ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

postToday

 

14 hours ago

 

 

"บีทีเอส"ควัก 600 ล. ติดตั้งรั้ว-ประตูอัตโนมัติบริเวณขอบชานชาลาป้องกันผู้โดยสารร่วงลงไปในราง 9 สถานี http://bit.ly/RibpUf

 

 

 

552003_10151164139804835_1003985862_n.jpg

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โอบามาแคร์แล้ว มิตต์รอมนีย์แคร์ไหม?/คอลัมน์ ได้อย่างไม่เสียอย่าง

blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 กันยายน 2555 08:30 น.

blank.gif ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการชดเชยค่าบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

 

6 พฤศจิกายน 2555 เป็นวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 57 ของสหรัฐอเมริกา และน่าจะแน่นอนแล้วว่าจะเป็นการแข่งขันระหว่างประธานาธิบดี บารัค โอบามา และ นายมิตต์ รอมนีย์ คู่แข่งจากพรรครีพับลิกัน ปัญหาใหญ่และท้าทายผู้นำสหรัฐอเมริกาคนใหม่ ก็คือปัญหาเศรษฐกิจซึ่งขณะนี้ (กันยายน 2555) มีตัวเลขคนว่างงานอยู่ถึงร้อยละ 8.1 หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงวิกฤตหนี้ยูโรโซนที่ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะยุติเมื่อใด ทำให้อเมริกันชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ว่าเลือกใครแล้วจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

 

เป็นที่ทราบกันดีว่าในสมัยแรกของโอบามา ได้ให้ความสำคัญกับกฎหมายสุขภาพที่ชื่อ The Patient Protection and Affordable Care Act (PPACA) หรือรู้จักกันในนาม “โอบามาแคร์” เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดประโยชน์กับอเมริกันชนและลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในระยะยาวลงได้

 

สหรัฐอเมริกาใช้งบประมาณด้านสาธารณสุขมากแค่ไหนเชียวหรือครับ ?

 

ถ้าดูจากข้อมูลใน Website ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ระบุว่า ในปี 2010 สหรัฐอเมริกามีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงเป็นอันดับหนึ่งของกลุ่มและมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก คิดเป็นร้อยละ 17.6 ของ GDP และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อประชากรอยู่ที่ 8,233 $US/คน (ราว 240,000 บาท/คน) มากกว่าเนเธอร์แลนด์ ซึ่งอยู่อันดับสอง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพียงร้อยละ 12 ของ GDP เท่านั้น

 

 

555000012078101.JPEG

 

blank.gif ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมาจาก 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกภาครัฐอุดหนุน ส่วนที่สองเป็นส่วนที่ประชาชนจ่ายเอง ประเทศส่วนใหญ่ในกลุ่ม OECD รัฐมักให้การอุดหนุนมากกว่า โดยมีค่าเฉลี่ยของการอุดหนุนภาครัฐอยู่ที่ร้อยละ 72.2 แต่มีเพียง 3 ประเทศในกลุ่มที่ภาครัฐอุดหนุนน้อยกว่า หนึ่งในนั้นก็คืออเมริกา ซึ่งค่าใช้จ่ายภาครัฐมีเพียงร้อยละ 48.2 ของค่าใช้จ่ายสุขภาพทั้งหมด แต่ถึงแม้ว่าจะไม่ถึงร้อยละ 50 หากดูงบประมาณต่อประชากรแล้ว ก็จะพบว่า สูงกว่าทุกประเทศในกลุ่ม ยกเว้นนอร์เวย์และเนเธอร์แลนด์เท่านั้น

555000012078102.JPEG blank.gif ปัจจุบัน รัฐบาลอเมริกาให้ความช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาลแก่คน 3 กลุ่ม ได้แก่

1.คนชรา (อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป) ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เรียกว่า Medicare

2.ผู้ที่มีรายได้น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เรียกว่า Mecicaid

3.ข้าราชการบางกลุ่ม เช่น ทหาร ส.ส. ส.ว. ทหารผ่านศึก

 

พลเมืองอเมริกานอกเหนือจาก 3 กลุ่มนี้ เมื่อจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ก็ต้องชำระเงินเอง มหาเศรษฐี เศรษฐี หรือผู้มีอันจะกินคงไม่ค่อยเดือดร้อนเท่าไร แต่สำหรับคนชั้นกลาง หรือคนเกือบจน หรือมีรายได้มากกว่าเกณฑ์ที่รัฐกำหนดเล็กน้อย จึงต้องหาหลักประกันให้กับตนเอง โดยซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทเอกชน

 

ปัญหาก็อยู่ตรงนี้แหละครับ ถ้าเรายังอายุไม่มาก ไม่มีโรคประจำตัว สุขภาพโดยทั่วไปก็แข็งแรงดี เราจะซื้อประกันไหมครับ เพราะนั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งที่ต้องมี ทำให้ที่ผ่านมาจึงมีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ซื้อประกันสุขภาพ ในขณะที่อีกหลายคนเสี่ยงที่จะไม่ซื้อเพื่อประหยัดเงินที่ต้องนำไปจ่ายเบี้ยประกัน นอกจากนั้น อเมริกายังไม่มีกฎหมายบังคับให้บริษัทประกันต้องคุ้มครองผู้ซื้อประกัน ซึ่งทำให้บริษัทประกันสามารถปฏิเสธการจ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อใดก็ได้ ทำให้แม้ว่าจะซื้อประกันแล้ว ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับความคุ้มครอง

 

สาระสำคัญของ “โอบามาแคร์” ก็คือ การขยายระบบประกันสุขภาพ ให้ครอบคลุมชาวอเมริกัน 33 ล้านคน ที่ยังไม่มีประกันสุขภาพ โดยภาครัฐจะมีเงินสนับสนุน แก่บุคคล และครอบครัวที่มีรายได้น้อยและปานกลาง ที่ไม่สามารถซื้อประกันสุขภาพได้ และมีข้อบังคับห้ามบริษัทประกันภัย ปฏิเสธลูกค้าที่มีปัญหาสุขภาพ รวมทั้งเพิ่มโทษปรับแก่บริษัทขนาดใหญ่ที่ไม่ซื้อประกันให้พนักงาน ซึ่งถือเป็นการปฏิรูประบบสาธารณสุขของสหรัฐฯครั้งใหญ่ที่สุด ในรอบเกือบ 50 ปีเลยทีเดียว

 

แต่อย่างที่ทราบว่า อเมริกา เป็นประเทศ “เสรีนิยม” ที่สุดในโลก จึงมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยเพราะเห็นว่า “โอบามาแคร์” เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพ จนกระทั่งพรรครีพับลิกันส่งคำร้องไปยังศาลสูงของสหรัฐให้พิจารณาว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ และในที่สุดศาลได้ตัดสินด้วยคะแนนโหวต 5 เสียงต่อ 4 ว่าการบังคับให้ประชาชนซื้อประกันสุขภาพตามกฎหมายโอบามาแคร์ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะการบังคับของรัฐไม่ใช่การค้าขายเพื่อหาผลกำไร

 

สงครามครั้งนี้ยังไม่จบง่าย พรรครีพับลิกันได้เรียกร้องประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับ “โอบามาแคร์” คว่ำกฎหมายฉบับนี้ โดยเลือกมิตต์ รอมนีย์ในโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง

 

ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 57 จะเป็นใคร และอเมริกันชนอีก 33 ล้านคน จะเข้าถึงการประกันสุขภาพหรือไม่ รวมทั้งน้ำจะท่วมบ้านเราอีกหรือเปล่า ปลายปีนี้คงจะรู้กันแล้วครับ

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก

1. http://www.nationmaster.com/country/th-thailand/hea-health

2. http://www.who.int/countries/usa/en/

3. http://www.oecd.org/unitedstates/BriefingNoteUSA2012.pdf

4. www.siamintelligence.com/obamacare-is-a-product-or-human-right-issue

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

GT Gold Bullion

ออสเตรียชี้กรีซได้เวลาเพิ่มไม่กี่สัปดาห์ในการทำตามเงื่อนไขปฏิรูป (กรีซ):

นางมาเรีย เฟคเทอร์ รมว.คลังออสเตรีย กล่าวในการให้สัมภาษณ์ทางหนังสือพิมพ์ว่า กรีซจะได้เวลาเพิ่มขึ้นเพียง "ไม่กี่สัปดา

ห์" ในการปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ แต่กรีซจะไม่ได้รับเงินเพิ่มเติม นางเฟคเทอร์กล่าวว่า แนวคิดในการต่อเวลาให้กรีซอีก 1-2 ปีในการปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเป็นแนวคิดที่ใช้ไม่ได้แล้ว และสิ่งนี้เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้รัฐบาลกรีซจำเป็นต้องเร่งรัดการปฏิรูปทางการคลัง เมื่อได้รับคำถามว่ามาตรการช่วยเหลือรัฐบาลกรีซจะได้รับการยืดเวลาออกไปหรือไม่ นางเฟคเทอร์ได้ตอบว่า "ใช่ เรายังคงรอดูรายงานของทรอยกา และกรีซยังคงจำเป็นต้องทำให้บางสิ่งกลับมาอยู่บนแนวทางที่วางไว้ แต่เราจะต่อเวลาออกไปโดยไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของโครงการ" โฆษกของนางเฟคเทอร์กล่าวว่า ขณะนี้การหารือได้มุ่งเป้าไปยังประเด็นที่ว่าจะใช้วิธีการอย่างไรในการให้เวลาแก่กรีซมากยิ่งขึ้นในการบรรลุเป้าหมายโดยที่ไม่จำเป็นต้องให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติม นางเฟคเทอร์ยังกล่าวว่า สเปนมีแนวโน้มที่จะจำเป็นต้องใช้เงินในการช่วยเหลือภาคธนาคารในระดับที่ต่ำกว่าปริมาณเงินที่กันไว้ในตอนแรก ซึ่งอยู่ที่ราว 1 แสนล้านยูโร (1.315 แสนล้านดอลลาร์)

ที่มา: Bisnews

Credit: http://cbn.rdmmedia.topscms.com/images/3e/93/ca10303349f9acc9946d1a774ae8.jpeg

 

See Translation

 

300974_418514611546510_1025352522_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

PostToday

สำหรับผู้ใช้จักรยานทุกท่าน วันที่ 22 - 23 กันยายน 2555 ใช้บริการ BTS ฟรี!!!

 

 

545684_10151165143129835_1529348107_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

1 king 1 heart

พระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงและพระราชินี.....

 

_/\_ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน _/\_

 

598919_352175721534829_193100078_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Hi! TISCO

สวัสดีวันฝนพรำค่ะ..หุ้นโลกลบเล็กน้อย กังวลหนี้ยุโรปหลังรมต.คลังยูโรโรโซนไม่ได้ข้อสรุปการดูแลภาคธนาคารร่วมกัน+ผลสำรวจภาคการผลิตนิวยอร์กร่วงผิดขาดมาที่-10.4,DJ-40จุดปิด13553,หุ้นยุโรป-0.1%ถึง-0.7%,น้ำมันNYMEX-2.38ปิด96.62$/bbl,มองSETแกว่งลง,แนวรับ1270-1275แนวต้าน1282-1285,หุ้นเด่นเล่นสั้นวันนี้LANNA,SAMART,หุ้นใหม่เข้าตลาดHOTPOTจำนวนIPO101ล้านหุ้น-จอง2.8บ.,มูลค่าเหมาะสม3.42-4.06บ.สำหรับ12เดือนข้างหน้า จากสำนักวิจัยทิสโก้..เพื่อนๆHi!TISCOอย่าลืมรักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ^^

310597_10151148392985983_944639995_n.jpg

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"ดร.โกร่ง" สั่งใช้เครื่องมือสู้ QE3-บาทแข็ง "ธปท." เตรียมออกบอนด์ซับสภาพคล่อง

blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 กันยายน 2555 10:07 น.

blank.gif TabOver.gif

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

555000012090501.JPEG วีระพงษ์ รามางกูร

blank.gif blank.gif "ดร.โกร่ง" เรียกคุยทีมตลาดเงิน ธปท. เตรียมความพร้อมป้องกันผลกระทบ QE3 และค่าเงินบาทผันผวน คาดใช้มาตรการออกพันธบัตร เพื่อดูดซับสภาพคล่องจากเงินทุนจำนวนมากไหลเข้า แต่หากถามว่าได้เสนออะไรไปบ้างนั้น คงบอกไม่ได้ ของอย่างนี้คุยล่วงหน้าไม่ได้เลย ถ้าบอกตอนนี้ ตนเองต้องโกหก เพราะตอนนี้ยังพูดไม่ได้ แต่อีก 2 สัปดาห์ อาจจะพูดได้ ไม่แน่

 

นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ ตนเองได้เรียกคณะทำงานด้านตลาดการเงิน และผู้บริหาร ธปท. เพื่อหารือและให้การบ้านในการรับมือเงินทุนจำนวนมหาศาลไหลเข้าประเทศ หลังธนาคารกลางสหรัฐออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณทางการเงิน (QE3) ซึ่งอาจจะทำให้มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาที่ไทยเพิ่มมากขึ้น โดยมี นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท. ร่วมด้วย

 

"เมื่อเที่ยงวานนี้ ได้มีโอกาสพูดคุย หารือ และเสนอแนะความคิดเห็นกับทางผู้บริหาร ธปท. ในเรื่องการเตรียมมาตรการเพื่อรับมือภาวะเงินทุนไหลเข้า จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ ออกมาตรการ QE3 ซึ่งสิ่งที่ผมเสนอ ธปท.จะรับไปพิจารณาหรือไม่เป็นอำนาจของ ธปท. เพราะ ธปท.มีอำนาจปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ผมไม่มีอำนาจได้แต่เพียงเสนอข้อคิดเห็นเท่านั้น"

 

สำหรับเรื่องการเตรียมการรับมือเงินทุนไหลเข้า นายวีรพงษ์ ยอมรับว่า เพิ่งได้คุยกันเป็นครั้งแรก เมื่อวานนี้ ซึ่งตนเองก็รู้สึกเป็นห่วง และได้เสนอความเห็นในการเตรียมรับมือไปบ้าง เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ต้องเห็นควรไปด้วยกัน ซึ่งการพูดคุยกันในครั้งนี้ ก็เพื่อหารือเรื่องการดูแลเรื่องดังกล่าวเป็นการเฉพาะ แต่ถามว่าได้เสนออะไรไปบ้างนั้น คงบอกไม่ได้ ของอย่างนี้คุยล่วงหน้าไม่ได้เลย ถ้าบอกตอนนี้ ผมต้องโกหก ตอนนี้ยังพูดไม่ได้ แต่อีก 2 สัปดาห์อาจจะพูดได้ ไม่แน่

 

รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า เครื่องมือที่ธนาคารกลางจะใช้ดูแลเม็ดเงินจำนวนมากไหลเข้านั้น ธปท. อาจจะออกมาตรการมาดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมาตรการ QE3 ของธนาคารกลางสหรัฐ โดยการดูแลสภาพคล่องจากเงินไหลเข้ามาด้วยการออกพันธบัตรดูดซับสภาพคล่อง ที่คาดว่าจะมีเงินทุนจำนวนมหาศาลจากต่างชาติไหลเข้าไทย จนทำให้เงินบาทแข็งค่าและกระทบกับการส่งออก แม้ขณะนี้ยังแข็งค่าในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค

TabUnder.gif blank.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

530035_388206804585111_1520540787_n.jpg

ป่าไม่สามารถประเมินค่าได้

ป่าคือลมหายใจของมนุษย์ชาติและสรรพชีวิต

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

shared สิ่งดี-ดี มีไว้ "แบ่งปัน"'s photo.

3 hours ago

 

อาจจะมีไม่เท่าใครๆ

แต่ใช่ว่าจะยิ้มได้ น้อยกว่าคนอื่น :)

 

 

431228_428884830490772_1781228629_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...