ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
Nexttonothing

โอกาส "เงิน" (จริงๆ) : ระยะประชิด

โพสต์แนะนำ

แดนจิงโจ้แห่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา

1.jpg 2.jpg 3.jpg 4.jpg 172fea1b.png 6.jpg 7.jpg 8.jpg 9.jpg

 

 

ข้อมูล ล่าสุดจากสมาคมด้านพลังงานที่ยั่งยืนแห่งออสเตรเลีย หรือ (Sustainable Energy Association of Australia: SEA) ระบุว่า ปัจจุบันบ้านเรือนกว่า 750, 000 หลังในประเทศออสเตรเลียได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ร่วม 1. 7 กิกะวัตต์

 

การ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ หรือ โซลาร์รูฟ มีแนวโน้มค่อนข้างสูง ทั้งนี้ บ้านเรือนกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ (จากทั้งหมด 8 ล้านหลังคา) เตรียมติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ภายใน 2 ถึง 3 เดือนข้างหน้า

 

อนึ่ง แม้ว่าอัตราการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ลดลงเล็กน้อย

ใน ช่วงปี พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นปีที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อรองรับการผลิตกระแสไฟฟ้า 860 เมกะวัตต์ แต่มีความเป็นไปได้ว่าแนวโน้มการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อรองรับการ ผลิตกระแสไฟฟ้า 600 เมกะวัตต์อาจเพิ่มขึ้นในปีปัจจุบัน

 

จาก การคาดการณ์อัตราการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ มีความเป็นไปได้ที่ภาคครัวเรือนประมาณ 1 ล้านหลังจะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในระยะเวลา 1 ปี โดยอาจมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อรองรับการผลิตกระแสไฟฟ้ากว่า 2.3 กิกะวัตต์

 

จาก สถิติการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในเดือนมิถุนายน พบว่าออสเตรเลียมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อรองรับการผลิตกระแสไฟฟ้า เฉลี่ย 2.84 กิโลวัตต์ แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการกำหนดอัตรารับซื้อพลังงานทดแทน (Feed-in-Tariff: FIT) ทำให้แนวโน้มการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ผกผันไปจากเดิม โดยนโยบายการกำหนดราคารับซื้อพลังงานดังกล่าวมีผลทันทีต่อการติดตั้งแผงโซ ลาร์เซลล์ขนาดมาตรฐาน

 

ทั้งนี้ รัฐควีนส์แลนด์มีอัตราการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สูงที่สุดในประเทศ เพื่อรองรับการผลิตกระแสไฟฟ้าถึง 475 เมกะวัตต์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แดนเบียร์ทุบสถิติจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์ 22 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมง

1.jpg 2.jpg 3.jpg 4.jpg 0e348f5e.png 6.jpg 7.jpg 8.jpg 9.jpg

 

 

เมื่อ ไม่นานมานี้ ประเทศเยอรมนีได้จ่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ถึง 22 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นการทำสถิติครั้งใหม่หลังจ่ายกระแสไฟฟ้าเพื่อสนองความต้องการใช้ ไฟฟ้าเกือบครึ่งในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์

 

กลุ่ม อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน เมืองมึนสเตอร์ ประกาศว่ากระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์ในวันเสาร์สามารถสนองความ ต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนในช่วงกลางวันได้เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ และเทียบเท่าความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 20 โรง

 

นอร์เบิร์ต ออลนอค ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน กล่าวว่า ไม่เคยเห็นประเทศไหนผลิตกระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ได้มากเท่าประเทศ เยอรมนี ประเทศเยอรมนีผลิตไฟฟ้าเกือบ 20 กิกะวัตต์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศเยอรมนีสามารถสนองความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าจำนวน มหาศาล และยังแสดงให้เห็นว่าเยอรมนีสามารถลดการพึ่งพาโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน โรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

 

ปัจจุบัน ประเทศเยอรมนีมีสัดส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนราว 20 เปอร์เซ็นต์ในหนึ่งปี และมีปริมาณการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สูง อนึ่ง ประเทศเยอรมนีมีนโยบายคล้ายกับประเทศในแถบยุโรป โดยประเทศเยอรมนีตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปล่อยก๊าซตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ลง 40 เปอร์เซ็นต์ภายในปี พ.ศ. 2563

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมสงสัยอย่างนึงครับเรื่องแผงโซลาร์เซล

 

คือเคยเข้าเว็บพันทิปในห้องหว้ากอ ก็มีการวิเคราะห์กันว่าพลังงานแสงอาทิตย์ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้แน่นอน เนื่องจากต้นทุนในการติดตั้งและบำรุงรักษา กว่าจะคุ้มทุนต้องใช้เวลาร่วมสิบห้าปีขึ้นไปถึงจะคุ้มกับค่าติดตั้ง(ระหว่างนั้นต้องเปลี่ยนแบตที่เก็บไฟฟ้าที่ชาร์ตไว้จากแผงโซลาร์) จึงสรุปกันในวางวิทยาศาสตร์ว่าตราบใดที่การซื้อไฟใช้ยังถูกอยู่ แผงโซลาร์ก็จะไม่เกิด

 

แต่ทำไมต่างประเทศเช่นจีน หรือข่าวที่เยอรมันติดตั้งแผงนี้กลับทำกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เขาไม่น่าโง่กว่าเรานะครับที่ไม่รู้ว่ามันไม่คุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ หรือเขามีปัจจัยอื่นที่ไม่เหมือนไทย เฃ่นต้นทุนการติดเขาถูกกว่าเรามาก หรือไฟฟ้าที่ขายในประเทศเขาแพงกว่าของไทยมากดังนั้นการเลือกติดตั้งแผงโซลาร์เซลจึงคุ้มกว่าการซื้อไฟใช้ในระยะยาว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมสงสัยอย่างนึงครับเรื่องแผงโซลาร์เซล

 

คือเคยเข้าเว็บพันทิปในห้องหว้ากอ ก็มีการวิเคราะห์กันว่าพลังงานแสงอาทิตย์ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้แน่นอน เนื่องจากต้นทุนในการติดตั้งและบำรุงรักษา กว่าจะคุ้มทุนต้องใช้เวลาร่วมสิบห้าปีขึ้นไปถึงจะคุ้มกับค่าติดตั้ง(ระหว่างนั้นต้องเปลี่ยนแบตที่เก็บไฟฟ้าที่ชาร์ตไว้จากแผงโซลาร์) จึงสรุปกันในวางวิทยาศาสตร์ว่าตราบใดที่การซื้อไฟใช้ยังถูกอยู่ แผงโซลาร์ก็จะไม่เกิด

 

แต่ทำไมต่างประเทศเช่นจีน หรือข่าวที่เยอรมันติดตั้งแผงนี้กลับทำกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เขาไม่น่าโง่กว่าเรานะครับที่ไม่รู้ว่ามันไม่คุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ หรือเขามีปัจจัยอื่นที่ไม่เหมือนไทย เฃ่นต้นทุนการติดเขาถูกกว่าเรามาก หรือไฟฟ้าที่ขายในประเทศเขาแพงกว่าของไทยมากดังนั้นการเลือกติดตั้งแผงโซลาร์เซลจึงคุ้มกว่าการซื้อไฟใช้ในระยะยาว

 

 

พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย กำลังเริ่มต้นครับ และคาดว่าภายใน 5 ปี น่าจะแพร่หลายมาก ผมก็ทดลองทำใช้อยู่ ต้นทุนที่สำคัญคือราคาของแบตเตอรี่นั่นแหละครับ ส่วนราคาแผงโซลาร์และวงจรไม่เท่าไหร่ ในช่วงแรก ๆ นี้ รัฐคงต้องสนับสนุนไปก่อนถ้าจะผลิตเพื่อการค้า รอจนแพร่หลายมากขึ้น ราคาอุปกรณ์จะถูกลงอีก

 

http://www.iurban.in...rm-in-thailand/

 

http://www.manager.c...D=9540000159497

 

ภาพนี้โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่จังหวัดปราจีนบุรี เพิ่งเปิดดำเนินการยังไม่ถึงปีเลยครับ

post-835-0-83964100-1344179155_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณงูดินไม่ทราบว่าใช้ระบบไหนหรอครับ ถ้าใช้เสริมไฟฟ้าในบ้านไม่ลองเอาแบ็ตออก แล้วให้ตัวแปลงไฟต่อเข้าระบบไฟฟ้าโดยตรงเลยละครับ

 

ผมเคยทำวิจัยสมัยเรียน ก็เจอปัญหาค่าดูแลเรื่องแบ็ตเหมือนกัน ตอนหลังเลยไปคิดกับวิศวกรแล้วคิดกันว่าก็ตัดแบ็ตออกไปซะ ต่อตรงเข้ากับบ้านเอาเลยถ้าไม่ใช้ไฟฟ้าก็ฝากไฟฟ้าที่เราผลิตได้กับระบบของการไฟฟ้าแทน(ให้มิเตอร์หมุนย้อนกลับ) พอเราจะใช้ไฟฟ้ามิเตอร์ไฟก็หมุนคืน น่าจะเป็นอีกแนวคิดที่น่าจะใช้ได้นะครับ

ถูกแก้ไข โดย leo_attack

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณงูดินไม่ทราบว่าใช้ระบบไหนหรอครับ ถ้าใช้เสริมไฟฟ้าในบ้านไม่ลองเอาแบ็ตออก แล้วให้ตัวแปลงไฟต่อเข้าระบบไฟฟ้าโดยตรงเลยละครับ

 

ผมเคยทำวิจัยสมัยเรียน ก็เจอปัญหาค่าดูแลเรื่องแบ็ตเหมือนกัน ตอนหลังเลยไปคิดกับวิศวกรแล้วคิดกันว่าก็ตัดแบ็ตออกไปซะ ต่อตรงเข้ากับบ้านเอาเลยถ้าไม่ใช้ไฟฟ้าก็ฝากไฟฟ้าที่เราผลิตได้กับระบบของการไฟฟ้าแทน(ให้มิเตอร์หมุนย้อนกลับ) พอเราจะใช้ไฟฟ้ามิเตอร์ไฟก็หมุนคืน น่าจะเป็นอีกแนวคิดที่น่าจะใช้ได้นะครับ

 

คุณ leo พอทราบเปล่าครับ ว่า grid-tie นี่อุปกรณ์มันปลอดภัยขนาดไหน ผมอยากลองเหมือนกัน แต่กลัวว่าถ้าเกิดมันรวนขึ้นมา แล้วจะทำให้ระบบไฟ และอุปกรณ์ทั้งบ้านไปพร้อมกันหมด (โดยเฉพาะเวลาไฟที่มันติดๆดับๆ หรือไฟตก) :unsure:

 

อีกเรื่องนึงคือ มิเตอร์ไฟฟ้าแบบทั่วๆไป (ติดตั้งมาเกิน ๑๐ ปีแล้ว) นี่มันหมุนย้อนได้เปล่าครับ หรือว่าต้องติดต่อการไฟฟ้าให้ติดตั้งมิเตอร์ใหม่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมสงสัยอย่างนึงครับเรื่องแผงโซลาร์เซล

 

คือเคยเข้าเว็บพันทิปในห้องหว้ากอ ก็มีการวิเคราะห์กันว่าพลังงานแสงอาทิตย์ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้แน่นอน เนื่องจากต้นทุนในการติดตั้งและบำรุงรักษา กว่าจะคุ้มทุนต้องใช้เวลาร่วมสิบห้าปีขึ้นไปถึงจะคุ้มกับค่าติดตั้ง(ระหว่างนั้นต้องเปลี่ยนแบตที่เก็บไฟฟ้าที่ชาร์ตไว้จากแผงโซลาร์) จึงสรุปกันในวางวิทยาศาสตร์ว่าตราบใดที่การซื้อไฟใช้ยังถูกอยู่ แผงโซลาร์ก็จะไม่เกิด

 

แต่ทำไมต่างประเทศเช่นจีน หรือข่าวที่เยอรมันติดตั้งแผงนี้กลับทำกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เขาไม่น่าโง่กว่าเรานะครับที่ไม่รู้ว่ามันไม่คุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ หรือเขามีปัจจัยอื่นที่ไม่เหมือนไทย เฃ่นต้นทุนการติดเขาถูกกว่าเรามาก หรือไฟฟ้าที่ขายในประเทศเขาแพงกว่าของไทยมากดังนั้นการเลือกติดตั้งแผงโซลาร์เซลจึงคุ้มกว่าการซื้อไฟใช้ในระยะยาว

 

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

 

ประเด็นเรื่องพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ส่วนมากในตอนนี้ ที่อยู่ได้เพราะมีรัฐ(ประชาชน)สนับสนุนครับ การไฟฟ้าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตฯในราคาที่แพงกว่าที่ขาย เพื่อให้ผู้ผลิตเริ่มต้นธุรกิจได้ และรัฐบาลสามารถ "คุย" ได้ว่าเราก็มีพลังงานสีเขียวเหมือนกัน / อย่างในอเมริกา ก็มีโครงการลดภาษี(ประชาชน ก็เป็นเจ้าภาพสนับสนุนอยู่ดี) จากการติดตั้งระบบพลังงานไฟฟ้า และการอุดหนุน(ประชาชนจ่าย) การสร้างโรงงานผลิตโซลาเซลล์ (ซึ่งในที่สุดก็ล้มละลาย)

 

เคยอ่านบทวิเคราะห์ของ คริส มาร์เทนสัน (Crash Course) เขาคำนวณไว้ว่า "net energy" (พลังงานที่เราได้ - พลังงานที่ใช้ในการหา/ผลิต แหล่งพลังงาน) ของพลังงานแสงอาทิตย์นั้นต่ำว่าพลังงานจากฟอสซิลมาก ไม่ว่าเราจะมอง "ราคา" ของพลังงานในสกุลใดก็ตาม พลังงานที่มี "net energy" สูงกว่า ย่อมเป็นแหล่งพลังงานที่ถูกกว่าเสมอ

 

ส่วนตัวมองว่าตราบใดที่ยังมีพลังงานจากฟอสซิล/นิวเคลียร์อยู่ พลังงานแสงอาทิตย์ ก็จะยังสู้ไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับการหนุนจากรัฐ(ประชาชน)ครับ มาเฟียพลังงานฟอสซิลนั้นมีไม่กี่ตระกูล/บริษัท/ประเทศ พวกเขาสามารถลดราคาพลังงานสู้กับพลังงานทางเลือกได้เสมอ (เพราะ "net energy" ของพวกเขาสูงกว่าพลังงานแสงอาทิตย์)

 

ผมพยายามคำนวณ เพื่อวางแผนเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เสริมในชีวิตประจำวันเหมือนกันครับ

ข้อสรุปที่ได้ในตอนนี้ก็คือ ถ้าจะใช้ชีวิตอิงกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตเองจริงๆ จะต้องปรับเปลี่ยน

การใช้ชีวิตมากทีเดียว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณ leo พอทราบเปล่าครับ ว่า grid-tie นี่อุปกรณ์มันปลอดภัยขนาดไหน ผมอยากลองเหมือนกัน แต่กลัวว่าถ้าเกิดมันรวนขึ้นมา แล้วจะทำให้ระบบไฟ และอุปกรณ์ทั้งบ้านไปพร้อมกันหมด (โดยเฉพาะเวลาไฟที่มันติดๆดับๆ หรือไฟตก) :unsure:

 

อีก เรื่องนึงคือ มิเตอร์ไฟฟ้าแบบทั่วๆไป (ติดตั้งมาเกิน ๑๐ ปีแล้ว) นี่มันหมุนย้อนได้เปล่าครับ หรือว่าต้องติดต่อการไฟฟ้าให้ติดตั้งมิเตอร์ใหม่

 

ขอขอโทษคุณ wcg ด้วยครับ เริ่มความปลอดภัยหรือความเสถียรนี่ผมไม่แน่ใจเท่าไหร่ครับ ที่ผมทำตอนนั้นเป็นเรื่องว่าวิธีประยุคใช้กับอาคารและเรื่องว่าจะคุ้มค้าการ ลงทุนนะครับ แต่เห็นวิศวกร(ในตอนนั้น) เค้าบอกว่าทำได้ไม่มีปัญหานะครับถ้าจะทำโดยไม่คิดเรื่องเงิน

 

สำหรับบ้านเราโดยเฉพาะกรุงเทพ ปัญหามีสองสามเรื่องครับคือ ราคาอุปกรณ์บ้านเรายังสูงอยู่เคย คำนวนถ้าเต็มระบบกว่าจะคุ้มทุนก็ 15-20 ปีซึ่งเท่ากับอายุการใช้งานของอาคารแล้ว แล้วยังมีเรื่อง Batt ที่เป็นจุดอ่อนหลักซึ่งผู้ผลิตไม่ค่อยพูดถึงเท่าไหร่เพราะต้องเปลี่ยนทุก 2-3 ปี ซึ่งมีราคาสูงด้วย อีกอันที่สำคัญไม่แพ้กันคือ บ้านเราโดยเฉพาะกรุงเทพฝุ่นเยอะมากครับ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพตกลงไปเยอะ

 

ถ้าไม่มีรัฐสนับสนุนตอนนี้ก็คงเกิดยากครับ

 

รูปจากอากู๊

ระบบสำหรับบ้านโดยทั่วไป

Thaksin4.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอขอโทษคุณ wcg ด้วยครับ เริ่มความปลอดภัยหรือความเสถียรนี่ผมไม่แน่ใจเท่าไหร่ครับ ที่ผมทำตอนนั้นเป็นเรื่องว่าวิธีประยุคใช้กับอาคารและเรื่องว่าจะคุ้มค้าการ ลงทุนนะครับ แต่เห็นวิศวกร(ในตอนนั้น) เค้าบอกว่าทำได้ไม่มีปัญหานะครับถ้าจะทำโดยไม่คิดเรื่องเงิน

 

......

 

 

ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลครับ

 

เห็นทีคุณ leo พิมพ์แล้ว นึกถึงเวบเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ของ Leonics เลย

ท่าทางคงมีคนติดต่อไปเยอะ เลยถึงกับต้องเอาขึ้นเวบ

 

เขาพูดประมาณว่า ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบใช้ทั้งบ้าน ราคาประมาณ xxxxxxx ขึ้นไป

แต่ถ้าลูกค้ามีความประสงค์ บริษัทก็สามารถติดตั้งให้ได้ ไม่มีปัญหา

 

:D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรื่องแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นถี่มากมาย เกี่ยวกับการสูบน้ำมันจากใต้ดินอย่างมหาศาลมั้ยครับ

 

---ถ้าเอาเรื่องความเสี่ยงและภัยจากนิวเคลียร์หรือแผ่นดินไหวมาคิดเป็นต้นทุนด้วย ราคาจะต่างกันมากมายมั้ย และเรื่องอากาศเสียจากฟอสซิล

 

---พลังงานนิวเคียร์ถึงต้นทุนจะถูกกว่ามาก แต่ถ้าเป็นในเมืองไทยผมยอมจ่ายแพงดีกว่า เมืองไทยคงกินกันมากมายจนความปลอดภัยต่ำกว่ามาตรฐานมาก

 

-----อีกนานมากกว่าพลังงานสะอาดจะเป็นทางเลือกหลัก

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณงูดินไม่ทราบว่าใช้ระบบไหนหรอครับ ถ้าใช้เสริมไฟฟ้าในบ้านไม่ลองเอาแบ็ตออก แล้วให้ตัวแปลงไฟต่อเข้าระบบไฟฟ้าโดยตรงเลยละครับ

 

ผมเคยทำวิจัยสมัยเรียน ก็เจอปัญหาค่าดูแลเรื่องแบ็ตเหมือนกัน ตอนหลังเลยไปคิดกับวิศวกรแล้วคิดกันว่าก็ตัดแบ็ตออกไปซะ ต่อตรงเข้ากับบ้านเอาเลยถ้าไม่ใช้ไฟฟ้าก็ฝากไฟฟ้าที่เราผลิตได้กับระบบของการไฟฟ้าแทน(ให้มิเตอร์หมุนย้อนกลับ) พอเราจะใช้ไฟฟ้ามิเตอร์ไฟก็หมุนคืน น่าจะเป็นอีกแนวคิดที่น่าจะใช้ได้นะครับ

 

ผมทำเล่นระบบเล็ก ๆ เอาไว้เสริมในบางจุดอย่างไฟส่องสว่างในสวนหรือน้ำพุเล็ก ๆ และเป็นชุดเคลื่อนที่เอาไว้ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างโทรทัศน์ที่จะเปิดใช้เฉพาะช่วงกลางคืน คืนละ 3-4 ชั่วโมง ก่อนนอน อะไรทำนองเนี้ึยครับ ก็มีปัญหาเรื่องราคาแบตเตอรี่ ทำให้ค่าไฟฟ้าที่ลดลงไปเล็กน้อยไม่คุ้มกับค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ ส่วนระบบอินเวอร์เตอร์ที่ต่อกับสายส่งไฟฟ้าโดยตรงก็น่าสนใจ ติดตั้งเป็นระบบถาวรไปเลย ไม่ต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่น่าจะคุ้มค่าขึ้นมากกว่า ดูราคาอินเวอร์เตอร์แบบนี้ก็ค่อนข้างแพงเหมือนกัน

http://www.prigpiroo...5%E0%B8%B4.html

post-835-0-28376900-1344213191.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมทำเล่นระบบเล็ก ๆ เอาไว้เสริมในบางจุดอย่างไฟส่องสว่างในสวนหรือน้ำพุเล็ก ๆ และเป็นชุดเคลื่อนที่เอาไว้ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างโทรทัศน์ที่จะเปิดใช้เฉพาะช่วงกลางคืน คืนละ 3-4 ชั่วโมง ก่อนนอน อะไรทำนองเนี้ึยครับ ก็มีปัญหาเรื่องราคาแบตเตอรี่ ทำให้ค่าไฟฟ้าที่ลดลงไปเล็กน้อยไม่คุ้มกับค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ ส่วนระบบอินเวอร์เตอร์ที่ต่อกับสายส่งไฟฟ้าโดยตรงก็น่าสนใจ ติดตั้งเป็นระบบถาวรไปเลย ไม่ต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่น่าจะคุ้มค่าขึ้นมากกว่า ดูราคาอินเวอร์เตอร์แบบนี้ก็ค่อนข้างแพงเหมือนกัน

http://www.prigpiroo...5%E0%B8%B4.html

 

ผมเล็งๆ grid-tie ตัวนี้ไว้เหมือนกันครับ แต่ยังห่วงเรื่องความเสถียรอยู่

จากเวบที่คุณงูดินเอามาฝาก เขาขาย ๒๓๐๐๐ ลองดูเวบนี้ดูนะครับ

ผมเล็งไว้นานแล้ว แต่ยังไม่กล้าซื้อ grid-tie ๑๐๐๐ วัตต์ ของ GTI ราคาอยู่ที่ ๙,๕๐๐

 

http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=52335.0

 

ถ้าใช้โทรทัศน์จอไม่ใหญ่มาก ลองดูนะครับ เดี๋ยวนี้เห็นจอ LED บางรุ่นเริ่มต่อไฟกระแสตรงได้แล้ว

ต่อตรง หรือปรับแรงดันจากแบตเตอรี่นิดหน่อย สูญเสียพลังงานน้อยกว่าต่อตัวแปลงเป็นไฟกระแสสลับ

และลดความซับซ้อนของระบบลงมากทีเดียว ถ้าใช้ไฟกระแสตรงได้หมด น่าจะช่วยให้ใช้แบตได้นานขึ้นครับ

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรื่องแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นถี่มากมาย เกี่ยวกับการสูบน้ำมันจากใต้ดินอย่างมหาศาลมั้ยครับ

 

---ถ้าเอาเรื่องความเสี่ยงและภัยจากนิวเคลียร์หรือแผ่นดินไหวมาคิดเป็นต้นทุนด้วย ราคาจะต่างกันมากมายมั้ย และเรื่องอากาศเสียจากฟอสซิล

 

---พลังงานนิวเคียร์ถึงต้นทุนจะถูกกว่ามาก แต่ถ้าเป็นในเมืองไทยผมยอมจ่ายแพงดีกว่า เมืองไทยคงกินกันมากมายจนความปลอดภัยต่ำกว่ามาตรฐานมาก

 

-----อีกนานมากกว่าพลังงานสะอาดจะเป็นทางเลือกหลัก

 

เห็นด้วยกับคุณส้มโอมือครับ

 

แนวคิด "net energy" ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เอาประเด็นความเสี่ยง/ค่าเสียโอกาส มาพิจารณาด้วย

แต่ถ้ามามองดูกันว่า "แพงกว่า" และ "ถูกกว่า" นอกจากตัวเงินแล้ว นั่นหมายถึง "ความซับซ้อนของชีวิตมนุษย์" ด้วยแล้ว

ถ้ามนุษย์ไม่สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตให้ฉลาดขึ้น เท่ากับต้นทุนพลังงานที่ "แพงกว่า"

 

การใช้พลังงานที่ "แพงกว่า" หมายถึงว่า มนุษย์จะต้อง

ยอมลด "ความซับซ้อน" (หรือความสะดวกสบาย) ของตัวเองลงไปด้วย

 

อันนี้แพง ไม่แพง ไม่คุยกันเรื่องราคาในสกุล บาท ดอลล่าร์ หรือ ทรอย ออนซ์ เลยนะครับ คุยกันเรื่อง ผลตอบแทนจากพลังงานที่ลงไป ล้วนๆ (ราคาในสกุลต่างๆ ก็จะถูกกำหนดตาม net energy โดยอัติโนมัติ ยกเว้นว่าผู้คุมเขาบิดเบือนราคาด้วยนโยบาย)

 

ตัวอย่าง net energy สูงๆ (พลังงานถูกๆ) คือ เราออกแรงทำงานแบกหามหนึ่งวัน แต่ได้พลังงานมาทำงานแบกหามแทนเราได้ สิบวัน

ทำให้เรามีเวลาว่างไปคิดค้นอะไรใหม่ๆ, สร้างงานศิลปะ, หรือพักผ่อนหย่อนใจ ได้ถึง ๙ วัน

 

แต่ถ้า net energy ต่ำ (พลังงานแพงๆ) คือ เราออกแรงทำงานแบกหามหนึ่งวัน แต่ได้พลังงานมาทำงานแบกหามแทนเราได้ ห้าวัน ทำให้เรามีเวลาว่างเหลือเพียงแค่ ๔ วันเท่านั้น

 

 

 

ประเด็นนิวเคลียร์ ตอนนี้รู้สึกคล้ายๆกันครับ

แต่เรื่องนโยบาย หรือความต้องการของผู้คุมนี่ ประชาชนไม่มีสิทธิ์ออกเสียงครับ

อย่างญี่ปุ่นนี่ประชาชนส่วนหนึ่งก็ออกมาคัดค้านเต็มที่ ไม่ยอมให้เปิดโรงงานอีกครั้ง แต่เขาก็สั่งเปิดจนได้

 

มีสัมภาษณ์ครอบครัวที่อยู่ใกล้ ฟูกูชิมะ เขาบอกว่า ตอนแรกๆก็ไม่มีใครยอมให้สร้างโรงงานหรอก

แต่พอรัฐบาล นักวิชาการ และบริษัท ต่างก็ออกมายืนยันความปลอดภัย (ล้างสมอง?) ประชาชนก็

เลยยอมให้เปิด ถ้ารู้ว่าจะเป็นแบบนี้ พวกเขาก็ไม่ยอมหรอก :(

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หวั่น นโยบายใหม่การค้าธาตุหายากจีน เพิ่มอำนาจคุมกลไกราคาตลาดโลก blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 สิงหาคม 2555 15:16 น.

 

 

blank.gif 555000010329601.JPEG แฟ้มภาพแรงงานเดินผ่านเครื่องจักรคัดกรองธาตุหายาก ขณะนี้จีนกำลังจะนำนโยบายการค้าธาตุหายากใหม่มาใช้ (ภาพเอเอฟพี) blank.gif

เอเยนซี - จีนกำลังจะวางนโยบายกำหนดระบบราคาธาตุหายากแห่งชาติขึ้นใหม่ภายในเดือนหน้า (ก.ย.) เพื่อให้สามารถจัดการอุตสาหกรรมฯ และสร้างความเข้มงวดในการคุมการผลิตธาตุหายากได้

 

สำนักข่าวซินหวาของจีนเผยว่า บริษัทInner Mongolia Baotou Steel Rare-Earth (Group) Hi-Tech Co. ผู้นำการผลิตธาตุหายากของจีน เริ่มใช้นโยบายใหม่ในความร่วมมือกับบริษัทและสถาบันต่าง ๆ อีก 9 แห่งแล้ว

 

ซินหวาย้ำว่า บริษัทฯ ดังกล่าวตั้งอยู่ในเมืองเปาโถว อันเป็นแหล่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุ ในเขตพื้นที่มองโกเลียใน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีธาตุหายากชนิดเบามากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก

 

ขณะนี้บริษัทฯ ยังไม่ให้รายละเอียดใด ๆ เกี่ยวกับนโยบายใหม่การค้าธาตุหายากดังกล่าว

 

จีนครอบครองการผลิตธาตุหายาก 90 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก แม้ว่าจะครอบครองแหล่งธาตุฯเพียง 23 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ธาตุเหล่านี้เป็นองค์ประกอบหลักในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าไฮเทคต่าง ๆ

 

การเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์คุมการผลิตธาตุหายากของจีนเริ่มเด่นชัด เมื่อปลายปี 2553 ขณะนั้นญี่ปุ่นเผยว่าจีนยุติการส่งออกธาตุหายากชั่วคราว โดยอ้างว่าจีนใช้เหตุผลเรื่องความขัดแย้งน่านน้ำพิพาทมาเป็นเหตุ ฝ่ายจีนก็ปฏิเสธว่าไม่ได้ยุติการส่งออกธาตุหายาก

 

แหล่งข่าวใกล้ชิดกับองค์การการค้าโลก (WTO) เผยเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมาว่า องค์การฯ จะได้ไต่สวนจีนเรื่องการจำกัดการส่งออกธาตุหายาก หลังจากฝั่งสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ รวมถึงญี่ปุ่นร้องเรียนขึ้นมา

 

สหรัฐฯ อ้างว่า จีนจำกัดโควต้าการส่งออกธาตุหายาก กำหนดภาษี และข้อจำกัดอื่น ๆ ที่ทำให้ราคาส่งออกแพงขึ้นผิดหูผิดตา

 

ผู้แทนองค์การการค้าโลกในจีนเผยเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมาว่า นโยบายของจีนมีเป้าหมายเพื่อป้องกันแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ และต้องการบรรลุการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนมากกว่า และจีนก็ไม่ได้ปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศด้วย

 

สถานีวิทยุแห่งชาติจีนเผยว่า นายจัง รื่อฮุ่ย รองผู้จัดการทั่วไปของบริษัทInner Mongolia Baotou Steel Rare-Earth (Group) Hi-tech Co. เผยว่า นโยบายราคาธาตุหายากที่กำหนดขึ้นใหม่นี้ มีความโปร่งใสและสอดคล้องต้องกัน

 

รายงานฯ เผยด้วยว่า ศูนย์กลางการค้าจะเน้นการค้าเชิงกายภาพที่เป็นวัตถุดิบในขั้นเริ่มต้น ส่วนการค้าในอนาคตนั้นดูเหมือนจะใช้มาตรการใหม่ หากว่าการดำเนินการการค้าในปัจจุบันประสบความสำเร็จ

 

ลั่ว เหรินหยวน นักวิเคราะห์ประจำบริษัทหลักทรัพย์อินดัสเตรียล ซีเคียวริตี้ ในเซี่ยงไฮ้ เผยว่า จีนมีเป้าหมายเพิ่มอิทธิพลในโลก โดยใช้กลไกราคาธาตุหายากเป็นหัวใจสำคัญ

 

“การสถาปนานโยบายการค้าธาตุหายากมีเป้าหมายหลักเพื่อให้จีนมีปากเสียงได้มากขึ้น ในการกำหนดราคาธาตุหายากในตลาดสากล” ลั่วกล่าว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...