ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

post-442-082113400 1314139855.gifเมื่อวานเจอดอยเข้าไป2 วันนี้ขออัดอีก3ครับไม่กลัวอยู่แล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหรัฐติดกับ เงินเฟ้อกระตุ้นเศรษฐกิจต้องรอปีหน้า

22 สิงหาคม 2554 เวลา 07:17 น. | เปิดอ่าน 700 | ความคิดเห็น 1

เป็นข่าวร้ายสำหรับสหรัฐ ที่ดัชนีเงินเฟ้อกำลังพุ่งพรวดพราดอย่างน่ากลัว โดยในเดือน ก.ค.

 

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

เป็นข่าวร้ายสำหรับสหรัฐ ที่ดัชนีเงินเฟ้อกำลังพุ่งพรวดพราดอย่างน่ากลัว โดยในเดือน ก.ค. ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 0.5% เป็นการปรับขึ้นที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. ทำให้ตั้งแต่ปีที่แล้วอัตราเงินเฟ้อโดยรวมของสหรัฐพุ่งขึ้นไปที่ 3.6% แล้ว มากกว่าเพดานที่รัฐบาลสหรัฐต้องการซึ่งอยู่ที่ระหว่าง 1.72% เท่านั้น

 

ลงไปพิจารณาในรายละเอียด จะเห็นว่าราคาพลังงานในประเทศเพิ่มขึ้นราว 4.7% ราคาอาหารเพิ่มขึ้นอีก 0.4% นั่นหมายความว่า ภาวะเงินเฟ้อที่ก่อตัวขึ้นนั้นยิ่งทำให้พลังซื้อของผู้บริโภคสหรัฐ อันถือว่าเป็นกุญแจสำคัญของเศรษฐกิจเมืองลุงแซมที่ต้องพึ่งพาการขับเคลื่อนของผู้บริโภคเป็นสำคัญ อาจจะต้องฟุบตัวต่อไปอีกระยะหนึ่ง

 

 

หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกล่าวว่า นั่นเป็นผลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายดอกเบี้ยต่ำที่สหรัฐประกาศใช้มาตั้งแต่ปลายปี 2251 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ที่ส่งผลให้ดัชนีราคาปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นภาวะที่บรรดาผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลกรุงวอชิงตัน และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต้องจำยอม

 

และยังเป็นผลมาจากราคาน้ำมันในช่วงต้นปีที่ผ่านมาที่ปรับตัวสูงขึ้นจากการเก็งกำไรในตลาดโลก

 

ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ จะยิ่งทำให้เฟดประสบกับภาวะตีบตันมากขึ้น เมื่อการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใดๆ ต่อจากนี้จะยิ่งเป็นการสร้างความเสี่ยงให้กับปัญหาอันเปราะบางจากภาวะเงินเฟ้อมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

 

เป็นสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของสหรัฐในวันนี้อย่างแท้จริง ซึ่งหากพิจารณาสถานะทางเศรษฐกิจของลุงแซมในวันนี้จะเห็นชัดว่า

 

หนึ่ง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในสภาพเซื่องซึม ที่การจ้างงานและการบริโภคของประชาชนยังไม่ฟื้นตัว

 

สอง สหรัฐกำลังหมดช่องทางการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นทุกที เพราะปัญหาเงินเฟ้อที่กำลังดักหน้าดักหลัง การออกมาตรการใดๆ ย่อมมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง

 

สาม ผลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมานั้นไม่ได้ผลดังที่ควรจะเป็น โดยการกระตุ้นเศรษฐกิจแม้ว่าจะทำให้ภาคธนาคารมั่นคงขึ้นจากการฟื้นตัวของตลาดหลักทรัพย์และตลาดทุนในช่วงตลอดปี 2552 และ 2553 แต่ทว่าในภาคเศรษฐกิจจริงยังคงฟุบตัวอยู่

 

สี่ สหรัฐจำเป็นที่จะต้องใช้นโยบายกระตุ้นผ่านดอกเบี้ยต่อไป ซึ่งจะยิ่งทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าลงไปเรื่อยๆ และจะยิ่งทำให้เงินเฟ้อเพิ่มมากขึ้น

 

ขณะเดียวกันหากย้อนกลับไปในช่วงวิกฤตการเงินต่อเนื่องด้วยวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2551 ต้องเรียกได้ว่า ในขณะนั้นเฟดและรัฐบาลกรุงวอชิงตันมีทางเลือกในการกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าในขณะนี้

 

เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวรัฐบาลสหรัฐยังไม่ประสบปัญหาเรื้อรังในด้านหนี้สาธารณะเมื่อเทียบกับในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 14.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และกำลังจะกู้เพิ่มอีกถึง 2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

 

อีกทั้งระดับเงินเฟ้อในช่วงดังกล่าว ยังอยู่ในระดับปลอดภัยที่ทำให้ธนาคารกลางกล้าพอที่จะตัดอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบผ่านมาตรการกระตุ้นทั้งทางนโยบายดอกเบี้ย และมาตรการทางการเงินอื่นๆ เช่น นโยบายคิวอี ที่ประกาศใช้มาแล้วถึง 2 ครั้ง อย่างเด็ดเดี่ยว รวดเร็ว และฉับพลันทันทีที่เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจขึ้น

 

แต่เมื่อหันมามองในปัจจุบันนี้ หลังจากที่ได้ทุ่มเงินมหาศาลไปหลายระลอกนั้น กลับทำให้รัฐบาลสหรัฐต้องติดกับดักของปัญหาหนี้สาธารณะ ขณะที่เฟดก็กำลังจมปรักกับปัญหาเงินเฟ้อ

 

การออกมาตรการกระตุ้นใดๆ จึงไม่สามารถกระทำได้ในทันท่วงทีเหมือนดั่งเมื่อ 3 ปีก่อน

 

แต่ทว่า หากสหรัฐยิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลย นั่นยิ่งหมายความว่า เศรษฐกิจสหรัฐในวันนี้มีความเสี่ยงที่จะถอยหลังเข้าสู่ภาวะถดถอยสูง เพราะสหรัฐไม่ใช่ประเทศที่พึ่งการส่งออกเพื่ออยู่รอด

 

แต่ต้องพึ่งพาแรงขับเคลื่อนจากภายในตลอดเวลา !

 

ซ้ำร้าย ยังปรากฏสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เมื่อดัชนีเศรษฐกิจในภาครวมของประเทศที่ธนาคารกลางสหรัฐสาขาฟิลาเดลเฟีย ประกาศออกมานั้นลดลงไปที่ติดลบ 30.7 จุด ในเดือนนี้เป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2552

 

ซึ่งล่าสุดนั้น ในทางหนึ่งเฟดก็ได้ลงมือกระตุ้นเศรษฐกิจไปแล้วผ่านนโยบายดอกเบี้ย เมื่อ เบน เบอร์แนนคี ผู้ว่าการเฟด ประกาศย้ำเมื่อวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมา ว่าเฟดจะคงดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไปอีก 2 ปี ไปถึงกลางปี 2556

 

อีกทั้งเฟดยังได้ส่งสัญญาณถึงการหาช่องทางการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะนโยบายเข้าซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล หรือที่เรียกกันติดปากว่านโยบายคิวอี (Quantative Easing) ที่เคยใช้มาแล้วถึง 2 ครั้ง

 

แต่การนำนโยบายดังกล่าวก็จุดประเด็นให้เกิดข้อโต้เถียงกันอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา เพราะว่า 1.การใช้นโยบายดังกล่าวในครั้งล่าสุดระหว่างเดือน พ.ย. 2553มิ.ย. 2554 นั้น ไม่ได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐในระยะยาวเท่าใดนัก หนำซ้ำยังทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าหนักลงไปอีก และ 2.การกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงนี้ถือว่าเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งคาดว่ากระแสคัดค้านจะมีมากกว่ากระแสสนับสนุน เพราะสหรัฐกำลังถูกจ่อคอหอยด้วยปัญหาเงินเฟ้ออยู่

 

พอล เดลส์ นักเศรษฐศาสตร์จากกองทุนแคปปิตอล อิโคโนมิก ในนครโทรอนโต ของแคนาดา ให้ความเห็นผ่านสำนักข่าวบลูมเบิร์กว่า เงินเฟ้อในสหรัฐยังจะอยู่ในช่วงขาขึ้น และมีทิศทางแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เฟดจึงไม่น่าจะออกมาตรการกระตุ้นใดๆ ในระยะนี้

 

แต่นั่นไม่ใช่ว่าปัญหาเงินเฟ้อจะทำให้เฟดทิ้งทางเลือกของการใช้นโยบายกระตุ้นทิ้งไป แต่เพียงจะทำให้ต้องเลื่อนออกไปเท่านั้น ซึ่งอย่างน้อยที่สุดในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2554 นี้ เฟดจะไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่าการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0% ซึ่งจำเป็นที่จะต้องรอให้ระดับเงินเฟ้อลดลงก่อนที่จะนำนโยบายใดๆ มาใช้ ซึ่งอาจจะได้เห็นนโยบายกระตุ้นอีกอีกครั้งในปีหน้า

 

“เราอาจจะไม่เห็นการกระตุ้นหลักๆ ในปีนี้ แต่ต้นปีหน้าเมื่อระดับเงินเฟ้อเริ่มที่จะลดลง นโยบายคิวอี 3 อาจจะกลับมาอยู่บนโต๊ะพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง” เดลส์ กล่าว

 

ดังนั้น ทางเลือกสุดท้ายที่สหรัฐเหลืออยู่ในขณะนี้ก็คือ การรอให้ระดับเงินเฟ้อลดลงไปตามกลไกเศรษฐกิจที่กำลังตกอยู่ในภาวะซบเซา เพื่อที่จะเป็นการเปิดประตูให้เฟดใช้นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ให้ได้เร็วที่สุดเท่านั้น

 

เหลือแค่ทางเลือกนี้จริงๆ..!

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันโลกขาลงเศรษฐกิจโลกซบ-วิกฤตลิเบียใกล้ยุติ

23 สิงหาคม 2554 เวลา 07:29 น. | เปิดอ่าน 730 | ความคิดเห็น 0

นับเป็นชัยชนะที่ทั่วโลกต่างจับตามองด้วยใจระทึก หลังจากที่ฝ่ายต่อต้าน พ.อ.โมอัมมาร์ กัดดาฟี

 

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

นับเป็นชัยชนะที่ทั่วโลกต่างจับตามองด้วยใจระทึก หลังจากที่ฝ่ายต่อต้าน พ.อ.โมอัมมาร์ กัดดาฟี ซึ่งปกครองประเทศลิเบียมาอย่างยาวนาน 42 ปี สามารถเข้าครองกรุงตริโปลี ฐานที่มั่นสุดท้ายของกัดดาฟีได้อย่างเกือบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

 

เพราะแม้จะเป็นประเทศเล็กๆ ที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย แต่ลิเบียถือเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันดิบชั้นนำของโลก ด้วยกำลังการผลิตที่สูงถึง 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 2% ของปริมาณน้ำมันที่ผลิตป้อนสู่ตลาด และเป็นแหล่งที่มีปริมาณน้ำมันดิบสำรองที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา

 

นอกจากนี้ น้ำมันดิบของลิเบียยังมีคุณภาพสูง โดยสามารถนำมาใช้ผลิตเป็นน้ำมันเบนซิน ดีเซล และน้ำมันสำหรับเครื่องบินได้ เพราะมีสารซัลเฟอร์ผสมอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับน้ำมันที่ส่งมาจากซาอุดีอาระเบีย ทำให้น้ำมันของลิเบียเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดยุโรปและเอเชีย

 

หากยังจำกันได้ ในช่วงที่ลิเบียเกิดการต่อสู้รุนแรงจนต้องหยุดการผลิตและการส่งออกน้ำมันนั้น ตลาดโลกต้องพบกับความโกลาหลครั้งใหญ่ ราคาน้ำมันดิบในตลาดสหรัฐซึ่งอยู่ที่ 84 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วจนไปอยู่ในราคาที่มากกว่า 110 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในช่วงปลายเดือน เม.ย. ขณะที่น้ำมันดิบเบรนต์ในยุโรปปรับสูงขึ้นมากกว่า 120 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยมีความต้องการใช้น้ำมันในตลาดประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างจีน เป็นปัจจัยหนุนให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น

 

 

ราคาน้ำมันที่แพงขึ้นจึงกลายเป็นความท้าทายยิ่งใหญ่สำหรับเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศ ที่ต้องพึ่งพาการบริโภคพลังงานเพื่อช่วยในการฟื้นตัว

 

ดังนั้น เมื่อความวุ่นวายที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานานถึง 6 เดือนมีทีท่าว่าจะยุติลง ตลาดน้ำมันโลกจึงมีท่าทีที่ผ่อนคลายมากขึ้น เพราะเริ่มมั่นใจว่า ลิเบียจะสามารถกลับมาผลิตน้ำมันป้อนตลาดได้อีกครั้งภายในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ โดยราคาน้ำมันดิบเบรนต์ปรับตัวลดลงถึง 3.22 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยมีราคาขายอยู่ที่ 105.40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

 

อย่างไรก็ตาม ในสายตาของนักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีเท่าไรนัก

 

เพราะราคาน้ำมันในตลาดโลกในปัจจุบันนี้มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ซึ่งราคาน้ำมันดิบเบรนต์ลดลง 14% นับตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงก็เพราะปริมาณความต้องการใช้ลดลง โดยมีสาเหตุหลักๆ อยู่ที่ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอการเติบโตเป็นหลักใหญ่ และกรณีของลิเบียเป็นเพียงปัจจัยเสริมอีกตัวหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมันลดลงเท่านั้น

 

ทั้งนี้ ก่อนหน้าข่าวดีเรื่องชัยชนะของกลุ่มกบฏลิเบียเพียงไม่กี่สัปดาห์ ทางกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก (โอเปก) ได้ออกมาปรับลดค่าความต้องการน้ำมันในตลาดโลกลง โดยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2554 นี้ ความต้องการน้ำมันจะอยู่ที่ 88.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากการคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 88.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

ขณะที่ในปี 2555 โอเปกคาดการณ์ว่าความต้องการน้ำมันจะเพิ่มขึ้น 1.5% มาอยู่ที่ 89.44 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ก็ยังน้อยกว่าปริมาณที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 89.50 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

สาเหตุหลักที่ทำให้กลุ่มโอเปก กลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตน้ำมันราว 40% ป้อนตลาดโลกต้องออกมาปรับลดค่าการคาดการณ์ในครั้งนี้ ก็เพราะว่าสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐและยุโรป ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาหนี้สุมท่วมหัว และอัตราการว่างงานที่สูงลิ่ว ขณะที่บรรดาประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียอย่างจีน ก็ต้องคุมเงินเฟ้อจนส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต

 

สัญญาณข้างต้นล้วนบ่งชี้ให้กลุ่มโอเปกและนักวิเคราะห์หลายสำนักเริ่มมองเห็นทิศทางของเศรษฐกิจโลกในอนาคตที่มีแนวโน้มซบเซา ซึ่งตัวเลขผลประกอบการของกิจกรรมในภาคอุตสาหกรรมต่างก็เริ่มแสดงอาการชะลอตัวให้เห็นบ้างแล้ว

 

ทั้งนี้ แม้ว่าในช่วงที่เกิดเหตุความวุ่นวายและความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลางและทางตอนเหนือของแอฟริกา จะทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากความกังวลต่อปริมาณการผลิตน้ำมันที่จะป้อนเข้าสู่ตลาด จนทำให้โอเปกจำต้องปรับเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้นถึง 4 แสนบาร์เรล มาอยู่ที่ 30.07 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อทดแทนปริมาณการผลิตจากลิเบีย อิรัก อิหร่าน และไนจีเรีย

 

แต่ทว่าปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวกลับน้อยกว่าเกณฑ์เฉลี่ยที่กลุ่มประเทศโอเปกคาดการณ์ว่าจะต้องผลิตในไตรมาส 3 ของปีนี้เกือบ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนทำให้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาโอเปกต้องลดปริมาณการส่งออกน้ำมันไปสหรัฐและยุโรปลงอีก 0.5% จาก 22.75 ล้านบาร์เรลต่อวันมาอยู่ที่ 22.63 ล้านบาร์เรลต่อวันอีกครั้ง

 

ประกอบกับตัวเลขทางเศรษฐกิจล่าสุด เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาส 2 ของปี ทั้งสหรัฐ (1.3%) เยอรมนี (0.1%) และฝรั่งเศส (0%) ซึ่งล้วนเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจของโลก ยังอยู่ในระดับที่ต่ำจนแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีการเติบโตเลย ยิ่งทำให้บรรดาบริษัทห้างร้านทั่วโลกต่างชะลอกิจกรรมทางเศรษฐกิจของตนเองลง เนื่องจากยักษ์ใหญ่ของโลกเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวแล้ว

 

ทั้งนี้ เมื่อต้องตกอยู่ในสภาพเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนเอาแน่เอานอนไม่ได้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เหล่าประเทศต่างๆ จะลดความต้องการใช้น้ำมัน จนทำให้โอเปกต้องปรับลดการคาดการณ์ตามไปด้วย

 

ดังนั้นแล้วในสายตาของนักวิเคราะห์และนักลงทุน ราคาน้ำมันที่ลดลงจึงไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีนัก เพราะเป็นสัญญาณการชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีคนเสียประโยชน์ก็ย่อมต้องมีคนได้ประโยชน์ และคนที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ลดลงไปเต็มๆ ก็คือประเทศที่ต้องพึ่งพาน้ำมันเพื่อกระตุ้นการผลิตและการบริโภคอย่าง สหรัฐและยุโรป

 

ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก่อนหน้านี้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดภาคการบริโภคและภาคการผลิตอันเป็นฐานสำคัญทางเศรษฐกิจของทั้งสหรัฐและยุโรป เนื่องจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้นทำให้ผู้บริโภคประหยัด งดการใช้จ่าย สินค้าที่ผลิตออกมาจึงขายไม่ได้ ร้อนถึงผู้ผลิตที่ต้องชะลอการลงทุน จนยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจที่ชะลออยู่แล้ว ให้ชะลอหนักข้อขึ้นไปอีก

 

การผ่อนคลายความกังวลของตลาดที่มีต่อการสู้รบในลิเบีย จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีไม่น้อย สำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรปในช่วงนี้

 

กระนั้น นักวิเคราะห์ทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ยังเร็วเกินไปที่จะดีใจ เนื่องจากลิเบียต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 เดือนกว่าที่จะกลับมาผลิตให้ได้ประมาณ 5 แสนบาร์เรลต่อวัน

 

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันในลิเบียยอมรับว่า ปริมาณดังกล่าวเพียงพอที่จะใช้ภายในประเทศเท่านั้น ไม่ใช่สำหรับการส่งออกและอาจจะต้องใช้เวลานานอีกหลายเดือนสำหรับเพิ่มปริมาณการผลิต เพราะต้องประเมินและฟื้นฟูความเสียหายที่ได้รับจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่ผ่านมา

 

อย่างไรก็ตาม หากราคาน้ำมันยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง บรรดารัฐบาลในสหรัฐและยุโรปคงสามารถผ่อนคลายความกดดันลงมาได้เปลาะหนึ่ง เป็นช่วงเว้นพักก่อนที่จะเดินหน้าหามาตรการแก้ไขภาวะเศรษฐกิจถดถอยต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

!thk ขอบคุณคุณส้มโอมือค่ะ .. สำหรับข่าวเช้า

 

วันนี้คงเป็นโอกาสอันดี .. ที่จะเก็บน้องทองเพิ่ม..

หลังจากเฝ้ามองดูมาหลายวัน.. อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก[/b] (คืนนี้)

 

01.45 น. อูดิเนเซ่ - อาร์เซน่อล ช่อง 3

01.45 น. เบนฟิก้า - ทเวนเต้ ช่อง 7

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับสำหรับข่าวสาร ผมว่าก็เป็นไปได้แหะ ที่สหรัฐจะ"เลื่อน"คิวอี แต่สุดท้ายยังไงก็คงต้องมา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
post-442-063669100 1314227107.gifซื้อเก็บจนกลัว ทองล้นมือแล้วครับ ช่วงนี้ผมขอนั่งดูเฉยๆครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

GC : เขียว (SL : 1,742.60)

 

SI : เขียว (SL : 38.67)

 

SET, S50, AFET, TOCOM : แดง

 

เมื่อคืนทองลงหนักมาก ยังไงก็อย่าลืม SL กันนะครับเพื่อน ๆ

 

ด้วยความหวังดี

 

ป.ล. ทองลงหนัก แต่ Arsenal ชนะ เข้ารอบ ชปล. เรียบร้อยครับ (เกี่ยวกันมั๋ยเนี่ย :lol: :lol: :lol: :lol: )

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบ่งกลุ่มแชมป์เปี้ยนลีก

 

GROUP A

FC BAYERN MUNICH

VILLAREAL

MANCHESTER CITY

NAPOLI

 

GROUP B

INTER MILAN

CSKA MOSCOW

LILLE

TRABZONSPOR

 

GROUP C

MANCHESTER UNITED

BENFICA

FC BASEL

OTELUL

 

GROUP D

REAL MADRID

LYON

AJAX AMSTERDAM

DINAMO ZAGREB

 

GROUP E

CHELSEA

VALENCIA

LEVERKUSEN

GENK

 

GROUP F (แค่แบ่งกลุ่มก็หนักแล้วครับ :D :D )

ARSENAL

MARSEILLE

OLYMPIAKOS

DORTMUND

 

GROUP G

FC PORTO

SHAKHTAR

ZENIT

APOEL

 

GROUP H

BARCELONA

AC MILAN

BATE

PLZEN

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พรีเมียร์ลีก

เสาร์ 27 สิงหาคม 2554

 

18.05 น. แอสตัน วิลล่า - วูล์ฟแฮมป์ตัน ทรูสปอร์ต 1(101),ESPN Astro

18.30 น. วีแกน - ควีนส์ปาร์ค ทรูสปอร์ต 2(102)

21.00 น. เชลซี - นอริช ซิตี้ ทรูสปอร์ต 1(101)

21.00 น. แบล็คเบิร์น - เอฟเวอร์ตัน ทรูสปอร์ต 3(103)

21.00 น. สวอนซี - ซันเดอร์แลนด์ ทรูสปอร์ต 6(106)

23.30 น. ลิเวอร์พูล - โบลตัน ทรูสปอร์ต 3(103)

 

อาทิตย์ 28 สิงหาคม 2554

 

ขออภัยโปรแกรมยังไม่มา

 

แต่มีบิ๊กแมทช์ แมนยูฯ vs อาร์เซนอล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

GC : เขียว (SL : 1,742.60)

 

SI : เขียว (SL : 38.67)

 

SET, S50, AFET, TOCOM : แดง

 

เมื่อคืนทองลงหนักมาก ยังไงก็อย่าลืม SL กันนะครับเพื่อน ๆ

 

ด้วยความหวังดี

 

ป.ล. ทองลงหนัก แต่ Arsenal ชนะ เข้ารอบ ชปล. เรียบร้อยครับ (เกี่ยวกันมั๋ยเนี่ย :lol: :lol: :lol: :lol: )

 

ขอบคุณค่ะ คุณ Henry stoploss ไปตามระบบแล้วค่ะ.. บวกหนึ่งสำหรับความใจดีค่ะ ขอบคุณค่ะ ^_^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รบกวนคุณ Henry หาก GC ระบบเขียว ตะโกนดัง ๆ ด้วยนะคะ จะได้เข้าตามระบบค่ะ ขอบคุณค่า.... :wub: :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...