ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

วันพฤหัสบดี ที่ 22 กันยายน 2554

ทองคำสำรอง 8,000 ตัน ของสหรัฐ

 

เพราะฉะนั้น ทองคำ8,000 ตัน จะมีมูลค่าเป็นเงินที่

USD 437.25 brillion ( 437.25 พันล้านดอลลาร์)

 

คือ ยังไงๆหากทองกองนี้ยังเป็นของอเมริกาจริง ก็ยังมีมูลค่าที่ไม่ถึง USD trillion (ล้านล้านดอลลาร์) ซะทีค่ะ

ซึ่ง หนี่สินที่แท้จริงปาเข้าไปตั้ง 114 ล้านล้านดอลลาร์แล้ว

 

แต่มีทองสำรองแค่ 437 พันล้านดอลลาร์เองค่ะ

 

คิดว่าอเมริกาคงไม่มีปัญญาใช้หนี้ใครหรอกค่ะ

 

นอกจากจะ

1.ทำให้ค่าดอลลาร์อ่อนค่าลงมากๆ จะได้ใช้หนี้ด้วยเงินที่น้อยลง

2. ทำสงครามซะเลย เพื่อล้างไพ่ เหมือน WW1 & WW2[/color]

 

และหรือข้อ 3. Gold Revolution ที่มากกว่ามากที่จะคาดคิดกันอ่ะนะ :D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

GC : เขียว (SL 1,635.80)

 

SI : แดงแรก

 

SET : เขียว (SL 936.82)

 

TC : แดง

 

AFET : เขียว (SL 125.00)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ช่วงนี้คนที่ตามระบบคงโดนกันถ้วนหน้า (รวมทั้งผมด้วย :lol: :lol: )

 

สุดสัปดาห์นี้ก็ดูบอลแก้เครียดกันละกันเนอะ (รวมมั้ง ทงอี ด้วย สนุกดีครับ)

 

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ คืนวันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2554

 

18.45 น. วูล์ฟแฮมป์ตัน - สวอนซี ทรูสปอร์ต 1

21.00 น. นิวคาสเซิ่ล - วีแกน ทรูสปอร์ต 1

21.00 น. โบลตัน - ซันเดอร์แลนด์ ทรูสปอร์ต 2

23.30 น. ลิเวอร์พูล - นอริช ทรูสปอร์ต 3

21.00 น. แอสตัน วิลลา - เวสต์บอม

 

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ คืนวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม 2554

 

19.30 น. อาร์เซน่อล - สโต๊ค

19.30 น. ฟูแล่ม - เอฟเวอตัน

19.30 น. แมนฯ ยูไนเต็ด - แมนฯ ซิตี้ ทรูสปอร์ต 1

21.00 น. แบล็คเบิร์น - สเปอร์ส

22.00 น. ควีนสปาร์ค - เชลซี ทรูสปอร์ต 1

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มนุษย์เศรษฐกิจ 2.0 : นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

 

ในทางเศรษฐศาสตร์ เวลาที่ผู้ซื้อไม่มีความรู้เกี่ยวกับคุณภาพของตัวสินค้า หรืออาจจะมีความรู้อยู่บ้างแต่ว่าไม่มีทางพิสูจน์คุณภาพที่แท้จริงของตัวสินค้านั้นได้ ผู้ขายจะใช้วิธีการบางอย่างเพื่อเป็นการ ส่ง สัญญาณ (Signaling) ทางอ้อมเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้านั้นแทน และผู้ซื้อเองก็จะอาศัยสัญญาณเหล่านั้น เป็นตัวตัดสินแทนด้วย เพราะผู้ซื้อไม่มีวิธีการอย่างอื่นที่ดีกว่า

 

ในชีวิตประจำวัน เราสามารถพบเห็นการส่งสัญญาณได้อย่างมากมาย เหตุที่สินค้าหลายอย่างต้องทำกล่องบรรจุภัณฑ์ให้สวยที่สุดก็เป็นเพราะบ่อยครั้งผู้บริโภคเอง ไม่มีทางตรวจสอบคุณภาพของตัวสินค้าอย่างแท้จริงได้ก่อนจ่ายเงิน (ของกินที่บอกว่าไม่ได้ใส่สารเจือปน หรือสารกันบูดนั้น ไม่ใส่จริงๆ หรือเปล่า) ผู้บริโภคจึงต้องอาศัยการพิจารณาจากกล่องแทน ตรรกที่อยู่ในหัวของผู้บริโภค อาจเป็นทำนอง ว่า ถ้าหากผู้ผลิตยังทำกล่องได้ประณีตบรรจงขนาดนี้ แสดงว่าอย่างน้อยที่สุด คุณภาพของสินค้าข้างในก็ไม่น่าจะถึงขั้นขี้เหร่ ตรงกันข้าม ถ้าขนาดกล่องยังทำให้ดีไม่ได้เลย สินค้าข้างในจะดีได้หรือ อย่างนี้เป็นต้น ที่จริงแล้วการเชื่อมโยงเหตุผลแบบนี้ไม่ได้ถูกเสมอไป แต่เนื่องจากผู้บริโภคไม่มีวิธีพิสูจน์ที่ดีกว่านี้ ผู้บริโภคจึงหันมาพึ่งการส่งสัญญาณทางอ้อม ของผู้ผลิตด้วยกล่องแทน

 

ที่จริงเหตุผลลึกๆ เหตุผลหนึ่งของการโหมโฆษณาของบรรดาผู้ผลิตก็คือการส่งสัญญาณด้วย ผู้ผลิตที่ยอมเผาเงินจำนวนมากๆ ไปกับการโฆษณาเพื่อสร้างแบรนด์สินค้า ก็เหมือนกับเป็นการใช้เงินจำนวนนั้นเป็นตัวประกัน เพราะถ้าหากจะลดต้นทุนด้วยการผลิตสินค้าที่คุณภาพต่ำออกมา เมื่อผู้บริโภคซื้อไปแล้วล่วงรู้ความจริง ย่อมทำให้แบรนด์นั้นเสื่อมค่าได้ แต่แบรนด์นั้นสร้างมาด้วยเงินจำนวนมหาศาล จึงเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มสำหรับผู้ผลิตที่จะลดต้นทุนด้วยวิธีลดคุณภาพสินค้า ต่างกับผู้ผลิตที่ไม่ได้โฆษณาที่ไม่มีอะไรจะเสีย การโฆษณา จึงเป็นเหมือนวิธีการส่งสัญญาณ เกี่ยวกับคุณภาพที่มีการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการส่งสัญญาณด้วย (เป็นการส่งสัญญาณแบบมีต้นทุนสูง) และการที่บางคนติดแบรนด์ก็อาจไม่ใช่ความไร้เหตุผลเสียทีเดียวนัก

 

สินค้าจำพวกที่ผู้ซื้อเป็นห่วงเรื่องคุณภาพมากๆ ตัวอย่างเช่น อาหาร หรือเครื่องสำอาง และสินค้าจำพวกที่การพิสูจน์คุณภาพที่แท้จริงของสินค้าเป็นเรื่องยากมากๆ เช่น เครื่องประดับ งานศิลปะ หรือวัตถุมงคล จัดเป็นสินค้าที่การส่งสัญญาณเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากเป็นพิเศษ ที่จริงแล้ว มันอาจสำคัญยิ่งกว่าการทำตัวสินค้าเองให้มีคุณภาพดีเสียด้วยซ้ำ (เพราะทำไป ผู้บริโภคก็ไม่รู้อยู่ดี) จึงไม่แปลกนักที่เราเห็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค หรือเครื่องสำอางส่วนใหญ่ เป็นแค่บริษัทที่ทำแค่กิจกรรมการตลาดเพื่อมุ่งสร้างแบรนด์สินค้าเป็นหลักอย่างเดียว ส่วนการผลิตตัวสินค้าทั้งหมดนั้นจ้างโรงงานข้างนอกทำ เพราะการส่งสัญญาณเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของสินค้าประเภทนี้ มากกว่าตัวสินค้าเองเสียอีก

 

ตอนที่ผมเรียนปริญญาโทอยู่นั้น มีวิชาหนึ่งชื่อแปลกๆ ว่า "ความเป็นผู้นำ" วิชานี้อาจารย์ให้ทำรายงานเยอะมาก และคะแนนหลักของวิชานี้ก็มาจากการทำรายงานด้วย แต่รายงานทั้งหมดที่อาจารย์ให้ทำ ดูเหมือนจะให้นักเรียนเขียนแสดงความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องโน้นเรื่องนี้เป็นส่วนใหญ่ และก็ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียนในห้องด้วย รายงานชิ้นแรกๆ ที่อาจารย์ให้เกรดออกมา สร้างความสับสนให้กับทุกคนมาก มีการขอยืมรายงานของแต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบกัน แต่ก็ไม่มีใครมองออกว่า ตกลงแล้วอาจารย์ให้คะแนนจากอะไร กลุ่มที่ได้คะแนนมาก กับกลุ่มที่ได้คะแนนน้อยมีอะไรที่แตกต่างกัน

 

สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาโดยอัตโนมัติ คือ ในรายงานชิ้นหลังๆ ช่วงปลายเทอม ทุกกลุ่มหันมาแข่งขันกันที่การทำรูปเล่มให้สวยงามอย่างชัดเจน ที่จริงแล้วจะใช้กระดาษธรรมดาทำรายงานก็ได้ แต่บางกลุ่มก็หันไปใช้กระดาษลายช้างแทน ทุกกลุ่มจ้างร้านให้ทำปกด้วยกระดาษอย่างดี (แบบที่แพงที่สุด) และมีแผ่นพลาสติกกันน้ำปะหน้าปะหลัง พร้อมเย็บเล่มให้เป็นแบบห่วง (แทนที่จะใช้ลวดเย็บกระดาษแล้วปิดทับด้วยเทปพลาสติกธรรมดาซึ่งราคาถูกกว่า) เรื่องความหนาของรายงานนั้นไม่ต้องพูดถึง ทุกกลุ่มใช้จำนวนหน้าเท่ากับลิมิตสูงสุดที่อาจารย์กำหนดไว้กันหมด ต่างกับรายงานช่วงแรกๆ ที่มีแค่บางกลุ่มเท่านั้นที่ทำหนาจนเต็มลิมิต

 

กรณีนี้ก็เป็นกรณีที่กลับกันกับเรื่องของการขายสินค้า ถ้านักเรียนไม่รู้ว่าอาจารย์ใช้วิธีอะไรในการตัดสินคุณภาพที่เนื้อหาของรายงาน สุดท้ายแล้ว นักเรียนจะหันมาอาศัยรูปลักษณ์ภายนอกของรายงาน เป็นการส่งสัญญาณทางอ้อมใ ห้อาจารย์แทน การทำรูปเล่มอย่างดีเป็นการส่งสัญญาณว่านักเรียนได้ทุ่มเทเวลา และทรัพยากรจำนวนมากไปกับการจัดทำรายงานเล่มนี้ (ก็ขนาดปกรายงานยัง "จัดเต็ม" ซะขนาดนั้น)

 

แต่เรื่องนี้ต่างกันหน่อยตรงที่ สุดท้ายแล้ว เมื่อเกรดสุดท้ายออกมาตอนจบเทอม เกณฑ์การให้คะแนนรายงานของวิชานี้ ก็ยังเป็นปริศนาของทุกคนมาจนถึงทุกวันนี้อยู่ดีครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การแก้ปัญหาของยุโรป

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

 

สาเหตุหนึ่งที่เราเห็นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งๆ ที่สภาวะน้ำท่วมเลวร้ายขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

ก็มีสาเหตุหลักมาจากการคาดการณ์ของนักลงทุนทั่วโลกว่าผู้นำยุโรป จะสามารถแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของทวีปยุโรป ได้อย่างเบ็ดเสร็จและมีประสิทธิผล โดยแผนการเพื่อบริหารจัดการปัญหาต่างๆ ที่เรื้อรังมานานกว่า 18 เดือนจะถูกนำมาประกาศให้สาธารณชนทราบโดยทั่วกันในการประชุมผู้นำของยุโรปในวันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเกิดขึ้น 1 เดือนก่อนการตีพิมพ์บทความของผมครั้งนี้พอดี บทความนี้จึงเป็นการคาดการณ์ว่าผู้นำยุโรปจะมีแผนการที่จะสามารถตอบโจทย์ทั้ง 5 ข้อดังต่อไปนี้หรือไม่ หากตอบโจทย์ได้ราคาหุ้นที่ปรับขึ้นไป 15% ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาก็คงจะยืนอยู่ต่อไป และอาจปรับขึ้นอีกบ้างก็ได้ แต่หากแผนการที่ประกาศออกมา ทำให้นักลงทุนผิดหวังก็อาจส่งผลในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดหุ้นได้ เพราะความหวาดเกรงเดิมๆ ว่ายุโรปจะเผชิญปัญหาตกต่ำอย่างรุนแรง และฉุดให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะถดถอยก็จะกลับมาเป็นประเด็นหลักในการสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนได้อีกครั้งหนึ่ง

 

1. การจัดการลดหนี้ให้กับรัฐบาลกรีซ ปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซ เป็นบ่อเกิดของปัญหาที่ยุโรปโดยรวมกำลังเผชิญอยู่ ดังนั้นการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซจึงน่าจะเป็นประเด็นหลักในแผนการที่ผู้นำยุโรป จะต้องหาข้อสรุปให้ได้ โดยข้อมูลทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่มีอยู่ในขณะนี้ประเมินว่าจะต้องมีการลดหนี้ให้กับกรีซมากกว่าที่ได้เคยตกลงกันเอาไว้ในเดือนกรกฎาคม กล่าวคือหนี้สาธารณะที่ปัจจุบันอยู่ที่ 180% ของจีดีพีของกรีซนั้นน่าจะต้องลดลงเหลือ 80% ของจีดีพีจึงจะช่วยให้กรีซรอดจากปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ภาคเอกชนที่เคยยอมรับความเสียหายประมาณ 21% จากการถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซ ก็คงจะต้องรับความเสียหาย (ช่วยลดหนี้ให้รัฐบาลกรีซ) เพิ่มขึ้นเป็น 50-60% ของมูลหนี้ทั้งสิ้น 370,000 ล้านยูโร กล่าวคือรัฐบาลยุโรป ธนาคารกลางยุโรป ไอเอ็มเอฟและภาคเอกชน (ธนาคารพาณิชย์ยุโรป) จะต้องลดหนี้ให้รัฐบาลกรีซถึง 185,000 ล้านยูโร ซึ่งรัฐบาลยุโรปอ้างว่าจะสามารถโน้มน้าวให้ธนาคารพาณิชย์ยุโรป “สมัครใจ” รับการปรับโครงสร้างหนี้ (voluntary haircut) ดังกล่าว ทั้งนี้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือกำลังเฝ้ามองการลดหนี้ดังกล่าว และจะต้องเป็นผู้ตีความว่าการลดหนี้ดังกล่าว เป็นความสมัครใจของเจ้าหนี้ หรือเป็นการพักชำระ (เบี้ยว) หนี้ของรัฐบาลกรีซ ซึ่งในกรณีหลังจะส่งผลกระทบให้ต้องปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของเจ้าหนี้ลงไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเจ้าหนี้ไม่สามารถรองรับความเสียหายได้ ทำให้ธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง (รวมทั้งรัฐบาลฝรั่งเศส) ไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับการเพิ่มการลดหนี้จาก 21% เป็น 50%

 

2. การตีกรอบไม่ให้การลดหนี้ให้กรีซลุกลามออกไป หากมีการลดหนี้ให้กรีซถึง 50% จริงก็มีความเป็นห่วงว่าประเทศอื่นที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวจะต้องการรับเงื่อนไขเช่นเดียวกันบ้าง ซึ่งเมอร์ริล ลินช์คาดว่าผู้นำยุโรปจะต้องตีกรอบ (ring fence) ไม่ให้การพักชำระหนี้ลามไปยังประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะสเปนกับอิตาลี เพราะประเทศทั้งสองมีหนี้สาธารณะรวมกันเกือบ 3 ล้านล้านยูโร หรือ 35% ของจีดีพีของยุโรปโดยรวม ซึ่งใหญ่เกินกว่าที่จะกอบกู้ได้ ทั้งนี้เชื่อว่าหากปัญหาจะลาม ก็ต้องยอมให้ลามไปถึงโปรตุเกสได้อีกเพียง 1 ประเทศ จึงมีการเสนอแนวทางในการใช้กองทุน EFSF (European Financial Stability Find) เข้าไปหนุนหลังพันธบัตรรัฐบาลสเปนและอิตาลี แต่ EFSF มีเงินเพียง 440,000 ล้านยูโร โดยส่วนหนึ่งจะต้องนำไปรองรับความเสียหาย จากการลดหนี้ให้กรีซ ดังนั้นจึงมีข้อเสนอให้นำเงินส่วนหนึ่ง เช่น 200,000 ล้านยูโรมาเป็นกองทุนเพื่อประกันความเสียหาย ให้กับผู้ที่ถือพันธบัตรรัฐบาลอิตาลี และสเปน 20% กล่าวคือผู้ที่ซื้อและถือพันธบัตรรัฐบาลสเปนอิตาลี (หรือประเทศอื่นที่อาจประสบปัญหาการขาดความเชื่อมั่นในระยะสั้น) จะได้รับการค้ำประกันว่าหากเกิดปัญหาที่ทำให้รัฐบาลไม่สามารถคืนหนี้ทั้งหมดให้กับนักลงทุนแล้ว EFSF จะชดใช้ความเสียหายให้สูงสุดเท่ากับ 20% ของมูลค่าพันธบัตร เป็นต้น ตรงนี้จะต้องของย้ำว่าเป็นเพียงการคาดการณ์ และยกตัวอย่างว่าจะต้องมีกระบวนการลักษณะใดจึงจะทำให้การลดหนี้ให้กับกรีซไม่ลามออกไปยังประเทศอื่นๆ เช่น สเปนและอิตาลี

 

3. การเพิ่มทุนให้กับธนาคารพาณิชย์ ผู้ที่ถือพันธบัตรรัฐบาลของยุโรปเป็นจำนวนหลายแสนล้านยูโร คือธนาคารพาณิชย์ยุโรป ซึ่งจะต้องรับรู้ความเสียหายจากปัญหาหนี้สาธารณะ จึงถูกตั้งคำถามว่าจะต้องเพิ่มทุนอีกมากน้อยเพียงใด และจะเพิ่มทุนได้เมื่อไหร่หรือไม่ตรงนี้ก็คงจะต้องพึ่งพา EFSF อีก กล่าวคือคงจะต้องมีแผนการที่ชัดเจนที่จะประเมินให้เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปอย่างน่าเชื่อถือว่าธนาคารสำคัญๆ ของยุโรปนั้น มีทุนเพียงพอหรือไม่และหากไม่เพียงพอ (ไอเอ็มเอฟประเมินว่าธนาคารพาณิชย์ยุโรปอาจต้องรับรู้ความเสียหาย ประมาณ 2 แสนล้านยูโร นักวิเคราะห์อื่นๆ กล่าวถึงตัวเลขสูงกว่าคือ 3 แสนล้านยุโรป) ก็จะต้องเพิ่มทุนโดยน่าจะให้พยายามเพิ่มทุนด้วยตัวเองผ่านกลไกตลาดก่อนและหากทำไม่ได้ก็ต้องหันมาพึ่งรัฐบาลของตน และหากรัฐบาลมีปัญหาก็จะต้องมีกระบวนการที่รัดกุมและทันท่วงทีในการใช้เงินจาก EFSF ไปเพิ่มทุนอย่างเพียงพอให้กับธนาคาร กล่าวคือยุโรปจะต้องมีแผนที่ครบถ้วน และรัดกุมในการเพิ่มทุนอย่างเพียงพอให้กับธนาคารพาณิชย์อันจะทำให้ระบบการเงินการธนาคาร สามารถทำหน้าที่สนับสนุนระบบเศรษฐกิจได้อย่างเป็นปกตินั่นเอง

 

4. การจัดตั้งกลไกถาวรในการบริหารเศรษฐกิจ การจัดตั้งกองทุน EFSF นั้นเป็นมาตรการชั่วคราวในการแก้ปัญหาการขาดวินัยทางการคลังของยุโรป โดยผู้นำยุโรปมีดำริที่จะปฏิรูปโครงสร้างการบริหารเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบ ผ่านกลไก ESM (European Stability Mechanism) ภายในกรกฎาคม 2013 แต่ความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น และการบั่นทอนความเชื่อมั่นต่อการบริหารเศรษฐกิจของยุโรป ทำให้ผู้นำจำต้องเร่งจัดตั้ง ESM ให้เร็วขึ้นอีก 1 ปีคือควรจะจัดตั้งให้เป็นรูปธรรมภายในกรกฎาคม 2012 (อีก 9 เดือนข้างหน้า) โดย ESM จะต้องมีอำนาจในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศที่มีปัญหา ตลอดจนปรับปรุงระบบการควบคุมนโยบายการคลังของประเทศสมาชิก (เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเช่นที่เกิดขึ้นที่กรีซอีก) และกลไกของ ESM จะต้องมีความคล่องตัว กล่าวคือ จะต้องตัดสินใจและออกมาตรการต่างๆ ได้อย่างฉับไว แตกต่างจาก EFSF ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาของทั้ง 17 ประเทศที่เป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร

 

5. บทบาทเพิ่มเติมของไอเอ็มเอฟ ดังที่กล่าวข้างต้นว่าเงิน 440,000 ล้านยูโรของ EFSF นั้นเป็นจำนวนที่ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับหนี้สาธารณะของประเทศ ที่กำลังประสบปัญหาที่มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 3.4 ล้านล้านยูโร ดังนั้นการประชุมของรัฐมนตรีคลังของกลุ่มจี20 จึงได้มอบหมายให้ไอเอ็มเอฟไปพิจารณาดูว่า ไอเอ็มเอฟจะมีบทบาทอะไรเพิ่มเติมในการเข้ามาให้ความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป ทั้งนี้รวมถึงการประเมินด้วยว่า ไอเอ็มเอฟ จะต้องเรียกเงินสมทบเพิ่มจากสมาชิกไอเอ็มเอฟในการนี้อีกหรือไม่ ตรงนี้จะเห็นได้เลยว่าสหรัฐได้กล่าวตีกันเอาไว้ว่าไอเอ็มเอฟมีเงินอยู่แล้วเกือบ 4 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งน่าจะเพียงพออยู่ แต่ไอเอ็มเอฟอ้างว่ามีข้อเรียกร้องจากประเทศตลาดเกิดใหม่ที่กลัวว่า ปัญหาเศรษฐกิจของยุโรป จะลุกลาม และส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อประเทศกำลังพัฒนาโดยรวม ทั้งนี้สิ่งที่ประเทศขนาดใหญ่ของยุโรป (เช่นสเปนและอิตาลี) น่าจะคาดหวังคือ การที่ไอเอ็มเอฟจะมีเงินมาให้กู้ได้ในระยะสั้น โดยไม่มีเงื่อนไขให้ไอเอ็มเอฟ เข้ามาแทรกแซงการบริหารเศรษฐกิจ (เช่นที่ทำอยู่ในขณะนี้กับกรีซ) แต่การที่ประเทศสมาชิกไอเอ็มเอฟให้เงินกู้โดยปราศจากเงื่อนไขนั้นผมสงสัยว่าจะเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ก็เป็นการสะท้อนว่า การแก้ปัญหาหนี้สาธารณะนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โลกสะดุ้ง หวั่นน้ำท่วมไทยแรงถีบเงินเฟ้อพุ่ง ซ้ำเติมปัญหาเศรษฐกิจ

26 ตุลาคม 2554 เวลา 07:35 น. | เปิดอ่าน 2,379 | ความคิดเห็น 13

ท่วมแล้ว ท่วมหนัก ท่วมนาน สำหรับเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปีของประเทศไทย แดนสยามเมืองยิ้ม

 

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

ท่วมแล้ว ท่วมหนัก ท่วมนาน สำหรับเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปีของประเทศไทย แดนสยามเมืองยิ้ม ที่ ณ ปัจจุบันนี้คงยิ้มได้ยากเสียแล้ว

 

ไม่เพียงแต่เฉพาะไทยเท่านั้นที่ยิ้มไม่ออก บรรดาประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็พลอยยิ้มไม่ออกไปกับประเทศไทยด้วยเช่นกัน

 

เพราะนอกจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งด้านรถยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่บรรดาผู้ประกอบการต่างชาติ ซึ่งเข้ามาลงทุนในไทยจะได้รับความเสียหายอย่างหนักกระเทือนเป็นวงกว้างแล้ว ความเสียหายต่อพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรที่ไทยได้รับยังกระเทือนถึงปัญหาเงินเฟ้อซึ่งกำลังไต่อันดับขึ้นมาแบบพุ่งแรงและเร็วจนเป็นปัญหาชวนปวดตับของบรรดาผู้นำในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลในภูมิภาคเอเชีย

 

ยืนยันได้จากคำเตือนล่าสุดของ ดอยช์แบงก์ ธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ของเยอรมนี ที่ออกแถลงการณ์ระบุว่า ความพยายามของรัฐบาลจีนที่จะควบคุมแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของประเทศอาจจะต้องสูญเปล่า โดยเป็นผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมไทยเป็นสำคัญ

 

 

 

 

เพราะประเทศอู่ข้าวอย่างไทยมีผลผลิตข้าวเพื่อการส่งออกน้อยลง จนส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกที่แพงอยู่แล้วปรับราคาเพิ่มขึ้นไปอีก

 

ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์จากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติต่างพากันประเมินแล้วว่า เฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวของไทยในขณะนี้ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมแล้วถึง 12.5% ซึ่งมีสิทธิทำให้ผลผลิตข้าวของไทยในปี 2554 นี้ หายไปมากถึง 6 ล้านตัน

 

ขณะที่ดอยช์แบงก์ระบุว่า การส่งออกข้าว ตลอดจนพืชพันธุ์ธัญญาหารอื่นๆ ของไทยน่าจะร่วงหล่นมากถึง 24%

 

ซูซานา ชอย นักวิเคราะห์จากดอยช์แบงก์ประจำสิงคโปร์ กล่าวว่า สินค้าอุปโภค โดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตรที่ปรับตัวแพงขึ้นจะส่งผลกระเทือนต่อนโยบายรัฐบาลจีนที่จะคุมเงินเฟ้อ จนส่งผลให้รัฐบาลจีนไม่สามารถแก้ไขนโยบายทางการเงินได้อย่างสะดวก

 

หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ รัฐบาลจีนอาจจะต้องคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับสูงต่อไปเพื่อคุมเงินเฟ้อ โดยดัชนีราคาผู้บริโภคของจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อพุ่งขึ้นมาสูงถึง 6.1% จากเดือน ก.ย.ในปีก่อนหน้า

 

แน่นอนว่ามาตรการคุมเงินเฟ้อย่อมทำให้การใช้จ่ายภายในประเทศน้อยลง จนกระเทือนต่อเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในภาวะซึมเซา และต้องการแรงกระตุ้นมหาศาล

 

เรียกได้ว่า อาหารราคาแพง โดยเฉพาะราคาข้าว จึงเป็นเรื่องไม่น่าพิสมัยสำหรับผู้นำประเทศทั่วโลกที่กำลังรบราติดพันกับปัญหาเงินเฟ้อภายในของแต่ละประเทศ และต้องการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคง

 

ทั้งนี้ ราคาข้าวในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าในเดือน ม.ค. ของบอร์ดการค้าชิคาโกในสหรัฐเมื่อวันที่ 24 ต.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกที่ 2.4% มาอยู่ที่ 17.12 เหรียญสหรัฐต่อ 100 ปอนด์ (ราว 99.5 กิโลกรัม) ขณะที่ราคาข้าวไทย 5% ในปัจจุบันมีราคาอยู่ที่ 600 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นมาถึง 20% ตั้งแต่เริ่มไตรมาส 2 ของปี

 

เจเรมี สวิงเกอร์ ประธานบริหารไรซ์ เทรดเดอร์ บริษัทที่ปรึกษาด้านการค้าข้าวในแคลิฟอร์เนียคาดการณ์ว่า ราคาข้าวของไทยมีสิทธิเพิ่มสูงขึ้นถึง 800 เหรียญสหรัฐต่อตัน ภายในสิ้นปี 2554 นี้ โดยมีมูลเหตุจากปัญหาน้ำท่วมของไทยที่ดูท่าว่าจะหนักหนาสาหัสมากกว่าที่ได้มีการประเมินกันไว้ในช่วงแรก ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตข้าวประมาณ 3 ล้านเมตริกตัน หรือคิดเป็น 20% ของผลผลิตข้าวทั่วโลกหายไปจากตลาดทันที

 

แม้ว่าจะมีประเทศผู้ส่งออกข้าวรายอื่นๆ เช่น อินเดีย และปากีสถานที่ประกาศแล้วว่าจะส่งออกข้าวเพิ่มมากขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดโลก แต่นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งก็เชื่อว่าปริมาณข้าวที่อินเดียสามารถส่งออกได้นั้นก็ไม่น่าจะเพียงพออยู่ดี

 

ที่สำคัญไปกว่านั้น นักวิเคราะห์จากดอยช์แบงก์ยังคาดการณ์ว่า ไทยอาจจะนำมาตรการห้ามส่งออกข้าวมาใช้ เหมือนเช่นที่รัสเซียเคยใช้มาแล้วกับการส่งออกข้าวสาลีเมื่อปี 2553 เพราะปัญหาภัยแล้ง จนทำให้ราคาข้าวสาลีในตลาดโลกทะยานขึ้น

 

ราคาอาหารที่แพงขึ้น ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงราคาข้าวเท่านั้น เพราะนอกจากไทยจะส่งออกข้าวเป็นหลักแล้ว ไทยยังเป็นคลังอาหารอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาล ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง กาแฟดิบ รวมถึงสินค้าจำพวกปศุสัตว์และประมงอย่างเนื้อไก่และกุ้งแช่แข็ง

 

ทั้งนี้ บลูมเบิร์ก รายงานว่า ราคาน้ำตาลในตลาดนิวยอร์กปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความวิตกกังวลกันว่าสถานการณ์น้ำท่วมในไทย ซึ่งถือเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก จะส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทัน และทำให้การส่งออกล่าช้ากว่าตารางที่กำหนดไว้ราว 2-3 สัปดาห์

 

นิก เพนนีย์ นักค้าอาวุโสของซัคเดน ไฟแนนเชียล ได้ระบุในรายงานเมื่อวันที่ 24 ต.ค.ว่า ความล่าช้าดังกล่าวอาจทำให้น้ำตาลในตลาดโลกหายไปประมาณ 3 แสนเมตริกตันเลยทีเดียว

 

ขณะนี้ราคาน้ำตาลดิบในตลาดส่งมอบเดือน มี.ค. ของนิวยอร์ก พุ่งไต่ระดับขึ้นมา 1% อยู่ที่ 26.74 เซนต์ต่อปอนด์ (0.45 กิโลกรัม) และราคาน้ำตาลฟอกขาวในตลาดส่งมอบเดือน ธ.ค. ของลอนดอนเพิ่มขึ้น 0.5 เซนต์ มาอยู่ที่ 709.80 เหรียญสหรัฐต่อตัน

 

ด้านเมล็ดกาแฟสายพันธุ์ที่มีปลูกในไทยอย่างอะราบิกาและโรบัสตาก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นแล้วเช่นกัน โดยกาแฟอะราบิกาในตลาดส่งมอบเดือน ธ.ค. ในนิวยอร์ก เพิ่มขึ้น 0.6% มาอยู่ที่ 2.4625 เหรียญสหรัฐต่อปอนด์ ขณะที่กาแฟโรบัสตาในตลาดส่งมอบเดือน พ.ย. ในลอนดอนเพิ่มขึ้น 1% มาอยู่ที่ 1.886 เหรียญสหรัฐต่อตัน

 

ขณะที่ราคาอาหารอื่นๆ เช่น ถั่วเหลือง ในตลาดส่งมอบเดือน ม.ค. ก็เพิ่มขึ้น 1.1% อยู่ที่ 12.34 เหรียญสหรัฐต่อบุชเชิล (25 กิโลกรัม) และข้าวโพดในตลาดส่งมอบเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้น 1.6% มาอยู่ที่ 6.595 เหรียญสหรัฐต่อบุชเชิล

 

เรียกได้ว่าสถานการณ์น้ำท่วมในไทยได้สร้างความหวาดวิตกในตลาดส่งออกสินค้าเกษตร จนผลักดันให้ราคาอาหารที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มอยู่แล้วสูงยิ่งขึ้นไปอีก

 

แน่นอนว่าเหตุผลสำคัญที่ทำให้บรรดาผู้นำประเทศทั่วโลกเข็ดขยาดกับราคาอาหารแพงก็เพราะว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อตัวเลขเงินเฟ้อ ซึ่งหมายถึงภาวะข้าวยากหมากแพงของประชากรภายในประเทศอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

 

ทั้งนี้ นักเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า แม้ว่าหลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบเอเชียแปซิฟิกจะสามารถควบคุมเงินเฟ้อให้ลดระดับลงมาได้ แต่เมื่อพลิกดูในรายละเอียดแล้ว จะเห็นได้ว่าตัวเลขเงินเฟ้อของอาหารไม่ได้ปรับตัวลดลงเลยแม้แต่น้อย

 

ตรงกันข้าม ราคาอาหารกลับแพงขึ้น ยิ่งเมื่อบวกกับสถานการณ์น้ำท่วมขั้นเลวร้ายในไทย ตลอดจนประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างกัมพูชา ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ยิ่งทำให้สถานการณ์เงินเฟ้อมีสิทธิรุนแรงขึ้นถึงขั้นที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) คาดว่า “ขาดแคลน” เลยทีเดียว

 

เพราะราคาอาหารคิดเป็นสัดส่วนโดยเฉลี่ยถึง 30% ของตัวเลขเงินเฟ้อในเอเชีย โดยในจีนคิดเป็น 33% และอินเดียคิดเป็นสัดส่วนถึง 46% ส่งผลให้บรรดาผู้นำในประเทศเหล่านี้ไม่อาจละเลยสัญญาณอันตรายจากภัยน้ำท่วมที่จู่โจมไทยในคราวนี้ได้เลย

 

ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของอินเดียในขณะนี้อยู่ที่ 9.72% ซึ่งมากกว่าโซนปลอดภัยที่รัฐบาลอินเดียตั้งไว้ที่ 6% โดยมีสาเหตุหลักๆ มาจากราคาอาหารที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในตลาดโลก

 

ตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าว ส่งผลให้รัฐบาลอินเดียต้องตัดสินใจ หรืออาจเรียกได้ว่าฝืนใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% มาอยู่ที่ 8.50% และนับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นรอบที่ 13 ของปี เพื่อคุมเงินเฟ้อโดยเฉพาะ

 

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งมองว่า ราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงนี้ยังเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นจากสถานการณ์น้ำท่วมในไทยเท่านั้น

 

หรือพูดให้ง่ายเข้าก็คือ ตอนนี้ในแต่ละประเทศยังมีอาหารในคลังสำรองอยู่ แต่ราคาที่แกว่งขึ้นเกิดจากความวิตกกังวลของตลาดโลก และทั่วโลกต่างจับตาอย่างใกล้ชิดต่อไปว่าไทยจะมีมาตรการใดมาฟื้นฟูแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรของไทยซึ่งมีทีท่าว่าจะขาดแคลน หลังจากที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว

 

เพราะถ้าไทยจัดการไม่ดีพอ ภาวะอาหารแพง เงินเฟ้อพุ่งมีสิทธิแผลงฤทธิ์กระทืบเศรษฐกิจโลกที่บอบช้ำแน่นอน

 

เมื่อถึงเวลานั้น ไม่เพียงแต่ไทยเท่านั้นที่จะม้วย เพราะโลกก็ไม่อาจจะรอดด้วยเช่นกัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รวงข้าวคาดวิกฤตอุทกภัยสร้างความสูญเสียต่อจีดีพีถึง 3 แสนล.

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 ตุลาคม 2554 19:32 น. Share8

 

 

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ออกบทวิจัยประเมินแนวโน้มความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์น้ำท่วมน้ำว่า เหตุการณ์อุทกภัยครั้งร้ายแรง ที่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทย เป็นมูลค่ามหาศาลอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และกรุงเทพฯได้รับผลกระทบด้วย คาดว่า จะฉุดเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4/54 หดตัวลงถึง 3.3% ในกรณีพื้นฐาน แต่กรณีเลวร้ายอาจหดตัวถึง 6.3 % จากเดิมที่เคยคาดว่าจะขยายตัว 4.9% พร้อมกันนั้น ศูนย์วิจัยฯ ได้ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 54 ลงมาเหลือเพียง 1.7% ในกรณีพื้นฐาน และ 0.9% ในกรณีเลวร้าย จากเดิมที่เคยคาดว่าอาจขยายตัว 3.8%

โดยขณะนี้ยังคงมีการรุกคืบของมวลน้ำไปตามพื้นที่ ที่เป็นทางผ่านของน้ำออกสู่ทะเล โดยเริ่มเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ทั่วทั้งกรุงเทพฯ คงไม่อาจหลีกเลี่ยงภาวะน้ำท่วม ในขณะที่แนวเส้นทางผันน้ำลงสู่ทะเลทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการนั้น ยังเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมอีก 7 แห่ง ที่อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วม และยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

โดยภาคอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายหนักที่สุดมีมูลค่าประมาณ 171,900-234,900 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมีความเสียหายในภาคการเกษตร มูลค่า 37,100-46,000 ล้านบาท และภาคบริการและอื่นๆ รวม 33,200-49,900 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายของรัฐในการเยียวยาผู้ประสบภัย และการใช้จ่ายลงทุนเพื่อบูรณะอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และสาธารณูปโภค รวมถึงการเสริมการป้องกันปัญหาน้ำท่วมสำหรับช่วงฤดูกาลหน้า ทั้งให้ส่วนของภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชน ประกอบกับฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในไตรมาสสุดท้าย

ของปีนี้ น่าจะเป็นแรงหนุนที่เข้ามาชดเชยกันได้ในระดับหนึ่ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...