ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
Nexttonothing

โอกาส "เงิน" (จริงๆ) : ระยะประชิด

โพสต์แนะนำ

ขอบคุณครับ ขอไปเผยแพร่ต่อนะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ ขอไปเผยแพร่ต่อนะ

 

ด้วยความยินดีครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พูดถึงเรื่องโลหะในเหรียญ มีมูลค่าแซงหน้าราคาหน้าเหรียญ

 

ได้ดูคลิปในยูทูป มีคนบอกว่าตอนนี้เหรียญ ๕ เซนต์ของลุงแซม (มีชื่อเล่นว่า "นิกเกิล")

ก็มีราคาหน้าเหรียญที่สูสีกับราคาโลหะ เมื่อเดือน ก.พ. ราคาโลหะอยู่ที่ประมาณ ๗ เซนต์

ส่วนตอนนี้ ราคาทองแดงตก เลยมีราคาอยู่ที่ ๔.๙ เซนต์

 

เมื่อมองโลหะพวกนี้ตามแนวทางการพิมพ์เงินแล้ว ราคาโลหะจะต้องแซงราคาเหรียญแน่นอน

 

ลุงแซมยังไม่สามารถแก้ปัญหาแบบถาวรได้ เลยใช้วิธีแก้ไขแบบง่ายๆ คือออกกฏหมายห้ามหลอม/ทำลาย

/ส่งออก เหรียญเพนนี (๑เซนต์) และเหรียญนิกเกิล

:uu

 

คนนี้เลยแนะนำให้เก็บเหรียญนิกเกิลไว้กับตัว อย่าเอาไปฝากธนาคาร

 

http://www.survivalblog.com/nickels.html

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"Japan is just now putting in 3.2 gigawatts of solar. Now 3.2 gigawatts of solar is not a lot, but that small amount of solar requires about 400 tons of silver."

 

ฟาร์มแสงอาทิตย์ขนาด ๓.๒ กิกะวัตต์ ต้องใช้โลหะเงิน ๔๐๐ ตัน

http://kingworldnews..._Shortages.html

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ฟาร์มแสงอาทิตย์ขนาด ๓.๒ กิกกะวัตต์ ต้องใช้โลหะเงิน ๔๐๐ ตัน

http://kingworldnews..._Shortages.html

กิกะเฮิรตซ์ ( GHz ) เป็นหน่วยของความถี่

ประกอบไปด้วยคำอุปสรรค กิกะ (G) และ หน่วยของความถี่ (Hz) ซึ่งมีค่าในภาษาไทยคือครั้งต่อวินาที

 

คำอุปสรรค (prefixes) หมายถึง คำนำหน้าหน่วยแสดงปริมาณด้วยตัวเลข

คำอุปสรรคใช้เติมหน้าหน่วยเพื่อทำให้ใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง ดังนี้

คำอุปสรรคทำให้ใหญ่ขึ้น สังเกตได้จากตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น

เทระ = 10^12 = T (เท่ากับล้านล้าน หรือ 1,000,000,000,000 )

กิกะ = 10^9 = G (เท่ากับพันล้าน หรือ 1,000,000,000 )

เมกะ = 10^6 = M (เท่ากับล้าน หรือ 1,000,000 )

 

คำอุปสรรคทำให้เล็กลง สังเกตได้จากตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก เช่น

เดซิ = 10-1 = d (เท่ากับ หนึ่งในสิบ หรือ 1/10 )

เซนติ = 10-2 = c (เท่ากับ หนึ่งในร้อย หรือ 1/100 )

มิลลิ = 10^-3 = m (เท่ากับ หนึ่งในพัน หรือ 1/1,000 )

ไมโคร = 10^-6 =(ตัวอักษร mu) (เท่ากับ หนึ่งในล้าน หรือ 1/1,000,000 )

นาโน = 10^-9 = n (เท่ากับ หนึ่งในพันล้าน หรือ 1/1,000,000,000 )

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตอนนี้ gold:silver 58-59 แล้วนะครับ

 

แถมเกิด divergencne ด้วย ใครรอเข้าทอง น่าพิจารณาน้องเงินด้วยนะครับ :Announce

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"Japan is just now putting in 3.2 gigawatts of solar. Now 3.2 gigawatts of solar is not a lot, but that small amount of solar requires about 400 tons of silver."

 

ฟาร์มแสงอาทิตย์ขนาด ๓.๒ กิกะวัตต์ ต้องใช้โลหะเงิน ๔๐๐ ตัน

http://kingworldnews..._Shortages.html

 

3.2กิกะวัตต์ เท่ากับ3,200 เมกะวัตต์

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การผลิตไฟฟ้า

โดยเซลล์แสงอาทิตย์

 

NEPO-solar.jpg

บนอาคารสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ โดย ชาย ชีวะเกตุ

ที่ปรึกษากองอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน

และ ชนานัญ บัวเขียว

ฝ่ายพลังงานทดแทนและพลังงานใหม่

บทนำ

 

“แสงอาทิตย์” เป็นแหล่งพลังงานธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นพลังงานสะอาดและมีอยู่ทั่วไป แต่การนำมาใช้ประโยชน์อาจยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากแสงอาทิตย์มีเฉพาะในตอนกลางวัน ตลอดจนมีความเข้มของแสงที่ไม่แน่นอน เพราะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและฤดูกาลที่เปลี่ยนไป

แสงอาทิตย์เกิดจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์ เมื่อแสงอาทิตย์เดินทางมาถึงนอกชั้นบรรยากาศของโลก จะมีความเข้มของแสงโดยเฉลี่ยประมาณ 1,350 วัตต์/ตารางเมตร แต่กว่าจะลงมาถึงพื้นโลก พลังงานบางส่วนต้องสูญเสียไปเมื่อผ่านชั้นบรรยากาศต่างๆ ที่ห่อหุ้มโลก เช่น ชั้นโอโซน ชั้นไอน้ำ ชั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ความเข้มของแสงลดลงเหลือประมาณ 1,000 วัตต์/ตารางเมตร (หรือประมาณร้อยละ 70)

ปริมาณแสงอาทิตย์ที่ได้รับบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง จะมีปริมาณสูงสุดเมื่อพื้นที่นั้นทำมุมตั้งฉากกับแสงอาทิตย์ ดังนั้นหากต้องการให้พื้นที่ใดรับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุดต่อวัน ก็จะต้องปรับพื้นที่รับแสงนั้นๆ ตามการเคลื่อนที่ของแสงอาทิตย์ ซึ่งจะเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตกเสมอ นอกจากนั้น จากการที่โลกเอียง ทำให้ซีกโลกเหนือหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ในฤดูร้อน และเอียงซีกโลกใต้หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ในฤดูหนาว ดังนั้นเราจึงต้องปรับมุมพื้นที่รับแสงนั้นๆ ในแนวเหนือใต้ (มุมก้มและมุมเงย) ให้สอดคล้องตามฤดูกาลด้วย เพื่อให้พื้นที่นั้นๆ รับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุดตลอดทั้งปี

ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างเส้นขนานที่ 6-10 องศาเหนือ จะได้รับแสงอาทิตย์เฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 4-5 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ตารางเมตร/วัน ซึ่งหากสามารถปรับพื้นที่รับแสงให้ติดตามแสงอาทิตย์ได้ตลอดเวลาแล้ว คาดว่าจะสามารถรับแสงได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1.3-1.5 เท่า

หลักการผลิตไฟฟ้าโดยเซลล์แสงอาทิตย์

 

“เซลล์แสงอาทิตย์” เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลก นำมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ และในทันทีที่มีแสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสีของแสงที่มีอนุภาคของพลังงานประกอบ ที่เรียกว่า Photon จะถ่ายเทพลังงานให้กับ Electron ในสารกึ่งตัวนำ จนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจากแรงดึงดูดของ Atom และสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นเมื่อ Electron มีการเคลื่อนที่ครบวงจร ก็จะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น

องค์ประกอบหลักของ “เซลล์แสงอาทิตย์” คือ สารกึ่ง ตัวนำ (Semi Conductors) 2 ชนิด มาต่อกัน ซึ่งเรียกว่า P-N Junction เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ ก็จะถ่ายพลังงานให้อะตอมของสารกึ่งตัวนำ ทำให้เกิดอีเลคตรอนส์และโฮลส์อิสระ ไปรออยู่ที่ขั้วต่อ ดังนั้นเมื่อมีการเชื่อมกับวงจรภายนอก เช่น เอาหลอดไฟฟ้ามาต่อคร่อมขั้วต่อ ก็จะเกิดการไหลของอีเลคตรอนส์/โฮลส์ ที่ให้พลังงานไฟฟ้ากระแสตรงกับวงจรภายนอกได้ และจะให้พลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่ยังมีแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที หรือนำไปกักเก็บไว้ในแบตเตอรี่ เพื่อใช้งานภายหลังได้

รูปแสดงการผลิตไฟฟ้าโดยเซลล์แสงอาทิตย์

VRS49-09-01.gif

VRS49-09-02.gif อีเลคตรอนส์อิสระ ไปรอที่ขั้ว - และ +โฮลส์อิสระ ไปรอที่ขั้ว +

VRS49-09-03.gifโฟตอนจากแสงอาทิตย์ถ่ายพลังงาน ให้อะตอมของซิลิกอน ทำให้เกิดอีเลคตรอน และโฮลส์อิสระ

เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์

 

เซลล์แสงอาทิตย์ มีกำเนิดในช่วงปี ค.ศ.1950 ที่ Bell Telephone Laboratory ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์เบื้องต้น เพื่อผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ สำหรับใช้ในโครงการอวกาศ ต่อจากนั้นจึงได้เริ่มมีการนำมาใช้อย่างกว้างขวาง และขยายผลสู่ระดับอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ของโลก เมื่อประมาณปลายทศวรรษที่ 50 เป็นต้นมา โดยในระยะแรกเซลล์แสงอาทิตย์ จะมีราคาแพงมาก จึงจำกัดการใช้งานอยู่เฉพาะในงานวิทยุสื่อสาร และไฟฟ้าแสงสว่างขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลเท่านั้น

ในช่วงปี ค.ศ. 1970 ภาครัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมัน และญี่ปุ่น ได้ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เป็นผลให้ราคาของเซลล์แสงอาทิตย์ ลดลงเป็นลำดับ จากประมาณ 4 ล้านบาทต่อกิโลวัตต์ ในปัจจุบันคงเหลือประมาณ 1.6 แสนบาทต่อกิโลวัตต์ ซึ่งนับว่าราคาของเซลล์แสงอาทิตย์ได้ลดลงมามากแล้ว แต่ก็ยังเป็นราคาที่แพงกว่าการผลิตไฟฟ้าโดยวิธีอื่นๆ

ค่าลงทุนและราคาไฟฟ้าที่ลดได้จริงในโปรแกรมของ SMUD

Source: Donald E. Dsborn, Sacramento Municipal Utility Distric, Jan 2000.

Cost Decreases for PPV Pioneer Installation Year System Cost

(turn-key) SMUD Program

Cost Total Installed

Cost Energy Cost

30 yr, ¢/kWh 1993 $7.70 $1.08 $8.78 23¢ 1994 $6.23 $0.90 $7.13 20¢ 1995 $5.98 $0.89 $6.87 19¢ 1996 $5.36 $0.85 $6.21 17¢ 1997 $4.75 $0.59 $5.34 16¢ 1998 $4.25 $0.82 $5.07 16¢ 1999 $3.75 $0.75 $4.50 14¢ 2000* $3.25 $0.65 $3.90 12¢ 2001* $2.80 $0.62 $3.42 11¢ 2002* $2.69 $0.49 $3.18 10¢ 2003* $2.59 $0.39 $2.98

All cost in per kW (PTC;A/C).

*Committed contract price.

Energy cost levelized over 30 years at District cost of money or 1
st
mortgage rate.

แม้นว่าเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่เชื่อถือได้ โดยใช้สารกึ่งตัวนำแบบผลึกของซิลิกอน (Crystalline Silicon) ที่มีความบริสุทธิ์สูง และมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแสงอาทิตย์ ให้เป็นไฟฟ้าได้ประมาณ 12-17% แต่ราคาเซลล์แสงอาทิตย์แบบผลึกของซิลิกอน ไม่สามารถจะลดลงได้อีกมากนัก เนื่องจาก Crystalline Silicon เป็นส่วนประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมอีเลคทรอนิคส์ จึงมีคุณค่าเพิ่ม (Value Added) ที่สูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการนำมาผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ นอกจากนั้นกรรมวิธีในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์จาก Crystalline Silicon ที่จะต้องนำมาเลื่อยให้เป็นแผ่น (Wafer) บางๆ จึงทำให้เกิดการสูญเสีย ในลักษณะขี้เลื่อยไปไม่น้อยกว่าครึ่ง

อย่างไรก็ตามบริษัทผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์หลายๆแห่ง ได้พยายามที่จะพัฒนาเพื่อลดราคาการผลิตฯ โดยการดึงเป็นแผ่นฟิล์ม (Ribbon) และการใช้ Silicon แบบไม่เป็นผลึก คือ Amorphous Silicon ในลักษณะฟิล์มบางเคลือบลงบนแผ่นกระจกหรือแผ่น Stainless Steel ที่งอโค้งได้ โดยวิธีดังกล่าวแล้วนี้ จะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตลงไปได้มาก

แต่เนื่องจาก Amorphous Silicon มีประสิทธิภาพต่ำกว่า และจะเสื่อมสภาพอายุการใช้งานเร็วกว่าแบบ Crystalline Silicon ดังนั้น จึงได้มีการพยายามพัฒนาสารประกอบตัวอื่นๆ เช่น Copper Indium Diselenide (CIS) และ Cadmium Telluride (CdTe) เพื่อผลิตเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบางขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าและอายุการใช้งานนานกว่า Amorphous Silicon ด้วย โดยคาดว่าจะนำออกสู่ตลาดเซลล์แสงอาทิตย์ได้ในอีก 5-10 ปี ข้างหน้า ด้วยราคาซึ่งคาดว่าจะถูกกว่าแบบ Crystalline Silicon ประมาณครึ่งหนึ่ง นอกจากนั้นยังได้มีงานพัฒนาอุปกรณ์ส่วนควบที่คู่ขนานไปพร้อมๆ กับการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ด้วย คือ การพัฒนาอุปกรณ์แปลงไฟฟ้า (Inverter) ให้มีราคาถูกลงอีก

จากการวิเคราะห์ของกระทรวงพลังงาน สหรัฐ (US DOE) ณ ราคาต้นทุนปัจจุบัน (1.6 แสนบาทต่อกิโลวัตต์) ของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ราคาไฟฟ้าที่ผลิตต่อหน่วย จะเริ่มถูกกว่าราคาไฟฟ้าที่รัฐฮาวาย คาลิฟอร์เนีย อะริโซน่า นิวยอร์ค และ แมสซาจูเซทท์ แล้ว และถ้ามีการเพิ่มสิ่งจูงใจ เพื่อทำให้ราคาต้นทุน ของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ลดลงเหลือประมาณ 1 แสนบาท ได้เมื่อใด ราคาต่อหน่วยของไฟฟ้าแสงอาทิตย์ จะลดเหลือใกล้เคียงกับราคาไฟฟ้าของเกือบทุกรัฐ

VRS49-09-04.gif

ราคาไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่การลงทุนและอัตราดอกเบี้ยต่างๆ

Source: Solar 97 Conference Washington DC 1997; Howard Wenger and Christy Herig

สถานะภาพระบบเซลล์แสงอาทิตย์ของโลก

 

จนถึงปัจจุบันนี้ กำลังการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ทั่วโลก มีปริมาณสะสมรวมประมาณ 1 ล้านกิโลวัตต์แล้ว ในจำนวนนี้ 6.31 แสนกิโลวัตต์ เป็นตัวเลขสะสมระหว่าง ค.ศ.1992-1998 โดยเป็นของสหรัฐอเมริกา 39% ญี่ปุ่น 28% ยุโรป 25% และประเทศอื่นๆ เช่น จีน อินเดีย ออสเตรเลีย อีก 9%

ภาพแสดงความเป็นมาและแนวโน้มของเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์

VRS49-09-05.gif

ในปี ค.ศ.1998 ทั่วโลกผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ได้รวมประมาณ 1.52 แสนกิโลวัตต์ เพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 1997 ที่ผ่านมา ประมาณ 20% หรือ 1.26 แสนกิโลวัตต์ ซึ่งปริมาณที่เพิ่มขึ้นนี้แสดงให้เห็นว่า ความต้องการของตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนหนึ่งก็เพื่อสำรองความต้องการใช้งานแบบหลังคาบ้านต่อเข้าระบบ (Roof-top Grid Connected) ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นมีโครงการจะติดตั้งให้ได้ถึง 7 หมื่นหลังคาบ้าน ในช่วงปี ค.ศ. 2000-2002 แต่เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มความต้องการ ในปี ค.ศ.1997 จำนวน 9,400 หลัง และในปี ค.ศ.1998 ได้เพิ่มปริมาณเป็น 14,000 หลัง จึงเป็นที่คาดว่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 เป็นต้นไป การผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ จะเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น จนรัฐอาจไม่จำเป็นต้องให้เงินอุดหนุน ในการติดตั้งอีกต่อไป

ความสำเร็จของประเทศญี่ปุ่น ก็เนื่องมาจากรัฐบาล ให้การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม และมีนโยบายเกี่ยวกับพลังงานในอนาคต อย่างชัดเจน โดยต้องการลดการพึ่งพาแหล่งพลังงานนำเข้า ลงให้ได้มากที่สุด และในขณะเดียวกัน ก็มีเป้าหมายลดมลภาวะ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงลงให้เหลือน้อยที่สุดด้วย

ประเทศในยุโรป ก็มีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นในปี ค.ศ.1997 ประมาณ 60% คือเพิ่มจาก 1.9 หมื่นกิโลวัตต์ เป็น 3.1 หมื่นกิโลวัตต์ ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกัน ในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้เพิ่มการผลิตขึ้น 32% หรือจาก 3.9 หมื่นกิโลวัตต์ เป็น 5.1 หมื่นกิโลวัตต์ โดยปัจจุบัน ประมาณ 42% ของเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลก เป็นเซลล์ที่ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา

สำหรับประเทศอื่นๆ เช่น จีน อินเดีย ออสเตรเลีย ในช่วงปี ค.ศ. 1997-1998 เพิ่มการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ขึ้น 13% คือจาก 1.92 - 2.18 หมื่นกิโลวัตต์ โดยส่วนหนึ่งเป็นการลงทุนในประเทศอุตสาหกรรม เพื่อเตรียมเป็นฐานการผลิตสำหรับตลาด ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

VRS49-09-06.gif

สถานภาพระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย

 

ข้อมูลของการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อใช้งานในประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ. 2543 มีหน่วยงานต่างๆ ได้ติดตั้งเซลล์ขึ้นสาธิตใช้งานในลักษณะต่างๆ รวมกันแล้วประมาณ 5,217 kWp ลักษณะการใช้งาน จะเป็นการติดตั้งใช้งานในพื้นที่ที่ห่างไกล เช่น สถานีเติมประจุแบตเตอรี ระบบสื่อสารหรือสถานีทวนสัญญาณ ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบไฟฟ้าหมู่บ้านที่ห่างไกล และสัดส่วนที่เหลือจะติดตั้งในโรงเรียนประถมศึกษา สาธารณสุข และไฟสัญญาณไฟกระพริบ นอกจากนั้น ยังมีงานสาธิตการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ผสมผสานร่วมกับพลังงานรูปแบบอื่น เช่น พลังงานน้ำ พลังงานลม และใช้ร่วมกับเครื่องยนต์ดีเซล ด้วย

ประเภทและสัดส่วนของการใช้งาน แบ่งออกตามลักษณะโดยย่อ ดังนี้ ระบบโทรคมนาคม 1,900 kWp 36.5 % ระบบประจุแบตเตอรี่ให้หมู่บ้านห่างไกล 1,693 kWp 32.5 % ระบบสูบน้ำในหมู่บ้านห่างไกล 994 kWp 19.0 % ระบบสอนหนังสือทางไกล 124 kWp 2.4 % ระบบผลิตไฟฟ้าผสมผสานในพื้นที่ห่างไกล 25 kWp 0.5 % ระบบผลิต/จำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่สายส่ง 25 kWp 5.3 % เบ็ดเตล็ด เช่น ไฟสัญญาน สถานีอนามัยฯ 200 kWp 3.8 %

VRS49-09-07.gif

โดยส่วนหนึ่งของโครงการเหล่านี้ ได้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยผ่านทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสนับสนุน และร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่จะให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการนำพลังงานหมุนเวียน ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย มาใช้อย่างแพร่หลาย

สพช. ได้มีการจัดประชุมสัมมนา เพื่อกำหนดแนวทางหลักเกณฑ์ และนโยบายเพื่อสนับสนุน การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ ระหว่างปี 2540-2542 ที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อเดือนพฤษภาคม 2540 ซึ่งมีนักวิชาการจากหลายสถาบัน ได้มาประชุมร่วมกัน และได้เสนอให้มีการดำเนินโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงาน โดย สพช. ได้รวบรวมความต้องการของหน่วยงานต่างๆ และจัดทำเป็นนโยบายในการสนับสนุนด้านการเงิน จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

จากวันนั้น หน่วยงานต่างๆ ได้ดำเนินโครงการที่ตนได้เสนอไว้อย่างต่อเนื่อง และสำเร็จลงอย่างครบถ้วน จนถึงปัจจุบันนี้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้ให้การสนับสนุนโครงการต่างๆ ไปแล้ว ไม่น้อยกว่า 20 โครงการ ในวงเงินกว่า 1,000 ล้านบาท อาทิเช่น

  • ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
  • ระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาบ้าน และบนหลังคาอาคารส่วนราชการ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • ระบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับหมู่บ้านในชนบทขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยศูนย์วิจัยและฝึกอบรมพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สวนพลังงานแสงอาทิตย์ จ.พิษณุโลก โดยศูนย์วิจัยและฝึกอบรมพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • การสาธิตการใช้พลังงานทดแทนในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรมชลประทาน กรมโยธาธิการ กรมทรัพยากรธรณี และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานด้วยพลังงานสะอาดสำหรับอุทยานแห่งชาติ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • การขยายเขตติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนให้เกาะต่างๆ โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • โครงการประเมินผลระบบผลิตไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบเดิมที่ติดตั้งไปแล้ว และวางแผนขยายโครงการต่อไป เพื่อให้การใช้งานมีความมั่นคงยั่งยืน
  • โครงการฟื้นฟูระบบสูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์ที่ชำรุดแล้วให้สามารถใช้งานได้แบบยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อศึกษาความเหมาะสมเพื่อทำการฟื้นฟู ซ่อมแซม ปรับปรุงหรือดัดแปลงแก้ไขใหม่ ให้ระบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ระบบชำรุดเสียหาย ให้สามารถใช้งานได้ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมต่อสภาพการใช้งาน
  • โครงการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • โครงการจัดทำร่างมาตรฐานระบบเซลล์แสงอาทิตย์ของประเทศไทย โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • โครงการวิจัยและพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ที่เหมาะกับภูมิอากาศร้อนชื้น โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • โครงการสาธิตระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งโครงการนี้เพิ่งจะได้รับการอนุมัติ จากคณะกรรมการกองทุนฯ ที่จะให้การสนับสนุน เงินกว่า 750 ล้านบาท ให้ กฟผ. จัดทำโครงการสาธิตระบบผลิต และจำหน่ายไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เพียงพอต่อความต้องการ ที่เพิ่มขึ้น โดยให้ กฟผ. เริ่มโครงการฯ ที่ขนาด 500 kW ก่อน เพื่อดูผลการทำงานจริงในสภาพจริงของระบบ แล้วจึงจะขออนุมัติดำเนินโครงการฯ เต็มทั้งระบบขนาด 4 MW

ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งต่างๆ (บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง)

ประเภทโรงไฟฟ้า ต้นทุนฯ

(บาท/kw-hr) หมายเหตุ 1. พลังน้ำ ขนาดเล็ก (<1MW) 13.60 ผาบ่อง จ.แม่ฮ่องสอน กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน 2. พลังน้ำ ขนาดกลาง-ใหญ่ (5-180 MW) 1.16 กฟผ. 3. พลังความร้อน (25-600MW) 1.52 กฟผ. 4. พลังความร้อนร่วม (60-250 MW) 1.54 กฟผ. 5. กังหันก๊าซ (14-122 MW) 2.82 กฟผ. 6. ดีเซล (1 MW) 13.51 กฟผ. แม่ฮ่องสอน 7.พลังงานทดแทน (8-300 KW) 2.07 กฟผ. ความร้อนใต้พิภพ; ลม แสงอาทิตย์

(รวม @ 750 KW) 8. ซื้อ 1.78 จาก ลาว มาเลเซีย, IPP SPP 9. เฉลี่ยทุกประเภทของ กฟผ. 1.58 ที่มา “กฟผ. ข้อมูลสำคัญ 40-42” 10. PV ROOF top ของ SMUD

คศ. 1993 (พ.ศ.2536) 6.0 อัตราแลกเปลี่ยน US $ 1 = 26 บาท

ต้นทุนติดตั้ง US $ 8.78 (230 บาท/W) คศ. 2000 (พ.ศ.2543) 4.8 อัตราแลกเปลี่ยน US $ 1 = 40 บาท

ต้นทุนติดตั้ง US $ 3.90 (156 บาท/W)

ที่มา SMUD : SACRAMENTO MUNICIPAL UTILITY DISTRICT สหรัฐอเมริกา 11. โครงการบ้าน 10 หลัง (โครงการนำร่อง) 4.5 ต้นทุน 5.2 แสนบาท/ หลัง (216 บาท/ W) สพช. อุดหนุน 45%

มีผู้สนใจรอเข้าร่วมโครงการ > 100 ราย 12. มาตรการการจัดการ ด้านการใช้ไฟฟ้า (DSM) 0.5 โดยสำนักงาน DSM ของ กฟผ.

หมายเหตุ ราคาน้ำมันดีเซล : พ.ศ. 2541 = 8.45บาท/ลิตร, ปัจจุบัน (ก.ค.43) = 15 บาท/ลิตร

แนวโน้มการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในอนาคต

 

ด้านเทคโนโลยี คงจะมุ่งเน้นไปทางฟิล์มบางมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนวัสดุจะถูกกว่า และไม่ต้องแย่งตลาดกับอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์อื่นๆ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้ Crystalline Silicon เป็นหลัก

ด้านการผลิต คาดว่าจากปี ค.ศ. 1998-2000 กำลังผลิตทั่วทั้งโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวต่อปี ซึ่งแยกตามเทคโนโลยีต่าง ได้ ดังนี้

  • Crystalline Silicon 150% จาก 215 เมกะวัตต์ เป็น 340 เมกะวัตต์
  • Amorphous Silicon จะเพิ่มปริมาณขึ้นประมาณ 180% จาก 50 เมกะวัตต์ เป็น 90 เมกะวัตต์
  • สารประกอบอื่นๆ เช่น Copper Indium Diselenide และ Cadmium Telluride จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นประมาณ 320% จาก 20 เมกะวัตต์ เป็น 65 เมกะวัตต์

ด้านการตลาด ตลาดใหม่สำหรับเซลล์แสงอาทิตย์โดยทั่วไปน่าจะเป็นในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะยังมีระบบไฟฟ้าชนบทที่ต้องพัฒนาอีกจำนวนมาก แต่มีข้อจำกัดที่ต้องอาศัยการลงทุนจากต่างประเทศเป็นหลัก ดังนั้นหากรัฐยังคงเป็นเจ้าของกิจการไฟฟ้า และยังต้องรับผิดชอบระบบไฟฟ้าในชนบทในหลายกรณี การเลือกใช้ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อขยายระบบจำหน่ายไปสู่ชนบท จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าระบบสายส่ง แต่หากมีการเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้า ซึ่งถ้ากิจการไฟฟ้าถูกแปรรูปให้เอกชนไปแล้ว โอกาสของการขยายตลาดระบบเซลล์แสงอาทิตย์จะลดน้อยลง เนื่องจากเอกชนส่วนใหญ่ มักจะมุ่งค้าทำกำไรในระยะสั้นๆ เป็นหลัก

สำหรับตลาดของการจ่ายเข้าระบบ (Grid Connected) เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะการลงทุนต่อกิโลวัตต์ จะต่ำกว่าระบบอิสระ (Stand Alone) ซึ่งต้องใช้แบตเตอรี่และต้องเปลี่ยนใหม่ทุกๆ 7-10 ปี และหากมีการ “ร่วมลงทุน” ระหว่างภาครัฐกับผู้ใช้งาน ก็จะเป็นส่วนเสริมให้ตลาดของระบบฯ ขยายตัวรวดเร็วขึ้น

ในช่วง 6-7 ปี ที่ผ่านมา ในประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป ประสบความสำเร็จของโครงการประเภท Rooftop Grid Connected เป็นอย่างมาก และกำลังนำไปสู่การเตรียมขยายผล เช่น โครงการ 1 ล้านหลัง ของสหรัฐอเมริกา และ 1 แสนหลัง ของกลุ่มประเทศยุโรป และ 7 หมื่นหลัง ของประเทศญี่ปุ่น นอกจากนั้นไฟฟ้าที่ผลิตได้ในช่วงกลางวัน ก็จะสอดคล้องกับความต้องการไฟฟ้าช่วงสูงสุด ดังนั้น Grid Connected ก็จะช่วยชะลอการลงทุนการสร้างโรงไฟฟ้า ประเภท “Peak Shaving” ได้ส่วนหนึ่งด้วย

สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ตลาดของ “การต่อเข้าระบบ-Grid Connected” จะมีอนาคตที่ดี มีทางที่จะขยายผลเป็นรูปธรรม และทำให้เกิดการผลิตขนาดใหญ่ (Mass Production) ส่งผลทำให้ราคาการลงทุน ลดลงสู่ระดับ ที่น่าพอใจในอนาคตอันใกล้

สำหรับตลาดเซลล์แสงอาทิตย์ของประเทศไทยในอนาคต มีความได้เปรียบที่จะเติบโตมากขึ้น ทั้งในด้านผู้ใช้และผู้ประกอบการ เพราะนโยบายจากภาครัฐได้ให้การสนับสนุนอย่างชัดเจน ซึ่งจากผลผลสำเร็จของโครงการต่างๆ ที่ผ่านมา นักวิชาการไทยได้มีโอกาสเพิ่มประสบการณ์มากขึ้น ทั้งในเรื่องการติดตั้งใช้งานและการพัฒนาระบบฯ ด้วยตนเอง ตลอดจนความร่วมมือที่เข้มแข็ง ของกลุ่มนักวิชาการพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงทำให้เชื่อมั่นได้ว่าหากนโยบาย จากภาครัฐยังคงมีความชัดเจน และให้การสนับสนุนอย่างจริงจังดังเช่นที่ผ่านมา และตลาดเซลล์แสงอาทิตย์ โดยเฉพาะกรณีไฟฟ้าชนบท (Off Grid) ซึ่งเป็นพื้นที่ทุรกันดาร และไม่มีสายไฟฟ้าเข้าถึง ยังมีอยู่เป็นจำนวนมากในทุกภูมิภาค ของประเทศไทย จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ไม่ยาก ในการก้าวไปสู่การดำเนินธุรกิจเซลล์แสงอาทิตย์ ในระดับอุตสาหกรรม ทำให้ประเทศไทยเป็นที่สนใจ ของนักลงทุนต่างประเทศ ที่จะเข้ามาทำตลาดของไทยให้เติบโตขึ้น เมื่อประกอบกับประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี ด้วยพื้นฐานที่มั่นคงและกลไก / ความสัมพันธ์ด้านการตลาดที่ดีอยู่แล้วในภูมิภาคนี้ โอกาสที่นักลงทุน จะขยายผลไปยังตลาดของประเทศเพื่อนบ้าน จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องยากเช่นกัน

บทสรุป

 

จากอัตราการเพิ่มต่อปีที่สูงมาก กล่าวคือ 1 เมกะวัตต์ในปี ค.ศ.1970 เป็น 45 เมกะวัตต์ ในปี ค.ศ.1990 และ 152 เมกะวัตต์ในปี ค.ศ.1998 และในปัจจุบันมีผลผลิตสะสมประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ ประกอบกับอัตราความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในภาคอุตสาหกรรม บวกกับนโยบายการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมของภาครัฐในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และประเทศญี่ปุ่น จึงมีการคาดคะเนว่าจะสามารถลดราคาของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ลงให้เหลือเท่าๆ กับหรือถูกกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ราคาลงทุนประมาณ 3,000 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ ในช่วงปี ค.ศ.2005-2010 ได้

และจากมุมมองของปัญหาการใช้พลังงานของโลกในอนาคต ที่คาดว่าแนวโน้มราคาเชื้อเพลิงเชิงพาณิชย์จะสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณสำรองเชื้อเพลิงกำลังจะหมดลงไป และสภาพแวดล้อมได้รับผลกระทบ ที่นับวันจะทวีปริมาณ ที่มากขึ้นจากคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ที่เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า

จึงมีเหตุผลดีพอที่จะสรุปได้ว่าระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ซึ่งสะอาดมีปริมาณมากและได้เปล่า และกรรมวิธีในการเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าไม่ก่อมลภาวะฯ น่าจะเป็นทางเลือกที่สมเหตุผล อีกทางหนึ่งสำหรับอนาคตของมนุษย์ชาติได้

 

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ

วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 49 กรกฎาคม-กันยายน 2543

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก เริ่มติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แล้ว โดยเฟิร์ส โซลาร์

 

ข่าวประชาสัมพันธ์พลังงานและปิโตรเคมี วันพุธที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

ขนาดตัวอักษร: ใหญ่ กลาง เล็ก

 

 

Share

80383fb214f88800bc4f57fbd8b36446-0.jpg

กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์

มิดอเมริกัน โซลาร์ (MidAmerican Solar) ซึ่งมีมหาเศรษฐี วอร์เรน บัฟเฟตต์ ควบคุมผ่านการลงทุนโดยเบิร์คไชร์ แฮธ่าเวย์ ได้ประกาศความสำเร็จร่วมกับ เฟิร์ส โซลาร์ (หรือมีชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์แนสแด็คว่า FSLR) ในการเริ่มเดินหน้าติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แผงแรกในโซลาร์ฟาร์มโทปาซ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตซานลุยส์ โอบิสโป มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา หลังจากมีพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างโครงการดังกล่าวอย่างเป็นทางการเมื่อ ประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ โซลาฟาร์มโทปาซ คือ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่กำลังดำเนินการก่อ สร้างอยู่ในขณะนี้ เมื่อการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ โซลาร์ฟาร์มโทปาซจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงถึง 550 เมกะวัตต์ โดยใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์รวมทั้งสิ้นประมาณ 9 ล้านแผง

 

มร. เกร็ก เอเบล ประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท มิดอเมริกัน อีเนอร์จี้ โฮลดิ้งส์ พร้อมด้วย มร.วอลเตอร์ สก็อตต์ จูเนียร์ กรรมการ บริษัท เบิร์คไชร์ แฮธ่าเวย์ อิงค์ และบริษัท มิดอเมริกัน ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ดังกล่าว

มร. พอล เคาดิลล์ ประธาน มิดอเมริกัน โซลาร์ กล่าวว่า “การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แผงแรกนี้มีความหมายมากกว่า การแสดงถึงการทำงานในโครงการใหญ่ระดับโลก แต่ยังแสดงถึงความทุ่มเททำงานก่อสร้างอย่างหนักตลอดระยะเวลาเกือบ 5 เดือนที่ผ่านมาของทีมงานวิศวกรรมและฝ่ายดูแลและบริหารหน้างาน ซึ่งพนักงานส่วนใหญ่จากทั้งสองส่วนเป็นผู้ที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว พนักงานเหล่านี้จะช่วยขับเคลื่อนให้บริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายในการผลิตและ จำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ให้แก่บริษัท แปซิฟิกแก๊สแอนด์อิเล็กทริค ซึ่งเป็นลูกค้าได้อย่างปลอดภัยและมีเสถียรภาพ ทั้งยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ตามนโยบายที่วางไว้”

เมื่อเร็วๆ นี้ มิดอเมริกัน โซลาร์ ร่วมกับเฟิร์ส โซลาร์ได้จัดประชุมร่วมกับผู้บริหารจากภาครัฐทั้งจากส่วนกลางและระดับท้อง ถิ่น และชาวบ้านที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ เพื่อพิจารณาข้อมูลกำหนดการก่อสร้างโครงการดังกล่าว รวมถึงมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อม และแผนการดูแลและอนุรักษ์ชุมชน

โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โทปาซจะมีการจ้างงานด้านการก่อ สร้างประมาณ 400 ตำแหน่งตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี ซึ่งจะสร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่นในระหว่างการก่อสร้างประมาณ 417 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอสำหรับจ่ายให้แก่ชาวแคลิ ฟอร์เนีย เฉลี่ย 160,000 ครัวเรือน

ด้านมร. จิม ลามอน รองประธานระดับอาวุโสด้านวิศวกรรม จัดซื้อและก่อสร้าง ปฏิบัติการและซ่อมบำรุง เฟิร์ส โซลาร์ กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่การก่อสร้างโครงการโทปาซประสบความรุดหน้า อย่างรวดเร็ว และก้าวสู่ขั้นตอนการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ เรายังมีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับบริษัทพลังงานชั้นนำอย่าง มิดอเมริกัน โซลาร์ ผลิตพลังงานไฟฟ้าทดแทนให้แก่ระบบสายส่งไฟของสหรัฐอเมริกา"

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โทปาซมีมิดอเมริกัน โซลาร์เป็นเจ้าของ โดยมีเฟิร์ส โซลาร์เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง บริหารและซ่อมบำรุง การก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่นี้เริ่มต้นในปลายปี 2554 และคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในต้นปี 2558 สำหรับไฟฟ้าที่ผลิตได้จะจำหน่ายให้แก่พีจีแอนด์อีภายใต้ข้อตกลงการซื้อขาย ไฟฟ้าระยะเวลา 25 ปี ส่งผลให้รัฐแคลิฟอร์เนียสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนคิดเป็นร้อยละ 33 ของปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดภายในปี 2563 ตรงตามนโยบายที่กำหนดไว้

มร. จอห์น คอนเวย์ รองประธานอาวุโส ด้านการจัดหาพลังงาน บริษัท พีจีแอนด์อี เผยว่า “บริษัทรู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับ มิดอเมริกัน โซลาร์และเฟิร์ส โซลาร์สร้างสรรค์ความสำเร็จครั้งนี้ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อย่างโครงการโทปาซ จะทำให้เราสามารถเดินหน้าสร้างสรรค์พลังงานที่สะอาดที่สุดได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ต่อลูกค้า ทั้งยังตอบโจทย์ ความต้องการส่งเสริมพลังงานสีเขียวของภาครัฐอีกด้วย”

นวัตกรรมแผงเซลล์แสงอาทิตย์เฟิร์ส โซลาร์สร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีฟิล์มบาง (thin film) จึงสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าโดยไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งยังไม่ก่อให้เกิดขยะของเสีย และไม่ต้องมีการใช้น้ำแต่อย่างใด แผงเซลล์แสงอาทิตย์ของเฟิร์ส โซลาร์มีคาร์บอนฟุตปริ้นท์น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีแผงเซลล์แสง อาทิตย์ชนิดอื่นๆ ตัวแผงแต่ละชิ้นมีขนาดประมาณ 4’ X 2’ หนักประมาณ 12.5 กิโลกรัม การผลิตไฟฟ้าของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โทปาซแห่งนี้จะช่วยลดการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปีละประมาณ 377,000 เมตริกตัน เทียบเท่ากับการนำรถยนต์ออกจากท้องถนนประมาณ 73,000 คัน แผงเซลล์แสงอาทิตย์ของเฟิร์ส โซลาร์ทั้งหมดจะได้รับการเก็บกลับคืนโดยเฟิร์ส โซลาร์ เพื่อนำไปรีไซเคิลโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นภายใต้โครงการรวบรวมเก็บกลับคืนและรีไซเคิลแผงเซลล์ที่ครบอายุการ ใช้งานหรือเสียหายระหว่างอายุโครงการ โดยมีการกันเงินทุนสำรองไว้ล่วงหน้า สำหรับวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์เฟิร์ส โซลาร์เป็นวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 90

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เจอเวปนี้ มีข้อมูลเกียวกับปริมาณการผลิตปี2012 ของโลหะต่างๆ ทองคำ โลหะเงิน พลังงาน(น้ำมัน ถ่านหิน) และข้อมูลหลายๆอย่าง

 

----ที่เห็นปริมาณทองคำสำรองที่จีนถือครองตอนนี้ เป็นครึ่งนึงของที่อเมริกาถือครองแล้ว(เพิ่มขึ้นเร็วมากเลย )

 

จีนถือครองทองคำ 131,561,196 ออนซ์ อเมริกาถือครองทองคำ 261,532,862 ออนซ์

 

----ปริมาณทองคำที่ทุกประเทศทั่วโลกถือครองรวมกัน 983,175,472 ออนซ์ ซึ่งเท่ากับจำนวน 30,576 ตัน(ไม่แน่ใจว่าเป็นตัวเลขเฉพาะของที่ธนาคารกลางทุกประเทศถือรวมกัน หรือรวมของที่ประชาชนถือด้วยมั้ย)

----ยอดการผลิตของทองคำของปี2012ถึงตอนนี้ประมาณ 37,025,539ล้านออนซ์

 

----ยอดการผลิตของโลหะเงินของปี2012 ถึงตอนนี้ประมาณ 348,657,342 ออนซ์ ปริมาณที่ผลิตโลหะเงินมากกว่าทองคำ

 

9.42เท่า(สมัยที่เราใช้โลหะเงินและทองคำ เป็นเงินตรา ปริมาณโลหะเงินที่ผลิตได้จะมากกว่าทองคำประมาณ 16 เท่า แต่อัตราส่วนนี้ลดลงมาเรื่อยๆ)

 

--ปริมาณการผลิตโลหะเงินจากเหมืองของปี2011 อยู่ที่ 761.6 ล้านออนซ์ ปี2010อยู่ที่735.9ล้านออนซ์ ปี2009 718.3

 

ล้านออนซ์ ยอดการผลิตของปี2012ถึงตอนนี้ขาดอีก4วันก็ครบครึ่งปี ดูจากตัวเลขที่เวปประมาณการ 348,657,342

 

ออนซ์ ถ้าครึ่งปีหลังผลิตได้ใกล้เคียงกับครึ่งปีแรก ปี2012น่าจะผลิตได้ลดลง50ล้านออนซ์(อนาคตจะเฉลยตัวเลขของจริงครับ)

 

http://oilprice.com/free-widgets

 

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ข้อมูลเก่าที่ผมเคยโพส

 

World Silver Mine Supply for 2011 Increased by 1.4% to 761.6 Million Ounces

 

 

 

Read More @ SilverDoctors.com

April 19th, 2012 | Category: News

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Silver COT Report - Futures & Options Combined ของกลุ่มCommercial รายปีผมหาได้แค่นี้ รายเดือนผมทำจากต้นปีครับ

 

http://news.goldseek.com/COT/

------------------------------L--------------------S----------------S>L---------------------------------S>L %

29/12/2008---------32,801---------------64,944------------32,143-------------------------------97.99

 

4/1/2010-----------32,140---------------91,380------------59,240--------------------------------184.32

 

27/12/2010---------39,712---------------89,985------------50,273-------------------------------126.5

 

28/1/2011----------39,053---------------85,610------------46,557--------------------------------119.21

 

25/2/2011----------45,559--------------107,150------------61,591-------------------------------135.19

 

25/3/2011----------43,963--------------104,541------------60,578--------------------------------137.79

 

29/4/2011----------49,622---------------99,348------------49,726--------------------------------100.21

 

27/5/2011----------48,988---------------92,108------------43,120---------------------------------88.02

 

24/6/2011----------51,042---------------94,142------------43,100---------------------------------84.44

 

29/7/2011----------41,998---------------94,586------------52,588--------------------------------125.22

 

26/8/2011----------48,907--------------106,210------------57,303--------------------------------117.17

 

30/9/2011----------52,427-------------- 82,671------------30,244---------------------------------57.69

 

28/10/2011---------53,568---------------83,381------------29,813--------------------------------55.65

 

28/11/2011---------49,692---------------76,347------------26,655--------------------------------53.64

 

02/12/2011---------48,325---------------74,097------------25,772--------------------------------53.33

 

09/12/2011---------45,070---------------72,603------------27,533---------------------------------61.09

 

16/12/2011---------45,534---------------70,701------------25,167--------------------------------55.27

 

23/12/2011---------52,154---------------71,845------------19,691--------------------------------37.76

 

30/12/2011--------------53,053--------------------71,590---------------18,537(92.69ล้านออนซ์)-----------------34.94

 

27/01/2012---------------48785---------------------77343----------------28558(142.79ล้านออนซ์)---------------58.54

 

24/02/2012---------------46,307---------------------89,331-------------43,024(215.12ล้านออนซ์)---------------48.16

 

30/03/2012---------------51,688---------------------85,507--------------33,819(169.09ล้านออนซ์)---------------39.55

 

27/04/2012---------------63,279----------------------88,448-------------24,669(123.35ล้านออนซ์)---------------27.89

 

25/05/2012---------------61,046----------------------78,556-------------17,510(87.55ล้านออนซ์)-----------------22.29

 

29/06/2012---------------63,783----------------------77,397-------------13,614(68.07ล้านออนซ์)-----------------17.59

 

สิ้นเดือนนี้ S>L 13,614สัญญา(68.07ล้านออนซ์) S>Lน้อยที่สุดตามข้อมูลข้างบน สื่ออะไรเอ่ย

 

---1สัญญาของSILverเท่ากับปริมาณsilver 5,000ออนซ์

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สิ้นเดือนนี้ S>L 13,614สัญญา(68.07ล้านออนซ์) S>Lน้อยที่สุดตามข้อมูลข้างบน สื่ออะไรเอ่ย

 

---1สัญญาของSILverเท่ากับปริมาณsilver 5,000ออนซ์

 

ผมเดาว่าขาใหญ่ไล่ปิดชอร์ตเพื่อเตรียมรับ position limit รึเปล่าครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...