื้อหนุนต่อเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการเมืองนับว่ามีส่วนสำคัญต่อปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ อันจะเห็นได้จากความล่าช้าในการคลี่คลายวิกฤติหนี้ยุโรปก็มีอุปสรรคสำคัญจากภาคการเมืองแทบทั้งสิ้น

“ยุโรปตะวันออก" อาจถือได้ว่าเป็นภูมิภาคที่มี “ภูมิคุ้มกัน"ต่ำที่สุด ท่ามกลางกระแสความสนใจของนักลงทุนที่มีต่อกลุ่มตลาดเกิดใหม่ในรอบนี้ เพราะแค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ‘ยุโรป’ ซึ่งกำลังประสบปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะที่หนักหน่วง การที่มีสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นส่วนหนึ่งของยุโรป และเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออกก็นับว่าอ่อนหัดเมื่อเทียบกับ “พี่ใหญ่" อย่างยุโรปตะวันตกอยู่แล้ว จนต้องพึ่งพากันมาโดยตลอด จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ยุโรปตะวันออกจะพลอยอยู่ในภาวะเสี่ยงไปด้วย

เมื่อเดือนธ.ค.2554 ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) เตือนว่า วิกฤติหนี้ในยูโรโซนได้ส่งผลกระทบต่อตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปตะวันออก เพราะนักลงทุนเริ่มถอนเงินทุนกลับประเทศเพื่อลดความเสี่ยงด้านการลงทุน โดยในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.2554 มีการถอนเงินกองทุนในตลาดเกิดใหม่กว่า 1.87 หมื่นล้านยูโร (2.5 พันหมื่นล้านดอลลาร์) และราคาหุ้นในตลาดเกิดใหม่ยังร่วงลงอย่างมากในช่วงดังกล่าว ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการเทขายสินทรัพย์เสี่ยงเพื่อลดความผันผวนในพอร์ทการลงทุน นอกจากนี้ BIS ยังระบุว่าประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากปรากฏการณ์ช่วงขาลงนี้ก็คือยุโรปตะวันออก และธนาคารชั้นนำหลายรายในยุโรปต่างก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤติหนี้กรีซ และประกาศว่าจะลดการให้สินเชื่อใหม่ๆในภูมิภาค ทางด้านออสเตรียก็กำหนดกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นกับธนาคารภายในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อให้แก่สาธารณรัฐเชค, ฮังการี, โรมาเนียและโครเอเชีย

 

ท่ามกลางกระแสวิกฤติเศรษฐกิจที่เชี่ยวกราก การพึ่งพาอุปสงค์ภายในประเทศ รวมถึงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นเรื่องจำเป็นในการประคับประคองซึ่งกันและกัน แม้แต่พญามังกรอย่างจีนก็ยังต้องปรับกระบวนท่าด้านนโยบายให้หันมาเน้นการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดเกิดใหม่มากขึ้น เพื่อแก้สถานการณ์อุปสงค์ซบเซาจากกลุ่มประเทศร่ำรวยที่กำลังถูกรุมเร้าด้วยหลากปัญหา โดยจีนเล็งเป้าหมายไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ละตินอเมริกาและแอฟริกา ขณะที่กลุ่มตลาดเกิดใหม่อื่นๆต่างก็คาดหวังที่จะส่งออกไปยังจีน ซึ่งมีกำลังซื้อและการบริโภคสูงมากขึ้น เนื่องจากมีประชากรจำนวนมหาศาล การค้าระหว่างกลุ่มตลาดเกิดใหม่ด้วยกันนี้นับเป็น “ปราการ" อีกชั้นหนึ่งที่จะช่วยป้องกันเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศดังกล่าวไม่ให้ “ตกหล่ม" เศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน

เมื่อพิจารณาจากความท้าทายในเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าไม่มีภูมิภาคใดที่ปลอดความเสี่ยงอย่างแท้จริง แม้กระทั่งกลุ่มตลาดเกิดใหม่เองก็ตาม แต่เมื่อเทียบกับภูมิภาคยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐและยุโรปแล้ว สถานภาพของตลาดเกิดใหม่ก็นับว่าดูดีขึ้นมาอย่างมาก และน่าจะมีความปลอดภัยมากกว่า เพราะอย่างน้อยที่สุดหนี้สินของภาครัฐบาลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ก็อยู่ที่ระดับต่ำ และทุนสำรองเงินตราต่างประเทศก็มากกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างมาก แต่ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด หากเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเข้าสู่ภาวะถดถอย ก็คงไม่อาจเลี่ยงได้ที่ตลาดเกิดใหม่ก็จะพลอยได้รับหางเลขไปด้วย ซึ่งหมายความว่าตลาดเกิดใหม่อาจจะไม่สามารถพยุงเศรษฐกิจโลกเอาไว้ได้ แต่อย่างน้อยที่สุดก็น่าจะพอที่จะประคองตัวเองให้อยู่รอดและฝ่ามรสุมวิกฤติเศรษฐกิจรอบนี้ไปได้!!!

--อินโฟเควสท์ โดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธรรมะ มีทุกวัน

 

ความกลัว มีไว้เพื่อป้องกันตัว

 

ป้องกันจากอันตราย ความผิดพลาดร้ายแรงต่างๆ

 

แต่คนเรายังมีความกลัวแอบแฝงซ่อนอยู่อีกมากมาย

 

แบบนักลงทุนซึ่่่งเป็นคนธรรมดา ย่อมไม่ต่าง

 

ในความไม่แน่นอนที่รู้อยู่ จะกลัวไปก็แค่นั้นล่ะนะ

 

อยากให้ขึ้น ลง

 

อยากให้ลงดันมีคนไม่อยากเหมือนเรา แต่ไงก็ ขึ้นๆ ลงๆ ลงๆ ขึ้นอยู่อย่างนี้

 

ยอมรับความน่าจะเป็นที่พอจะเดาได้

 

ยอมความเป็น อนิจัง ไม่แน่นอน ของ โลก

 

ของธรรมะ เข้าใจ

 

ทุกสรรพสิ่งล้วน เกิดขึ้น มีอยู่ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และไม่มีอะไรคงอยู่ตลอดไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้าปรับฐานกรอบแคบ ไร้ปัจจัยใหม่-ระวังแรงขาย LTF ครบกำหนด

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 5 มกราคม 2555 09:12:31 น.

นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ สำนักวิจัยทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้น่าจะปรับฐานลงในกรอบแคบๆ หลังขาดปัจจัยใหม่ ขณะที่ตลาดหุ้นต่างประเทศก็ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน เคลื่อนไหวบวก-ลบบางๆ คละกันไป โดยเมื่อวานนี้ยังมีแรงขายหุ้นออกมาอย่างหนาแน่นในช่วงที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น ทำให้ดัชนีฯลดช่วงบวกลง หลังจากที่ปรับตัวขึ้นไปกว่า 16 จุด และต้องระวังแรงขายจากกองทุน LTF ที่จะครบกำหนด 5 ปี ประเมินกรอบการขึ้นของดัชนีฯในระยะสั้นนี้ยังจำกัดอยู่ที่ระดับ 1,050-1,055 จุด

ทั้งนี้ แนะนำให้ติดตามการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯในคืนนี้ ทั้งตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเดือนธ.ค., ดัชนีภาคบริการเดือนธ.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

พร้อมให้แนวรับ 1,025-1,030 จุด แนวต้าน 1,042-1,045 จุด

 

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน

- ตลาดหุ้นนิวยอร์ควานนี้(4 ม.ค.) ดัชนีดาวโจนส์ ปิดที่ 12,418.42 จุด เพิ่มขึ้น 21.04 จุด(+0.17%) ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ 1,277.30 จุด เพิ่มขึ้น 0.24 จุด(+0.02%) ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 2,648.36 จุด ลดลง 0.36 จุด(+0.01%)

- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,370.04 ล้านบาทเมื่อวานนี้

- ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนก.พ.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการวานนี้ที่ 103.22 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 26 เซนต์ หรือ 0.25%

- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์เช้านี้เปิดที่ 8.09 เหรียญฯ/บาร์เรล เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้(4 ม.ค.)ปิดที่ 7.12 เหรียญฯ/บาร์เรล

- "พาณิชย์" เผยเงินเฟ้อ ธ.ค.เพิ่มขึ้น 3.53% ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน ส่วนยอดทั้งปี 54 ยังเป็นไปตามเป้า 3.81%เหตุในรอบปีมีปัจจัยกดดันทั้งน้ำมันแพงอาหารขึ้น รัฐบาลลดมาตรการดูแลค่าครองชีพและน้ำท่วมส่งท้าย คาดปี 55 เงินเฟ้อ 3.3-3.8%จับตาปัจจัยเสี่ยง เศรษฐกิจโลก ภัยธรรมชาติยันสินค้าอาหารปีนี้ไม่ขึ้นแรง ส่วนขึ้น LPG และ NGV กระทบเงินเฟ้อแค่ 0.05%

- ครม.อนุมัติหักลดหย่อนภาษีซ่อมแซมบ้านถูกน้ำท่วมไม่เกิน 1 แสนบาท รถยนต์ไม่เกิน 3 หมื่นบาท เปิดช่องรถยนต์จมน้ำเข้าโครงการคืนภาษี 1 แสนบาท พร้อมยกเว้นภาษีเอื้อผู้ประกอบการน้ำท่วมที่ไม่ย้ายฐานผลิตสูง 150% เป็นเวลา 8 ปี ด้านค่ายรถยนต์ ติงวงเงินลดหย่อนภาษีน้อยเกินไป

- โบรกเกอร์ห่วงต้นทุนแบงก์พุ่งหลัง ครม.เตรียมออกพ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ให้แบงก์ชาติรับภาระแทนกระทรวงการคลัง หวั่นภาระตกอยู่ที่ประชาชนผู้ฝากและกู้เงิน พร้อมแนะ 3 หน่วยงานรัฐควรบริหารงานทิศทางเดียวกัน ลดความสับสนภาคเอกชน ขณะที่ครม.อนุมัติหลักการ พ.ร.ก. 4 ฉบับกู้เงินฟื้นฟูประเทศ ด้าน"กิตติรัตน์"เดินสายแจงนักวิเคราะห์ความจำเป็นโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ

- ก.ล.ต.เผยเตรียมเสนอคลังยกเว้นเก็บภาษีเงินปันผล หวังเทียบเคียงสากล เอื้อ บจ.ต่างประเทศ-นักลงทุนเข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้นหลัง พ.ย.เสนอสรรพากรไปแล้ว ส่วนปี 55 เน้น 5 กลยุทธ์หลักขับเคลื่อนตลาดทุนไทย

- ฐานะการคลังภาครัฐบาลปีงบ 54 ขาดดุล 2.07 แสนล้าน เพิ่มจากปีก่อนถึง 1.55 แสนล้าน อ้างเป็นไปตามการดำเนินนโยบายการคลังเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

--อินโฟเควสท์ โดย อาชวินท์ สุกสี/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: sasithorn@infoquest.co.th-

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"ไทยตอนบนอุณหภูมิลด-ใต้และกทม.มีฝนฟ้าคะนอง"

 

กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศประจำวันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม 2555 ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยแล้ว ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือ

 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังมีฝนบางแห่ง และอากาศจะหนาวเย็นลง อุณหภูมิลดลง 1-3 องศา ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ จะมีกำลังแรงขึ้น คลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างสูงประมาณ 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือในระยะนี้ไว้ด้วย

 

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้. ภาคเหนือ อากาศเย็น และมีฝนเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศา อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศา สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-13 องศา ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงได้ 1-2 องศา กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศา อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศา

สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

 

ภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศา อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศา สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-15 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

 

ภาคตะวันออก มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศา สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศา

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศา

ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30

:Kk :37 :Kk

 

สายวันพฤหัสที่ ฮ่า มกราคม ปี สองฮ่าฮ่าฮ่า....

 

สวัสดีจ้ะ ginger (คิดถึงมากๆ..) มดแดง(รักนะ..) chez(พ่อ ลูกอ่อน..?) news(มาเช้าเช่นเคย..)

คุณbaskis30 คุณfung คุณput42 คุณbab99 คุณmateenee Mr.Li คุณHunk-Hunk พวงชมพู กบจ้า

และเพื่อนๆทุกๆคนนะจ๊ะ

 

ช่วงนี้อากาศปรวนแปร ไม่มีฤดูหนาว ฤดูร้อน ฤดูฝนที่ตายตัวแบบก่อนเก่า ธรรมชาติเปลี่ยนเพราะอะไร?

แต่ก่อนเริ่มปลายเดือนตุลาคมก็เริ่มมีลมเหนือพัดมาอ่อนๆเพื่อเป็นสัญญานว่าฤดูหนาวกำลังจะมาแล้วนะ..!

อากาศจะเย็นหรือหนาว ช่วงพฤศจิกายน ถึงกุมภาพันธ์ พอถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ลมเหนือหรือลม

ตะวันออกเฉียงเหนือก็จะหายไป เปลี่ยนเป็นลมใต้ (ลมพัดมาจากทิศใต้) ทางบ้านย่าหยาเรียก ลมเข้า

เป็นสัญญานว่า จะเข้าฤดูร้อนแล้วนะ..! เริ่มจากเดือน มีนาคมถึงมิถุนายน ปลายเดือนมิถุนายนฟ้าจะเริ่ม

อึมครึม ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และมีฝนแรง แม่บอกว่า ฤดูกำลังจะเปลี่ยน เป็นฤดูฝน และเดือนกรกฎาคมถึง

เดือนตุลาคม ก็เป็นหน้าฝน...

 

ปัจจุบัน หนึ่งวันก็มี สองฤดูบ้าง สามฤดูบ้าง เมื่อวานนี้มีเช้าอากาศหนาวเย็น สายอากาศร้อน เย็นใกล้ค่ำ

ฝนตก และตกทั้งคืน..

 

ช่วงนี้ไปไหนมาไหน อย่าลืมพกพา หรือหยิบติด ร่ม เสื้อกันฝนไปกับเราด้วยนะคะ..เพื่อสุขภาพค่ะ.

สุข สมหวัง โชคดี สุขภาพแข็งแรงแข็งแรงเป็นของเพื่อนๆทุกๆคนนะจ้ะ...

:53 :aa :uu

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีคับทุกคนดูเหมือนทองจะหมดแรงแล้วตอนนี่้มาดูสัญญาณต่างๆในกราฟรายชม.กับราย4ชม.ดีกว่า

2-1-12-01.jpgกราฟรายชม. :034 ฟิชเชอร์บีบี เส้นบีบีล่างเริ่มหันหน้าวิ่งขึ้นหาเส้นประสีแดงแล้วถ้าหากวิ่งขึ้นมาเหนือเส้นสีแดงหรือมาชิดเส้นแล้วร่วงก็จะจบคลื่น5โดยสมบูรณ์ แต่ถ้าคลื่น5 อาจจะจบแล้วก็ได้ที่ขึ้นมาตรง1618เมือคืน สัญญาณคลื่น5ก็คงล้มเหลวแต่ถ้าวิ่งขึ้นก็คงได้แค่1525 หรือ1530เท่านั้นแล้วก็คงลงเลยในเวลาไทยอาจไม่ได้เห็นนะครับ

2-1-12-02.jpgมาดูกราฟราย4ชม.ต่อ ฟิชเชอร์บีบี เส้นบีบีล่างลอยขึ้นมาเหนือ0(เส้นประสีแดงแล้ว) แถมฮิตโตเเกรมก็เริ่มลงต่ำแบบนี้มีสัญญาณว่าอาจจะย่อในวันนี้หรือพรุ่งนี้ก็ได้น้า วัดแล้วได้แถวๆ1570หรือต่ำกว่า :_10

 

สรุปเลยละกัน :aa ใครที่คิดจะซื้อวันนี้ให้ชะลอความคิดไปก่อนสัญญาณว่ามันอาจจะย่อมาแล้ว :_cd อาจย่อลงมาถึง1570-1559เพราะคลื่น5ขึ้นมานิดเดียวมาแตะๆ1618เกือบถึง1625แล้วลงมาเมื่อคืน ดังนั้นคนรอซื้อคนตกรถรอได้เลยแถวๆ1570ลงมาเลือกได้ตามชอบใจจ้า

 

ปล. พอดีงานเข้าเดี๋ยวถ้าพอมีเวลาจะมาดูกราฟให้ละเอียดอีกทีนะครับ แต่มองดูนะเห็นเหมือนมันจะเกิดrh&S (reverse head & shouder) ยังไงไม่รู้ มีไหล่ซ้าย กะหัวแล้ว รอย่อทำไหล่ขวา แล้วพุ่งกะเเทกเนคไลน์ขึ้นไป แพทเทิ้ลนี้มักเกิดในคลื่น กลับตัว ไหล่ขวามันจะเป็นคลื่น2(h2) อะครับ

ถูกแก้ไข โดย baskie30

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะ คุณginer chez news พี่มดแดง พี่แสงแดด ย่าหยา กบจ๊า

fung goldtoy put42 chinchilla baskie30 bmw2770 madam และเพื่อนๆทุกคน

ขอบคุณมากค่ะ คุณ ginger chez พี่มดแดง news ย่าหยา และทุกคนค่ะ

อากาศเปลียนแปลงบ่อยจนไม่รู้ว่าเป็นฤดูอะไรแล้ว

รักษาสุขภาพกันนะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับคุณbaskie30

สวัสดีครับพี่มดแดง,พี่พวงชมพูและพี่ๆเพื่อนๆทุกท่าน

ถูกแก้ไข โดย fung

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...