ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอเพิ่มเติมนิดนึง

 

เสาร์ อาทิตย์ นี้ห้ามพลาด ช่อง 3 17:45 - 19:45

 

ทงอี กำลังสนุกเลย :lol: :lol: :lol: :lol:

ถูกแก้ไข โดย henry

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ และแนวคิดสำหรับอนาคต

ระดมสมอง : ไสว บุญมา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 1 กันยาย 2554

 

ณ วันนี้ตัวชี้วัดต่างๆ ยืนยันว่า เศรษฐกิจโลกจะประสบภาวะซบเซาต่อไปเป็นอย่างน้อย และอาจจะถาถอยร้ายแรงมาก เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง

 

นักเศรษฐศาสตร์บางคนประเมินว่า ปัญหาจะหนักหนาสาหัสถึงขนาดเทียบเท่าวิกฤตใหญ่หลวงที่เกิดขึ้นในช่วงหลังตลาดหลักทรัพย์ฯ ในสหรัฐอเมริกาล่ม เมื่อปลายปี 2472

 

เราลองมองที่หัวจักรขนาดใหญ่ในอเมริกา ยุโรป และเอเชียว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น

 

สหรัฐอเมริกา เป็นหัวจักรใหญ่ที่สุดที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกให้ขยายตัวมาเป็นเวลานาน แต่ตอนนี้ไม่มีศักยภาพที่จะทำเช่นนั้นต่อไปได้ เนื่องจากข้อจำกัดทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง

 

ทางด้านเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังตกอยู่ในภาวะอ่อนปวกเปียก แม้รับฐาลกลางจะใช้มาตรการกระตุ้นหลายอย่าง รวมทั้งลดดอกเบี้ยลงมาจนเกือบถึงศูนย์ และทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเข้าไปในระบบช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา เพื่อแก้ปัญหาความถดถอยหลังฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกเมื่อปี 2551

 

ต่อไปนี้ รัฐบาลกลางจะไม่สามารถเพิ่มการใช้จ่ายได้มากนัก เนื่องจากภาวะทางการเมืองไม่อำนวย ตรงข้ามรัฐบาลกลาง จะต้องลดการใช้จ่ายตามข้อตกลงที่ทำไว้กับรัฐสภา เมื่อต้นเดือนสิงหาคม เพื่อให้รัฐสภายินยอมเพิ่มเพดานหนี้ของรัฐบาล

 

หากมองไปที่รัฐบาลของรัฐ และ รัฐบาลท้องถิ่นจะพบว่า ส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ในภาวะลำบากเนื่องจากขาดดุลงบประมาณกันมากอยู่แล้ว รัฐขนาดใหญ่ เช่น แคลิฟอร์เนีย มีปัญหามากถึงขนาดแทบจะต้องประกาศล้มละลาย และจะประสบปัญหายืดเยื้อต่อไปอีกนาน

 

ส่วนภาคเอกชนก็ไม่อยู่ในภาวะที่จะเพิ่มการใช้จ่ายได้มากนัก เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ เมื่อยล้า เพราะมีปัญหาหนี้สินรุงรัง เมื่อผู้บริโภคไม่เพิ่มการใช้จ่าย ภาคธุรกิจย่อมไม่เพิ่มการลงทุน

 

ด้วยเหตุเหล่านี้ผู้เชี่ยวชาญจึงพากันคาดว่า เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะถดถอยอีกครั้งอย่างแน่นอน

 

ร้ายยิ่งกว่านั้น นักเศรษฐศาสตร์ชั้นรางวัลโนเบล เช่น พอล ครุกแมน มองว่า ปัญหาอาจจะหนักหนาสาหัสถึงขนาดทำให้สหรัฐอเมริกาเสื่อมถอยจนกลายเป็น "รัฐลูกกล้วย" (Banana Republic) เช่นเดียวกับประเทศด้อยพัฒนาจำนวนมาก

 

เมื่อหันไปมองทางสหภาพยุโรป จะพบว่า ปัญหาน่าหนักหนาสาหัสกว่าของสหรัฐอเมริกาเสียอีก กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส มีหนี้สินมากมายจนชำระไม่ได้ ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากสมาชิกอื่น และจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

 

แม้จะได้รับความช่วยเหลือถึงสองครั้ง กรีซ ก็ยังตกอยู่ในภาวะลูกผีลูกคน และมีทีท่าว่าจะซบเซาต่อไปอีกนาน นอกจากนั้นสเปน และอิตาลีก็มีหนี้สินมากมาย จนอาจชำระไม่ได้ตามกำหนดเวลาเช่นกัน ส่วนเยอรมนี และฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในกลุ่มของผู้ใช้เงินสกุลยูโร ก็เริ่มอ่อนล้าจนไม่สามารถพยุงประเทศสมาชิกได้

 

ผลสุดท้าย การใช้เงินสกุลนั้นอาจต้องถูกยกเลิก นั่นจะเป็นการสร้างความปั่นป่วนขนาดใหญ่ให้แก่ระบบการเงินของโลก

 

อังกฤษ เป็นอีกประเทศหนึ่งซึ่งเป็นหัวจักรสำคัญด้านเศรษฐกิจของยุโรป การจลาจลทั่วประเทศเป็นเวลาหลายวัน เริ่มจากวันที่ 6 สิงหาคม บ่งบอกว่าปัญหาของอังกฤษ ไม่น่าจะน้อยไปกว่าปัญหาของประเทศอื่น และอาจจะแก้ยากกว่า เนื่องจากมันเป็นปัญหาเชิง โครงสร้างทางสังคมไม่น้อยกว่าปัญหาเศรษฐกิจ

 

ฉะนั้น โอกาสที่อังกฤษจะเป็นหัวจักรให้แก่ยุโรปจึงมีน้อย

 

เอเชียมีเศรษฐกิจที่เป็นหัวจักรขนาดใหญ่ของเศรษฐกิจโลกได้คือ ญี่ปุ่น และจีน

 

ญี่ปุ่น เป็นหัวจักรไม่ได้ในช่วงนี้ เพราะตกอยู่ในภาวะซบเซายืดเยื้อมานาน จนถึงกับมีการเรียกช่วงหนึ่งว่า เป็น "ทศวรรษแห่งความสูญเปล่า" (The Lost Decade) ขณะนี้ญี่ปุ่นมีปัญหาเพิ่มขึ้นจากการถูกคลื่นยักษ์ถล่มจนโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เสียหายหลายโรง ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลญี่ปุ่นยังมีภาระหนี้สินสูงมาก

 

หากวัดกันตามสัดส่วนของรายได้ประชาชาติ ก็นับว่าเป็นอันดับสูงที่สุดในโลกคือ เกิน 225% ภาระอันหนักอึ้งนี้ ทำให้รัฐบาลมีอิสระที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพียงจำกัด

 

หันมาดูทางด้าน จีน ซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวสูงมากมาเป็นเวลานาน จนในขณะนี้มีขนาดเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น จีนขยายตัวได้ เพราะการส่งออก เมื่อตลาดภายนอกซบเซา โอกาสที่จีนจะขยายตัวสูงต่อไปย่อมไม่มี

 

ยิ่งกว่านั้น เหตุการณ์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นอย่างแจ้งชัดว่า จีนจ้องแต่จะเอาเปรียบคู่ค้า มากกว่าจะเปิดตลาดอย่างเสรี จะเห็นว่าจีนไม่ยอมเพิ่มค่าเงินหยวน แม้จะค้าขายได้เกินดุลติดต่อกันมาเป็นเวลานับสิบปี

 

ฉะนั้น จะหวังว่าจีนจะเป็นหัวจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ให้พ้นจากความซบเซาย่อมเป็นไปไม่ได้

 

ทั้งที่จีนน่าจะรู้ว่านโยบายเอาเปรียบคู่ค้าเช่นนั้น ในที่สุดจะหันกลับมาฆ่าตนเอง เฉกเช่นที่เกิดขึ้นแล้วในตอนก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่หลวงเมื่อช่วงหลังปี 2472

 

ครั้งหนึ่งมีการพูดว่า หากสหรัฐอเมริกาเป็นหวัด ทั่วโลกอาจเป็นปอดบวม คราวนี้ไม่เฉพาะสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่เป็นหวัด ฉะนั้นเป็นไปได้สูงว่าบางส่วนของโลกอาจจะตาย

 

จึงมีคำถามว่า ในเมื่อโลกมีนักเศรษฐศาสตร์ชั้นรางวัลโนเบลมากมาย ทำไมจึงไม่มีใครเสนอทางออก คำตอบคือ ในตอนนี้โลกยังไม่มีนักเศรษฐศาสตร์ เช่น จอห์น เมนาร์ด เคนส์ ซึ่งเสนอทางแก้ไขวิกฤตครั้งใหญ่ในช่วงหลังปี 2472 แต่ตอนนี้ข้อเสนอของเขาใช้ไม่ได้ เนื่องจากภาวะโลกได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญแล้ว

 

เราจะทำอย่างไร ในเมื่อโลกเป็นเสียเช่นนี้ ?

 

สำหรับในระดับรัฐบาล แนวนโยบายได้เสนอไว้ในหนังสือชื่อ "ทางข้ามเหว : แนวคิดสำหรับแก้วิกฤตไทย" แต่ก็ค่อนข้างแน่ใจว่า จะไม่มีใครรับฟัง

 

อย่างไรก็ตาม ผู้สนใจอาจติดต่อรับหนังสือได้ที่ ผศ.ทัศนีย์ กระต่ายอินทร์ ม.ราชภัฏเทพสตรี ลพบุรี 15000 โทร 08-6125-5014 สำหรับในระดับบุคคล คอลัมภ์นี้ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม ได้เสนอเรื่องการมองหาความปลอดภัยไว้บ้างแล้ว เกี่ยวกับที่ดินเพื่อการเกษตร

 

วันนี้ไม่มีอะไรจะเสนอเพิ่ม นอกจากจะย้ำเรื่องการลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด ยกเว้นสำหรับผู้ที่มีจิตวิญญาณของนักการพนัน ซึ่งอาจต้องการสร้างความร่ำรวยด้วยโอกาสที่มากับภาวะวิกฤต

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยุคทองของเอเชีย : วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

 

http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=24199

 

กลางสัปดาห์ที่แล้วมีการประชุมใหญ่ว่าด้วยเรื่องของภูมิภาคเอเชีย ชื่อ “เอเชียในทศวรรษหน้า” (Asia in the Next Decade) จัดโดย IGLP Program คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ และหน่วยงานอื่นๆอีกหลายแห่ง

 

งานนี้ถือว่าเป็นงานระดับประเทศที่มีวิทยากรระดับอดีตประธานาธิบดีและอดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีของหลายประเทศ มาร่วมให้ความเห็นและข้อคิด ซึ่งแน่นอนว่า ท่านเหล่านี้ย่อมมีความคิดและมุมมองที่น่าสนใจ

 

 

 

ดิฉันไม่สามารถจะรวบรวมมาเขียนได้ทั้งหมด เพราะการประชุมใช้เวลา 2 วัน และมีหัวข้อหลากหลาย แต่จะขอรวบรวมข้อคิดเด่นๆของงานมาให้ท่านรับทราบเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ในการวางแนวทางของธุรกิจของท่าน หรือแนวทางในการวางนโยบายของประเทศต่อไป

 

วิทยากรเกือบทุกท่าน จะกล่าวถึงเอเชียในฐานะทวีปที่จะทรงอิทธิพลในทศวรรษต่อไป โดยนอกจากจะมีอิทธิพลในฐานะแหล่งผลิตสินค้าแล้ว คนเอเชียยังจะเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ที่สุดของโลกด้วย

 

อดีตผู้นำของหลายประเทศกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า หลังการเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในซีกโลกตะวันตกที่ผ่านมานั้น จะเกิดศูนย์กลางใหม่ คือ เอเชีย แต่เป็นเพียงศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจ ในความหมายจริงๆโลกในอนาคตจะไม่มีศูนย์กลางอีกต่อไป เมื่อโลกมีพลวัตสูง อยากเดินทางไปไหน เรียนที่ไหน หาข้อมูลจากไหน ก็สามารถทำได้ตลอดเวลา คนรุ่นใหม่ที่เห็นและเรียนรู้จากที่อื่นๆในโลก ก็มีความคาดหวังมากขึ้น เรียกร้องมากขึ้น ซึ่งในส่วนนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาในทางปกครองในหลายประเทศในเอเชีย

 

อย่างไรก็ดี ในการจัดระเบียบของโลกใหม่ที่ตะวันตกอ่อนแรงนั้น จีนไม่ได้ทำบทบาทอย่างที่สหรัฐอเมริกาได้ทำมาตลอด 60 ปีที่ผ่านมา คือการเป็นศูนย์กลางของอำนาจ และดูแลระเบียบของโลก เมื่อสหรัฐอเมริกาอ่อนกำลังลง ยังไม่เห็นว่าจะมีประเทศใดที่สามารถจะมาเป็นผู้ดูแลด้านความมั่นคงและความสงบของโลกแทนในระยะเวลาอันใกล้นี้

 

ประเด็นหนึ่งที่มีความเป็นห่วงกันมาก คือ เรื่องของ การกระจายรายได้ ในทุกๆประเทศที่กำลังพัฒนา ช่องว่างของรายได้ระหว่างผู้มีรายได้สูงกับผู้มีรายได้น้อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากผลพวงของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม จึงเป็นโจทย์ของรัฐบาลที่จะต้องทำการลดช่องว่างนี้ต่อไป ซึ่งทำให้มีการย้อนกลับการ privatize กิจการที่เกี่ยวกับความจำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น น้ำประปา และไฟฟ้า ซึ่งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นิยมแปลงกิจการเหล่านี้จากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจไปเป็นเอกชน ในตอนนี้มีแนวโน้มที่จะซื้อกลับมาเป็นของรัฐแล้ว เพื่อจะได้จัดสรรให้ทั่วถึงมากขึ้น ในราคาที่ถูก หรือมีการอุดหนุน

 

นอกจากนี้ การที่คนรุ่นใหม่ในเอเชีย โดยเฉพาะในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ได้รับการศึกษามากขึ้น เห็นโลกที่กว้างขึ้นผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ “การตื่นตัวทางการเมือง” หรือ Political Awakening มีการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตยกันอย่างกว้างขวาง การเรียกร้องนี้ หากควบคุมไม่ได้ ก็อาจนำไปสู่ความไม่สงบ ดังที่เกิดขึ้นมามากมายในหลายประเทศ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา

 

อ่านต่อตามลิงค์ครับ

ถูกแก้ไข โดย milo

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การจ้างงานในสหรัฐฯ‘ไม่ขยายตัว’ยิ่งเพิ่มความกลัวศก.ถดถอย

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 กันยายน 2554 04:15 น. Share

 

 

 

 

 

 

เอเจนซีส์ - การจ้างงานในสหรัฐฯประจำเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาอยู่ในภาวะแน่นิ่งไม่มีการขยายตัวเลย ทั้งนี้ตามข้อมูลตัวเลขที่นำออกเผยแพร่ในวันศุกร์(2) ทำให้เกิดความหวาดผวามากขึ้นมาอีกว่าอเมริกากำลังย่างเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อทั้งประธานาธิบดีบารัค โอบามา และธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ให้ต้องหาทางเพิ่มมาตรการกระตุ้นช่วยเหลือเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในสภาพอ่อนเปลี้ยเพลียแรง

 

 

ตามตัวเลขข้อมูลของกระทรวงแรงงาน ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตกรรมในสหรัฐฯประจำเดือนที่แล้ว ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า โดยที่นักวิเคราะห์มองว่าธุรกิจต่างๆ ที่ลังเลไม่แน่ใจอยู่แล้วในการที่จะขยายกิจการจ้างงานเพิ่มเติม เวลานี้กำลังยิ่งมีความมั่นใจลดต่ำลงไปอีก

 

ตัวเลขของเดือนสิงหาคมนี้ ถือเป็นครั้งแรกในรอบระยะเวลาเกือบ 1 ปีทีเดียว ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯไม่สามารถเพิ่มการจ้างงานให้มากขึ้นได้ กระนั้นบรรดานักเศรษฐศาสตร์ก็เตือนว่า ไม่ควรมองแง่ร้ายถึงขึ้นถือข้อมูลนี้เป็นสัญญาณที่แสดงถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าในเดือนที่แล้วพนักงานของบริษัทเวอริซอน คอมมิวนิเคชั่นส์ สไตรก์นัดหยุดงานถึง 45,000 คน

 

พนักงานเหล่านี้ได้กลับเข้าทำงานแล้ว และจะถูกนำมานับเป็นผู้ที่อยู่ในบัญชีการจ้างงานกันใหม่ในเดือนกันยายนนี้

 

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ยังคงถูกมองว่าย่ำแย่กว่าที่ทำนายกันอยู่นั่นเอง โดยที่พวกนักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์กันไว้ว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมในเดือนที่แล้วน่าจะเพิ่มสูงขึ้น 75,000 ตำแหน่ง ด้วยเหตุนี้เองตลาดหลักทรัพย์วอลล์สตรีทจึงร่วงกันระนาว เมื่อนักลงทุนพากันทิ้งหุ้นและหันไปหาที่หลบภัยในพันธบัตรคลังสหรัฐฯและทองคำ

 

ในอีกด้านหนึ่ง ตัวเลขการว่างงานที่มีการแถลงในวันเดียวกันระบุว่า ยังคงอยู่ในอัตรา 9.1% โดยที่การสำรวจภาคครัวเรือนพบด้วยว่า อัตราการจ้างงานมีการขยายตัว และกำลังแรงงานก็มีการเติบโตเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี

 

แต่การที่อัตราการว่างงานยังคงอยู่เหนือระดับจิตวิทยาที่ 9.0% อีกทั้งความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังสั่นคลอนหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังที่ทำเนียบขาวที่เป็นฝ่ายเดโมแครต และพรรครีพับลิกันที่กุมเสียงข้างในสภาล่าง เกิดการขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในเรื่องการลดการขาดดุลงบประมาณ จนสร้างความกังวลถึงขั้นว่าสหรัฐฯอาจจะต้องผิดนัดชำระหนี้ และบริษัทเครดิตเรตติ้งยักษ์รายหนึ่ง (เอสแอนด์พี) ก็ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯลงมา เหล่านี้ล้วนทำให้ทั้งนักเศรษฐศาสตร์และตลาดรู้สึกวิตก

 

“เศรษฐกิจ(สหรัฐฯ)กำลังต่อสู้กับพวกลมปะทะที่รุนแรงมาก และดูเหมือนจะยิ่งดุเดือดเข้มข้นขึ้นด้วยในระยะไม่กี่เดือนหลังมานี้” มิลแลน มูลเรน นักยุทธศาสตร์มหภาคอาวุโส แห่ง ทีดี ซีเคียวริตีส์ ในนิวยอร์ก กล่าวให้ความเห็น “ถึงแม้เห็นชัดเจนว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯไม่ได้กำลังตกลงจากยอดเขาหรอก แต่ก็แทบไม่มีอะไรที่บ่งชี้ให้เห็นว่ามันกำลังใกล้ที่จะได้แรงโมเมนตัมของตนเองกลับคืนมาแล้ว”

 

ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีโอบามาก็เผชิญแรงกดดันให้จัดทำมาตรการในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างงาน ทั้งนี้เห็นกันอย่างกว้างขวางว่าสุขภาพของตลาดแรงงานอาจจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการชี้ขาดว่า เขาจะชนะการเลือกตั้งปีหน้าเพื่อเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สองหรือไม่

 

ทั้งนี้โอบามามีกำหนดการที่จะแจกแจงแผนการสร้างงานฉบับใหม่ของเขาในการกล่าวปราศรัยถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ทั่วประเทศวันพฤหัสบดี(8)นี้ โดยที่พวกที่ปรึกษาในทำเนียบขาวบอกว่า ตัวเลขข้อมูลการจ้างงานล่าสุดนี้ยิ่งย้ำเน้นให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องลงมือปฏิบัติการ

 

นอกจากนั้น ตัวเลขข้อมูลการจ้างงานดังกล่าว ยังอาจจะเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่พวกเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ฝ่ายที่ต้องการให้ดำเนินมาตรการเข้าช่วยเหลือกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ประมาณการกันว่าเศรษฐกิจอเมริกันจำเป็นที่จะต้องสร้างงานให้ได้ราว 150,000 ตำแหน่งในแต่ละเดือน จึงจะคุมอัตราการว่างงานให้อยู่กับที่ได้

 

เฟดนั้นได้หั่นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (เฟดฟันด์เรต) ของตนลงมาจนอยู่ในระดับใกล้ๆ 0% ตุ้งแต่เดือนธันวาคม 2008 รวมทั้งยังได้ใช้มาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ ด้วยการรับซื้อหลักทรัพย์ต่างๆ หรือที่นิยมเรียกกันว่า มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing หรือ QE) มาแล้ว 2 รอบ รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2.3 ล้านล้านดอลลาร์

 

แต่ในรายงานการประชุมเมื่อเดือนสิงหาคมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ที่เพิ่งมีการนำออกมาเผยแพร่เมื่อไม่กี่วันก่อน ชี้ให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่เฟดบางคนต้องการให้ดำเนินมาตรการอย่างเป็นเนื้อเป็นหนังมากขึ้นในการช่วยเศรษฐกิจ

 

ถึงแม้เรื่องภาวะเงินเฟ้ออาจจะยังเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง ทว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างคาดหมายว่า อีกไม่นาน ซึ่งน่าจะเป็นการประชุมเอฟโอเอ็มซีครั้งต่อไปในวันที่ 20-21 กันยายนนี้ เฟดจะประกาศมาตรการ QE รอบ 3 เพื่อรับซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมอีก ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะผ่อนคลายแรงกดดันที่มีต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาว ทั้งนี้ส่วนหนึ่งสืบเนื่องจากมองเห็นกันอยู่แล้วว่า ด้วยบรรยากาศทางการเมืองในปัจจุบัน รัฐบาลสหรัฐฯน่าจะเน้นเรื่องการตัดลดงบประมาณรายจ่าย เพื่อมุ่งลดการขาดดุลงบประมาณ และยากนักหนาที่จะใช้มาตรการทางการคลังมากระตุ้นเศรษฐกิจ

 

“แม้กระทั่งพวกเหยี่ยวที่มุ่งพะวงเรื่องเงินเฟ้อ (ในเอฟโอเอ็มซี) ก็ยังต้องรู้สึกกังวลกับรายงานตัวเลขนี้” โจเอล นารอฟฟ์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่ง นารอฟฟ์ อีโคโนมิก แอดไวเซอร์ส ในเมืองฮอลแลนด์ มลรัฐเพนซิลเวเนีย ให้ความเห็น “ในเมื่อนโยบายด้านการคลังของรัฐบาลในทุกๆ ระดับเวลานี้ล้วนอยู่ในสภาพที่กลายเป็นการจำกัดการเติบโตขยายตัว เฟดจึงกลายเป็นรายเดียวที่เหลืออยู่ซึ่งสามารถทำอะไรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีคะ คุงเสม คุงส้มโอ และทุกท่าน ขอบคุณมากมายคะ 5fc0f220.gif5fc0f220.gif5fc0f220.gif5fc0f220.gif5fc0f220.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จาก fb คุณเสม เมื่อคืนวันศุกร์ครับ

 

GC ณ เวลา 23:56 บ้านเราวิ่งไป $1873 Bullish มากมาย รอทดสอบ $1910 ต่อไป

 

SI วิ่งตามทองเเตะ $43 รอมี เทรนจะไปอีกไกลมากๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จาก fb คุณเสม เมื่อคืนวันศุกร์ครับ

 

GC ณ เวลา 23:56 บ้านเราวิ่งไป $1873 Bullish มากมาย รอทดสอบ $1910 ต่อไป

 

SI วิ่งตามทองเเตะ $43 รอมี เทรนจะไปอีกไกลมากๆ

 

ขอบคุณค่ะ ได้สาระความรู้ทั้งทองคำ ฟุตบอล และทงอี ถูกใจใช่เลย กดlike สัก 500 ค่ะ ขอบคุณค่า

:wub: :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันที่ 5 กันยายน 2554 03:00ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

คอลัมนิสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเศรษฐกิจ คอลัมน์ "เศรษฐศาสตร์จานร้อน"

จำนวนคนอ่าน 3873 คน.เงินยูโร ระเบิดเวลาลูกเก่า (2)

โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ที่ผมทิ้งประเด็นไว้ว่า ถ้าประเทศในกลุ่มที่มีการใช้เงินสกุลเดียวกัน มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่สอดคล้องกัน ใครจะเป็นผู้กำหนดนโยบายการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน

 

 

Robert Mundell นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบล เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกทฤษฎี optimal currency area บอกไว้ว่าต้องมีเงื่อนไขสำคัญ 4 ข้อที่จะทำให้เขตการใช้เงินสกุลเดียวประสบความสำเร็จ

 

 

1. ต้องมีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรแรงงานแบบเสรี คือถ้ามีประเทศไหนเริ่มมีการว่างงานสูง แรงงานต้องสามารถย้ายไปอีกประเทศที่มีการว่างงานต่ำ เพื่อลดการว่างงานในแต่ละประเทศได้

 

 

2. ต้องมีการเปิดกว้างของการไหลของเงินทุน การกำหนดราคาสินค้าและค่าจ้างต้องมีความยืดหยุ่น การไหลของทรัพยากรต้องสามารถลดความไม่สม่ำเสมอของเขตเศรษฐกิจลงไปได้

 

 

3. ต้องมีระบบชดเชยทางการคลังด้วย คือประเทศที่มีเศรษฐกิจดีมากๆ มีการเกินดุลการคลังมากๆ ต้องเข้าไปอุดหนุนประเทศที่มีเศรษฐกิจไม่ดี เพื่อไม่ให้ช่องว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมีสูงเกินไป

 

 

และ 4.สำคัญที่สุด ประเทศในกลุ่มเงินสกุลเดียวกัน ต้องมีวงจรทางธุรกิจที่สอดคล้องกัน คือถ้าจะรุ่ง ต้องรุ่งด้วยกัน ถ้าจะแย่ต้องแย่ด้วยกัน เพื่อไม่เกิดความขัดแย้งกันในความต้องการแนวทางการดำเนินนโยบายการเงิน

 

 

ผมอยากยกกรณีสหรัฐอเมริกา เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มเศรษฐกิจที่ใช้เงินสกุลเดียวกัน ด้วยขนาดทางเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกา มีขนาดไม่ต่างจากสหภาพยุโรปเท่าไร และรัฐใหญ่ๆ อย่างแคลิฟอร์เนีย มีขนาดพอๆ กับประเทศอันดับเจ็ดของโลกเลยทีเดียว แต่ทำไมแคลิฟอร์เนียจึงไม่จำเป็นต้องมีเงินสกุลของตัวเอง และสามารถอยู่ร่วมได้กับรัฐอื่นๆ ของสหรัฐ

 

 

ปัจจัยสำคัญก็คือ การมีวงจรทางเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกัน การไหลของทรัพยากรทั้งทุนและแรงงานในสหรัฐเป็นไปอย่างเสรีพอสมควร การย้ายของแรงงานจากรัฐหนึ่งไปอีกรัฐหนึ่งเป็นเรื่องปกติ และนโยบายการคลังและการเงิน แบบ federal ที่มีการอุดหนุนทางการคลัง และพิจารณาวงจรธุรกิจในแต่ละเขตของประเทศ ทำให้ทุกวันนี้ ยังไม่มีรัฐไหนอยากแยกตัวออกจากระบบดอลลาร์สักที

 

 

ย้อนกลับมาประเทศในยุโรป เมื่อมีการเริ่มใช้เงินสกุลยูโร พบว่าข้อดีที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนคือต้นทุนในการค้าขายลดลง การไม่มีอัตราแลกเปลี่ยน ลดอุปสรรคในการแลกเปลี่ยนเงินไปเยอะ และต้นทุนในการกู้ยืมก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะ risk premium ที่ตลาดเคยให้กับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน หายไปอย่างรวดเร็ว แต่ตลาดดูเหมือนจะให้ค่าของการเป็นส่วนหนึ่งของยูโรมากไปหน่อย จน risk premium สำหรับการผิดนัดชำระหนี้ (default risk) หายไปด้วย จนเพิ่งจะมากระแทกเมื่อปีสองปีนี้

 

 

ว่ากันว่า ตอนแรกที่มีการคิดว่าจะใช้เงินสกุลยูโร กะว่าจะใช้กันแต่เฉพาะประเทศยุโรป “ตอนเหนือ” ที่มีการพัฒนาและความมั่นคงทางเศรษฐกิจสูงกว่า จึงตั้งกฎเหล็กกันไว้ไม่ให้ประเทศเล็กๆ “ตอนใต้” เข้า แต่พอทำไปทำมา ทางการเมืองเริ่มมีการตอบรับดี จนต้องขยายรวมประเทศที่ยังไม่พร้อมเข้ามาด้วย (เช่น กรีซ ที่ต้องใช้เวลากว่าสองปี จึงแหกกฎเหล็กเข้ามาได้ แต่ก็ต้องผ่อนปรนกันแทบแย่)

 

 

ต่อมาภายหลังที่มีประเทศเกิดใหม่ในยุโรปมากขึ้น เริ่มมีความพยายามที่จะขยายเงินสกุลยูโรออกไป โดยใช้เงื่อนไขคล้ายๆ กัน จนประเทศอย่าง Slovenia, Cyprus, Malta, Slovak Republic และ Estonia ก็ได้ใช้เงินสกุลยูโรเมื่อไม่นานมานี้และมีอีกหลายประเทศเข้าคิวรอใช้เงินยูโร ทั้งๆ ที่ ถ้าดูกันทางทฤษฎีแล้ว บางประเทศอาจจะไม่เหมาะที่จะใช้เงินยูโร เพราะมีความแตกต่างทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง

 

 

ทีนี้ปัญหาเกิดขึ้นอย่างที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้จริงๆ เมื่อเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจขึ้น ขณะที่มีความไม่สม่ำเสมอของวงจรธุรกิจ บางประเทศในกลุ่มประเทศยูโร มีปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ไม่มีการเจริญเติบโตมาหลายปี การว่างงานสูงถึง 20% ในสเปน และสูญเสียความสามารถในการแข่งขันเพราะค่าเงินที่แข็งขึ้นอย่างมาก และมีการขาดดุลเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง

 

 

สิ่งที่ประเทศเหล่านี้ต้องการในขณะนี้ คือค่าเงินที่อ่อนลง เพื่อกระตุ้นการส่งออก และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

 

 

จำเมืองไทยตอนมีวิกฤติได้ไหมครับ ค่าเงินเราลดไปกว่าครึ่ง แต่ก็ทำให้เศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรงแค่ปีเดียว และการส่งออกกลับมาช่วยเราไว้ได้

 

 

แต่ประเทศใหญ่ และมีเสียงในการกำหนดนโยบายการเงินในยุโรป อย่างเยอรมัน ไม่ได้ประสบปัญหาไปด้วย และยังมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง และมีอัตราการว่างงานที่ค่อนข้างต่ำ เยอรมันจึงไม่ต้องการนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพราะกลัวจะเกิดเงินเฟ้อในประเทศตัวเอง และไม่ได้ต้องการค่าเงินที่อ่อน เพราะยังเกินดุลประเทศอื่นๆ อยู่เลย และด้วยปัญหาในเงินสกุลหลักอื่นๆ ค่าเงินยูโร เลยแข็งปึ๋งปั๋งเอาการ

 

 

ขณะเดียวกัน นโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป ในระยะแรกที่เริ่มมีปัญหาทางเศรษฐกิจจึงเป็นไปแบบ “เหยี่ยว” สุดๆ คือไม่ลดดอกเบี้ยในทันที และเพิ่งจะมาลดและมีบทบาทในการแก้ไขวิกฤติการเงิน เมื่อดูเหมือนว่าปัญหาอาจจะลามไปในวงกว้าง

 

 

นอกจากนี้ ยังขาดการช่วยเหลือทางการคลังระหว่างกันที่เพียงพอ และขาดแรงสนับสนุนในทางการเมืองที่จะช่วยเหลือประเทศอื่น ทำให้ปัญหาลุกลามไปไม่หยุด

 

 

สิ่งเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นข้อด้อยของการมีเงินสกุลร่วม ที่เป็นระเบิดเวลาที่หลายๆ คนได้วิเคราะห์ไว้ และปัจจุบันเริ่มมีคนพูดถึงการแตกสลายของเงินสกุลยูโรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ประเทศที่มีปัญหา เอาตัวรอดด้วยการลดค่าเงินตัวเอง เพื่อให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจกลับมา ดีกว่าเตะปัญหาไปเรื่อยๆ

 

 

น่าสนใจจริงๆ ครับ ว่าปัญหาพวกนี้จะจบอย่างไร

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...