ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

ธุรกิจ : CEO Blogs

วันที่ 17 กันยายน 2555 04:00

news_img_ceo_6.jpg ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ คอลัมนิสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเศรษฐกิจ คอลัมน์ "เศรษฐศาสตร์จานร้อน" จำนวนคนอ่าน 3003 คน

ผลกระทบของมาตรการพิมพ์เงิน (QE) ของสหรัฐ

 

โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

 

 

 

news_img_470177_1.jpg

 

 

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ประกาศมาตรการพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรเป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 13 กันยายน (QE3) ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นดีใจ

 

และปรับตัวขึ้นกว่า 1.5% ทั้งนี้เพราะมาตรการที่ประกาศเกินความคาดหมายของตลาด คือ เฟดประกาศว่าจะซื้อ MBS (หลักทรัพย์ที่มีบ้านเป็นหลักประกัน) เดือนละ 40,000 ล้านบาทเริ่มต้นวันที่ 14 กันยายนเป็นต้นไปและคงดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับต่ำไปจนถึงกลางปี 2015 ที่สำคัญคือ จะดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินอย่างยิ่ง (highly accommodative) และเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วก็จะยังดำเนินนโยบายดังกล่าวต่อไปอีกนาน (considerable time after economic recovery strengthens) เป็นที่เข้าใจว่านโยบายทุ่มเงินอย่างไม่จำกัดจำนวนจะดำเนินต่อเนื่องจนกระทั่งการว่างงานปรับตัวลงเหลือ 7% หรือต่ำกว่านั้น มาตรการ QE3 นี้นักวิเคราะห์บางคน บอกว่าน่าจะเรียกว่า “QE infinity” มากกว่า เพราะไม่มีการกำหนดขอบเขตแต่อย่างใด และ Bank of America-Merrill Lynch คาดการณ์ว่าขั้นต่อไปเฟดจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอีกเดือนละ 45,000-60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป แปลว่า เฟดจะพิมพ์เงินเข้าระบบเดือนละเกือบ 100,000 ล้านเหรียญอย่างต่อเนื่องถึงปี 2015 คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งใหญ่กว่า QE1 และ QE2 รวมกัน

 

ทั้งนี้มาตรการ QE ที่ทำมาในอดีตนั้น ทำให้งบดุลของธนาคารกลางสหรัฐขยายตัวจาก 900,000 ล้านเหรียญมาเป็น 2,800,000 ล้านเหรียญในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา (ขณะที่งบดุลของอีซีบีเพิ่มจาก 1.1 ล้านล้านยูโรมาเป็น 3.1 ล้านล้านยูโรในช่วงเดียวกัน) ทั้งนี้หนี้ของธนาคารกลางนั้นส่วนใหญ่ก็คือธนบัตร (เงิน) ที่พิมพ์ออกมาสู่ระบบเศรษฐกิจนั่นเอง ซึ่งมาตรการคิวอีถือว่าเป็นมาตรการที่เป็นมิตรกับนักลงทุนมากที่สุด เพราะการที่ธนาคารกลางซื้อพันธบัตรคุณภาพดีออกจากมือของประชาชนนั้น ย่อมเป็นการผลักดันให้ประชาชนมีเงินที่จะนำไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ ดังนั้นนักลงทุนจึงมองว่าเมื่อมีข่าวร้ายว่าเศรษฐกิจทรุดตัวลง (เช่น การว่างงานเพิ่มขึ้น) แทนที่จะกลัวว่าผลประกอบการของบริษัทจะตกต่ำลง ก็จะมองว่าธนาคารกลางจะต้องเพิ่มมาตรการคิวอีเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจ ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าราคาหุ้นจะไม่ตกมีแต่ขึ้น คือ เชื่อว่า Bad news is good news เพราะเมื่อมีข่าวร้ายในเชิงของปัจจัยพื้นฐานก็จะมีมาตรการคิวอี (ข่าวดี) ออกมาพยุงหุ้น เพราะธนาคารกลางสหรัฐสรุปว่าการพยุงหุ้นคือกลไกที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจนั่งเอง

 

สภาวการณ์เช่นนี้นักลงทุนส่วนใหญ่ย่อมมีความพึงพอใจอย่างมากและเกือบทุกคนจะสนับสนุนมาตรการคิวอีอย่างไม่มีเงื่อนไข น้อยคนที่จะมองต่างมุมจากธนาคารกลางของสหรัฐหรืออีซีบี แต่ผมได้พบบทความที่มองต่างมุม 2 บทความซึ่งขอนำมาสรุปให้อ่านในครั้งนี้ครับ

 

บทความแรกเขียนโดย Ruchir Sharma หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มหภาคของกองทุน Morgan Stanley ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Financial Times วันที่ 10 กันยายน 2012 สรุปว่าการพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมากทำให้เงินทะลักไปสู่การเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาอาหารและราคาน้ำมัน เห็นได้จากตาราง 1

 

ปัญหาคือเมื่อคิวอีทำให้ราคาสินค้าปรับตัวขึ้น กำลังซื้อของประชาชนก็ลดลง แปลว่าคิวอีจะไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวแต่อย่างใด ตัวอย่างเช่นหากคิวอี 3 ผลักดันให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับสูงขึ้นเกินกว่า 120 เหรียญต่อบาร์เรลก็จะทำให้ผู้บริโภคต้องใช้เงินเพื่อซื้อน้ำมันคิดเป็นสัดส่วนเกินกว่า 6% ของรายได้ ซึ่งการศึกษาในอดีตพบว่าที่ระดับดังกล่าวผู้บริโภคจะเริ่มลดการบริโภคสินค้าอื่นๆ ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงในกลางปี 2010 และ 2011 นอกจากนั้นก็ยังพบว่าเมื่อราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น 20 เหรียญต่อบาร์เรล จีดีพีสหรัฐจะลดลง 0.3% และเงินเฟ้อจะปรับเพิ่มขึ้น 0.3%

 

ที่สำคัญคือคิวอีนั้นกระทบคนจนมากกว่าคนรวย เพราะสัดส่วนของรายจ่ายของคนจนที่ต้องนำไปใช้ในการซื้ออาหารและพลังงานนั้นสูงกว่าสัดส่วนของคนร่ำรวยอย่างมาก (ตาราง 2)

 

นอกจากนั้นคนที่รวยที่สุด 10%ของประเทศก็ยังถือหุ้นมากถึง 75% ของหุ้นทั้งหมดอีกด้วย กล่าวคือมาตรการคิวอีนั้นช่วยคนรวยและทำให้คนจนลำบากมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

 

นาย Sharma สรุปว่าธนาคารกลางสหรัฐกำลังพยายามฝืนธรรมชาติในการใช้คิวอีมาอุ้มเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำอย่างรุนแรง กล่าวคือโดยปกติแล้วเมื่อเศรษฐกิจเผชิญกับวิกฤติทางการเงิน เศรษฐกิจจะตกต่ำอย่างรุนแรงและใช้เวลา 7 ปีกว่าจะฟื้นตัว (เช่นกรณีของไทยในปี 1997 ซึ่งกว่าทุกอย่างจะเข้าสู่สภาวะปกติก็ต้องใช้เวลา 5-6 ปี) แต่ธนาคารกลางสหรัฐพยายามอุ้มให้เศรษฐกิจตกต่ำเล็กน้อยเพียง 1 ปี แต่ก็ส่งผลให้เกิดความบิดเบือนและเกิดผลกระทบข้างเคียงดังกล่าว

 

อีกบทความหนึ่งเขียนโดยนาย Peter Fisher หัวหน้าฝ่ายการลงทุนในตราสารหนี้ของกองทุน BlackRock ลงใน Financial Times เช่นกัน กล่าวตำหนิวิธีคิดของธนาคารกลางสหรัฐว่าการพิมพ์เงินออกมากดดอกเบี้ยลงให้ต่ำทั้งดอกเบี้ยระยะยาวและดอกเบี้ยระยะสั้นนั้นจะไม่ได้ทำให้เกิดการปล่อยสินเชื่อเพิ่ม (ซึ่งจะถูกนำไปลงทุนฟื้นเศรษฐกิจ) แต่อย่างใดเพราะหากคนให้กู้ได้ดอกเบี้ยต่ำเพียง 1-1.5% (พันธบัตร 5-10 ปี) ก็จะทำให้คนไม่อยากปล่อยกู้ กล่าวคือจะต้องตอบให้ได้ว่าหากผลตอบแทนจากการปล่อยกู้ต่ำแล้ว ทำไมจึงจะมีการปล่อยกู้มากขึ้น? ทั้งนี้ทาง Fisher กลับมองว่าเมื่อธนาคารกลางสหรัฐเข้าไปซื้อพันธบัตรมาเก็บเอาไว้เป็นจำนวนมากทำให้พันธบัตร (สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยสุด) ราคาสูงมาก (ดอกเบี้ยต่ำมาก) นักลงทุนที่มีเงินอยู่ในมือก็จะไม่กล้าซื้อพันธบัตรราคาแพงดังกล่าว เพราะกลัวว่าราคาพันธบัตรจะปรับลดลงในอนาคต (เพราะดอกเบี้ยจะต้องปรับขึ้นกลับไปสู่ระดับปกติ) คนที่คาดการณ์เช่นนั้นก็จะยอมถือเงินเอาไว้ (เก็บซุกใต้หมอน) ดีกว่านำเอาเงินไปลงทุนที่มีความเสี่ยง กล่าวคือมาตรการคิวอีของธนาคารกลางสหรัฐอาจกำลังนำไปสู่กับดักสภาพคล่อง (liquidity trap) ก็ได้ หมายความว่าธนาคารกลางสหรัฐพิมพ์เงินเข้าไปเท่าไหร่ประชาชนก็จะเก็บเงินกองเอาไว้เฉยๆในปริมาณที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ได้นำเอาไว้ใช้ทำประโยชน์แต่อย่างใด

 

หากจะนำเอามาโยงกับประเทศไทยผมก็ขอกล่าวถึงบทความของดร.บัณฑิต นิจถาวรที่ลงในกรุงเทพธุรกิจเมื่อ 10 กันยายน ซึ่งแสดงความกังวลว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทย “ขณะนี้ขยายตัวจากการเร่งตัวของการใช้จ่ายที่มาจากการสร้างหนี้ (debt-driven spending-led economy)” ดังนั้นนโยบายการเงินจะต้องนำปัจจัยนี้มาพิจารณาในการกำหนดทิศทางดอกเบี้ย ทั้งนี้ ดร.บัณฑิตกล่าวต่อไปว่า “อัตราดอกเบี้ย ณ ระดับปัจจุบันไม่ได้เป็นข้อจำกัดต่อการใช้จ่ายในประเทศ” และสรุปว่า “ในทุกวิกฤติที่เกิดขึ้นในโลกต้นเหตุจะเหมือนกัน คือมาจากการก่อหนี้ที่เกินพอดี”

 

ผมเห็นด้วยกับดร.บัณฑิตและมีประเด็นเพิ่มเติมว่ามาตรการกดดอกเบี้ยลงให้ต่ำ (ทั้งดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาว) ของสหรัฐอเมริกาและยุโรปอย่างต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 2-3 ปีข้างหน้านั้นย่อมจะเป็นสิ่งที่จะท้าทายประเทศไทยอย่างมาก เพราะเรากำลังเห็นต่างชาติเพิ่มการถือครองพันธบัตรรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างมาก (เงินทุนไหลเข้า) ในขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ของไทยก็ได้เริ่มกู้ยืมเงินจากต่างประเทศแล้ว

Tags : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเงิน - การลงทุน : ถนนนักลงทุน

 

วันที่ 17 กันยายน 2555 01:00

 

SET Index ขึ้นมารอบนี้! ต้อง 'ขาย'

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เซียนหุ้นทำนาย ผลพวงเฟดออก QE3 สิ้นปี!..เป้าหมายดัชนี 1,400 จุด ได้เห็นแน่! เตือนระยะสั้นระวังกองทุน 'ทิ้งหุ้น' ทำกำไร นักวิเคราะห์ดังมองเศรษฐกิจไทยไม่หนุนให้ SET ทะยานแบบม้วนเดียว ขึ้นมารอบนี้ต้อง 'ขาย' ก่อน

 

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2555 ตลาดหุ้นไทยเคยทำจุดสูงสุดในรอบปีไว้ที่ระดับ 1,247 จุด หลังเฟดออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 (QE3) ด้วยการซื้อหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน (MBS) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน นอกจากนี้ FOMC ยังมีมติให้ขยายเวลาการคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเป็นพิเศษออกไปจนถึงกลางปี 2558 จากเดิมที่เคยกำหนดไว้ถึงช่วงกลางปี 2557

ล่าสุด SET Index ทะยานขึ้นมาที่ 1,280 จุด สูงสุดในรอบ 16 ปี เท่ากับย้อนหลังกลับไปในปี 2539 หลายคนมองว่าเป้าหมายดัชนีปลายปีนี้ ที่ระดับ 1,400 จุด ไม่ไกลเกินเอื้อม!! แต่ระหว่างทางนับจากนี้เริ่มมีเสียง "เตือนให้ระวัง" หุ้นไทยปีนี้ วิ่งมาไกลจากระดับ 1,025 จุด ขึ้นมาแล้วเกือบ 25% SET Index ขึ้นมารอบนี้! ควร "ขาย" เซียนฟันด์โฟลว์ วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนีตี้ มองว่าการออกมาตราการ QE3 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ได้เหนือความคาดหมายมากนัก ซึ่งการใช้มาตรการรอบนี้ถือได้ว่าแก้ปัญหาตรงจุดเนื่องจากเข้าไปช่วยเสริมตลาดสินเชื่อบ้านเพื่อให้ภาพเศรษฐกิจจริงดีขึ้น และอัตราการว่างงานลดลง อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นได้ขึ้นมารับข่าวดีพอสมควรแล้ว เชื่อว่า QE3 รอบนี้จะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นน้อยกว่า QE สองครั้งแรก ตลาดหุ้นปรับขึ้นแล้วจะลดลงจากแรงเทขายทำกำไร

วิศิษฐ์ ยังเตือนนักลงทุนอย่าเพิ่ง "ย่ามใจ" กับปัญหาภาคการเงินในยุโรป แม้รัฐบาลเยอรมนีอนุมัติให้สามารถตั้งกองทุน ESM ได้แล้ว เบื้องต้นจะทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่าวิกฤติสถาบันการเงินในยุโรปจะไม่ลุกลามไปกว่านี้ และธนาคารจะไม่ล้ม ภายใน 1-2 ปีข้างหน้านี้ อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญของยุโรปคือหนี้สาธารณะในหลายประเทศยังไม่ได้รับการแก้ไข รวมถึงอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง ทำให้ปัญหาเศรษฐกิจจริงในยุโรปยังไม่จบลงอย่างเบ็ดเสร็จ

ส่วนทางด้านเศรษฐกิจจีน คาดว่าเดือนตุลาคมนี้ รัฐบาลจีนจะออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยพยุงตลาดหุ้นได้อีกทาง

สำหรับภาพรวมตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ เซียนฟันด์โฟลว์ คาดว่าน่าจะมีการ "ปรับฐาน" อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากหุ้นขึ้นมาถึงจุดนี้ได้เพราะรับรู้ข่าวดีมาพอสมควรแล้ว แต่ภาคเศรษฐกิจจริงยังไม่ได้ฟื้นตัวมาสนับสนุนตลาดหุ้นเท่าที่ควร เห็นได้จากจีดีพีของแต่ละประเทศที่แทบไม่มีการปรับขึ้นอีกเลย การใช้ QE3 ตลาดหุ้นจะปรับขึ้นแรงก่อนแล้วค่อยปรับตัวลง ซึ่งการปรับตัวลงทุกครั้งคือ "โอกาสในการซื้อหุ้น" ถ้าซื้อตอนที่ราคาอยู่สูงจะเป็นความเสี่ยงมากกว่าโอกาส

"ตลาดหุ้นอาจจะถูกเทขายทำกำไรในช่วงที่เหลือของปี แต่เชื่อว่าจะไม่หลุด 1,200 จุด เนื่องจากตอนนี้สภาพคล่องในตลาดมีสูงมาก และนักลงทุนมีเงินพร้อมจะซื้อหุ้นอีกเยอะ เป้าดัชนี 1,300 จุด ในปีนี้เชื่อว่าจะยังเกิดขึ้นได้และมีโอกาสไปได้ไกลกว่านั้นด้วย" วิศิษฐ์ คาดการณ์

นักวิเคราะห์ชื่อดัง กวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.กสิกรไทย แนะนำว่า หุ้นขึ้นมารอบนี้ต้อง “ขาย” เพราะตอนนี้ถ้าเทียบอัพไซด์ที่จะได้กำไรกับดาวน์ไซด์ ถือว่า "ไม่คุ้มค่า" กับการลงทุนแล้ว ที่ผ่านมา บล.กสิกรไทยเชียร์ให้ซื้อหุ้นมาตลอดช่วงที่ดัชนีปรับตัวลงต่ำกว่า 1,200 จุด เพราะมองว่าดัชนีจะกลับขึ้นมาทำ "นิวไฮ" (เหนือ 1,247 จุด) ได้อีกครั้ง ในเมื่อทะลุขึ้นมาแล้วก็ควรจะถึงเวลา "ขาย" มากกว่า "ซื้อ"

"ตลาดหุ้นที่อยู่บนฐานเศรษฐกิจที่โตแบบเรื่อยๆ แบบนี้คงไม่ขึ้นทันทีรวดเดียว ทิศทางคงจะเป็น "ไซด์เวย์อัพ" มีกรอบกว้างประมาณ 200-300 จุด ดังนั้นจากระดับ 1,300 จุด จะลงมา 1,100 จุด มันเป็นไปได้ ถ้าขึ้นไปถึง 1,300 จุด ก็ควรขายอย่าไปฝืนตลาด ระดับ 1,100 จุด เป็นระดับที่ "ปลอดภัย" สามารถเข้าลงทุนได้เพราะอาจจะได้ผลตอบแทนถึง 20%”

กวี คาดว่าถึงสิ้นปีนี้ โบรกเกอร์คงไม่มีการปรับประมาณกำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นอีกแล้ว ไตรมาสสองที่ผ่านมาก็ปรับขึ้นน้อยมาก แถมปี 2556 ยังมีความเสี่ยงรออยู่อีก อย่างกลุ่มพลังงานมีคนคาดการณ์ราคาน้ำมันเฉลี่ย 112 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าจะถึงหรือไม่! ธนาคารพาณิชย์ก็คงไม่มีการปล่อยสินเชื่อได้มากกว่านี้อีกแล้ว

ประเด็นข่าวในต่างประเทศตอนนี้ข่าวดีที่จะทำให้ "หุ้นขึ้น" ได้ "หมด" ไปแล้ว ยุโรปก็ยืดปัญหาออกไปได้ แต่ที่กำลังจะเกิดขึ้นคือปัญหา Fiscal Cliff (ขึ้นภาษีและรัดเข็มขัด) ของสหรัฐอเมริกา การเลือกตั้งประธานาธิบดีจะเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2555 กว่าจะเข้ารับตำแหน่งก็เดือนกุมภาพันธ์ 2556 แต่ประเด็นเรื่องต้องจ่ายภาษีเพิ่มหรือไม่จะเกิดขึ้นในต้นปีหน้าแล้วถึงตอนนี้ยังไม่มีการพิจารณาอะไรเลย ต้องติดตามว่าภายในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน นี้จะมีการพิจารณากันหรือยัง

ข้อสอง..เศรษฐกิจจีนยังไม่ฟื้น กว่าที่มาตรการการเงินการคลังที่รัฐบาลจีนใส่เพิ่มเข้าไปมันต้องใช้เวลามากกว่า 2-3 เดือน คาดว่าเร็วๆ นี้ดัชนี PMI ในภาคการผลิตของจีนน่าจะยังต่ำกว่าระดับ 50% ความกังวลในตลาดจะเกิดขึ้นว่าทำไม! ใส่เงินเข้าไปแล้วทำไมเศรษฐกิจไม่ฟื้น..? ถ้าดูในอดีตต้องใช้เวลา 6 เดือนถึงจะเห็นผล แต่นี่เพิ่งผ่านมาได้แค่เดือนเดียว คาดว่าภายในเดือนธันวาคม 2555 ถึงจะเห็นตัวเลขการฟื้นตัว

ส่วนยุโรปตอนนี้รับข่าวดีไปหมดแล้วเรื่องการตั้งกองทุน ESM ละครหน้าฉากถือว่าจบแล้ว ต่อไปคือละครหลังฉากที่จะต้องมีความวุ่นวายในการบริหารกองทุนแน่นอน ทั้งหมดนี้คือเหตุผลสนับสนุนว่า "อัพไซด์" ตลาดหุ้นไทยเริ่ม "น้อยลง" แล้ว

หุ้นอะไรที่น่าสนใจถ้าตลาดมีการ "ปรับฐาน" ลงมารอบนี้..? นักวิเคราะห์ชื่อดัง บอกว่า ต้องลงทุนหุ้น "ในประเทศ" ต่อให้เศรษฐกิจโลกมีปัญหาก็ยังไปได้ ให้ลงทุนหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากเงินลงทุนภาครัฐ เช่น โครงการน้ำ รถไฟฟ้าความเร็วสูง ฯลฯ ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจจะลดลงได้อีก โอกาสเพิ่มขึ้นคงน้อยจะเป็นตัวกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ

“กลุ่มธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ ยังดีอยู่แต่อย่าซื้อตอนนี้ ลงมาค่อยซื้อ รองลงมาคือกลุ่มโรงแรม และพาณิชย์ อย่างพวก BIGC HMPRO CPALL เป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการลงทุนในประเทศ รวมถึงพวกหุ้นตัวเล็กๆ ก็น่าสนใจ ตัวไหนมีสตอรี่ราคาต่ำกว่า Book Value เล่นเก็งกำไรได้ แต่ต้องมี Stop Loss ไว้ด้วย”

กวี กล่าวปิดท้ายว่า ทุกครั้งที่ตลาดหุ้นปรับฐานคือ "โอกาสซื้อ" เพราะภาพใหญ่ยังอยู่ในช่วง "ไซด์เวย์อัพ" แต่ไม่ใช่ขึ้นขาเดียว สูตรการลงทุนปีนี้ คือ SET ขึ้นทำนิวไฮเน้น "ขาย" ใกล้นิวโลว์เดิมที่ 1,100 จุด "ซื้อ" ส่วนตัวคิดว่าภายใน 2 ปี (2556-2557) ดัชนี 1700 จุดได้เห็น..ถ้าโตปีละ 10% ก็ถึงแล้ว!

--------------------------

เซียน! ทำนาย 1,400 จุด สิ้นปี!!!

-------------------------

เอกยุทธ อัญชันบุตร นักลงทุนรายใหญ่ และเจ้าของเว็บไซต์ "ไทยอินไซด์เดอร์" แนะนำการลงทุนภายในช่วง 1-2 สัปดาห์นี้ว่า มาตรการ QE3 อาจทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 3-5% จากนั้นอาจจะมีการปรับฐานลงมา แต่การออก QE3 ได้เพิ่มความมั่นใจว่าภายในสิ้นปี 2555 ดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสจะขึ้นยืนระดับ 1,400 จุด ได้ไม่ยาก

"ภายในเดือนกันยายนนี้ ผมไม่แนะนำให้นักลงทุนซื้อหุ้น อยากให้รอไปจนกว่าจะถึง "สิ้นเดือน" ส่วนใครที่มีหุ้นอยู่ในมือควรหาจังหวะ "ขาย" ที่ระดับ 1,280 จุด"

แต่หากนักลงทุนรายใดต้องการซื้อหุ้นจริงๆ แนะนำให้ช้อนกลุ่มสื่อสาร เช่น หุ้น INTUCH เพราะโอกาสที่ราคาจะวิ่งไปแตะ 80-100 บาท ไม่ใช่เรื่องยาก หากดูจากพฤติกรรมของรายใหญ่หุ้นตัวนี้อย่าใช้เหตุผลมาก (หัวเราะ) นอกจากนี้ หุ้น ADVANC และ DTAC ก็ยังมีอัพไซด์อีกประมาณ 20% สำหรับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ให้เน้นที่ 3 ตัวใหญ่ คือ BBL, KBANK และ SCB ถ้าฟันด์โฟลว์จากต่างประเทศไหลเข้ามาจะมาซื้อหุ้นพวกนี้

ถามว่าช่วงนี้หุ้นกลุ่มพลังงานน่าซื้อหรือไม่! เอกยุทธ ตอบว่า รอให้ตลาดปรับตัวลดลงหน่อยแล้วค่อยเข้าไป "เก็บ" ที่ผ่านมาหุ้นกลุ่มพลังงานยังไม่ได้ช่วยหนุนดัชนี ยังไง! กลุ่มนี้ก็ต้อง "มา" ถ้าจะลงทุนแนะนำตัวหลักๆ ในกลุ่มปตท. ได้แก่ PTT, PTTEP, PTTGC และ IRPC ส่วนตัวเชื่อว่าหุ้น PTT ได้เห็น 400 บาทแน่! ไม่เกินสิ้นปีเดี๋ยวนักลงทุนก็หาเหตุผลมาเล่นหุ้นกลุ่มนี้เอง..คอยดูซิ! เพราะรอบที่ผ่านมาราคาขึ้นมาน้อยกว่ากลุ่มสื่อสาร และธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวนำตลาด ถ้าประเมินจากพื้นฐานตอนนี้หุ้นกลุ่มพลังงานมีอัพไซด์มากสุดประมาณ 30%

"ช่วงนี้ไม่มีเรื่องอะไรให้ต้องจับตาดูอย่างมีนัยสำคัญแล้ว ทุกอย่างน่าจะดีขึ้นเพราะ QE3 จะทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาฟื้นตัว คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐ (GDP) จะเติบโตอยู่ราวๆ 2% ความมั่นใจน่าจะกลับมาแล้ว แต่อยากให้จับตาดูกองทุน ซึ่งอาจขายหุ้นทำกำไรออกมาก่อนจะปิดงบไตรมาสที่ 3 จากปกติที่จะทำ Window Dressing ซื้อหุ้นเพื่อสร้างตัวเลขทางบัญชีให้ดูดี"

พีรเจต สุวรรณนภาศรี ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ยูเนี่ยน อินทราโก้ ในฐานะนักลงทุนวีไอรายใหญ่ ประเมินว่า มาตรการ QE3 ที่ออกมาจะทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 30-40 จุด หรืออาจทะยานขึ้นไปแตะ 1,300 จุดได้ในระยะสั้น แต่หากมองภาพรวมในอีก 3 เดือนข้างหน้า ภายในสิ้นปี 2555 ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสขึ้นไปยืน 1,400 จุด เพราะ QE3 มีผลทางจิตวิทยาค่อนข้างสูง ตอนแรกส่วนตัวเชื่อว่าสหรัฐอเมริกาจะใช้ QE3 หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีผ่านไปแล้ว 3-6 เดือน แต่มีการนำมาใช้เร็วกว่าที่คาด

"นักลงทุนอยากเล่นหุ้นที่รับข่าว QE3 ก็ต้องไปซื้อดักกลุ่มที่ฟันด์โฟลว์จะมาเล่น คงหนีไม่พ้นกลุ่มพลังงานตัวใหญ่ๆ อย่างเช่น PTT, BANPU, PTTGC และ TOP รวมถึงกลุ่มคอมมูนิตี้ที่อาจออกมากระโดดโลดเต้นได้สักระยะ แต่ถ้าซื้อแล้วเงินต่างประเทศไม่มาตามนัด ก็อาจต้องถือกันยาวรอรอบต่อไป"

ส่วนนักลงทุนที่ไม่อยากเล่นข่าว QE3 ให้หันไปดูหุ้น "รับเหมาก่อสร้าง" ขนาด "กลาง-เล็ก" ที่ได้ประโยชน์จากเมกะโปรเจคของรัฐบาล แต่จะเป็นหุ้นตัวไหนบ้างต้องไปตีโจทย์กันเอาเอง แนะนำว่าให้เน้นตัวที่มีการบริหารจัดการที่ดี มีเงินสดเหลือเยอะๆ และสามารถรับรู้รายได้ไปนาน 1-2 ปี

"ตอนนี้ผมกำลังสนใจหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ มีโอกาสได้คุยกับซีอีโอที่ทำธุรกิจบริหารจัดการน้ำ เขาบอกเทรนด์กำลังมา ซึ่งผมฟังข้อมูลแล้วก็ชอบ เพราะเรื่องของน้ำมันยากต่อการจัดการจริงๆ"

"การออก QE3 รอบนี้ ผมคิดว่ามันเป็นเกมการเมืองเพื่อเรียกคะแนนเสียงจากประชาชนก่อนมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 ฉะนั้นเราต้องดูกันยาวๆ ว่าเงินจะเข้าสู่ระบบจริงหรือไม่! เพราะถ้าเงินไม่เข้าระบบแล้วไปผ่านแบงก์เหมือน QE2 ทุกอย่างก็จบ มันไม่มีอะไรดีขึ้น"

พีรเจต บอกว่า ตลาดหุ้นไทยตอนนี้ “ไม่ถูกแล้ว” (ถ้าเทียบในภูมิภาค) แต่ถ้าเราเลือกหุ้นดีต่อให้มีเรื่องร้ายๆมากระทบ หุ้นเราก็จะลงน้อยกว่าตลาดแล้วก็จะกลับมาได้ในที่สุด

"ผมแนะนำอย่างนี้ คุณพยายามหาหุ้นที่เป็น “พระเอก” ให้เจอ แล้วถือไปเลยยาวๆ อย่างน้อย "ครึ่งปี" ถ้าหาไม่เจอก็อาศัย "เล่นสั้น" ในหุ้นที่มีสตอรี่ที่ดี ในตลาดตอนนี้มีเยอะแยะ ยกตัวอย่างผมลงทุนกลุ่มลิสซิ่ง มองว่าเขาจะได้รับประโยชน์จากมาตรการรถคันแรกของรัฐบาล แต่ตอนนี้ขายไปแล้ว"

ถามว่าตลาดหุ้นแบบนี้แบ่งพอร์ตลงทุนอย่างไรดี..? พีรเจต แนะนำ ให้แบ่งเงินลงทุนหุ้นเป็น 2 กอง ก้อนแรกเป็นหุ้นที่ชอบมากๆ ซื้อไปเลย 60-70% ส่วนอีกกองเล่นหุ้นตามกระแส 20-30% ช่วงนี้นักลงทุนควรใช้ความระมัดระวังพอสมควร เพราะหุ้นที่ถูกดึงขึ้นมาเล่นตามกระแสมี "ของไม่ดี" ผสมโรงมาด้วย

Tags : set index

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเงิน - การลงทุน : บทวิจัยเศรษฐกิจ

 

วันที่ 14 กันยายน 2555 11:10

 

แถลงFOMCซื้อพันธบัตร4หมื่นล้านดอลล์/เดือน

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

news_img_470086_1.jpg

 

เบน เอส. เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารสหรัฐ

 

 

แถลงประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC)การซื้อหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกันของหน่วยงานที่รัฐบาลสนับสนุนวงเงิน4หมื่นล้านดอลล์/เดือน

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกแถลงการณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (

FOMC

) เสร็จสิ้นลงเมื่อวานนี้(13ก.ย.)ว่า ข้อมูลที่ได้รับนับตั้งแต่ที่คณะกรรมการ

FOMC

ประชุมกันในเดือนส.ค.บ่งชี้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในอัตราปานกลางในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ขณะที่การเติบโตด้านการจ้างงานเป็นไปอย่างเชื่องช้า และอัตราว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง

 

ส่วนการใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังคงเพิ่มขึ้น แต่การขยายตัวในการลงทุนด้านสินทรัพย์ถาวรของภาคธุรกิจดูเหมือนชะลอตัวลง ขณะที่ตลาดที่อยู่อาศัยเริ่มแสดงสัญญาณว่ามีการปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าจากระดับที่ไม่น่าพอใจนักก็ตาม ส่วนเงินเฟ้อปรับลดลง แม้ว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญบางชนิดปรับตัวขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อระยะยาวยังคงทรงตัว

 

คณะกรรมการต้องการที่จะสนับสนุนการจ้างงานให้ขยายตัวในระดับสูงสุด และสร้างเสถียรภาพด้านราคา ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่สอดคล้องกับขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเฟด คณะกรรมการกังวล หากไม่มีการผ่อนคลายนโยบายต่อไปแล้ว การขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับปัจจุบันอาจจะไม่แข็งแกร่งเพียงพอที่จะทำให้ตลาดแรงงานฟื้นตัวอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ความกดดันในตลาดการเงินทั่วโลกยังคงก่อความเสี่ยงขาลงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ คณะกรรมการคาดว่าเงินเฟ้อในระยะกลางมีแนวโน้มจะอยู่ที่หรือต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2%

 

ทั้งนี้ เพื่อที่จะหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งขึ้นและเพื่อสร้างความมั่นใจว่าเงินเฟ้ออยู่ในอัตราที่สอดคล้องกับเป้าหมายของเฟดนั้น คณะกรรมการได้เห็นพ้องกันในการผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติม โดยการซื้อหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน (MBS) ของหน่วยงานที่รัฐบาลให้การสนับสนุน วงเงิน 4.0 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน

 

นอกจากนี้ คณะกรรมการจะยังคงดำเนินแผนการที่จะขยายกำหนดไถ่ถอนเฉลี่ยของการถือครองสินทรัพย์ที่ได้ประกาศเมื่อเดือนมิ.ย.ต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้ และจะยังคงดำเนินนโยบายที่มีอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับการนำการชำระเงินต้นจากการถือครองตราสารหนี้ของหน่วยงานที่รัฐบาลให้การสนับสนุน และ MBS ของหน่วยงานที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ไปลงทุนใหม่ใน MBS ของหน่วยงานที่รัฐบาลให้การสนับสนุน การดำเนินการเหล่านี้ ซึ่งจะทำให้การถือครองหลักทรัพย์ระยะยาวของคณะกรรมการเพิ่มขึ้นราว 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ในแต่ละเดือนจนถึงสิ้นปี 2555 นั้น คาดว่าจะช่วยลดแรงกดดันของอัตราดอกเบี้ยระยะยาว และช่วยหนุนตลาดจำนอง รวมทั้งช่วยทำให้ภาวะทางการเงินในวงกว้างมีความผ่อนคลายมากขึ้น

 

คณะกรรมการ จะจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่จะมีการเปิดเผยในวันข้างหน้าและจับตาดูความคืบหน้าทางการเงินในช่วงหลายเดือนข้างหน้าอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากแนวโน้มของตลาดแรงงานยังไม่ปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก คณะกรรมการจะยังคงเข้าซื้อ MBS ของหน่วยงานที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ดำเนินการซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติม และใช้เครื่องมือด้านนโยบายอื่นๆตามความเหมาะสมจนกว่าจะมีการปรับตัวดีขึ้นในบริบทของความมีเสถียรภาพด้านราคา ส่วนในการตัดสินใจเกี่ยวกับขนาด อัตราและองค์ประกอของการซื้อสินทรัพย์นั้น คณะกรรมการจะพิจารณาอย่างเหมาะสมอยู่เสมอเกี่ยวกับประสิทธิภาพที่มีความเป็นไปได้และต้นทุนของการซื้อดังกล่าว

 

ในส่วนของการสนับสนุนความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ในด้านการจ้างงานสูงสุดและความมีเสถียรภาพด้านราคานั้น คณะกรรมการคาดว่าการผ่อนคลายนโยบายการเงิน จะยังคงเป็นจุดยืนที่เหมาะสมหลังจากเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนี้ คณะกรรมการยังได้ตัดสินใจที่จะคงช่วงเป้าหมายสำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (federal funds rate) ไว้ที่ 0-0.25% และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับต่ำเป็นพิเศษมีแนวโน้มจะมีความเหมาะสมไปจนถึงกลางปี 2558 เป็นอย่างน้อยที่สุด

 

สำหรับผู้ที่ออกเสียงสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินของ

FOMC ได้แก่ เบน เอส. เบอร์นันเก้ ประธานเฟด, วิลเลียม ซี. ดัดลีย์ รองประธานเฟด, เอลิซาเบธ เอ. ดุค, เดนนิส พี. ล็อคฮาร์ท, ซานดรา เพียนัลโต, เจอโรม เอช. เพาเวล, ซาราห์ บลูม ราสคิน, เจเรมี ซี. สเตน, แดเนียล เค. ทารุลโล, จอห์น ซี. วิลเลียมส์ และเจเน็ต แอล. เยลเลน

 

ส่วนผู้ที่คัดค้านการดำเนินนโยบายดังกล่าว คือ เจฟฟรีย์ เอ็ม. แล็คเกอร์ ซึ่งคัดค้านการซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติม และต้องการให้ตัดคำจำกัดของระยะเวลา ซึ่งมีแนวโน้มจะมีการสนับสนุนระดับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ต่ำเป็นพิเศษ

 

Tags :

FOMC

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

292947_3972913556184_576100326_n.jpg

งามเริด เฉิดฉาย มั่นมาก

ยกให้เลยย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

401043_224316444361402_688393534_n.jpg

สำหรับทุกคนด้วยรักและปราถนาดี

ราตรีสวัสดิ์

ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

401043_224316444361402_688393534_n.jpg

สำหรับทุกคนด้วยรักและปราถนาดี

ราตรีสวัสดิ์

ginger

Have a nice dream นะ ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

401043_224316444361402_688393534_n.jpg

สำหรับทุกคนด้วยรักและปราถนาดี

ราตรีสวัสดิ์

ginger

 

สวยจังเลยค่ะคุณ ginger ^____^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวยจังเลยค่ะคุณ ginger ^____^

 

644031_439957502710259_1400341412_n.jpg

ปิ๊งรับวันใหม่ แบบสาวเฉิด

บายใจ ในการลงทุน เปิดรับข้อมูลที่มีประโยชน์

ปิดเมื่อมีคลื่นรบกวน เพื่อการพักใจนะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

วันที่ 18 กันยายน 2555 01:00

 

news_img_tassana_149.jpg

ศรัณย์ กิจวศิน

‘คิวอี3’ กับเส้นก๋วยเตี๋ยวเละๆ

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ชัดเจนแล้วว่า “ธนาคารกลางสหรัฐ” หรือ “เฟด” ประกาศผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม

 

ด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ (คิวอี) รอบ 3 ผ่านการซื้อหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน (เอ็มบีเอส) ของหน่วยงานที่รัฐบาลให้การสนับสนุน เป็นวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน โดยไม่จำกัดระยะเวลาการเข้าซื้อ พร้อมกับประกาศคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในระดับ 0-0.25% ยาวจนถึงกลางปี 2558 จากเดิม คือ สิ้นปี 2557

 

ทันทีที่ข่าวนี้ประกาศออกมา ทำเอาตลาดหุ้นทั่วโลกพุ่งทะยานขานรับข่าวดังกล่าวกันอย่างคึกคัก รวมไปถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้ง ทองคำ น้ำมัน โดยเฉพาะทองคำเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่...เรียกได้ว่างานนี้ “เฟด” ทำหน้าที่ “แจกเงิน” ให้นักลงทุนทั่วโลกอย่างถ้วนหน้า

 

แม้ว่า “คิวอี3” จะเป็น “ข่าวดี” สำหรับนักลงทุนทั่วโลก แต่สำหรับ “ธนาคารกลาง” ของหลายประเทศแล้ว มันถือว่าเป็น “ข่าวร้าย” ที่ไม่มีใครอยากพูดถึง เพราะแน่นอนว่าทันทีที่มาตรการเหล่านี้มีผลบังคับใช้ ย่อมมี “เงินร้อน” บางส่วน “ไหลลวก” หลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะประเทศที่พื้นฐานเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง ไม่ติดเชื้อจากอาการป่วยของเศรษฐกิจโล

 

เมื่อเงินร้อนเหล่านี้ไหลทะลักเข้ามา เป็นธรรมดาที่ค่าเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาคจะแข็งค่าขึ้นตามหลัก “อุปสงค์-อุปทาน” หากธนาคารกลางเหล่านี้ไม่ต้องการให้ค่าเงินแข็งค่าจนกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจอย่างมีนัย สิ่งที่เขาทำ คือ เพิ่มอุปทานในตลาดเงินให้เพียงพอ แต่ต้องแลกมาพร้อมกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ

 

ดังนั้นขั้นถัดไปที่ธนาคารกลางเหล่านี้จะดำเนินการ คือ ออกพันธบัตรเพื่อดูดซับอุปทานที่ปล่อยออกไปกลับเข้ามา...ทั้งหมดนี้จึงเป็นภาระอันหนักหน่วง โดยเฉพาะต่อ “งบดุล” ของธนาคารกลางหลายแห่งที่ต้องเผชิญ ซึ่งหมายรวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ “แบงก์ชาติ” ไทยด้วย

 

ความจริงแล้ว “วัตถุประสงค์” การออกมาตรการ “คิวอี” ไม่ว่าจะเป็นรอบใดๆ ส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปที่ภาคเศรษฐกิจจริง โดยหวังว่าจะทำให้ภาคธุรกิจเข้มแข็งขึ้นจนนำไปสู่การ “จ้างงาน” ที่เป็นปัญหาและภาระการคลังอันยิ่งใหญ่ของสหรัฐ แต่เอาเข้าจริง “ยา” ที่ “เฟด” จ่ายออกไป บางส่วนกลับถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ บ้างถูกนำไปมอมเมาในตลาดหุ้น ตลาดเงิน ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ นักเศรษฐศาสตร์หลายคนมองตรงว่า “ฟองสบู่” ก่อนตัวขึ้นแล้วในตลาดหลายๆ ประเทศ

 

ผมเคยคุยกับ “ผู้บริหาร” ของ “แบงก์ชาติไทย” ท่านหนึ่ง เขามองว่า...มาตรการ “คิวอี” ที่ออกมา ไม่ว่าจะเป็นรอบใดๆ ล้วนแต่เป็นมาตรการ “จนตรอก” เป็นมาตรการที่ธนาคารกลางซึ่งใช้กระสุนดอกเบี้ยนโยบายจนหมดแล้ว มักนำมาใช้กัน โดยนอกจาก “สหรัฐ” แล้วยังมี“ยุโรป” และ “ญี่ปุ่น” ที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับการใช้มาตรการดังกล่าว จะเห็นว่าประเทศเหล่านี้ดอกเบี้ยนโยบายต่ำเตี้ยใกล้ 0% ทั้งสิ้น

 

นอกจากนี้ ถ้าไปดูมาตรการด้านการคลังของประเทศเหล่านี้ จะเห็นว่าถูกใช้จนเต็มแม็คเช่นกัน จึงไม่รู้ว่าจะนำมาตรการอะไรออกมาใช้เพิ่มเติม สิ่งที่พอทำได้บ้าง คือ อัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ เพื่อหวังว่าแบงก์พาณิชย์จะเหลือเงินมาปล่อยกู้ให้คนไปลงทุน แต่ผลลัพธ์ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาก็เห็นแล้วว่ามีน้อยมาก เพราะแบงก์เวลาปล่อยสินเชื่อ หรือนักลงทุนจะขอกู้เพื่อไปลงทุน เขาไม่ได้มองปัจจัยเรื่องดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว แต่เขาประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

 

ดังนั้น แม้ว่าสหรัฐจะเข็นมาตรการ “คิวอี3” ออกมาใช้จริง ก็เชื่อว่าคงไม่ได้ช่วยฟื้นภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงมากนัก...มีคนเปรียบเปรยการออกมาตรการ “คิวอี” ไว้ว่า เหมือนกับการผลักเส้นก๋วยเตี๋ยวที่นิ่มและเละ คือ ผลักยังไงก็ไม่ไป!

Tags : คิวอี3ธนาคารกลางสหรัฐ

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเงิน - การลงทุน : เศรษฐกิจต่างประเทศ

 

วันที่ 18 กันยายน 2555 06:49

 

เปิดแผนเปิดเสรีค้าปลีกแบบมีเงื่อนไขของอินเดีย

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

news_img_470426_1.jpg

 

เปิดแผนเปิดเสรีค้าปลีกแบบมีเงื่อนไขของอินเดีย

 

อินเดีย เปิดภาคค้าปลีกให้บริษัทซูเปอร์มาร์เก็ตของต่างชาติเข้ามา ลงทุนในประเทศ ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หลังจากที่การปฏิรูปนี้ หยุดชะงักลงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาโดยเป็นผลจากภาวะชะงักงันทางการเมือง โดยการปฏิรูปนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการฟื้นฟูการเติบโตทางเศรษฐกิจ

แต่นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า นโยบายเปิดภาคค้าปลีก ในครั้งนี้มาพร้อมกับเงื่อนไขหลายประการที่อาจเป็นอุปสรรคขัดขวางบริษัทต่างๆ ที่หวังจะเข้ามาเปิดกิจการในอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมาก เป็นอันดับสองของโลก

ประเด็นสำคัญในนโยบายฉบับนี้ เริ่มจาก รัฐแต่ละรัฐจะเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องการนำนโยบายนี้มาบังคับใช้ โดยรัฐบาลของรัฐแต่ละรัฐจะตัดสินใจเองว่าจะอนุญาตให้เครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตต่างชาติเข้ามาเปิดกิจการในรัฐของตนเองได้หรือไม่ โดยรัฐบาลอินเดีย ที่มีพรรคคองเกรสเป็นแกนนำตั้งเป้าว่า นโยบายนี้จะช่วยลดการต่อต้านจากพรรค การเมืองระดับภูมิภาคที่ระบุว่า นโยบายนี้จะสร้างความเสียหายต่อการจ้างงานในอินเดีย

ผู้ต่อต้านการปฏิรูปในครั้งนี้ รวมถึงนายมาตามา บาเนอร์จี มุขมนตรี ประจำรัฐเบงกอลตะวันตก ซึ่งถือเป็นพันธมิตรที่ทรงอิทธิพลที่สุดของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีมานโมฮาน ซิงห์ของอินเดีย

การซื้อสินค้าจากบริษัทขนาดเล็ก โดยผู้ค้าปลีกต่างชาติจำเป็นต้องซื้อสินค้าราว 1 ใน 3 ของสินค้าโรงงาน และสินค้าแปรรูปในห้างร้านของตนเองจากบริษัทที่มีการลงทุนในโรงงานและเครื่องจักรต่ำกว่า 1 ล้านดอลลาร์ โดยเครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตจะยืนยันการปฏิบัติตามกฎข้อนี้ด้วยตนเอง

รัฐบาลอินเดีย จะยังคงมีสิทธิเป็นผู้ซื้อรายแรกสำหรับอาหารที่ผลิตโดยเกษตรกร โดยมีสิทธิซื้อก่อนบริษัทเอกชน เพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บสต็อก อาหารไว้ใช้ในโครงการช่วยเหลือครัวเรือนที่ยากจนได้

การลงทุนขั้นต่ำ รัฐบาลกำหนดให้ผู้ค้าปลีกต่างชาติ ต้องลงทุนอย่างน้อย 100 ล้านดอลลาร์ และต้อง นำเงินลงทุนอย่างน้อยครึ่งหนึ่งมาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานปลายน้ำ เช่น คลังจัดเก็บ สินค้าและห้องเย็น โดยผู้ค้าปลีกจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎข้อนี้ให้ได้ภายในเวลา 3 ปี หลังจากเปิดร้านในอินเดีย

เป้าหมายของกฎข้อนี้ คือการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่ย่ำแย่ในอินเดีย และเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะคอขวด โดยสิ่งนี้ถือเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่สนับสนุนให้ อินเดียเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในภาคซูเปอร์มาร์เก็ต

ภาวะคอขวดเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลเป็นอย่างมากต่อรัฐบาลและธนาคารกลางอินเดีย

ผู้กำหนดนโยบายระบุว่า การเปิดภาคค้าปลีกจะช่วยลดราคาสินค้าในอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีคนจนจำนวนหลายร้อยล้านคน

นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดีย อนุญาตให้ผู้ค้าปลีกเปิดร้านเฉพาะในเมืองที่มีประชากรสูงกว่า 1 ล้านคน ส่วนในรัฐที่ไม่มีเมืองที่มีคุณสมบัติดังกล่าว รัฐบาลรัฐนั้นจะเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าจะให้ซูเปอร์มาร์เก็ตต่างชาติเปิดกิจการในเมืองใด

กฎข้อนี้ มีขึ้นเพื่อตอบข้อกล่าวหาที่ว่า การอนุญาตให้บริษัทอย่างเช่น วอล-มาร์ท เข้ามาเปิดกิจการในอินเดียจะสร้างความเสียหายต่อร้านค้าขนาดเล็กที่เป็นกิจการของครอบครัวในย่านชุมชนต่างๆ และจะก่อให้เกิดการว่างงานครั้งใหญ่

รัฐบาลอินเดียตั้งความหวังว่า การอนุญาตให้บริษัทต่างชาติ เปิดร้านค้าได้เฉพาะในเมืองใหญ่ จะเป็นการตอบสนองความต้องการของชนชั้นกลาง ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและเป็นการคุ้มครองความเป็นอยู่ของเจ้าของร้านค้าในเมืองขนาดเล็กและในชนบท

 

 

Tags : เปิดแผนเสรี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเงิน - การลงทุน

วันที่ 18 กันยายน 2555 08:11

 

เกาะติดปมขัดแย้งตปท. โบรกฯชะลอปรับเป้า

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

news_img_470432_1.jpg

 

 

ภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์

 

เกาะติดเหตุความขัดแย้งที่รุนแรง! สหรัฐ-กลุ่มชนมุสลิม และจีน-ญี่ปุ่น หวั่นลุกลามจนกระทบศก. สมาคมโบรกฯชะลอปรับเป้าดัชนีตลาดหุ้น หลังQE3คลอด

 

นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า จากที่สหรัฐประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยออกคิวอี3 ทำให้บรรยากาศการลงทุนเป็นไปอย่างคึกคัก ดัชนีปรับตัวขึ้นและมีวอลุ่มการซื้อขายเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้ในตอนแรกจะมีการปรับเป้าหมายดัชนีปีนี้ใหม่ จากเดิมที่ยังไม่มีมาตรการคิวอี3 เป้าหมายจะอยู่ที่ 1,300 จุด แต่ปรากฏว่ามีปัจจัยเสี่ยงใหม่เกิดขึ้น คือความขัดแย้งกันระหว่างประเทศใหญ่ๆ ได้แก่ สหรัฐ กับกลุ่มชนชาวมุสลิม และจีน กับญี่ปุ่น ทำให้เกิดความกังวลและยังไม่แน่ใจว่าปัญหาดังกล่าวจะลุกลามบานปลาย จนมีผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลกหรือไม่ ดังนั้นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และทำให้ต้องชะลอการปรับเป้าหมายดัชนีออกไปก่อน

"ตอนนี้จะขยับเป้าหมายดัชนีสิ้นปี จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1,300 จุด แต่เมื่อมีมาตรการคิวอี3 ออกมา ดัชนีมีโอกาสจะปรับตัวขึ้นได้มากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ แต่เมื่อมีเหตุการณ์ความขัดแย้งต่างประเทศเกิดขึ้นทำให้ต้องชะลอการพิจารณาเพราะเกรงว่าปัญหาดังกล่าวจะลุกลามส่งผลกระทบวงกว้างโดยเฉพาะอาจจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกที่มีความเปราะบางขณะนี้ จึงคงต้องติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด"

เธอกล่าวว่า ดัชนีหุ้นไทยปัจจุบันมีค่าพีอีเรโชอยู่ที่ประมาณ 12 เท่า ซึ่งหากเปรียบเทียบตลาดในภูมิภาค ถือว่ายังไม่สูงและมีความน่าสนใจในการลงทุน โดยบริษัทจดทะเบียนไทยความสามารถในการกำไรสุทธิปีนี้เติบโต 14-15% อยู่ในระดับที่น่าสนใจที่จะเข้ามาลงทุน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...