ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

คู่มือ รับสถานการณ์น้ำท่วม :

โพสต์แนะนำ

“น้ำท่วมรถ“ เคลมประกันภัยได้ไหม

 

“น้ำท่วมรถ“ น่าคิด..สรุปเคลมประกันภัยได้ไหม

 

เรื่องโดย auto.sanook.com

 

หลายคนอาจจะไม่ทราบ แต่เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันนั้น การคลอบคลุมในกรณีภัยพิบัตินั้นจะเข้าข่ายการคุ้มครองก็ต่อเมื่อรถยนต์ของคุณได้มีการทำประกันภัยชั้น 1 หรือ ประเภท 1 ส่วนประกันประเภท 2, 3, 4, 5 ไม่ได้รับความคุ้มครองเรื่องความเสียหายจากน้ำท่วมรถ ดังนั้นหากทำประกันชั้น 1 ไว้ก็อุ่นใจได้ว่า คุ้มครองความเสียหายจากน้ำท่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นประกันชั้น 1 ปกติที่ขายโดยทั่วไป หรือจะเป็นประกันชั้น 1 แบบประหยัดที่มีค่ารับผิดส่วนแรก ที่สมัยนี้กำลังเป็นที่นิยมกัน

 

 

 

หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าสินไหมทดแทนจากน้ำท่วมนั้น ก็จะมีการแบ่งออกเป็น 2 กรณี สำคัญ โดยพิจารณาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง คือ อ่านต่อคลิกที่นี่

 

 

 

http://auto.sanook.com/2971/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%96-%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94..%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1/

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เตรียมตัวรับมือน้ำท่วม..ดูแลรถนี่แหละเรื่องสำคัญ

 

 

 

http://auto.sanook.com/2953/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1..%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D/

 

 

ช่วงนี้หันไปทางไหนก็ดูท่าว่าจะเจอแต่ข่าวอุทกภัยที่กำลังใกล้เข้ามา และนี่นับเป็นเหตุการณ์ที่บางครั้งไม่สามารถเลี่ยงได้ ทว่า เราสามารถป้องกันได้ โดยการผ่อนหนักเป็นเบา ถ้าหากคุณรู้จักเตรียมความพร้อมไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ

 

การดูแลทรัพย์สินในช่วงน้ำท่วมนั้นล้วนแต่เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกับรถยนต์ ที่เป็นหนึ่งในปัจจัยในชีวิตประจำวัน สำหรับปัจจุบัน ซึ่งหากคุณกำลังจะเจอภัยน้ำท่วมสิ่งต่างๆต่อไปนี้ เป็นคำแนะนำจากเราในการดูแลรถของท่าน

 

 

ก่อนภัยจะมา

 

 

 

ถ้าเป็นไปได้อย่างที่เราบอกการเตรียมรับมือน้ำท่วมนั้นถือว่าเป็นเรื่อง สำคัญที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์นั้นการไม่ให้รถนั้นโดนน้ำท่วมก็ย่อมเป็นทางออกที่ดีที่สุด การหาที่จอดปลอดภัยที่พ้นจากระดับน้ำนั้นทำให้รถไม่เสียหาย แต่ก่อนเอารถไปจอดก็พยายามดูด้วยการที่เราจอดรถทิ้งไว้ในจุดนั้นจะปลอดภัยจากรถหายหรือไม่ ที่สำคัญของมีค่าทั้งหลายเอาออกจากรถ และล็อคระบบป้องกันต่างๆให้เรียบ เพื่อป้องกันการโดนงัดหรือขโมยรถยนต์

 

 

 

เมื่อน้ำท่วม

 

 

 

หากคุณไม่มีเวลาที่จะหนีน้ำได้ทันแต่น้ำนั้นยังไม่ขึ้นสูงมากพอที่จะทำให้ของคุณจมไปทั้งคันได้นั้น ให้คุณดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ก่อนที่จะสายเกินไป

 

 

 

1.ครอบท่อไอเสีย ในกรณีที่น้ำมีโอกาสขึ้นสูงจนสามารถท่วมรถเกินครึ่งคันนั้นให้คุณ นำถุงพลาสติกมาครอบท่อไอเสียเอาไว้เพื่อป้องกันเข้าไปยังท่อไอเสีย โดยเฉพาะใครที่ชอบใส่ท่อแต่ใหญ่ๆควรรีบจัดการโดยเร็ว

 

2.อุดท่อในชุดกรองอากาศ เมื่อจัดการท่อไอเสียเสร็จแล้วก็ให้มาจัดการทางเข้าอากาศที่อยู่ในหม้อกรองอากาศกันต่อตรงนี้ ให้คุณใช้วิธีขยำกระดาษแล้วห่อด้วยถุงพลาสติดใสขนาดพอดีท่ออากาศยัดเอาไว้ โดยให้อุดท่อที่อยู่ก่อนเข้าตัวแผ่นกรองอากาศ ซึ่งจะทำให้น้ำไม่สามารถไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ได้

 

3.ถอดขั้วแบตเตอร์รี่ เมื่อทำ2อย่างเสร็จแล้ว สิ่งที่ไม่ถูกกับน้ำนั้นคือไฟฟ้า และเราแนะนำให้ถอดขั้วแบตเตอร์รี่ออกเพื่อลดความเสียหายจากภัยน้ำท่วมที่จะเกิด ในกรณีนี้สำคัญมากสำหรับรถยนต์รุ่นใหม่ ให้สอบถามยังศูนย์บริการใกล้บ้านก่อนว่าจะสามารถถอดแบตเตอร์รี่ได้หรือไม่ เพราะรถบางรุ่นต้องการไฟไว้เลี้ยงระบบ ข้อนี้สำคัญมากห้ามลืม

 

 

 

4.กล่องคอมพิวเตอร์ตัวนี้น่ะสำคัญ รถยนต์ในปัจจุบันนั้นมีการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์เสียส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้มันมีหน่วยประมวลผลที่เรียกว่ากล้องคอมพิวเตอร์ หรือ ECU (Electonics Control Unit) ที่ค่อนข้างจะละเอียดอ่อนหากถูกน้ำท่วม ในการป้องกันนั้น ให้ทำการครอบด้วยถุงพลาสติก หรือในรถบางรุ่น โดยเฉพาะรุ่นเก่าสามารถถอดเก็บไว้ได้ แต่ในกรณีรถรุ่นใหม่นั้น สอบถามรายละเอียดให้ดี เพราะอาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ แต่ความจริงแล้วกล่องพวกนี้ทนน้ำในระดับหนึ่ง แต่ถ้าน้ำท่วมระดับสูงก็สามารถทำให้เกิดความเสียหายได้เช่นกัน

 

5.คลุมรถด้วยผ้าคลุมกันน้ำ ผ้าคลุมรถบางรุ่นนั้นมันมีคุณสมบัติที่สามารถจะกันน้ำได้ในระดับหนึ่ง ทำให้ลดความเสียหายโดยเฉพาะในห้องโดยสารได้พอสมควรเลย ทางที่ดีไปหามาไว้สักอันก็ดีเหมือนกัน และอย่างลืมผูกให้แน่นรัดให้แนบชิดรถมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

ทั้ง 5 ข้อนี้สามารถช่วยให้รถของคุณปลอดภัยจากความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อย แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับกระแสน้ำและระดับน้ำด้วยสูงขึ้นมากน้อยเพียงใด เพราะน้ำยิ่งสูงยิ่งมีแรงดันมาก ทำให้ไม่ว่าเราจะป้องกันดีแค่ไหน ก็อาจจะยังเสียหายอยู่ดี

 

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บขส.ปรับเส้นทางเดินรถสู่ภาคเหนือ-อีสาน

 

 

 

บขส.ปรับเปลี่ยนเส้นทางการเดินรถไปสู่ภาคเหนือ-ภาคอีสานใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีปริมาณน้ำสูง

 

โดย บขส.จะวิ่งเข้าถนนรามอินทรา ถึงกม.8 เข้าทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ไปคลอง 5 เข้านครนายก ไปหินกอง จ.สระบุรี – โคกสำโรง จ.ลพบุรี – ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ เพื่อไปภาคเหนือ

 

ส่วนภาคอีสาน เมื่อถึง บ้านนา จ.นครนายก รถโดยสารจะวิ่งเข้าแก่งคอย จ.สระบุรี เพื่อไปสู่ภาคอีสาน แนะผู้โดยสารที่จะเดินทางไปยังภาคเหนือ-ภาคอีสาน มาขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หรือ หมอชิต 2 จุดเดียว สอบถามข้อมูลได้ที่ 1490 เรียก บขส. ตลอด 24 ชม.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ศปภ.เผยประตูคลอง3-4 พัง เร่งเปิดทางน้ำสู่อ่าวไทย-เจ้าพระยา

 

 

ประตูคลอง 3,4 - ระพีพัฒน์ ชำรุด คาดซ่อมเสร็จใน 2 วัน เร่งผันน้ำคลอง8-10 ผ่านคลอง 17 ลงอ่าวไทย ส่วนน้ำในนวนครดันลงเจ้าพระยา เผยซ่อมคันน้ำคลอง4-5 คืบ 50% แต่ทรายหมดขอระดมช่วยเหลือด่วน ประกาศปิด ร.พ.นวนคร ย้าย 10 ผู้ป่วยไปร.พ.นวนคร 2 อยุธยา

 

 

วันนี้ 18 ต.ค. เมื่อเวลา 18.30 น. ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) ท่าอากาศยานดอนเมือง นายวิม รุ่งวัฒนจินดา โฆษก ศปภ. แถลงว่า ขณะนี้บริเวณคลอง 3 คลอง 4 และคลองระพีพัฒน์ มีประตูระบายน้ำชำรุดเป็นแนวประมาณ 30 เมตร ซึ่งทั้ง 2 จุดห่างกันประมาณ 2-3 กิโลเมตร โดย ศปภ.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ทหารและอุปกรณ์เข้าไปซ่อมแซมแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้ง 2 จุด ภายใน 2 วัน

 

ทั้งนี้ ยืนยันว่าที่ผ่านมาเป็นเพียงข่าวลือที่ปล่อยว่าจะมีน้ำท่วมในบริเวณชุมชนดังกล่าว เพราะรัฐบาลสามารถบริหารจัดการบริเวณทุ่งรังสิตไม่ให้เกิดน้ำท่วมได้

 

ขณะที่แนวทางในการระบายน้ำสู่ทางฝั่งตะวันออก ศปภ.จะเร่งระบายน้ำจากคลอง 8 คลอง 9 คลอง 10 ไปลงคลอง 17 และไหลลงคลองพระองค์ไชยานุชิต ออกประตูระบายน้ำคลองด่าน เพื่อที่จะไหลสู่อ่าวไทย เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีเครื่องสูบน้ำจำนวนมาก ซึ่งสามารถระบายออกได้อย่างรวดเร็ว ส่วนการระบายน้ำออกทางทิศตะวันตกนั้น จะเร่งระบายน้ำที่ล้นเอ่อเหนือนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ออกคลองเชียงรากน้อย เชียงรากใหญ่ และคลองสาระพัน เพื่อให้ไหลออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

 

ด้าน นายชูชาติ ศุภวรรธนางกูล หัวหน้าฝ่ายวิศวะ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลประทานรังสิตเหนือปทุมธานี กล่าวว่า ขณะนี้จุดคันกั้นน้ำที่เสียหายเป็นแนวกั้นน้ำช่วงระหว่างรังสิตคลอง 4 และคลอง 5 สามารถซ่อมแซมได้แล้ว 50% โดยใช้ชีทไพล์ และกระสอบทราย แต่ตอนนี้ทรายหมดแล้ว ยังเหลือที่ต้องซ่อมอีก 20 เมตร อยากระดมขอความช่วยเหลือจากส่วนต่างๆ ใช้เส้นทางขึ้นมาตามถนนคลอง 4-5 รถยนต์สามารถเข้ามาได้ ส่วนที่จุดระหว่างคลอง 5 และคลอง 6 มีความเสียหายยาว 30 เมตร ได้เตรียมระบายน้ำลงคลองรังสิตประยูรศักดิ์ อาจมีมวลน้ำไหลเข้าพื้นที่ข้างเคียงบ้าง

 

ส่วน น.พ.ธีรวุฒิ กวีธนมณี ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร โรงพยาบาลนวนคร จ.ปทุมธานี เปิดเผย ว่า ขณะนี้ได้สั่งปิดโรงพยาบาลนวนครแล้ว พร้อมทั้งเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ติดค้างอยู่อีกกว่า 10 คน ไปยังที่ โรงพยาบาลนวนคร 2 จ. พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากน้ำได้ไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่บริเวณชั้น 1 ของโรงพยาบาล ส่งผลให้เครื่องปั่นไฟภายในไม่สามารถใช้การได้ สถานการณ์หลังจากนี้ ต้องประเมินสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง หากระดับน้ำไม่ลดลง จะไม่สามารถเปิดโรงพยาบาลได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นครนายก พร้อมเป็นแก้มลิง รับน้ำรักษาเมืองหลวง

 

 

 

ผู้ว่าฯ นครนายก เผย พอใจหารือผู้นำชุมชนชาวองครักษ์ ยอมเสียสละรับน้ำจากคลองรังสิต- คลองระพีพัฒน์ เพื่้อช่วยรักษาเมืองหลวง ชี้ แม้เห็นใจชาวบ้านรับน้ำมานาน แต่ทุกฝ่ายพร้อมช่วยเหลือ ระบุ เตรียมจัดโครงการเยียวยาช่วยเหลือแล้ว

 

วันนี้ (18 ต.ค.) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 14.00 น.วันนี้ ได้เรียกประชุมด่วนผู้นำชุมชนอำเภอองครักษ์ ทั้งนายกองค์การบริการส่วนจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ หลังศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทักภัย (ศปภ.) สั่งผ่านอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อขอระบายน้ำจากท้องทุ่ง จ.ปทุมธานี ซึ่งมีประมาณ 2 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ผ่านออกไปทางตะวันตก และทางตะวันออก เพื่อปกป้องเมืองหลวงไม่ให้ถูกน้ำโจมตีมากนัก เหมือนที่อยุธยา นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมนวนคร โดนถล่มมาแล้ว โดย จ.นครนายก ต้องรับน้ำเพิ่มที่จะผ่านมาทางคลองรังสิต คลองระพีพัฒน์ ซึ่งตนเห็นใจชาวบ้านเขตอำเภอองครักษ์ที่ทุกข์กับภัยน้ำท่วมมากว่า 2 เดือนครึ่ง

 

ผู้ว่าฯ นครนายก กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ได้ทำความเข้าใจน้ำที่จะระบายผ่านมาทางจังหวัดนครนายกจะมาอย่างค่อยๆ ไม่รุนแรงมากนัก ซึ่งชาวบ้านเข้าใจและพร้อมยอมเสียสละเป็นแก้มลิงรับน้ำเพื่อรักษาเมืองหลวงเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ชุมชุมได้ร้องขอให้ช่วยเหลือโดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่ประตูแคราย ปลายคลอง 17 เพื่อผันน้ำออกบางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา สู่บางปะกง และออกสู่ทะเล โดยตนได้ประสานไปยัง นายพระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งท่านเห็นใจที่ต้องใช้อำเภอองครักษ์ เป็นแก้มลิง จึงได้ประสานขอเครื่องสูบน้ำจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มาได้ 2 เครื่อง และสั่งให้นำมาติดตั้งให้โดยเร็วที่สุด พร้อมกันนี้ตนจะจัดโครงการเพื่อบำรุงขวัญชาวอำเภอองครักษ์เพิ่มขึ้น เพื่อตอบแทนในความเสียสละของพี่น้องประชาชนที่ยอมเป็นแก้มลิง เพื่อรักษาเมืองหลวง ทั้งนี้ ช่วงเช้าได้มอบเงินช่วยเหลือให้กับพี่น้องเกษตรกรที่ประสบภัยน้ำท่วมรายละ 2,222 บาทต่อไร่ จำนวน 74 ราย เป็นเงินกว่า 2.4 แสนบาท

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปราโมทย์ ไม้กลัด : แก้วิกฤตน้ำท่วมไม่น่าวิตกเลย....จะสู้ไม่ได้เพราะปอดแหกกัน

 

 

"พระเจ้าอยู่หัวท่านสร้างหลักว่าจะทำอะไรต้องเข้าใจและเข้าถึง ปัญหาคือตอนนี้ทุกคนไม่รู้ว่าปัญหามันมาจากอะไร เพราะอะไร ธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน สภาพภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์ แต่ละพื้นที่แต่ละลุ่มน้ำแตกต่างกัน และพฤติกรรมของน้ำในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกัน งานนี้ยังไงก็ต้องมีแม่ทัพ หากไม่มีผู้บัญชาการอย่างคนที่รู้จริงๆ แล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เวลานี้แก้ปัญหาเลอะเทอะสะเปะสะปะกันไปหมด"

 

หมายเหตุ - ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) สัมภาษณ์ “ปราโมทย์ ไม้กลัด” อดีตอธิบดีกรมชลประทาน บุคคลอีกผู้หนึ่งที่เฝ้าติดตามวิกฤตปัญหาน้ำท่วมมาอย่างต่อเนื่อง แม้ปัจจุบันจะเกษียณอายุมาเป็นเวลานานถึง 12 ปีแล้ว แต่ด้วยประสบการณ์ที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องน้ำมาตลอดชีวิต จนถึงทุกวันนี้ หากไม่ติดตามปริมาณน้ำในเขื่อนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่บ้าน ก็มักจะเดินทางเข้ามาสำรวจปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าเขื่อนกรมชลประทานแทบทุกวัน ก่อนให้ข้อมูลด้วยความมั่นใจว่า ประชาชนในกทม.ไม่ควรตื่นตระหนกกับสถานการณ์ในขณะนี้เกินเหตุ

 

00 อยากให้อาจารย์ประเมินสถานการณ์น้ำในกทม.จะรุนแรงอย่างที่หลายฝ่ายวิตกหรือไม่

 

ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านกรมชลประทาน ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้าขณะนี้เป็นกรณีเหมือนที่เคยเกิดในอดีต เป็นปกติไม่ได้มากมายชนิดที่จะต้องหวาดวิตก หากดูปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนบางไทรซึ่งเป็นต้นทางที่จะเข้า จ.ปทุมธานี นนทบุรีและกรุงเทพก็ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะแปรผันอย่างวิปริต แล้วน้ำที่ไหลจากเจ้าพระยาที่จะเข้ากรุงเทพฯ ก็ไม่ได้ไหลพรวดพราด เหมือนน้ำที่ นครสวรรค์ และอยุธยา ระดับจะค่อยๆ เปลี่ยนไป ปริมาณจะค่อยๆ เปลี่ยนไป

 

เวลานี้เราต้องดูระดับน้ำที่ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า ต้องตรวจวัดกันทุกวัน ในช่วงที่จะขึ้นสูงสุดทุกวัน ซึ่งระดับน้ำตรงนี้จะเปลี่ยนแปลงทุกวัน หากมีน้ำทะเลหนุนสูงก็จะมีช่วง 14-15 ต.ค. ซึ่งน้ำทะเล จะหนุนสูงที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าที่สันดอน ที่ช่วงนี้จะหนุนสูงกว่าปกติประมาณ 20 เซนติเมตร ระดับความสูงจะค่อยๆ เรียงลงมา ระดับอาจจะขึ้นสูงสุดในวันที่ 15 ต.ค. (ณ วันที่ 18 ต.ค. 2554 กทม.ระบุว่าน้ำทะเลจะหนุนสูงอีกครั้งช่วง 28-30 ต.ค. 2554)

 

00 แสดงว่าปริมาณน้ำในขณะนี้ไม่น่าวิตกและไม่จำเป็นต้องประกาศแผนฉุกเฉิน

 

วิเคราะห์ตัวเลขแล้วไม่เห็นจะน่าวิตกเลย และตัวเลขแบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน เพราะเมื่อก่อนยิ่งกว่านี้อีก การประกาศภาวะฉุกเฉินต้องหมายความว่ากทม.ล้มระเนระนาด เอาไม่อยู่ ผมก็สงสัยว่าเอาไม่อยู่คืออะไร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.และผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำกทม.ก็ยืนยันมาโดยตลอดว่า คันกั้นน้ำของเขาระดับที่กทม.ที่สะพานพระพุทธยอดฟ้าสูง 2.50 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง แล้วขึ้นเรื่อยไปที่ปทุมธานีและนนทบุรี แล้วยังไงต่อ จะบอกไม่แน่ใจไม่ได้ เพราะการจัดการน้ำไม่ใช่เรื่องของปีนี้ปีเดียว

 

00 พายุบันยังที่กำลังจะมาทำให้คาดเดาปริมาณฝนเพิ่มขึ้นหรือไม่

 

ยังไม่มาหรอก พายุจะเข้าหรือไม่ยังไม่ทราบ มันอยู่ไกลตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะมินดาเนา และเวียดนามอาจต้องรับเคราะห์ก่อนเรา ทิศทางของพายุเราจะโดนแค่หางๆ อาจจะผ่านภาคกลางหรือกทม.ฝนตกตรงๆ คงจะไม่เข้าไปที่ภาคเหนือแน่นอน เพราะร่องความกดอากาศมันเปลี่ยน ทิศทางเกิดในละติจูด 5 องศา ใกล้กับแนวศูนย์สูตรแล้ว แต่ตรงนี้จะทำให้เกิดฝนตก น้ำขัง ล้อมรอบสนามบินหนองงูเห่า ซึ่งขังก็ต้องสูบออกในพื้นที่ภาคตะวันออกนอกคันกั้นน้ำจะเกิดน้ำขัง ตั้งแต่เขต มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง บึงกุ่ม พื้นที่พวกนี้จะเกิดน้ำขัง

 

ซึ่งต้องเข้าใจว่า น้ำฝนขังมันคนละน้ำกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอาจจะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเปลี่ยนแปลงนิดหน่อย เพราะฝนตกแผ่กระจายลงไปในทุ่ง ตกในกทม.ก็จะไม่ออกแม่น้ำ เพราะน้ำเยอะ ก็ต้องเกิดน้ำท่วมขัง กทม.ก็ต้องสูบออก มันแยกน้ำกันอยู่ในตัวแล้ว

 

น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาจะมาจากอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง ฝนตกในภาคกลางจะตกอยู่ในพื้นที่รวมกอง ทำให้มีน้ำขัง ออกเจ้าพระยาไม่ได้ เพราะเจ้าพระยาสูง และเหตุการณ์ที่จะเกิดไม่ใช่ 2-3 วันนี้ แต่อีก 7 วันข้างแน่นอน แต่ถ้าพายุมาเวียดนามจะต้องรับเคราะห์ก่อนไทย ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องมีสติแยกน้ำให้ออก ผมไม่กลัวหรอกหากฝนตกตรงๆ ในพื้นที่ขัง มันสูบออกได้ น้ำที่ผ่านกทม.เป็นน้ำข้างบนจากแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน อย่างเดียว ซึ่งยังไม่เคลื่อนลงมาเต็มๆ มันยังไม่รวมตัวเป็นจุดใหญ่ทีเดียวที่นครสวรรค์ ที่ต้องจับตาคือ แม่น้ำปิง ซึ่งเป็นสายน้ำที่แปรผัน เนื่องจากฝนตกที่ จ.กำแพงเพชร จ.ตาก

 

เวลานี้มวลน้ำแม่น้ำปิงกำลังเคลื่อนย้ายมานครสวรรค์ ผมก็ตรวจสอบปริมาณน้ำที่นครสวรรค์ทุกชั่วโมง มันไม่มีขยับยังคงที่ 4,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แม่น้ำปิงมวลใหญ่มาก็ต้องขยับ แต่ตรงนี้อย่างนำไปโยงกับเขื่อนคันกั้นน้ำที่นครสวรรค์แตก เราต้องดูตัวมวลน้ำว่ามันขยับขึ้นหรือไม่ เป็น 4,600 -4,700 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที ก็ลงมาที่เขื่อนชัยนาท ซึ่งคงที่มาหลายวันที่ระดับ 3,640 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที นี่คือมวลน้ำที่จะเข้ามาต่อเนื่องที่กทม.และมวลนี้จะมาสมทบกับแม่น้ำป่าสักตอนล่าง แม่น้ำป่าสักถ้าพายุไม่เข้าปริมาณน้ำก็ลงลงทุกวัน น้ำมวลนี้ไปไหนไม่ได้ ก่อนที่มากรุงเทพ ถึงเขื่อนเจ้าพระยา เขาก็แจกมาข้างๆ ลง ท่าจีน บางปะกง ก็เหลือผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาในระดับคงที่

 

00 ถ้าระดับน้ำไม่น่าวิตกเหตุใดประชาชนจึงแตกตื่นมาก

 

ปัญหาหลักเกิดจากพื้นที่ 3 จุดใหญ่ๆ นครสวรรค์ ลพบุรี อยุธยา ระเบิดเอาไม่อยู่ คันกั้นน้ำพัง ก็เลยมาวาดภาพว่ากทม.คงจะเหมือนกัน ผมก็บอกหลายครั้งแล้วว่าไม่เหมือนมันคนละพฤติกรรมน้ำและคนละพฤติกรรมพื้นที่ บ้านหมี่ ท่าวุ้ง ลพบุรี พื้นที่เป็นท้องกะทะใหญ่ มีคันกั้นน้ำสู้ แต่ประตูระบายน้ำคันมันขาด ทำมาเป็น 10 ปีแล้ว

 

00 ทำไมรัฐบาลจึงไม่อธิบายให้ประชาชนเข้าใจเหมือนอย่างที่อาจารย์กำลังอธิบาย

 

ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่ากรมชลประทานไปไหนหมด ทำไมไม่พูด ธรรมดาเวลาเกิดเหตุการณ์วิกฤติอย่างนี้ต้องมีแม่ทัพน้ำ คอยบัญชาเหตุการณ์วิกฤติทั้งเรื่องน้ำและที่กั้นน้ำ จะมาบอกที่โน่นที่นี่พังของประชาชนพังก็ต้องบอกว่าที่พังของประชาชน กทม.ต้องตรวจสอบระบบคันกั้นน้ำของตัวเองว่าอยู่ดีหรือไม่ ก็ไม่พูด ผู้ว่าฯกทม.บอกว่า แข็งแรงๆ ก็ต้องกล้าฟันธง และต้องเชื่อมโยงไปที่นนทบุรี ปทุมธานีด้วยว่าสภาพคันน้ำน้ำยังดีอยู่หรือไม่ แข็งแรงหรือไม่ ตอนนี้ใครเป็นแม่ทัพน้ำ

 

ในยุคก่อน ผู้หลักผู้ใหญ่ของกรมชลประทานจะมาบัญชาการเอง เพราะรู้เรื่องน้ำดีที่สุด แต่เวลานี้ไม่รู้อะไร และทำอะไรไม่ได้ นอกจากสู้ ก็ต้องถามว่าจะสู้หรือไม่ สู้ก็ต้องถามว่าสู้อย่างไร ทำไมไม่เอาเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ มาวางแนวทางกั้นน้ำฝนกทม.ที่เชื่อมกับปริมณฑล ต้องรู้ว่า น้ำท้ายคลองรังสิต เป็นอย่างไร ระบบวางไว้ให้แล้ว การป้องกันอยู่ที่ไหน ตรงไหนจำเป็นต้องเสริม ต้องซ่อมแซม ขณะนี้ไม่มีใครตอบได้

 

00 ขณะนี้ดูเหมือนว่าระบบการบริหารจัดการและการป้องกันน้ำของแต่ละจังหวัดล้มเป็นโดมิโน

 

มันต้องล้มครับ เพราะทุกแห่งสู้น้ำหมด ผมก็บอกว่าสู้ไม่ได้ทั้งหมด เพราะน้ำไม่สามารถไปอยู่ที่ที่เคยอยู่หรือที่ที่เคยรวมกองได้ มันก็สร้างตัวเองขึ้นมาเป็นระดับน้ำสูงพลังมันก็เยอะ คันทำไว้ไม่ดีก็ล้มระเนระนาดจนดูเหมือนน้ำเยอะ ทั้งๆ ที่มวลน้ำมันก็เท่าเดิม แต่ความสูงมันเยอะ แต่ทีนี้พอมาถึงกทม.มวลน้ำก็มวลเดิม แต่ความสูงไม่ได้เป็นอย่างนั้น มันแผ่กระจายลงมา สถานการณ์น้ำเป็นเรื่องที่ต้องเกาะติดเพื่อจะบอกเหตุการณ์ ว่าอะไรสำคัญที่สุด แต่ละจังหวัดที่เหตุการณ์เกิดขึ้น 10 กว่าปีไม่ใครสนใจจะแก้ปัญหาเลย ไม่มีจริง เมื่อปีกลายก็มีปัญหา ให้รวมตัวสร้างหลักคิด หลักทำ

 

พระเจ้าอยู่หัวท่านก็สร้างหลักว่า จะทำอะไรต้องเข้าใจและเข้าถึงนะ ปัญหาคือ ตอนนี้ทุกคนไม่รู้ว่าปัญหามันมาจากอะไร เพราะอะไร ธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน สภาพภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์ แต่ละพื้นที่แต่ละลุ่มน้ำแตกต่างกัน และพฤติกรรมของน้ำในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกัน งานนี้ยังไงก็ต้องมีแม่ทัพ หากไม่มีผู้บัญชาการอย่างคนที่รู้จริงๆแล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เวลานี้แก้ปัญหาเลอะเทอะสะเปะสะปะกันไปหมด

 

00 รัฐบาลยังพอมีเวลาที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือไม่

 

ตอนนี้ทำอย่างนี้ถูกแล้ว คือ เผชิญภัย ด้วยการช่วยเหลือผู้ประชาชนไปก่อน โดยให้มหาดไทยเป็นแกน เมื่อเหตุการณ์คลี่คลายรัฐบาลต้องตั้งสติว่า ในอนาคตข้างหน้าจะทำอย่างไร ไม่ใช่คิดแบบเดิม อยากจะทำอะไรต้องตั้งงบประมาณ เสนอครม.มาทำยังนี้ไม่สำเร็จ เพราะถ้าคิดโดยไม่รู้ ก็ทำอะไรไม่สำเร็จ ผมบอกได้เลยว่า สตางค์ แก้ปัญหาไม่ได้หรอก ตอนนี้หากเขื่อนหยุดพร่องน้ำลงมาก็อาจจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

 

00 การตั้งศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จะช่วยแก้ปัญหาได้หรือไม่

 

ดูองค์ประกอบแล้วไปไม่ได้หรอก แต่ถ้าแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการช่วยเหลือประชาชนก็พอไปได้ แต่ควรให้มหาดไทยเป็นผู้ดูแล เพราะตอนนี้งานหลัก คือ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยส่วนกรมชลฯควรจะถอยออกมาก่อน ส่วนกรมชลจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องว่า สถานการณ์เป็นอย่างไร ประเมินให้เขาให้ถูก และต้องมีกระบวนการตั้งรับที่ชัดเจน คันกั้นน้ำ ที่ไหนมีจุดอ่อน ต้องสำรวจ เฝ้าระวัง วิธีการที่ดีที่สุดในเวลานี้ คือ ปกป้องไม่ให้น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าไปในเขตเศรษฐกิจ

 

00 การพบปะระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์กับยิ่งลักษณ์จะทำให้เหมือนมีการร่วมมือแก้ปัญหาหรือไม่

 

แก้ปัญหาต้องดูว่าแก้ปัญหาอะไร แก้ปัญหาแบบนักการเมือง มันต้องมาแก้ปัญหาด้านเทคนิคการสู้น้ำกันก่อน ต้องเข้าใจระบบการแก้ไขปัญหาและการป้องกันของกทม. สมัยก่อนอุปกรณ์ไม่พร้อม เราก็สู้ได้ แต่ทีนี้จะสู้ไม่ได้ก็เพราะปอดแหกกัน ออกข่าวมา ระดับน้ำทะเลหนุนสูง มวลน้ำป่าสักมามากจะเกิดปัญหา พายุลูกใหม่กำลังจะเข้ามา พูดทิ้งไว้อย่างนี้ประชาชนก็กังวล

 

00 แสดงว่าการแก้ไขปัญหาในอนาคตเราก็ต้องมาบริหารจัดการใหม่ โดยเฉพาะเรื่องชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม

 

เราต้องเอาของจริงมาคิด ว่าตัวน้ำแต่ละปีเป็นยังไง ต้องเข้าภูมิประเทศแห่งนั้น ๆ เข้าภูมิประเทศของกทม. ทั้งฝั่งตะวันออก และตะวันตก กทม.เชื่อมกับสมุทรปราการ ออกปากอ่าว จะปกป้องกทม.ยังไงไม่ให้กระทบกับที่อื่น จะทำคันกั้นน้ำอย่างไรให้ไม่ให้กระทบถ้า อ่างทองทำคันกั้นน้ำ สิงห์บุรีทำคันกั้นน้ำ มันก็จะกระทบตลอดมาด้านล่าง กทม.เป็นพื้นที่แบนราบ ก็ต้องแยกเป็น 2 ส่วนว่า ด้านตะวันออกเป็นเขตเศรษฐกิจหรือเปล่า

 

00 นักการเมืองไม่ควรเข้ามายุ่งเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหรือไม่

 

ถ้าเป็นเรื่องเทคนิคคงต้องปล่อยให้ผู้มีความรู้เรื่องน้ำเป็นผู้ตัดสินใจ แต่นักการเมืองต้องมาเป็นตัวช่วยในการช่วยเหลือประชาชน อนุมัติงบประมาณ พิจารณาหลักการในการแก้ไขปัญหาในครม. โดยต้องรับฟังความคิดเห็นจากนักเทคนิค แต่ขณะนี้ปัญหากลายเป็นว่าแม่ทัพน้ำในระบบราชการถูกนักการเมืองครอบงำหมดแล้ว จึงทำให้ไม่กล้าตัดสินใจทั้งที่การแก้ปัญหาอุทกภัยหรือภัยธรรมชาติ นักน้ำ ผู้เชี่ยวชาญน้ำ จะต้องเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์หลัก

 

ในหลวงเคยตรัส เมื่อปี 2533 ว่า ไม่มีใครต้องการให้เกิดภัยธรรมชาติ แต่เมื่อเกิดแล้วเราต้องเข้าใจภัยธรรมชาติ และให้ภัยธรรมชาติเป็นครูที่จะสอนเรา ซึ่งผู้ปฏิบัติหรือผู้มีหน้าที่โดยตรงต้องนำไปแปลว่าจะทำอย่างไรการแก้ไขเรื่องน้ำ จะเดาส่งแบบหมอดูไม่ได้ กรมชลประทานในฐานะนักเทคนิค จะต้องมีบทบาทในการให้ความรู้ความเข้าใจกับนักการเมืองไม่ให้ถูกครอบงำได้ โดยนักการเมืองที่เป็นรัฐบาลจะต้องเป็นฝ่ายอำนวยการมีบทบาทในการประสานเพื่อให้อำนวยความสะดวกให้คล่องตัว

 

(ที่มา : ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2554)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำเจ้าพระยาทะลักท่วม ร.ร.วัดเขมาฯ สูง 1.50 เมตร เลื่อนเปิดเรียนเป็น 30 ต.ค.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 ตุลาคม 2554 16:56 น.

 

 

 

นายจารึก ศรีเลิศ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ถนนพิบูลย์สงคราม ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี เปิดเผยว่า โรงเรียนอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำสูงขึ้น แนวกระสอบทรายที่กั้นไว้ไม่สามารถต้านกระแสน้ำได้ น้ำทะลักเข้าโรงเรียนสูงประมาณ 1.50 เมตร ขณะนี้เทศบาลเมืองนนทบุรี เตรียมซ่อมแซมเขื่อน หากซ่อมเสร็จเรียบร้อยจะสูบน้ำออกจากพื้นที่

 

ทั้งนี้ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ประชาสัมพันธ์เลื่อนเปิดภาคเรียน จากวันที่ 25 ตุลาคมนี้ เป็นวันที่ 30 ตุลาคม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"ผู้ว่าฯ กทม." ย้ำอพยพเฉพาะคนนอกคั้นกั้นน้ำคลองหกวาเท่านั้น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 ตุลาคม 2554 17:33 น.

 

 

 

 

"สุขุมพันธุ์" แถลงรอบที่ 3 คาดมวลน้ำจากนวนคร-คลองระพีพัฒน์ จะเข้ากรุงเทพคืนวันพฤหัสและวันศุกร์นี้ เร่งเสริมคันกั้นน้ำสูง 3 เมตร พร้อมให้อ้วนขึ้น 1 กระสอบ ย้ำขออพยพเฉพาะชาวบ้านนอกคันกั้นน้ำคลองหกวาไปยังศูนย์อพยพเท่านั้น

 

วันนี้(19 ต.ค.) ที่โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงรอบที่ 3 ถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพ กับสื่อมวลชน ว่า มวลน้ำจากนวนครจะมาถึงกรุงเทพก่อน แล้วจึงตามด้วยจากน้ำจากคลองระพีพัฒน์ ขณะนี้คาดว่ามวลน้ำจะมาถึงคลองรังสิตในคืนวันพฤหัสบดี และไหลลงคลองหกวาในวันศุกร์นี้ ด้วยเหตุนี้ กทม.จะเร่งสร้างคันกั้นน้ำให้สูงขึ้นเป็น 3 เมตร เหนือระดับทะเลปานกลาง และอ้วนขึ้นอีก 1 กระสอบ อีกทั้งขอโยกย้ายประชาชนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ เฉพาะที่อาศัยนอกบริเวณคันกั้นน้ำเท่านั้นเข้าสู่ศูนย์อพยพตามโรงเรียนที่ กทม.เตรียมไว้ คือที่โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย และโรงเรียนสายไหม

 

กทม.FB เตือนชาวสายไหม 1,400 ครัวเรือน อพยพไปศูนย์พรุ่งนี้

 

ล่าสุดรายงานว่า ทีมงานของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้แจ้งผ่านเฟซบุ๊ค The Bangkok Governor ว่า ขณะนี้ทาง กทม.ได้สั่งการให้เขตสายไหมเตือนประชาชน 200 ครัวเรือนนอกคันกั้นน้ำคลองหกวา และ 1,200 ครัวเรือนสองฟากริมคลองให้เตรียมไปอยู่ศูนย์อพยพในวันพรุ่งนี้ (20 ต.ค.)

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

“บ้านอาสาใจดี” สุดคึก !นร.-นศ.กว่า 500 คน ร่วมเวิร์คช็อปทำ “เสื้อชูชีพขวดน้ำ"

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 ตุลาคม 2554 17:33 น.

 

 

 

“บ้านอาสาใจดี” สุดคึกคัก! นร.-นศ.กว่า 500 คน ร่วมเวิร์คช็อปทำ “เสื้อชูชีพขวดพลาสติก”

 

เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ที่ศูนย์อาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือ “บ้านอาสาใจดี” อาคารบรรษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) พหลโยธิน 3 บรรยากาศภายใน “บ้านอาสาใจดี” วันนี้เป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและต่างประเทศ กว่า 500 คน ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจรรมบรรจุสิ่งของ จัดทำลูกบอลบำบัดน้ำเสีย(EMBall) และบริจาคทุนทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจำนวนมาก นอกจากนั้นในวันนี้ “บ้านอาสาใจดี” ได้เปิดให้มีการจัดทำเวิร์คช็อปสอนวิธีการทำเสื้อชูชีพจากขวดพลาสติก เป็นวันแรก ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่ได้รับทราบข่าว อาทิ คณาจารย์และนักศึกษาจากสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จำนวนกว่า 20 คน ได้นำขวดพลาสติกกว่า 1,000 ขวด มามอบเป็นอุปกรณ์และร่วมจัดทำเสื้อชูชีพ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ประสบภัย เพื่อเป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉินหากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมเฉียบพลัน โดยขณะนี้ทางบ้านอาสาใจดี ได้รับแจ้งความประสงค์ต้องการเสื้อชูชีพมาแล้วจำนวนหนึ่ง

 

 

554000014141001.JPEG

 

ด้านหลัง มีขวดน้ำขนาดใหญ่ (1.5 ลิตร) อยู่ภายในเสื้อ 4 ขวด รวมแล้วหน้า-หลังไม่ต่ำกว่า 10 ลิตร สามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า 70 กก.

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า การดำเนินการตลอด 5 วันที่ผ่านมา (วันที่ 14-18 ต.ค.) มีอาสาสมัครทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีจิตอาสา มาร่วมบริจาคและร่วมกันบรรจุถุงยังชีพรวมกว่า 1,200 คน มีการบรรจุถุงยังชีพไปแล้วกว่า 3,500 ถุง โดยศูนย์ข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (Thaiflood) อาสาดุสิต และเครือข่าย ได้ลงพื้นที่เพื่อมอบถุงยังชีพให้ประชาชนที่ประสบภัยไปแล้วประมาณ 3,000 ถุง ในพื้นที่ จ.นนทบุรี ปทุมธานี ลพบุรี อยุธยา นอกจากนั้นมีผู้มีจิตอาสาบริจาคทุนทรัพย์มาแล้วรวมกว่า 130,000 บาท รวมทั้งได้จัดทำเวิร์คช็อปนวัตกรรมลูกบอลบำบัดน้ำเสีย หรือ EMBall เพื่อนำไปแก้ปัญหาน้ำเน่าจากการท่วมขังได้กว่า 7,500 ลูก สำหรับการจัดทำเวิร์คช็อบเสื้อชูชีพจากขวดพลาสติกเป็นวันแรก ได้รับความสนใจจากประชาชนมาร่วมกันทำจำนวนมาก โดยวันนี้ตั้งเป้าผลิตเสื้อชูชีพจากขวดพลาสติกให้ได้ประมาณ 100 ชุด โดยแต่ละตัวสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า 70 กิโลกรัม พื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยและผู้อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ทั้งนี้หากผู้ที่สนใจและต้องการขอรับเสื้อชูชีพเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ โทร.085-503-1819

 

554000014141002.JPEG

 

อาสาสมัคร ช่วยกันเย็บเสื้อด้วยเชือกฟางก่อนบรรจุขวดพลาสติก

 

ด้าน ดร.ปริญญา บุญมาเลิศ หัวหน้าสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต กล่าวว่า ได้รับทราบข่าวผ่านทางสื่อว่า บ้านอาสาใจดีจัดทำ เสื้อชูชีพจากขวดพลาสติก ตนและนักศึกษาจึงสนใจและได้นำขวดพลาสติกเหลือใช้มาบริจาค รวมทั้งร่วมจัดทำเสื้อชูชีพด้วย เพราะเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประสบภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถานการณ์ขณะนี้ หลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ ที่อาจต้องเสี่ยงกับสถานการณ์น้ำท่วมเฉียบพลัน และต้องมีการอพยพประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างเร่งด่วน หากมีการป้องกันตัวเองโดยสวมเสื้อชูชีพไว้ก็ทำให้เกิดความปลอดภัยยิ่งขึ้น

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

“สุขุมพันธุ์” ชี้มวลน้ำก้อนใหญ่เตรียมเข้ากรุง 800 ล้าน ลบ.ม. เตือน 7 เขต ติดตามใกล้ชิด ดูวีดีโอประกอบจาก Manager Multimedia

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 ตุลาคม 2554 12:30 น.

 

 

ผู้ว่าฯ กทม.แจ้งเตือนครั้งแรก 7 เขต บางเขน สายไหม หนองจอก มีนบุรี คลองสามวา ลาดกระบัง และคันนายาว เสี่ยงน้ำท่วม หลังประเมินสถานการณ์ทุ่งรังสิตรับมวลน้ำได้แค่ 400 ล้าน ลบ.ม. ที่เหลืออีกกว่า 800 ล้าน ลบ.ม.เตรียมไหลเข้าเมืองกรุง ด้าน กทม.ปรับแผนประเมินสถานการณ์เป็นทุก 3 ชั่วโมง พร้อมแจ้งประชาชนยกของขึ้นที่สูง หากไม่สามารถรับมือได้จะแจ้งล่วงหน้า 24 ชั่วโมง

 

 

 

วันนี้ (19 ต.ค.) เวลา 10.30 น. ณ ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. แถลงสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า กทม.ได้รับแจ้งจาก ศปภ.ว่า จะมีน้ำปริมาณกว่า 1,200 ล้าน ลบ.ม. จากตอนบนเหนือพื้นที่ กทม. ไหลผ่านมายังทุ่งรังสิต ซึ่ง กทม.ประเมินสถานการณ์แล้วว่าทุ่งรังสิตสามารถรับน้ำได้เพียง 400 ล้าน ลบ.ม. อาจส่งผลกระทบต่อคันกั้นน้ำตะวันออก ทำให้น้ำท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ และส่งผลกระทบต่อไปยังบางพื้นที่ของ กทม.จำนวน 7 เขต ได้แก่ สายไหม บางเขน คลองสามวา หนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง และคันนายาว ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาทขอให้ประชาชนในพื้นที่ 7 เขตดังกล่าวเตรียมยกสิ่งของ รวมทั้งปลั๊กไฟขึ้นที่สูง และเตรียมศึกษาแผนอพยพของ กทม. ซึ่งแต่ละสำนักงานเขตได้เตรียมแผนในการอพยพและศูนย์อพยพเพื่อรองรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจากนี้ไปแต่ละสำนักงานเขตจะได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ของตนเองได้รับทราบรายละเอียดแผนอพยพดังกล่าว

 

ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า การแจ้งเตือนครั้งนี้ถือเป็นการเตือนครั้งแรกของ กทม. แม้จะยังไม่รุนแรงถึงขั้นอพยพ แต่ขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ผ่านทาง www.bangkok.go.th ตลอด 24 ชั่วโมง โดยกทม.จะประชุมประเมินสถานการณ์และแถลงข่าวให้แก่สื่อมวลชนเพื่อแจ้งประชาชนทราบทุก 3 ชม. ถึงแม้จะไม่มีความเปลี่ยนแปลงก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก และรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องจาก กทม.โดยตรง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กทม.ยังมีวิธีการบริหารจัดการน้ำ แต่หากคาดการณ์แล้วสถานการณ์ไม่ดีขึ้น กทม.จะประกาศแจ้งเตือนล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

 

 

vdo ตามลิงค์

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000133284

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ย้อนรอยน้ำท่วมกรุงเทพฯจากอดีตถึงปัจจุบัน...รัฐบาลอย่าตกใจ ประชาชนจะดูแลท่านเอง!!

 

 

http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000133431

 

 

554000014133401.JPEG

 

 

554000014133402.JPEG

 

 

554000014133403.JPEG

 

 

554000014133404.JPEG

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ด่วน! ปทุมฯ นนท์ฯ น้ำสูงอีก 0.5-1 ม. นครปฐม สมุทรสาคร น้ำสูงขึ้นอีก 0.50 ม. กทม.น้ำคงที่ 1.20 ม.

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 ตุลาคม 2554 20:55 น.

 

 

พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) แถลงฉบับที่ 4 เนื่องจากปริมาณน้ำจำนวนมากไหลผ่านคลองระพีพัฒน์แยกตก ส่งผลให้น้ำเข้าท่วมทุ่งรังสิตตั้งแต่ คลอง 1 ถึงคลอง 13 อย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ทางศปภ.จึงแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ลุ่มต่ำ และน้ำท่วมขังในเขตต่อไปนี้ย้ายของขึ้นที่สูง

 

1. ปทุมธานี ประกอบด้วย อ.เมือง คลองหลวง หนองเสือ สามโคก ลาดหลุมแก้ว ระดับน้ำจะสูงขึ้นอีก 0.50-1.00 เมตร

 

2. นครปฐม อ.เมือง บางเลน นครชัยศรี สามพราน ดอนตูม กำแพงแสน พุทธมณฑล ระดับน้ำจะสูงขึ้นอีก 0.30-0.50 เมตร

 

3. สมุทรสาคร อ.เมือง บ้านแพ้ว กระทุ่มแบน ระดับน้ำจะสูงขึ้นอีก 0.30-0.50 เมตร

 

4. นนทบุรี อ.เมือง บางใหญ่ ปากเกร็ด บางบัวทอง บางกรวย ไทรน้อย ระดับน้ำจะสูงขึ้นอีก 0.50-1.00 เมตร

 

5. กรุงเทพมหานคร เขตคลองสามวา หนองจอก มีนบุรี คันนายาว ลาดกระบัง ระดับน้ำคงที่ 1.00-1.20 เมตร อาจเพิ่มสูงขึ้นอีกเล็กน้อย

 

เขตที่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง คือเขตสายไหม และเขตบางเขน ให้ย้ายของขึ้นที่สูง หากต้องอพยพจะแจ้งให้ทราบต่อไป !49 !_08 !dd

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คลองประปาแตก ปริ่มถนนแจ้งวัฒนะ พงษ์เพชร งามวงศ์วาน

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 ตุลาคม 2554 04:20 น.

 

 

 

 

คันกั้นคลองประปาแตก น้ำท่วมถนน กระทบปากเกร็ด เมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ งามวงศ์วาน แยกพงษ์เพชร "ประชา" ลงพื้นที่เสริมคันกั้นน้ำ หน้าหมู่บ้านนันทวรรณ ขอประชาชนเก็บของขึ้นที่สูง ชี้น้ำมุ่งหน้าคลองสามเสน บึงมักกะสัน หวังเร่งสูบลงเจ้าพระยาทัน

 

จากเหตุการณ์น้ำคลองประปาทะลักล้น เมื่อเวลาประมาณ 02.00 น. ที่ผ่านมา เริ่มต้นที่ช่วงระยะ 200 เมตร จากถนนแจ้งวัฒนะมุ่งหน้าสี่แยกพงษ์เพชร บริเวณที่น้ำเอ่อล้นอยู่ตรงข้ามหมู่บ้านนันทวรรณ ได้ไหลท่วมถนน และส่งผลกระทบในพื้นที่ วัดสีกัน ดอนเมือง ปากเกร็ด เมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ พงษ์เพชร งามวงศ์วาน

 

พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) ให้สัมภาษณ์สถานีเนชั่นแชนแนล ระบุว่า พื้นที่เกิดเหตุบริเวณคลองประปาที่น้ำเอ่อล้น มาจากน้ำหลากทุ่งที่มาจากนิคมอุตสาหกรรมนวนคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ส่วนน้ำที่หลากเข้าคลองรังสิต คันกั้นน้ำที่คลองรังสิตยังสมบูรณ์อยู่ไม่มีปัญหา ส่วนน้ำหลากทุ่งที่เข้ามาจากนวนคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต มาที่คลองประปา

 

ขณะนี้ น้ำไหลแรง พอสมควร โดยน้ำมุ่งหน้าไปที่คลองสามเสน ซึ่งตรงนั้นมีสถานีสูบน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ และกระแสน้ำไหลไปอีกที่คือ บึงมักกะสัน ตรงนั้น มีเครื่องสูบน้ำของกทม. เพื่อลงแม่น้ำเจ้าพระยา มีเครื่องสูบระบายน้ำได้ 90 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งทางวิศวกรการประปา ได้ให้ความเห็นว่าถ้าเครื่องสูบน้ำทำงานได้เต็มที่ ก็อาจจะใกล้เคียงกันระหว่างน้ำที่ไหลเข้า กับน้ำที่สูบออก ซึ่งตอนนี้ได้ปิดประตูน้ำสำแลแล้ว เพื่อให้รับเฉพาะน้ำที่หลากทุ่งมาจากนวนคร และมธ. ซึ่งทาง กทม. ก็ร่วมมือเต็มที่ อีกสักพักนายกรัฐมนตรีจะลงพื้นที่มาที่จุดเกิดเหตุ

 

"เราพยายามทั้งสองจุด ขอเตือนประชาชนชาวกทม. สถานการณ์ตอนนี้คับขัน ขอให้เก็บของขึ้นที่สูง น้ำจะไปถึงสามเสน เราพยายามเอาเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเต็มที่ ขอเตือนประชาชนให้ติดตามข่าวนี้อย่างใกล้ชิด " พล.ต.อ.ประชา กล่าว

 

นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการ สำนักระบายน้ำ คิดว่า น่าจะระบายน้ำได้ปริมาณค่อนข้างมาก ออกสามเสน และไปอุโมงค์มักกะสัน ตอนนี้อยู่ที่แนวคันกั้นน้ำแต่ละจุด ว่าจะมีปัญหาหรือไม่ ถ้าพนังกั้นน้ำยังดีอยู่ ก็ช่วยระบายเต็มที่ ไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน ต้องดูว่าน้ำมามากหรือไม่ หากแก้ปัญหาได้เร็วก็น่าควบคุมสถานการณ์ได้ ถ้าน้ำไม่เข้ามาเร็วกว่า 90 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ก็สูบออกไปได้ทัน

 

นายเจริญ ภัสระ ผู้ว่าการประปานครหลวง กล่าวว่า จะปิดประตูน้ำที่ปากคลองรังสิต แล้วสูบน้ำในคลองประปา โดยสูบผ่านโรงสูบน้ำสามเสน บึงมักกะสัน ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา คาดว่าจะใช้เวลา 2-3 ชม.

 

เพิ่มเติมจากทวิตเตอร์ ของจส.100 และสวพ.91

03.36 น.ภายในหมู่บ้านบูรพา 12 ถนนเวฬุวนาราม ด้านหลังหมู่บ้านติดคลองประปา มีน้ำไหลท่วมเข้าหมู่บ้านระดับน้ำถึงข้อเท้า และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

03.42 น.แยกพงษ์เพชร หมู่บ้านภัสสร น้ำเริ่มไหลเข้ามาแล้ว

03.50 น.แยกพิบูลย์วัฒนา ถนนพระราม 6 น้ำเริ่มไหลมาจากคลองประปาเข้าถนนแล้ว

03.51น.ถ.พระราม6 น้ำเริ่มล้นเข้ามาในช่องทางด้านซ้ายติดคลอง ตั้งแต่แยกประดิพัทธ์ ถึงโรงกรองน้ำสามเสน

 

 

ภาพประกอบ 2 จากทวิตเตอร์ @siamth: ระบุว่า "ริมคลองประปาแถบดอนเมืองบางช่วงน้ำไหลข้ามถนนละ"

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กทม.ชั้นใน ระทึก! มีลุ้นน้ำท่วมถึงหน้าบ้าน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 ตุลาคม 2554 04:58 น.

 

 

 

ฝ่ายสถานที่ทำเนียบฯ เต้นรับหน่วยข่าวกรอง นัดทีมงานถกด่วนรับมือป้องกันน้ำท่วม 10.00 น. วันนี้ หลังมีแนวโน้มน้ำเข้าถึงกทม.ชั้นใน ชี้สัญญาณเตือนน้ำทะลักผ่านท่อแถว "ท่าพระจันทร์-ท่าช้าง-เทเวศร์"

 

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ฝ่ายสำนักสถานที่และรักษาความปลอดภัยทำเนียบรัฐบาล เตรียมเรียกประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นการด่วนในวันนี้ 20 ต.ค.นี้ ที่ห้อง 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือจากปัญหาอุทกภัย หลังมีแนวโน้มน้ำจะเข้ามายังพื้นที่ กทม. โดยเฉพาะสถานที่สำคัญต่างๆที่อยู่ใกล้กับคูคลองใน กทม. และเนื่องจากทำเนียบรัฐบาลอยู่ติดกับคลองเปรมประชากร ซึ่งต้องมีการเตรียมความพร้อมในการป้องกัน และหลังจากได้ข้อสรุปแล้วจะมีการหารือร่วมกับทาง กทม. อีกครั้ง ที่จะต้องมีการขุดลอกท่อระบายน้ำต่างๆ เนื่องจากขณะนี้มีรายงานข่าวว่า น้ำทะลักเข้ามามาทางท่อระบายน้ำแล้ว แถวบริเวณท่าพระจันทร์ ท่าช้าง และเทเวศร์

 

แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาลยังกล่าวด้วยว่า การประชุมของฝ่ายสถานที่และรักษาความปลอดภัยทำเนียบนั้น สืบเนื่องจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ และหน่วยข่าวกรองแห่งชาติได้มีการประชุมก่อนหน้านี้ และสั่งให้มีการเตรียมความพร้อมทุกด้านในการป้องกัน ขณะที่แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาล ระบุด้วยว่า ถือว่าน้ำเข้าพื้นที่ กทม.เร็วกว่าที่คาดไว้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...