ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

สวัสดีเพื่อนๆทุกท่าน

 

นานเเล้วไม่ได้เข้ามา update ข่าวสารก็ยังไม่เปลื่ยนเเปลงอะไรครับ เป้าหมายระยะกลางในปีนี้ $1600 เเต่ระยะสั้นสินค้า Commodity ต่างๆจะเกิดการ correction ลงไปก่อนเริ่มด้วยทองคำเลย ย่อลงมาประมาณ $30 ในคืนเดียวคิดว่าราคายังลงได้อีกครับ เป็นโอกาสดีของคนที่ตกรถ ไม่มีของได้เข้าซื้อกัน

คืนนี้น่าย่อมาเเถวๆ $1340 เเนวรับที่ผมมองไว้มี $1300 กับ $1250 ครับใครเหลือเงินเย็นก็ตามเก็บได้ตามความเหมาะสมครับ จัด portfolio ของท่านให้ดีๆ

ปีนี้เเลปีหน้า Inflation จะขึ้นอีกมาก ดอกเบี้ยก้เพิ่งจะปรับขึ้นไป เงินจะเฟ้อ ข้าวของจะเเพงขึ้น อย่าเก็บ asset ในรูปเเบบ เงินตรา หรือ พันบัตร ให้เก็บไว้ในรูปเเบบของ ทองคำ หรือ Precious metals ต่างๆ ราคาจะขึ้นต่ออีกมาก

 

SET ตลาดหุ้นไทยนั้นช่วงนี้อยู่ใน ช่วง sidways ไม่นานจะทะยานขึ้นไป สู่ 1,250 โดยนโยบายการพิมพ์เเบงค์ ของฝั่งยุโรปเงินจะไหลเข้าสู่ฝั่งเอเชียอีกมากเป็นโอกาสดีสำหรับหุ้นไทยในปีนี้ครับ

 

ตอนนี้ตลาดยางพารา TOCOM (Japan) ยาง AFET (ไทย) ขึ้นกระจายรวยกันเละไปข้างหนึ่งเลย

ตอนนี้ยังไม่มีวี่เเววว่าจะเกิดการ correction ขึ้นก็ถือต่อไปเรื่อยๆๆนะครับ ไม่ต้องอายกำไร อีกต่อไป

 

 

ไม่รู้ว่าจะบอกอย่างไรดี สำหรับ คำแนะนำที่ดีมากๆๆ เลย จะต้องทำตามซะแล้วละครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

e90bc4075379a7ff3c98b5af26036493.jpgเต็มปอดแล้วครับ ผมขอนั่งดูเฉยๆ (ตอนนี้รอขายอย่างเดียวครับ)

 

ทองบาทละสองหมื่นสามพัน ผมขอนั่งรอต่อไปครับdbfe1400eb3821ff15f3ab7537a25e6c.png

 

คุณใหญ่ครับเต็มปอแล้วอย่างงี้ ต้องขอรูปงามๆ มาชมให้แสบตาเล่นซักรูปได้มั้ยครับ !v@ !54 !54

ถูกแก้ไข โดย leo_attack

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

e90bc4075379a7ff3c98b5af26036493.jpgไม่ได้โม้ เต็มปอดครับ

53a2fee5d2a4bd0d8a2c9a5850267cdc.jpg

 

อู้วววว แสบตามาก.....

 

ด้านขวานั้นใช่ 1911 ปะครับนั่น แล้วด้านซ้ายนี่ กล็อกอะไรนะครับ

 

 

....มีครบเซ็ดเลยนะคุณใหญ่ !gd !gd !gd

ถูกแก้ไข โดย leo_attack

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

e90bc4075379a7ff3c98b5af26036493.jpgไม่ได้โม้ เต็มปอดครับ

53a2fee5d2a4bd0d8a2c9a5850267cdc.jpg

 

!gd !gd !gd

เห็นปืนคุณใหญ่แล้ว อึ้ง .45 1911 ของดั้งเดิมเลยหรือเปล่าครับ

 

แล้วพื้นหลังนั่นตราสโมสร แมนยู นี่ครับ อิอิ คอเดียวกันเลย !Kk

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
860e2a45.gif 860e2a45.gif โอ้โห...MAN-U มีปืน2กระบอก สงสัย เบอร์กระดอป กับ รูน..นี่ แน่ๆเล๊ยค่ะ .....87a4e689.gif9bbc76d5.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิกฤติเศรษฐกิจกับอนาคตเงินยูโร

EU Watch : thaieurope.net กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

 

วิกฤติเศรษฐกิจในยุโรปทำให้หลายคนตั้งคำถามเกี่ยวกับอนาคตของเงินสกุลยูโรว่าจะกลับมาสดใสได้อีกหรือไม่ เพราะอนาคตเงินยูโรมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจและการรวมตัวของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ในฐานะผู้นำเศรษฐกิจการค้าโลก

 

แม้ช่วงนี้จะมีข่าวลือหนาหูเรื่องการล่มสลายของเงินสกุลยูโร แต่นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของยุโรปหลายท่านมองว่า วิกฤติครั้งนี้กลับเป็นเงื่อนไขที่นำไปสู่การปฏิรูปโครงสร้าง และแก้ไขกลไกการทำงานของเศรษฐกิจยุโรปครั้งใหญ่ ที่น่าจะทำให้อียูมีความเข้มแข็งและเป็นปึกแผ่นมากขึ้น และความสามารถทำงานเชิงรุก ที่มิใช่เพียงแค่ตั้งรับความผันผวนของตลาดเหมือนเช่นเดิม

 

ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจที่โหมกระหน่ำเขตเงินสกุลยูโร เราได้เห็นผู้นำหลายคนของยุโรปออกมาให้ความมั่นใจว่า อย่างไรเสียจะไม่มีใครทิ้งเงินสกุลนี้ แล้ววิ่งกลับไปใช้เงินสกุลเดิมของตนอย่างแน่นอน

 

ล่าสุด นายนิโกลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส กล่าวในสุนทรพจน์ต้อนรับปีใหม่ทางโทรทัศน์ ว่า "ขอให้พี่น้องชาวฝรั่งเศสอย่าได้เชื่อข่าวลือว่าเราจะเลิกใช้เงินยูโร" เพราะ "จุดจบของเงินยูโร ก็คือ จุดจบของยุโรปนั่นเอง" ซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นสิ่งเดียวกับที่นายแฮร์มัน แวน รอมเปย ประธานคณะมนตรียุโรป ตอกย้ำไว้เช่นเดียวกัน

 

แม้แต่นางแองเกลา แมร์เคิล ผู้นำของเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกอียูที่ต้องแบกรับภาระ "อุ้ม" (bailout) กรีซและไอร์แลนด์ ก็ยังให้ความมั่นใจว่า แม้จะต้องรับภาระดังกล่าว แต่เยอรมนีไม่มีความตั้งใจที่จะถอนตัวออกจากเงินสกุลยูโร แล้วกลับไปใช้ดอยช์มาร์กอย่างเดิม

 

แน่นอนว่า ผู้นำเหล่านี้ก็ต้องสร้างความมั่นใจให้สาธารณชนอุ่นใจไว้เป็นธรรมดา แต่น่าแปลกที่ความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ จากสถาบันต่างๆ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องอียูก็มีมุมมองไปในลักษณะเดียวกันว่า เงินสกุลยูโรจะไม่ล่มสลาย อย่างที่มีการลือกัน นายเกรแฮม บิชอบ นักวิเคราะห์การเงินการคลังยุโรปแถวหน้า ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวบีบีซีว่า ผู้ที่คิดว่าเยอรมนีจะถอนตัวออกจากเงินสกุลยูโร อาจลืมนึกถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของการรวมตัวกันของประเทศต่างๆ ในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีและฝรั่งเศส ที่บาดหมางกันมาในอดีต

 

หากมองด้านผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เยอรมนียิ่งไม่น่าที่จะยอมถอนตัว เพราะจะได้ไม่เท่ากับเสีย กล่าวคือ ปัจจุบันเยอรมนีมีบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอยู่ที่ 200,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี จากการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายทั่วโลก ซึ่งคิดเป็นตำแหน่งงาน 300 ล้านคน หากเงินยูโรล่มสลาย เงินสกุลต่างๆ ของประเทศในยุโรปจะอ่อนค่าสวนทางกับดอยช์มาร์กของเยอรมนี นั่นหมายความว่า เยอรมนีจะสูญเสียรายได้ถึง 200,000 ล้านดอลลาร์ ในทุกๆ ปี เมื่อเทียบกับสิ่งที่จะได้จากการนำเงินที่เหลือเหล่านี้ไปให้กู้ผ่านช่องทางต่างๆ ด้วยกำลังให้กู้สูงสุด 100,000 ล้านดอลลาร์ และเมื่อเป็นเงินกู้ อย่างไรเสียเยอรมนีก็จะได้เงินจำนวนนี้คืน

นักวิเคราะห์มองว่า กระแสวิกฤติเศรษฐกิจปัจจุบันไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด อย่างน้อยที่สุดวิกฤติครั้งนี้ก็นำไปสู่การจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือ (bail-out fund) มูลค่า 750,000 ล้านยูโร และคณะทำงานพิเศษด้านธรรมาภิบาลเศรษฐกิจของอียู ซึ่งเป็นสองนวัตกรรมที่มีผลดีต่อความเป็นปึกแผ่นของยูโรโซนในระยะยาว โดยย้ำว่าสองสิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น หากไม่มีวิกฤติครั้งนี้

 

ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของ นายแวน รอมเปย ประธานคณะมนตรียุโรป ก็เห็นด้วยว่า ประชาสังคมประเมินความสามารถของมาตรการตอบโต้วิกฤติเศรษฐกิจของยุโรปต่ำเกินไป พร้อมชี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับกรีซและไอร์แลนด์เป็นสัญญาณเตือนว่า ถึงเวลาแล้วที่การบูรณาการของประเทศสมาชิกอียูจะต้องเดินหน้าไปมากกว่าขั้น "ตลาดเดียว" หรือ "ตลาดร่วม" เพื่อให้ไปถึงขั้นการบูรณาการทางเศรษฐกิจที่สมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงการรวมกันของนโยบายการเงินและการคลัง ที่ยังแตกต่างกันในปัจจุบัน

 

คณะทำงานพิเศษด้านธรรมาภิบาลเศรษฐกิจของอียู ที่ตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขวิกฤติครั้งนี้โดยเฉพาะ เรียกร้องให้แต่ละประเทศรักษาวินัยทางการคลังที่รัดกุมขึ้น มีสถาบันการคลังที่เข้มแข็งขึ้น มีการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจที่กว้างขวางขึ้น และทำงานร่วมกันมากขึ้น โดยที่ประชุมคณะมนตรียุโรป เห็นชอบให้แก้ไขสนธิสัญญาลิสบอนอย่างจำกัด เพื่อรองรับการจัดตั้งกลไกถาวร เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ หรืออีเอสเอ็ม (ESM-European Stability Mechanism) อันจะเป็นการช่วยเสริมสร้างรากฐานให้เข้มแข็ง เพื่อการบรรลุเป้าหมายที่ระบุไว้ในยุทธศาสตร์ "ยุโรป 2020"

 

เรื่องนี้ ถือเป็นชัยชนะของเยอรมนีที่สามารถเรียกร้องให้มีกลไกป้องกันวิกฤติสภาพคล่องเช่นในกรีซในสนธิสัญญาได้สำเร็จ นับเป็นการตอบสนองทางการเมืองภายใน ที่ชาวเยอรมันไม่ต้องการให้เงินภาษีของตน ต้องถูกใช้ไปอุ้มประเทศที่ขาดวินัยทางงบประมาณ

 

นอกจากนี้ ยังมีการออกกฎใหม่ให้ลงโทษประเทศที่มีแนวโน้มเบี่ยงเบนออกจาก "convergence criteria" หรือมาตรฐานการเงินและการคลังที่ทุกประเทศในเขตเงินยูโรต้องรักษาร่วมกัน ให้เป็นไปโดยเร็วและเข้มงวดมากขึ้นกว่าเดิม กล่าวคือ จากที่แต่ก่อน คณะกรรมาธิการยุโรปจะปรับประเทศในเขตยูโรโซน ที่มีสัดส่วนหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เกิน 60% และที่มีตัวเลขการขาดดุลงบประมาณเกิน 3% ของจีดีพี มาเป็นการลงโทษประเทศที่มีหนี้ต่อจีดีพีเกิน 60% แม้ว่าประเทศสมาชิกนั้นๆ จะมีตัวเลขการขาดดุลงบประมาณไม่เกิน 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศก็ตาม ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกที่ละเมิดกฎจะถูกลงโทษแต่เนิ่นๆ

 

ด้านที่ปรึกษากระทรวงการคลังและเศรษฐกิจของคณะกรรมาธิการยุโรป มองว่ากลไกการเงินและการคลังของยุโรปยังอ่อนแอ ทำงานไม่ทันกาล และขาดการวางแผนล่วงหน้า เช่น ไม่มีการสำรองเงินที่ได้ขณะเศรษฐกิจขาขึ้นเพื่อรองรับวิกฤติ โดยเห็นด้วยว่านวัตกรรมการคลังและมาตรการลงโทษที่เข้มข้นและจริงจัง อันเป็นสิ่งคณะทำงานพิเศษของอียูสร้างขึ้นเป็นสิ่งที่ดี

 

อย่างไรก็ดี นักวิชาการบางท่านค้านว่า ต้นตอของวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ แท้จริงแล้วเกิดจากการขาดกลไกธรรมาภิบาลที่ดี เห็นได้ชัดว่า ทั้งประเทศสมาชิกและตัวอียูเอง มีวินัยการคลังที่หละหลวม ทำให้เกิดการ "โกงตัวเลข" โดยรัฐบาลกรีซ นับเป็นความผิดพลาดของนักเศรษฐศาสตร์ ที่ไม่ให้ความสำคัญเพียงพอกับตัวเลขที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าพวกเขากำลังจะเจอวิกฤติ นักวิชาการสายนี้มองว่าทางออก คือ อียูต้องมีการวิเคราะห์เศรษฐกิจ ที่บอกเล่าความจริงของสถานการณ์ที่ดีกว่านี้

 

ในยุโรป การปรุงแต่งการก้าวกระโดดของตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจใช้ไม่ได้กับการหาเสียงของนักการเมืองเสมอไป เพราะประชาสังคมที่ฉลาดย่อมจะถามต่อว่า การเติบโตนี้จะยั่งยืนแค่ไหน ประเด็นการประกาศลดสวัสดิการสังคมต่างๆ ก็เช่นกัน คงจะเป็นได้แค่ทางออกระยะสั้นเท่านั้น เพราะสิ่งที่ประชาสังคมต้องการ คือ การฟื้นตัวและการเติบโตทางเศรษฐกิจยุโรปที่ยั่งยืน

 

ยุโรปคงใช้เวลากับการสร้างเสถียรภาพของการบูรณาการทางการเงินและการคลังอีกสักระยะ แต่เราจะได้เห็นเงินยูโรที่กลับมาสดใส เป็นปึกแผ่นและแข็งแกร่งมากขึ้น หลังการปฏิรูปครั้งใหญ่นี้หรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป

 

สนใจติดตามความคืบหน้าเรื่องเศรษฐกิจยุโรปได้ที่ www.thaieurope.net

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐ

คอลัมน์ เศรษฐกิจต้องรู้ โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4278

 

ในการประเมินสภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐโดยไอเอ็มเอฟร่วมกับรัฐบาลสหรัฐประจำปี 2010 ได้เผยแพร่ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผมเห็นว่ามีข้อมูลที่น่านำมาใช้เป็นพื้นฐาน ในการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐใน 5 ปีข้างหน้า ซึ่งผมได้รวบรวมตัวเลขคาดการณ์ที่สำคัญดังเสนอในตาราง

 

ก่อนอื่นจะต้องถามว่าตัวเลขข้างต้นล้าสมัยไปแล้วหรือยัง เพราะได้มีพัฒนาการต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น การแพ้การเลือกตั้งของพรรคเดโมแครต ทำให้สูญเสียเสียง ในวุฒิสภาและสูญเสียเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรให้กับพรรครีพับลิกัน ทำให้ในสองปีข้างหน้า ประธานาธิบดีโอบามาจะไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจของตนได้เหมือน 2 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นประธานาธิบดีโอบามาต้องพึ่งพา

 

เสียงสนับสนุนจากอดีตประธานาธิบดี คลินตัน โดยประธานาธิบดีโอบามาเชิญให้คลินตันมาแถลงข่าวร่วมกันที่ทำเนียบขาวและเปิดโอกาสให้คลินตันชี้แจงกับนักข่าวว่าทำไม ส.ส.และ ส.ว.ของพรรคเดโมแครตจึงควรสนับสนุนข้อเสนอต่ออายุการลดภาษีที่โอบามาจัดทำขึ้นร่วมกับพรรครีพับลิกัน

 

ผู้สังเกตการทางการเมืองให้ความเห็นว่าเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ประธานาธิบดีโอบามาจำต้องพึ่งพาบารมีและความนิยมของอดีตประธานาธิบดีคลินตันในการผลักดันฝ่ายเดโมแครตด้วยกันเองให้รับข้อเสนอของตน ซึ่งฝ่ายซ้ายของพรรคเดโมแครตมองว่าเป็นการยินยอมให้กับพรรครีพับลิกันมากเกินไป ทั้งนี้ อดีตประธานาธิบดีคลินตันย้ำว่าหากไม่รับข้อเสนอประนีประนอมครั้งนี้ก็จะยิ่งประสบปัญหามากขึ้นและเผชิญกับข้อต่อรองที่หนักข้อกว่านี้ใน 2 ปีหน้าที่พรรคริพับลิกันมี เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร

 

ข้อเสนอเพื่อประนีประนอมของประธานาธิบดีโอบามานั้น ผมสรุปง่าย ๆ ว่าเป็นการยอมรับข้อเสนอของพรรครีพับลิกันส่วนหนึ่ง คือยอมให้ขยายการลดภาษีที่เป็นประโยชน์กับคนรวยไปอีก 2 ปี พร้อม ๆ กับการขยายการลดภาษีโดยถาวรให้กับชนชั้นกลาง และโอบามาก็ขอขยายการลดภาษีของตนอีกหลายประการโดยที่เป็นแก่นสารหลัก ๆ คือการลดภาษีเงินเดือน (payroll tax) และการขยายอายุเงินอุดหนุนผู้ตกงานออกไปอีก 13 เดือน กล่าวโดยสรุปคือหากพรรครีพับลิกันจะขอใช้เงิน (และรัฐต้องกู้เงิน) มากขึ้น โอบามาก็จะต้องขอใช้เงินมากขึ้นเพื่อไม่ให้น้อยหน้ากัน

 

ดังนั้นตัวเลขการคาดการณ์เศรษฐกิจของไอเอ็มเอฟ (ร่วมกับรัฐบาลสหรัฐ) ก็น่าจะต้องปรับเล็กน้อยในปี 2011 คือเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 2.9% (อาจเป็น 3.1-3.2%) และรัฐบาลสหรัฐจะต้องขาดดุลงบประมาณมากขึ้น คือแทนที่จะขาดดุล 8.1% (เมื่อเทียบกับจีดีพี) ก็อาจขาดดุล 8.5% ก็ได้

 

 

 

คำถามคือทำไมการขาดดุลจึงเพิ่มมากกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจ คำตอบคือเมื่อประชาชนสหรัฐมีเงินมากขึ้น (จากการลดภาษีและเพิ่มเงินอุดหนุนผู้ตกงาน) ก็คง จะนำไปใช้บริโภคสินค้าจากต่างประเทศ ทำให้รายได้ไหลออกนอกประเทศ ดังนั้นการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดก็จะสูงกว่า 3.4% ของจีดีพีในปี 2011 อีกด้วย

 

เมื่อโยงประเด็นต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็จะทำให้สามารถวิเคราะห์สภาวะ และแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐได้โดยพิจารณาตัวเลขในตารางข้างต้น ซึ่งผมมี ข้อสังเกตและข้อสรุปหลัก ๆ ดังนี้

 

1.เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มจะขยายตัวอย่างเชื่องช้าเฉื่อยชาขึ้นในอนาคต กล่าวคือเมื่อขยายตัว 3.3% ในปี 2010 ก็จะขยายตัวลดลงไปเรื่อย ๆ เหลือ 2.6% ในปี 2014 และ 2015 โดยรัฐบาลสหรัฐจะต้องยอมขาดดุลงบประมาณอย่างมากคือ 5% ต่อจีดีพีหรือมากกว่านั้นเพียงเพื่อให้จีดีพีขยายตัวประมาณ 2.6-2.8% ต่อปี การฟื้นตัวโดยการต้องกู้ยืมเงินย่อมไม่ใช่การฟื้นตัวที่ยั่งยืน

 

2.การขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐนั้นดูเสมือนว่าจะมีแนวโน้มลดลงในช่วง 2011 ถึง 2013 (แต่อาจไม่ลดลงมากเช่นคาด เพราะข้อเสนอประนีประนอมด้านภาษีที่กล่าวถึงข้างต้นทำให้มีภาระที่ต้องกู้เงินเพิ่มขึ้น) แต่จะกลับเพิ่มขึ้นอีกในปี 2014-2015 ทั้งนี้เพราะเงินที่จะต้องใช้จ่ายเพื่อรัฐสวัสดิการต่าง ๆ โดยเฉพาะ ค่ารักษาพยาบาลจะปรับเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีของสหรัฐจะ ปรับสูงกว่าจีดีพีตั้งแต่ปี 2012 และปรับ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การที่หนี้สาธารณะสูงกว่าจีดีพีนั้นเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะเพียงดอกเบี้ยของหนี้ประมาณ 5% ต่อปี ก็มากกว่า 25% ของรายได้ของรัฐบาลกลาง ซึ่งประเมินว่าประมาณ 19% ของจีดีพี

 

ไอเอ็มเอฟจึงเน้นย้ำว่าสหรัฐจะต้องสร้างวินัยทางการคลังภายใน 5 ปีข้างหน้า โดยสรุปว่าสิ่งที่ท้าทายประการหนึ่งคือ สร้างกรอบทางนโยบายที่น่าเชื่อถือเพื่อ ปรับลดหนี้สาธารณะให้ไปสู่ระดับที่ยั่งยืน (A key challenge is to ensure that public debt is set on a credible, sustainable path) แต่ปัญหาคือคณะกรรมการที่โอบามาได้จัดตั้งขึ้นเพื่อร่างแผนลดหนี้สาธารณะลงเกือบ 4 ล้านล้านเหรียญใน 10 ปีข้างหน้าไม่สามารถตกลงกันด้วยเสียงข้างมาก (14 จาก 18 เสียง) ได้ดังที่คาดหวังเอาไว้ ดังนั้นสถานการณ์ของสหรัฐในปัจจุบันจึงเป็นการใช้เงินในระยะสั้นโดยยังไม่มีแผนการที่จะลดการใช้จ่ายเกินตัวในระยะกลางและระยะยาว อาจเป็นเพราะเหตุผลนี้ ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจึงได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะหลังนี้

 

3.นายเบอร์นันเก้มักจะเน้นว่าปัญหาหลักของสหรัฐคือการว่างงาน ซึ่งคาดการณ์ว่าจะลดลงอย่างเชื่องช้าใน 5 ปีข้างหน้า (สหรัฐควรมีอัตราการว่างงานปกติประมาณ 5-6% ไม่ใช่ 9% เช่นปัจจุบัน) นอกจากนั้นก็ยังสามารถคำนวณได้ว่าผลผลิตของสหรัฐในขณะนี้ต่ำกว่ากำลังการผลิตที่มีอยู่ (output gap) อย่างมาก เช่น คำนวณว่า output gap ในปี 2011 นั้นก็จะยังมีมากถึง 3.1% ของจีดีพี

 

นายเบอร์นันเก้จึงยืนยันว่าจะต้องใช้มาตรการทางการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ และแม้ว่าจะต้องใช้มาตรการที่แหวกแนว เช่น QE2 (คือการพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ) ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดปัญหาเงินเฟ้อ แต่ผมมีข้อแย้งว่านายเบอร์นันเก้มองมิติเดียวแล้วสรุปว่าสหรัฐใช้จ่ายต่ำกว่ากำลังการผลิต 3% ใน ปี 2011 เพราะหากมองจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (ซึ่งหมายถึงการใช้จ่ายเกินตัวของคนในประเทศ) คาดการณ์ว่าจะเท่ากับ 3.4% ของจีดีพี หากนายเบอร์นันเก้และประธานาธิบดีโอบามาพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปอีกในปี 2011 ดังที่กล่าว ข้างต้นก็เป็นไปได้ว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะสูงกว่า 3.4% ในปีหน้า

 

จึงขอสรุปสั้น ๆ ว่าหากรัฐบาลสหรัฐกู้เงินมาใช้จ่ายเกินตัว 5-8% ต่อจีดีพี ทำให้ประเทศใช้จ่ายเกินตัว 3.5-4.0% ของจีดีพี ในขณะที่หนี้สาธารณะพุ่งเกิน 100% ของจีดีพี ก็ยากที่จะเชื่อว่าการฟื้นตัวของสหรัฐจะเป็นการฟื้นตัวที่ยั่งยืนครับ

 

http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2011q1/2011_January10p5.htm

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

!gd !gd !gd

เห็นปืนคุณใหญ่แล้ว อึ้ง .45 1911 ของดั้งเดิมเลยหรือเปล่าครับ

 

แล้วพื้นหลังนั่นตราสโมสร แมนยู นี่ครับ อิอิ คอเดียวกันเลย !Kk

ขอแซวหน่อย พอดี ปอดเล็กกว่าเยอะครับ แต่ขอรอกะคุณใหญ่ด้วย 23000

post-747-099881500 1295803353.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

K.ใหญ่ หยิบจับง่ายระมัดระวังด้วย

ส่วนผมเก็บ Ruger 10/22 , S&W 686 , Monolith เสียดายตอนฮอตๆไม่ได้เก็บ เบอร์ 2 กับ ลูกซอง

ถ้ามีโอกาสขอไปใช้สนามบ้านคุณใหญ่ด้วยน๊า

 

K.lekster เหรียญเล่งหงษ์ นน.+ค่าบล็อกเท่าไหร่ครับ

 

ขอบคุณครับ

ถูกแก้ไข โดย Valentines

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...