ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

K.ใหญ่ หยิบจับง่ายระมัดระวังด้วย

ส่วนผมเก็บ Ruger 10/22 , S&W 686 , Monolith เสียดายตอนฮอตๆไม่ได้เก็บ เบอร์ 2 กับ ลูกซอง

ถ้ามีโอกาสขอไปใช้สนามบ้านคุณใหญ่ด้วยน๊า

 

K.lekster เหรียญเล่งหงษ์ นน.+ค่าบล็อกเท่าไหร่ครับ

 

ขอบคุณครับ

เหรียญเล่งหงษ์ นน. 2 บาท ค่าบล็อก 200 บาทต่อเหรียญ

กะจะซื้อที่ ฮั่วเซ่งเฮง นน. 2 บาท แต่ค่าบล็อก 150 บาทต่อบาท (300 บาทต่อเหรียญ)ค่าบล็อกแพงกว่าเลยไปซื้อเล่งหงษ์แทน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มองต่างมุมเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐ

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

 

ผมได้รับอีเมลบทความเรื่อง “2011-The Year of Catch 22” โดย Jim Quinn จากเว็บไซต์ The Burning Platform ซึ่งมีมุมมองเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐในแง่ลบแตกต่างจากความเห็นของสื่อกระแสหลักอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ แต่มีข้อมูลและสาระที่ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์และมีการวิเคราะห์มีเหตุมีผล ผมจึงขอนำมาสรุปให้อ่านกันในครั้งนี้ครับ

 

เศรษฐกิจสหรัฐนั้นตกอยู่ในวังวนของความขัดแย้งหลายประการ เช่น

 

๐ เศรษฐกิจจะต้องฟื้นตัวเพื่อที่รัฐบาลจะเก็บภาษีได้มากขึ้นเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ แต่เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว ดอกเบี้ยก็จะต้องปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำ และภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นสำหรับทั้งภาครัฐและประชาชน

 

๐ การฟื้นตัวซึ่งมาจากการเพิ่มการผลิตและการบริโภคย่อมจะกดดันให้ราคาน้ำมันและวัตถุดิบอื่นๆ ปรับขึ้นไปอีกซึ่งจะเป็นผลลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

๐ คนอเมริกันจะต้องออมเงินมากขึ้นเพราะปัจจุบันสังคมอเมริกันกำลังแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว (ผู้ที่เกิดในยุค Baby Boom 1947-1962 กำลังเข้าสู่วัยชรา คืออายุ 65 ปีทุกๆ วัน วันละ 10,000 คน) แต่หากอัตราการออมปรับเพิ่มขึ้นจาก 6% ไปเป็น 10% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมในระยะยาว ก็จะทำให้การบริโภคลดลงซึ่งจะกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะสั้นและจะทำให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

ปัจจุบันสื่อกระแสหลักประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2011 จะขยายตัว 3-4% มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 2 ล้านตำแหน่ง กำไรของบริษัทจะขยายตัวทำให้ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 10-15% (ทำให้เชื่อกันว่าตลาดหุ้นอื่นๆ รวมทั้งไทยจะสามารถปรับตัวได้ 15-20% ในปี 2011 เช่นกัน) แต่การฟื้นตัวในปี 2010 เป็นภาพลวงที่ก่อขึ้นมาจากการกู้เงินจำนวนมหาศาลโดยรัฐบาลและธนาคารกลางสหรัฐ ตัวอย่างเช่นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2010 หนี้สาธารณะของสหรัฐเท่ากับ 12.3 ล้านล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2010 หนี้สาธารณะของสหรัฐเท่ากับ 13.9 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกันงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐเพิ่มขึ้นจาก 2.28 ล้านล้านมากเป็น 2.46 ล้านล้านหรือเพิ่มขึ้น 180,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกัน รวมแล้วสหรัฐใช้เงินถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2010 แต่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวจริงเพียง 2.7% หรือ 350,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกัน กล่าวคือรัฐบาลกับธนาคารกลางสหรัฐ “ลงทุน” เท่ากับ 13% ของจีดีพีเพียงเพื่อทำให้จีดีพีสหรัฐขยายตัว 2.7%

 

หากมองกลับไปช่วงก่อนวิกฤติในเดือนกันยายน 2008 ก็จะพบว่าหนี้สาธารณะของสหรัฐอยู่ที่ 9.7 ล้านล้านดอลลาร์ แปลว่าในช่วงกอบกู้วิกฤตินั้นรัฐบาลสหรัฐกู้เงินเพิ่มขึ้นถึง 4.2 ล้านล้านดอลลาร์ ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 43% ในเวลาเพียง 27 เดือน ส่วนธนาคารกลางสหรัฐพิมพ์เงินออกมาซื้อสินทรัพย์ (ที่คนอื่นไม่อยากซื้อ) ทำให้งบดุลเพิ่มขึ้นจาก 963,000 ล้านดอลลาร์เป็น 2.46 ล้านล้านดอลลาร์หรือเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ (155%) รวมเม็ดเงินที่ใช้อุ้มเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา เท่ากับ 5.7 ล้านล้านดอลลาร์ แต่สิ่งที่ได้คืนมาคือจีดีพีจริง (หักเงินเฟ้อ) ในไตรมาส 3 ปี 2010 หากคำนวณเฉลี่ยเต็มปี (annualized) จะเท่ากับ 13.3 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับ 13.2 ล้านล้านดอลลาร์ในไตรมาส 3 ของปี 2008 กล่าวคือทางการสหรัฐกู้เงิน 5.7 ล้านล้านดอลลาร์เพื่อ “ยัน” ให้เศรษฐกิจกลับไปที่เดิมก่อนเกิดวิกฤติ ซึ่งผู้เขียนเปรียบเทียบว่าเสมือนกับการที่หมอรักษาคนไข้ที่เป็นมะเร็ง (กู้เงินมากเกินไปมาเก็งกำไรบ้าน) โดยการฉีดเชื้อมะเร็งเพิ่มให้คนไข้ (รัฐบาลกู้เงินจากลูกหลานมาใช้) พร้อมกับฉีดมอร์ฟีนขนานใหญ่คือการพิมพ์เงินเพื่อดึงดอกเบี้ยลงเหลือศูนย์ การ “ฟื้นตัว” ของเศรษฐกิจในปี 2010 ควรเข้าใจให้ถูกต้องว่ามีพื้นเพมาเช่นนี้

 

สรุปได้ว่า นายเบอร์นันเก้ (ผู้ว่าการธนาคารกลาง) นายไกน์เนอร์ (รมว.คลัง) และ นายโอบามา กำลังเดิมพันว่าประชาชนสหรัฐจะหลงเชื่อว่าเศรษฐกิจกำลังดีวันดีคืน และหันมาใช้จ่าย ทุกภาคส่วนเกิดความเชื่อมั่น มีการผลิตและจ้างงานเพิ่ม ราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจบูมอีกครั้ง รัฐบาลก็จะเก็บภาษีได้เพิ่มและรายจ่ายสวัสดิการสำหรับผู้ตกงานก็จะลดลง สามารถลดการขาดดุลและลดหนี้สาธารณะได้ แต่คำถามคือการสร้างภาพลวงดังกล่าวจะประสบความสำเร็จต่อเนื่องในปี 2011 หรือไม่

 

ยอดขายสินค้าในสหรัฐปรับเพิ่มขึ้น 6.5% ในปี 2010 จากการที่ผู้บริโภคเริ่มเกลับมารูดบัตรเครดิตมากขึ้นเพื่อซื้อไอแพด โทรทัศน์จอแบน รองเท้า เครื่องประดับ ฯลฯ พร้อมกับการที่สถาบันการเงินของภาครัฐพยายามปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง (แม้ว่าธนาคารพาณิชย์จะกำลังไล่ตามยึดบ้านจากลูกหนี้ที่เบี้ยวหนี้) ทำให้ปัจจุบันอัตราการออมของชาวอเมริกันกำลังปรับลดลงอีกแล้ว แสดงว่าประชาชนเริ่มกลับเข้าสู่นิสัยเดิมคือ “รูดก่อนจ่ายทีหลัง” แต่การออมของชาวสหรัฐที่ 5.9% ของรายได้นั้น มาจากการให้เปล่าของภาครัฐ (transfer payment) 3.9% หมายความว่าหากรัฐบาลสหรัฐไม่ได้กู้เงินอนาคตมาแจก คนอเมริกันก็จะออมเงินแค่ 2% เท่านั้น ตั้งแต่กันยายน 2008 ถึงปลายปี 2010 นั้นเงินเดือนของประชาชนโดยรวมลดลง 127,000 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่รัฐบาลแจกเงินผ่านมาตรการรัฐสวัสดิการต่างๆ รวมทั้งสิ้น 441,000 ล้านดอลลาร์

 

ปัจจุบันสัดส่วนของการบริโภคต่อจีดีพีของสหรัฐอยู่ที่ 70% ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าเป็นสัดส่วนที่สูงเกินไปควรลดลงมาที่ 65% และอัตราการออมควรกลับขึ้นไปอยู่ที่ 8-10% (การที่คนอเมริกันใช้จ่ายเกินตัวนั้นเห็นได้จากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ 3.5% ของจีดีพี) แต่ที่สำคัญคือการใช้จ่ายเกินตัวดังกล่าวเกิดขึ้นจากการกู้เงินโดยภาครัฐ ซึ่งยิ่งอันตราย ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่ยั่งยืน แม้ว่าความรู้สึกของคนทั่วไปในครึ่งแรกของปีนี้คงจะเห็นพ้องต้องกันว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง แต่ก็จะเป็นผลมาจากการปั๊มเงินเข้าระบบโดยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลของนายเบอร์นันเก้เดือนละ 75,000 ล้านดอลลาร์ ประกอบกับการลดภาษีและเงินอุดหนุนผู้ตกงานของนายโอบามารวมทั้งสิ้นกว่า 800,000 ล้านดอลลาร์

 

แต่ในครึ่งหลังของปีนี้สถานการณ์อาจพลิกผันไปในทางลบได้ เช่นราคาบ้านในสหรัฐที่แม้จะปรับตัวลดลงไปแล้ว 33% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ก็น่าจะลดลงได้อีก 23% เพื่อให้ราคาบ้านกลับไปสู่ระดับปกติ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาถึงปลายปี 2012 แปลว่าปัญหาการยึดทรัพย์และขายทอดตลาดยังจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อที่ถึงกำหนดจะต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นซึ่งมีมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์ พร้อมกับบ้านที่ถูกยึดและรอขายอยู่แล้ว 3.9 ล้านหลัง จากการประเมินของธนาคารกลางสหรัฐสาขาดาลาส คาดว่ามีบ้านที่จะถูกยึดเนื่องจากผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้อีก 6 ล้านหลัง

 

นายเบอร์นันเก้ ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2010 ว่านโยบายพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลของเขา (คิวอี 2) นั้นมีวัตถุประสงค์หลักคือ “การกดดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลดลงเพื่อทำให้การเป็นเจ้าของบ้านทำได้ง่ายขึ้นและผู้ที่กู้บ้านอยู่แล้วจะมีภาระลดลง” แต่ปรากฏว่าดอกเบี้ยเงินกู้บ้านกลับปรับตัวสูงขึ้นจากวันที่ 2 พ.ย. ที่ระดับ 4.2% เป็น 5% ในปัจจุบัน กล่าวคือภาระของประชาชนเพิ่มขึ้นมิได้ลดลง

 

หาก นายเบอร์นันเก้ จะพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาเพิ่มขึ้นอีกก็ไม่แน่ใจว่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ เพราะตั้งแต่วิกฤติที่ธนาคารกลางสหรัฐพิมพ์เงินออกมาจนทำให้งบดุลธนาคารกลางเพิ่มขึ้นถึง 23 เท่าตัวนั้น ปรากฏว่าราคาสินค้าในสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่นราคาน้ำมันเพิ่มจาก 1.62 ดอลลาร์ต่อแกลลอน เป็น 3.05 ดอลลาร์ ราคาทองเพิ่มจาก 814 ดอลลาร์ต่อออนซ์ มาเป็น 1,421 ดอลลาร์ ราคาทองแดง เงิน ข้าวโพด กาแฟ ข้าวสาลี ฯลฯ ต่างเพิ่มขึ้น 30-90% สำหรับธนาคารกลางของสหรัฐเองนั้นการพิมพ์เงินออกมาซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงหรือแม้แต่การซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นนั้นกำลังจะทำให้เกิดความเสียหายต่อธนาคารกลางสหรัฐและอาจต้องพิมพ์เงินออกมาล้างขาดทุน ซึ่งจะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อไปอีก และอาจทำให้ราคาน้ำมัน และวัตถุดิบสำคัญๆ เพิ่มขึ้น สร้างแรงกดดันให้เศรษฐกิจตกต่ำลงได้อีก

 

ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปปัญหารัฐบาลท้องถิ่นในสหรัฐและความขัดแย้งทางการเมืองที่จะรุนแรงขึ้นในสหรัฐ ทำให้ผู้เขียนเชื่อว่าการเดิมพันของผู้นำสหรัฐจะประสบความล้มเหลวในที่สุด ดังนั้นการวาดภาพอันสวยหรูว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 3-4% การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 2 ล้านตำแหน่งและการที่ตลาดหุ้นจะปรับเพิ่มขึ้น 10-15% นั้น หากนายเบอร์นันเก้ ต้องกล่าวถึง คิวอี 3 เมื่อใดก็แปลว่าการเดิมพันนั้นได้ถูกเปิดโปงและปัญหาใหญ่กำลังคืบคลานมาถึงแล้วครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ พี่เสม คุณส้มโอ

เซทลงจริงๆด้วย 950จะรับอยู่ไหมหนอ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ พี่เสม คุณส้มโอ

เซทลงจริงๆด้วย 950จะรับอยู่ไหมหนอ

 

 

SET ก็ลงมาตาม Technical analysis เเระครับ อย่าไปคิดอะไรมากมีสัญญาณเตือนก่อนเป็นเดือนมาเเล้วครับ

เป้าหมายเเรกที่ 950 จุดครับ เช่นเดียวกับทองคำครับ correction ครั้งนี้รอซื้อให้ดีๆ เป้าเเรกเเถวๆ 1300

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าวที่คุณ ส้มโอมือเอามาลง ดีมากครับ อเมริกาพิมพ์เเบง กู้เงิน สุดท้ายเเล้ว อเมริกาก็จะ ชิ้งเงินทั้งหมดเเระครับ

ไม่มีทางไหนเเล้วกับระบบประชานิยม เเบบไม่มี ไม่จ่าย คนที่เดือดร้อนก็ประชาชนนั้นเเระครับ ซื้อพวก commodity ไว้เยอะๆๆนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับคุณ seam888 ในยามวิกฤต เห็นคุณ seam888 เข้ามาแค่นี้ก็ใจชื้นเป็นกอง

:rolleyes:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กราฟ SET เกิด Flag เลยมีการcorrection เเล้ว leding indicator อย่าง RSI ก็ Bearish convergence น่าจะลงมาทำ major wave 4 ครับ รอจบการ correctionm ครั้งนี้ อาจจะไม่เห็น SET ต่ำกว่า 1,000 จุดครับ

post-31-056929400 1295881273.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

GC ก็เหมือนกับ SET อะครับลองดูครับว่าจะลงมาเเถว $1300 ไหม

post-31-041453500 1295881470.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะคุณเสม ลงมาก็รอเก็บอยู่คร่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณเสมคะ EU มีสิทธิ์ถึง 137xx มั๊ยคะเนี่ย เพราะbuy ไว้ ส่วนตัวมองว่ามานไปได้อ่ะคะ ขอความมั่นใจด้วยคะ5fc0f220.gif5fc0f220.gif5fc0f220.gif5fc0f220.gif5fc0f220.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...