ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

เปิดบัญชีค่าใช้จ่าย "ศรส." เสิร์ฟอาหารจากโรงแรมหรู เมนูวีไอพีวันละ5แสน

ยิ่งการชุมนุมของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ปักหลักชุมนุมนานวันขึ้นเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทั้งเบี้ยเลี้ยงของเจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติงาน รวมทั้งค่าอาหารภายในศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.)

ทีมข่าว "คม ชัด ลึก" ได้สำรวจ และรวบรวมค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมนับตั้งแต่กลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) เริ่มชุมนุมต่อต้านรัฐบาลเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2556 ตามมาด้วยเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) กระทั่งมีเวทีที่สถานีรถไฟสามเสนของพรรคประชาธิปัตย์ และมารวมตัวกันจนกลายเป็น กปปส. ในปัจจุบัน

จากการสำรวจงบประมาณที่เบิกจ่ายมาใช้เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่กำลังพลตั้งแต่ที่มีการออกพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.ความมั่นคง) เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2556 ในพื้นที่ 3 เขต คือ พระนคร ดุสิต และป้อมปราบฯ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9-18 ตุลาคม 2556

ในครั้งนั้น พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.ศอ.รส.) ใช้กำลังพลประมาณ 30 กองร้อย และใช้กำลังสนับสนุนอีก 50 กองร้อย โดยเสียค่าเบี้ยงเลี้ยงให้แก่กำลังพลวันละ 700 บาท ซึ่งค่าเบี้ยเลี้ยงที่ได้รับจะสูงกว่าในยามปกติเกือบ 3 เท่าตัว

ค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรก 400 บาท จะเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงโดยตรงของกำลังพล และส่วนที่สอง 300 บาท จะถูกหักเป็นค่าอาหาร 3 มื้อ

หากคิดค่าใช้จ่ายในการนำกำลังตำรวจออกมาปฏิบัติการ (กำลังหลัก 30 กองร้อย + กำลังเสริมอีก 50 กองร้อย รวมทั้งสิ้นประมาณ 12,000 นาย คูณด้วยเบี้ยเลี้ยงวันละ 700 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-18 ตุลาคม 2556 รวม 10 วัน

เท่ากับว่า รัฐบาลต้องใช้จ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 8.4 ล้านบาท คิดรวม 10 วัน รัฐบาลจะเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 84 ล้านบาทในช่วงการออก พ.ร.บ.ความมั่นคง 10 วันแรก

ต่อมา ผู้ชุมนุมได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการย้ายไปปักหลักที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และดาวกระจายไปยังจุดยุทธศาสตร์สำคัญทั่วกทม. และปริมณฑล รัฐบาลจึงขยายพื้นที่ พ.ร.บ.ความมั่นคง ครอบคลุมทั้งกรุงเทพมหานคร จ.นนทบุรี จ.สมุทรปราการ (เฉพาะ อ.บางพลี) และ จ.ปทุมธานี (เฉพาะ อ.ลาดหลุมแก้ว) ส่งผลให้ต้องระดมกำลังตำรวจเข้ามาอีก

จากจำนวนหลักหมื่นต้นๆ กำลังตำรวจจึงต้องระดมมาเพิ่มเป็น 4-6 หมื่นนาย แต่กำลังก็ยังไม่เพียงพอจนต้องร้องขอกำลังทหารมาสนับสนุนภารกิจอีกไม่ต่ำกว่า 6,000 นาย โดยมีอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 700 บาท เช่นเดิม จึงน่าสนใจว่า ขณะนี้งบประมาณในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศถูกใช้ไปแล้วเท่าใดกันแน่ ซึ่งตัวเลขตรงนี้รัฐบาลมีหน้าที่ต้องเปิดเผยต่อสภาในภายหลัง

นอกจากนี้ ในวันเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ รัฐบาลก็ได้ระดมกำลังตำรวจทั่วประเทศกว่า 2 แสนนาย เพื่อใช้ดูแลการเลือกตั้ง เท่ากับว่า เฉพาะวันเลือกตั้งวันเดียว รัฐบาลใช้งบประมาณไปไม่น้อยกว่าวันละ 140 ล้านบาท เพื่อทำให้การเลือกตั้งผ่านพ้นไปได้ตามความต้องการของรัฐบาล โดยเบื้องต้นได้มีการคงกำลังไว้ 2-3 วันเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินด้วย

ขณะที่งบประมาณในการจัดกำลังอารักขา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในระหว่างที่ปฏิบัติภารกิจภายในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนแจ้งวัฒนะ ก็ถือว่า ไม่น้อยเช่นกัน โดยมีรายงานว่า มีการจัดกำลังทั้งตำรวจ และทหารเข้าไปดูแลในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1,000 นาย

ที่สำคัญ การที่คณะรัฐบาลรักษาการ และทีมงานฝ่ายความมั่นคงใช้พื้นที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น "วอร์รูม" ติดตามความเคลื่อนไหวในการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มกปปส. ก็ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเข้ามา โดยเฉพาะ "ค่าอาหาร" ที่ถูกสั่งตรงมาจาก "โรงแรมหรู" ระดับห้าดาว เพื่อจัดเลี้ยงให้แก่คณะรัฐมนตรี และคณะทำงานงานของ ศรส. ทั้งหมด

มีรายงานว่า เฉพาะค่าอาหารที่จัดเลี้ยงภายใน ศรส. ใช้งบประมาณวันละไม่ต่ำกว่า 1-2 แสนบาท และบางวันมีราคาสูงเกือบ 5 แสนบาท ตามเมนูอาหารที่เป็นที่ต้องการของบุคคลระดับวีไอพีในรัฐบาล

ขณะที่แหล่งข่าวในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเผยว่า ค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลรักษาการใช้ในแต่ละวันได้มีการเบิกจ่ายเงินของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นค่าใช้จ่ายไปก่อน โดยค่าใช้จ่ายแต่ละสัปดาห์ก็หลายแสนบาท ทั้งนี้ ในตอนแรกรัฐบาลจะเบิกจ่ายจากสำนักงบประมาณเพื่อมาเป็นค่าใช้จ่าย แต่เนื่องจากติดมาตรา 181 ของรัฐธรรมนูญ จึงไม่สามารถนำงบดังกล่าวมาใช้ได้

เท่ากับว่า งบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมต้องถูกใช้เป็นค่าใช้จ่ายของ ศรส. ไปเรื่อยๆ จนกว่าการชุมนุมจะยุติ หรือจนกว่ารัฐบาลรักษาการจะสิ้นสภาพไปเอง

Tags : ศรส.อาหารโรงแรมหรูวีไอพี

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 10:38

 

แม่เจ้า! ศรส.เสิร์ฟเมนูวีไอพีวันละ5แสน

โดย : ทีมข่าวความมั่นคง คมชัดลึก

news_img_562706_1.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไต่สวนพยาน5ปากปมกู้2ล้านล. จวกเละขัดรธน.เพิ่มหนี้ประชาชน

 

http://www.naewna.com/politic/90152

See Translation

 

 

1660213_691851567532305_969271308_n.jpg

 

1743528_580945421991411_725171778_n.jpg

 

 

1926699_580540752031878_1888860357_n.png

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

shared Nok Theerawat's photo.

 

Yesterday

 

ทุกถ้อยคำ ลวงหลอก ล้วนชอกช้ำ

ถามผู้นำ เห็นน้ำตา ชาวนาไหม

มัวเก็บข้าว ไม่ยอมขาย ได้อย่างไร

หรือกลัวใคร จะเปิดโปง ว่าโกงจริง

See Translation

 

ทุกถ้อยคำ ลวงหลอก ล้วนชอกช้ำ

ถามผู้นำ เห็นน้ำตา ชาวนาไหม

มัวเก็บข้าว ไม่ยอมขาย ได้อย่างไร

หรือกลัวใคร จะเปิดโปง ว่าโกงจริง

See Translation

 

1505540_762978670397025_1225024038_n.jpg

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 10:00

 

ปูดเงินล่องหน1.15แสนล้าน

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

news_img_562103_1.jpg

"วิชัย"เปิดเส้นทางรัฐขายข้าวในสต็อกให้บริษัทนายหน้า เครือข่ายการเมือง ราคาถูกกว่าตลาดถึง 50 % ปริมาณ 12.75 ล้านตัน ขาดทุน 1.15 แสนล้าน

"กรุงเทพธุรกิจ"สัมภาษณ์นายวิชัย ศรีประเสริฐ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย หลังเข้าให้ปากคำต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เกี่ยวกับโครงการจำนำข้าวโดยเฉพาะในขั้นตอนการระบายสต็อกและผลเสียหายจากโครงการ

นายวิชัย กล่าวว่า ปปช.ได้เรียกไปให้ถ้อยคำ การดำเนินการโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล โดยการส่งออกของไทยช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเสียแชมป์ไปให้กับอินเดียและเวียดนาม โดยยอดส่งออกลดลง 35%ในปี 2555 มูลค่าที่ได้ก็ลดลง 25% ขณะที่ปี 2556 ปริมาณการขายข้าวก็ลดลงอีก2 % ขณะที่มูลค่าลดลง 6 % โดยช่วง 2 ปีที่ผ่านมาปริมาณลดลง 37 %มูลค่าลดลงรวม 31% เงินเข้าประเทศลดลงและยังมีข้าวค้างสต็อกอีกรวมปี 2556/57 เข้าไปเป็นปริมาณ 20 ล้านตัน

รัฐบาลใช้เงินไปกับการจำนำข้าว 7.8 แสนล้านบาท จ่ายเงินคืนจากการขายข้าวให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท หมายความว่าเงินทุก 100 บาทที่รัฐบาลจ่ายไปนั้นได้รับเงินกลับคืนมา 18 บาท

"วิชัย"ชี้2ปมใหญ่ทำเงินหาย

เขากล่าวว่า เม็ดเงินที่หายไปเกิดจาก1.การคอร์รัปชัน 2.ไปตั้งราคาสูงกว่าตลาดเกิน 50% ทั้ง 2 ประเด็นทำให้รัฐบาลเงินหายไปประมาณ 2 ใน 3

"ผมคำนวณดูต้นทุนการจำนำข้าวต้นทุนต่อกิโลกรัมใกล้ๆ 30 บาทหรือ 29 บาทเศษ พ่อค้าส่งออกขายไปต่างประเทศราคาตลาดเฉลี่ย 20-21 บาทต่อกิโลกรัม แต่รัฐบาลกลับนำข้าวออกขายให้กับบริษัทนายหน้าหรือหน้าม้าของตัวเองเฉลี่ย 10-11 บาทต่อกิโลกรัม เกิดส่วนต่างที่ไปเข้ากระเป๋ากระบวนการพวกนี้กว่าแสนล้านบาท เมื่อคิดรวมๆทั้งหมดจากวิธีการเช่นนี้ตัวเลขกลมๆทุนกิโลกรัมละ 30 ได้เงินคืนมากิโลกรัมละ 10 บาท ทั้งหมดแล้วเงินที่เสียหายเฉียด 5 แสนล้าน จากเงินเกือบ 8 แสนล้านที่จ่ายไป"

นายวิชัย กล่าวว่า 2 ปีที่ผ่านมาส่งออกได้ปีละ7 ล้านตัน แต่ปีที่ผ่านมาส่งออกได้ประมาณ 6.6 ล้านตัน ดังนั้นข้าวที่เหลือในสต็อกอีก 20 ล้านตัน ไม่รู้ต้องใช้เวลาอีกกี่ปี หากส่งได้ปีละ 7 ล้านตัน คงต้องใช้เวลา 3 ปีถึงจะขายหมด

"ผมว่ามันรุนแรงมาก ทำกันจนกระทั่งเงินเข้าประเทศที่จะเอามาคืนโครงการรับจำนำก็คืนไม่ได้ เอาเงินไป 7-8 แสนล้าน คืนมาได้แค่ 1.4 แสนล้านบาทช่วง 2 ปีนี้ นั่นหมายถึงทุกๆ100 บาท เอามาคืนได้แค่ 18 บาท ถ้า Cash flow เป็นแบบนี้ มันทำต่อไม่ได้แน่นอน ชาวนาก็รอเงินค่าข้าวใบประทวนมาแล้วแต่ไม่ได้เงิน"นายวิชัย กล่าว

ตั้งราคาซื้อแพงต้นเหตุเสียแชมป์

นายวิชัย กล่าวว่าในอดีตเมื่อ 30 ปี เราเป็นแชมป์เพราะใช้วิธีกลไกตลาดค้าขาย เกษตรกรจะปลูกมากหรือน้อย สามารถขายให้หมดในราคาที่ดีที่สุดเท่าที่ให้ได้ แต่เวลานี้รัฐบาลมาต่อว่าพ่อค้า โดยเมื่อ 2 ปีที่แล้วบอกว่า พ่อค้า แข่งราคากัน ตัดราคากันจนทำให้เกษตรกรยากจนได้ราคาไม่ดี

"ผมบอกว่าถ้าราคาไม่ดี เกษตรกรไม่ปลูกมากหรอกช่วง 30 ปี ที่เราเป็นแชมป์โลก เขาก็พออยู่ได้ เราก็พออยู่ได้ กลไกตลาดมันบังคับ ให้พ่อค้าคนกลางอย่างผม เอาใจผู้ปลูกก็ไม่ได้ เอาใจผู้ซื้อก็ไม่ได้ ต้องเป็นคนกลางจริงๆเพื่อให้ 2 ฝ่ายอยู่กันได้ เราก็ทำสำเร็จ เวลานี้มีปัญหาเพราะเกษตรกรปลูกข้าว และเริ่มไม่ได้ตังค์ เพราะตั้งราคาสูงเกินไป"

ดังนั้นวิธีแก้ก็ต้องกลับไปที่กลไกตลาดง่ายที่สุด และต้องกลับไปให้เร็วที่สุดเพื่อที่จะให้สมดุล เพราะราคาเป็นเรื่องหลักในกลไกตลาดทั่วโลก ถ้าตั้งราคาผิดเมื่อไหร่ มีเรื่องกรณี ของไทยมีการตั้งราคา ที่สูงกว่าตลาด 50%จึงขายได้น้อยลง เป็นเรื่องที่ผิดไม่ควรทำ กลไกตลาดไม่มีใครให้ตั้งราคาแบบ ซี้ซั้ว แต่รัฐบาลกล้าตั้ง ตั้งราคาเดียว 2 ปี มีที่ไหนราคาสินค้าเกษตรแบบนี้

โวยอ้างพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบ

นายวิชัย กล่าวว่า กรณีที่รัฐบาลบอกว่าที่ผ่านมา พ่อค้าคนกลางเอาเปรียบชาวนาเลยต้องตั้งราคาแบบนี้ นายวิชัย มองว่านี่เป็นข้ออ้าง จริงๆ แล้วไม่ใช่ว่าพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบ พ่อค้าคนกลางมีฐานะดีกว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ เราได้กำไรน้อยมาก 1-2% ในการค้าข้าว แต่เราร่ำรวย เพราะแต่ละคนส่งข้าวเป็นแสนเป็นล้านตันไม่กี่คน ส่วนเกษตรกรได้กำไรมากว่าอยู่ที่ 50% หรือไม่ก็ 100% แต่เขายังจน เพราะเขามีข้าวไม่กี่ตันต่อราย พอคูณออกมาก็ได้เงินนิดเดียว จึงทำให้เกษตรกรร่ำรวยไม่ได้ ที่สำคัญเกษตรกรมีจำนวนมากมีที่นาจำกัด นั่นคือปัญหาหลัก แต่ประชาชนไม่เข้าใจ

ตั้งราคาสูงหลอกชาวนา

ส่วนรัฐบาลพอมาเล่นการเมืองก็หลอกประชาชน ว่าจะตั้งราคาให้สูงๆ แต่ไม่ยอมบอก ว่าตั้งราคายิ่งสูง ยิ่งขายไม่ได้ เพราะ 2 ปีที่ผ่านมา ราคาเราสูงเกินไปจึงขายลดลงไป 37% ไม่ใช่ตั้งราคาสูงแล้วขายได้ เงินเข้าประเทศก็น้อย แต่เกษตรกรไม่รู้เรื่องนี้ ถ้าเมื่อไหร่ เขารู้ว่าที่พ่อค้าให้ราคาเป็นราคาที่เหมาะสมที่สุดทำได้ทุกปี ตลอด 30 ปี ที่ทำมาจนเป็น แชมป์ เพราะราคาที่ตั้งมันยุติธรรมเหมาะสม ถึงได้ชนะ แต่พอรัฐบาลเข้ามาชก 2 ปีก็ไปแล้ว จนจ่ายเงินให้เกษตรไม่ได้ ถือเป็นบทเรียนชัดเจนว่า ราคายุุ่งไม่ได้ แต่ต้องช่วยเกษตรกรด้วยวิธีอื่น จุนเจือเรื่องรายได้

ปูดขบวนการหน้าม้าค้าข้าว

นายวิชัย ย้ำว่าปัญหาใหญ่ของวงจรจำนำข้าว มี 2 ประเด็น 1.ตั้งราคาผิด 2.มีการคดโกง เพราะรัฐบาลหลังจากหมอวรงค์ (นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม) ออกมาเปิดเผยในสภา และนอกสภา ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่ามีหน้าม้า ขบวนการซื้อข้าวจากรัฐบาลได้ราคาถูก และถูกกว่าตลาดมาก เป็นขบวนการที่เมื่อก่อนคิดไม่ออก จนกระทั่งหมอวรงค์ มาเปิดเผยว่าเสี่ยเปี๋ยง เป็นใคร โจ เป็นใคร ทุกคนเกี่ยวข้องกับการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ(จีทูจี) ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ของจริง แต่เป็นของปลอม แต่อ้างให้ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลขายข้าว แต่ไม่รู้ว่าขายไปราคาเท่าไหร่ ส่วนตนรู้ว่าราคาเท่าไหร่ เพราะตนคำนวณได้อยู่ที่กิโลกรัมละ10 บาท

"ผมเลยจับ 2 เรื่องมาชนกัน เรื่องที่คุณหมอวรงค์ นำมาเปิดเผยว่ามันมีหน้าม้า ชื่อนั้นชื่อนี้ จีทูจี ใครตัวแทนใครผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ก็โยงใยอยู่เป็นกลุ่มเดียวกัน แล้วก็มาซื้อข้าวจากรัฐบาลได้ 10 ล้านตัน รัฐบาลขายข้าวทั้งหมดประมาณ 13 ล้านตันข้าวสาร ได้เงินคืนธ.ก.ส ประมาณ 1.4 แสนล้านบาท เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 11 บาท แล้วพวกหน้าม้าเอามาขายต่อให้ผู้ส่งออกที่ต้องกราบกรานซื้อในราคา 20 บาทต่อกก. ทำภายใต้ 2 เรื่อง คือจีทูจี 10 ล้านตัน ทำข้าวถุงอีกไม่รู้เท่าไหร่ ขายกิโลกรัมละ 8 บาทกว่าบางกรณีข้าวกิโลละ 5 บาทกว่า มันไม่มีข้าวในตลาดที่ถูกแบบนี้ จะด้วยวิธีอะไร แต่มีหน้าม้า มาซื้อได้ ราคาถูก เงินก็รั่วไหล น่าจะเป็นแสนกว่าล้าน เฉพาะที่ขายแล้ว ที่เรายังไม่รู้อีกก็ยังคำนวณไม่ได้ " นายวิชัย ระบุ

อย่างไรก็ตาม หากนำสต็อกทั้งหมดประมาณ 26-27 ล้านตัน ถ้า 1 ตันหายไป 10 บาท เท่ากับ 2.7 แสนล้านบาท ที่หายไปมันเรื่องใหญ่มากที่ได้กำไรง่ายๆ พวกเราก็ไม่มีข้าวจะส่งออกต้องวิ่งไปกราบไหว้คนที่มีข้าวคือหน้าม้า เขาตั้งราคามา อยากได้กิโลกรัมเท่าไหร่ก็ต้องเอา เลยทำให้ยอดส่งออกลดลงเกือบ 40% เพราะราคาที่เขามาบังคับให้เราซื้อแพงเกินไปเลยเป็นปัญหา

Tags : วิชัย ศรีประเสริฐจำนำข้าวชาวนา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...